ผู้เขียน หัวข้อ: ย่อมมาจากอวิชชา ซึ่งเป็นมลทินอย่างยิ่ง  (อ่าน 1338 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




การที่จะอธิบายเรื่อง “ วิชชา “ และ “ อวิชชา “ นั้น
จะต้องมีคำบาลีเข้ามาสอดแทรกอยู่บ้าง
แต่ก็จะพยายามอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายและมากที่สุดก็แล้วกัน

คำว่า “ วิชา “ มาจากภาษาบาลีที่เขียนว่า วิชฺชุ หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียน หรือฝึกฝน หรืออาจจะเป็นความรู้ที่ได้มาจากการที่บุคคลหนึ่งถ่ายทอดให้ผู้อื่นก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมอไป

ส่วนคำว่า “ วิชชา “ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงที่มีอยู่ เป็นความรู้พิเศษ ได้มาจากการฝึกฝนในการทำสมาธิวิปัสสนา ซึ่งวิชชาในบาลีนี้มีทั้งวิชชา ๓ และ วิชชา ๘

วิชชา ๓ ได้แก่
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ - ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในปางก่อน คือ การระลึกชาติได้
๒. จุตูปาตญาณ - ญาณกำหนดรู้จุติ (ตาย) และอุบัติ (เกิด) แห่งสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพพจักขุญาณ หรือตาทิพย์
๓. อาสวักขยญาณ - ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน) ทั้งหลาย คือการตรัสรู้


คำว่า “ ญาณ “ ในที่นี้ หมายถึง ความปรีชาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิวิปัสสนา
เรื่องของวิชชา ๓ นี้ มักปรากฏในตอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเล่าลำดับการตรัสรู้ของพระองค์ ตั้งแต่การออกบวช การทรมานตน...จนถึงวันที่ตรัสรู้

ตรัสเล่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ว่า “ ...เรานั้น เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อน...คือ ตามระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง เราตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อนได้หลายประการ...ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่หนึ่ง...”

ตรัสเล่าจุตูปาตญาณ ว่า “ ...เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส...ได้น้อมไปเพื่อญาณในจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นมีจักษุทิพย์ หมดจดวิเศษล่วงจักษุของมนุษย์ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติอยู่ อุบัติอยู่ ผู้เลวทราม ผู้ประณีต...เรารู้ชัดสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงตามกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ...เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก...นี้เป็นวิชชาที่ ๒ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ เสียได้...”

อาสวักขยญาณ ทรงตรัสเล่า ว่า “...เราได้รู้ชัดค?วามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาดำเนินถึงความดับทุกข์ ได้รู้ความจริงว่า นี้อาสวะทั้งหลาย นี้เหตุให้อาสวะทั้งหลายเกิดขึ้น นี้ความดับอาสวะทั้งหลาย นี้ปฏิปทาดำเนินถึงความดับอาสวะทั้งหลาย...รู้ชัดว่า ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นเช่นนี้ ไม่มีอีก...วิชชาที่ ๓ เราได้บรรลุในยามสุดท้ายแห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้...”

วิชชา ๘ ได้แก่
๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณทัสสนะ) - ญาณในวิปัสสนา หรือญาณที่เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร นามรูปโดยไตรลักษณ์ (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปลง่าย ๆ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) มีต่างกันออกไปเป็นชั้น ๆ ต่อเนื่องกัน

๒. มโนมยิทธิ - ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ได้
๓. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ – ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
๔. ทิพพโสต – ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์
๕. เจโตปริยญาณ - ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ - ระลึกชาติได้
๗. ทิพพจักขุ – ตาทิพย์
๘. อาสวักขยญาณ – ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

สำหรับวิชชา ๘ นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้าอชาตศัตรู โดยแสดงต่อจากคำบรรยายเรื่องการบรรลุฌานที่ ๔ แล้วมีจิตน้อมไปเพื่อการเกิดวิชชา ๘ นี้


วิปัสสนาญาณ ตรัสอธิบายว่า “ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ...ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เกิดจากมารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงมีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ “

มโนมยิทธิ ตรัสอธิบายว่า “ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ...ย่อมน้อมไปเพื่อนิรมิตรูป อันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง “

อิทธิวิธิ ตรัสอธิบายว่า “ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏก็ได้ หายไปก็ได้ ทะลุกำแพงภูเขาไปดุจไปในที่ว่าง เดินบนน้ำไม่แตกดุจเดินบนแผ่นดิน เหาะไปในอากาศ...."
ทิพพโสต ตรัสว่า “ เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งใกล้และไกล “
เจโตปริยญาณ ตรัสว่า “ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น บุคคลอื่นด้วยใจ รู้ว่าจิตนั้นมีราคะหรือไม่มี จิตนั้นหลุดพ้นหรือยังไม่หลุดพ้น...”

วิชชาข้อที่ ๖ – ๘ คือ วิชชา ๓ ที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น
ส่วนข้อที่ ๓ – ๘ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อภิญญา ๖
ในตำราวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า ผุ้ที่จะมีวิชชา ๘ ได้ จะต้องผ่านการเข้าฌานขั้นต่าง ๆ และต้องมีความชำนาญในกสิน ๘ ซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก จึงไม่ขอนำมากล่าวในที่นี้

และเมื่อพูดถึงวิชชาแล้ว ก็ควรจะรู้ไปถึง อวิชชา ด้วย
อวิชชา ภาษาบาลีเขียนว่า อวิชฺชา หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง คือไม่รู้ในความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยถูกต้องแจ่มแจ้ง ไม่ได้หมายถึงความไม่รู้ในศิลปะวิชาการต่าง ๆ หรือความไม่รู้ร้อนรู้หนาว เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ ๘ ประการ แต่จะไม่พูดถึงในเชิงบาลี เพราะจะทำให้เข้าใจยาก พูดตามภาษาธรรมดา ๆ อวิชชา ๘ ได้แก่

๑. ไม่รู้จักทุกข์ คือไม่รู้ว่านี้เป็นทุกข์
๒. ไม่รู้จักเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือเมื่อรู้ว่ากำลังทุกข์ แต่ไม่รู้ว่าอะไรทำให้เป็นทุกข์
๓. ไม่รู้จักการดับทุกข์
๔. ไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
๕. ไม่รู้จักอดีต
๖. ไม่รู้จักอนาคต
๗. ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต

๘. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท คือไม่รู้ธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา หรือความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เช่น เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เป็นต้น
(๔ ข้อแรก คือการไม่รู้อริยสัจ ๔ นั่นเอง)

จะว่าไปแล้ว อวิชชา เป็นสภาวะธรรมของมนุษย์ที่มีมาพร้อมกับการเกิดขึ้นในโลก หรือเป็นธรรมชาติของคนที่ย่อมต้องเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะยังไม่ได้มีการศึกษา สะสมการปฏิบัติ?ภาวนา

การที่จะดับอวิชชาลงได้นั้น จึงต้องมีวิชชา หรือความรู้แจ้งในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงมีเมตตาอบรมสั่งสอนไว้ อันมีสติ และสมาธิเป็นรากฐาน เป็นเครื่องสนับสนุนให้เกิดปัญญา และต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น ไม่มีใครสามารถทำให้เราเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงที่มีอยู่ได้ นอกจากตัวของเราเอง

ตโต มลามลตรํ อวิชฺชา ปรมํ มลํ
เอตํ มลํ ปหนฺตวาน นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว

บรรดามลทินใหญ่น้อยทั้งหลายย่อมมาจากอวิชชา ซึ่งเป็นมลทินอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลายจงละมลทินนี้เสีย และเป็นผู้ไม่มีมลทินเถิด



                >>> F/B Trader Hunter พบธรรม


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ย่อมมาจากอวิชชา ซึ่งเป็นมลทินอย่างยิ่ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 06:17:32 pm »



ปัญญาสมมติไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้
ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรคจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้....
...เหตุเกิดจากคิด จึงมีผลเกิดภพเกิดชาติขึ้นมาได้
เราปลูกฝังความคิดกันจนเคยชิน
จนมีแต่เหตุและผลของตนเต็มไปด้วยอัตตา....
*********************




พระพุทธเจ้าแท้ ธรรมแท้ อยู่ที่ใจ
การอุปฐากใจตัวเอง คือ การอุปฐากพระพุทธเจ้า
การเฝ้าดูใจตัวเองด้วยสติปัญญา
คือ การเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริง

ธรรมะ ท่านสอนให้ดูตัวเอง ระวังตัวเอง
จะได้เห็นความบกพร่องของตัวเอง แล้วแก้ไขตัวเองเรื่อย ๆ
จนสมบูรณ์ได้ ถ้าทำด้วยความระมัดระวัง
ความบกพร่องแม้มีก็ไม่มาก ฉะนั้น สติจึงสำคัญ
และมาอันดับหนึ่ง ปัญญามาที่สอง

กิเลสนี้มีอยู่ประจำตลอดเวลา และกล่อมสัตว์โลกได้อย่างสนิท
ปิดหู ปิดตา ไม่สามารถที่จะทราบว่า มันเป็นภัยได้เลย
ความสุขความทุกข์อันแท้จริงอยู่ที่ใจ อย่าพากันตะครุบเงาของกิเลส
ศีลเป็นรั้วกันความคะนองทางกายวาจา
มีใจเป็นผู้รับผิดชอบในงานและผลงานที่กายวาจา ทำขึ้น
*******************




พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีต, อนาคต และ ในปัจจุบัน
ล้วนแต่ ตรัสรู้ อริยสัจสี่
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พระ อรหันตสัมมาสัม พุทธเจ้า องค์ใด ๆ
ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงไปแล้ว ในกาลยืด ยาวนาน ฝ่ายอดีต,
ท่านทั้งหลาย เหล่านั้น ได้ตรัสรู้ ตามเป็นจริง ซึ่งความจริง
อันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ๆ
จักได้ตรัสรู้ ตามเป็นจริง ต่อกาล ยืดยาวนาน ฝ่ายอนาคต,
ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ก็จักได้ตรัสรู้ ตามเป็นจริง ซึ่งความจริง
อันประเสริฐ สี่อย่าง.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้
ตามเป็นจริงอยู่ ในกาลเป็นปัจจุบันนี้ ก็ได้ตรัสรู้อยู่ซึ่ง
ความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง.
ความจริง อันประเสริฐสี่ อย่างนั้น เหล่าไหนเล่า ?
สี่อย่างคือ :
ความจริง อันประเสริฐ คือ ทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์,
และความจริง อันประเสริฐ คือ ทางดำเนิน ให้ถึง ความดับ ไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้
พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามเป็นจริงว่า
“นี้ เป็นทุกข์,
นี้ เป็นเหตุให้ เกิดทุกข์,
นี้ เป็นความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์,
นี้ เป็นทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์”
ดังนี้เถิด.
มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๔.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ย่อมมาจากอวิชชา ซึ่งเป็นมลทินอย่างยิ่ง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 06:27:20 pm »




สักแต่ว่า... (นัยที่ ๑)
พาหิยะ ! เมื่อใดเธอ
เห็น รูป แล้ว สักว่าเห็น,
ได้ฟังเสียง แล้ว สักว่าฟัง,
ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย,
ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส,
ได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว ;
เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.

เมื่อใด “เธอ” ไม่มี ;
เมื่อนั้น เธอก็ไม่ ปรากฏ ในโลกนี้,
ไม่ปรากฏ ในโลกอื่น,
ไม่ปรากฏ ในระหว่าง แห่งโลก ทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุด แห่งทุกข์ละ.
อุ. ขุ. ๒๕ / ๘๓ / ๔๙.
////////////////////////////////////////////

สักแต่ว่า... (นัยที่ ๒)
“ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคน
แก่คนเฒ่า มานาน ผ่านวัย มาตามลำดับ. ขอพระผู้มี พระภาค ทรง
แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคต จง ทรงแสดงธรรมโดยย่อ ใน
ลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่ว ถึงเนื้อความ แห่ง
ภาษิตของพระผู้มี พระภาคเจ้า ในลักษณะ ที่ข้าพระองค์
จะพึงเป็น ทายาทแห่งภาษิต ของ พระผู้มี พระภาค เจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”

มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญ ความข้อนี้ว่า
อย่างไร คือ รูปทั้งหลาย อันรู้สึก กันได้ ทางตา เป็นรูป
ที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลัง เห็นอยู่ ก็ไม่มี
ที่ท่านคิดว่า ท่านควรจะ ได้เห็น ก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความ
พอใจก็ดี ความ กำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น
ย่อมมีแก่ ท่าน หรือ ?

“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”
(ต่อไปนี้ ได้มี การตรัสถาม และ การ ทูลตอบ ในทำนอง
เดียวกันนี้ทุก ตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อของสิ่ง ที่นำ มากล่าว
คือในกรณีแห่ง เสียง
อันรู้สึก กันได้ ทางหู ใน
กรณี แห่ง กลิ่น อันรู้สึกกัน ได้ทางจมูก ใน
กรณีแห่ง รส อันรู้สึก กันได้ ทางลิ้น ใน
กรณีแห่ง โผฏฐัพพะ อันรู้สึก เป็น
แต่เพียง สักว่า ได้ยิน ;
ใน สิ่งที่ท่าน รู้สึก แล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)
จักเป็นแต่ เพียง สักว่า รู้สึก ;

ใน สิ่งที่ท่าน รู้แจ้ง แล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จัก
เป็นแต่ เพียงสักว่า รู้แจ้ง.
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรม
เหล่านั้น : เมื่อ สิ่ง ที่เห็น แล้ว สักว่าเห็น,
สิ่งที่ฟัง แล้ว สักว่า ได้ยิน,
สิ่งที่ รู้สึก แล้ว สักว่ารู้สึก,
สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว สักว่า รู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใด ตัวท่าน ไม่มีเพราะ
เหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่าน ก็ไม่มี ในที่นั้น ๆ ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใด ตัวท่านไม่มี ในที่นั้น ๆ,
เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มี ในโลกนี้ ไม่มี ในโลกอื่น
ไม่มีใน ระหว่าง โลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุด แห่ง ความทุกข์ ดังนี้.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ รู้ทั่วถึง เนื้อความ
แห่งภาษิตอัน พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดย ย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
ดังต่อไปนี้ :-
เห็นรูปแล้ว สติ หลงลืม ทำ ในใจซึ่ง รูปนิมิต ว่า น่ารัก
มี จิต กำหนัด แก่กล้า แล้ว เสวยอารมณ์ นั้นอยู่
ความ สยบ มัวเมาย่อม ครอบงำ บุคคลนั้น.
เวทนาอันเกิด จากรูป เป็น อเนกประการ ย่อมเจริญ แก่ เขานั้น.

อภิชฌา และ วิหิงสา ย่อมเข้าไป กลุ้ม รุมจิต ของเขา.
เมื่อสะสม ทุกข์อยู่ อย่างนี้ ท่าน กล่าวว่า ยังไกล จาก นิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้
อย่างเดียวกัน).

บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูป
แล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ความ
สยบมัวเมา ย่อมไม่ ครอบงำ บุคคลนั้น.
เมื่อเขาเห็นอยู่ ซึ่งรูปตามที่ เป็นจริง เสวยเวทนา
อยู่ทุกข์ ก็สิ้นไป ๆ ไม่ เพิ่มพูนขึ้น
เขามี สติ ประพฤติ อยู่ด้วย อาการอย่างนี้,
เมื่อ ไม่สะสม ทุกข์อยู่ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้ ต่อ นิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้
อย่างเดียวกัน).

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
อย่างนี้ พระเจ้าข้า !”
พระผู้มีพระภาค ทรง รับรอง ความข้อนั้น ว่า
เป็น การถูกต้อง. ท่าน มาลุงก๎ยบุตร หลีก ออกสู่ ที่สงัด
กระทำความเพียร ได้เป็น อรหันต์ องค์หนึ่ง ในศาสนานี้.
สฬา.สํ. ๑๘ / ๙๑-๙๕ / ๑๓๒-๑๓๙.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ย่อมมาจากอวิชชา ซึ่งเป็นมลทินอย่างยิ่ง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 06:50:49 pm »


ความเห็น ความยึดถือ
ยอมรับได้มั้ยว่ากายไม่ใช่เรา บางคนก็ยอมรับได้บางคนก็ยังยอมรับไม่ได้ ถึงเห็นว่าไม่ใช่เราก็ยังรักยังยึดถือ คนละอันกันนะ ระหว่างความเห็นกับความยึดถือเนี่ย คนละอันกัน ความเห็นเรียกว่า ทิฎฐิ (ภาษาไทยสะกด ทิฐิ – ผู้ถอด) ความยึดถือเรียกว่า อุปาทาน (คนละความหมายกับคำว่า อุปทาน ที่คนใช้ – ผู้ถอด) เป็นองค์ธรรมคนละชนิดกัน เรามีความเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา แต่ยังรักอยู่

พระสกทาคามีเห็นมาตั้งแต่แรกแล้วว่าร่างกายไม่ใช่เรา แต่ยังยึดร่างกายอยู่ พระอนาคามีไม่ยึดร่างกายแล้ว แต่ยังยึดจิตอยู่ เห็นว่าจิตไม่ใช่เรามาตั้งแต่เป็นนักภาวนาอย่างนี้แหละ เริ่มเห็นความจริงว่าจิตไม่ใช่เรา เห็นอย่างถ่องแท้ว่าจิตไม่ใช่เรา เมื่อเป็นพระโสดาบัน แต่ก็ยังยึดจิตอยู่ อยากให้จิตมีความสุข อยากให้จิตมีความสงบ อยากให้จิตมีความดี

เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าพระอนาคามีเนี่ย คลุ้มคลั่งอะไรมากที่สุด คลุ้มคลั่งในการถนอมรักษาจิตมากที่สุดเลย หวงที่สุด ประคับประคอง คล้ายๆขี้ฝุ่นมาเกาะนี้มันก็ปัดๆ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช





ปลดปล่อยตนเองสู่ อิสระ ธรรมดาแล้ว ขันธ์ทั้ง ๕ ก็ไม่ใช่อะไรเลย
ที่เรายึดว่ามันเป็นอะไรๆ ก็เพราะเรารู้ไม่ทันอวิชชาเท่านั้น
เมื่อไปหลงยึดเข้า ความทุกข์ย่อมเกิดมีขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อรู้แล้ว
เร่งทำวิชชาให้เจริญ จะได้รู้ทันสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
*** เมื่อไม่หลงยึดในขันธ์ทั้ง ๕ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องทุกข์อีก ***
*********************

สุขสงบไปทีละขณะจิต หากมีทุกข์เข้ามาแทรก
มันก็เป็นอดีตที่ดับไปแล้ว ใยต้องยึดกังวลอีก
แค่อยู่กับขณะบัจจุบันที่ไม่ทุกข์เลย...เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...
**************

คนเราทุกวันนี้ดิ้นรนไข่วคว้าหาสิ่งที่ไม่มี
และสุดท้ายทุกคนก็จะได้ในสิ่งเดียวกัน คือ ไม่ได้อะไร...
**************

ยึดถือสิ่งใดเป็นของตน ย่อมทุกข์เพราะสิ่งนั้น
ไม่ได้ครอบครอง ก็ไม่ต้องยึดถึอ ก็ไม่ต้องทุกข์
*************

สรรพสิ่งในโลกล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
การปล่อยวางจากสิ่งเหล่านั้นได้ย่อมอยู่เหนือจากทุกข์ทั้งปวง...
****************************

" ปัญญาญาณหรือญาณหรือญาณวิปัสสนาแล้วแต่จะเรียก " เท่านั้น
ที่นําไปสู่การรู้แจ้ง และเมื่อเห็นตามที่เป็นจริงจึงจะพ้นอวิชชา
ไม่มีบทสวดใดหรือต้องทําบุญที่ใด ถึงจะบรรลุนิพพาน
ความบริสุทธิ์ของจิตเกิดได้ในทุกขณะ เหตุนี้องคุลีมาลจากฆาตกร
จึงกลายเป็นอรหันต์ได้ในเสี้ยววินาที จากการรู้แจ้ง....
***************

ไม่มีอะไรให้ต้องเอา ไม่มีอะไรให้ต้องยึด สุดท้ายตัวเราเล่า
ก็เป็นดังเช่นกองขยะกองหนึ่ง
ที่ไม่มีใครเขาต้องการ จะคงเหลือก็เพียงความปราถนาดีที่มีให้แก่กัน...



>>> F/B Trader Hunter พบธรรม