ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังด้วยความกรุณา  (อ่าน 1176 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ฟังด้วยความกรุณา
« เมื่อ: กันยายน 09, 2013, 04:20:20 pm »



ฟังด้วยความกรุณา

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรคือพระโพธิสัตว์แห่งการรับฟังอันลึกซึ้ง รับฟังด้วยความกรุณา พลังของความกรุณาคือพลังแห่งการเยียวยา พลังแห่งการฟื้นคืนความสัมพันธ์ การสมานฉันท์ ถ้าเราเข้าใจความทุกข์ของตนเอง เข้าใจความทุกข์ของคนอื่นๆ กลุ่มอื่นๆ เมื่อนั้นความกรุณาจะบังเกิดขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติ นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการเข้าใจความทุกข์จึงสำคัญมาก และลำดับแรก เราจะต้องเข้าใจความทุกข์ในตัวของเราก่อน

มีความทุกข์มากมายที่สะสมอยู่ภายในตัวของเรา เป็นความทุกข์ที่ส่งทอดมาจากคุณพ่อของเรา คุณแม่ของเรา บรรพบุรุษของเรา ประเทศชาติของเรา พี่น้องร่วมแผ่นดินของเรา เมื่อเรารู้วิธีกลับสู่บ้านภายใน กลับมาหาความทุกข์ เราจะเริ่มเข้าใจรากและธรรมชาติของความทุกข์นั้น ความเข้าใจนั้นเองจะนำมาซึ่งความกรุณา เป็นพลังแห่งการเยียวยาและการฟื้นคืนความสัมพันธ์

แต่ในสังคมของเราทุกวันนี้ ผู้คนไม่สนใจที่จะฝึกเพื่อลับมาสัมผัสความทุกข์ภายในตนอีกแล้ว เพราะทุกคนกลัวที่จะพบกับความทุกข์ อยากจะวิ่งหนีตัวเอง เราวิ่งหนีด้วยการบริโภคมากขึ้น เพื่อจะลืมหรือหนีความทุกข์เหล่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุว่าทำไมเราจึงไม่รู้จักกับความทุกข์ของเราเสียที ไม่เข้าใจความทุกข์ของพ่อแม่ บรรพบุรุษ และพี่น้องประชาชน

ในคำสอนทางพุทธศาสนา พระพุทธองค์แนะนำให้เรากลับไปทำความรู้จักความทุกข์ในตัวของเรา การรู้จักความทุกข์คืออริยสัจจ์ข้อแรก หนทางแรกที่จะขจัดความกลัวของเราคือการรับฟังความทุกข์ด้วยความกรุณา เมื่อเธอหายใจเข้าและหายใจออก เธอสร้างพลังแห่งสติขึ้น ด้วยพลังนั้นทำให้เธอไม่กลัวที่จะสัมผัสกับความทุกข์ที่อยู่ภายในตัวเธอ แต่คนทั่วไปไม่รู้จักวิธีการสร้างพลังนี้ เขาจึงกลัวที่จะกลับไปสู่บ้านภายในตัวเองและสัมผัสความทุกข์ที่อยู่ในนั้น กลัวที่จะต้องรับฟังความทุกข์นั้น ไม่กล้าที่จะโอบรับความทุกข์เหล่านั้น

ความทุกข์เป็นพลังงานหนึ่งและสติก็เป็นพลังงานอีกอย่างหนึ่ง ด้วยการฝึกหายใจเธอกำลังสร้างพลังงานแห่งสติ พลังงานแห่งสติรับรู้พลังของความทุกข์ที่มีอยู่และโอบกอดความทุกข์นั้นไว้ด้วยความนุ่มนวล ถ้าเธอทำเช่นนี้ได้สักเพียง 5-8 นาที นับเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เพราะในเวลานั้นเธอกำลังสร้างพลังแห่งสติเพื่อโอบอุ้มพลังแห่งความทุกข์ และขณะนั้นเองกระบวนการแห่งการแปรเปลี่ยนและเยียวยาได้เริ่มขึ้นแล้ว ไม่ต้องกลัวความทุกข์ เพียงแค่สร้างพลังแห่งสติจากการหายใจ จากการเดิน พลังแห่งสติที่สร้างขึ้นก็จะยอมรับความทุกข์ของตัวเราได้ และ โอบอุ้ม โอบกอดความทุกข์ที่มีอยู่

เหมือนคุณแม่ใจดีเมื่อเธอได้ยินเสียงลูกร้องไห้ เธอก็จะเดินไปที่ห้องนั้น สิ่งแรกที่คุณแม่คนนั้นทำก็คืออุ้มลูกขึ้นมา กอดลูกด้วยความอ่อนโยน ปลอบลูกน้อยให้หยุดร้องไห้ พลังแห่งความรักในตัวของคุณแม่แผ่เข้าหาลูก โอบความทุกข์ของลูกเอาไว้ แม่ไม่รู้ว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร เธอเพียงแต่โอบกอดลูกด้วยความอ่อนโยน ด้วยความรักและลูกก็หยุดร้องไห้ สิ่งเหล่านี้เป็นจริงในชีวิตของพวกเราด้วยเช่นกัน เราไม่รู้ว่ารากความทุกข์ของเรามาจากไหน แต่ถ้าเราโอบอุ้มความทุกข์ของเราได้ด้วยพลังสติ ความทุกข์นั้นจะลดลงทันทีในเวลาเพียงไม่กี่นาที จริงๆ แล้วแม่ทำได้ดีกว่านั้นอีก คือเมื่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นมาไม่นาน เธอก็จะรู้ถึงสาเหตุที่ลูกร้องไห้และเธอก็จะแก้ปัญหาของลูกที่ต้นเหตุได้ทันที

นักฝึกปฏิบัติที่ดี เมื่อเขาโอบรับความทุกข์ของเขาไว้ได้ในอ้อมแขน ด้วยความอ่อนโยน ด้วยพลังสติ เขาจะเข้าใจรากความทุกข์สาเหตุแห่งทุกข์ของตัวเองได้ในเวลาไม่นานนัก และหลังจากนั้นวันหนึ่งเขาจะถอนรากของความทุกข์ได้ นี่ไม่ใช่การสวดอ้อนวอน แต่เป็นการปฏิบัติภาวนา

--------------------------------..............................
--------------------------------..............................



บางส่วนจาก...
ธรรมบรรยายโดยท่านติช นัท ฮันห์ > ฟังด้วยความกรุณา
ปาฐกถาธรรม เส้นทางผู้นำกับการสรรค์สร้างความกรุณาและกล้าหาญ
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖
หอประชุมภูมิพลสังคีต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

http://www.thaiplumvillage.org/
****************************************


@ " 'วิปัสสนา ๓' ทางสู่ความหลุดพ้น "
: ทัศนะโดยหลวงปู่ นัท ฮันห์, (McLeod 13) @
30 กันยายน 2013 เวลา 16:51 น.
@@@ THREE DOORS OF LIBERATION @@@
" ๓ ช่องทางที่ทำให้ถึงวิมุตติ "

@ มีปริศนาธรรม(โกอัน/Koan)บทหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของนิกายเซน คือ "ใบหน้าแท้ๆของเธอก่อนที่เธอจะเกิดมา เป็นอย่างไร ? " อนุปัสสนา (contemplating) หรือ การพิจารณาอย่างลึกซึ้ง หรือ การระลึกเนื่องๆถึงความหมายของปริศนาธรรมบทนี้ ช่วยเราให้เข้าใจ การไม่เกิด, การไม่ตาย ซึ่งเป็นธรรมชาติของความจริงแท้(reality)และของตัวเราเอง แลวัวซิแอร์ (Antonio-Laurent Lavoisier)นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศรรตวรรษที่ ๑๘ ได้กล่าวไว้ว่า "ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรตาย " เขาไม่ใช่พุทธศาสนิก แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งผู้ได้ทำการพิจารณาอย่างลึกซึ้ง(looking deeply)ลงไปในสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ

และได้ค้นพบสัจธรรมนี้(this truth) ใน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (the Heart Sutra /พระสูตรสำคัญของฝ่ายมหายาน) ก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า "ไม่มีการเกิด, ไม่มีการตาย, ไม่มีการก่อให้เกิด, และไม่มีการทำลาย " ถ้าหากว่า เธอไม่เกิด แล้วเธอจะตายได้อย่างไรกันเล่า ? ทั้ง การยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)และการไม่ยอมรับ(grasping and rejecting)เป็นเพียงความอาจจะเป็นไปได้เท่านั้น เมื่อเธอไม่เคยได้มองลึกลงไปในแก่นของความจริงแท้

คนเรามีปกติที่พยายามจะปกป้องคุ้มครองชีวิตเอาไว้ และวิ่งหนีจากความตาย แต่ตามคำสอนในพระสูตรดังกล่าวข้างต้นว่า สรรพสิ่งได้ถึงนิรวาน(niravana/ความดับกิเลสและกองทุกข์)จากที่่ไม่มีจุดเริ่มต้น(the non- beginning) ดังนั้น ทำไมเราต้องยึดมั่นถือมั่นสิ่งหนึ่งและไม่ยอมรับอีกสิ่งเล่า ? โดยความจริงสูงสุด(ultimate dimension)ไม่มีการเริ่มต้น และไม่มีการสิ้นสุด(no beginning and no end) แต่เรามักคิดว่า มีบางสิ่งซึ่งอยู่นอกตัวของเราเองที่เราจะบรรลุให้ได้ แต่สรรพสิ่งนั้นมีอยู่พร้อมเรียบร้อยแล้วภายในตัวของเราเอง เมื่อใดที่เราสามารถก้าวข้ามความคิดต่างๆในเรื่องภายในและภายนอก(inside and outside)ได้แล้ว เราก็จะรู้ว่า สิ่งที่เราปรารถนาที่จะบรรลุให้ได้นั้นมันมีอยู่พร้อมเรียบร้อยแล้วในตัวของเราเอง เราไม่ต้องไปค้นหามันในที่ใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าในที่แห่งหนใดหรือกาลเวลาใด (space or time) เพราะมันมีอยู่พร้อมแล้วในปัจจุบันขณะ(the present moment) การพิจารณาอย่างลึกซึ้งในเรื่องไม่มีการบรรลุให้ถึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่เราต้องการที่จะบรรลุให้ได้นั้น เราได้บรรลุมันแล้ว เราไม่จำเป็นที่จะบรรลุให้ถึงในสิ่งใดๆ เรามีมันพร้อมอยู่แล้ว เราเป็นมันอยู่แล้ว

คำสอนเรื่องไม่มีการบรรลุให้ได้นี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากคำสอนเรื่อง 'อัปปณิหิต' (aimlessness) คือ การพิจารณาธรรมด้วยไม่ตั้งความปรารถนา หรือ การกำหนดว่าสรรพสิ่งล้วนมีทุกขลักษณะ(เป็นทุกข์) แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ โดยคำสอนหมดทั้ง ๓ ช่องทาง(three doors)ที่ทำให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น(วิมุตติ/วิโมกข์)นี้เป็นคำสอนที่มีร่วมกันในพระพุทธศาสนาทุกๆสำนัก; ประตูบานแรก คือ สุญญตา (emptiness) สุญญตา หมายถึง ความเป็นสภาพสูญ ความว่าง สรรพสิ่งเป็นของว่าง ว่างจากสิ่งใด ? ว่างจากตัวตนที่แยกต่างหากจากสิ่งอื่นๆ(a separate self) ดอกไม้ดอกหนึ่งประกอบด้วยสรรพสิ่งในสากลโลก ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด หมู่เมฆ อากาศ และอวกาศ ฯลฯ มันว่างจากเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ การมีอยู่ต่างหากจากสิ่งอื่น นั้นคือความหมายของสุญญตา หรือความว่าง เราสามารถใช้สิ่งนี้เป็นกุญแจดอกหนึ่งในการไขประตูไปสู่ความจริงแท้

ประตูบานที่สอง คือ อนิมิต (signlessness) หรือการไม่กำหนดนิมิต(วัตถุอันเป็นรูปสัญลักษณ์) ถ้าเธอเห็นดอกไม้ดอกหนึ่งเป็นได้เพียงดอกไม้ โดยที่เธอไม่เห็นแสงแดด หมู่เมฆ กาลเวลา และอวกาศภายในดอกไม้นั้น นั่นแสดงว่าเธอเกาะยึดอยู่กับนิมิตหรือรูปสัญลักษณ์ของดอกไม้เท่านั้น แต่ถ้าเมื่อใดที่เธอได้สัมผัสถึงธรรมชาติของการอิงอาศัยกันและกันของเหตุปัจจัยแล้วพร้อมกันเกิดขึ้น(interbeing/ปฏิจจสมุปบาท)ของดอกไม้ดอกนั้น นั่นถือว่าเธอได้เห็นดอกไม้นั้นตามเป็นจริง ถ้าเธอเห็นใครบางคนโดยที่เธอยังไม่รู้เกี่ยวกับภูมิหลังทางสังคม การศึกษา บรรพชน วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของเขา แสดงว่าเธอยังไม่ได้เห็นคนๆนั้นตามเป็นจริง แทนที่เธอจะรู้จักคนๆนั้นโดยรูปลักษณ์ของบุคคล คือ รู้ลักษณะภายนอกตามที่ปรากฏตัวตนแยกต่างหากเท่านั้น แต่เมื่อใดที่เธอสามารถเห็นบุคคลนั้นได้อย่างลึกซึ้ง เธอสัมผัสถึงจักรวาลทั้งหมด และเธอจะไม่ถูกหลอกให้โง่(หลง/โมหะ)โดยสิ่งที่ปรากฏอีกต่อไป สิ่งนี้แหละที่เรียกว่า อนิมิต หรือลักษณะที่เป็นอนิจจัง(ความไม่เที่ยง)ของสรรพสิ่ง แล้วถอนนิมิตเสียได้

ประตูบานที่สาม คือ อัปปณิหิต (aimlessness) หรือ การไม่ทำความปรารถนา เราได้เป็นสิ่งที่เราต้องการที่จะเป็นเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องการที่จะเป็นใครอื่นอีก ทั้งหมดที่เราต้องทำคือการเป็นตัวของเราเอง อย่างเต็มที่และแท้จริง เราไม่ต้องวิ่งพล่านตามสิ่งใดๆ ในตัวของเราได้บรรจุจักรวาลทั้งหมดไว้พร้อมแล้ว เราเพียงแค่กลับคืนสู่ตัวของเราเองอย่างเป็นปกติผ่านทางสติ(mindfulness)และสัมผัสให้ถึงสันติสุขและความปีติที่มีอยู่พร้อมแล้วในกาลปัจจุบัน ภายในเราและรอบๆตัวเรา ฉันได้มาถึงเรียบร้อยแล้ว ฉันอยู่ที่บ้านแล้ว ไม่มีสิ่งใดๆที่ต้องทำ นี่คือกุญแจดอกที่สามเพื่อเปิดเผยความจริงแท้ ทั้ง อนิมิต และ ไม่มีการบรรลุให้ถึง เป็นการฝึกอบรมจิตที่มหัศจรรย์

กิเลสทั้งหลาย(afflictions)ของเราไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่าการตรัสรู้(enlightenment) เราสามารถนั่งบนคลื่นแห่งการเกิดและการตายอย่างสันติ(ride the waves of birth and death in peace) เราสามารถเดินทางโดยเรือแห่งความกรุณา(compassion)ไปบนมหาสมุทรแห่งมายาด้วยรอยยิ้มที่ไม่สดุ้งกลัว ในแสงแห่งปัญญาของหลักปฏิจจสมุปบาท(interbeing)นั้น ทำให้เราเห็นดอกไม้ในสิ่งปฏิกูล(garbage) และเห็นสิ่งปฏิกูลในดอกไม้ มันเป็นพื้นฐานของกองทุกข์อย่างมาก เป็นพื้นฐานของเหตุแห่งทุกข์ ที่ซึ่งเราจะสามารถวิปัสสนาเพื่อการตรัสรู้และการเป็นอยู่อย่างไม่มีทุกข์(well-being)ได้ ดอกบัวเจริญเติบโตและเบ่งบานได้ในน้ำโึคลนตมอย่างแน่แท้

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย(Bodhisattavas)เป็นผู้ที่เข้าถึงความจริงแท้ของการไม่เกิดและการไม่ตาย นั้นคือเหตุผลว่า ทำไมท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่มีความสะดุ้งกลัวเลยตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ก็ด้วยอิสรภาพอันนี้เอง ที่พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นสามารถทำสิ่งต่างๆมากมายมหาศาลเพื่อช่วยเหลือบุคคลผู้กำลังตกอยู่ในกองทุกข์ เราเองก็สามารถที่จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งได้เช่นกันในโลกแห่งความทุกข์และความเจ็บป่วยทางจิตวิญญาณนี้ เราก็สามารถนั่งบนคลื่นแห่งการเกิดและการตายโดยปราศจากการสดุ้งกลัว และทำการช่วยเหลือบุคคลผู้ที่กำลังจมลงในมหาสมุทรแห่งความระทมทุกข์ได้ @

ที่มา : Melvin McLeod (Compiled and Edited).
'THE POCKET THICH NHAT HANH.' (Boston & London
: SHAMBHALA, 2012), pp. 92-96.
(แปลและเรียบเรียงโดย Vi.P. ในนาม 'เพื่อนชาวพุทธ')
>>> พอเพียง มาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2013, 04:18:21 pm โดย ฐิตา »