ผู้เขียน หัวข้อ: พระสงฆ์กับอำนาจรัฐไทย : บทเรียนจากอดีต-พระธรรมยุตสายอีสาน  (อ่าน 2216 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระสงฆ์กับอำนาจรัฐไทย : บทเรียนจากอดีต-พระธรรมยุตสายอีสาน

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393921026&grpid=03&catid=&subcatid=-


ผศ. ธีระพงษ์ มีไธสง
สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 


ไม่ว่าสมัยใดๆ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล พระสงฆ์ได้เข้าไปมีส่วนทางการเมืองมากบ้างน้อยบ้าง เมื่อพุทธศาสนาเข้ามาในเมืองไทย อาจเริ่มพบหลักฐานตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แม้พระสงฆ์จะมีบทบาทอย่างมากต่อบ้านเมือง โดยเฉพาะในภาวะที่สังคมเผชิญกับวิกฤติการณ์ด้านการปกครอง พระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป ได้แสดงบทบาทต่อบ้านในฐานะเป็นพลเมือง

 

 

แต่ทางการปกครองในองค์กรสงฆ์แล้ว กลับพบว่า สถาบันสงฆ์ไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์มาตลอด สอดคล้องกับความเห็นของ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ ไม่มีอาวุธที่จะสามารถควบคุมการลุกฮือของสามัญชนจำนวนมากๆ ได้ เครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมที่ดีที่สุด คือ การสร้างความเชื่อในความเป็นอภิมนุษย์ให้สามัญชนเกิดความกลัวเกรง และยอมรับนับถือ (๒๕๔๑ : ๔๑-๔๖)


 และความเชื่อที่มีพลังมากคือความเชื่อทางศาสนา ในศาสนาฮินดูมีชุดความเชื่อแบบเทวราช และศาสนาพุทธมีชุดความเชื่อแบบพระโพธิสัตว์ ซึ่งชุดความเชื่อทั้งสองเอื้อต่อการนำมาอธิบายและตีความให้สนับสนุนสถานะอันสูงส่งของพระมหากษัตริย์ได้เป็นอย่างดี ทำให้พระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณทรงนำมาเป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ศาสนาพุทธถูกผสมผสานด้วยศาสนาพราหมณ์ และถูกตีความในลักษณะที่สนับสนุนระบบศักดินา เช่น การทำพิธีกรรมความศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวดาอวตาร ย่อมมีความชอบธรรมที่จะปกครองสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว (๒๕๑๗ : ๔๔) ในขณะเดียวกัน สถาบันนักบวชซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา ก็ยอมรับสถานะการอยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้รักษาความมั่นคงของศาสนา

 

แต่อำนาจครอบงำศาสนาดังกล่าว ดูเหมือนจะคลี่คลายในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ เห็นได้จากพระองค์ได้ทรงมอบหมายงานของคณะสงฆ์ทั้งหมดให้อยู่ในการปกครองของเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทำให้พระวชิรญาณภิกขุทรงปฏิรูปองค์กรสงฆ์ไทยที่ย่อหย่อนต่อพระวินัยได้อย่างดี กอปรกับพระองค์ทรงผนวชและศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกจนช่ำชองถึงขนาดเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลี และทรงมีอำนาจในการตัดสินพระราชหฤทัยอย่างแท้จริง ทำให้ทรงปฏิรูปองค์กรสงฆ์ได้รวดเร็วโดยตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น จากการมอบอำนาจการปกครองให้แก่พระวชิรญาณภิกขุ ดูเหมือนว่าอำนาจการปกครองคณะสงฆ์จะเป็นขององค์กรอย่างเบ็ดเสร็จ

 

 

แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว พระวชิรญาณภิกขุ นอกจากมีฐานะเป็นพระสงฆ์แล้ว ยังมีฐานะเป็นเชื้อพระวงศ์ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ด้วย ดังนั้น จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า อำนาจการปกครองคณะสงฆ์ได้ถูกถ่ายโอนให้แก่องค์กรสงฆ์อย่างเต็มที่ สุดท้ายแล้วก็เป็นเพียงการบริหารที่แอบชิดอยู่กับแวดวงศ์ของพระมหากษัตริย์ แต่เผอิญพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระภิกษุเท่านั้น


 

 

อย่างไรก็ตาม แต่เมื่อพระวชิรญาณภิกขุทรงลาผนวชแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ก็ได้ทรงรวบการปกครองคณะสงฆ์เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจพระมหากษัตริย์จนถึงรัชกาลที่ ๕-๖ เงื่อนไขของการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก ทำให้หัวเมืองอีสานซึ่งเป็นฝั่งขวาของแม่น้ำโขงอาจถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของลาว เพราะคนอีสานมีวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตที่เป็นแบบลาว จึงทรงมีนโยบายที่จะทำคนอีสาน (ลาว) ให้เป็นไทยผ่านการตีความหลักธรรมคำสอนในศาสนาพุทธให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติและนโยบายของชาติ ถึงกับสอนว่า การสู้รบเพื่อชาตินั้นไม่ถือว่าผิดศีล เพราะแม้พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอนุญาตแล้ว (ดูรายละเอียดในเทศนาเสือป่า ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว น. ๑๒๐) ทำให้พุทธศาสนากลายเป็นกลไกของรัฐเพื่อตอบสนองอุดมการณ์ของชาติ

 

 

ในขณะเดียวกัน คนอีสานมีลักษณะยึดมั่นและศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น ทำให้พระองค์ทรงพยายามจะปรับเปลี่ยนคนอีสานซึ่งมีวัฒนธรรมแบบลาวให้กลายเป็นคนไทย จึงได้ส่งพระสงฆ์ชาวอีสานซึ่งมาบวชและฝึกอุดมการณ์แบบรัฐไทยผ่านธรรมยุติกนิกายไปเพื่อปฏิรูปหัวเมืองอีสาน เริ่มจากการสร้างวัดสุปัฏนาราม เป็นศูนย์กลางธรรมยุตแห่งแรกในการเผยแพร่อุดมการณ์รัฐชาติ ทำให้ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานถูกทำให้ล้าหลัง และสูญหายไป เช่น หนังสือผูกที่จารึกด้วยอักษรลาว และอักษรธรรมซึ่งบันทึกภูมิปัญญาที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาและตรวจสอบวัดรวมถึงพระสงฆ์ พระสงฆ์เองถูกดึงออกจากชุมชนไปผูกติดกับอำนาจสถาบันสงฆ์แห่งชาติ ทำเกิดให้ช่องว่างระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้น นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หลังพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ๒๔๕๑ วัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนในฐานะเป็นวัดของชาวบ้านถูกรัฐยึดเอาไปเป็นของรัฐฝ่ายเดียว ความรู้สึกผูกพันกับวัดเหมือนเป็นสมบัติของชุมชนจึงเริ่มจืดจางลงไปตั้งแต่นั้น (นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน www.matichon.co.th)

 

นอกจากนั้น พิธีฮดสรงซึ่งเป็นพิธีกรรมยกย่องพระสงฆ์แบบโบราณล้านช้างให้มีตำแหน่ง ก็ถูกทำให้ผิดพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย ซึ่งให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่มหาเถรสมาคมในการแต่งตั้ง-ถอดถอนสมณศักดิ์พระสงฆ์ กระบวนการคัดสรรพระสงฆ์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนหายไป พระสงฆ์อีสานจะได้รับสมณศักดิ์ได้ต้องเป็นไปตามอำนาจของพระเถระผู้ปกครอง ซึ่งอาจจะให้ความดีความชอบเฉพาะแก่พระสงฆ์บางรูปที่ตนเองเห็นชอบ โดยปราศจากความเห็น หรือการมีส่วนร่วมของชุมชน สุดท้าย วัดกับชุมชนจึงมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่เหินห่าง


เดิมชาวอีสานมักเรียกวัดในชุมชนของตนเองว่า “เป็นวัดบ้านเฮา” แต่ปัจจุบันไม่สามารถเรียกเช่นนั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ เพราะวัดกลายเป็นสมบัติของรัฐส่วนกลางไปแล้ว   
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)