ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

ประวัติ และเรื่องราวน่ารู้ ที่เกี่ยวกับ "วันตรุษจีน"

(1/7) > >>

sithiphong:
.

รวมรวมเรื่องราวที่น่ารู้ เกี่ยวกับ "วันตรุษจีน"


------------------------------------------------------------------------

วันตรุษจีน 2557 ประวัติวันตรุษจีน

-http://hilight.kapook.com/view/19792-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          วันตรุษจีน 2557 หรือ ตรุษจีน 2014 ตรงกับวันศุกร์ที่ 31 มกราคม วันตรุษจีน และวันนี้เรามี บทความวันตรุษจีน 2557 มาฝาก ทั้ง ประวัติวันตรุษจีน วันไหว้ตรุษจีน 2557 วันเที่ยวตรุษจีน และวันจ่าย2557 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ มาดูกัน

          ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2557 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 31 มกราคม

ประวัติวันตรุษจีน

          สำหรับที่มาของวันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

          นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

          ส่วนการกำหนดวันตรุษจีนนั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ

          การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้าน ทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ

          จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง




สัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน

          นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา " ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป)

วันตรุษจีน 2557

          สำหรับวันตรุษจีน 2557 นี้ ตรงกับวันศุกร์ ที่ 31 มกราคม 2557 นั่นเอง ซึ่งวันตรุษจีนไม่ถือเป็นวันหยุดราชการนะ แต่ตามบริษัทห้างร้านของคนจีนอาจจะอนุญาตให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนอยู่กับบ้าน ถือเป็นวันหยุดพักผ่อนพิเศษสำหรับคนจีน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบริษัทไหน หรือร้านไหนจะกำหนดให้หยุดได้กี่วัน

วันจ่ายตรุษจีน 2557 

          ตามธรรมเนียมของคนจีนแล้ว วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก จะเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปหาซื้ออาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ มาเตรียมพร้อมไว้ ก่อนที่ร้านค้าต่าง ๆ จะหยุดยาวในช่วงวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับวันก่อนวันสิ้นปี โดยในปี 2557 นี้ วันจ่ายตรุษจีนคือวันพุธ ที่ 29 มกราคม   

  วันไหว้ตรุษจีน 2557

          วันไหว้ของเทศกาลตรุษจีนก็คือ "วันสิ้นปี" ซึ่งจะเป็นวันที่มีการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ ด้วยอาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ ฯลฯ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ โดยในปี 2557 นี้ วันไหว้ตรุษจีน  คือ วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม

วันเที่ยวตรุษจีน 2557

          วันเที่ยวสำหรับชาวจีนก็คือ "วันปีใหม่" หรือ "วันตรุษจีน" ซึ่งวันเที่ยวตรุษจีน 2557 คือ วันศุกร์ที่ 31 มกราคม นั่นเอง และเป็น "วันถือ" ด้วย โดยในวันนี้ชาวจีนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม พากันออกไปท่องเที่ยว และไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพรัก ชาวจีนจะถือว่าวันนี้เป็นวันแห่งสิริมงคล และงดทำบาปทั้งปวง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.panyathai.or.th/-
- thai.cri.cn
- abhidhamonline.org
- thaigoogleearth.com

.

sithiphong:
วันตรุษจีน 2557 ต้อนรับวันตรุษจีน 2014 ด้วยเรื่องน่ารู้

-http://hilight.kapook.com/view/55824-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          วันตรุษจีน 2014 หรือ วันตรุษจีน 2557 วันที่ 31 มกราคม วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้ เรื่องที่ควรทำและไม่ควรทำเนื่องในวันตรุษจีนมาฝาก เพื่อฉลองเทศกาลตรุษจีนอย่างมีความสุข และได้สิริมงคล เนื่องในวันตรุษจีน 2557

          ว่าแต่เรื่องน่ารู้วันตรุษจีน มีเรื่องอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ

           ดอกไม้ไฟ โคมลอย และคำโคลงประโยคคู่สีแดง เกี่ยวอะไรกับวันตรุษจีน

          ในคืนก่อนวันตรุษจีน ชาวจีนจะนั่งดูทีวี กินอาหาร พูดคุยหยอกล้อกันภายในครอบครัว โดยมีตำนานเก่าแก่เล่ากันว่า สมัยก่อนมีปิศาจตนหนึ่งชื่อว่า "เหนียน" (หรือคำว่า "ปี" ในภาษาไทย) อาศัยอยู่บนภูเขาออกอาละวาด จับมนุษย์ วัว และควายเป็นอาหาร ผู้คนจึงพยายามหาวิธีกำจัดเจ้าปิศาจจึงพบว่า เจ้าปิศาจตนนี้กลัว ไฟ เสียงปัง และกลัวสีแดง พวกมนุษย์จึงพากันจุดประทัดหรือติดโคมไฟหน้าบ้าน เพื่อขับไล่ให้ปิศาจออกไป และถึงแม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีใครเชื่อเรื่องปิศาจกันแล้วก็ตาม ตำนานและเรื่องเล่าเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ ชาวจีนยังคงแขวนโคมสีแดงไว้หน้าบ้าน นั่งดูโทรทัศน์กับครอบครัวเพื่อต้อนรับวันใหม่พร้อมกัน

          โดยปกติแล้วชาวจีนจะไม่จุดพลุหรือดอกไม้ไฟกันตอนกลางคืน เพราะจะเป็นการรบกวนผู้อื่น แต่จะจุดประทัดกันในช่วงกลางวันแทน เพราะไม่ถือเป็นการรบกวนผู้อื่นมากนัก

           อาหารในวันตรุษจีน

          ทางตอนเหนือของประเทศจีนนั้น นิยมจัดติ่มซำเป็นอาหารขึ้นโต๊ะสำหรับมื้อเย็น เพราะชาวจีนเชื่อว่าการกินติ่มซำในวันสิ้นปีนั้นจะนำพาโชคดีมาให้ อาหารที่มีชื่อว่า "หยวนเบา (yuan bao)" เป็นอาหารที่มีลักษณะคล้ายเรือสีทอง และมีรูปทรงเดียวกับเงินที่ใช้กันแต่โบราณ ซึ่งการทำอาหารชนิดนี้อาจดัดแปลงโดยการยัดใส่ด้วยผัก เนื้อสัตว์ ปลาและกุ้ง หรือบางครอบครัวอาจดัดแปลงโดยการใส่ถั่วเพื่มลงไปเป็นใส้ หรือใส่เหรียญลงไปสัก 1 เหรียญในใส้เพื่อคอยดูว่าใครจะได้เป็นผู้โชคดีที่สุดของปี

          ส่วนทางตอนใต้ของประเทศจีนนั้น ผู้คนชอบทานข้าวกันมากกว่าข้าวสาลี หลายครอบครัวจะทานเค้กที่ทำจากข้าวเหนียวเป็นอาหารส่งท้ายปี ขนมเค้กที่ว่านั้น ชาวจีนเรียกกันว่า "เหนียน เกาว(ดีวัน ดีคืน)" ซึ่งเป็นดั่งสัญลักษณ์ของปีที่รุ่งเรือง นอกจากนั้น ต้นกระเทียม และปลา ยังเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

           การห่อเงินด้วยสีแดง

          ช่วงเทศกาลตรุษจีนถือเป็นวันที่โปรดปรานของเด็ก ๆ ทุกคน เพราะว่าเป็นวันที่จะได้รับอั่งเปาสีแดงจากคุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่าและจากญาติคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักร้อยหรือหลักพันก็ได้ อาจให้โดยกับมือหรือวางไว้ให้ข้างหมอนตอนเด็ก ๆ หลับก็ได้

           ห้ามตัดผม

          คนจีนหลาย ๆ คนที่เชื่อเรื่องโชคลาภมักจะไม่ตัดผมกันในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะเชื่อว่าจะทำให้พี่ชายแม่เสียชีวิตลงได้ ดั่งเรื่องเล่าที่ว่า ช่างตัดผมคนหนึ่งอยากหาของขวัญให้คุณลุงของเขา แต่เพราะยากจนไม่มีเงินซื้อของขวัญอันแสนมีค่ามาให้ได้ เขาจึงตัดผมให้ลุงเป็นของขวัญแทน หลังจากที่ ลุงของเขาเสียชีวิตลง หลานชายของเขาร้องไห้เพราะคิดถึงทุกปี จนเป็นตำนานความเหมือนกันในความหมายของคำว่า "คิดถึงลุงของเขา (si jiu)" และคำว่า "การตายของลุง" ซึ่งในภาษาจีน สองคำนี้อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน

          เหล่านี้คือเรื่องเล่าขาน ตำนานแห่งวันตรุษจีน ส่วนโชคดีจะอยู่หรือไปนั้น อยู่ที่การกระทำของเราในวันนี้และพรุ่งนี้เช่นกัน ส่วนธรรมเนียมปฏิบัติและคุณค่าของวัฒนธรรมนั้นคงคุณค่าไว้เพื่อดำรงไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อไป

sithiphong:
ของไหว้ตรุษจีน 2557 อาหารไหว้ในแต่ละวัน

-http://hilight.kapook.com/view/19797-




ของไหว้ตรุษจีน


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ตรุษจีน 2557 ตรงกับวันที่ 31 มกราคม ซึ่งก่อนที่จะถึงวันตรุษจีนก็จะมีการไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษเนื่องในวันตรุษจีน ว่าแต่ ของไหว้ตรุษจีน 2557 มีอะไรบ้าง ตามไปดูกัน

          ใกล้เทศกาลตรุษจีนกันมาแล้ว หลาย ๆ คนคงตั้งหน้าตั้งตารอ เพราะนี่คงเป็นเทศกาลที่จะได้พบปะกับญาติมิตรที่ไม่ได้เจอกันมานาน และได้อั่งเปาจากญาติผู้ใหญ่ แต่ก่อนที่จะถึงวันตรุษจีนนั้น เราคงสังเกตเห็นว่า มีการไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษก่อนที่จะเข้าวันตรุษจีน เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต วันนี้ เราจึงเสนอของเซ่นไหว้ถูกหลัก พร้อมทั้งความหมายของของไหว้แต่ละอย่าง มาฝากกันค่ะ

         เดิมนั้น คนจีนจะแบ่งวันไหว้ออกเป็น 2 วัน นับเป็น 2 เทศกาลคือ วันที่ 29 หรือ 30 เดือน 12 ของจีน และ วันชิวอก ซึ่งเป็นเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเริ่มมาจากฤดูใบไม้ผลิของคนจีน แต่คนไทยมักจะรวม 2 วันนี้เป็นวันเดียวกัน และไหว้พร้อมกันทีเดียว

         ของไหว้ในวันที่ 29 หรือ 30 ของเดือน 12



อาหารไหว้ช่วงเช้า

         ช่วงเช้า  เวลาประมาณ 07.00 – 08.00 น. ตอนเช้าชาวจีนจะนิยมไหว้สิงศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน และไหว้ปุ้งเท้า ซึ่งเป็นเทพท้องถิ่นที่คนทำมาค้าขายนิยมบูชา โดยจะไหว้ด้วยเนื้อสัตว์ 3 อย่าง หรือ ซาแซ  เช่น

                  หมู  มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
                  เป็ด  มีความหมายถึง ความสามารถอันหลากหลาย ความมั่งคั่ง ความมีมาก
                  ไก่   มีความหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยหงอนไก่ที่มีลักษณะเหมือนหมวกขุนนาง มีความหมายถึงความซื่อตรง
                  ขนมเข่ง  มีความหมายถึง การมีเพื่อนมาก




อาหารไหว้ช่วงสาย


         ช่วงสาย เวลาประมาณ 09.00 น. ถึงก่อนเที่ยง จะเป็นการไหว้บรรพบุรุษและบรรพชน อาหารที่ไหว้มีดังนี้

         อาหารคาว อาหารคาวต่าง ๆ มีความหมาย ดังต่อไปนี้

                  ลูกชิ้นปลา  หมายถึง ความเหลือกินเหลือใช้ ชีวิตราบรื่น
                  ผัดต้นกระเทียม  หมายถึง ความมั่งคั่ง มีเงินมีทองให้นับอยู่เสมอ
                  ผัดตับกับกุยช่าย  หมายถึง การมียศฐาบรรดาศักดิ์ ฐานะร่ำรวย
                  แกงจืด หมายถึง การให้ลูกหลานมีชีวิตราบรื่น
                  เป๋าฮื้อ หมายถึง ความเหลือกินเหลือใช้ มีไว้ให้ลูกหลาน
                  ผัดถั่วงอก หมายถึง ความงอกงาม เจริญรุ่งเรือง
                  เต้าหู้ หมายถึง การเจริญเติบโต บุญ ความสุข
                  สาหร่ายทะเล หมายถึง ความโชคดี ร่ำรวย

         อาหารหวาน มีความหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                  ซาลาเปา หมายถึง การห่อโชคลาภมาให้ลูกหลาน
                  ขนมถ้วยฟู หมายถึง ความเจริญงอกงาม
                  ขนมคัดท้อก้วย คือ ขนมไล้ถั่วต่าง ๆ ที่ทำเป็นลูกท้อ หมายถึง การอวยพรให้มีอายุยืนยาว
                  ขนมไข่ หมายถึง การเจริญเติบโต
                  ขนมอี๊ ทำจากแป้งกลม ๆ นวดแล้วเจือสีชมพู แล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ำตาล จะทำให้ เคี้ยวง่าย ขนมอิ๊จึงหมายถึงความราบรื่น
                  ขนมเทียน หมายถึง ความสว่างรุ่งเรือง

         ขนมเข่ง
         ชุดซาแซ คือ หมู เป็ด ไก่
         ข้าวสวย พูนใส่ให้ครบตามจำนวนของบรรพบุรุษ
         น้ำชา
         ผลไม้ ผลไม้ต่าง ๆ ที่ไหว้ในวันตรุษจีนมีความหมายดังต่อไปนี้

                  ส้ม หมายถึง โชคลาภ วาสนา มีความหมายถึงโชคดี
                  กล้วย หมายถึง การมีลูกหลานมาก และเรียกโชคลาภเข้าบ้าน
                  แอปเปิ้ล หมายถึง การมีสุขภาพแข็งแรง และความสุขสงบ
                  สับปะรด หมายถึง การมองเห็นได้กว้างไกล
                  องุ่น หมายถึง ความมั่งคั่งและความแข็งแรง
                  สาลี่ หมายถึง เงินทองไหลมาเทมา

         เครื่องกระดาษ มีความหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                  กระดาษเงินกระดาษทอง คนจีนเชื่อว่า เมื่อคนตายตายไปแล้ว ลูกหลานจะต้องส่งเงินทองไปให้เพื่อแสดงความกตัญญู และการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ก็ยังหมายถึงสิริมงคลที่จะเกิดกับลูกหลานอีกด้วย
                  กอจี๊ หรือ จี๊จุ๊ย หมายถึง กระดาษทองชิ้นใหญ่มีกระดาษแดงตัดเป็นตัวอักษรว่า เผ่งอัน หมายถึง ความโชคดี
                  กิมจั๊ว หมายถึง กระดาษเงินกระดาษทองที่ลูกหลานนำมาทำเป็นชุด พับเป็นรูปดอกไม้ก่อนไหว้
                  กิมเต้า หมายถึง ถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
                  กิมเตี๊ยว หรือ แท่งทอง ใช้สำหรับไหว้คนตาย
                  อิมกังจัวยี่ หรือ แบงค์กงเต็ก ใช้สำหรับเบิกทางไปสู่สวรรค์ขอคนตาย




อาหารไหว้ช่วงบ่าย


         ช่วงบ่าย เวลาประมาณ 13.00 – 15.00 น. จะเป็นการไหว้วิญญาณที่ไม่มีญาติ โดยประกอบไปด้วยเครื่องไหว้ดังนี้

         อาหารคาว
         อาหารหวาน
         เครื่องกระดาษ




อาหารไหว้วันตรุษจีน


         วันตรุษจีน เป็นการไหว้ในช่วงเช้าของวันที่ 1 ด้วยของเซ่นต่าง ๆ หลังจากนั้นจะให้ออกไปไหว้เจ้านอกบ้าน และไหว้บรรพบุรุษ เสร็จแล้วจะเดินทางไปเยี่ยมพี่น้อง โดยเครื่องไหว้ต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้


         ส้ม หมายถึง โชคดี
         ของหวาน 5 อย่าง
         ขนมจันอับ หมายถึง ความเจริญงอกงามดุจดังเมล็ดพืช


         เราหวังว่า วันตรุษจีนนี้ คงเป็นอีกวันที่เทพยดาฟ้าดินที่เราไหว้ จะนำพาความสุขสงบร่มเย็น พร้อมด้วยโชคลาภเงินทอง มาสู่เราตลอดปีนะคะ

http://hilight.kapook.com/view/19797
.

sithiphong:
วิธีการไหว้รับเทพเจ้าโชคลาภไฉ่ซิงเอี้ยประจำปีมะเมีย 2557

-http://www.sumnakcharang.com/angle1.php-


 ฤกษ์และหลักการไหว้เทพเจ้าโชคลาภ
ฤกษ์กลางคืนวันพฤหัสบดีที่    30    มกราคม    2557
เวลา 23.11 น.    ห้ามปี    วอก ชวด เถาะ    ขึ้นธูปคนแรก (ใช้ธูป 12 ดอก)
ถ้าจำเป็นต้องเื่ลื่อน  ไปใช้ฤกษ์เวลา 03.03 น. (ตีสาม สามนาที)

ตั้งโต๊ะหลักหันไปทาง ทิศใต้  ( S )
เพื่ออัญเชิญ  เทพเจ้าโชคลาภ เทพเจ้าสิริมงคล เทพเจ้าอุปถัมภ์ ประทานพร

ปีนี้ เทพเจ้าโชคลาภ มาทางทิศใต้  ( S )
เทพเจ้าสิริมงคล มาทางทิศใต ( S )
เทพเจ้าอุปถัมภ์ ประทานพร  มาทางทิศตะวันออก ( E )

กรณีพื้นที่จำกัด ตั้งโต๊ะไหว้หันออกหน้าบ้าน
จุดธูปไหว้ไปทางทิศใต้ ( S ) เพื่ออัญเชิญเทพ ฯ
เปิดประตูหน้าบ้าน ปิดประตูหลังบ้าน ( ไหว้บนดาดฟ้าก็ได้ )

ห้ามกวาดบ้านจนถึงวันเปิดงาน ( ถูบ้านได้)

ฤกษ์เปิดงาน ชิวสี่  วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557
เอาชุดไหว้เจ้าที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้กิจการเจริญรุ่งเรืองสถาพร
การงานราบรื่น มั่งมี ศรีสุข โชคลาภวาสนาไม่ขาดสาย

 

เครื่องไหว้ในพิธี
1.    รูปปั้น หรือรูปภาพ องค์เทพ ไฉ่ซิ้งเอี๊ย
( ถ้าไม่มี ให้ไหว้ขึ้นธูปทางทิศใต้  ( S ) )
2.     แก้วใส่ข้าวสาร หรือกระถางธูป มีกิมฮวยปัก 1 คู่
ติดการดาษแดง หรืออั้งติ๋ว
3.    แจกันดอกไม้ 1 คู่
4.    เชิงเทียน พร้อมเทียนสีแดง 1 คู่
5.    น้ำชา 5 ถ้วย
6.    ถั่วเขียว 1จาน - ถั่วแดง 1จาน - ส้ม 8 ลูก(ใส่ถาด)
7.    เจไฉ่ 5 อย่าง - ผลไม้ 5 อย่าง
8.    สาคูต้มสุกน้ำเชื่อม หรือ อี๊ 5ถ้วย
9.    น้ำใส่ยอดทับทิม 5 ยอด 1 ขัน หรือ 1 แก้ว (เพื่อใช้พรมตัวและบ้าน)
10.    หนังสืออัญเชิญ พร้อมคำอธิษฐานขอพร สีูแดง และเขียว
11.    ซองอั่งเปา
12.    อย่างอื่นเพิ่มเติมตามใจ เช่น ชุดเครื่องไหว้ เมื่อไหว้ธูปได้ครึ่งดอก
เอาเครื่องกระดาษไปเผา
13.    ขนมหวาน 3 อย่าง เช่น ขนมเข่ง ฮวดก้วย ขนมชั้น
14.    กระดาษทอง (ตั่วกิม) 13 แผ่น และ กระดาษไหว้เจ้า (หงิงเตี่ย) 13 คู่
15.    อย่างอื่นเพิ่มเติมตามใจ เช่น ชุดเครื่องไหว้ เวลาไหว้ กล่าวคำอธิษฐาน
บอกชื่อ(แซ่) นามสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ และที่อยู่ ของผู้ทำการไหว้
ขอพร หรือเขียนรายละเอียดบุคคลที่ขอพรใส่ในกระดาษให้เรียบร้อย
แล้ววางเอาไว้ในถาดเครื่องการดาษจะได้ไม่ตกหล่น สมาชิกทุกท่าน
ในครอบครัว เมื่อไหว้ธูปได้ครึ่งดอก เอาเครื่องกระดาษไปเผาเสร็จแล้ว
ส่วนของไหว้นำกลับเข้าบ้านไปกินเป็นสิริมงคล

 
ตำแหน่งเครื่องไหว้ในพิธี




หมายเหตุ  =>   
ฯลฯ
   

ของอื่นเพิ่มเติม เช่น ขนม,เครื่องกระดาษ,มงคล 5 ประเภทตามกำลัง

 
วันชิวอิก         ไหว้พระ - เทพเจ้าขอพร ทานขนมไส้พุทรา เกาลัด
          ขนมเข่ง, บัวลอย
วันชิวหยี         ร่วมรับประทานอาหารในครอบครัว
วันชิวซา         ทำความสะอาดเอาขยะสิ่งปฏิกูลออกจากบ้าน   เพื่อต้อนรับ
          เพื่อต้อนรับ ความมั่งมีศรีสุขในวันเปิดงาน
วันชิวฉิก         วันเกิดมนุษย์ กินผัก 7 อย่าง งอกงามเพิ่มพูน

 

Update   8 - 12 - 2013  Webmaster


http://www.sumnakcharang.com/angle1.php



.

sithiphong:
พิธีการบูชา ตี่จู้เอี๊ยะ

-http://www.bjmarble.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539420644-

การบูชา ตี่จู๋เอี๊ยะ


ความสำคัญของตี่จู้เอี๊ยะ
    ในตำราจีนกล่าวไว้ว่า ตี่จู้เอี๊ยะ คือเทพที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ท่านเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักษ์รักษาผู้อยู่อาศัยในบ้าน
    ดังนั้นการที่เจ้าของบ้านจัดสถานที่อยู่อาศัยให้กับเทพที่คุ้มครองเรา เป็นการจัดสถานที่อยู่อาศัยอย่างเป็นทางการ อันจะนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ยิ่งกว่านั้นมีความเชื่อกันว่า ตี่จู้เอี๊ยะ มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของบ้านนั้นโดยตรง เพราะถ้ามีการวางตำแหน่ง ตี่จู้เอี๊ยะ ได้อย่างถูกต้อง ท่านจะช่วยส่งเสริมดวงชะตาของเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจ บารมี สุขภาพ ร่างกาย และยังรวมไปถึงความผาสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน


การเลือกซื้อตี่จู้เอี๊ยะ


    การตั้งตี่จู้ต้องตั้งติดดิน เจ้าที่จึงจะมีพลัง ซึ่งในการตั้งตี่จู้ก็มีหลักการเดียวกับศาลพระภูมิของคนไทยคือตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง เพราะจะทำให้ได้โชคลาภมาก ยิ่งติดพื้นยิ่งดีเพราะจะทำให้ตี่จู้รับพลังจากธาตุดินได้ดีกว่านั่นเอง
    ซึ่งผิดแผกไปจากศาลพระพรหมที่สามารถตั้งบนดาดฟ้าได้เลย โดยเราจะตั้งตี่จู้ไว้ทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวามือของตัวบ้านก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูตำแหน่งที่ตั้งของตี่จู้ตามหลักการประกอบกันไปด้วย

ทิศรอบตี่จู้เอี๊ยะ
ด้านหลังตี่จู้ : ไม่ควรอยู่ชิดประตู รวมถึงบันได ห้องน้ำ และห้องครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรตรงกับเตาไฟ ควรวางพิงด้านใด ด้านหนึ่งไม่เคลื่อนย้าย
ด้านหน้าตี่จู้ : ควรเป็นเหม่งตึ๊ง(พื้นที่โล่ง) เพื่อรองรับโชคลาภบารมีที่จะเข้ามา มีแสงสว่างที่เพียงพอ
ด้านบนตี่จู้ : ไม่ควรวางใต้ขื่อคานหรือมีสิ่งใดไว้กดทับตี่จู้ จะเป็นการลดพลังของตี่จู้ได้ เช่น อ่างน้ำหรือตู้ปลาเป็นต้น
ด้านใต้ตี่จู้ : การใส่แผ่นเงิน แผ่นทอง หรือจำพวกเพชรนิลจินดาสามารถใส่ได้ เพราะถือเป็นธาตุดินช่วยเสริมกับพลังของตี่จู้ ทั้งนี้ควรตั้งติดพื้น ไม่ต้องมีฐานรอง

 

ของไหว้อื่นๆ

1. กระถางธูป หากเป็นกระถางธูปใหม่ จะใช้ โหง่วเจ่งจี้ หรือธัญพืช 5 อย่าง ซึ่งได้แก่ ข้าวเปลือก (เสริมความเจริญงอกงาม) หรือ ข้าวสาร (เสริมความ ร่ำรวย มั่งคั่ง) - ข้าวเหนียวแดง (เสริมความโชคดี) - เมล็ดถั่วเขียว(ลูกหลานมากมาย อุดมสมบรูณ์) - เมล็ดถั่วแดง(ความเป็นสิริมงคล ลาภยศ )- เม็ดสาคู (เสริมความสูข) ปนลงไปในผงธูปด้วย ที่ด้านข้างกระถางควรแปะอั่งติ้วเอาไว้ด้วย (อั่งติ้ว คือ ผ้าแดงสำหรับติดตรงกระถางธูป) ผงขี้เถ้าสำหรับกระถางธูป (ผงขี้เถ้า เสริมการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง)
2. ธูป 5 ดอก
3. เหรียญสิบ 5 เหรียญ (ควรใช้เหรียญใหม่ๆ) วางใส่ในกระถางธูปหรือใต้กระถางธูปก็ได้ (เสริม เงินทองไหลมาเทมา)
4. แจกันพร้อมดอกไม้สด 1 คู่
5. น้ำชา 5 ถ้วย
6. เหล้า 5 ถ้วย
7. ผลไม้ 5 อย่าง (อาทิเช่น ส้ม สับปะรด องุ่น)
8. ฮวกก้วย (คล้ายๆ ขนมถ้วยฟู) 1 ชิ้น
9. ขนมอี้ (สาคูแดง) 5 ถ้วย
10. ขนมจันอับ
11. ข้าวสวย 5 ถ้วย
12. เจฉ่าย
13. ซาแซ หรือ โหง่วแซ
    -ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน
    ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้


ผลไม้มงคล

1 แอปเปิ้ล ( ความเจริญ รุ่งเรือง )

2 ลูกพลับ ( ความไม่ย้อท้อต่ออุปสรรค,ขยัน )

3 สาลี่ ( เงินทองไหลมาเทมา )

4 ส้ม ( ความมีอำนาจ มั่งคั่ง )

5 องุ่น ( ความสมบรูณ์ พูนสูข )

6 ลูกท้อ ( ความยั่งยืน)

7 สับปะรด ( ความรอบรู้ กว้างไกล)

8 ลิ้นจี่ ( ความเป็นมงคล)

9 ลำใย ( ความมีอำนาจวาสนา เป็นผู้นำ )

10 กล้วย (ลูกหลาน บริวาร )

 
การไหว้ ตี่จู๋เอี้ยะ

จะมีการไหว้ 2 แบบคือ
    1.การไหว้ในทุกๆ วัน
    2.การไหว้ตามวันพระจีน ( ชิวอิก--1ค่ำ และ จับโหงว--15 ค่ำ )
     ซึ่งการไหว้ทั้ง 2 แบบจะต่างกันเพียงของไหว้เล็กน้อย และการไหว้ตามวันพระจีน จะมีการไหว้เดือนละ 2 ครั้งเท่านั้น
ทั้งนี้ ไม่รวมการไหว้ตามเทศกาลต่างๆอีก เช่ ตรุษจีน สารทจีน และการไหว้รับเทพ ซึ่งจะมีการจัดของไหว้ที่ต่างกันออกไป

    1.การไหว้ในทุกๆวัน
      ของไหว้ได้แก่   
1.น้ำชา  5 ถ้วย
2.น้ำเปล่า 3 ถ้วย
3.กระดาษไหว้ 1 ชุด
      วิธีการไหว้ คือ ให้จุดธูป 7 ดอก ไหว้เจ้าที่ภายในบ้านก่อน อธิษฐานเสร็จ ปักธูปที่กระถาง 5 ดอก อีก 2 ดอก ให้ปักที่ประตูหน้าบ้านซ้าย และขวา เป็นการไหว้เทพประจำประตูซ้าย-ขวา
       เสร็จแล้วก็ลากระดาษไปเผาหน้าบ้าน (ห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ปล่อยให้มอดไปเอง)
2.การไหว้ทุกวันพระ(ชิวอิกและจับโหงว )
      ของไหว้ได้แก่   
1.น้ำชา 5 ถ้วย
2.น้ำเปล่า 3 ถ้วย
3.ขนมกูไช่ สีแดง ( ถ่อก้วย หรืออั่งก้วย )
4.ส้ม  5 ลูก
5.กระดาษไหว้  1 ชุด
    วิธีการไหว้ เหมือนการไหว้ประจำวัน แต่หลังจากปักธูปหน้าบ้านเสร็จให้รอสักครู่ จึงลาของไหว้ และกระดาษ

ขั้นตอนการประกอบพิธี

    ผู้ทำพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะ คือเจ้าของบ้านหรือผู้อาวุโสของบ้าน หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของบ้านให้เป็นผู้ทำการแทน โดยกล่าวง่ายๆ ว่าข้าพเจ้า ขอมอบให้ ..... เป็นผู้ทำการเชิญตี่จู้เอี๊ยะเพื่อมาสถิตย์อยู่ในบ้านนี้แทนข้าพเจ้า สำหรับผู้ทำการเชิญตี่จู้เอี๊ยะจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและแต่งตัว เรียบร้อย

พิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะ

ผู้อัญเชิญ จุดเทียนและธูป 5 ดอก แล้วคุกเข่าที่โต๊ะบูชาเทพยดาฟ้าดินหน้าบ้าน พร้อมกับกล่าวเปล่งเสียงออกมาว่า.....
"วันนี้ เป็นวันที่ ..... ( สากลหรือจีนก็ได้ ) ซึ่งเป็นวันมงคลของข้าพเจ้า ..... เป็นเจ้าของบ้าน หรือผู้อาวุโสของบ้าน หรือ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ทำการเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะ ( ถ้าเชิญให้เจ้าของบ้านก็ระบุชื่อเจ้าของบ้าน ) บ้านเลขที่ .....
ขออัญเชิญองค์เทพยดาฟ้าดินมาเป็นสักขีและเป็นประธานในการทำพิธีตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ในวันนี้ ขอให้องค์เทพยดาฟ้าดินช่วยนำองค์ตี่จู้เอี๊ยะที่ศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีสูงส่ง เพื่อมาสถิตย์อยู่ ณ เคหสถานที่ได้ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อมาปกปักรักษาคุ้มครองเจ้าของบ้านและสมาชิกทุกคนในบ้านให้ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์พูนสุข มั่งคั่ง ร่ำรวย และโชคดีตลอดไป..."

เมื่อกล่าวจบ ก็ปักธูปทั้งห้าดอก ลงในกระถางธูปที่ตั้งโต๊ะแล้วคอยเวลาจนกระทั่งธูปหมดไป ประมาณครึ่งดอก ก็เข้ามาในบ้านเพื่อจุดเทียนแดงและธูปห้าดอกที่ตี่จู้เอี๊ยะ แล้วถือธูปเดินออกมาคุกเข่าต่อหน้าโต๊ะบูชาเทพยดาฟ้าดินหน้าบ้านอีกครั้งหนึ่ง บอกกล่าวด้วยการเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งว่า "
.....บัดนี้ได้ถึง เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ขออันเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะเข้าสู่เคหะสถานที่ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองทุกคนในบ้านให้มีความสุขตลอดไป ฯลฯ ....." และก็นำธุปทั้งห้าดอกนั้นมาปักที่กระถางธูปของตี่จู้เอี๊ยะ และแนะนำสมาชิกทุกคนในบ้านด้วยการบอกชื่อและนามสกุล อายุ อาชีพ ฯลฯ และขอเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะมารับเครื่องสักการะบูชาอันมีอะไรบ้างก็กล่าวของ มาทุกอย่าง หลังการนั้นกลับออกมาคุกเข่า กราบขอบคุณเทพยดาฟ้าดินเป็นอันเสร็จพิธี

    หลังจากนี้ก็ไหว้ตามปกติ โดยมีแค่ของไหว้เล็กๆ น้อยๆ หากแต่เป็นเทศกาลก็ควรจะไหว้ชุดใหญ่ตามรายละเอียดด้านบน



http://www.bjmarble.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539420644

.--------------------------------------------------------------------



ตี่จู้เอี๊ยะ เทพอารักษ์ประจำบ้าน ตามความเชื่อของชาวจีน

-http://hilight.kapook.com/view/96000-





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           ตี่จู้เอี๊ยะ เทพประจำบ้านผู้ปกปักอารักษ์คนในบ้าน ชาวจีนนิยมตั้งตี่จู้เอี๊ยะไว้ในบ้านเพื่อคุ้มครองและเสริมความสมบูรณ์พูนสุขแก่ผู้อาศัย การตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ทำได้อย่างไร และควรไหว้ตี่จู้เอี๊ยะอย่างไร มาติดตามกันเลย

           ชาวจีนและเหล่าลูกหลานไทยเชื้อสายจีนมักจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชะตาชีวิต รวมทั้งเทพเจ้าผู้มีหน้าที่อารักษ์พิทักษ์มนุษย์กันมาเนิ่นนานตั้งแต่อดีต ดังที่เราจะเห็นได้จากสิ่งที่สะท้อนความเชื่อเหล่านี้ของชาวจีน ผ่านสิ่งของหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่ชาวจีนนิยมทำ เช่น การไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และสิ่งหนึ่งที่เรามักจะพบเห็นโดยทั่วไปในบ้านเรือนของลูกหลานชาวจีน ก็คือ ตี่จู้เอี๊ยะ หรือที่สถิตย์ของเทพอารักษ์ผู้ปกปักรักษาคนในบ้านเรือนนั้น ๆ นั่นเอง

           ตามความเชื่อของจีน ตี่จู้เอี๊ยะ คือเทพที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ผู้ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาผู้อยู่อาศัยในบ้าน ดังนั้นการที่เจ้าของบ้านจัดสถานที่อยู่อาศัยให้แก่เทพที่คุ้มครองเรา จึงนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อด้วยว่าหากมีการวางตำแหน่งตี่จู้เอี๊ยะได้อย่างถูกต้อง เทพตี่จู้เอี๊ยะจะช่วยเสริมชะตาของเจ้าของบ้าน ทั้งในเรื่องโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจบารมี สุขภาพร่างกาย รวมถึงความผาสุขของผู้อาศัยในบ้านด้วย

           การตั้งตี่จู้เอี๊ยะ

           สำหรับการตั้งตี่จู้เอี๊ยะนั้น มีหลักการเดียวกับการตั้งศาลพระภูมิของคนไทย คือตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง เพื่อให้ได้โชคลาภมาก และยิ่งตั้งได้ติดพื้นจะยิ่งดีเพราะจะได้รับพลังจากธาตุดินได้ดีกว่า โดยตี่จู้เอี๊ยะนั้นสามารถตั้งไว้ในบริเวณใดของบ้านก็ได้ โดยมีหลักการตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ดังนี้

           ทิศด้านหลังตี่จู้เอี๊ยะ ไม่ควรอยู่ชิดประตู รวมถึงบันได ห้องน้ำ และห้องครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรตรงกับเตาไฟ ควรวางตี่จู้เอี๊ยะพิงด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ควรเคลื่อนย้าย

           ทิศด้านหน้าตี่จู้เอี๊ยะ ควรเป็นพื้นที่โล่ง เพื่อรองรับโชคลาภบารมีที่จะเข้ามา และมีแสงสว่างที่เพียงพอ

           ทิศด้านบนตี่จู้เอี๊ยะ ไม่ควรอยู่ใต้ขื่อคานหรือมีสิ่งใดวางทับ เพราะจะเป็นการลดพลังของตี่จู้ได้

           ทิศด้านใต้ตี่จู้เอี๊ยะ ควรวางตี่จู้เอี๊ยะตั้งติดดิน และสามารถนำแผ่นเงิน แผ่นทอง หรือเพชรนิลจินดา มาใส่ไว้ด้านใต้ได้ เพราะเป็นวัตถุธาตุดินช่วยเสริมพลังของเทพตี่จู้เอี๊ยะได้


           ของไหว้ตี่จู้เอี๊ยะ

           1. กระถางธูป หากเป็นกระถางธูปใหม่ จะใช้ โหง่วเจ่งจี้ หรือธัญพืช 5 อย่างปนลงไปในผงธูป ที่ด้านข้างกระถางควรแปะผ้าแดงที่เรียกว่า อั่งติ้ว เอาไว้ด้วย และมีผงขี้เถ้าสำหรับกระถางธูป เพื่อเสริมการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง

           สำหรับ โหง่วเจ่งจี้ ประกอบด้วย

           - ข้าวเปลือก ช่วยเสริมความเจริญงอกงาม หรือ ข้าวสาร ช่วยเสริมความร่ำรวย มั่งคั่ง
           - ข้าวเหนียวแดง ช่วยเสริมความโชคดี
           - เมล็ดถั่วเขียว ช่วยให้มีลูกหลานมากมาย อุดมสมบูรณ์
           - เมล็ดถั่วแดง เสริมความเป็นสิริมงคล ลาภยศ
           - เม็ดสาคู ช่วยเสริมความสุข

           2. ธูป 5 ดอก

           3. เหรียญสิบใหม่ ๆ 5 เหรียญ วางใส่ในกระถางธูปหรือใต้กระถางธูปก็ได้ เพื่อช่วยเสริมเงินทองให้ไหลมาเทมา

           4. แจกันพร้อมดอกไม้สด 1 คู่

           5. น้ำชา 5 ถ้วย

           6. เหล้า 5 ถ้วย

           7. ผลไม้ 5 อย่าง

           8. ฮวกก้วย 1 ชิ้น

           9. ขนมอี้ หรือสาคูแดง 5 ถ้วย

           10. ขนมจันอับ

           11. ข้าวสวย 5 ถ้วย

           12. เจฉ่าย

           13. ซาแซ หรือ โหง่วแซ

           ซาแซ คือของไหว้ชุดเล็ก ประกอบด้วย ของคาว 3 อย่าง โดยมี ซาเปี้ย และ ซาก้วย หรือของหวาน 3 อย่างกับผลไม้ 3 อย่าง ไหว้พร้อมกัน

           โหง่วแซ คือของไหว้ชุดใหญ่ เป็นของคาว 5 อย่าง ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรมีราคาแพงและหาซื้อยาก จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน





           การประกอบพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะ

           ผู้ที่จะทำพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะนั้น จะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด และแต่งกายให้เรียบร้อย โดยผู้ที่สามารถทำพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะเข้าบ้านได้ คือเจ้าของบ้านหรือผู้อาวุโสในบ้าน หรือเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของบ้านให้เป็นผู้ทำการแทน โดยการแต่งตั้งนั้นทำได้โดย ให้เจ้าของบ้านกล่าวว่า "ข้าพเจ้า ขอมอบให้ (ชื่อผู้ทำการแทน) เป็นผู้ทำการเชิญตี่จู้เอี๊ยะเพื่อมาสถิตย์อยู่ในบ้านนี้แทนข้าพเจ้า"

           สำหรับขั้นตอนในการประกอบพิธีเชิญตี่จู้เอี๊ยะนั้น เริ่มจากให้ผู้อัญเชิญ จุดเทียนและธูป 5 ดอก แล้วคุกเข่าที่โต๊ะบูชาเทพยาดาฟ้าดินที่อยู่หน้าบ้าน พร้อมกับกล่าวเปล่งเสียงว่า

           "วันนี้ เป็นวันที่... ซึ่งเป็นวันมงคลของข้าพเจ้า .... เป็นเจ้าของบ้าน/ผู้อาวุโสของบ้าน/ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ทำการเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะ บ้านเลขที่.... ขออัญเชิญองค์เทพยาดาฟ้าดินมาเป็นสักขีและเป็นประธานในการทำพิธีตั้งตี่จู้เอี๊ยะ ในวันนี้ ขอให้องค์เทพยาดาฟ้าดินช่วยนำองค์ตี่จู้เอี๊ยะที่ศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีสูงส่งเพื่อมาสถิตย์อยู่ ณ เคหสถานที่ได้ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อมาปกปักรักษาคุ้มครองเจ้าของบ้านและสมาชิกทุกคนที่อยู่ในบ้าน ให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์พูนสุข มั่งคั่ง ร่ำรวย และโชคดีตลอดไป"

           เมื่อกล่าวจบ ให้ผู้อัญเชิญปักธูปทั้ง 5 ดอกลงในกระถางธูปที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ รอกระทั่งธูปเหลือครึ่งดอก จึงเข้ามาในบ้านเพื่อจุดเทียนแดงและธูป 5 ดอกที่ตี่จู้เอี๊ยะ แล้วถือธูปเดินออกมาคุกเขาต่อหน้าโต๊ะบูชาเทพยดาฟ้าดินหน้าบ้านอีกครั้งหนึ่ง บอกกล่าวด้วยการเปล่งเสียงอีกครั้งว่า

           "บัดนี้ได้ถึงเวลาอันเป็นมงคลแล้ว ขออัญเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะเข้าสู่เคหะสถานที่ตระเตรียมไว้นี้ เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองทุกคนในบ้านให้มีความสุขตลอดไป"

           จากนั้นผู้อัญเชิญนำธูปทั้ง 5 ดอก มาปักที่กระถางธูปของตี่จู้เอี๊ยะ และแนะนำสมาชิกทุกคนในบ้าน ด้วยการบอกชื่อและนามสกุล อายุ อาชีพ ฯลฯ ก่อนเชิญองค์ตี่จู้เอี๊ยะมารับเครื่องสักการะบูชา โดยเอ่ยชื่อเครื่องสักการะบูชาทั้งหมด แล้วกลับออกมาคุกเข่า กราบของคุณเทพยดาฟ้าดิน เป็นอันเสร็จพิธี


           การไหว้ ตี่จู้เอี๊ยะ

           การไหว้ตี่จู้เอี๊ยะหลังจากได้เชิญตี่จู้เอี๊ยะเข้ามาสถิตย์ในบ้านแล้ว มี 2 แบบด้วยกัน คือการไหว้ทุกวัน กับการไหว้ตามวันพระจีน ซึ่งจะนิยมไหว้ด้วยของไหว้ชุดเล็ก ขณะที่การไหว้ในโอกาสเทศกกาลอื่น ๆ อย่างช่วง ตรุษจีน สารทจีน และการไหว้รับเทพ จะนิยมไหว้ด้วยของไหว้ชุดใหญ่

           1. การไหว้ทุกวัน มีของไหว้ประกอบด้วย

           น้ำชา 5 ถ้วย
           น้ำเปล่า 3 ถ้วย
           กระดาษไหว้ 1 ชุด

           วิธีการไหว้ให้จุดธูป 7 ดอก ไหว้เจ้าที่ภายในบ้านก่อน เมื่ออธิษฐานเสร็จให้ปักธูปที่กระถาง 5 ดอก ส่วนอีก 2 ดอกนำมาปักที่ประตูหน้าบ้านทั้งด้านซ้ายและขวา เมื่อเสร็จแล้วให้ลากระดาษไหว้ไปเผาหน้าบ้าน โดยห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ต้องปล่อยให้มอดไปเอง

           2. การไหว้ตามวันพระจีน (ชิวอิก 1 ค่ำ และ จับโหง่ว 15 ค่ำ) มีของไหว้ประกอบด้วย

           น้ำชา 5 ถ้วย
           น้ำเปล่า 3 ถ้วย
           ขนมกูไซ่ สีแดง (ถ่อก้วย หรืออั่งก้วย)
           ส้ม 5 ลูก
           กระดาษไหว้ 1 ชุด

           วิธีการไหว้ให้ไหว้เหมือนการไว้ประจำวัน แต่หลังจากไหว้หน้าบ้านเสร็จให้รอสักครู่ จึงค่อยลาของไหว้และลากระดาษมาเผาหน้าบ้าน


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
bjmarble.com
-http://www.bjmarble.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539420644-

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version