ผู้เขียน หัวข้อ: “นางเงือก” เรื่องเล่าที่ไม่มีวันจางหาย จากท้องทะเล  (อ่าน 1153 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
“นางเงือก” เรื่องเล่าที่ไม่มีวันจางหาย จากท้องทะเล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 มกราคม 2557 15:12 น.

-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000009608-



“รูปปั้นนางเงือกทอง” แหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา

       ตำนานและเรื่องเล่าจากท้องทะเลนั้น มีมากมายหลายเรื่องมาตั้งแต่ครั้งอดีต แต่เรื่องเล่าที่คลาสสิคที่สุด และถูกกล่าวถึงมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ก็คงจะเป็นเรื่องราวของ หญิงสาวครึ่งคนครึ่งปลา ที่ถูกเรียกว่า “นางเงือก” นั้นเอง อีกทั้งเรื่องเล่าของนางเงือกนั้น ยังได้มีการกล่าวถึงไว้อย่างมากมาย ในหลายประเทศทั่วโลกโลก แม้แต่ประเทศไทยก็ได้มีการกล่าวถึงนางเงือก ไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ อีกด้วย
       
       “นางเงือก” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อในนิยายปรัมปราและเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งในตำนานและเรื่องเล่าโดยมากจะกล่าวกันว่า เงือกนั้นเป็นมนุษย์ครึ่งสัตว์ มีรูปร่างลักษณะในส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน และส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรื่องเล่าในส่วนมากจะกล่าวถึงนางเงือกซึ่งเป็นเพศหญิงมากกว่า ส่วนเงือกเพศชายนั้นจะเรียกว่าเงือกเฉยๆ และมักไม่ค่อยได้ถูกกล่าวถึงมากนัก


“รูปปั้นนางเงือกและพระอภัยมณี” หาดนางรำ จังหวัดชลบุรี

       มีเรื่องเล่ามากมายที่กล่าวถึงหญิงสาวครึ่งคนครึ่งปลาแห่งท้องทะเลอยู่ทั่วทุกมุมโลก ว่ามีจุดกำเนิดมาจากใด มีทั้งด้านดีและด้านร้าย แต่ทุกเรื่องราวนั้นมักจะกล่าวคล้ายๆ กันว่า นางเงือกมักจะปรากฎให้เห็นในยามค่ำคืนตามโขดหินเหนือผิวน้ำหรือชายหาด ซึ่งมักจะมานั่งหวีสางผมและส่องกระจก ร้องบรรเลงเพลงในยามค่ำคืน ซึ่งจะเป็นเสียงที่ไพเราะมาก
       
       ซึ่งเรื่องราวในด้านร้ายนั้นจะถูกกล่าวว่า นางเงือกมักจะขึ้นมาร้องเพลงและล่อลวงเหล่าผู้ชายด้วยเสียงเพลงและจะนำไปสู่ความตาย หรือในท้องทะเลก็จะล่อลวงให้เหล่ากะลาสีเคลิบเคลิ้มไปกับเสียงเพลงจนแล่นเรือหลงทางไปชนโขดหินจนเรือล่ม แต่ก็ยังมีเรื่องราวในความดีที่ถูกกล่าวถึงด้วย ซึ่งบางครั้งนางเงือกก็ให้คุณต่อมนุษย์ มนุษย์ที่ช่วยเหลือนางเงือกมักได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรค หรือนางเงือกจะมาช่วยเตือนให้ระวังพายุ และช่วยมนุษย์ขึ้นฝั่งในยามที่เรือล่ม


รูปปั้นนางเงือก เมืองโคเปนเฮเกน (ภาพจากอินเทอร์เน็ต)

       ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็ยังมีการกล่าวถึงเรื่องเล่าของเหล่านางเงือกอยู่ด้วยเหมือนกัน โดยนางเงือกไทยนั้นก็จะมีลักษณะเหมือนกับนางเงือกทั่วไป โดยมีเรื่องเล่าที่กล่าวถึงนางเงือกไว้ในหลายๆเรื่อง แต่เรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด คือเงือกในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ได้ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า ครอบครัวเงือกเป็นผู้พาพระอภัยมณีหนีจากนางผีเสื้อสมุทรมาที่เกาะแก้วพิสดาร ซึ่งนางเงือกผู้เป็นลูกได้พบรักกับพระอภัยมณี และได้ให้กำเนินสุดสาครขึ้นมา ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวละครเอกของเรื่องราวดังกล่าว
       
       หลักฐานที่แน่ชัดว่าเรื่องเล่าของนางเงือกจะยังคงเป็นเรื่องเล่าที่จะยังคงไม่เสื่อมคลาย ก็คงจะเป็นรูปปั้นต่างๆที่ถูกสร้างไว้อยู่ทั่วทุกมุมโลก เช่น รูปปั้นนางเงือกเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก รูปปั้นนางเงือกเมืองมาแซตลาน ประเทศเม็กซิโก ซึ่งประเทศไทยนั้นก็ได้มีการสร้างรูปปั้นนางเงือกขึ้นไว้เช่นกัน อาทิ รูปปั้น“นางเงือกทอง” สัญลักษณ์อันโดดเด่นของแหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา รูปปั้นนางเงือกกับพระอภัยมณี หาดนางรำ จังหวัดชลบุรี


รูปปั้นนางเงือก เมืองมาแซตลาน (ภาพจากอินเทอร์เน็ต)

       และรูปปั้นแต่ละแห่งนั้น ได้กลายมาเป็นจุดที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่จะมาถ่ายรูป และในบางแห่งรูปปั้นนางเงือกก็ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์เด่นให้กับแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย ซึ่งรูปปั้นนางเงือกเหล่านี้ได้คอยย้ำเตือนให้เหล่าผู้คนนึกถึงเรื่องเล่าของหญิงสาวจากท้องทะเล ว่ามีอยู่จริงหรือไม่
       
       ซึ่งตำนานและเรื่องเล่าของเหล่านางเงือกนั้น ปัจจุบันก็ยังคงเป็นปริศนา ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แม้จะมีเรื่องเล่าหรือหลักฐานการค้นพบมากมายจากทั่วทุกมุมโลก ด้วยความเชื่อในเรื่องดังกล่าว ก็มีข้อเสนอว่า บางทีอาจเป็นเพราะผู้คนในสมัยโบราณเข้าใจผิด คิดว่า "พะยูน" คือเงือกก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างไรแม้วันเวลาจะล่วงเลยผ่านไป เรื่องราวของเหล่านางเงือก ก็ยังจะคงเป็นเรื่องเล่าจากท้องทะเลที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)