ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิจจสมุปบาท  (อ่าน 1300 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปฏิจจสมุปบาท
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 12:00:39 pm »

ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท แปลพอได้ความหมาย ในเบื้องต้นว่า การเกิดขึ้น พร้อมแห่ง ธรรมทั้งหลายโดยอาศัยกัน การทำสิ่ง ทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น หรือการที่ทุกข์ เกิดขึ้นเพราะ อาศัยปัจจัยสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมา ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมอีก หมวดหนึ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ในรูปของ
กฎแห่งธรรชาติ หรือหลัก ความจริงที่มีอยู่ โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับ การอุบัติของพระศาสดา ทั้งหลาย คำสรุปปฏิจจสมุปบาท บ่งว่า เป็นกระบวน การเกิดขึ้นและ ดับไปแห่งความทุกข์

๑. หลักทั่วไป
ก. อิมสมึ สติ อิท โหติ เมื่อ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสสุปปทา อิท อุปปชชติ เพราะ สิ่งนี้ เกิดขึ้น สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น
ข. อิสมึ อสติ อิท น โหติ เมื่อ สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสส นิโรธา อิท นิรุชฌติ เพราะ สิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ ( ด้วย)

๒. หลักแจงหัวข้อ หรือหลักประยุกต์
ก. อวิชชาปจจยา สงขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สงขารปจจยา วิญญาณ เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญญาณปจจยา นามรูป เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปปจจยา สฬายตน เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจจยา ผสโส เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผสสปจจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาปจจยา ตณหา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตัณหาปจจยา อุปาทาน เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
อุปาทาปจจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภวปจจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติปจจยา ชรามรณ เพราะชาติเป็ยปัจจัย ชรามรณะ จึงมี
..........................................................
โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสา สมภวนติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม
เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้น แห่ง กองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ ด้วยประการฉะนี้

ข. อวิชชย ตเวว อเสสวิราคนิโรธา สงขารนิโรโธ เพราะอวิชชา สำรอกไปไม่เหลือสังขารจึงดับ
สงขารนิโรโธ วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญญาณนิโรโธ นามรูปนิโรโธ เพราะวิยญาณดัดับ นามรูปจึงดับ
นามรูปนิโรโธ สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนจึงดับ
สฬายตนนิโรโธ ผสสนิโรโธ เพราะสฬายตนดับ ผัสสะจึงดับ
ผสสนิโรโธ เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เวทนานิโรโธ ตณหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
ตณหนิโรโธ อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
อุปาทานิโรโธ ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
ภวนิโรโธ ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
ชาตินิโรโธ ชรามรณนิโรโธ เพราะชาติดับ ชารามรณะ (จึงดับ)
...........................................................
โสกปริเทวทุกขโทมนสสสุปายาสา นิรุชฌนติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส นิโรโธ โหติ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ขอให้สังเกตว่า คำสรุปปฏิจจสมุปบาทนี้ บ่งว่า เป็นกระบวนการ เกิดขึ้นและ ดับไปแห่งกองทุกข์

ความหมายของ “ ทุกข์ “
คำว่า ”ทุกข์ “ มีความสำคัญและมี บทบาทมากในพุทธธรรม แม้ในหลักธรรมอื่นๆเช่นไตรลักษณ์ และอริยสัจ ก็มีทุกข์เป็นองค์ ประกอบที่สำคัญ จึงควรทำความ เข้าใจในคำว่า ทุกข์กันให้ชัดเจนก่อน เมื่อทำความเข้าใจใน พุทธธรรม ให้สลัดความเข้าใจ แคบๆในภาษาไทยทิ้งไปเสียก่อน และพิจารณาใหม่ตามความหมายกว้างๆของพุทธพจน์ที่แบ่ง ทุกขตา เป็น ๓ อย่าง พร้อมด้วยคำอธิบายในอรรถกถา ดังนี้

๑. ทุกขตทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ ที่เรียกกันว่าทุกขเวทนา ( ความทุกข์อย่างปกติ ที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือ สิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)

๒. วิปริณามทุกขตา ทุกเนื่องด้วย ความผันแปร หรือทุกข์ที่เนื่องใน ความผันแปรของสุข คือความสุขที่ กลายเป็นความทุกข์ หรือ ทำให้เกิดทุกข์เพราะ ความแปรปรวน กลับกลายของมันเอง ภาวะที่ปกติก็ สบายดีเฉยอยู่ ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวย ความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจางลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึก สบายเป็นปกตินั้น กลับกลายเป็นทุกข์ไป เสมือนเป้นทุกข์แฝง ซึ่งแสดงตัวออกมา ในทันทีที่ความสุขนั้นจืดจาง หรือเลือนลางไป ยิ่งสุขมากขึ้นเพียงใด ก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านนั้น เสมือนว่าทุกข์ ที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป ถ้าความสุขนั้นไม่เกิดขึ้น ทุกข์เพราะสุขนั้นก็ไม่มี แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้น อาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยหวาดกังวลใจ หายไหวหวั่น

๓. สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของตัว สังขารเอง หรือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๕ ( รวมถึง มรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม ) เป็นทุกข์ คือเป้นสภาพที่ ถุกบีบคั้นด้วยปัจจัย ที่ขัดแย้งกัน มีการเกิดขึ้นและ สลายหรือดับไป ไม่มี ความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง อยู่ในในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ ( ความรู้สึกทุกข์หรือ ทุกขเวทนา ) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทัน ต่อสภาพและ กระแสของมัน แล้วเข้าไปฝืน กระแสอย่างทื่อๆด้วยความอยากความยึด ผ ตัณหาอุปาทาน ) อย่างโง่ๆ ผ อวิชชา) ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง และปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา

ทุกข์ข้อสำคัญ คือข้อที่ ๓ แสดงถึง สภาพของสังขาร ทั้งหลายตามที่มัน เป็นของมันเอง แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิด ความหมายในภาวะใน ทางจิตวิทยาขึ้นก็ได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความ พึงพอใจโดยสมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิด ทุกข์ได้เสมอ แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย อวิชชาตัณหาอุปาทาน
สิ่งทั้งหลายคือ กระแสเหตุปัจจัย มิใช่มีตัวตนที่ เที่ยงแท้เป็นจริง หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการที่สิ่งทั้งหลาย สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็น เหตุปัจจัยต่อกัน อย่างเป็นกระแส ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ ขยายความออกไป ให้เห็นแง่ต่างๆ คือ

* สิ่งทั้งหลายมี ความสัมพันธ์เนื่องอาศัย เป็นปัจจัยกัน
* สิ่งทั้งหลาย มีอยู่โดย ความสัมพันธ์
* สิ่งทั้งหลาย มีอยู่ด้วย อาศัยปัจจัย
* สิ่งทั้งหลาย ไม่มีความคงที่อยู่ อย่างเดิมแม้แต่ ขณะเดียว
* สิ่งทั้งหลายไม่มี อยู่โดยตัว ของมันเอง คือไม่มีตัวตน ที่แท้จริงของมัน
* สิ่งทั้งหลาย ไม่มีมูลการณ์ หรือ ต้นกำเนิดเดิมสุด

( พุทธธรรม พระรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต)
>>> F/B พระพุทธเจ้า

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2014, 02:45:10 pm »



ผู้ที่เข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท,
 อาจกล่าวได้ว่า อวิชชา คือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดในการดับทุกข์ ซึ่งฝังแน่นลงรากลึกอยู่ในจิต และไม่สามารถมองเห็นได้ในปุถุชน และเป็นต้นกําเนิดของความทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง
อวิชชาเกิดจาก ปัจจัยอันมีอาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์และสุขทั้งหลายที่ทิ้งผลร้ายหรือ แผลเป็นเอาไว้ อันทําให้จิตขุ่นมัว และเศร้าหมอง เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า กล่าวคือเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกันกับอวิชชา คือเมื่อไม่รู้ในความเป็นจริง กล่าวคือ จึงไป ยึดอาสวะกิเลสนั้นว่าเป็น เราของเราอยู่ลึกๆในจิต จึงไปขุ่นมัวเศร้าหมอง หรือเต้นไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ

อาสวะกิเลส เหล่านี้อันมี
๑. โสกะ ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่างๆเช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ.
๒. ปริเทวะ ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา, อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิด หรือไม่อยากเกิดขึ้นอีก

๓. ทุกข์ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ
๔. โทมนัส เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์ หดหู่ เศร้าหมอง เกิดแต่ไม่ได้ตามใจปรารถนา
๕. อุปายาส ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ หรือไม่ได้ดังใจปรารถนา

อาสวะกิเลสที่ เกิดจากความทุกข์เหล่านี้ที่หมักหมม นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า ขับไส ผลักดันเป็น เหตุเป็นปัจจัยแก่กัน และกันร่วมกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง กระตุ้นสังขารให้ผุดขึ้นหรือเจตนาขึ้นมาอัน เป็นเหตุปัจจัยอันก่อให้เป็นทุกข์ ปล่อยให้เป็นไปจนเป็นทุกข์ตามขบวนการเกิดของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท(ดูภาพ การเป็นเหตุปัจจัยร่วมกัน) อันจักหมุนดําเนินต่อไปไม่รู้จักจบ จักสิ้น เนื่องจาก ความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจร แห่งทุกข์นั้นไม่ได้, และเหล่าอาสวะกิเลส เหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต

 ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่ จะเกิดขึ้นทันที เปรียบได้ดั่งนํ้าที่แลดูใสสะอาดแต่ มีตะกอนนอนก้นอยู่ เมื่อมีสิ่งใดมากวนก็จะฟุ้งกระจายขึ้นมาแสดงความไม่บริสุทธิ์ให้เห็นทันที แต่มันไม่จบแค่นั้น มันร่วมเป็นปัจจัยกับอวิชชาความไม่รู้ให้ทํางานเริ่มวงจรของทุกข์...เริ่มสังขารในปฏิจจสมุปบาท เช่นความคิดที่เป็นทุกข์ ก่อทุกข์ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ให้เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอีก, นอกจากตกตะกอนนอนเนื่องแล้ว ยังมีแขวนลอยเป็นเชื้อโรคอยู่ในจิตเฉกเช่นเดียวกับนํ้า ที่มีทั้งแขวนลอยและตกตะกอน

 อาการพวกแขวนลอยได้แก่มีอาการหดหู่ หงุดหงิดมีโทสะกรุ่นๆโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ขุ่นมัว เศร้าหมอง มักไม่เห็นเหตุที่เกิด นอกจากใช้ตาปัญญาเท่านั้น อาการอย่างนี้เป็นได้นานๆมาก ล้วนเป็นผลมาจากพิษภัยอันร้ายกาจของอาสวะกิเลส และเพราะอาสวะกิเลสนั้นก็เป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดจากความจํา(สัญญา)ดังนั้นจึงคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ), เราจึงจําเป็นต้องมีวิชชาไม่ปล่อยไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ จนกว่าจักสิ้นอาสวะกิเลส(หมายถึงดับกิเลสโดยสัญญาจํายังมีอยู่ แต่ไม่มีผลใดๆต่อสภาวะจิตใจเนื่องจากเข้าใจสภาวะธรรมระดับสูงสุดแล้ว)เป็นการถาวร ดั่งนี้ท่านคงเห็นแล้วอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ชาติ)นั้นเป็นตัวสําคัญที่สุด เข้าใจยาก กําจัดยาก พระพุทธองค์จึงทรงจัดไว้ลําดับสุดท้ายใน สังโยชน์ ๑๐ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์)ที่ต้องกําจัดก่อนถึงนิโรธ

>>> F/B พระพุทธเจ้า