ผู้เขียน หัวข้อ: 26 สิงหาคม วันคล้ายวันประสูติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี  (อ่าน 1183 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


26 สิงหาคม วันคล้ายวันประสูติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี (26 สิงหาคม 2416 - 9 ธันวาคม 2476) เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม...ดูเพิ่มเติม
26 สิงหาคม วันคล้ายวันประสูติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี (26 สิงหาคม 2416 - 9 ธันวาคม 2476) เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในหมู่พระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เมื่อเวลา 00.30 น.เศษ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์กับแม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี ซึ่งแม่เจ้าเทพไกรสรนั้นเป็นพระราชธิดาในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และแม่เจ้าอุสาห์ พระมหาเทวี

เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้น ดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียว ในด้านการกีฬานั้นเล่า ก็โปรดการทรงม้าเป็นอย่างยิ่ง หลังจากอังกฤษได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง พม่าแล้ว อังกฤษได้พยายามขยายอิทธิพลเข้ามายังนครเชียงใหม่และอาณาจักรหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ส่งราชทูตมาทูลขอ เจ้าดารารัศมี ราชธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ในเวลานั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีรับสั่งกราบทูลตอบกลับไปว่าอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ความดังกล่าวได้ถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) ได้อัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชร ไปพระราชทานเป็นของขวัญแด่ เจ้าดารารัศมี เพื่อเป็นการหมั้นหมาย รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ฯ พระราชทานตามแบบอย่างเจ้านายใน "พระบรมราชจักรีวงศ์" เป็นกรณีพิเศษ คล้อยหลัง 3 ปี เจ้าดารารัศมี ได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมาเข้าเฝ้าและถวายตัวในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429

                                   

เมื่อพระองค์เสด็จเข้ามาประทับใน พระบรมมหาราชวัง พระราชบิดาได้ประทานเงินค่าตอไม้ เพื่อสร้างพระตำหนักขนาดใหญ่ขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประทับของ พระราชชายาฯ และข้าราชบริพารในพระองค์ ในระหว่างที่ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทรงดำรงพระองค์อย่างเรียบง่าย มิได้สนพระทัยต่อการถูกมองพระองค์ว่าเป็น "เจ้าหญิงเมืองลาว" แต่ประการใด ทรงให้ข้าราชบริพารในพระตำหนักแต่งกายด้วยผ้าซิ่นแบบล้านนา รวมทั้งให้ศึกษาศิลปะดนตรีไทย ดนตรีสากล การขับร้อง และการฟ้อนรำ ทั้งนี้ พระราชชายาฯ สามารถทรงเครื่องดนตรีได้หลากหลายชนิด แต่ที่ทรงโปรดและถนัดที่สุดคือ จะเข้ พระราชชายาฯ ยังทรงสนพระทัยในการถ่ายรูปซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น นอกเหนือไปจากพระปรีชาสามารถด้านการขี่ม้า

ด้วยการดำรงพระองค์อย่างเรียบง่าย หากแต่แฝงไว้ด้วยพระปรีชาญาณ ความมุ่งมั่น และความเชื่อมั่นในพระองค์ กอปรกับความจงรักภักดีที่ทรงมีต่อพระราชสวามี จึงเป็นที่โปรดปรานฯ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่สุด พระราชชายาฯ ซึ่งขณะนั้นยังทรงดำรงตำแหน่ง "เจ้าจอม เจ้าดารารัศมี" ก็ทรงพระครรภ์ และมีพระประสูติกาลพระราชธิดา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2432 ทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี ในคราวนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่ง "เจ้าจอม เจ้าดารารัศมี" ขึ้นที่ "เจ้าจอมมารดา เจ้าดารารัศมี" การสิ้นพระชนม์ของพระราชธิดาในคราวนี้นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ทรงมีรับสั่งกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวโทษพระองค์เอง ว่า "ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ที่ทรงมิได้สถาปนาพระยศพระราชธิดาให้เป็น "เจ้าฟ้า"ตามศักดิ์แห่งพระชนนีซึ่งเป็นเจ้าหญิงพระราชธิดาในพระเจ้าประเทศราช



พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี หรือพระนามเรียกขานในหมู่ข้าราชบริพารว่า "เสด็จเจ้าน้อย" เป็นที่โปรดปรานฯ ใน พระราชบิดา ยิ่งนัก ด้วยทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์น้อยที่ฉลองพระองค์ซิ่นแบบเจ้านายเมืองเหนือตลอดเวลา เป็นที่น่าเสียดายว่า พระธิดามีพระชันษาเพียง 3 ปี 4 เดือน 18 วัน ก็ได้ประชวรและสิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435

สำหรับ เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมีแล้วนั้น ทรงเสียพระทัยอย่างที่สุด ไม่สามารถรับสั่งเป็นคำพูดได้ ทรงฉีกทำลายพระฉายาลักษณ์ที่ "พระราชสวามี" ประทับร่วมอยู่กับ "พระองค์" และ "พระราชธิดา" เสียจนหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากทรงได้รับลายพระหัตถเลขา จากพระราชบิดาที่ส่งมาประทานแล้ว ทำให้ทรงมีกำลังพระทัยดีขึ้นโดยลำดับ ต่อมาภายหลัง เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมีมิได้มีพระประสูติกาลอีกเลย ทั้งที่โดยความจริงแล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยเอาไว้ก็ตาม ไม่ว่าจะอย่างไร เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมี ก็ยังทรงมุ่งมั่นรับใช้เบื้องพระยุคลบาท และถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบรมราชสวามีอย่างหาที่สุดไม่ได้

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศ "เจ้าจอมมารดา เจ้าดารารัศมี" ขึ้นเป็น "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี"

ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2451 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 พระเชษฐาต่างพระมารดา (ก็คือเจ้าอินทวโรรสนั้นมิได้ประสูติแต่แม่เจ้าพระมหาเทวีดังเช่นพระราชชายาฯ) ได้ลงมาเฝ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชชายาฯ จึงกราบถวายบังคมขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมพระประยูรญาติพร้อมกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ พระเชษฐา ในครานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต ด้วยไม่ทรงต้องการขัดพระทัยพระราชชายาฯ พระราชชายาฯ ประทับอยู่ ณ นครเชียงใหม่ได้หกเดือนเศษ ก็ถึงคราวเสด็จนิวัติ พระนคร

หลังจากเสด็จนิวัติ พระนคร พระราชชายาฯ ได้ทรงประทับอยู่ใน พระราชวังดุสิต อย่างสำราญพระราชหฤทัยที่ได้ทรงกลับมารับใช้เบื้องพระยุคลบาท พระราชสวามีได้เพียง 10 เดือน ก็ต้องทรงประสพกับเหตุวิปโยคคราใหญ่ในพระชนม์ชีพอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชสวามี ได้เสด็จสวรรคต ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับรวมเวลาที่ พระราชชายาฯ ได้ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท เป็นเวลา 23 ปีเศษ

นับแต่สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชชายาฯ ยังทรงประทับใน พระราชวังดุสิต มาโดยตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๗ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่เป็นการถาวร พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เมื่อเวลา 15.14 น. ณ คุ้มรินแก้ว สิริพระชนมายุ 60 ปี 3 เดือน 13 วัน


                    >>> F/B ชมรมประวัติศาสตร์สยาม

********************************************************

https://youtu.be/e5gEviZc64Y ภาพถ่ายมะเมี๊ยะตอนอายุ 20 ปี

Jay-z Jazz 1 week ago Comment
 สาวน้อยเจ้าของตำนานรักแสนเศร้ากับเจ้าน้อยสุขเกษม ณ เชียงใหม่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานอา ของเจ้าดารารัศมี พระชายาในรัชกาลที่ 5 ขณะเจ้าน้อยอายุ 15 ถูกส่งไปเรียนที่ รร.เซนต์แพทริก รร.แคธอลิกของฝรั่งที่ประเทศพม่า เพราะขณะนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เจ้าน้อยเรียนอยู่หลายปี วันหนึ่งไปเดินเล่นที่ตลาด ได้พบมะเมี้ยะแม่ค้าสาวสวย เจ้าน้อยอายุ 19 มะเมี๊ยะอายุ 15 เกิดความรักและตัดสินใจแต่งงาน

......จนเจ้าน้อยอายุ 20 เรียนจบถูกเรียกกลับเชียงใหม่ เจ้าน้อยให้มะเมี้ยะปลอมเป็นเด็กรับใช้ชาย แอบในเรือนเล็ก โดยไม่รู้ว่าเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้หมั้นเจ้าบัวนวลเอาไว้ให้ เจ้าน้อยไม่ยอมแต่งงาน และเปิดเผยว่ามีเมียแล้วคือมะเมี้ยะ เจ้าพ่อเจ้าแม่ของเจ้าน้อยไม่ยอมรับในตัวมะเมี้ยะ เรื่องนี้ถูกแจ้งไปถึง รัชกาลที่ 5 กับเจ้าดารารัศมี ซึ่งทั้งสองพระองค์ไม่เห็นด้วย เจ้าน้อยถูกวางตัวให้เป็นรัชทายาทของล้านนา ดังนั้นจะมีชายาเป็นพม่าไม่ได้ เพราะขณะนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ ซึ่งอังกฤษจะถือเอาล้านนาไปเป็นของพม่าด้วย เลยบังคับส่งมะเมี้ยะกลับพม่า
......เจ้าน้อยสัญญาว่าอีก 3 เดือนจะไปรับมะเมี้ยะกลับ ทั้งคู่สาบานกันไว้ว่าจะไม่รักใครอื่น หากใครผิดคำสาบานขอให้อายุสั้น ตอนที่จะส่งมะเมี้ยะกลับพม่านั้นตำนานบันทึกไว้ว่า

"มะเมี้ยะก้มกราบเท้าเจ้าน้อยโดยใช้ผมเช็ดเท้าให้เจ้าน้อยที่ประตูเมือง ชาวบ้านออกมามุงกันทั้งเมืองเพราะได้ยินว่ามะเมี้ยะงามมาก จงรักภักดีบูชาสามีสุดชีวิต แล้วก็กอดขาร้องไห้ เจ้าน้อยก็ร้องไห้ คนที่มามุงดูร้องไห้ไปทั้งเมืองด้วยความสงสารความรักของทั้งคู่ "

......ต่อมาเจ้าน้อยโดนเรียกมายังกรุงเทพเพื่อแต่งงาน โดยเจ้าดาราฯ จัดเจ้าบัวชุม ซึ่งเป็นพระญาติ และเป็นสาวที่สวยที่สุดในตำหนักเจ้าดารารัศมี ร่ำลือกันว่าเล่นดนตรีไทยเก่ง ด้วยเหตุนี้เจ้าน้อยจำต้องแต่งแล้วถูกกักตัวอยู่ที่กรุงเทพ

..... ขณะนั้นเจ้าพ่อของเจ้าดาราฯ สิ้นพระชนม์ เจ้าอาของเจ้าน้อยได้ขึ้นเป็น เจ้าหลวงองค์ใหม่ เจ้าพ่อของเจ้าน้อยได้เป็นเจ้าราชบุตร(อุปราช) เท่ากับว่าเจ้าน้อยเป็นรัชทายาทอันดับ 3 ถ้าสิ้นเจ้าสองพระองค์นี้เจ้าน้อยจะครองเชียงใหม่ ก็ยิ่งไม่มีทางได้รับมะเมี้ยะกลับมา
......มะเมี้ยะรอเกิน 3 เดือน แต่เจ้าน้อยก็ไม่มาตามสัญญาเลยไปบวชชี เพื่อพิสูจน์รักแท้ว่าจะไม่มีคนใหม่ เมื่อได้ยินว่าเจ้าน้อยกลับเชียงใหม่เลยมาดักที่คุ้ม แต่เจ้าน้อยไม่ยอมออกมาพบ (จริงๆ แล้วเจ้าน้อยแอบดูอยู่ข้างหน้าต่าง ได้แต่ร้องไห้ไม่กล้าสู้หน้าที่ผิดสัญญา เลยฝากให้ท้าวบุญสูงพี่เลี้ยง เอาแหวนทับทิม กับเงินอีก 1 กำปั่น ( 800 บาท) ไปให้แม่ชีมะเมี้ยะ ทางด้านแม่ชีบอกว่าไม่มาขอรักคืน เพียงแต่มาถอนคำสาบานให้
...... เจ้าน้อยฝากมาบอกแม่ชีว่า เงินนี่ทำบุญตามแต่แม่ชีจะใช้สอย ส่วนแหวนให้แทนใจ ว่าหัวใจอยู่กับมะเมี้ยะเสมอ แม่ชีเสียใจมาก รับไปแต่แหวนไม่รับเงิน เจ้าน้อยหลังจากกับแม่ชีคราวนั้น ก็เอาแต่กินเหล้าไม่มีใจรักเจ้าบัวชุม ในที่สุดก็ตรอมใจตายหลังจากแต่งงานได้ไม่นาน ขณะที่อายุเพียง 30 ปี (ในบันทึกบอกว่าสิ้นพระชนม์ด้วยโรคพิษสุรา อีก 6 ปีต่อมาหลังจากพบแม่ชีมะเมี้ยครั้งสุดท้าย

.....ผู้บันทึกเรื่องนี้คือ เจ้าบัวนวล คู่หมั้นคนแรกที่ถอนหมั้นไปหลังจากรู้ว่าเจ้าน้อยมีมะเมี้ยะ ส่วนเจ้าบัวชุมเป็นข้าบาทจาริกาจนอายุ 81 ปี เจ้าบัวนวลบันทึกว่า ตลอดชีวิตเจ้าน้อยรักผู้หญิงคนเดียวจนสิ้นลม คือมะเมี๊ยะหลังจากนั้นเรื่องของเจ้าน้อยกับมะเมี้ยะ ก็ถูกสั่งห้ามพูดไปหลายปีเพราะเป็นเรื่องทางการเมือง ต้องปิดบัง รายละเอียดเลยหายไปเหลือแต่ตำนาน เจ้าบัวนวลพระคู่หมั้น เมื่อแรกรู้สึกเสียหน้าแต่หลังจากนั้นก็รู้สึกเห็นใจและศรัทธาในรักแท้ของเจ้าน้อยจริงๆ
...... เจ้าดารารัศมี บันทึกไว้ว่าทรงไม่คิดว่าเจ้าน้อย จะปักใจมั่นกับมะเมี้ยะ เจ้าดารารัศมีทรงคิดว่าหลายปีผ่านไป เมื่อได้ภรรยาที่ดีพร้อม เจ้าน้อยคงลืมความรักครั้งแรกได้ แต่เจ้าน้อยไม่ลืมจนสิ้นชีวิต

ตามหามะเมี๊ยะจนพบ
https://www.youtube.com/playlist?list=PLnAGyAF9b8vUBNzGf7RvGlp9k2Ru8u9uw
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2015, 01:26:55 pm โดย ฐิตา »