ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอย 5 แหล่งกินปูสุดเด็ดของไทย อร่อยถูกใจนักชิม  (อ่าน 2143 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ตามรอย 5 แหล่งกินปูสุดเด็ดของไทย อร่อยถูกใจนักชิม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 มีนาคม 2557 17:47 น.

-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000027341-




ปูนึ่งสดๆจากทะเล รสหวานอร่อย มีให้เลือกกินในหลายแห่งทั่วไทย

       ประเทศไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ต่างๆ ผักผลไม้ ที่มีให้กินตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอาหารทะเลสดๆ คุณภาพดี ที่รสชาติอร่อยถูกใจทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
       
       ซึ่ง “ปู” นั้นก็ถือเป็นอาหารทะเลชนิดแรกๆ ที่เรามักจะเลือกชิมกัน ด้วยความพิเศษอันมีเอกลักษณ์ของรสชาติ หากว่าปูนั้นมีความสดใหม่ ก็จะได้ลิ้มรสชาติเนื้อปูที่แน่นหวาน จะนำไปผัดหรือทอดก็อร่อย หรือแค่นึ่งหรือเผาให้พอสุก จิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ดก็อร่อยสุดยอดแล้ว
       
       สำหรับแหล่งที่สามารถหาชิมปูสดๆ อร่อยๆ ได้ในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่ก็จะอยู่แถบชายทะเล แต่จะมีที่ไหนบ้างนั้น สามารถติดตามได้ ดังนี้


ปูสดๆ จากทะเลชะอำ

       ปูชักชะอำ จ.เพชรบุรี
       
       “ปูชัก” ไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ของปูทะเลแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นโดย นายนุกูล พรสมบูรณ์ศิริ นายกเทศมนตรีเมืองชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งปูชักที่ว่านี้ก็คือ “ปูม้า” นั่นเอง
       
       เหตุที่มีชื่อเรียกว่าปูชักนั้นก็มาจากวิธีการรักษาปูให้สดใหม่ อันเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวประมงในแถบทะเลชะอำ โดยชาวประมงในแถบนั้นมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มชุมชนบ้านคลองเทียน สะพานหินปากคลอง หนองแจง 2. กลุ่มชุมชนบ้านบ่อแขม และ3. กลุ่มชุมชนบางไทรย้อย เนินสุรา บ่อพุทรา
       
       สำหรับชาวประมงกลุ่มชุมชนบ้านคลองเทียนและสะพานหิน จะใช้คลองสะพานหิน เป็นที่จอดเรือหลบคลื่น และใช้พื้นที่ริมคลองขายปูสดๆ ที่จับมาได้เอง โดยใช้วิธีการรักษาความสดของปูด้วยการจับปูใส่ถุงตาข่าย ผูกเชือกห้อยกับราวสะพานเหล็กเล็กๆ ที่ยกเปิด-ปิดได้ ซึ่งชาวบ้านใช้สัญจรข้ามคลอง เมื่อมีลูกค้ามาซื้อปู ชาวบ้านก็จะไปชักถุงตาข่ายปูขึ้นมาขาย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ปูชัก” นั่นเอง
       
       วิธีการรักษาความสดใหม่ของปูตามแบบฉบับชาวประมงพื้นบ้านนี้ ก็ทำให้ได้ลิ้มรสชาติปูม้าที่สด อร่อย เนื้อแน่น และยังคงความหวานได้อยู่ เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าและนักกินทั้งหลาย หากลูกค้าคนไหนที่มาซื้อปูม้ากลับไปกินที่บ้าน มีข้อแนะนำคือให้เลือกปูม้าที่นึ่งแล้วนำไปใส่กล่องโฟม จะเป็นการรักษาความอร่อยของเนื้อปูได้ แต่หากยังไม่กินในทันทีก็ควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง แล้วค่อยนำออกมาอุ่นเมื่อจะกิน
       
       สำหรับช่วงเวลาที่มีปูม้าให้ชิมเยอะ คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชาวประมงจะจับปูม้าได้มาก เฉลี่ยวันละประมาณ 30-40 กิโลกรัม และปูม้าจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจใหญ่ได้ถึง 3 ตัว/กิโลกรัม จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “เทศกาลชิปูชัก @ ชะอำ” ขึ้นทุกๆ ปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนอกจากจะมีปูชัก หรือปูม้าอร่อยๆ ให้ชิมแล้ว ก็ยังมีการสาธิตวิธีชักปูให้เห็น มีการจำหน่ายอาหารทะเลสดๆ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และกิจกรรมบันเทิงอีกมากมาย



ปูดำ จากกระชังเกาะกลาง กระบี่

       ปูดำ เกาะกลาง จ.กระบี่
       
       “ปูดำ” หรือที่เรียกกันว่า “ปูทะเล” หากเห็นตอนเย็นสดๆ เป็นๆ หน้าตาอาจจไม่ค่อยน่ากิน เพราะสีดำๆ คล้ำๆ แต่พอนำไปปรุงสุกแล้วกลายเป็นสีส้มสดใส หน้าตาชวนชิมน้ำลายสอ
       
       ปูดำนั้นพบได้ทั่วไปทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และหนึ่งในสถานที่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งของปูดำก็คือ เกาะกลาง อ.เมือง จ.กระบี่ เดิมนั้นปูดำมีอยู่ในธรรมชาติมากมายในพื้นที่แถบนั้น จนกระทั่งมีการสร้างอนุสาวรีย์ปูดำขึ้นมา เป็นประติมากรรมปูดำ 4 ตัว โดยตัวใหญ่สุดเป็นแม่ปู และมีลูกเล็กๆ อีกสามตัว
       
       นัยยะในการสร้างอนุสาวรีย์ปูดำ ก็สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนหน้าเมืองกระบี่ อันเป็นส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำกระบี่ พื้นที่ชุมน้ำลำดับที่ 4 ของเมืองไทย นอกจากนี้ปูดำก็ยังเป็นสัตว์ที่นับว่ามีบุญคุณกับชาวกระบี่ ให้ได้จับกินและเลี้ยงส่งขายอีกด้วย
       
       ซึ่งปัจจุบัน แม้ว่าปูดำที่อยู่ในธรรมชาติจะลดน้อยถอยลงจนแทบไม่เหลือ เนื่องจากถูกจับกินจับขายเป็นจำนวนมาก จนเติบโตไม่ทันตามความต้องการของมนุษย์ จนกระทั่งชาวบ้านหันมาทำกระชังเลี้ยงปูดำ หรือกระทั่งเลี้ยงปูดำในบริเวณป่าโกงกางเพื่อนำมาขายให้นักกิน กลายเป็นอาชีพทำเงินให้กับชาวเกาะกลาง และชาวบ้านชาวประมงในบริเวณนั้น




ตะกร้าเพาะเลี้ยงปูนิ่ม

       ปูนิ่ม จ.ระนอง
       
       ปูนิ่มที่เรากินกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะมาจากฟาร์มที่เลี้ยงปูนิ่มโดยเฉพาะ ที่มักจะนำปูทะเลมาทำเป็นปูนิ่ม โดยวิธีการทำปูนิ่มจะต้องเลี้ยงปูให้ลอกคราบ ซึ่งปกติแล้วปูก็จะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาดกระดองใหญ่ขึ้นตามอายุของปู คือเมื่อปูเจริญเติบโตจนเต็มพื้นที่กระดองเดิมแล้ว ก็จะลอกคราบโดยมีการสร้างกระดองใหม่ขึ้นมา ช่วงที่ปูลอกคราบใหม่ๆ นั้นกระดองจะนิ่ม ผิวเปลือกย่น ซึ่งจะเรียกระยะนี้ว่า “ปูนิ่ม” นั่นเอง
       
       “ปูนิ่ม” ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นปูพันธุ์ใด หรือชนิดใดเป็นพิเศษ จะเป็นปูดำ ปูขาว ปูทะเล ก็สามารถนำมาทำเป็นปูนิ่มได้เช่นกัน สรุปว่าปูนิ่มนั้นหมายถึงปูที่ลอกคราบใหม่ๆ นั่นเอง
       
       สำหรับการเลี้ยงปูนิ่มนั้น เมื่อปูลอกคราบเสร็จใหม่ๆ ผู้เลี้ยงก็จะจับเอาปูไปแช่น้ำจืดเพื่อป้องกันการแข็งตัว เนื่องจากในน้ำทะเลมีปริมาณแคลเซียมมาก ปูจะใช้แคลเซี่ยมในน้ำทะเลทำให้กระดองแข็งตัวขึ้น เมื่อแช่ในน้ำจืดสักพักก็จะจับมาน็อกในน้ำแข็งเพื่อให้ปูหมดสติ จากนั้นก็นำไปแช่แข็งแล้วนำออกไปจำหน่าย
       
       ส่วนแหล่งที่สามารถหาฟาร์มปูนิ่มได้เยอะก็คือ ที่ จ.ระนอง เนื่องจากมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำฟาร์มปูนิ่ม อยู่บริเวณชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ และสามารถหาพันธุ์ปูได้ง่าย ซึ่งที่ จ.ระนองก็มีการเลี้ยงปูนิ่มเป็นจำนวนมาก มีคุณภาพดีจนกลายเป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาวของจังหวัดเลยทีเดียว




เมนูอร่อยจากปูทะเล บางขุนเทียน

       ปูทะเล บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
       
       ชายทะเลแถบบางขุนเทียน แม้ว่าจะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ก็เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยอาหารทะเลสดๆ ใหม่ๆ ให้เลือกซื้อเลือกชิมกันอยู่หลายร้าน หากสังเกตดูเมื่อขับรถผ่าน ก็จะเห็นทั้งร้านอาหารทะเลที่เรียงรายอยู่เต็มสองข้างทาง และร้านขายอาหารทะเลที่เปิดเป็นแผงอยู่ริมถนนเช่นกัน
       
       ซึ่งของดีของเด็ดสุดๆ จากชายทะเลบางขุนเทียนก็คือ “ปูทะเล” เป็นทั้งอาหารแสนอร่อย และสุดยอดของฝาก ซึ่งปูทะเลบางขุนเทียนนั้นมีให้เลือกทั้งแบบปูเนื้อ ปูไข่ และมีหลากไซส์หลายราคา
       
       เหตุที่แถบนี้มีปูทะเล และอาหารทะเลวางขายอยู่มากมาย ก็เนื่องจากพื้นที่ของบางขุนเทียนนั้นอยู่ติดกับปากทะเลอ่าวไทย และยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ชาวบ้านในแถบนี้จึงทำอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ เมื่อจับสัตว์น้ำมาได้ก็จะนำมาขายต่อให้กับแม่ค้าพ่อค้า หรือไม่ก็นำมาวางขายเอง
       
       ปูทะเลสดๆ ใหม่ๆ ของบางขุนเทียนนั้น เนื้อแน่น หวาน อร่อย และความอร่อยนี้ก็เป็นที่ติดอกติดใจของนักชิม จนกระทั่งสำนักงานเขตบางขุนเทียน และ ททท. ได้ร่วมมือกันจัดงาน “กินปู ดูทะเลกรุงเทพฯ” ขึ้นในทุกๆ ปี เป็นการการันตีว่า ปูทะเลบางขุนเทียน นั้นอร่อยจริงๆ




ปูแสม (ภาพจาก : www.mmc.in.th)
       ปูแสม จ.สมุทรสาคร
       
       “ปูแสม” เป็นปูตัวเล็กๆ ที่ถูกนำมาทำเป็นปูเค็มใส่ส้มตำแบบที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งปูแสมนั้นจะใช้ชีวิตอยู่บริเวณป่าชายเลนทั่วไป โดยสามารถพบได้ชุกชุมที่ จ.สมุทรสาคร นอกจากนี้ก็ยังพบได้ในป่าชายเลน ป่าโกงกาง หรือป่าแสม แทบทุกแห่งของไทย
       
       แต่ก่อนนั้นปูแสมมีอยู่มากมายแถวๆ ปากแม่น้ำท่าจีน ฝั่งทะเลอ่าวไทย เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ มีอาหารของปูแสมอยู่มากมาย แต่ปัจจุบัน พบปูแสมได้น้อยลงเรื่อยๆ เพราะมีการเจริญเติบโตไม่ทันตามความต้องการของคนกิน จนต้องมีการเพาะเลี้ยงปูแสมเพื่อนำมาขาย
       
       ปัจจุบัน หากไปเดินซื้อหาปูแสมสดๆ ปูแสมเค็ม หรือปูแสมดอง ตามตลาด แถว จ.สมุทรสาคร โดยเฉพาะในตลาดมหาชัย ก็ยังมีให้เลือกซื้อหาอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นปูแสมเพาะเลี้ยง หรือปูแสมนำเข้าเสียมากกว่า
       
       ปูชนิดต่างๆ ที่หาซื้อหากินกันได้อยู่ในทุกวันนี้ นับวันก็จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ จากความต้องการที่ม่กขึ้นเรื่อยๆ ของคน สิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือ ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม อันเป็นที่อยู่ที่อาศัยของปูชนิดต่างๆ รวมถึงชาวประมงก็ต้องให้ความร่วมมือในการจับสัตว์น้ำตามฤดูกาล เพื่อให้สัตว์น้ำเหล่านั้นได้เจริญเติบโตและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ต่อไป




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)