ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมโอวาท แนวทางธรรมปฏิบัติ ของ-หลวงปู่ต่างๆ  (อ่าน 2700 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ธรรมโอวาท แนวทางธรรมปฏิบัติ ของ-หลวงปู่ต่างๆ

"...เมื่อเอาหนังออกแล้ว ก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดูแล้ว
ก็เอากระดูกออกดู เอาทั้งหมดออกดู ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับ ไต ออกมาดู
มันเป็นยังไง มันเป็นคน หรือเป็นยังไง
ทำไมเราต้องไปหลง เออนี่แหละ พิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ..."
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร




"หูเราก็มี ๒ หู ปากก็มีปากเดียว
แสดงว่าเราต้องฟังให้มาก ต้องพูดให้น้อย"
ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก




"ทั้งชนะ ทั้งแพ้ ล้วนแต่มิใช่ความสงบ"
ท่านพุทธทาสภิกขุ




"ถ้าคนเรามีสติพิจารณาสักหน่อยว่า
แม้แต่ร่างกายที่มีหนังหุ้มอยู่อย่างนี้
เราก็ขอยืมมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
และก็จะต้องส่งคืนให้กับดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
ถ้ามีสติรู้ได้เช่นนี้เสมอๆ โลกก็คงจะวุ่นวายน้อยลง
กิเลสคนเราคงไม่กำเริบมากเท่าไรนักหนา"
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต




"...มุ่งดีในทางโลกีย์ เป็นทางวนเวียน
มุ่งดีในทางโลกุตตระ เป็นทางพ้นทุกข์.."
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต




"เราได้เกิดมาแล้ว ความแก่ไล่ติดตามเราตลอดเวลา
ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็มาถึงทุกขณะ ทุกเวลา
ชีวิตนี้เป็นของน้อยนิดเดียว ให้เร่งกันรีบเร่ง อย่าไปมัวเพลิดเพลินที่อื่น"
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร




“ญาติธรรม สายโลหิตในทางธรรม สำคัญที่สุด
ส่วนเรื่องญาติพี่น้อง ใคร ๆ ก็มีกันทั้งโลก
แต่ญาติที่สนิทกันได้อย่างลงใจ ไม่มีกิเลสภัยมาแพ้วพานให้รำคาญจิต
นั้นคือ  “ญาติธรรม”
ส่วนญาติพี่น้องในทางโลก บางทีก็แย่งสมบัติ ฆ่ากันตายก็มี
แต่ญาติธรรมนี้สนิทใจ เป็นที่สุด”
หลวงปู่ทา จารุธมฺโม




หน้า 17/23
-http://board.palungjit.com/f63/แนวทางปฏิบัติธรรมของ-หลวงปู่ต่างๆ-124493-17.html


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมโอวาท แนวทางธรรมปฏิบัติ ของ-หลวงปู่ต่างๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 09:56:36 pm »




พระพุทธเจ้าทรงสอนกฏของธรรมดา
หลวงปู่ปาน โสนันโท
วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

ร่างกายของคนและสัตว์มันเป็นอนิจจัง มีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ แต่ในที่สุดก็เป็นอนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลาเผาศพอย่าตั้งหน้าตั้งตาเผาเขา เวลาเราไปเผาศพก็เผากิเลสในใจของเราเสียด้วย กิเลสส่วนใดที่มันสิงอยู่ที่เรา คิดว่าเราจะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายน่ะ เผามันเสียให้หมดไป เราคิดว่าวันนี้เราเผาเขาไม่ช้าเขาก็เผาเรา คนเกิดมาแล้วตายอย่างนี้เราจะเกิดมันทำไม ต่อไปข้างหน้าเราไม่เกิดดีกว่า เราไปพระนิพพานนั่นละดีที่สุด เรื่องอัตภาพร่างกายสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีอะไรเป็นความหมาย ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตายแล้วหาสาระหาแก่นสารไม่ได้ หาประโยชน์ไม่ได้ ให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะตายได้ ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจให้สะอาด มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงวางภาระว่า เราของเรา เสียให้สิ้นด้วยไม่มีอะไรเลยเป็นของเรา แม้แต่ร่างกายก็มีเจ้าของคือ มรณภัยมันมาทวงคืน ให้คิดว่าเราไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เรามีนิพพานเป็นที่ไป

"พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า สัตว์ก็ดี คนก็ดี หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ดี มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างกลาง ที่สุดมันก็แตกทำลายหมด
ถ้าเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ตายในที่สุด ถ้าเป็นของวัตถุธาตุ ก็แตกทำลายในที่สุด ไอ้บ้านเรือนโรง ภูเขา ลำเนาป่า อะไรมันก็เหมือนกัน ภูเขามันเป็นหินแข็งแต่ว่านานๆ เข้าก็เป็นหินผุกลายเป็นดินไป ที่นี้ไอ้คนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน มันเกิดขึ้นมาในตอนต้น มันตัวเล็กๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนสภาพเข้ามาทุกทีๆ ถึงความเป็นคน เป็นบุคคลใหญ่ เป็นหนุ่ม เป็นสาว แล้วก็แก่ ในระหว่างนั้นสภาพของร่างกายก็ไม่ปกติ โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน นี่เป็นอาการเปลี่ยนแปลง จัดเป็นอนิจจัง

ทีนี้ตัวอนิจจังไม่เที่ยง มีความทุกข์ก็บังเกิดขึ้น ไอ้ความทุกข์มันเกิดขึ้นก็เพราะตัวอนิจจังนี่แหละ ไม่มีใครต้องการให้มันเป็น "นิจจัง" คือมันเที่ยงแน่นอน มีสภาพปกติ แต่อนิจจังมันขับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เคลื่อนไปจากความปกติ ให้มีความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเสื่อมโทรมลงไปเป็นธรรมดา แล้วในเมื่อความเสื่อมโทรมมันปรากฏ ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ คือโรคภัยไข้เจ็บมันก็เกิดขึ้น ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ นี่มันเป็นตัวทุกข์ อนิจจังมันทำให้ทุกข์ ไม่มีใครจะห้ามความตาย ไม่มีใครจะห้ามความเสื่อมความสูญ ความสลายตัวได้ คนทุกคนเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สัตว์ทุกตัวเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สภาพของวัตถุต่างๆ เป็นอย่างนั้น ตรงตามความเป็นจริงทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลกยากนักที่จะคิดอย่างนี้ที่จะเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้

นี่พระพุทธเจ้าทรงสอนกฏของธรรมดา ซึ่งคนทั้งหลายที่เกิดมาแล้วด้วยอำนาจของกิเลสแลตัณหาเข้าไปปิดบังใจไม่ยอมรับนับถือ กฏธรรมดา เช่น กระดูกนี่เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด ร่างกายเราเมื่อสภาพการหมดไปแล้ว ก็คงมีโครงกระดูกนี่เป็นเรือนร่าง เป็นแก่นของร่างกาย คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่มีสภาพจะคงที่ได้ ถ้ามีร่างกายบริบูรณ์สมบูรณ์ เมื่อสิ้นลมปราณแล้ว ร่างกายก็จะผุพังน้ำเหลืองจะไหล ธาตุดินไปส่วนหนึ่ง ธาตุน้ำไปส่วนหนึ่ง ธาตุไฟไปส่วนหนึ่ง ธาตุลมไปส่วนหนึ่ง ผลที่สุดเนื้อหนังก็จะละลายไป เหลือแต่ธาตุกระดูก กระดูกก็จะเป็นโครงอย่างนี้ หาความสวยไม่ได้หาความงามไม่ได้ อัตตภาพร่างกายอย่างนี้ มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น มันเป็นอนิจจังคือ เปลี่ยนแปลงมาในระหว่างกลางแล้วต่อไปก็ผุพังทำลายไปในที่สุด เป็นอนัตตาอย่างนี้ ไม่มี อิจจัง สุขขัง อัตตา หมายความว่า นิจจังมีสภาพคงที่ สุขขังไม่มีทุกข์ อัตตามีสภาพ เป็นตัวตน ยืนตลอดกาลตลอดสมัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นไม่มี

สำหรับอัตตภาพที่มีขันธ์ 5 มันต้องเป็นอนิจจัง คือเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงอยู่เรื่อยไป เพราะความไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์นี่แหละสภาวะอนัตตาจึงปรากฏคือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันพัง มันทำลาย นี่่ร่าง กระดูกที่เราเห็นนี่ เมื่อก่อนก็มีเรือนร่างครบถ้วนบริบูรณ์อย่างเรา มีลมปราณเหมือนกัน มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน แต่ว่านี่เนื้อหนังมังสารมันหมดไปแล้วเหลือแต่กระดูก อันเป็นส่วนแก่นแท้ภาพในร่างกาย เมื่อพิจารณาไปส่วนไหนมันก็ไม่น่ารัก ไม่น่าดู ไม่น่าชม มันน่าเกลียด

จึงกล่าวได้ว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง การเกิดเป็นมนุษย์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ จงอย่าอาลัยในชีวิต มันจะตายเมื่อไหร่ก็ไดช่างมัน เอาดีเข้าไว้ ดีนั่นคือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้คิดว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นเพียง ธาตุ 4 เข้ามาประชุมกัน มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาาตุลม ธาตุไฟ มันก็ปั้นเป็นก้อนขึ้นมา เขาแยกเป็นอาการ 32 ในไม่ช้าก็ตาย อย่าลืมความตายเป็นสำคัญ


"ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคมของดีอะไรก็ตามเราก็ต้องตาย ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอาอย่างน้อยที่สุด เราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้ ขอให้ทุกคนนะ เวลาก่อนจะหลับ ให้นึกถึงความดีที่ตอนเคยทำ ทรัพย์สินที่สละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทาน เลี้ยงพระ นึกถึงศีลที่ตอนเคยรับมา เทศน์ที่ตนเคยฟัง แล้วหมั่นภาวนาถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทโธ ธัมโม สังโฆ เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนาหรือภาวนาตามแบบสมถะ ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์ จงไปพรหมโลก จงไปนิพพาน"

ที่มา Pranippan Board ->
(พิมพ์มาจากหนังสือ รวมคำสอนพระสุปฏิปันโนเล่ม 5 (เล่มพิเศษ)
-http://board.palungjit.com/


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมโอวาท แนวทางธรรมปฏิบัติ ของ-หลวงปู่ต่างๆ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:17:17 pm »



หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

"ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา อะไรสักอย่าง
เพ่งดูสิ มันไม่เป็นแก่นสารอะไรเลย
ถ้าเป็นแก่นสาร ทำไมคนเราต้องล้มหายตายจาก
ถ้าเป็นแก่นสาร ตัวเราทำไมต้องเป็นหวัด เป็นไอ เป็นไข้
ทำไมต้องหนาวร้อน เพราะเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่า ไม่ใช่ตัวตน"

"ตา สำหรับเห็น รูป  -ใจ เป็นผู้รู้ว่า รูปดี รูปชั่ว รูปไม่ดี รูปไม่ชั่ว
แท้ที่จริง รูปทั้งหลายเขาไม่ได้ว่ารูปเขาดี
เขาไม่ได้ว่าเขาชั่ว
เราเป็นผู้ว่าเอา สมมุติเอา

- พระสติ หมายถึง ลมเข้า
- พระวินัย หมายถึง ลมออก
- พระปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก


เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นสิ่งกิ่งก้านสาขาเท่านั้น"




หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
" รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถาน "

ที่มา : โอวาทพระอริยสงฆ์
-http://board.palungjit.com/


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนจาก พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 23, 2014, 10:45:15 pm »



คำสอนจาก พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ (วาจาสิทธิ์)

" ... ไม่มีใครไม่มีมาร แต่มารมันเกิดแล้วมันก็ดับ
ไม่มีมารใดถาวร ตายหมด มีมารก็ตาย ไม่มีมารก็ตาย
แต่ว่ามารมันไม่ได้ขึ้นบนที่สูง
เวลาตาย เวลาเราจะทำดีมารมาขวางเวลาเราตายไป
มันไม่ได้ขึ้นสูงเหมือนเรา มันเป็นมารกรรมเก่า มารภพภูมิ
มันอยู่ที่จะตามเราทันตอนไหน เป็นมนุษย์ต้องหูหนัก
อย่าหูเบา ถ้าหูเบาเราก็เป็นมารตามมัน พระพุทธเจ้ายังมีมาร
แล้วสูเป็นใคร ไม่มีใครที่ไม่มีมาร และไม่มีใครไม่พบทุกข์
หลักธรรมดา ที่จริงหลักธรรมะคือหลักธรรมดา
แต่ว่าเราเข้าใจธรรมดาไหม ถ้าเราเข้าใจธรรมดา
แสดงว่าเข้าใจธรรมะ ก็ธรรมะมันเกิดจาก สิ่งที่มันเกิดอยู่แล้ว ... "

>>> F/B นักบุญแห่งล้านนา