ผู้เขียน หัวข้อ: วัชรยาน วิปัสสนา  (อ่าน 1152 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
วัชรยาน วิปัสสนา
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2014, 12:23:53 pm »


โดย วิทยาดารา มหาโยคี อัคยา สิทธรา รานะ รินโปเช

เนปาลทั้งหมดและโดยเฉพาะกาฐมาณฑุเป็นดินแดนของวัชรยาน ตั้งแต่ก่อน วาสุบานดุ(Vasubandhu) มา หุบเขา กาฐมาณฑุใน ค.ศ. 400 การวิจัยจากศาสตร์ภาษาสันสกฤตโบราณ กำหนดว่าคำภาษาสันสกฤต ‘Vipassyana’ เป็นคำโบราณ เหมือนภาษาบาลีคำว่า ‘วิปัสสนา’ ‘Vipassana’ คำว่า ‘Vipassyana’ หมายความว่าอย่างไร จากกมลศีล (Kamalashila) ใน ภาวนากรรม (Bhawanakrama) ของเขาและ อนิรุทธอาชยา (Aniruddhacharya) ใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ (Abhidhamathya Sangaha) ‘วิ(Vi)’ หมายถึงความพิเศษหรือความแตกต่าง (สดใส) หรือแบบองค์รวมและ ‘ปัสสญาณะ(passyana)’ คือการเห็น เช่นเดียวกับคำภาษาอังกฤษ insight (ความเข้าใจอันลึกซึ้ง) มองแบบองค์รวม มองด้วยสายตาที่อธิบายภาพรวมบางส่วนของความหมายของ วิปัสสญาณะ(Vipassyana) ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อที่จะเห็นหรือเข้าใจถึง สติปัฏฐาน (Vastusthiti) คือ วิปัสสญาณะ (Vipassyana)

1) เวทนานุสติ Vedananusmriti
2) ธรรมานุสติ Dharmanusmriti
3) กายานุสติ Kayanusmriti
4) จิตตานุสติ Chittanusmriti

มันจะเห็น สติปัฏฐาน (Vastusthiti) ทั้งสิ้นในทุกสี่ฐาน ซึ่งในรูปแบบดั้งเดิมเรียกว่า วิปัสสญาณะ (Vipassyana) ส่วนใหญ่รูปแบบของ อนุสติ พบในเถรวาทปัจจุบันแบบดั้งเดิมคือ เวทนานุสติ (Vedananusmriti) แต่แน่นอนว่าอีกสามฐานก็พบด้วย ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้า ท่านสอนรูปแบบของ จิตตานุสติ ในทำนองเดียวกัน ส่วนมากในวิปัสสญาณะ (Vipassyana) พบใน วัชรยาน /มหายาน คือ จิตตานุสติ (Chittanusmriti) แต่อีกสามฐานก็พบด้วย

ภาวนากรรม (Bhawanakrama) ใน กมลศีล (Kamalashila) สันสกฤต(Shantarakshita) ฯลฯ เป็นคู่มือบน จิตตานุสติ (Chittanusmriti) วิปัสนาญาณะ มาถึงวิธีการของตันตระ ชันดารีโยคะ (เรียกว่า ธัมโม ‘Tummo’ ในทิเบต) เป็นโยคะ 6 อย่างของ นาโรปะ คือการรวมกันของ เวทนานุสติ และ จิตตานุสติ เดวาโยคะ เช่น จักระซัมบาลา หรือการปฏิบัติต่อเทพเจ้าใดๆ พูดง่ายๆว่าคือ จิตตานุสติเดวาโยคะ ประกอบด้วยสองด้าน – ขั้นอุทปันนา Utpannakrama ซึ่งเป็นลักษณะ สมถะ และ ขั้นสัมปันนา (Sampannakrama) ซึ่งเป็นลักษณะ วิปัสสนาญาณะ

การปฏิบัติเริ่มต้นของ ตันตระมหามุตรา (ตันตระวิปัสสนาญาณะ) มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่ได้รับ การอภิเษก เต็มรูปแบบจากเทพเจ้าสำคัญของอนุตระตันตระจากผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในวัชรยานเรียกว่า วัชรชยา (Vajracharya) วัชรชยา ไม่ได้เป็นวรรณะ แต่บุคคลที่ได้รับการสอนและ มนตราภิเษก (initiations) จากผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่เป็นเชื้อสายบริสุทธิ์และปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งในระดับที่สูงมากหรือประสบความสำเร็จในการเห็นแจ้งตามความเป็นจริง เชื้อสายบริสุทธิ์เป็นแนวคิดที่สำคัญมากในวัชรยาน มันหมายถึงเชื้อสายที่ได้ยังคงสืบต่อกันมาตั้งแต่ศากยมุนีและมีการผลิต ผู้ประสบความสำเร็จขั้นสูง (Siddhas) ในแต่ละรุ่น เชื้อสายมีหลายชนิดเช่น สายนักวิชาการของ Madhyamika, สายอภิธรรม, สายพิธีกรรม ฯลฯ ในที่นี่เรากำลังพูดถึงเชื้อสายความรู้แจ้งซึ่งไม่เพียงแต่ ทั้งหมดของ อุปัชฌาย์, ฉัตรา(Shastras) สัญญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์ และ การอภิเษก (Abhisheka vidis) แต่ยังรวมถึงการได้รับความสำเร็จขั้นสูง (Siddhas) ในหลายๆปีจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้นผู้สนใจจะต้องได้รับจาก อภิเษก จาก วัชรชยา ในหมู่ชาวทิเบต เชื้อสายผู้สอนยังคงมีอยู่มากและบางส่วนขณะนี้อาศัยอยู่ในประเทศเนปาล ผู้อาวุโส ดรางกู รินโปเช (Ven.Thrangu Rinpoche) ผู้อาวุโส ชกกี นีมา รินโปเช (Ven. Chokyi Nyima Rinpoche) ทั้งสองท่านเป็นเชื้อสายกาจู (Kagyu) ซึ่งมาจากศากยมุนีผ่าน นาคาจุนา (Nagarjuna), นาโรปะ (Naropa), มาปา (Marpa) et.al. จนถึงปัจจุบัน ผู้อาวุโส ตินลี่ นอบู (Ven Thinley Norbu) ผู้อาวุโส ชาตรูล รินโปเช (Ven Chatrul Rinpoche) ชกลิง รินโปเช (Chokling Rinpoche) สืบเชื้อสายจากนิงมะ (Nyingmapa) ซึ่งเข้าทิเบตผ่านมหาสิทราปัทมสัมภวะ (Mahasiddha Padmasambhava) และ ชอบเก ตรีเชน รินโปเช (H.E. Chobgay Trichen Rinpoche) และ ตาริก รินโปเช (Tarig Rinpoche) มาจากศากยะเก่าแก่ สืบจากผู้ยิ่งใหญ่เชตริยา มหาสิทราวิรูปะ (Chetriya Mahasiddha Virupa) มีหลายวัชรชยา (Vajracharyas) จากทิเบต ในขณะนี้อาศัยอยู่ในอินเดียและทั่วทุกมุมโลก

อาจารย์ส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในกาฐมาณฑุได้สำเร็จการเรียน เคนโป(Khenpo) (ซึ่งเทียบเท่ากับปริญญาเอก) และเสร็จสมบูรณ์การฝึกอย่างเคร่งครัด อย่างน้อย 3 ปีของการปลีกวิเวก ผู้อาวุโส ชาทราล รินโปเช (Ven. Chatral Rinpoche) ปลีกวิเวกถึง 30 ปี ผู้อาวุโส ตรังกู รินโปเช (Ven Trangu Rinpoche) เป็น เคนเชน(KhenChen) มาโฮปะชยายา (Mahopadhyaya) โชเก ตรีเชน รินโปเช ผู้มีเกียรติ(H.E. Chogay Trichen Rinpoche) เป็นเจ้าอาวาสของนาลันดา (Nalanda) ของทิเบตและใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตของเขาปลีกวิเวก นี่คือการบอกว่าถ้า โชเก ตรีเชน รินโปเช ผ่านการให้ อภิเษก ของทุกเทพเจ้าที่เขาได้บรรลุ (Siddhis) มันจะต้องใช้เวลาถึง 18 เดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ พวกเขาทั้งหมดสมถะมากและเว้นแต่มีหนึ่งท่านที่ได้รับการติดต่อมาเป็นเวลานาน เราไม่สามารถรู้ได้ว่าพวกเขามีคุณสมบัติสูงส่ง ไม่มีความจำเป็นที่จะพูดถึง พวกเขาทั้งหมดได้มีการพัฒนาอย่างดีในความเรียบง่าย (Avigya) ฤทธิ สิทธิ (Riddhi Siddhi-) เช่นเดียวกับชาวพุทธที่ใช้ชีวิตสมถะที่แท้จริง พวกเขาจะไม่แสดงตัวอวดฤทธิเดช นอกจากนี้ถ้าพวกเขารู้ว่าผมกำลังเขียนสิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับพวกเขา พวกเขาทั้งหมดจะไม่ให้การส่งเสริมกันผม แต่อย่างไรก็ตาม ผมทำสิ่งนี้เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสที่จะรู้ว่าอาจารย์ดังกล่าวยังคงอยู่ที่นี่ในเนปาล พวกเขามีคุณสมบัติอีกมากเช่นเป็นกวีและนักวิชาการที่ได้รับเชิญเป็นประจำของสถาบันระหว่างประเทศเช่นเคมบริดจ์หรือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดให้ไปบรรยาย

ตอนนี้เราจะต้องจัดการกับคำถามที่สอง อนุตระโยคะ (Anuttara Yoga) คืออะไร? ก่อนอื่น ตันตระในบริบทของพุทธศาสนาจะแตกต่างจากของฮินดูตันตระ ทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและแม้กระทั่งความหมายของคำที่แตกต่างกัน – ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของคำภาษาสันสกฤต ที่แตกต่างกันของทั้งสอง ในพุทธศาสนามันหมายถึง ‘การต่อเนื่อง’ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ จิตตะ สัณฐาน (Chitta Santaan)-ในขณะที่ศาสนาฮินดูจะหมายถึงการปลดปล่อยจิตสำนึกอันจำกัด โดยการผสานลงในความไม่มีที่สิ้นสุด เพราะในพุทธศาสนาไม่มีที่สิ้นสุดที่จิตสำนึกอันจำกัด ที่จะสามารถผสานด้วยได้ และไม่มีจิตสำนึกที่จำกัดเป็นที่สุดอย่างแท้จริง จึงไม่สามารถผสานกับความไม่มีที่สิ้นสุดได้ ดังนั้นบริบทของชาวฮินดูที่พบในฮินดูตันตระจึงไม่สามารถนำมาใช้กับตันตระในพุทธศาสนา ในฮินดู ตันตระเป็นชื่อไม่ดีซึ่งไม่เป็นความจริงของพุทธตันตระในพุทธศาสนา คำว่า ‘ตันตระ’ ไม่ได้มีความหมายเหมือนกันในทั้งสองระบบตามที่นักวิชาการหลายคนเข้าใจผิด

เทพที่ใช้ในมณฑล (Anuttara) คือ เหวัชระ(Hevajra) กาละจักระ(Kalachakra), จักระซัมบารา(Chakrasambhara) วัชระ (Vajra) ไภรวะเทวะ(Bhairava) มหามายา (Mahamaya) ฯลฯ อย่างแรก ที่พวกเขาเรียกว่า มณฑล (Anuttara) เพราะไม่มีอะไรสูงกว่านี้ เช่น การปฏิบัติที่สูงกว่านี้ นี่เป็นรูปแบบของการทำสมาธิเพียงอย่างเดียวที่สามารถให้แสงสว่างในชีวิตหรือบรรลุผลได้ในชั่วชีวิตเดียว สมาธิที่แท้จริงของแต่ละเหล่าเทพแตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่พวกเขาทั้งหมดมีองค์ประกอบที่เป็นสามัญบางอย่างที่เราจะหารือกันต่อไป แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้รายละเอียดของการปฏิบัติใด ๆ ของพวกเขาเพราะมันไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษก

ขั้นแรก ไม่เหมือนกับเทพของฮินดู เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องเข้าใจว่าเทพของศาสนาพุทธไม่ได้มีอยู่จริง พวกเขาไม่ได้แยกการมีอยู่จากจิตของพวกเขาเอง พวกเขามีเพียงการดำรงอยู่ที่สัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ทั้งหมด

วัตถุประสงค์ของการปรากฎของเทพมันดารา ไม่ได้เป็นเพียงการระลึกถึงเทพ(Devanussati) ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ภาษาบาลีที่เกี่ยวข้องกับสมถะผ่านการซึมซับในคุณลักษณะของเทพ แต่ยังผ่านการเชื่อมโยงทางจิตอย่างลึกด้วยปัญญาผ่านทางมันดาราที่ซับซ้อนเหล่านี้ดังที่พบในวัชรยาน มันเป็นเรื่องง่ายที่จะมาถึงจิตใจที่หลักแหลมโดยการใช้งานสิ่งนี้ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการทำสมาธิที่เรียกว่า ขั้นอุทปันนา(UtpannaKrama) และเป็นวิธีของตันตระในการทำสมถะ แต่ขั้นอุทปันนา (Utpanna Krama) ยังประกอบด้วยการสวดมนต์ซ้ำๆ แต่การสวดมนต์ที่ใช้ในวัชระยาน ไม่ได้เป็นเพียงการสักการะบูชาเช่น “นะโม พุทโธ” ฯลฯ พวกเขามีความเกี่ยวข้องกับทางเดินของจิตและจักระ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพลังงานที่ลึกซึ้งของจิต บทสวดมนต์ของวัชรยานจะเปิดบล็อกช่องทางของจิตที่มืดมนได้อย่างรวดเร็ว และสิ่งนี้จะช่วยในการเข้าถึงสมถะระดับสูงได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

ขั้นตอนต่อไปคือการใช้ช่องทางของจิต (Nadis) และจักระ(Chakras) ที่จะเข้าถึงระดับที่ลึกซึ้งที่สุดของจิตที่เรียกว่า มฤตยูปราภาสวา(Mrityuprabhaswar) ใน วัชรยาน และ ภาวนา(Bhawana)ในภาษาบาลี นี่ยังคงเป็นสมถะแต่ในระดับที่สูง ในส่วนแรก การเห็นภาพของเทพและมันดารามีความเกี่ยวข้องกับการอภิเษก ในวัชรยาน จิตใจไม่ได้สร้างอย่างรวดเร็วโดยไม่มีพื้นฐาน แท้จริงแล้วมันสร้างขึ้นใหม่จากขั้นตอนการตาย และมันถูกสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็วในระดับที่ละเอียด หลังจากที่มีการพัฒนาจิตใจให้อยู่ในระดับที่ละเอียดในการปฏิบัติขั้นแรกของการอภิเษกและขั้นที่สอง ส่วนของวิปัสนาญาณ (Vipassyana) รูปแบบขั้นสูงของการสำรวจซึ่งเป็นความคิดที่ลึกซึ้งจะถูกนำเข้าสู่การปฏิบัติ มีความแตกต่างเล็กน้อยใน จิตตานุสติของวัชรยาน และจิตตานุสติของเถรวาท คือ ในเถรวาท จิตตานุสติ มี เพียงเจตสิกที่ถูกสังเกต อย่างเช่น ถ้าจิตเศร้า ‘ความเศร้า’ จะถูกสังเกต ถ้าคิดเกิดขึ้น ‘ความคิด’ จะถูกสังเกตุ นี่คือจิตตานุสติภายนอก ของวิปัสนาญาณ เพราะมันถูกสังเกตุและเกี่ยวข้องเฉพาะในทางเทคนิคกับสิ่งที่เรียกว่าเจตสิก (Chaitasik) ส่วนวิปัสนาญาณของวัชรยาน ไม่ได้สังเกตเพียงแค่เจตสิกเท่านั้น แต่จะสืบค้นโดยตรงไปที่จิตตะ เพื่อค้นหาสติปัฎฐาน (Vastusthiti)หรือฐานของสติ จิตตะเป็นจิตที่สังเกตเจตสิกในเถรวาท ดังนั้นวัชรยาน วิปัสนาญาณ จึงมีระดับที่ลึกกว่า เนื่องจากรากของประสบการณ์ทั้งหมดของโลกมีพื้นฐานมาจากเจตสิก และรากของเจตสิกคือจิตตะ และรากของจิตตะคือความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง (Chitta Swaroop) ไม่สามารถเป็นไปได้ที่จะมีปัญญา(Bodha) จนกว่าจะเข้าถึงธรรมชาติของจิต(จิตประภัสสร)

ส่วนที่สองของการปฏิบัติของวัชรยานที่เรียกว่า ขั้นสัมปันนา (Sampanna Krama) คือการทำสมาธิบนธรรมชาติของจิต(จิตประภัสสร) ดังนั้น ขั้นสัมปันนา เป็นรูปแบบของวิปัสสนาญาณที่ลึกซึ้งที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นโดยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องของขั้นอุทปัตติ (Utpatti Krama) (รวมขั้นอุทปันนา และ ขั้นสัมปันนาทีละน้อย) เหมือนกับรวมไม้สองท่อนเข้าด้วยกัน , ไฟสหจะ ไกยานา (Sahaja Gyana) เกิดขึ้นในผู้ปฎิบัติ อนัตตา(Anatma) พบได้ในทุกรูปแบบของพุทธศาสนาและทุกรูปแบบของการปฏิบัติในพุทธศาสนาแบบวิปัสสนาญาณจึงจะค้นพบอนัตตา(Anatma) แต่มีระดับของความหมายของคำอนัตตา ‘Anatma’ คำนี้ เพียงแค่เห็นว่ามี อัตตา(Atma) ใน ขันธ์ 5 เป็นขั้นต้นของอนัตตา มันเป็นวิธีการที่ช้ามากที่จะลงถึงระดับลึกของการยึดของอัตตา (Atma Graha) สัญญา(Sunyata) จาก ขันธ์ 5 และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเป็นระดับที่ลึกของอนัตตา (Anatma) และการทำสมาธิดังกล่าวอยู่ในระดับที่ลึกลงไปจากการยึดของอัตตา ดังนั้นจึงเป็นวิธีที่รวดเร็วในการตรัสรู้ แต่การค้นพบธรรมชาติของจิต หรือ สติปัฎฐาน ในระดับละเอียดที่สุดของจิตใจเป็นระดับที่ลึกที่สุดของ อนัตตา มันตัดตอนมาที่แหล่งที่มาของการยึดอัตตา หรือพื้นฐานของอัตตา ดังนั้น ขั้นสัมปันนาในวัชรยาน (วิปัสสนาญาณ) เป็นเหมือนการตัดรากแก้วของต้นไม้ นั่นคือเหตุผลที่มันเป็นระบบจิตวิญญาณในโลกเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถให้การตรัสรู้ได้ในหนึ่งชั่วชีวิต

มันไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงจิตประภัสสร ผู้เข้าถึงต้องทำให้ความรู้นั้นคงที่และวัชรยานมีวิธีการที่ไม่มีขอบเขตที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติทำให้คงที่ในภาวะนั้นได้อย่างง่ายดาย นั่นคือเหตุผลที่มันถูกเรียกว่า อุปปะญาญาณ (Upayayana) เมื่อบุคคลเข้าถึงจิตประภัสสร เช่น ระดับละเอียดที่สุดของอนัตตา ทุกรูปแบบของความไม่รู้ถูกตัดรากและนี่ถูกเรียกว่า ปัญญาเห็นแจ้ง สหจะ ไกยานา(Sahaja Gyana), มหามุตรา (Mahamudra), สิทธิ(Siddhi), วัชระ อวัสตา(Vajra Avastha), เวจโรปามะสมาธิ(Vajropamasamadhi), โพธะ(Bodha), อัปราทิสติ(Apratistita), นิพพาน(Nirvana) ฯลฯ ในวัชรยาน โดยผ่านวัชรยาน ผู้คนนับล้านได้บรรลุมหามุตรา สิทธิ (Mahamudra Siddhi) ในประเทศอินเดีย, เนปาล, ทิเบต, มองโกเลีย, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เอเชียกลาง, อัฟกานิสถาน ฯลฯ ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงวันนี้ ถ้าคนที่ได้เข้าถึงมหามุตรา สิทธิ (Mahamudra Siddhi) การตายของเขามีอาการบางอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ร่างกายที่หายไปในแสงของสายรุ้ง, รุ้งปรากฏนอกบ้านหรือในท้องฟ้าที่ร่างกายจะถูกเก็บไว้ แผ่นดินไหว พายุ หรือร่างกายค่อยๆหดตัวขนาด ขนาดเท่ากับคนอายุ 8-16 ปี ร่างกายไม่เน่าเปื่อยแม้หลังจากที่เสียชีวิตหลายวันแล้ว สิ่งนี้สามารถเกิดกับผู้ปฏิบัติสายวัชรยาน ที่ได้รับการอภิเษกและอุทิศชีวิตให้กับการบรรลุวิปัสนาญาณ (Vipassyana) ได้เห็นหรือได้รับในเชิงลึกใน สติปัฎฐาน (Vastusthiti) ในระดับสูงสุด

วิทยาดารา สิทธรา รานะ รินโปเช เป็นอาจารย์วัชรยาน ท่านได้ปลีกวิเวกตั้งแต่เมษายน 1996 ภายใต้การแนะนำของ ชอบเก ตรีเชน รินโปเช (H.E. Chobgay Trichen Rinpoche)ผู้สูงส่ง และ ท่านศากยะ ตรีซิน รินโปเช ผู้น่าศรัทธา และ ท่านตินลี่ รินโปเช กามะอันดับสี่ผู้มีชื่อเสียง
เมื่อสำเร็จการปลีกวิเวกได้สิบปี ท่านชอบเก ตรีเชน รินโปเช (H.E. Chobgay Trichen Rinpoche) ได้ปราบดาภิเษก สิทธรา รินโปเช ด้วยตำแหน่ง “มหาโยคี”(นาลจิยอ เชนโป ในทิเบต) ซึ่งเป็นเกียรติที่หายากในประวัติศาสตร์ของชาวพุทธ ที่ได้เป็นอาจารย์โดยที่ไม่ได้กำเนิดจากทิเบตแต่แรก เมื่อครบ 17 ปีในการปลีกวิเวก เมื่อ 13 เมษายน 2013 และได้รับเกียรติกับตำแหน่งใหม่ วิทยาดารา ‘Vidhyadhara’ (ผู้มีปัญญา) เรียกว่า ริคซิน(Rigdzin) ในทิเบต ในโอกาสมหามงคลของพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชา(Purnima) (วันพระจันทร์เต็มดวง) เมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 จาก ท่านตินลี่ รินโปเช กามะอันดับสี่ผู้มีชื่อเสียง

วิทยาดารา รินโปเช ไม่ได้เป็นเพียงนักวิชาการที่รอบรู้ในทุกแง่มุมของพุทธศาสนาท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รวมการค้นพบล่าสุดของ จิตบำบัด (psychotherapies) ประสาทวิทยา(neuro-science) และจิตวิทยาพลังงาน(energy psychology) กับปรัชญาทางพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม ในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางจิต ท่านมีความรู้ที่ลึกซึ้งของอุปนิษัท(จิตวิทยาของฮินดู)และฮินดูตันตระ ซึ่งท่านได้รับการฝึกฝนประมาณ 9 ปี กับอาจารย์ฮินดูบางท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดในเวลานั้น ท่านได้รับการฝึกฝนพุทธศาสนาแบบเซนที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีและเวียดนามด้วย เป็นเวลา 6 ปีกับ อูบอง โซเอน ซา นิม (Ubong Soen Sa Nim) จาก ควัน อึม (Kwan Um) เกาหลีเซนดั้งเดิม

 จาก http://crazy-cloud.org/hi/teachings/vajrayana-vipassyana.html
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...