ผู้เขียน หัวข้อ: เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระปิยมหาราช  (อ่าน 5687 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระปิยมหาราช
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2012, 09:39:34 am »



การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453
1.การยกเลิกระบบไพร่

1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่
เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก

1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย

ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล

พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ

พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย


1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่
ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ

1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น
2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง

           

2. การเลิกทาส
ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ

1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้
2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส
3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส
4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง
6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์
7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม

สิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้องของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณีต่อไปนี้

1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง
2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ
3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ



2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย

2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้
3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว
4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย

2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส
การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป


2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม

(2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411

(3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5

(4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย

(5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย


พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้

3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ( มณฑลพายัพ ) พ.ศ.2443
พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป


4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447
พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส

5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448
พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ
(1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก
(2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส
1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน
2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น


-http://latikantapeeti.blogspot.com/2010/06/5.html


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2012, 10:53:02 am »



ทวยราษฎร์รักบาทแม้    ยิ่งด้วยบิตุรงค์

ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ
ดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน
ทรงสถิตเสวยสุข  ณ  ทิพยสถานชั่วนิรันดร์ เทอญ.

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม    ขอเดชะ


ความเป็นมา  .  .  .
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง  ร.ศ.๑๒๖    ขากลับเมื่อเสด็จออกจากเมืองสิงคโปร์มากรุงเทพฯ  ได้เสด็จแวะเมืองตราดและเมืองจันทบุรีด้วย    เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่  ๑๗  พฤศจิกายน  ร.ศ.๑๒๖    ส่วนการรับเสด็จฯ นั้น  ทรงพระราชปรารภว่า  จะจัดอย่างไรก็ตาม  แต่ถ้าให้แล้วเสร็จไปได้ในวันเดียวจะเป็นที่พอพระราชหฤทัยกว่าอย่างอื่น  .  .  .

                     การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ยังคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองเป็นเอนกอนันต์ เนื่องจากเป็นผลดีแก่พระพลานามัย  และยุติปัญหากับฝรั่งเศส  กล่าวคือฝรั่งเศสยอมคืนเมืองตราดให้แก่ไทย  กับยอมถอนทหารซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรีกลับไปด้วย  ไม่ล่วงล้ำเกี่ยวข้องแดนไทยดังแต่ก่อน  .  .  .
ความเป็นไป  .  .  .   



๑๑   พฤศจิกายน  ร.ศ.๑๒๗  พ.ศ.๒๔๕๑
ทรงเปิดพระบรมรูปทรงม้า   ณ  พระลานพระราชวังดุสิต


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  กราบบังคมทูลถวายพระบรมรูปทรงม้าและถวายไชยมงคล


          “การซึ่งท่านทั้งหลายได้พร้อมใจกันสร้างรูปเราขึ้นไว้ในครั้งนี้  ก็นับว่าเป็นถาวรนิมิตอันดีในความพร้อมเพรียงของชาติ อันเกิดขึ้นในใจท่านทั้งหลาย แลแสดงเป็นพยานความเชื่อถือไว้วางใจใน             เจ้าแผ่นดินและรัฐบาลของตน อันเป็นเหตุจะให้เกิดมหรรฆผลเพื่อความผาสุกสำเร็จแก่ชาติของเราใน ภายหน้า

           อนึ่ง  ท่านทั้งหลายที่เป็นชาวนานาประเทศ ได้มีน้ำใจอารีแสดงความปรารถนาอันดี  มีส่วนด้วยในการสร้างรูปอันงามนี้  เราขอแสดงความขอบใจท่านทั้งหลายแท้จริง พร้อมกันกับด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งอาณาประชาราษฎรของเรา ในการที่ยกย่องให้เกียรติยศอันยิ่งใหญ่แก่ตัวเราแต่เวลายังมีชีวิต  จะเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจของเราอยู่เป็นนิตย์นิรันดร แลข้อโสมนัสอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะยกขึ้นกล่าวได้ว่าเสมอกันก็คือ ที่ได้เห็นท่านทั้งหลายสมัครสโมสรแสดงความรื่นเริงพอใจภักดีต่อตัวเราในมงคลสมัย การซึ่งเป็นไปในครั้งนี้ ปรากฏแก่เราว่าจะเป็นที่ตั้งของความสนิทติดพันกันในระหว่างชาติเราแลนานาประเทศ อันเป็นเหตุให้เกิดผลไพบูลย์แก่ประเทศเรา แลจะเป็นเครื่องเตือนใจให้ประชาราษฎรของเราทวีความพยายามยิ่งขึ้นที่จะยกเกียรติยศแห่งชาติอันเป็นที่รักของเรา ให้ดำเนินไปถึงที่ตั้งมั่นอันสูงสุด  ซึ่งจะพึงถึงพร้อมด้วยดีทุกประการ

          บัดนี้เรามีความยินดีรับคำเชื้อเชิญของท่านทั้งหลายแล้ว แลจะได้เปิดถาวรอนุสาวรีย์อันเป็นเครื่องหมายแห่งความสโมสรสามัคคีของชาติชาวสยาม
ขอให้ตั้งอยู่เป็นเครื่องหมายน้ำใจของชาติอันใหญ่ อันจะมีสืบไปทุกชั่วทุกชั้นในกาลภายหน้า”








ศุภมัสดุ  พระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว ๒๔๕๑ พรรษา
 จำเดิมแต่พระมหาจักรกรีบรมราชวงษ์ได้เสด็จจะประดิษฐาน
แลดำรงกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยา
 เป็นปีที่ ๑๒๗  โดยนิยม


 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
 บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม
 จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร
 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 เสด็จดำรงสิริราชสมบัติมา ถ้วนถึง ๔๐ ปีเต็มบริบูรณ์
 เปนรัชสมัย ที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราช
 แห่งสยามประเทศในอดีตกาล
 พระองค์กอปรด้วยพระราชกฤษดาภินิหาร เป็นอัจฉริยภูมิบาลบรมบพิตร

 เสด็จสถิตย์ในสัจธรรม์อันมั่นคงมิได้หวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤไทย ในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักร
 ให้สถิตย์สถาพร แลให้เกิดความสามัคคีสดมสรเจริญศุขสำราญทั่วไปในอเนกนิกรประชาชาติเป็นเบื้องน่าแห่ง
 พระราชจรรยา ทรงพระสุขุมปรีชาสามารถสอดส่องวินิจฉัยในคุณโทษแห่งประเพณีเมืองทรงปลดเปลื้องโทษ
 นำประโยชน์มาบัญญัติ โดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้าชักจูงประชาชนให้ดำเนินตาม ในทางที่ดีงามดีมีประโยชน์
 เปนแก่นสาร พระองค์ทรงทำให้ความศุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาไศรยดำเนินอยู่เนืองนิตย์ ใน

 พระวิริยแลพระขันตีอันคุณแรงกล้า ทรงอาจหาญในพระราชจรรยามิได้ย่อท้อต่อความยากลำบากยากเข็ญ มิได้เห็น
 ที่ขัดข้องอันใดเปนข้อควรขยาด แม้ประโยชน์แลความสุขในส่วนพระองค์ ก็อาจทรงสละแลกความสุขสำราญ
 พระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ โดยทรงกรุณาปรานี พระองค์คือบุพการีของราษฎรเพราะเหตุเหล่านี้ แผ่นดิน
 ของพระองค์ จึ่งยงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงามมหาชนชาวสยามถึงความศุขเกษมล่วงล้ำ อดีตสมัยที่ได้ปรากฏมา
 พระองค์จึ่งเปนปิยมหาราชที่รักของมหาชนทั่วไป

 ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัยรัชมังคลาภิเศกสัมพัจฉรกาล
 พระราชวงษานุวงษเสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณอาณาประชาชน
 ชาวสยามประเทศทุกชาติทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ทั่วรัฐสีมาอาณาเขตร
 มาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณามาแล้วนั้น จึ่งพร้อมกันสร้างพระบรมรูปนี้
 ประดิษฐานไว้สนองพระเดชพระคุณ เพื่อประกาศพระเกียรติยศ

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช
 ให้ปรากฏสืบชั่วกัลปาวสาน

 เมื่อสุริยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถี พุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาศกาฬปักษ์ ตติยดิถีในปีวอกสัมฤทธิศก
 จุลศักราช ๑๒๗๐


 ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

พระมหากรุณาธิคุณ  พระบรมราชกฤษฎาภินิหาร พระบารมี  พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญแล้ว
ได้ยังคุณประโยชน์แก่พระราชอาณาจักรและยังคงปกเกล้าปกกระหม่อมมหาชนชาวสยามเป็นพ้นประมาณ
ตราบจนปัจจุบัน  และตลอดนิจนิรันดร์



๐  บารมีพระมากพ้น        รำพัน
พระพิทักษ์ยุติธรรม์                ถ่องแท้
บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน              ส่องโลก    ไซร้แฮ
ทวยราษฎร์รักบาทแม้             ยิ่งด้วยบิตุรงค์


จาก บทพระราชนิพนธ์  ลิลิตนิทราชาคริต



ภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลิกทาส  ณ  เพดานโดม
ด้านทิศใต้ของท้องพระโรงกลางพระที่นั่งอนันตสมาคม

 เนื่องในวโรกาส มหามงคลวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๕๐ ปี ในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๖  องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงเป็นบุคคลดีเด่นของโลก ในสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคม และการสื่อสาร เป็นที่ประจักษ์ถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน

๐   จุฬาลงกรณ์มหาราชเจ้า               สยามินทร์
พระเกียรติพระลือระบิล                     เกริกก้อง
ไทยเทศทั่วสกลยิน                         ยลทั่ว
พระราชกรณียกิจพ้อง                       แผ่ล้วนคุณอนันต์


จากหนังสือ  พระบรมราชานุสรณ์  รัชกาลที่  ๕    ประเทศสวีเดน

: samphan - http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711159


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ เสด็จสวรรคต
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2012, 01:03:23 pm »



วันที่  ๒๓  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๕๓ เสด็จสวรรคต

เสด็จสวรรคต - ร่ำไห้โศกาดูรกันทั้งแผ่นดิน
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระธาตุพิการ มาแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙    พระโรคกลายเป็นทางพระวักกะพิการ  แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวายพระอาการหาคลายไม่ ถึงวันเสาร์ที่  ๒๒  ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙   เวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที  เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังสวนดุสิต  พระชนมพรรษา ๕๘  เสด็จดำรงศิริราชสมบัติ ๔๓ พรรษา วันในรัชกาลนับแต่มูลพระบรมราชาภิเศก ๑๕๓๒๐ วัน  .  .  .


(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๑๒๙ หน้า ๑๗๘๒
ข่าวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)


พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

วันที่  ๒๓  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๕๓
          เวลาเช้า
   สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา  พระบรมราชเทวีประทับเป็นประธานในการถวายน้ำสรงพระบรมศพเป็นส่วนฝ่ายใน
          ตอนบ่าย    เชิญพระบรมศพขึ้นพระแท่นทอง  ทรงพระภูษาแดงลอยชาย  ทรงสพักแพรสีนวล  สะไบเฉียง

          เวลา  ๑๖.๐๐  นาฬิกา    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงเครื่องเต็มยศถวายสรงน้ำพระบรมศพ  พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า  และข้าราชการชั้นเสนาบดี  หม่อมเจ้าชั้นพานทอง  เสร็จแล้ว   พนักงานภูษามาลาถวายเครื่องสุกำ  ทรงเครื่องตามขัติยราชประเพณี  ทรงภูษาเขียนทองพื้นขาว  โจงหน้าหลัง  แลมีทับพระทรวง  พระสังวาล  พาหุรัด  ทองพระกร  พระธำรงค์  ๘  นิ้วพระหัตถ์  ทองข้อพระบาท  ทองปิดพระพักตร์ลงยา  ห่อใบเมี่ยง  ๑๖  ผืน    เสร็จแล้ว  เชิญเสด็จลงพระลองเงินประทับบนกาจับหลักทองคำลงยาราชาวดี  แล้วคลุมตาด    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชถวายพระชฎามหากฐิน   เสร็จแล้วเชิญพระลองจากชั้นบนลงอัฒจันทร์  ผ่านมาทางหลังห้องประชุมลงอัฒจันทร์ใหญ่ถึงหน้าที่นั่ง    ตั้งพระเสลี่ยงไปขึ้นสามคาน    ประกอบพระโกศทองใหญ่  มีพระมหาเศวตฉัตรกั้น    พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์  และ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์  ประคองพระโกศ    มีกระบวนแห่  ทหารบก  ๒,๐๐๐  คน  แล้วถึงตำรวจมหาดเล็กแต่งยูนิฟอร์มเสื้อครุยอย่างขบวนพยุหยาตรา    กลองชนะแดง  ๘๐    ทอง  ๒๐    เงิน  ๒๐    จ่าปี่  จ่ากลอง  ๒  สำรับ    มีตำรวจถือหวาย  ถือหอก    ขั้นนาย  สพายกระบี่    เครื่องสูงหักทองขวาง  บังแซก  ๒  สำรับ    พระแสงหว่างเครื่อง    แต่งเครื่องเสื้อครุยลำพอก    แล้วถึงพระที่นั่งสามคาน    มีพระกลดบังสุริยาคู่เคียง  ๘  คู่    พระยา  ทหาร  และราชสำนัก  มหาดเล็กเชิญเครื่องสูง    หลังนาฬิวันเปลือยผมอยู่ท้ายเครื่อง  มีธงสแตนดาร์ดเดินตาม  มีนายทหารกำกับธง    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงพระดำเนินตาม  แล้วถึงเจ้านายทรงดำเนินเรียง  ๔    ตั้งแต่เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  แล้วม้าพระที่นั่ง  ๔  ตัว    แล้วขุนนางตั้งแต่เจ้าพระยาเป็นต้นไป  ทหารเรืออยู่ท้ายกระบวน  จำนวน  ๖๐๐    แห่ออกผ่านพระที่นั่งสีตลาภิรมย์  มาออกกำแพงที่รื้อเป็นช่องเลียบทางพระที่นั่งอนันตสมาคม  ออกพระลาน  ผ่านพระบรมรูปทางด้านตะวันตก  ไปตามถนนราชดำเนิน    เลี้ยวหน้าพระลาน

          ตามทางกระบวนแห่จะได้เห็นราษฎรสองข้างทางมีดอกไม้  ธูปเทียนบูชา  และร้องไห้แทบทุกคน  แม้แต่ทหารถือปืนข้างถนน
          กระบวนแห่เข้าประตูวิเศษไชยศรี  พิมานไชยศรี  เข้าพระมหาปราสาท    เมื่อพระบรมศพถึงแล้ว  เปลื้องประกับ  เชิญขึ้นทางมุขเหนือประตูตะวันตกมีฐานพระบุพโพฐานเขียง    ห้อยเศวตรฉัตร์  ๙  ชั้น    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ครองแผ่นดินทอดผ้าสดัปกรณ์  ๑๒๐    ผ้าขาว  ๒๔๐    แล้วเสด็จขึ้นราว  ๕  ทุ่ม
          ระยะทางเดินกระบวนจากสวนดุสิตถึงพระบรมมหาราชวังราว  ๓  ชั่วโมง   ทหารปืนใหญ่ยิงสลุตถวายตั้งแต่สรงน้ำพระบรมศพทุกนาที  จนตั้งพระโกศเสร็จ    มีประโคมและนางร้องไห้พวกเจ้าจอมและพนักงาน
          ผู้ใหญ่ที่มีชีวิตทันเหคุการณ์นี้  ได้เล่าว่า  วันนั้นอากาศมืดครึ้มอยู่ทั้งวัน  ครั้นกระบวนเชิญพระบรมศพเข้าสู่พระบรมมหาราชวังแล้ว  พักใหญ่  ฝนก็ตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตา
 

 พระบรมโกศประดิษฐาน  ณ  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง
วันที่  ๑๓  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๕๓    ทำพิธีอัญเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระเบญจาทองคำ  ณ  ท่ามกลางพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
          งานออกพระเมรุทั้ง  ๓  วัน    โปรดให้ประชาชนเฝ้าถวายสักการบูชาพระบรมศพ    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเวลาบ่าย  และเช้าเลี้ยงพระ

วันที่  ๑๖  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๕๓
          เวลา  ๑๔  นาฬิกา  เชิญพระบรมศพเสด็จขึ้นสามคาน    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์  เสด็จขึ้นประคองพระบรมโกศเบื้องหลัง และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา  เสด็จขึ้นประคองพระโกศเบื้องหน้า    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ขึ้นพระยานมาศทรงโยงพระบรมศพ    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศขึ้นพระยานมาศทรงโปรยข้าวตอก    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงอภิธรรม    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินตามพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์    ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน  อัญเชิญพระบรมศพออกทางประตูศรีสุนทร  ประตูเทวาภิรมย์  เดินกระบวนไปตามถนนมหาราช  เลี้ยวถนนเชตุพน  วัดพระเชตุพน  มีพลับพลาเล็กข้างวัด    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวงษาภรณภูสิตภูษามาลาเชิญพระบรมโกศขึ้นเกรินประทับบนพระมหาพิไชยราชรถ    กรมหลวงนครไชยศรีทรงม้านำขบวน  กองทหารม้า  ทหารราบหลายเหล่า  กองพระอิสริยยศ  ราชรถเล็กสมเด็จพระมหาสมณเจ้าประทับราชรถทรงอภิธรรม  พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์  แล้วถึงพระมหาพิไชยราชรถ    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินตาม  ไปสู่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง    พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในเฝ้าที่ปะรำข้างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์


กระบวนแห่พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประดิษฐานอยู่บนพระยานมาศสามลำคาน
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์  เสด็จขึ้นประคองพระบรมโกศเบื้องหลัง
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา  เสด็จขึ้นประคองพระโกศเบื้องหน้า


 กระบวนแห่พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประดิษฐานอยู่บนพระมหาพิไชยราชรถ ประกอบด้วยเครื่องสูงเต็มยศ กระบวนแห่ ๔ สาย




กระบวนแห่พระบรมศพผ่านหน้ากระทรวงกลาโหม

          ขณะที่พระบรมโกศเคลื่อนเข้าเกรินนั้น  ชาวประโคม  แตรสังข์  กลองชนะ  มโหรทึก  ทหารบกยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ  และยิงต่อเนื่องไปทุกนาที    ถึงพระเมรุ  เปลี่ยนจากพระมหาพิไชยราชรถเสด็จสามคาน     สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยประคองพระโกศ   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกทรงโยง   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมาทรงโปรย  ทรงพระยานมาศทั้งสองพระองค์     สมเด็จเจ้าฟ้าทุกพระองค์ทรงพระภูษาขาว  ผ้าทรงเยียระบับขาว  ฉลองพระองค์ครุยขาว  พระมาลามีขนนก  เมื่อเวียน  ๓  รอบแล้ว  เชิญเสด็จขึ้นบนพระจิตกาธานแล้ว  ปืนใหญ่หยุดยิง  เปลี่ยนทรงพระโกศไม้จันทน์


พระเมรุมาศ

          สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแล้ว  เสด็จขึ้นถวายบังคมพระบรมศพ  ถวายพระเพลิง    พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน  ข้าราชการ  ราชฑูต  ผู้แทนรัฐบาล  กงศุล ทุกประเทศ  ถวายพระเพลิงพระบรมศพ

วันที่  ๑๗  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๕๓
           ตอนเช้า  ๗  นาฬิกา    เสด็จพระราชดำเนินที่พระเมรุ  เสด็จขึ้นถวายบังคมพระบรมอัฐิ    กระบวนสามหาบ  เดินกระบวน  ๙  หาบ
          เมื่อเดินครบ  ๓  รอบแล้ว  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นบนพระเมรุ  ทรงจุดเครื่องทองน้อย  ทรงทอดผ้าไตร  ๙  ไตร  สมเด็จพระราชาคณะ  และพระราชาคณะ  ขึ้นสดัปกรณ์    เจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าคลุมพระบรมอัฐิ    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายพระสุคนธ์  ทรงโปรยเหรียญทองและเงิน  นอกจากนั้นยังมีเข็มกลัดพนะบรมนามาภิไธยพระจุลจอมเกล้ามีเพชร  ๖  เม็ด  เข็ม จ.ป.ร.อีกมาก    พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในเสด็จขึ้นบนพระเมรุรับพระบรมอัฐิและพระนามาภิไธยเป็นที่ระลึก   
          เสร็จแล้วเลี้ยงพระสามหาบ    แห่เชิญพระบรมอัฐืเสด็จขึ้นพระที่นั่งราเชนทรยาน    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์  ฝ่ายพลเรือน  ข้าราชการเดินตามพระบรมอัฐิเข้าในพระบรมมหาราชวัง    เสด็จขึ้นพระเบญจา    มีงานสมโภชอีก  ๓  วัน




กระบวนแห่พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรังคาร

วันที่  ๑๗ - ๑๘ - ๑๙ - ๒๐   มีนาคม  พ.ศ.๒๔๕๓    มีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนไปกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ  ซึ่งจะได้ประดิษฐานไว้บนพระเบญจาทองคำ  ณ  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


วันหลังเลี้ยงพระสดัปกรณ์แล้ว  เจ้าพนักงานภูษามาลาเชิญพระบรมอัฐิ
ขึ้นพระราชยานขึ้นบนพระที่นั่งจักรีฯ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จขึ้นบนพระที่นั่งจักรีฯ ชั้น  ๓  ประดิษฐานบนพระวิมาน



พระมหากรุณาธิคุณ  พระบรมราชกฤษฎาภินิหาร พระบารมี  พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญแล้ว
ได้ยังคุณประโยชน์แก่พระราชอาณาจักรและยังคงปกเกล้าปกกระหม่อมมหาชนชาวสยามเป็นพ้นประมาณ
ตราบจนปัจจุบัน  และตลอดนิจนิรันดร์



samphan -http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711159










ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี
เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือ
ของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า
"สมเด็จพระปิยมหาราช"
ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้..
..ประกาศให้ วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"



>>> F/B Ametise Clinic


เหตุการณ์ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
เหตุการณ์อันเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดของปี พ.ศ. 2453 ก็คือ ข่าวการสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำความทุกข์ใจมาสู่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเหลือที่จะพรรณนาเพราะพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนในสมัยนั้นอย่างมาก

พระราชกรณียกิจอย่างสุดท้าย ก่อนพระอาการจะกำเริบจนไม่อาจเสด็จออกมาจากห้อง พระบรรทมได้อีก ไปจนถึงพระกระยาหารมื้อสุดท้าย แม้แต่เหตุที่ทรงพระกันแสงครั้งสุดท้ายและพระราชดำรัสประโยคสุดท้ายก่อนจะสวรรคต ทั้งหมดล้วนเป็นพระราชประวัติแนวพงศวดารกระซิบ แต่มีพยานบุคคลยืนยันหนักแน่น

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับเป็นวันแรกที่พระเจ้าอยู่หัวมีพระอาการประชวร ภายหลังจากที่ทรงขับรถออกไปประพาสฟาร์มเลี้ยงไก่ ที่ทุ่งพญาไทแต่มิได้เสด็จลง จากรถพระที่นั่ง รับสั่งว่า “ท้องไม่ค่อยสบายจะรีบกลับ”

วันที่ 17-19 ตุลาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลประจำปีถวายรัชกาลที่ 4 ในพระบรม มหาราชวัง แต่เนื่องจากพระนาภี (ท้อง) ยังไม่ปกติ จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทน

ในวันที่ 19 ตุลาคม ประทับพักฟื้นบนพระแท่นบรรทมแต่โปรดให้เจ้านายฝ่ายนอกเข้า เฝ้า เช่น กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ และกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ฯลฯ เข้าเฝ้าบนพระที่นั่งอัมพรสถาน ชั้น 3 ในห้องพระบรรทม ยังสามารถตรัสข้อราชการและตรัสเล่น กับผู้ที่ไปเฝ้าเหมือนมีพระอาการปกติ วันนี้ตรัสสั่งให้พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี ตั้งสำรับขนมจีนน้ำยาเป็นเครื่องตอนกลางวัน ส่วนตอนมื้อเย็นนั้นให้ทรงจัดเป็นกระทงสังฆทานประกอบด้วยเครื่องคาว7อย่าง มีฉู่ฉี่ปลาสลิดสด แกงเผ็ด หมูหวาน ผัด น้ำพริก ผักและปลาดุกย่างทอดเครื่องหวานเสวยพระกระยาหารได้ แต่เริ่มพระนาภีไม่สู้ ดีจึงเสวยพระโอสถปัด (ยาถ่าย) วันนี้นับเป็นการเสวยแบบปกติครั้งสุดท้าย

วันที่ 20 ตุลาคม พระอาการกำเริบมากขึ้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งให้ตาม หมอฝรั่ง มีนายแพทย์เบอร์เมอร์ นายแพทย์ไรเตอร์ และนายแพทย์ปัวซ์ เข้ามารักษา นับแต่วันนี้ให้หมอฝรั่งดูอาการอยู่ประจำ

วันที่ 21 ตุลาคม เวลาย่ำรุ่งบรรทมตื่น ตรัสว่าพระศอแห้ง แล้วเสวยพระสุธารสเย็น รับสั่งว่าอยากจะเสวยอะไรให้ชุ่มพระศอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถถวายน้ำเงาะคั้น 1 ลูก พอเสวยได้ครู่เดียว ก็ทรงพระอาเจียนออกมาหมด จนต้องให้ตามหมอทั้ง3ขึ้นมา ในวันนี้ทรงพระราชดำรัสเพียง 2 ประโยคว่า “การเจ็บครั้งนี้จะรักษากันอย่างไร ก็ให้รักษาเถิด” และ “การรักษาเดี๋ยวนี้เป็นอย่างใหม่เสียแล้ว” ตอนค่ำวันนี้มีพระบังคนเบา (ปัสสาวะ) ประมาณ 1 ช้อนชา และเป็นครั้งสุดท้าย

วันที่ 22 ตุลาคม พิษของพระบังคนเบาซึมไปตามเส้นพระโลหิตทั่วพระองค์ ทำให้มีพระอาการเซื่องซึมบรรทมหลับอยู่เสมอ วันนี้พระองค์ เจ้าสายสนิทวงศ์ แพทย์แผนไทย มาเข้าเฝ้าเพื่อตรวจพระอาการ ทรงพระราชดำรัสเป็นครั้งสุดท้ายว่า “หมอมาหรือ” แล้วก็มิได้รับสั่ง อะไรอีกต่อไป เย็นวันนี้พระหทัยเต้นอ่อนลง ลืมพระเนตรได้ แต่หายพระทัยทางพระโอษฐ์ พ่นแรงๆจนเห็นพระมัสสุไหวได้แต่ไกล สมเด็จพระบรมราชินีนาถกราบทูลว่าเสวยน้ำ ยังทรงพยักพระพักตร์ได้ แล้วยกพระหัตถ์ขวา และซ้ายที่สั่นขึ้นเช็ดน้ำพระเนตรคล้าย ทรงพระกันแสง แบบน้อยพระทัยพระองค์เองว่าทำไมหมดเรี่ยวแรง

กาลเวลาล่วงไปอย่างช้าๆ ทรงหายพระทัยเบาลงทุกที หมอฝรั่งผลัดเปลี่ยนกันคอยจับพระชีพจรประจำอยู่ที่พระองค์ พระอาการเวลานั้นเสมือนบรรทมหลับนิ่งอยู่ มิได้มีพระอาการทุรนกระวนกระวายแต่อย่างใดเลบ จนกระทั่งหลัง 2 ยามเพียง 45 นาที ก็เสด็จสวรรคตในลักษณะที่ยังบรรทมหลับอยู่

>>> :F/B ชมรมประวัติศาสตร์สยาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2013, 08:58:37 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระปิยมหาราช
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 08:23:11 pm »



เนื่องในวโรกาส คล้ายวันพระราชสมภพ 20 กันยายน ของสมเด็จพระปิยะมหาราช
ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายพระพรชัย ขอพระญาณอันผ่องใส
ในพระสยามเทวาธิราช แห่งองค์สมเด็จพระปิยะมหาราช ได้ประกาศพระนามแผ่ไกลไพศาล
แผ่ตระการแด่มนุษยชนทั่วหล้า กระเดื่องพระนามา พระมหาราชไทย
อธิษฐานขอให้ ท่านช่วยดูแลสยามประเทศ ของเราชาวไทย ให้รอดพ้น
จากภัยพิบัติทั้งปวงด้วยเทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

- เสาวลักษณ์ สุวรรณเครือ -


**********************

ข้าแด่องค์พระปิยมหาราช
ข้าพระบาทน้อมประนบพระทรงศรี
เนื่องจากคล้าย"วันสวรรคต"พระภูมี
23 ต.ค.นี้บรรจบกาล..

ร้อยมาลาเป็นมาลัยใจสำนึก
น้อมรำลึก"พระมหากรุณาธิคุณ"พระทรงศรี
ข้าพระบาทกราบแทบเท้าพระภูมี
แด่องค์จักรี"มหาราช"ของชาติไทย...

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


เสาวลักษณ์ เล็ก สุวรรณเครือ

***************************



สมาคมประวัติศาสตร์ไทย

๒๐ กันยายน ๒๕๕๖ วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครบ ๑๖๐ ปี

ขอร่วมถวายพระพร.. เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระปิยมหาราช
ขอถวายพระพรชัย เนื่องในวโรกาส
คล้ายวันพระราชสมภพ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ในนาม.. ทีมงานใต้ร่มธรรมค่ะ


**************************************



สมาคมประวัติศาสตร์ไทย

วันเยาวชนแห่งชาติ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๖
วันคล้ายวันพระราชสมภพยุวกษัตริย์ถึงสองพระองค์

วันเยาวชนแห่งชาติ เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยเมื่อสหประชาชาติกำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ

เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสองพระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในฐานะยุวกษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

>>> F/B สมาคมประวัติศาสตร์ไทย
*************************

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีเพียงพระองค์เดียวที่ทรงเสด็จพระราชสมภพในราชาฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงเสด็จพระราชสมภพในต่างประเทศ (กรุงไฮเดลเบิร์ก เยอรมณี) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่ไม่ทรงไว้พระเมาลีในขณะทรงพระเยาว์เหมือนกับพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อนๆ เป็นพระมหากษัตริย์คู่แรกในราชวงศ์จักรีที่ทรงพระราชสมภพในวันคล้ายวันพระราชสมภพเดียวกัน (๒๐ กันยายน ปีฉลู) และ หากว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงครองราชย์ยาวนานออกไปอีก พระองค์คงจะเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เป็นด็อกเตอร์และเป็นพระประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย (ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอก) สาขาวิชานิติศาสตร์ จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์) - นัฐพล ศรีชมภู


สมาคมประวัติศาสตร์ไทย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2013, 02:49:13 pm โดย ฐิตา »