ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

春节祝福话 : คำมงคลวันตรุษจีน

(1/3) > >>

sithiphong:
春节祝福话 : คำมงคลวันตรุษจีน

-http://www.jiewfudao.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99.html-


วันพุธที่ 18 มกราคม 2555 www.jiewfudao.com

         20110131455885_2.shtml.jpg

               "วันตรุษจีน" เป็นเทศกาลมหามงคลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน มีชื่อเรียกถึงความหมายของคำว่า "ตรุษจีน" ไว้หลายแบบ ส่วนใหญ่แล้วในประเทศจีนจะเรียกวันตรุษจีนว่า ชุนเจี๋ย(春节) หมายถึง เทศกาลแห่งฤดูใบไม้ผลิ เพราะเป็นการบ่งบอกสัญญาณว่า เมื่อตรุษจีนเวียนมาถึง แสดงว่า "ฤดูใบไม้ผลิ" หรือชุนเทียน(春天)  ที่มีอากาศอันแสนอบอุ่นกำลังจะมาถึงแล้ว

            การนับวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน หรือ "วันตรุษจีน" นั้น จะนับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีนเป็นวันแรกของปี ในสมัยโบราณนั้น นอกจากคำว่า "ชุนเจี๋ย" แล้ว ยังมีคำเรียกอื่น ๆ อีก อาทิ เอวี๋ยวต้าน(元旦) (ปัจจุบันจะหมายถึง วันขึ้นปีใหม่สากล วันที่ 1 มกราคม)  , เอวี๋ยนเฉิน (元辰) และ เอวี๋ยนเจิ้ง(元正) เป็นต้น ในวันนี้จะเป็นวันที่ชาวจีนให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของบรรดาเทศกาลต่าง ๆ เพราะเชื่อกันว่า วันแรกซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ จะทำให้ชีวิตของคนเราได้พบกับสิ่งใหม่ ๆ สิ่งดี ๆ และนำโชคนำลาภมาสู่ตนเอง

            ดังนั้น จึงทำให้เกิดเป็นคติความเชื่อที่ว่า ในวันตรุษจีนนี้ จะต้องสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส พูดจาไพเราะอ่อนหวาน และเมื่อไปเยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่หรือพบปะเพื่อนสนิทมิตรสหาย จะนิยมอวยพรในสิ่งดี ๆ ให้แก่กันและกัน ถ้อยคำเหล่านั้นจึงล้วนเป็นคำมงคลที่มีความหมายอันดีงาม และนี่เองที่เป็นที่มาของ "คำมงคลวันตรุษจีน"(春节祝福福语) ที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีนที่พิเศษกว่าชนชาติใด ๆ

            คำมงคลวันตรุษจีนนั้นมีอยู่มากมายนับร้อยนับพันคำ ในที่นี้จึงขอยกเพียงตัวอย่างคำมงคลวันตรุษจีนยอดนิยมที่มักเป็นอักษรมงคลที่คุ้นหูและสามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ ในช่วงเทศกาลวันตรุษจีน ดังนี้

 

 ภาษาจีน   

   

PINYIN
   

คำอ่านไทย
   

คำแปล

恭喜发财
   

gōng xǐ fā cái
   

กง สี่ ฟา ไฉ
   

ขอให้ร่ำรวยมั่งคั่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป

恭贺新禧
   

ɡōnɡ hè xīn xǐ
   

กง เฮ้อ ซิน สี่
   

ขอให้มีแต่เรื่องมงคลน่า

ยินดีปรีดา

新年快乐
   

xīn nián kuài lè
   

ซินเหนียน ไคว้เล่อ
   

สุขสันต์วันปีใหม่

新年进步
   

xīnnián jìnbù
   

ซินเหนียน จิ้นปู้
   

ขอให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปในปีใหม่นี้

新春大吉
   

xīn chūn dà jí
   

 ซิน ชุน ต้า จี๋
   

ขอให้ปีใหม่นี้ประสบ

พบมหามงคล

心想事成
   

xīn xiǎng shì chéng
   

ซิน เสี่ยง ซื่อ เฉิง
   

ขอให้คิดในสิ่งใด สำเร็จในสิ่งนั้น

大吉大利
   

dà jí dà lì
   

ต้า จี๋ ต้า ลี่
   

ขอให้มีมหามงคล กำไรมีแต่เพิมพูน

万事如意
   

wàn shì rú yì
   

ว่าน ซื่อ หยู อี้
   

ขอให้เรื่องราวมากมาย สำเร็จสมดั่งใจหมาย

一帆风顺
   

yī fán fēng shùn
   

อี้ ฝาน เฟิง ซุ่น
   

ขอให้ประสบพบแต่

ความราบรื่น

一本万利
   

yī běn wàn lì
   

อี้ เปิ่น ว่าน ลี่
   

ขอให้ลงทุนสิ่งใด กำไรมากมหาศาล

四季平安
   

sì jì píng ān
   

ซื่อ จี้ ผิง อัน
   

ขอให้แคล้วคลาด

ตลอดปี

五福临门
   

wǔ fú lín mén
   

อู่  ฝู หลิน เหมิน
   

ขอให้ความสุขทั้งมวลมา

เยือนถึงที่

身体健康
   

shēn tǐ jiàn kāng
   

เซิน ถี่ เจี้ยน คัง
   

ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายสมบูรณ์

富贵吉祥
   

fùguì jí xiánɡ
   

ฟู่ กุ้ย จี๋ เสียง
   

ขอให้มีแต่สวัสดิมงคล โชคดี ร่ำรวย

财源广进
   

cáiyuán guǎng jìn
   

ไฉ เอวี๋ยน กว่างจิ้น
   

ขอให้มีทุนทรัพย์กว้าง

ใหญ่ไพศาล

金玉满堂
   

jīn yù mǎn tánɡ
   

จิน อวี้ หม่านถัง
   

ขอให้มีทรัพย์สมบัติ

เต็มบ้านเต็มเรือน

开张骏发
   

kāi zhāng jùn fā
   

คาย จาง จวิ้น ฟา
   

ขอให้เริ่มงานใหม่

มีแต่รุ่งเรือง

开门大吉
   

kāi mén dà jí
   

คาย เหมิน ต้า จี๋
   

ขอให้เปิดประตูรับแต่

สิ่งมหามงคล

货如轮转
   

huò rú lún zhuàn
   

ฮั่ว หยู หลุน จ้วน
   

ขอให้ค้าขายคล่องดั่งล้อ

หมุนไปข้างหน้า

岁岁平安
   

suì suì píng ān
   

ซุ่ย ซุ่ย ผิง อัน
   

ขอให้ตลอดชีวิตมีแต่

สุขสันต์ร่มเย็น

生活美满
   

shēng huó měimǎn
   

เซิง หัว เหมย หม่าน
   

ขอให้ชีวิตเต็มไปด้วย

สิ่งสวยหรู

年年有余
   

nián nián yǒu yú
   

เหนียน เหนียน โหย่ว อวี๋
   

ขอให้ทุก ๆ ปีเหลือกินเหลือใช้

生意兴隆
   

shēng yi xīng lóng
   

เซิง อี้ ซิง หลง
   

ขอให้การค้ามีแต่

เจริญรุ่งเรือง

花开富贵
   

huā kāi fù guì
   

ฮวา คาย ฟู่ กุ้ย
   

ขอให้มั่งคั่งร่ำรวยวาสนา

ดังดอกไม้ผลิบาน

迎春接福
   

yíng chūn jiē fú
   

อิ๋ง ชุน เจีย ฝู
   

ขอให้รับปีใหม่รับ

ความสุขสม

上落平安
   

shàng luò pínɡ ān
   

ซ่าง ลั่ว ผิง อัน
   

ขอให้ขึ้นเหนือล่องใต้

มีแต่สวัสดิภาพ

出入平安
   

chū rù píng ān
   

ชู ยู่ ผิง อัน
   

ขอให้เดินทางไปกลับ

โดยปลอดภัย

工作顺利
   

gōngzuò shùnlì
   

กงจั้ว ซุ่น ลี่
   

ขอให้ทำงานโดยราบรื่น

事事如意
   

shì shì rú yì
   

ซื่อ ซื่อ หยู อี้
   

ขอให้ทุก ๆ เรื่อง สมหวังดั่งใจหมาย

步步高隆
   

bù bù gāo lóng
   

ปู้ ปู้ เกาหลง
   

ขอให้ทุกก้าวย่างมีแต่รุ่งเรือง

合家平安
   

hé jiā píng ān
   

เหอ เจียะ ผิง อัน
   

ขอให้ทุก ๆ คนมีแต่ความสงบร่มเย็น

 

 

อ้างอิงจาก

 

  -   หนังสือ 108 สิ่งมิ่งมงคลจีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล

- -http://www.enet.com.cn/life/xiuxian/cultrue/201101/20110131455885_1.shtml-

sithiphong:
ตี่จู้เอี๊ยะ เทพอารักษ์ประจำบ้าน ตามความเชื่อของชาวจีน

-http://hilight.kapook.com/view/96000-





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           ตี่จู้เอี๊ยะ เทพประจำบ้านผู้ปกปักอารักษ์คนในบ้าน ชาวจีนนิยมตั้งตี่จู้เอี๊ยะไว้ในบ้านเพื่อคุ้มครองและเสริมความสมบูรณ์พูนสุขแก่ผู้อาศัย การตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ทำได้อย่างไร และควรไหว้ตี่จู้เอี๊ยะอย่างไร มาติดตามกันเลย

           ชาวจีนและเหล่าลูกหลานไทยเชื้อสายจีนมักจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชะตาชีวิต รวมทั้งเทพเจ้าผู้มีหน้าที่อารักษ์พิทักษ์มนุษย์กันมาเนิ่นนานตั้งแต่อดีต ดังที่เราจะเห็นได้จากสิ่งที่สะท้อนความเชื่อเหล่านี้ของชาวจีน ผ่านสิ่งของหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่ชาวจีนนิยมทำ เช่น การไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และสิ่งหนึ่งที่เรามักจะพบเห็นโดยทั่วไปในบ้านเรือนของลูกหลานชาวจีน ก็คือ ตี่จู้เอี๊ยะ หรือที่สถิตย์ของเทพอารักษ์ผู้ปกปักรักษาคนในบ้านเรือนนั้น ๆ นั่นเอง

           ตามความเชื่อของจีน ตี่จู้เอี๊ยะ คือเทพที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ผู้ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาผู้อยู่อาศัยในบ้าน ดังนั้นการที่เจ้าของบ้านจัดสถานที่อยู่อาศัยให้แก่เทพที่คุ้มครองเรา จึงนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อด้วยว่าหากมีการวางตำแหน่งตี่จู้เอี๊ยะได้อย่างถูกต้อง เทพตี่จู้เอี๊ยะจะช่วยเสริมชะตาของเจ้าของบ้าน ทั้งในเรื่องโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจบารมี สุขภาพร่างกาย รวมถึงความผาสุขของผู้อาศัยในบ้านด้วย

           การตั้งตี่จู้เอี๊ยะ

           สำหรับการตั้งตี่จู้เอี๊ยะนั้น มีหลักการเดียวกับการตั้งศาลพระภูมิของคนไทย คือตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง เพื่อให้ได้โชคลาภมาก และยิ่งตั้งได้ติดพื้นจะยิ่งดีเพราะจะได้รับพลังจากธาตุดินได้ดีกว่า โดยตี่จู้เอี๊ยะนั้นสามารถตั้งไว้ในบริเวณใดของบ้านก็ได้ โดยมีหลักการตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ดังนี้

           ทิศด้านหลังตี่จู้เอี๊ยะ ไม่ควรอยู่ชิดประตู รวมถึงบันได ห้องน้ำ และห้องครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรตรงกับเตาไฟ ควรวางตี่จู้เอี๊ยะพิงด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ควรเคลื่อนย้าย

           ทิศด้านหน้าตี่จู้เอี๊ยะ ควรเป็นพื้นที่โล่ง เพื่อรองรับโชคลาภบารมีที่จะเข้ามา และมีแสงสว่างที่เพียงพอ

           ทิศด้านบนตี่จู้เอี๊ยะ ไม่ควรอยู่ใต้ขื่อคานหรือมีสิ่งใดวางทับ เพราะจะเป็นการลดพลังของตี่จู้ได้

           ทิศด้านใต้ตี่จู้เอี๊ยะ ควรวางตี่จู้เอี๊ยะตั้งติดดิน และสามารถนำแผ่นเงิน แผ่นทอง หรือเพชรนิลจินดา มาใส่ไว้ด้านใต้ได้ เพราะเป็นวัตถุธาตุดินช่วยเสริมพลังของเทพตี่จู้เอี๊ยะได้


           ของไหว้ตี่จู้เอี๊ยะ

           1. กระถางธูป หากเป็นกระถางธูปใหม่ จะใช้ โหง่วเจ่งจี้ หรือธัญพืช 5 อย่างปนลงไปในผงธูป ที่ด้านข้างกระถางควรแปะผ้าแดงที่เรียกว่า อั่งติ้ว เอาไว้ด้วย และมีผงขี้เถ้าสำหรับกระถางธูป เพื่อเสริมการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง

           สำหรับ โหง่วเจ่งจี้ ประกอบด้วย

           - ข้าวเปลือก ช่วยเสริมความเจริญงอกงาม หรือ ข้าวสาร ช่วยเสริมความร่ำรวย มั่งคั่ง
           - ข้าวเหนียวแดง ช่วยเสริมความโชคดี
           - เมล็ดถั่วเขียว ช่วยให้มีลูกหลานมากมาย อุดมสมบูรณ์
           - เมล็ดถั่วแดง เสริมความเป็นสิริมงคล ลาภยศ
           - เม็ดสาคู ช่วยเสริมความสุข

           2. ธูป 5 ดอก

           3. เหรียญสิบใหม่ ๆ 5 เหรียญ วางใส่ในกระถางธูปหรือใต้กระถางธูปก็ได้ เพื่อช่วยเสริมเงินทองให้ไหลมาเทมา

           4. แจกันพร้อมดอกไม้สด 1 คู่

           5. น้ำชา 5 ถ้วย

           6. เหล้า 5 ถ้วย

           7. ผลไม้ 5 อย่าง

           8. ฮวกก้วย 1 ชิ้น

           9. ขนมอี้ หรือสาคูแดง 5 ถ้วย

           10. ขนมจันอับ

           11. ข้าวสวย 5 ถ้วย

           12. เจฉ่าย

           13. ซาแซ หรือ โหง่วแซ

           ซาแซ คือของไหว้ชุดเล็ก ประกอบด้วย ของคาว 3 อย่าง โดยมี ซาเปี้ย และ ซาก้วย หรือของหวาน 3 อย่างกับผลไม้ 3 อย่าง ไหว้พร้อมกัน

           โหง่วแซ คือของไหว้ชุดใหญ่ เป็นของคาว 5 อย่าง ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรมีราคาแพงและหาซื้อยาก จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน





           การประกอบพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะ

           ผู้ที่จะทำพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะนั้น จะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด และแต่งกายให้เรียบร้อย โดยผู้ที่สามารถทำพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะเข้าบ้านได้ คือเจ้าของบ้านหรือผู้อาวุโสในบ้าน หรือเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของบ้านให้เป็นผู้ทำการแทน โดยการแต่งตั้งนั้นทำได้โดย ให้เจ้าของบ้านกล่าวว่า "ข้าพเจ้า ขอมอบให้ (ชื่อผู้ทำการแทน) เป็นผู้ทำการเชิญตี่จู้เอี๊ยะเพื่อมาสถิตย์อยู่ในบ้านนี้แทนข้าพเจ้า"

           สำหรับขั้นตอนในการประกอบพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะนั้น เริ่มจากให้ผู้อัญเชิญ จุดเทียนและธูป 5 ดอก แล้วคุกเข่าที่โต๊ะบูชาเทพยาดาฟ้าดินที่อยู่หน้าบ้าน พร้อมกับกล่าวเปล่งเสียงว่า

           "วันนี้ เป็นวันที่... ซึ่งเป็นวันมงคลของข้าพเจ้า .... เป็นเจ้าของบ้าน/ผู้อาวุโสของบ้าน/ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ทำการเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะ บ้านเลขที่.... ขออัญเชิญองค์เทพยาดาฟ้าดินมาเป็นสักขีและเป็นประธานในการทำพิธีตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ในวันนี้ ขอให้องค์เทพยาดาฟ้าดินช่วยนำองค์ตี่จู้เอี๊ยะที่ศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีสูงส่งเพื่อมาสถิตย์อยู่ ณ เคหสถานที่ได้ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อมาปกปักรักษาคุ้มครองเจ้าของบ้านและสมาชิกทุกคนที่อยู่ในบ้าน ให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์พูนสุข มั่งคั่ง ร่ำรวย และโชคดีตลอดไป"

           เมื่อกล่าวจบ ให้ผู้อัญเชิญปักธูปทั้ง 5 ดอกลงในกระถางธูปที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ รอกระทั่งธูปเหลือครึ่งดอก จึงเข้ามาในบ้านเพื่อจุดเทียนแดงและธูป 5 ดอกที่ตี่จู้เอี๊ยะ แล้วถือธูปเดินออกมาคุกเขาต่อหน้าโต๊ะบูชาเทพยดาฟ้าดินหน้าบ้านอีกครั้งหนึ่ง บอกกล่าวด้วยการเปล่งเสียงอีกครั้งว่า

           "บัดนี้ได้ถึงเวลาอันเป็นมงคลแล้ว ขออัญเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะเข้าสู่เคหะสถานที่ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองทุกคนในบ้านให้มีความสุขตลอดไป"

           จากนั้นผู้อัญเชิญนำธูปทั้ง 5 ดอก มาปักที่กระถางธูปของตี่จู้เอี๊ยะ และแนะนำสมาชิกทุกคนในบ้าน ด้วยการบอกชื่อและนามสกุล อายุ อาชีพ ฯลฯ ก่อนเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะมารับเครื่องสักการะบูชา โดยเอ่ยชื่อเครื่องสักการะบูชาทั้งหมด แล้วกลับออกมาคุกเข่า กราบของคุณเทพยดาฟ้าดิน เป็นอันเสร็จพิธี


           การไหว้ ตี่จู้เอี๊ยะ

           การไหว้ตี่จู้เอี๊ยะหลังจากได้เชิญตี่จู้เอี๊ยะเข้ามาสถิตย์ในบ้านแล้ว มี 2 แบบด้วยกัน คือการไหว้ทุกวัน กับการไหว้ตามวันพระจีน ซึ่งจะนิยมไหว้ด้วยของไหว้ชุดเล็ก ขณะที่การไหว้ในโอกาสเทศกกาลอื่น ๆ อย่างช่วง ตรุษจีน สารทจีน และการไหว้รับเทพ จะนิยมไหว้ด้วยของไหว้ชุดใหญ่

           1. การไหว้ทุกวัน มีของไหว้ประกอบด้วย

           น้ำชา 5 ถ้วย
           น้ำเปล่า 3 ถ้วย
           กระดาษไหว้ 1 ชุด

           วิธีการไหว้ให้จุดธูป 7 ดอก ไหว้เจ้าที่ภายในบ้านก่อน เมื่ออธิษฐานเสร็จให้ปักธูปที่กระถาง 5 ดอก ส่วนอีก 2 ดอกนำมาปักที่ประตูหน้าบ้านทั้งด้านซ้ายและขวา เมื่อเสร็จแล้วให้ลากระดาษไหว้ไปเผาหน้าบ้าน โดยห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ต้องปล่อยให้มอดไปเอง

           2. การไหว้ตามวันพระจีน (ชิวอิก 1 ค่ำ และ จับโหง่ว 15 ค่ำ) มีของไหว้ประกอบด้วย

           น้ำชา 5 ถ้วย
           น้ำเปล่า 3 ถ้วย
           ขนมกูไซ่ สีแดง (ถ่อก้วย หรืออั่งก้วย)
           ส้ม 5 ลูก
           กระดาษไหว้ 1 ชุด

           วิธีการไหว้ให้ไหว้เหมือนการไว้ประจำวัน แต่หลังจากไหว้หน้าบ้านเสร็จให้รอสักครู่ จึงค่อยลาของไหว้และลากระดาษมาเผาหน้าบ้าน


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
bjmarble.com
-http://www.bjmarble.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539420644-



sithiphong:
พิธีการบูชา ตี่จู้เอี๊ยะ

-http://www.bjmarble.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539420644-

การบูชา ตี่จู๋เอี๊ยะ


ความสำคัญของตี่จู้เอี๊ยะ
    ในตำราจีนกล่าวไว้ว่า ตี่จู้เอี๊ยะ คือเทพที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ท่านเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักษ์รักษาผู้อยู่อาศัยในบ้าน
    ดังนั้นการที่เจ้าของบ้านจัดสถานที่อยู่อาศัยให้กับเทพที่คุ้มครองเรา เป็นการจัดสถานที่อยู่อาศัยอย่างเป็นทางการ อันจะนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ยิ่งกว่านั้นมีความเชื่อกันว่า ตี่จู้เอี๊ยะ มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของบ้านนั้นโดยตรง เพราะถ้ามีการวางตำแหน่ง ตี่จู้เอี๊ยะ ได้อย่างถูกต้อง ท่านจะช่วยส่งเสริมดวงชะตาของเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจ บารมี สุขภาพ ร่างกาย และยังรวมไปถึงความผาสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน


การเลือกซื้อตี่จู้เอี๊ยะ


    การตั้งตี่จู้ต้องตั้งติดดิน เจ้าที่จึงจะมีพลัง ซึ่งในการตั้งตี่จู้ก็มีหลักการเดียวกับศาลพระภูมิของคนไทยคือตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง เพราะจะทำให้ได้โชคลาภมาก ยิ่งติดพื้นยิ่งดีเพราะจะทำให้ตี่จู้รับพลังจากธาตุดินได้ดีกว่านั่นเอง
    ซึ่งผิดแผกไปจากศาลพระพรหมที่สามารถตั้งบนดาดฟ้าได้เลย โดยเราจะตั้งตี่จู้ไว้ทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวามือของตัวบ้านก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูตำแหน่งที่ตั้งของตี่จู้ตามหลักการประกอบกันไปด้วย

ทิศรอบตี่จู้เอี๊ยะ
ด้านหลังตี่จู้ : ไม่ควรอยู่ชิดประตู รวมถึงบันได ห้องน้ำ และห้องครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรตรงกับเตาไฟ ควรวางพิงด้านใด ด้านหนึ่งไม่เคลื่อนย้าย
ด้านหน้าตี่จู้ : ควรเป็นเหม่งตึ๊ง(พื้นที่โล่ง) เพื่อรองรับโชคลาภบารมีที่จะเข้ามา มีแสงสว่างที่เพียงพอ
ด้านบนตี่จู้ : ไม่ควรวางใต้ขื่อคานหรือมีสิ่งใดไว้กดทับตี่จู้ จะเป็นการลดพลังของตี่จู้ได้ เช่น อ่างน้ำหรือตู้ปลาเป็นต้น
ด้านใต้ตี่จู้ : การใส่แผ่นเงิน แผ่นทอง หรือจำพวกเพชรนิลจินดาสามารถใส่ได้ เพราะถือเป็นธาตุดินช่วยเสริมกับพลังของตี่จู้ ทั้งนี้ควรตั้งติดพื้น ไม่ต้องมีฐานรอง

 

ของไหว้อื่นๆ

1. กระถางธูป หากเป็นกระถางธูปใหม่ จะใช้ โหง่วเจ่งจี้ หรือธัญพืช 5 อย่าง ซึ่งได้แก่ ข้าวเปลือก (เสริมความเจริญงอกงาม) หรือ ข้าวสาร (เสริมความ ร่ำรวย มั่งคั่ง) - ข้าวเหนียวแดง (เสริมความโชคดี) - เมล็ดถั่วเขียว(ลูกหลานมากมาย อุดมสมบรูณ์) - เมล็ดถั่วแดง(ความเป็นสิริมงคล ลาภยศ )- เม็ดสาคู (เสริมความสูข) ปนลงไปในผงธูปด้วย ที่ด้านข้างกระถางควรแปะอั่งติ้วเอาไว้ด้วย (อั่งติ้ว คือ ผ้าแดงสำหรับติดตรงกระถางธูป) ผงขี้เถ้าสำหรับกระถางธูป (ผงขี้เถ้า เสริมการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง) 
2. ธูป 5 ดอก
3. เหรียญสิบ 5 เหรียญ (ควรใช้เหรียญใหม่ๆ) วางใส่ในกระถางธูปหรือใต้กระถางธูปก็ได้ (เสริม เงินทองไหลมาเทมา)
4. แจกันพร้อมดอกไม้สด 1 คู่
5. น้ำชา 5 ถ้วย
6. เหล้า 5 ถ้วย
7. ผลไม้ 5 อย่าง (อาทิเช่น ส้ม สับปะรด องุ่น)
8. ฮวกก้วย (คล้ายๆ ขนมถ้วยฟู) 1 ชิ้น
9. ขนมอี้ (สาคูแดง) 5 ถ้วย
10. ขนมจันอับ
11. ข้าวสวย 5 ถ้วย
12. เจฉ่าย
13. ซาแซ หรือ โหง่วแซ
    -ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน
    ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้


ผลไม้มงคล

1 แอปเปิ้ล ( ความเจริญ รุ่งเรือง )

2 ลูกพลับ ( ความไม่ย้อท้อต่ออุปสรรค,ขยัน )

3 สาลี่ ( เงินทองไหลมาเทมา )

4 ส้ม ( ความมีอำนาจ มั่งคั่ง )

5 องุ่น ( ความสมบรูณ์ พูนสูข )

6 ลูกท้อ ( ความยั่งยืน)

7 สับปะรด ( ความรอบรู้ กว้างไกล)

8 ลิ้นจี่ ( ความเป็นมงคล)

9 ลำใย ( ความมีอำนาจวาสนา เป็นผู้นำ )

10 กล้วย (ลูกหลาน บริวาร )

 
การไหว้ ตี่จู๋เอี้ยะ

จะมีการไหว้ 2 แบบคือ
    1.การไหว้ในทุกๆ วัน
    2.การไหว้ตามวันพระจีน ( ชิวอิก--1ค่ำ และ จับโหงว--15 ค่ำ )
     ซึ่งการไหว้ทั้ง 2 แบบจะต่างกันเพียงของไหว้เล็กน้อย และการไหว้ตามวันพระจีน จะมีการไหว้เดือนละ 2 ครั้งเท่านั้น
ทั้งนี้ ไม่รวมการไหว้ตามเทศกาลต่างๆอีก เช่ ตรุษจีน สารทจีน และการไหว้รับเทพ ซึ่งจะมีการจัดของไหว้ที่ต่างกันออกไป

    1.การไหว้ในทุกๆวัน
      ของไหว้ได้แก่   
1.น้ำชา  5 ถ้วย
2.น้ำเปล่า 3 ถ้วย
3.กระดาษไหว้ 1 ชุด
      วิธีการไหว้ คือ ให้จุดธูป 7 ดอก ไหว้เจ้าที่ภายในบ้านก่อน อธิษฐานเสร็จ ปักธูปที่กระถาง 5 ดอก อีก 2 ดอก ให้ปักที่ประตูหน้าบ้านซ้าย และขวา เป็นการไหว้เทพประจำประตูซ้าย-ขวา
       เสร็จแล้วก็ลากระดาษไปเผาหน้าบ้าน (ห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ปล่อยให้มอดไปเอง)
2.การไหว้ทุกวันพระ(ชิวอิกและจับโหงว )
      ของไหว้ได้แก่   
1.น้ำชา 5 ถ้วย
2.น้ำเปล่า 3 ถ้วย
3.ขนมกูไช่ สีแดง ( ถ่อก้วย หรืออั่งก้วย )
4.ส้ม  5 ลูก
5.กระดาษไหว้  1 ชุด
    วิธีการไหว้ เหมือนการไหว้ประจำวัน แต่หลังจากปักธูปหน้าบ้านเสร็จให้รอสักครู่ จึงลาของไหว้ และกระดาษ

ขั้นตอนการประกอบพิธี

    ผู้ทำพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะ คือเจ้าของบ้านหรือผู้อาวุโสของบ้าน หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของบ้านให้เป็นผู้ทำการแทน โดยกล่าวง่ายๆ ว่าข้าพเจ้า ขอมอบให้ ..... เป็นผู้ทำการเชิญตี่จู้เอี๊ยะเพื่อมาสถิตย์อยู่ในบ้านนี้แทนข้าพเจ้า สำหรับผู้ทำการเชิญตี่จู้เอี๊ยะจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและแต่งตัว เรียบร้อย

พิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะ

ผู้อัญเชิญ จุดเทียนและธูป 5 ดอก แล้วคุกเข่าที่โต๊ะบูชาเทพยดาฟ้าดินหน้าบ้าน พร้อมกับกล่าวเปล่งเสียงออกมาว่า.....
"วันนี้ เป็นวันที่ ..... ( สากลหรือจีนก็ได้ ) ซึ่งเป็นวันมงคลของข้าพเจ้า ..... เป็นเจ้าของบ้าน หรือผู้อาวุโสของบ้าน หรือ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ทำการเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะ ( ถ้าเชิญให้เจ้าของบ้านก็ระบุชื่อเจ้าของบ้าน ) บ้านเลขที่ .....
ขออัญเชิญองค์เทพยดาฟ้าดินมาเป็นสักขีและเป็นประธานในการทำพิธีตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ในวันนี้ ขอให้องค์เทพยดาฟ้าดินช่วยนำองค์ตี่จู้เอี๊ยะที่ศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีสูงส่ง เพื่อมาสถิตย์อยู่ ณ เคหสถานที่ได้ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อมาปกปักรักษาคุ้มครองเจ้าของบ้านและสมาชิกทุกคนในบ้านให้ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์พูนสุข มั่งคั่ง ร่ำรวย และโชคดีตลอดไป..."

เมื่อกล่าวจบ ก็ปักธูปทั้งห้าดอก ลงในกระถางธูปที่ตั้งโต๊ะแล้วคอยเวลาจนกระทั่งธูปหมดไป ประมาณครึ่งดอก ก็เข้ามาในบ้านเพื่อจุดเทียนแดงและธูปห้าดอกที่ตี่จู้เอี๊ยะ แล้วถือธูปเดินออกมาคุกเข่าต่อหน้าโต๊ะบูชาเทพยดาฟ้าดินหน้าบ้านอีกครั้งหนึ่ง บอกกล่าวด้วยการเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งว่า "
.....บัดนี้ได้ถึง เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ขออันเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะเข้าสู่เคหะสถานที่ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองทุกคนในบ้านให้มีความสุขตลอดไป ฯลฯ ....." และก็นำธุปทั้งห้าดอกนั้นมาปักที่กระถางธูปของตี่จู้เอี๊ยะ และแนะนำสมาชิกทุกคนในบ้านด้วยการบอกชื่อและนามสกุล อายุ อาชีพ ฯลฯ และขอเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะมารับเครื่องสักการะบูชาอันมีอะไรบ้างก็กล่าวของ มาทุกอย่าง หลังการนั้นกลับออกมาคุกเข่า กราบขอบคุณเทพยดาฟ้าดินเป็นอันเสร็จพิธี

    หลังจากนี้ก็ไหว้ตามปกติ โดยมีแค่ของไหว้เล็กๆ น้อยๆ หากแต่เป็นเทศกาลก็ควรจะไหว้ชุดใหญ่ตามรายละเอียดด้านบน



http://www.bjmarble.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539420644

.

sithiphong:
 วิธีการไหว้รับเทพเจ้าโชคลาภไฉ่ซิงเอี้ยประจำปีมะเมีย 2557

-http://www.sumnakcharang.com/angle1.php-


 ฤกษ์และหลักการไหว้เทพเจ้าโชคลาภ
ฤกษ์กลางคืนวันพฤหัสบดีที่    30    มกราคม    2557
เวลา 23.11 น.    ห้ามปี    วอก ชวด เถาะ    ขึ้นธูปคนแรก (ใช้ธูป 12 ดอก)
ถ้าจำเป็นต้องเื่ลื่อน  ไปใช้ฤกษ์เวลา 03.03 น. (ตีสาม สามนาที)

ตั้งโต๊ะหลักหันไปทาง ทิศใต้  ( S )
เพื่ออัญเชิญ  เทพเจ้าโชคลาภ เทพเจ้าสิริมงคล เทพเจ้าอุปถัมภ์ ประทานพร

ปีนี้ เทพเจ้าโชคลาภ มาทางทิศใต้  ( S )
เทพเจ้าสิริมงคล มาทางทิศใต ( S )
เทพเจ้าอุปถัมภ์ ประทานพร  มาทางทิศตะวันออก ( E )

กรณีพื้นที่จำกัด ตั้งโต๊ะไหว้หันออกหน้าบ้าน
จุดธูปไหว้ไปทางทิศใต้ ( S ) เพื่ออัญเชิญเทพ ฯ
เปิดประตูหน้าบ้าน ปิดประตูหลังบ้าน ( ไหว้บนดาดฟ้าก็ได้ )

ห้ามกวาดบ้านจนถึงวันเปิดงาน ( ถูบ้านได้)

ฤกษ์เปิดงาน ชิวสี่  วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557
เอาชุดไหว้เจ้าที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้กิจการเจริญรุ่งเรืองสถาพร
การงานราบรื่น มั่งมี ศรีสุข โชคลาภวาสนาไม่ขาดสาย

 

เครื่องไหว้ในพิธี
1.    รูปปั้น หรือรูปภาพ องค์เทพ ไฉ่ซิ้งเอี๊ย
( ถ้าไม่มี ให้ไหว้ขึ้นธูปทางทิศใต้  ( S ) )
2.     แก้วใส่ข้าวสาร หรือกระถางธูป มีกิมฮวยปัก 1 คู่
ติดการดาษแดง หรืออั้งติ๋ว
3.    แจกันดอกไม้ 1 คู่
4.    เชิงเทียน พร้อมเทียนสีแดง 1 คู่
5.    น้ำชา 5 ถ้วย
6.    ถั่วเขียว 1จาน - ถั่วแดง 1จาน - ส้ม 8 ลูก(ใส่ถาด)
7.    เจไฉ่ 5 อย่าง - ผลไม้ 5 อย่าง
8.    สาคูต้มสุกน้ำเชื่อม หรือ อี๊ 5ถ้วย
9.    น้ำใส่ยอดทับทิม 5 ยอด 1 ขัน หรือ 1 แก้ว (เพื่อใช้พรมตัวและบ้าน)
10.    หนังสืออัญเชิญ พร้อมคำอธิษฐานขอพร สีูแดง และเขียว
11.    ซองอั่งเปา
12.    อย่างอื่นเพิ่มเติมตามใจ เช่น ชุดเครื่องไหว้ เมื่อไหว้ธูปได้ครึ่งดอก
เอาเครื่องกระดาษไปเผา
13.    ขนมหวาน 3 อย่าง เช่น ขนมเข่ง ฮวดก้วย ขนมชั้น
14.    กระดาษทอง (ตั่วกิม) 13 แผ่น และ กระดาษไหว้เจ้า (หงิงเตี่ย) 13 คู่
15.    อย่างอื่นเพิ่มเติมตามใจ เช่น ชุดเครื่องไหว้ เวลาไหว้ กล่าวคำอธิษฐาน
บอกชื่อ(แซ่) นามสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ และที่อยู่ ของผู้ทำการไหว้
ขอพร หรือเขียนรายละเอียดบุคคลที่ขอพรใส่ในกระดาษให้เรียบร้อย
แล้ววางเอาไว้ในถาดเครื่องการดาษจะได้ไม่ตกหล่น สมาชิกทุกท่าน
ในครอบครัว เมื่อไหว้ธูปได้ครึ่งดอก เอาเครื่องกระดาษไปเผาเสร็จแล้ว
ส่วนของไหว้นำกลับเข้าบ้านไปกินเป็นสิริมงคล

 
ตำแหน่งเครื่องไหว้ในพิธี




หมายเหตุ  =>    
ฯลฯ
   

ของอื่นเพิ่มเติม เช่น ขนม,เครื่องกระดาษ,มงคล 5 ประเภทตามกำลัง

 
วันชิวอิก         ไหว้พระ - เทพเจ้าขอพร ทานขนมไส้พุทรา เกาลัด
          ขนมเข่ง, บัวลอย
วันชิวหยี         ร่วมรับประทานอาหารในครอบครัว
วันชิวซา         ทำความสะอาดเอาขยะสิ่งปฏิกูลออกจากบ้าน   เพื่อต้อนรับ
          เพื่อต้อนรับ ความมั่งมีศรีสุขในวันเปิดงาน
วันชิวฉิก         วันเกิดมนุษย์ กินผัก 7 อย่าง งอกงามเพิ่มพูน

 

Update   8 - 12 - 2013  Webmaster


http://www.sumnakcharang.com/angle1.php



.

sithiphong:
สถานที่มงคล 8 แห่ง รับเทศกาลตรุษจีน

-http://horoscope.sanook.com/1196086/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-8-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/-


หน้าหลัก > ดวงน่าอ่าน > ทำนายทายทัก   > สถานที่มงคล 8 แห่ง รับเทศกาลตรุษจีน





ตามความเชื่อของชาวจีน เลข 8 ถือว่าเป็นเลขมงคล หมายถึง รวย และยังเป็นตัวเลขที่ดีเป็นมงคลซึ่งจะเห็นได้จากเทพเจ้าตามคติความเชื่อของชาวจีนที่รับความเคารพเป็นอย่างมากทั้งชาวไทยชาวจีน เช่น โป๊ยเซียน คือเซียนแปดองค์, สิบแปดอรหันต์ คือผู้รักษาพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


การสักการะเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ในสถานที่มงคล 8 แห่ง รับเทศกาลวันตรุษจีน 2557

1. เสียนหลอไต้เทียนกง มูลนิธิธรรมกตัญญู ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ขอพรเทพเจ้า 5 พระองค์ "อู๋ฟู่เซียนส้วย" พร้อมชมสถาปัตยกรรมแบบจีนแท้ๆ และสิงห์โตคู่ที่แกะสลักจากหินหยกเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

2. โรงเจเพ่งอังตั๊ว ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สักการะศาลเจ้าและชมภาพเก่าแก่อายุมากกว่า เช่นภาพเซียนฮุกโจ้, ภาพไม้แกะสลักรูปมังกรและกิเลน สัมผัสวิถีชีวิตริมน้ำของชุมชนตลาดเก่า 100 ปี ตลาด 2 เมือง 2 จังหวัด ตลาดคลองสวน

3. โรงเจวัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา นมัสการพระสังกัจจายให้สุขภาพแข็งแรง ชีวิตมั่งมีศรีสุข และชมพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท ขอพรหลวงพ่อพุทธโสธรองค์จริง

4. วัดจีนประชาสโมสร ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิงเอี้ย" ไหว้ขอพรพระประธานสามองค์ และเทพเจ้าต่าง ๆ ตามคติความเชื่อของชาวจีนที่สร้างจากกระดาษจำนวน 37 องค์ และสัมผัสวิถีชีวิตริมน้ำ เลือกซื้ออาหารอร่อย ของฝากนานาชนิดในตลาดเก่า 100 ปี "ตลาดบ้านใหม่"

5. วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอพร "หลวงพ่อโต หรือเจ้าพ่อซำปอกง" หนึ่งในสามองค์ของประเทศไทย รวมทั้งสักการะเทพเจ้าตามคติความเชื่อของชาวจีน

6. มูลนิธิสว่างบำเพ็ญธรรมสถาน ริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ทำบุญและสักการะเทพเจ้าประจำศาล ชมตึกเก่า "ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" เลือกซื้อของฝากผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพร ผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยแพทย์แผนไทย

7. มูลนิธิสว่างเที่ยงธรรมสถาน อรัญประเทศ ตำบลอรัญญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สักการะเทวสถานเทพสิริมงคลและเจ้าแม่กวนอิม แวะเที่ยวตลาดการค้าชายแดนใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออก "ตลาดโรงเกลือ"

8. พุทธสถานนิธิจีเต็กลิ้ม ตำบลศรีจุฬา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ชมสถาปัตยกรรมจีน สักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) ปางมหาเศรษฐีซัมภลองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทพเจ้าไต้เสี่ย เจ้าพ่อกวนอู พระโพธิ์สัตว์กวนอิม สูง 9 เมตร พระไภสัชคุรุพุทธเจ้าองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งเทพเจ้าอื่น ๆ ตามคติความเชื่อของชาวจีน

ฉะนั้นเทศกาลตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ถือเป็นการเซ่นไหว้ขอบคุณและขอพรเทพเจ้า เทวดา บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งคุ้มครองให้ลูกหลานปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพแข็งแรง การประกอบอาชีพมีความมั่นคงประสบความสำเร็จในช่วงปีต่อไป

การเฉลิมฉลองจัดอย่างยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุด มีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ เซ่นสรวงเทพเจ้าแห่งเตาไฟ ทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียมของกินของใช้ ติดคำขวัญคู่ ปิดภาพเทพเจ้า รับประทานอาหารร่วมกันส่งท้ายปีเก่า จุดประทัด รับประทานอาหารมื้อแรกของปีใหม่ อวยพรปีใหม่ซึ่งกันและกัน และแจกอั่งเปา ให้ลูกหลานเพื่อเป็นการนำโชคและให้พ้นโรคภัย ขอให้ทุกท่านรวยๆๆเฮงๆๆตลอดปี 2557


ขอบคุณข้อมูลจาก horolive.com
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version