หลักเกณฑ์การเลือกสถานที่และบุคคล ที่ควรเสพ และไม่ควรเสพภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์
(ป่าทึบ) แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่,
สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็
ไม่ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น, อาสวะที่ยัง
ไม่สิ้น ก็ไม่ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ ก็ไม่บรรลุ, ทั้งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามา
เพื่อเป็นบริขารของชีวิต ก็หามาได้โดยยาก. ภิกษุ ท. !
ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน พึงหลีกไปเสีย
จากวนปัตถ์นั้น, อย่าอยู่เลย.
ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย
วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ไม่
ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น, อาสวะที่ยังไม่สิ้น
ก็ไม่ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ ยังไม่บรรลุ
ก็ไม่บรรลุ; แต่ว่า จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจย-
เภสัชชบริขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามาเพื่อเป็นบริขาร
ของชีวิต
หามาได้โดยไม่ยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นพิจารณา
เห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “
เราเป็นผู้ออกจากเรือนบวช
เพราะเหตุแห่งจีวรก็หามิได้ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตก็
หามิได้ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะก็หามิได้ เพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจยเภสัชชบริขารก็หามิได้”; ครั้นพิจารณาเห็น
ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงหลีกไปจากวนปัตถ์นั้น, อย่าอยู่เลย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เข้าไปอาศัย
วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่,
สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้ง
ขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น, อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึง
ความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ;
แต่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร
อันบรรพชิตพึงแสวงหาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น
หามาได้โดยยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นโดย
ประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “เรามิได้ออกจากเรือนบวช
เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่ง
เสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจยเภสัชชบริขาร”;
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น
อย่าหลีกไปเสียเลย.
ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย
วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้,
จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น, อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึงความสิ้น,
และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ, ทั้งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร อัน
บรรพชิตจะแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หา
ได้โดยไม่ยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์
ดังนี้แล้ว พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น จนตลอดชีวิต, อย่าหลีก
ไปเสียเลย.
(ในกรณีแห่ง การเลือกหมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท และ
บุคคล ที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์
อย่างเดียวกัน).
มู. ม. ๑๒ / ๒๑๒- ๒๑๘ / ๒๓๕- ๒๔๒.:facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า