ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นตัวเดียวกัน  (อ่าน 1683 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
เป็นตัวเดียวกัน
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2014, 11:30:15 pm »

                     

วิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้า ก็ดี ปฏิสนธิวิญญาณ ก็ดี เป็นตัวเดียวกันนั่นแหละไม่ใช่ตัวอื่นไกล มันเป็นตัวใจตัวเดียวนั่นแหละ แต่มันทำหน้าที่ต่างกัน ถ้าทำหน้าที่เป็นผู้รับรู้ของผัสสะในอายตนะ ทั้งหก เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวนำให้มาเกิด ถ้าไม่มีวิญญาณตัวนี้ก็ไม่มาเกิด มันรวมเอา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม รวมอยู่หมดในตัววิญญาณนั้น ความจริงแล้ว อวิชชาก็ตัวใจนั้นแหละ ตัณหาก็ตัวใจนั่นแหละ อุปาทานก็ตัวใจนั่นแหละ กรรมก็ตัวใจนั้นแหละ คำว่า มันมารวมอยู่ที่เดียวเป็นแต่คำพูดเฉย ๆ แท้ที่จริงแล้วมันไม่ได้เรียกมารวมกัน ธรรมทั้งสี่อย่างนี้มัน หากทำหน้าที่ของสัตว์ผู้จะเกิดต่างหาก ผู้จะมาเกิดต้องมีธรรมสี่อย่างนี้สมบูรณ์จึงจะเกิดได้
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)

BEYOND
มีหลายเรื่องที่คนบนโลกนี้ชอบทำ และอย่างน้อยก็มีอยู่สองเรื่องที่น่าจะชอบทำกันมากที่่สุด นั่นก็คือการตั้งคำถามและการค้นหาคำตอบ
ความขี้สงสัยหรือนิวรณ์ที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารหรือการปรุงแต่งที่ผลักดันให้เกิดการมีขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของชีวิต ตลอดจนเป็นแรงผลักดันให้สู้เอาชีวิตรอด หาอาหาร สืบพันธุ์
แต่ไม่ค่อยจะมีใครสงสัยกันสักเท่าไรว่าเมื่อไหร่จะสิ้นทุกข์หรือหลุดพ้นไปจากความทุกข์ แต่กลับไปตั้งคำถามว่าเมื่อไรจึงจะมีความสุข และมุ่งไขว่คว้าหาความสุขในอนาคต เพราะไม่เข้าใจในทุกข์ที่เป็นอยู่

การตั้งคำถามยังเลยเถิดไปไกลถึงตายแล้วไปไหน มีโลกนี้แล้วจะมีโลกหน้าหรือเปล่า โลกจะแตกไหมที่เรียกว่าโลกวิสัยและเลยเถิดไปกระทั่งถึงความรู้ความสามารถของพระพุทธเจ้า( พุทธวิสัย )เรื่องเกี่ยวกับฌานสมาบัติ (ฌานวิสัย)เรื่องราวเกี่ยวกับกรรม ( กรรมวิสัย ) เรื่องเลยเถิดทั้งหมดดังกล่าวเรียกว่าเป็นเรื่องอจินไตย คิดแล้วปวดหมอง เครียดเสียเวลาเปล่าๆ เพราะเป็นการตั้งคำถามที่หาคำตอบไม่เจอ พาลจะบ้าเอา
แต่เรื่องที่เหล่าชาวพุทธบริษัทพึงสนใจกัน แต่ไม่ค่อยมีใครสนใจกันนักก็คือ

ดิน เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของโลก และเป็นวัตถุที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้ ตั้งแต่อยู่ที่พิ้น จนอยู่ในสถานที่มีอากาศชื้นต่างๆ หรือในร่างกายของคนเราที่เป็นส่วนของเนื้อหนังและอวัยวะต่างๆ ซึ่งก็เป็นดินอีกรูปแบบหนึ่ง
น้ำ เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก น้ำเป็นรูปที่คล้ายกับดินคือจับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้ หากอยู่ในร่างกายของคนก็คือของเหลวทุกอย่าง ตั้งแต่น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย น้ำเหลือง แม้กระทั่งเลือด
ลม ที่พัดผ่านโลกไปทุกแห่งหน กระทั่งในร่างกายของคนเราที่มีลมพัดผ่าน บางครั้งก็แผ่วเบา บางครั้งก็รุนแรงเป็นไปตามสภาวะ การหายใจเอาลมเข้า ก็จะได้ออกซิเจนที่มีประโยชน์เข้าไปแทนคาร์บอนไดออกไซด์ที่ไม่มีประโยชน์ออกมากับการหายใจให้ลมออกมา
ไฟ ร้อนรุ่มสุมตม ตั้งแต่ไฟใต้โลก บนโลก หรือในอากาศและในร่างกายที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารหรือกีาซต่างๆในร่างกาย หรือการเผาผลาญอื่นๆที่เรียกว่ากระบวนการเมตาบอลิซึ่มก็ได้ แล้วทำให้เกิดความอบอุ่นในร่างกาย ถ้าไม่ร้อนมากจนเกินไป ที่เรียกว่ากันว่าเป็นไข้

ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเรียกว่ามหาภูตรูป ที่มาประชุมกันแล้วเรียกว่ารูปหรือร่างกายนี้ หากยังไม่ประชุมกัน ก็เป็นเพียงแต่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเท่านั้นเอง
เมื่อรวมดิน น้ำ ลม ไฟกันเป็นรูปแล้วมีใจมาร่วมด้วย ก็คือคนเราหรือชีวิตนี่เอง คนที่ประกอบด้วยกายและใจ อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่ารูปกับนาม

รูป มีส่วนสำคัญที่สุดก็คือประสาทการรับรู้สัมผัสได้คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอายตนะภายใน และมีรูปที่อยู่ภายนอกก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสร้อนเย็น ธัมมารมณ์สัมผัสทางใจกับความนึกคิดในอดีต เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก เมื่ออายตนะภายนอกและภายในพบกัน เกิดเป็นรูปขันธ์ ซึ่งเป็นอาการรับรู้อย่างหนึ่ง

เมื่อรู้สึกรับรู้ว่าสุขหรือทุกข์ เฉยๆหรือแจกไปตามรสชาติของสิ่งที่มากระทบเรียกว่าเวทนาขันธ์
เมื่อรู้สึกรับรู้ว่าจำได้หมายรู้และหมายมั่นแจกไปตามคุณสมบัติของสิ่งที่มากระทบตามอายตนะภายนอกคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์เรียกว่าสัญญาขันธ์
เมื่อรู้สึกรับรู้ว่าคิดนึกอะไรได้ขึ้นมาเรียกว่าสังขารขันธ์ ซึ่งการคิดนึกแจกไปตาม คุณสมบัติของสิ่งที่มากระทบเกิดกุศล เกิดอกุศล หรือเฉยๆที่เรียกว่าอัพยากฤต

เมื่อรู้สึกรับรู้ว่ารู้แจ้งต่ออารมณ์นั้นที่มากระทบว่าเป็นอะไรเช่นเห็นคน ต้นไม้ ภูเขา ( อารมณ์นั้นคือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ )แจกไปตาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ขันธ์ทั้งห้าเมื่อมีอยู่ครบ ก็เรียกว่าเกิดชีวิต ตั้งแต่รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์
ตัวอย่างเช่นดากระทบรูปก่อให้เกิดการเห็น รูปขันธ์เกิดขึ้นแล้ว จากนั้นก็เกิดการู้แจ้งกับรูปนั้นเกิดจักษุวิญญาณ จากนั้นเกิดการจำได้หมายรู้หรือสัญญาขันธ์ว่านั่นเป็นรูปอะไร ผู้หญิง ผู้ชาย จากนั้นก็เกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ ทุกข์หรือสุขขึ้นเรียกว่าเวทนาขันธ์

แล้วหวนกลับนมาเกิดสัญญาคือความจำได้หมายรู้อย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่งเมื่อเวทนานั้นกระทบกับใจแล้วเกิดมโนวิญญาณขันธ์ แล้วเกิดคิดนึกตามมาเรียกว่าเกิดสังขารขันธ์
เมื่อเกิดขันธ์ห้าโดยครบถ้วนจึงเป็นอาการของสิ่งมีชีวิต ขันธ์บางอย่างอาจจะเกิดหลายครั้ง แล้วแต่การกระทบจนเกิดหมายมั่นเป็นตัวกูขึ้นมาหรือเกิดชีวิตนั้นๆ

ธาตุทั้งหมดต้องแสดงหน้าที่ของมันออกมาหรือแสดงอาการรับรู้ออกมาเท่านั้น จึงจะเรียกว่าขัน์ธ์ เช่นรูปแสดงหน้าที่ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เวทนาแสดงหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสุขทุกข์ สัญญาแสดงหน้าที่จำได้หมายรู้ สังขารแสดงหน้าที่นึกคิด วิญญาณแสดงหน้าที่รู้แจ้งต่อรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณ์ ว่าเป็นเช่นใด เช่นรูปสวย รสหวาน กลิ่นหอมเป็นต้น ไม่เช่นนั้นธาตุทั้งหลายก็ยังคงเป็นธาตุอยู่อย่างนั้น ตามเหตุตามปัจจัย
การศึกษาเรื่องธาตุและขันธ์ห้า เหมือนจะเป็นเรื่องยากหรือไกลตัวออกไป แต่จริงๆแล้วเป็นการศึกษาเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด เรื่องที่เกิดเป็นตัวกูแล้วจึงเกิดเป็นของกูตามมา จากนั้นแล้ววจึงเกิดทุกข์ท่วมท้น เพราะความยึดมั่นในตัวกูของกู

หากพิจารณาอริยสัจเป็นหนทางแห่งการเห็นทุกข์และการดับทุกข์ การพิจารณาขันธ์ห้าที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการมองย้อนสืบกลับไปหาความจริงที่เป็นอนัตตาธรรม ที่ไม่ควรยึดมั่นถือมันกับมันเลย ขันธ์ห้าเป็นอนัตตาไม่ใช่อัตตาอย่างแน่นอน ทุกข์ทั้งหลายจะหายหมดไปทันที...เมื่อมองทุกอย่างสักแต่ว่าเป็นธาตุที่ทำหน้าที่แล้วจึงเป็นขันธ์ตามเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรที่เป็นของกูเลย จริงๆ
แล้วทุกข์จะวางไว้ที่ตรงไหน
เรื่องที่ว่าจะไปออกไกล สุดท้ายก็อยู่ใกล้....แค่ลมหายใจ เท่านั้นเอง ลองพิจารณากันดูนะครับ เอวัง
ธรรมะสวัสดี
แทนสะมะชับโย

แก่นธรรมตอนนี้อาจจะหนักไปบ้างสำหรับผู้อ่านที่ชอบอ่านบทความเบาๆ แต่ตอนนี้จัดหนักให้ เพราะเป็นเรื่องสำคัญในการตามหาแก่นธรรม เพราะเป้าหมายสูงสุดก็ไม่ได้ไกลไปจากนี้เลย หรือเกินกว่าสภาวะปกติที่ต้องรู้ มิใช่ควรรู้
เมื่อพิจารณาถี่ถ้วนแล้วก็จะสำคัญได้จริงๆว่าใจเป็นนายกายเป็นบ่าวอย่างหลวงปู่สอนไว้ข้างต้น ทุกอบ่างล้วนเป็นสังขารหรือการปรุงแต่งทั้งสิ้นจากใจเจ้าของแล้วก็ยึดมั่นถือมั่นเอาเอง เพราะฉะนั้นหาอะไรไม่เจอ...ก็หาที่ใจของตัวเองสิครับ
                     สะมะชัยโย

ใบโพธิ์แก่นธรรม ดร.พระมหาจรรยา สฺุทธิญาโน
การศึกษาเรื่องขันธ์าห้คือการศึกษาลงไปที่การเคลื่อนไหว ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่จินตนาการ ไม่ใช่ความเชื่อ เมื่อประจักษ์ชัด สัมผัส ประสบ พบ แล้วปล่อยผ่าน จิตใจก็จะเบิกบาน โปร่งเบาสบาย ไร้พันธนาการ
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลทางเมล์หรือเว็บต่างๆทั้งที่สามารถและไม่สามารถระบุชื่อได้ในแก่นธรรมตอนนี้ครับ หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมไ้ด้ในหนังสือเรื่องขันธ์ห้า ที่ตั้งแห่งความเห็นแก่ตัว พุทธทาสภิกขุ ขันธ์ห้า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ความรู้เรื่องขันธ์ ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโน

หมายเหตุแก่นธรรม
๑.ขอขอบพระคุณเรื่องราวและรูปที่ท่านเผยแพร่ทางเน็ทเป็นธรรมทานครับ
๒. ผู้เขียนและคณะเป็นผู้เขลาทางปัญญา หากมีข้อผิดพลาดบกพร่อง ขอน้อมรับทุกประการ บุญกุศลที่เกิดจากบทความนี้ขอน้อม ถวายแด่หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ และอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ อันมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นปฐม เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลกนี้ รวมทั้งท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรมให้อยู่เป็นสุข โดยธรรมสุจริต "ตดเกิดตดดับ"
Thammasatu ธรรมะสาธุ >>> F/B พอเพียง มาก