ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย :เสถียร โพธินันทะ  (อ่าน 2205 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
                   

พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
เสถียร โพธินันทะ

         เนื่องจากผมติดเรื่องบรรยายอบรมครูปริยัติธรรม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งจัดขึ้นพร้อมกับคณะสงฆ์ทางประเทศลาว บัดนี้การบรรยายธรรมอบรมครูปริยัติธรรมเสร็จสิ้นไปแล้ว ในวันนี้จะได้นำอนุศลสืบมาจากคราวที่แล้วที่พูดค้างไว้คือกล่าวถึงพวกอริยกะได้เข้ามาตั้งมั่นในอินเดียแล้ว ในคราวนี้เมื่อการอริยกะมาตั้งมั่นในอินเดีย ความคิดเห็นในเรื่องทางศาสนาก็ได้พัฒนาขึ้น อันนี้ทางนักประวัติศาสตร์ให้สังเกตุดูว่าชุมชนยังอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆแยกย้ายกันไปศาสนาที่นับถือในชุมชนนั้นก็มักจะเป็นรูปศาสนาแบบพหุเทวนิยมนับถือพระเจ้าหลายองค์ตามชุมชน อันนี้เป็นจิตวิทยาของสังคมซึ้งสะท้อนไปให้เกิดความเชื่อในเรื่องศาสนาขึ้น ต่อมาเมื่อชุมชนกลุ่มเล็กๆเหล่านั้น สามารถรวบรวมกันเป็นรัฐ เป็นแว่น เป็นแคว้นขึ้นแล้ว ศาสนาที่แตกแยกเป็นรูป พระเจ้าองค์ต่างๆก็มารวมกันเป็นพระเจ้าองค์เดียว เกิดเป็นเอกะเทวนิยมขึ้น วิวัฒนาการทางศาสนาเป็นเช่นนี้ เป็นสภาพธรรมดาทั่วๆไปในหมู่ชนชาติในสมัยโบราณ

           เพราะฉะนั้นเมื่อพวกอริยกะเข้ามาในประเทศอินเดีย ในชั้นแรกก็นับถือศาสนาแบบพหุเทวนิยม พระเจ้าประจำธรรมชาติ แต่ต่อมาตั้งมั่นในดินแดนอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำคงคาแล้ว ชาวอริยกะจึงได้สร้างประเทศขึ้นเป็นปึกแผ่นให้ชื่อว่า อริยวัต กำหนดเขตอริยวัตนี้ก็ถือเอาเทือกภูเขาฮินไททางใต้เป็นที่สุดเขต ทางเหนือก็เอาภูเขาหิมาลัยเป็นที่สุดเขต ตกลงว่าระหว่างพื้นแผ่นดิน ตอนตีนเขาหิมาลัยลงมาจนถึงเชิงภูเขาฮินไท ในอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลนี้เรียกว่า อริยวัต ในบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลนี้เอง เป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะว่ามีแม่น้ำสายใหญ่ๆหล่อเลี้ยง แม่น้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากภูเขาหิมาลัยเป็นต้นทางไหลเข้ามาสู่ที่ราบ แล้วก็แยกกันไป
      สายหนึ่งลงไปทางอ่าวบอมเบย์ลงในทะเลอาหรับ สายนี้คือแม่น้ำสินธุ ซึ่งมีสาขาแยกออกไปอีกหลายสายเรียกว่าแม่น้ำ ชีนับบ้าง แม่น้ำศุภเรศบ้าง จันทรภาคาบ้าง รวมหมดแล้วก็เรียกว่า ปัญจมหาทนี หรือเรียกว่าปัญจนเทศ มีแม่น้ำ 5 สายไหลผ่านซึ่งปัจจุบันนี้เรียกกันว่ามณฑลปัญจาบ ตามเสียงที่เพี้ยนมากจากปัญจมเทศ ต่อมา

         ส่วนสายหนึ่งเป็นสายใหญ่เหมือนกันแต่ว่าไหลลงมาสู่อ่าวเบงกอล ลงสู่มหาสมุทรอินเดีย แต่ว่าทั้งสองสายใหญ่นี้ เป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตจิตใจของชาวอารยันในครั้งกระนั้น แม่น้ำคงคานี่ก็มี 2 สาขาใหญ่ สาขาหนึ่งเรียกว่ายมุนา แม่น้ำคงคากับยมุนาไหลมาคู่เคียงกัน คนละสาย แต่มาบรรจบพบกันที่ตำบลเรียกกันว่า พยาบ หรือพยาธ ตำบลนี้ปัจจุบันเรียกว่า อารหบัด ในท้องที่จังหวัดอารหบัดเดี๋ยวนี้เป็นที่บรรจบของคงคากับยมุนา ความเปรียบเทียบของแม่น้ำสองสายนี้พระพุทธองค์ก็เคยนำมาเปรียบ เมื่อทรงตรัสสอนสาวกว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตแสดงธรรมปฏิปทาเทียบด้วยนิพพาน นิพพานเทียบด้วยปฏิปทา ทั้งปฏิปทากับนิพพานนั้นย่อมมีความกลมกลืนกัน ไม่เป็นอริกัน คือไม่เป็นที่กีดขวางต่อกัน แต่กลมกลืนกันได้ จนกระทั่งแยกกันไม่ออก อุปมาเหมือนสายแม่น้ำคงคากับยมุนา ที่มาบรรจบสมทบกันเป็นสายเดียว ฉะนั้น อันนี้มีอยู่ในบาลีพระไตรปิฎกนะครับ

           เมื่อเกิดดินแดนที่เรียกว่าอริยวัตแล้ว ดินแดนทางแถบใต้ลงมาจากภูเขาฮินไท ในชั้นแรกพวกอารยันยังไม่รู้จักว่าจะเป็นไปในรูปลักษณะอะไร เพราะว่าเป็นป่าสูง แล้วก็ในป่าสูงนี้ชาวอารยันก็ยังเดินกันมาไม่ถึง ตามความเชื่อของชาวอารยันว่า ผู้ที่นำเอาวัฒนธรรมแบบอารยกะลงมาสู่ดินแดนทักษินาบทนั้น คือฤษีอคัสยะ อคัสยมุมี ซึ่งเป็นคนเดียวกับฤษีองคตในรามเกียรติ์ ฤษีอคัสนี้เป็นอริยกะคนแรกที่มาสอนอริยธรรมแบบอริยกะให้กับชาวทักษิณาบท ซึ่งเป็นชาติภารวิต หนีจากทางเหนือลงมาทางใต้ ในเทพนิยายก็ผูกเป็นทำนองว่า ฤษีอคัสนี้ จะเดินทางมาสู่ทักษิณาบทเห็นภูเขาวินไทนั้นสูงใหญ่ เดิมภูเขาวินไทกับภูเขาหิมาลัยสูงเท่ากัน แก่ก็แก่ชราแล้วจะข้ามภูเขาก็เหนื่อย เพราะฉะนั้นเลยสั่งภูเขาฮินไทบอกว่า จงย่อตัวให้เตี้ยลงข้าจะได้ข้ามง่ายๆหน่อย เพราะข้าแก่แล้วเดินทางลำบาก ภูเขาฮินไทก็ไม่สามารถจะทนทานต่อวาจาสิทธิ์ของฤษีอคัสได้ จึงได้ย่อตัวลงมา ตั้งแต่นั้นมาภูเขาฮินไทก็เตี้ยกว่าหิมาลัยกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้ นี่เป็นความเชื่อในเรื่องเทพนิยายนะครับ ก็เป็นอันแสดงให้เห็นว่า ทิวภูเขาใหญ่ฮินไท เคยเป็นภูเขาสูงมาแล้ว ตามหลักธรณีวิทยา แต่ว่าในสมัยใดสมัยหนึ่งคงมีปรากฏการณ์อะไรเปลี่ยนแปลงขึ้น ภูเขาฮินไทจึงได้เกิดหดตัวสั้นลงกว่าภูมเขาหิมาลัย

          เมื่อพวกอริยกะมาตั้งประเทศอริยวัตขึ้น ก็ยังแตกแยกออกเป็นแคว้น ยังมีเป็นกษัตริย์ เพราะฉะนั้นความรู้สึกในทำนองเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจึงได้เกิดขึ้น อยากจะให้มีพระเจ้าจักรพรรดิสำหรับรวบรวมแว่นแคว้นใหญ่น้อยทั้งปวงเป็นแผ่นดินเดียวกัน  เพราะฉะนั้นเรื่องจักรพรรดินี้เป็นเรื่องอุดมคติของชาวอารยันที่ใฝ่ฝัน อยากจะให้มีสังคมจักรพรรดิปกครองโดยกษัตริย์องค์เดียว ดีกว่าที่จะปกครองด้วยราชาหลายแว่นแคว้น หลายๆประเทศอย่างนี้ ความคิดใฝ่ฝันในเรื่องนี้ก็สำเร็จขั้น จักรพรรดิองค์แรกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ชื่อท้าวภรต ซึ่งสามารถแผ่อาณาเขตอย่างที่สำนวนเรียกว่า แผ่นดินจดมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นเขตแดน ท้าวภรตเป็นต้นตอของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายในอินเดียเพราะเหตุนั้นชาวอินเดียจึงเรียกประเทศของตนว่า ภรตวัต หรือประเทศภรต แปลว่าประเทศของท้าวภรต ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์อินเดีย และมีเนื้อมีตัวตนจริง ไม่ใช่กษัตริย์ในเทพนิยาย อย่างพระกฤษณะหรือพระรามอะไรต่างๆพวกนี้ มาในชั้นนี้บรรดานักคิดชาวอารยันเมื่อมีความเป็นอยู่ที่เป็นหลักฐานมั่นคงทิ้งระบบแบบเลี้ยงปศุสัตว์ร่อนเร่มาเป็นระบบเกษตรกรรมในไร่นาสาโทเป็นของตัวเองแล้ว ความใฝ่ฝันในทางปรัชญาก็เปลี่ยนแปลงขึ้น คือใฝ่ฝันในทางการเมืองอยากจะรวมแว่นแคว้นต่างๆอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิองค์เดียวฉันใด ในทางศาสนาก็ฉันนั้น

         พวกพราหมณ์คณาจารย์ก็คิดที่จะให้มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวซึ่งเป็นองค์แห่งสัจจะ เป็นอนันต์ เป็นกฤต รวมบรรดาพระเจ้าปลีกย่อยทั้งหลายมาสู่องค์เดียวกัน ความคิดในระยะนี้จึงได้เกิดระบบพรหมขึ้น สมมติเป็นพรหมขึ้น เพราะฉะนั้นพระพรหมในสมัยแรกนั้นเป็นเพียงนามธรรมมิใช่บุคคลาธิษฐาน เป็นปุงศักรินทร์ มีเพศเป็นปรากฏ เป็นรูปนามธรรมเท่านั้นเอง เป็นเพียงแต่ความใฝ่ฝันอุดมคติของชาวอารยันที่จะรวมพระเจ้าทั้งหลายให้มาสู่องค์พรหม ลักษณะของพรหม ปรัชญาฮินดูเขาเรียกกันว่ามีลักษณะ สัต, กฤต, อนันต์  สามอย่าง สัตติย คือองค์จริงแท้ , กฤต คือเป็นผู้ที่เป็นเจ้าแห่งความรู้ความนึกความคิด , อนันต์คือมีความสุขอยู่เป็นนิตย์ไม่เปลี่ยนแปลง ลักษณะของพรหมในสมัยแรก มีสามลักษณะเรียกว่า สัต, กฤต,อนันต์ แต่เมื่อสร้างพระพรหมขึ้นแล้วความรู้ที่ต้องไปเกิดเข้ารวมกับองค์พรหมจึงได้เกิดคัมภีร์ชุดใหม่ขึ้นเรียกว่า อุปนิษัท ซึ่งแตกต่างไปจากคัมภีร์ไตรเภท

 คัมภีร์ไตรเภทเป็นประเภทสดุดีคุณพระเจ้าและเห่กล่อมบวงสรวงสังเวยเท่านั้นเอง ในขณะเดี๋ยวกันก็เป็นประวัติศาสตร์ของชาวอริยกะด้วย แปลว่าถ้าเราอ่านคัมภีร์พระเวทแล้วก็เท่ากับเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชนชาตินี้ว่ามีมาอย่างไร ในพระเวทเล่าไว้หมดแต่เล่าในรูปของคำบวงสรวงสังเวยพระเจ้าที่เขานับถือ พอมาถึงขั้นอุปนิษัท อุปนิษัททิ้งเรื่องลักษณะบวงสรวงสังเวยหมด แต่มาขบปัญหาของชีวิตว่า โลกนี้มาแต่ไหน ชีวิตเกิดมาแต่อะไร จะลงเอยไปที่ใด อันนี้เป็นเหตุให้บรรดานักปราชญ์ฤาษีชีไพร พากันขบคิดแล้วก็สร้างเป็นคัมภีร์อุปนิษัทขึ้นมา คัมภีร์อุปนิษัทจึงเป็นเรื่องธรรมาธิษฐาน ไม่เกี่ยวกับเรื่องฤทธิ์เดช ไม่เกี่ยวกับเรื่องบุคคลาธิฐานที่เป็นตัวเป็นตนอย่างในไตรเภท เป็นเรื่องธรรมาธิษฐานล้วนสำหรับตอบเฉลยปัญหาของชีวิตว่า ชีวิตนี้ตั้งต้นมาอย่างไร แล้วก็จะลงเอยไปที่ใด เพราะฉะนั้นปรัชญาในธรรมทั่วโลก ยกเว้นพุทธปรัชญา มีข้อที่แตกต่างกันอยู่ข้อหนึ่งคือว่า ปรัชญาไม่ว่าตะวันตกหรือตะวันออก การบ่อเกิดของปรัชญาเหล่านั้นตั้งต้นจากการตั้งปัญหาถามบอกว่า ตัวเรานี้มาแต่ไหน เป็นใคร โลกเป็นมาอย่างไร แล้วก็จะไปไหน

 เพราะฉะนั้นลักษณะการตอบปัญหาพวกนี้ จึงเพ่งออกนอกตัว เพ่งออกนอกตัว อย่างประเภทศาสนาที่เป็นประเภทเทวะนิยมก็เพ่งในรูปว่ามีพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกเป็นปฐมเหตุ แล้วก็เป็นผู้ประทานชีวิตมาให้ ประเภทนี้เป็นประเภทต่ำ ยังไม่ถึงขั้นธรรมธิษฐาน ยังติดในเรื่องบุคคลาธิษฐาน แต่พวกอริยกะในชั้นนี้ได้ทิ้งระบบ ความคิดเรื่องพระเจ้าภายนอกไปนมนานแล้ว ไม่ต้องการแล้ว มาในชั้นนี้บรรดา คนเจ้าความคิดซึ่งมีเวลาปลีกตนไปหาความวิเวก ปฏิบัติทางจิต จนกระทั่งเกิดสมาธิชั้นสูง เกิดความสงบระงับในทางใจชั้นสูงมากๆเข้า ก็เลยไปนึกว่า ความสงบระงับที่ตัวได้จากอำนาจฌานสมาธินี้เป็นจุดสูงสุดของชีวิต ความสงบระงับนี้เป็นจุดสูงสุดของชีวิต เป็นพรหม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ พรหม ซึ่งเป็นนปุงศักรินทร์ แล้วก็เป็นต้นตอที่มาของโลกด้วย เพราะในภาวะแห่งความสงบนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในอดีตปัจจุบัน อนาคต มาปรากฏหมดตามกำลังอำนาจของสมาบัติที่ตัวจะตามระลึกไปได้ เพราะเหตุนี้ก็เลยทิ้งเรื่องพระเจ้าไปเป็นบุคคลาธิษฐาน มายึดถือเรื่องอัตตาคือภาวะของจิตที่สู่ความสงบในฌานนี้มันดับเป็นอัตตาเป็นตัวตนของโลกเป็นบ่อเกิดของโลก แล้วก็เป็นที่ดับของโลก คือตัวอัตตานี้เป็นผู้กำชีวิตเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆหมด อยู่ที่ตัวอัตตานี้

     ในคัมภีร์อุปนิษัทได้กล่าวถึง นักจิเกตัก ซึ่งเป็นคนสำคัญคนหนึ่งกับฤาษี ยาวัลคัลไกร ฤาษียาวัลคัลไกรนี้ก็ พูดกับนักจิเกตักอย่างทำนองสนทนาโต้ตอบ บอกว่าในเวลากลางวันนี้นะเราอาศัยอะไรเป็นแสงสว่าง อาศัยแสงพระอาทิตย์ แล้วเวลากลางคืนละอาศัยอะไรเป็นแสงสว่าง อาศัยแสงจันทร์ แต่ถ้าไม่มีจันทร์อาศัยแสงดาว ไม่มีแสงดาวก็ยังอาศัยแสงประทีปคือดวงไฟ ฤาษียาวัลคัลไกรถาม นักจิเกตักไปเรื่อยๆ พอถามปัญหาข้อหนึ่งบอกว่าถ้าหากสิ้นแสงทิวาวานละ สิ้นแสงโสม สิ้นแสงดารกาแล้ว กอบทั้งสิ้นแสงประทีปหมดสิ้นละ ท่านจะเอาอะไรส่องชีวิต อะไรคือแสงสว่างของท่าน ถ้าหากว่าสิ้นแสงภายนอกพวกนี้ ก็ปรากฏว่าคำตอบออกมาบอกว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าเอาเป็นแสงสว่างของข้าพเจ้าคือตัวของข้าพเจ้านี่เอง อาตมันนี่แหละจะเป็นดวงประทีปในชีวิตของตัวข้าพเจ้าเอง เป็นแสงสว่างของข้าพเจ้า นี่จากคำสนทนาในอุปนิษัทระหว่างฤาษียาวัลคัลไกรกับนักจิเกตักนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า ปรัชญาของพวกอริยกะนั้นวิวัฒนาการมาเป็นลำดับชั้น จากการยึดถือสิ่งภายนอกค่อยๆทิ้งไปที่ละชั้น ทีละชั้น  ละชั้น จนกระทั่งมาปรากฏในสิ่งภายในคือตัวตน เอาตัวตนนี้เป็นพรหมเป็นสมมุติฐานของโลกเป็นสมมุติฐานของชีวิต เป็นลำดับชั้น

 การยึดถืออย่างนี้ ในตะวันตกนั้นปรัชญาในศาสนาคริสต์ เราจะไม่พบเลย เพราะในศาสนาคริสต์นั้นจะพูดแล้วเป็นเพียงแต่พระเจ้าขั้นเริ่มแรก ขั้นพื้นฐาน ไปมองพระเจ้าข้างนอก สุภาษิตบทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ได้บอกว่า คนโง่นะมองหาพระเจ้าในน้ำในดิน คนฉลาดขึ้นมาหน่อยมองหาพระเจ้าบนท้องฟ้า แล้วเมทีชนมองหาพระเจ้าในภายในคือตัวเอง อัตตานี่แหละเป็นพระเจ้า เป็นพรหมเป็นชั้นๆ คนโง่ดักดานมองหาพระเจ้าในน้ำในดิน ที่ฉลาดขึ้นมาหน่อยก็มองหาบนท้องฟ้า แต่สำหรับบัณฑิตที่ฉลาดยิ่งกว่านั้นหาพระเจ้าในตัวเอง อยู่ในตัวเอง นี่เป็นภาษิตในศาสนาพราหมณ์ เพราะฉะนั้นในขั้นยุคอุปนิษัทนี้เรียกว่าเป็นยุค ปัญญา พัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์ ก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเจ้าลัทธิในอินเดียก็ว่าได้  ตอนนี้แหละเกิดก่อนพุทธกาลราว 100 ปี เหตุการณ์ตอนนี้เกิดก่อนพุทธการณ์ราวๆ100 ปี ได้มีสถานการณ์เช่นนี้

        การที่เกิดมีสถานการณ์เช่นนี้ ก็เกิดมีปฏิกิริยาเหมือนกันครับ คือเป็นปฏิกิริยาจากศาสนาพราหมณ์ในพระเวท ซึ่งเต็มไปด้วยพิธีรีตองมากมายก่ายกอง ประชาชนเอือมระอาเต็มทีจนกระทั่งจำไม่ได้ว่ามีพิธีจะต้องทำอะไรบ้าง เพราะพราหมณ์ ได้บัญญัติพิธีสำหรับป้องกันตำแหน่งของตัวไม่ให้หลุดลอยไปง่ายๆ พูดง่ายๆพราหมณ์ถึงกับแต่งเป็นคำพูดในพระเวทบอกว่า พระเจ้านี้เป็นผู้บังคับกำโชคชะตาชีวิตของมนุษย์ พระเจ้านี้กำชะตาชีวิตของมนุษย์  แต่ว่าพระเจ้านั้นก็ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของมนต์ แต่มนต์นั้นเล่าก็เกิดอยู่ใต้บังคับบัญชาของพราหมณ์ เพราะฉะนั้นพราหมณ์นี่เป็นพระเจ้าของมนุษย์จริงๆ คำสอนเช่นนี้เท่ากับว่าพวกพราหมณ์นะได้เขียนขึ้นเพื่อกอบกู้ฐานะอันศักดิ์สิทธิ์ของตัว ไม่ให้สลายไป พูดง่ายๆว่า พระเจ้าบังคับเราใช่ไหม แต่พระเจ้าก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมนต์ ของมนตรา แล้วมนตราละใครเป็นผู้กำกงเองไว้ละ ก็พราหมณ์ ฉะนั้นพราหมณ์นี่แหละเป็นผู้บังคับพระเจ้าได้ เหตุนั้นจึงมีเรื่องว่ายักษ์เอยมนุษย์เอยที่เพียรบำเพ็ญตบะเป็นพันๆหมื่นๆปีร้อนถึงพระศิวะพระนารายณ์ลงมาให้พร กระทั่งไปสร้างความเดือนร้อนมีของอาวุธวิเศษ  ไปสร้างความเดือนร้อนในสวรรค์ ก็เกิดจากพระเจ้าทนตบะของมนุษย์ที่มีตบะแรงกล้าไม่ได้ ต้องลงมาประสาทพรให้ อันนี้เราจะเห็นว่าเป็นผลสะท้อนของพวกพราหมณ์ที่ต้องการจะดึงอำนาจไว้กับวรรณะของตัวไม่ให้สูญสลายไป แล้วพิธีกรรมที่พวกพราหมณ์บัญญัติมากๆนี้ก็เป็นปฏิกิริยาออกมา 2 แนว แนวหนึ่งคัดค้านพวกหนึ่ง อีกแนวหนึ่งเป็นพวกโลกายตลัทธิ 2 แนว

      แนวที่คัดค้านพราหมณ์แนวแรกไม่เรียกตัวเองว่าเป็นพราหมณ์ เรียกตัวเองว่าสมณะ พวกสมณะ สมณะจึงแตกต่างจากพราหมณ์ เปรียบเหมือนงูเห่ากับพังพอน สมณะกับพราหมณ์นั้นเข้ากันไม่ได้ เหมือนน้ำมันกับน้ำไม่มีทางจะสมานเชื่อม เป็นภาวะเดียวกันได้  พวกสมณะมี ความคิดคัดค้านไม่รับรองคัมภีร์ไตรเพท ไม่รับรองความสำคัญของพราหมณ์ พระพุทธเจ้าอยู่ในพวกสมณะนี้ ลัทธิครูทั้งหกก็อยู่ในพวกสมณะด้วย เพราะฉะนั้นพวกพราหมณ์จึงเรียกพระพุทธเจ้าว่า สมณะโคตมะ เรียกสมณะโคตมะเรียกในฐานะเสมอกันนะครับ ตีเสมอนะครับ ไม่ใช่เรียกในฐานะเคารพนะ

        เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงคำนี้แล้วผมก็เลยอยากจะเสนอความเห็นว่า เรื่องทางจังหวัดสุพรรณบุรีสร้างพระพุทธรูปองค์มหึมาไม่น่าจะถวายพระนามว่าพระพุทธโคดม  คำว่าโคดม หรือโคตมะนะชาวพุทธเราไม่เรียกพระองค์อย่างนี้ เป็นคำที่คนต่างศาสนาที่ยังไม่เคารพพระพุทธเจ้า เรียกพระองค์อย่างในฐานะตีเสมอว่า สมณะโคตรโม เราเรียกพระพุทธเจ้าวาภควา ชาวพุทธเรียกพระองค์ว่าภควาทั้งนั้น ตถาบ้าง ภควาบ้าง สองคำนี้  เพราะฉะนั้นถ้าจะมีทางเปลี่ยนแปลงพระนามพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุพรรณได้ เลี่ยงคำว่าโคตรมะดีกว่า เพราะคำนี้ ปรากฏชัดในประวัติศาสตร์ในวรรณคดีบาลีมาแล้ว ไม่มีชาวพุทธเรียกพระองค์ว่าโคตมะ  พูดง่ายๆเป็นการเรียกชื่อโคตรพระองค์ คนเราถ้าไม่เคารพกันเรียกชื่อโคตรกันได้ ถ้าคนเคารพกันแล้วไม่กล้าเรียกชื่อโคตร การเรียกชื่อโคตรเป็นการตีเสมอหนึ่ง เป็นการไม่เคารพหนึ่ง จะต้องเรียกในฐานภควา เรียกในฐานะศาสดา หรือ ตถา ไม่กล้าเรียกคำอื่นนอกกว่านี้

  เพราะฉะนั้น พระคุณเจ้ารูปใดที่หากว่ารู้จักกับท่าน สมภารที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ก็น่าจะถวายความเห็นนี้นะครับ บอกว่าไม่ควรจะถวายพระนามว่าพระพุทธโคดม เพราะคำว่าโคดมนี้นะเป็นการเรียกไม่เคารพ ตีเสมอพระศาสดา ไม่ควรเรียกอย่างยิ่ง มีพวกพราหมณ์ที่ไม่นับถือพุทธศาสนาเท่านั้นที่เรียกพระองค์ว่าสมณะโคตโม แต่เมื่อมากลับใจนับถือพุทธศาสนาแล้วพวกนี้เรียกพระองค์ว่า ภควาหมด เรียกพระผู้มีพระภาค , ภควา ภควาจึงเป็นคำที่ชาวพุทธเรียกศาสดาของตัวเอง ส่วนคำว่าสมณะโคตโมเป็นพวกนักบวชนอกศาสนาเรียกหรือช่วงที่ยังไม่เคารพพระพุทธเจ้าเรียก จึงเรียกในฐานะตีเสมอ

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
       ทีนี้ก็เกิดมีขบวนการขึ้นมาขบวนการหนึ่ง เรียกว่าขบวนการ สมณะ  ครูทั้งหกอยู่ในพวกสมณะ พระพุทธเจ้าของเราก็อยู่ในขบวนการสมณะ เพราะว่าขบวนการสมณะนี้เป็นขบวนการที่ ไม่รับรองฐานะของพราหมณ์ พวกพราหมณ์จึงเป็นเดือดเป็นแค้นพวกสมณะนัก ไม่ชอบใจพวกสมณะเลย หาว่าพวกนี้ไปตั้งตัวเป็นเอกราชออกนอกศาสนาพราหมณ์ไปบังอาจไม่รับรองพระเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่พวกอารยันนับถือมา  อีกขบวนการคือขบวนการพวกโลกายตลัทธิ พวกขบวนการโลกายตลัทธิมีเจ้าลัทธิชื่อจารวาก จารวาก ขบวนการนี้บัญญัติกามคุณห้าเป็นนิพพาน เป็นวัตถุนิยมอย่างสุดเหวี่ยง เพราะเบื่อหน่ายพิธีรีตองเซ่นสรวงบวงสรวง และเบื่อหน่ายอภิสิทธิ์ของวรรณะพราหมณ์เหลือเกิน จึงได้มีปฏิกิริยาออกมาสองพวกด้วยกัน ออกมาอย่างนี้ พวกสมณะยังมีแบ่งซอยออกไปอีก พวกสมณะยังแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ พระพุทธองค์อยู่กลุ่มหนึ่งพุทธศาสนากลุ่มหนึ่ง, ศาสนาเชนกลุ่มหนึ่ง,  และก็ศาสนาพวกอกิริยาทิฏฐิ อเหสกทิฏฐิ นัตติกทิฏฐิกลุ่มหนึ่ง สามกลุ่มด้วยกัน สำหรับพุทธมติเราจะได้อธิบายในภายหลัง

        นี่เราจะมาพูดกันถึงเรื่องศาสนาเชน ศาสนาเชนมีชีวิตก่อนพุทธกาลหลายร้อยปีแต่พอมาในสมัยพุทธกาลมีท่านผู้หนึ่งเป็นกษัตริย์เชื้อวงศ์ลิจฉวีแห่งเวศาลี ชื่อนิครนถ์นาฏบุตร ท่านนิครนถ์นาฏบุตรอัศจรรย์อยู่ที่ ในบาลีอรรถกถาไปแก้อย่างง่ายๆ แก้ว่าเป็นบุตรของนักฟ้อนไปแก้ตามชื่อ ได้ยินว่าเธอนะเป็นนักฟ้อนมาก่อน มีอาชีพเป็นนักฟ้อนเหตุนั้นจึงชื่อว่านิครนถ์นาฏบุตร ไปแปลชื่อคำว่านิครนถ์นาฏบุตรเป็นนักฟ้อนไป แล้วก็ไม่ได้ให้รายละเอียดไปกว่านี้เลย ซึ่งไม่น่าว่าพุทธโฆษาจารย์ เป็นจอมอรรถกถาจารย์เขียน ท่านก็เป็นชาวอินเดียมาโดยกำเนิดอยู่ในอินเดียมาก่อนที่จะไปทำอรรถกถาที่ลังกา ท่านน่าจะรู้ดีเรื่องศาสนาต่างๆในครั้งนั้น ทำไมถึงได้แก้อย่างง่ายๆสั้นๆด้วนๆอย่างนั้นก็ไม่ทราบความจริงนิครนถ์นาฏบุตรไม่ได้เป็นบุตรของนักฟ้งนักฟ้อนที่ไหนเลย ท่านผู้นี้เป็นกษัตริย์เชื้อลิจฉวีเป็นเชื้อสายลิจฉวีโดยตรง มีมเหสี มีโอรสแล้วจึงออกบวชอย่างพระพุทธเจ้าของเรา ชีวประวัติคล้ายคลึงกับพระศาสดาของเรามาก เมื่อออกบวชแล้วได้บำเพ็ญตบะหลายปี จนกระทั่งถือตัวเองว่าได้เกมนุษฌาญาน เกมนุษฌาญานนะเป็นญานชั้นสูงสุดในศาสนาเชนเท่ากับอนุตตรสัมมาสัมโพธิญานของเรา เขาว่าได้เกมนุษฌาญานแล้ว เรียกตัวเองว่าอรหันต์เหมือนกันใช้คำว่าอรหันต์เหมือนกัน เรียกตัวเองว่าอรหันต์ชินปุตโต อรหันต์ชินบุตร เป็นชินเจ้า ผู้ชนะ ชัยนะ ชินะ ใช้สรรพนามอย่างนี้ ออกมาบัญญัติสั่งสอนลัทธิ คู่เคียงกับพระพุทธเจ้า อยู่ในเมืองเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ไม่เคยปรากฏแม้สักครั้งเดียวในหลักฐานวรรณคดีบาลีหรือสันกฤตเลย

         ที่กล่าวถึงนิครนถ์นาฏบุตรได้พบพระพุทธเจ้าไม่เคยเลย แปลกที่สุด มีแต่ว่าชั้นสาวกมาพบ นิครนถ์นาฏบุตรส่งแต่สาวกมาพบ สาวกคนสำคัญครั้งยิ่งใหญ่ที่มาพบพระพุทธเจ้านะก็มีอยู่2คราว คราวหนึ่งคือส่ง สัตตกะนิครนถ์ ลูกศิษย์มือขวาของนิครนถ์นาฏบุตร มาท้าทายโต้วาทีกับพระพุทธเจ้า อีกคราวหนึ่งส่งคฤหัสถ์คนหนึ่งซึ่งเป็นอุปฐากสำคัญของนิครนถ์นาฏบุตรคืออุบาลีคฤหบดีมาตั้งปัญหาโต้แย้งกับพระพุทธเจ้า นี่เป็นสองคราวใหญ่ และทั้งสองคราวใหญ่ก็ปรากฏว่า สำหรับสัตตกะนิครนถ์ แม้จะไม่ปฏิญานตนเป็นพุทธมามกะแต่ก็ยอมรับว่าตัวแพ้ปฏิภานของพระศาสดา ยอมรับว่าแพ้ สำหรับรายหลัง อุบาลีคฤหบดี นั่นถึงกับยอมตัวเป็นพุทธสาวกเลย ยอมตัวเลยทีเดียว แล้วก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้นิครนถ์นาฏบุตรเสียอกเสียใจใหญ่ กระทั่งไปป่วยตายที่เมืองปาวา นี่ประหลาดมากนะครับคือว่านิครนถ์นาฏบุตร ตายก็ตายในเมืองที่ใกล้เคียงกับพระพุทธนิพพาน คือเมืองปาวา ปาวากับกุสินาราใกล้ๆเดินวันเดียวถึง ใกล้กันมาก แล้วนิครนถ์นาฏบุตรไปตายที่เมืองปาวา ในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนม์ชีพได้ 72 พรรษา แปลว่าตายก่อนพระพุทธเจ้า มีลูกศิษย์หลายหมื่น แล้วพอตายลงเท่านั้นเองเท่านั้นเองบรรดาลูกศิษย์ก็ทิ่มแทงกันด้วยหอกทางปาก ทะเลาะกัน ตีความหมายในคำสอนของอาจารย์ตัวแตกต่างกันแล้วก็ลงไปแบ่งพรรคแบ่งพวกก่อการวิวาท

         จนเป็นเหตุให้พระสารีบุตรนำมาปรารภขึ้น กลัวว่าในอนาคตถ้าพระศาสดาดับขันธ์ไปเสียแล้ว บรรดาภิกษุจะเป็นอย่างพวกบริษัทนิครนถ์ มาทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก อย่างนี้ไม่ควร จนเป็นเหตุให้พระสารีบุตรปรารภแสดงสังคีติสูตร แสดงสังคีติสูตรเพื่อหวังที่จะให้ปรับทัศนะทางธรรมะในหมู่พุทธบริษัท  ให้เข้าใจ ได้รูปได้รอยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก็พระศาสดาเป็นประธานอนุโมทนาสาธุการ ที่พระสารีบุตรทำอย่างนั้น  เพราะฉะนั้น สังคายนาครั้งแรกนะไม่ใช่ปฐมสังคายนาหรอก ถ้าจะว่าไปแล้วนะ สังคายนาได้เริ่มมีตั้งแต่พุทธกาลแล้ว พระสารีบุตรเป็นผู้ริเริ่มทำ เพราะฉะนั้นผลงานที่พระสารีบุตรทำจึงเรียกว่าสังคีติสูตร ทำตั้งแต่พระศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ แต่ถ้าจะนับปฐมสังคายนาเป็นครั้งแรกหลังพุทธปรินิพพานก็นับได้ ถ้าจะนับว่าใครเป็นผู้ริเริ่มทำสังคายนาก่อนก็ต้องชี้ที่พระสารีบุตร ไม่ใช่พระมหากัสสป พระมหากัสสปมาทำหลังพระพุทธนิพพาน นับหนึ่งหลังพุทธเจ้านิพพาน  แต่ถ้าจะนับหนึ่งจริงๆแล้วก็ต้องนับพระสารีบุตรทีเดียว

        หลักการสำคัญในศาสนาเชน ก็คือเรื่องของการบำเพ็ญตบะ อัตตะกิลมัตถานุโยค พระพุทธทรงปฏิเสธทัศนะของพวกสมณะ นิครนถ์นาฏบุตรนี้ ในคำว่าอัตตกิลมัตถานุโยโค สุโข เป็นไปเพื่อความทุกข์ กลับปฏิเสธวาทะของลัทธิโลกยตะ ของอาจารย์จารวา ด้วยคำว่า (คำบาลี....) คือปฏิเสธลัทธิโลกยตะ ลัทธิโลกยตะบัญญัติกามคุณห้าเป็นนิพพาน คล้ายๆบอกว่า คนเราเกิดแล้วมีเพียงชาติเดียว วาทะของฤาษีจารวา สอนอย่างนี้ บอกคนเรานี้เกิดมาแล้วก็มีเพียงชาติเดียวชาติหน้าไม่มีชาติก่อนไม่มี  เพราะฉะนั้นจะมาบวงโลกทำไมอยากจะเสพกามก็เสพ อยากจะคอรัปชั่นก็คอไปซิ อยากจะกินเหล้าก็เมาให้หย่ำเปไปเลย ชีวิตมีเฉพาะในวันนี้ เพราะฉะนั้นในวันนี้เรามามัวเมาสนุกสนาน ให้มันอิ่มหนำสำราญใจกันเถอะ จะมามัวคำนึงถึงศีลธรรม คำนึงถึงความมีมนุษยธรรม ถึงอกถึงใจ ป่วยการน้ำขึ้นให้รีบตัก ลัทธิโลกยตะ ซึ่งพระองค์ประณามในคำว่ากามสุขัลลิกานุโยโค* อิโม คัมโม(การปล่อยตัวพัวพันด้วยกามสุข) ประณามคำนี้ เพราะฉะนั้นธรรมจักรกัปปวัตนสูตรนะ  ทรงปฏิเสธส่วนสุข 2 ข้างนะ

          อัตตกิลมัตถานุโยโค สุโข หมายถึง พวกสมณะนิครนถ์นาฏบุตร พวกนี้ถือว่าใครบำเพ็ญตบะถึงขั้นสุดท้ายจะเป็นอรหันต์ ต้องอดข้าวตาย ใครอดข้าวตายได้คนนั้นเป็นอรหันต์ บำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤษแล้วต้องอดอาหารให้ถึงแก่ ความตาย เมื่ออดอาหารถึงแก่ความตายได้ด้วยชีวันมุตติ ชีวันมุติ ชีวิตหลุดพ้นไปแล้ว ปรัชญาในศาสนาเชนนะ ถึงว่าคนเรามีอาตมันเหมือนกับพราหมณ์ เป็นไปตามข้อนี้ถือว่ามีอาตมัน เรียกว่าชีวาตมัน  ชีวาตมันแต่ละคนๆไม่เหมือนกัน ชีวาตมันเหล่านี้บำเพ็ญตบะอย่างแตกเผ็ดอุกฤษแล้วก็จะบรรลุออกไป ถึงนิพพาน บัญญัตินิพพานเหมือนกัน  นิพพานคือชีวตมันหลุดพ้นจากความผูกมัดของโลกียธรรม ไปเป็นเสวยความสุขในนิพพานนั้น ตกลงนิพพานในศาสนาเชน มีตัวมุ่งเสวยรสความสุขในนิพพาน มีตัวไปเสวยอยู่ มีตัวรู้นิพพานเขามีรู้ อนุปทิเสปนิพพานเขายังมีรู้อยู่ ถ้าไม่มีตัวชี้ว่าอาตมันไปเสวยความสุขแล้ว เราจะไปนิพพานกันทำไม นี่นิครนถ์นาฏบุตรเขาสอนอย่างนั้น ชีวตมันเข้าหลุดพ้นไป สำหรับ ทุกขกรกิริยา ในศาสนาเชน พระพุทธเจ้าก็ทำมาหมด ทำดังปรากฏในบาลี มหาศรีหนาถพระสูตร ทำมาหมดเลย

 เพราะว่าศาสนาเชนมีมาก่อนพระพุทธจะเกิด มีมาก่อนหลายร้อยปี ประเพณีการบำเพ็ญตบะอย่างอุกฤษนี้  เมื่อพระพุทธเจ้ายังเป็นพระโยคาวจร เสวยความหลุดพ้นยังไม่ตรัสรู้อยู่  กำลังออกมาแสวงความตรัสรู้อยู่ พระพุทธเจ้าก็ได้ทดลองทำ ตามวิธีการของพวกเชน ดังปรากฏในมหาศรีหนาถพระสูตร ทำหมดทุกอย่างจนถึงขั้นว่า นอนในป่าช้า เด็กเลี้ยงโคมาเยี่ยว มาขี้รด ก็ยอมให้มันเยี่ยวให้มันขี้ ไม่ลุกไล่ มันถ่ายมูกถ่ายคูดไว้ก็ย่อม เด็กเลี้ยงโคเห็นนักบวชคนนี้แปลกเราขี้รดเยี่ยวรดก็ไม่ยักลุกหนี เอาทรายเอาฝุ่นกรอกเข้าไปในรูหู ก็ทรงเฉยปล่อยให้กรอก บำเพ็ญอย่างอุกฤษ แล้วก็หลบหลีกไป ถ้ามีเสียงแก๊กก๊ากเหมือนคนเดินหลบหนีไป ไม่พบพูดกับคน หาความวิเวกอย่างยิ่ง หลบหลีกแม้กระทั่งเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ หลบหลีกหมด ที่ไหนมีเสียงต้องรีบหนี แล้วก็เก็บกินอาหารตามกองขยะที่เขาทิ้งแล้ว กินอาหารโดยเอาปากคาบเลียกินบ้าง ไม่เอามือหยิบกิน ทำทุกอย่างที่พวกนิครนถ์บัญญัติให้ทำ แล้วก็ไม่ได้ตรัสรู้ จุดนี้จึงแสดงกับอเจลกะกัสสป ซึ่งเป็นพวกนิครนถ์พวกหนึ่ง มาทูลถามเรื่องการบำเพ็ญตบะ พระองค์ตรัสบอกว่า ในบรรดาการบำเพ็ญตบะพระองค์ก็มองไม่เห็นรูปสมณะพราหมณ์คนใดในโลก ที่จะทำเกินยิ่งกว่าพระองค์ทำมาแล้ว

 แสดงอดีตประวัติให้ฟัง ว่าเมื่อบำเพ็ญโพธิสัตว์แสวงหาความตรัสรู้ได้ทดลองทำมาแล้วอย่างนี้แหละ มันก็ไม่ได้พบทางตรัสรู้นี่ ตรัสอย่างนี้กับอาเจลกะกัสสป แสดงให้ฟัง แล้วก็ในทางโลกยตลัทธิ ที่ทรงปฏิเสธในคำว่ากามสุขัลลิกาโยโคก็เหมือนกัน ก็ทรงยืนยันว่าพระองค์ได้ผ่านมาแล้วชีวิตของการเสพกามสุข ก็ไม่ได้พบทางตรัสรุ้ เพราะเหตุนั้น หลักการของพวกสมณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาเชน ตรงกับพุทธศาสนาในข้อที่เรียกว่า ถือกรรมเป็นใหญ่ 2 ปฏิเสธพระเจ้าผู้สร้างโลก แต่ไปตรงกับศาสนาพราหมณ์ที่ว่ามี อาตมัน ตกลงเชนตรงกับหลักธรรมของพุทธ 2 ข้อ ตรงกับพราหมณ์ข้อหนึ่งในหลักสำคัญ ตรงกับพุทธคือสอนเรื่องกฎของกรรม แล้วก็ ปฏิเสธเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ที่ตรงกับพุทธมติ แตกต่างกับพุทธมติในข้อที่ว่า ถือว่ามีชีวตมัน เป็นเรื่องของศาสนาเชน ศาสนาเชนเป็นอย่างนี้
..
..
สมณะอีกพวกหนึ่งคือพวกอกิริยาทิฏฐิ อเหสิกะทิฏฐิ พวกนี้ได้แก่ มัคขลิโคสาล ปกุทธกัจจายนะ อชิตเกสกัมพล ปูรณกัสสป สี่คนด้วย สำหรับสี่คนนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าในบรรดาวาทะของครูทั้งหมดนี้ วาทะของมัคขลิโคสาลเป็นเลวกว่าเพื่อน ตรัสในที่ไหน ตรัสในบาลีอังคุตรนิกาย บอกดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาวาทะของสมณะเหล่านี้ วาทะของมัคขลิโคสาลเป็นเลวกว่าเพื่อน ชาวประมงที่เอาไซดักปลาดักไว้ในแม่น้ำ ด้วยความประสงค์ว่ามีพวกปลากุ้งปู มันว่ายเข้ามาจะติดไซของเราฉันใด วาทะของมัคขลิโคสาลก็เหมือนหนึ่งไซดัก เป็นไซทิฏฐิสำหรับดักคน ให้เขามาติดในข่ายทิฏฐิเป็นไปด้วยความฉิบหายเป็นไปด้วยความเสื่อมให้เข้ามาติดในข่ายทิฏฐิของเธอ แต่คนที่มาติดในทิฏฐิของเธอ แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ตรัสอย่างนั้น ทำไมถึงว่าวาทะของมัคขลิโคสาลเป็นเลวก่อนเพื่อน ก็มัคขลิโคสาลแก่เป็นอกิริยาทิฏฐิ อกิริยาทิฏฐิถือว่าไม่ต้องทำอะไรหรอกคนเรานี้ มันจะดีก็ดีเอง มันจะชั่วก็ชั่วเอง มันจะไปนิพพานก็ไปของมันเอง ปฏิเสธเรื่องกิริยา ปฏิเสธเหตุ เมื่อปฏิเสธกิริยาก็เท่ากับปฏิเสธเหตุด้วย

  เพระฉะนั้นอกิริยาทิฏฐิกับอเหตุกะทิฏฐินะใกล้เคียงกันที่สุด ใกล้เคียงกันมา ใกล้เคียงกันที่สุดที่เดียว ปฏิเสธเหตุก็เท่ากับปฏิเสธกิริยา  ปฏิเสธกิริยาก็เท่ากับปฏิเสธเหตุ เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจึงย้ำเสมอว่าตถาคตเป็นกรรมวาที เป็นวิริยวาที กล่าวว่าความเพียรมี กล่าวว่าการกระทำมี คำว่ากรรมวาทีนี้ปฏิเสธลัทธิอัตตา วิริยะวาทีปฏิเสธอกิริยาทิฏฐิ อเหตุกะทิฏฐิ กรรมวาทีปฏิเสธอสัตตกะทิฏฐิ ปฏิเสธนัตถิกะทิฏฐิ อุเฉทิกะทิฏฐิ  โดยใช้คำว่ากรรมวาที วิริยะวาทีปฏิเสธอเหตุกะทิฏฐิ อกิริยาทิฏฐิ ทรงปฏิเสธคำว่าอะ ด้วยวิริยะวาที ตรัสว่ากรรมมี ความเพียรมี ตรัสอย่างนั้น อันนี้เป็นวาทะสมณะพวกที่สอง ส่วนวาทะพวกที่สามนั้น พวกโลกายต โลกายตทิฏฐินั้นก็ได้แก่ อุเฉท นัตถิกะนั่นเอง นี่เราเรียกกันว่าโลกายตลัทธิ เพราะพวกนี้ถือว่าตายแล้วขาดสูญบุญบาปไม่มี มัคขลิโคสาลยังบอกว่าบุญบาปมีนะ แต่ว่าจะบุญ จะบาปเราไม่ต้องไปตั้งความเพียรมันนะ มันจะบุญก็บุญเอง จะบาปก็บาปเอง มันจะดี ดีเอง มันจะชั่ว ชั่วเองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติปล่อยมันเถอะ แต่สำหรับพวกโลกายต ซึ่งเป็นอเหตุกะ อุเฉทะ  อเหตุกะกับอุเฉทะสองอันนี้ อยู่ในฝ่ายโลกายตลัทธิ ที่ทรงปฏิเสธไปแล้ว

 เกิดวาทะหนึ่งทรงใช้คำว่าอิสระ พวกอิสระกรานะวาที อีกพวกหนึ่ง พวกอิสระกรานะวาทีคือพวกไหน คือพวกที่ถือว่ามีพระเจ้าสร้างโลก ทรงปฏิเสธ อิสรการนะวาที  ตกลงพุทธศาสนาปฏิเสธอิสรการนะวาที ปฏิเสธพวกอกิริยาวาที อเหตุกะวาที นัตถิกะวาที อุเฉทวาที กัตสสตะวาที หกวาทะด้วยกัน  เท่ากันลัทธิครูทั้งหก เท่ากันเลย หกวาทะนี้ เท่ากับลัทธิครูทั้งหก นิครนถ์นาฏบุตรเป็นสัตสสตะวาที  ครูนอกนั้นเป็นอกิริยาวาทีบ้าง นัตถิกะอุเฉทวาทีบ้าง เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นปรัชญาของลัทธิครูทั้งหกจึงครอบงำมติของพวกสมณะซึ่งแตกต่างจากพวกพราหมณ์ แตกต่างจากพราหมณ์อย่างสิ้นเชิง
..
..
คราวนี้โดยฐานะของพระพุทธองค์แม้ในสายตาของพวกพราหมณ์จะเห็นว่าพระองค์เป็นพวกสมณะ เพราะพระองค์ปฏิเสธคัมภีร์ไตรเภท ไม่รับรองวรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงก็จริง  แต่สำหรับส่วนพระองค์เองแล้ว พระองค์กลับเป็นกลางๆ ไม่ทรงยึดถือ ทรงตรัสบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพราหมณ์ยิ่งพราหมณ์ เป็นสมณะยิ่งสมณะ เป็นทั้งพราหมณ์ด้วยเป็นทั้งสมณะด้วยสำหรับพระองค์เอง ทำไมถึงว่าอย่างนั้น เพราะพระพุทธเจ้าได้ให้ความหมายใหม่ ความหมายคำว่าพราหมณ์กับความหมายของคำว่าสมณะ ตามพุทธมติแตกต่างไปจากความรู้สึกของประชาชนทั่วไป พระองค์ไม่ได้ถือเองเครื่องหมายเพศที่ว่า นุ่งขาว ไว้เปีย อาบน้ำวันละสามครั้งสี่ครั้งในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต้องเป็นพราหมณ์ ไม่ถือเอาอาการที่ปฏิเสธ คัมภีร์ไตรเภทว่าเป็นสมณะ ด้วยทรงให้ความหมายใหม่ ว่า

 เป็นพราหมณ์ต้องเป็นกันด้วยคุณธรรม ที่ว่าลอยนะต้องลอยด้วยกองกิเลสได้ เป็นสมณะต้องเป็นผู้ที่ไม่รุกรานไม่เบียดเบียนเขา นี่ถึงจะเป็นสมณะ เพราะฉะนั้นฉะนั้นพระองค์จึงตรัสอย่างกลางๆไม่ไปยึดถือพัวพันในค่ายสองค่ายนี้ว่า ฉันเป็นฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา จะเป็นพราหมณ์หรือเป็นสมณะ ไม่เอา ตรัสตอบฉันเป็นพราหมณ์ก็เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะก็เป็นสมณะ และก็เป็นพราหมณ์ยิ่งของพราหมณ์ เป็นสมณะยิ่งของสมณะ ด้วยคุณสมบัติอย่างนี้อย่างนี้  แจกแจงไป หลักการในพุทธศาสนาที่สามารถครอบงำศาสนาลัทธิอื่นได้ในครั้งกระนั้น ก็ต้องอาการขวาง คือทรงตั้ง ทรงตี ทรงตั้ง หลักปฏิวัติ หลักปฏิรูป แล้วก็หลักบัญญัติ ของพระองค์เองขึ้นมาใหม่ 3 อย่าง พุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาปรัชญาอื่นๆด้วยอาการสาม 1 ปฏิวัติของพระพุทธเจ้า 2หลักปฏิรูปของพุทธเจ้า 3 บัญญัติประสาทธรรมะชั้นใหม่ที่คนไม่เคยฟังมาก่อน สามอย่างด้วยกัน สามอย่างนี้มีรายละเอียดอย่างไรจะนำไปกล่าวในวันศุกร์ วันนี้ก็ได้ประมาณเวลาพอสมควร

จบไฟต์ที่23
ผลงานอาจารย์ เสถียร โพธินันทะ
เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 20 พฤศจิกายน 2555 13:48
เขียนโดย Astro Neemo
- http://www.gonghoog.com/main/index.php/2012-11-20-06-31-57/46-2012-11-20-06-48-05

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
          เมื่อบ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายขึ้นสถาบันพุทธศาสนา ก็พลอยได้รับความกระทบกระเทือนทำให้ความเจริญก้าวหน้าต้องชงักลง แล้วพร้อมกันนั้นก็มีเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นกับอินเดียนั้นก็คือ มีศัตรูต่างชาติต่างศาสนาที่ถือนโยบายการรุกรานศาสนาอื่นเป็นบุญกุศล ได้เริ่มมาท้าทายเคาะประตูบ้านอินเดียแล้ว ในราวๆเดียวกับสมัยพระเจ้าหรรษวรรธน ทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น โลกได้เกิดศาสนาใหม่ขึ้นอีกศาสนาหนึ่ง ศาสนานั้นคือศาสนามุสสลิม ซึ่งพระมูหะหมัดเป็นผู้ประกาศในประเทศอาระเบีย คืออาหรับเดี๋ยวนี้ เมื่อพระมูหะหมัดสิ้นพระชนม์ลง  บรรดาสาวกของพระมูหะหมัดได้แผ่จักรวรรดิทางศาสนาให้แพร่หลายออกไปทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ยกกองทัพไปตีประเทศอียิปต์ในอัฟริกาเหนือและข้ามทะเลแดงไปบุกในยุโรป ตีประเทศ สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส  กองทัพมุสสลิมบุกรุกไปถึงในยุโรป ในประเทศยุโรปนั้นกองทัพมุสสลิมรุกได้ตียุโรปภาคใต้ เกือบจะเรียกว่าทั่วไปหมดแล้ว ก็เผอิญไปถูกแรงสกัดกั้นในประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศลได้รวบรวมกำลังทหารสกัดคลื่นมุสสลิมให้หยุดชงักลง

          เมื่อถูกสกัดทางตะวันตก ทัพมุสสลิมก็มาทะลักทางตะวันออกคือบุกตะลุยทางประเทศอิหร่านแตกแล้วก็ตะลุยเข้าอินเดียทีเดียว เพราะฉะนั้นราวๆ พ.ศ. 1100 มีพวกนับถือศาสนาอิสลาม ได้ยกเข้ามาบุกรุกประเทศอินเดีย ยึดบริเวณชื่อว่าแคว้นสินธุสถานคือบริเวณอินเดียภาคตะวันตกที่ต่อแดนกับประเทศอิหร่านเดี๋ยวนี้ ชื่อว่าแคว้นสินธุเทพ หรือสินธุสถานไว้ในอำนาจ อยู่ราวๆ 200 ปี

          ในระหว่าง 200 ปีนั้น กองทัพต่างด้าวต่างศาสนานี้ ยังไม่สามารถที่จะบุกทะลวงแนวปราการอันแข็งแกร่งที่เข้ามาสู่อินเดียภายในใจกลางประเทศได้  ลุ่มแม่น้ำคงคากับลุ่มแม่น้ำยมุนายังปลอดภัยจากกองทัพอิสลาม ที่ปลอดภัยจากกองทัพอิสลามนั้นก็เพราะว่า บรรดาเจ้าครองนครต่างๆในอินเดียภายในใจกลางของประเทศยุคนั้นได้ฟื้นฟูวิญญาณระบบชาตินิยมขึ้นมา  พวกเจ้าผู้ครองอินเดียพวกนี้ได้ฟื้นฟูระบบชาตินิยมเรียกกันว่าพวกเจ้าราชบุตร  คำว่าเจ้าราชบุตรนั้นเป็นคำเรียกกลางๆ สำหรับพวกวรรณะกษัตริย์พวกหนึ่งที่แบ่งเป็นหลายเหล่าหลายคณะ แต่ทว่ามีวิญญาณของนักรบ  พวกนี้ได้ฟื้นฟูวิญญาณชาตินิยมแล้วก็นับถือศาสนาพราหมณ์อย่างเคร่งครัด พุทธศาสนาที่มีลักษณะเป็นสากลนิยม จึงถูกพวกเจ้าราชบุตรนั้นทอดทิ้งไป

          อันนี้มิได้หมายความว่าพุทธศาสนาเราบกพร่องนะ  ลักษณะของพุทธศาสนานะเป็นสากลนิยม ยกตัวอย่างเช่นเรื่องที่ ไม่มีการถือชั้นวรรณะอย่างนี้ แต่พวกเจ้าราชบุตรนั้นเป็นพวกที่ต้องการถือหมู่ถือคณะเป็นใหญ่ต้องการเอาหมู่คณะเรียกร้องพวกวรรณะกษัตริย์ที่มีเลือดกษัตริย์ด้วยกันนี้ มาจับอาวุธต่อต้านศัตรู ต้องการจะฟื้นฟูวรรณะนักรบขึ้นมาโดยเฉพาะ  พวกนี้จึงมายึดถือเอาศาสนาพราหมณ์  ศาสนาพราหมณ์นี่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการทำรณรงค์ได้กับพวกอิสลาม ก็ด้วยที่ว่านับถือพระนารายณ์ที่พระนารายณ์อวตารลงมาปราบยุคเข็นในปางต่างๆเนี๊ยะสำหรับเป็นเครื่องอ้าง สำหรับพวกเจ้าราชบุตรจะอ้าง เพราะฉะนั้นมีกษัตริย์เจ้าราชบุตรหลายพระองค์ ที่ถือว่าพระองค์เป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าส่งมาพิทักษ์ชาวอินเดีย พิทักษ์ชมพูทวีปให้ปลอดภัยจากพวกอิสลาม

          พุทธศาสนานั้นไม่มีลักษณะที่โน้มเอียงไปในทางที่จะรุกรานใคร แล้วก็ไม่โน้มเอียงไปในทางที่จะให้ถือหมู่ถือคณะ แต่มีลักษณะเป็นไปเพื่อความเป็นสากล เพื่อความเสมอภาพและภารดรภาพ อันนี้พวกเจ้าราชบุตรจึงไม่ถูกใจ ลักษณะนี้จะเห็นได้ว่า พวกเจ้าราชบุตรที่มายึดถือเอาศาสนาฮินดูเป็นสำคัญกว่าพุทธศาสนานั้นเป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าถ้าเราเข้าถึงลักษณะในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงแล้ว อินเดียจะไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพวกอิสลามได้ พวกวรรณะทั้ง4  พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และวรรณะที่ต่ำยิ่งกว่านั้นคือพวกจัณฑาลหรือพวกกุกุศะ บรรดาวรรณะต่ำๆเหล่านี้มีจำนวนหลายสิบล้านในอินเดีย  พวกเหล่านี้เวลาเกิดภัยอิสลามมารุกรานอินเดีย พวกเหล่านี้ถือว่าธุระไม่ใช่ เป็นหน้าที่ของพวกกษัตริย์จะรบ พวกเราเป็นประชาราษฎรวรรณะต่ำๆ ไม่ต้องไปก้าวก่ายหน้าที่ของพวกกษัตริย์ พวกกษัตริย์เขามีหน้าที่ต้องรบพุ่งป้องกันประเทศอยู่แล้ว  เพราะฉะนั้นประชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับพวกชนชั้นปกครองในการต่อต้านศัตรูเลย เพราะเหตุที่ว่า พวกวรรณะกษัตริย์นั้นเน้นเรื่องวรรณะนิยม เน้นเรื่องหมู่คณะ เน้นเรื่องชาตินิยม ชาตินิยมหมายถึงชาติที่เกิดในกษัตริย์นะ ไม่ใช่ว่าชาติอินเดีย ในสมัยโบราณความรู้สึกเรื่องชาติอินเดียไม่มี มีแต่ความรู้สึกเรื่องชาติที่เป็นชาติกษัตริย์  ชาติแพศย์ ชาติพราหมณ์ ชาติศูทร ชาติจัณฑาล  นี่ค่านิยมแบบนี้

  เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นค่านิยมแบบนี้แล้ว ที่ไหนจะต่อสู้ศัตรูได้เป็นผลสำเร็จ ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่เขาไม่ได้ให้ความร่วมมือด้วย แต่ถ้าตรงกันข้ามพวกชนชั้นปกครองอินเดียครั้งกระนั้นหากเคร่งครัดต่อหลักธรรมในพุทธศาสนาแล้ว พุทธศาสนาเป็นศาสนาสากลนิยม ไม่มีแบ่งชั้นวรรณะ กลับจะสามารถรวบรวมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกราษฎรอันเป็นวรรณะต่างๆผนึกกันเป็นกำลังมหาศาลสามารถหยุดยั้งคลื่นอิสลามซึ่งบุกทลวงเข้าอินเดียได้ อันนี้เราจะเห็นว่าเป็นความบกพร่องของพวกชนชั้นปกครองในอินเดียซึ่งเรียกกันว่าเจ้าราชบุตร ที่ตีความพุทธศาสนาผิดแล้วก็ยกย่องศาสนาฮินดูโดยถือว่าฮินดูนั้นเป็นการส่งเสริมชาตินิยม สามารถที่จะรวบรวมกำลังชนชั้นปกครองที่เป็นกษัตริย์ด้วยกันกอบกู้เอกราชของประเทศชาติให้พ้นภัย ความก็ปรากฏว่า ในระยะเริ่มแรก บรรดาเจ้าฮินดูทั้งหลายที่ปกครองแคว้นต่างๆในอินเดียตอนเหนือ ก็ยังสามารถจะผนึกกำลังกันได้อยู่หรอก ในการที่จะตรึงกำลังพวกอิสลามให้ชงักไปได้หลายศตวรรษอยู่ แต่ความเนื่องจากความแตกสามัคคีในพวกกษัตริย์ครองนครต่างๆเหล่านี้ ยุยงส่งเสริมให้แตกสามัคคีกัน ในที่สุด ก็ไปเรียกภัยต่างด้าวท้าวต่างแดนให้เข้าช่วย ช่วยรบพวกเดียวกัน กองทัพอิสลาม จึงได้คืบคลานเข้าครองอินเดียทีละรัฐ ทีละเมือง เป็นไปอย่างนี้ จนกระทั่งถืงพุทธศตวรรษที่ 17 ลุ่มแม่น้ำคงคาทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกอิสลาม

          ในระยะดังกล่าวนี้ โฉมหน้าของพุทธศาสนาอับรัศมีไปหมดแล้ว คือว่าเมื่อกองทัพภัยต่างด้าวท้าวต่างแดนบุกเข้ามาถึง ก็รื้อวัดวาอารามฆ่าฟันภิกษุสงฆ์พระพุทธรูปเทวรูปไม่ว่าพราหมณ์ว่าพุทธถูกทำลายหมด เมื่อเป็นเช่นนี้คณะสงฆ์ก็หอบหิ้วคัมภีร์หนีภัยกัน หนีภัยไหลบ่ามากันที่ แคว้นมคธ มคธในระหว่าง พ.ศ.1200-1700 เป็นดินแดนที่ให้ความปกปักษ์รักษาแก่พุทธบริษัท ชิ้นสุดท้าย เป็นดินแดนฝืนสุดท้าย ที่พุทธศาสนายังมีชีวิตอยู่ได้ในดินแดนนี้

          ดินแดนส่วนใหญ่ในอินเดียเหนือ ในสินธุเทพ ในกัษมีระ คันธาระ  ปัจจาบ ราชกุตฐาน มีเสาราช ดินแดนเหล่านี้ไม่ต้องไปหาพุทธศาสนาอีกแล้ว จดหมายเหตุของนักธรรจาริกชาวจีน ที่เรียกกันว่าเฮี่ยงจังและหลวงจีนอี้จิง ที่เดินทางไปสืบพระศาสนาในอินเดีย  เมื่อ พ.ศ.1200เศษ ท่านได้บันทึกเล่าถึงความรุ่งเรืองของวัดวาอารามต่างๆในพุทธศาสนาว่า ในสินธุสถานมีวัดถึง 6000 วัด มีพระสงฆ์ถึง 20000 กว่ารูป แล้วก็มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ฝ่ายหีนยานชื่อมหาวิทยาลัยวัลภี ตั้งอยู่ในแคว้นวัลภี อันเป็นแคว้นภาคตะวันตกของอินเดีย  แคว้นนี้เป็นเมืองหน้าด่าน  เมื่อกองทัพอิสลามบุกเข้าอินเดีย เริ่มโจมตีแคว้นนี้ก่อนทีเดียว  เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยวัลภีก็ถูกไฟเผาผลาญวินาศสันตโรไป  คณะสงฆ์ในแคว้นนี้ก็ถูกบั่นชีวิตจำนวนมาก  วัดวาอารามก็ถูกรื้อถูกเผาไปหมด  คณะสงฆ์ในแคว้นนี้ก็หนีกันมาอยู่ในมคธหมด

          นับว่าเป็นโชคดีของพุทธศาสนาที่ระหว่างพ.ศ. 1200-1700  ราชวงศ์กษัตริย์อินเดียวงศ์สุดท้าย  ที่เป็นชาวพุทธชื่อว่าวงศ์ปาละ  ปฐมกษัตริย์ชื่อพระเจ้าโคปาละ  ได้ตั้งราชวงศ์นี้ขึ้นในแคว้นมคธ กับเบงกอล  ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์มีกษัตริย์หลายพระองค์ที่เป็นพุทธบริษัทฝ่ายมหายายอย่างเคร่งครัด  ได้พยายามให้ความคุ้มครองพุทธบริษัททุกๆคณะที่หนีภัยอิสลามมา  แล้วก็กษัตริย์ในวงศ์ปาละหลายพระองค์  เช่นพระเจ้าโคปาละ  พระเจ้าธรรมปาละ  พระเจ้ารามมะปาละ  พระเจ้ามหิศทปาละ  กษัตริย์เหล่านี้ได้ส่งเสริมการศึกษาของพุทธศาสนา  ยกตัวอย่างเช่น   พระเจ้าธรรมปาละ  ได้สร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งให้ชื่อว่า  มหาวิทยาลัยสงฆ์วิกรมศิลา  สร้างวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำคงคา  มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มีศาสดาจารย์ประจำ 800 ท่านด้วยกัน  มีศาสดาจารย์บรรยายวิชาอยู่ 800 คน  มีจำนวนนักศึกษาจำนวนเรือนหมื่น เป็นคู่แข่งกับนาลันทาทีเดียว  และนอกจากนี้พระเจ้ารามมาปาละยังได้สร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกแห่งหนึ่งให้ชื่อว่า ชคัททะ  มหาวิทยาลัยสงฆ์ชคัททะมีพระสงฆ์นักศึกษาประมาณ 3000กว่ารูป  ก็แปลว่าวงศ์ปาละ ได้พยายามอุ้มชูพุทธศาสนาอย่างสุดความสามารถ  ตลอดระยะ พ.ศ.1200-1700 ตั้ง 500 ปีเต็มๆ  ที่ได้ให้ความคุ้มครองต่อพุทธศาสนา

          ในยุคนี้ พุทธศาสนาได้มีขบวนการใหม่เกิดขึ้นอีกขบวนการหนึ่ง  เรียกว่านิกายมนตรยาน  นิกายมนตรยานเป็นนิกายที่งอกออกจากมหายาน  นิกายนี้ผู้เป็นต้นลัทธิได้ประกาศบอกว่า  พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร 3 ครั้ง  ครั้งแรกแสดงที่อิติปตนทรงธรรมจักรโปรดพวกหีนยาน  ครั้งที่สอง แสดงที่ภูเขาคิชกูฏทรงธรรมจักรโปรดพวกมหายาน  ครั้งที่สามเป็นครั้งสุดท้าย และเป็นขั้นวิเศษลึกซึ้งที่สุด  โปรดพวกมนตรยานที่อินเดียภาคใต้  นี่เป็นการแต่ง  อาคตะสถานว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักร 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นลัทธิมนตรยานซึ่งเป็นลัทธิของพระพุทธองค์แสดงธรรมจักรครั้งสุดท้าย  จึงเป็นลัทธิที่วิเศษสุดยิ่งกว่ามหายาน  ยิ่งกว่าหีนยาน  หีนยานเปรียบเหมือนกับชั้นปฐม  มหายานเหมือนชั้นมัธยม  ส่วนมนตรยานชั้นอุดมศึกษา ชั้นมหาวิทยาลัย

          ความจริงมนตรยานชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นลัทธิมนตรถือเวทมนต์คาถาอาคมเป็นสัมคัญ  ในข้อวัตรปฏิบัติส่วนใหญ่ก็บัญญัติเรื่องเวทมนต์คาถาอาคมปลุมเศกพระเครื่องรางของขลัง  ลงผ้าปะเจียด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม  มีกำเนิดจากมนตรยานทั้งนั้น  อาจารย์ในมนตรยานนั้นวันๆไม่ต้องทำอะไรหรอก  นั่งเป็นอาจารย์ขลังคอยลงกระหม่อมให้เขา  คอยปลุกเสกทำน้ำมูกน้ำมนต์รดคน  เป็นหน้าที่ แล้วคาถา มนต์แต่ละบท แต่ละบท มีอภินิหารพิลึกกึกกือ  เช่นว่าใครจะทำบาปหนาสักเพียงไหน  เพียงแต่บ่นนามคาถาบทนั้น  บาปกรรมที่ทำมากีแสนโกฏกัป  แทงสูญไปเลย  ยกเลิกหมด  แล้วแม้คนที่ไม่เคย  สวดมนต์สวดพรในลัทธิมนตรยานมาก่อนเลย  ตายไปตกนรก ทำบาปกรรมแล้วตกนรก  ถ้าญาติพี่น้องที่มีชีวิตอยู่จะช่วยเหลือ  เอาคาถาบทหนึ่งไปเสกทราย  เอาทรายนี้ไปเกลี่ยบนหลุดฝังศพ  แค่นี้ วิญญาณคนที่ตกนรกนะ ขึ้นสวรรค์ทันที  โดยที่คนๆนั้นไม่ต้องประกอบกรรมดีอะไรทั้งสิ้น  อาศัยคนอื่นเขาเสกทรายวิเศษไปโปรยที่บริเวณหลุมฝังศพ  คาถาอาคมเสกไปโปรยไว้  แล้วก็ สามารถพลิกนรกไปสวรรค์ได้  นี่เป็นลักษณะของมนตรยาน

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
          มนตรยานเป็นอย่างนี้ ชื่อก็บอกแล้วลัทธิเวทมนต์  ถือเรื่องเวทมนต์เป็นสำคัญ  เพราะฉะนั้นคาถาอาคมต่างๆในทางไสยศาสตร์ในเมืองไทยเรานับถือกัน  ของเดิมก็มาจากมนตรยาน  พุทธศาสนามนตรยานเคยแพร่มาถึงเมืองไทยในสมัยศรีวิชัย  เราเคยนับถือมนตรยานมาก่อน  ก่อนหน้าที่จะนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์  เคยนับถือมาก่อน  เพราะฉะนั้นพิธีพุทธาภิเษก เวทมนต์คาถาอาคมที่เราประพฤติกันบางส่วนทุกวันนี้  ก็เป็นของจำลองแบบมาจากนิกายนี้แหละ  แต่ว่าเราไม่รู้สึกเพราะว่า  นิกายนี้สูญไปจากเมืองไทยตั้งพันกว่าปีแล้ว  เราจึงไม่รู้สึกว่าเป็นมนตรยาน

          นอกจากนี้แล้วมนตรยานเขายังนับถือพระพุทธเจ้า เรียกพระอาทิพุทธ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปฐม  พระอาทิพุทธบอกเป็นผู้สร้างโลก ทำนองพระเจ้าของฮินดูของคริสต์  คือบอกว่าเป็นผู้สร้างโลกเหมือนกัน แล้วก็พระอาทิพุทธอวตารแบ่งภาคออกมาเป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าบ้าง   เป็นพระกาศปพุทธเจ้าบ้าง  เป็นพระโกนาคมพุทธเจ้าบ้าง  พระพุทธเจ้าต่างๆตั้งมากมายหลายพระองค์นะ  เป็นภาคที่แบ่งออกมาจากพระอาทิพุทธ เพราะฉะนั้นพระอาทิพุทธจึงเป็นบรมพุทธะองค์เอกของโลก  เป็นผู้รังสฤตโลก เพราะฉะนั้นสรรพสัตว์ต่างๆออกมาจากพระองค์หมด  เป็นส่วนหนึ่งของพระองค์  การเข้านิพพานก็คือการรวมตัว  อาตมันของเราเข้าไปในองค์อาทิพุทธ  คือนิพพานในลัทธิมนตรยาน  อธิบายแบบนี้

          เมื่ออาทินี้สอนอย่างนี้ มนตรยานต่อมาก็แบ่งเป็นอีก 2 สาขา สาขาหนึ่งเรียกว่าพวกวามจารี  นิกายวามจารี  อีกสาขาหนึ่งเรียกนิกายทักศินาจารี แบ่งเป็น2 สาขา  นิกายทักศินาจารี ภิกษุในนิกายมนตรยานยังประพฤติพรหมจรรย์  ยังศึกษาพระปริยัตติธรรมในฝ่ายมหายานอยู่  ยังถือศีลถือวินัยอยู่  แต่ว่าเอาคาถาอาคมมาแทรก ประพฤติตัวแบบหลวงพ่อหันขันในเมืองเรานี่แหละ เพื่อจะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยังถือวินัยปาติโมกข์เป็นสำคัญอยู่  นี่เป็นฝ่ายนิกายทักษินาจารี  ส่วนนิกายวามจารีนั้นตรงกันข้าม  เลื่อนเปื้อนทะเหล่ทะไหลออกไป จากกระทั่งเกิดเป็นสัทธรรมปฏิรูป นิกายวามจารีนั้น  บัญญัติให้พระมีเมียได้ สะดวกที่สุดแล้วเรียกว่าสิทธ  กินเหล้าก็ได้  กินเนื้อก็ได้ เนื้อสรรพัด เอาหัวกะโหลกผีเป็นบาตร  แล้วก็มีภาษาลึกลับรู้โดยเฉพาะในพวกตัว  เรียกว่าสนธยาภาษา คือภาษาสนธยาซึ่งต้องแปลความหมายกัน  นี่เป็นนิกายวามจารี  เลื่อนเปื้อนแล้ว เลอะเทอะออกไปแล้ว แล้วก็บรรดาภิกษุในนิกายวามจารีไม่อยู่วัดแล้ว  อยู่ป่าช้า นอนกับผี กระดูกผี คือมีปฏิปทาเป็นหมอผีดีๆนี่เอง  ลักษณะเป็นพ่อมดหมอผี  แล้วก็ไว้ผมยาวไม่ปลงผม  ไว้เล็บยาว  ไว้ผมยาว  เอากะโหลกผีเป็นบาตร  แล้วพูดภาษาลี้ลับ  แล้วก็สอนในชาวบ้านถวายลูกสาวเป็นบุญแรง  ใครถวายลูกสาวเป็นเมียท่านสิทธาจารย์เหล่านี้แล้วก็  เป็นมหากุศลเอกอุดมทีเดียว สอนอย่างนั้น

          พระเจ้าแผ่นดินในแคว้นมคธในวงศ์ปาละนี้แหละยังงมงายเลย อุตส่าห์ถวายราชธิดา ให้เป็นเมียท่านสิทธาจารย์ในนิกายวามจารี  นี่เป็นการเลื่อนเปื้อน ของพุทธศาสนาเพิ่งเริ่มเสื่อม  คือพุทธศาสนาจะเสื่อม นอกจากภัยข้างนอก จะมารุกรานแล้ว ไอ้ภายในก็เสื่อมเป็นหนอนบ่อนไส้ออกมา  อย่างพวกเกิดนิกายวามจารีเกิดขึ้น  นี่เป็นหนอนบ่อนไส้  ทำให้คล้ายศัพท์ที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่สามารถทำลายพุทธศาสนาได้ แต่ว่าพุทธบริษัทสี่นี่แหละ  ปฏิบัติไม่สมควรแก่ธรรมจะเป็นผู้ทำลาย  แล้วก็พวกนี้ทำลายจริงๆ พวกวามจารีเนี๊ยะ เรื่องทำให้เกิดหนอนบ่อนไส้ พุทธศาสนาภายในก็เริ่มเฟะฟ่อนออกมา  ตรงกันกับในขณะที่พุทธศาสนาเกิดลัทธิมนตรยานอันเป็นหยุดส่วนนั้น  พวกพราหมณ์เขาเกิดนักปราชญ์ดีๆชึ้นมาฟื้นฟูศาสนา

          พวกพราหมณ์เกิดนักปราชญ์ดีๆ  นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงของพราหมณ์เช่นว่าสังกราจารย์  สังกรสวามี  รามฤธาจารย์  มาธยาจารย์  พวกคณาจารย์พราหมณ์ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณโด่งดังนี้  มากวดขันเรื่องปฏิปทา  ความประพฤติพรตเคร่งครัด ความรู้ดีในการเผยแพร่ปาฐกถา สามารถดึงดูดประชาชนหันมาเลื่อมใสได้ แล้วมาพิจารณาพระสงฆ์ในพุทธศาสนาครั้งนั้นซิทำอะไรบ้าง   ไม่ทำอะไร เสกเป่าเวทมนต์ของขลัง  ทำพิธีพุทธาภิเษกแบกเครื่องรางตะพึดตะผือ  มีการตั้งภูตวิเศษต่างๆ  นับถือแต่ว่า ในมหาวิทยาลัยนาลันทานะ  บอกว่ามีเทวรูปเป็นโพธิสัตว์องค์หนึ่งขลังนักหนาทีเดียว  เรียกว่าเทพีดารา ขลังนัก มีพิธีบวงสรวงบูชายัญ  ยันเลย แล้วก็แจกผ้าประเจียดลงกระหม่อมกันมด  เป็นพิธีกรรมใหญ่โต  กองทัพอิสลามก็บุกเข้ามา  อิสลามไม่ฟัง  อีล่าค่าอีลม ใครเป็นหลวงพ่อขลังหรือไม่ขลังข้าไม่ฟังละ  ข้าจะมาวิวัฒน์พวกเองค่าเดียวละ  มาถึงก็มารื้อพุทธรูปทิ้ง  รื้อโบสถ์ทิ้ง  เพราะฉะนั้น กองทัพ  อิสลามที่มีชื่อเสียงที่สุดนั้นชื่อว่า   โมหะหมัด อิสลามอัลอัตข่าน  โมหะหมัด อิสลามอัลอัตข่านยกกองทัพมา   ยกกองทัพบุกอินเดียถึง 17 ครั้ง  ทุกๆครั้งกวาดเอาทรัพย์สมบัติ กับเชลยไปขายเป็นทาส

          การบุกอินเดียครั้งมโหฬารที่มีชื่อเสียง ติดในประวัติศาสตร์ที่สุดมีอยู่ 2 ครั้ง  ครั้งหนึ่งบุกเมืองตะนาว หรือกัลยาบุศภ  ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งอารยะธรรม วัฒนธรรมของพุทธศาสนา  อยู่ในลุ่มแม่น้ำคงคา  ในท่ามกลางของอินเดียทีเดียว  เป็นเมืองที่พระเจ้าหรรษวรรธนใช้เป็นราชธานีมาก่อน  การบุกเมืองนี้ โมหะหมัด แม่ทัพอิสลามคนนี้  กวาดเอาเชลยไป 50000คน ไปขายเป็นทาสในอัฟฆานคนละ 2 รูปี  เชลย 50000 ขายคนละ 2 รูปี  ชายหญิง ขายทอดตลาด 2 รูปี อีกครั้งหนึ่งบุกโบสถ์พระศิวะที่โสมนาท บุกโบสถ์ของศาสนาพราหมณ์  โสมนาทนั้นเป็นโบสถ์ทองคำ ศิวะเทพ  แล้วก็มีปฏิมาพระศิวะองค์มหึมาหล่อด้วยทองคำ  องค์ใหญ่ตั้งอยู่  ศูนย์กลางของศาสนาฮินดูในโสมนาทในแคว้นปุราษฎร์  แม่ทัพ โมหะหมัดคนนี้ได้ยกกองทัพบุกแคว้นเมืองโสมนาท  พวกพราหมณ์ตั้งหลายพันคนแทนที่จะสู้รบหนีเข้าไปในเทวลัย  แล้วปิดเทวลัยวิงวอนจะรอให้เกิดอภินิหารมาช่วย  วิงวอนให้พระศิวะแสดงอภินิหารมาช่วยคุ้มครอง  เห็นพระศิวะเห็นจะสู้  พวกอิสลามไม่ได้แน่แล้ว เพราะวิงวอนเท่าไรไม่เคยมีปาฏิหาริย์ออกมา  หนักเข้าก็ส่งผู้แทนบอกว่าของถ่าย  ถ่ายด้วยเพชรนิลจินดา  ทองคำทั้งหมดที่มีอยู่ในโบสถ์นี้  ของถ่ายโบส์อย่าให้  กองทัพอิสลามทำลายโบสถ์นี้เลย  โมหะหมัดบอกว่าฉันรับสินบนของแกไม่ได้  เพราะฉันรับสินบนแก่แล้ว ฉันตายไปแล้วไม่มีหน้าพบพระอาล่าบนสวรรค์  เพราะฉะนั้นต้องรื้อโบสถ์นี้  ต้องทำลาย  ก็ออกคำสั่งให้  กองทัพจัดการรื้อเลย  โสมนาท  โค่นองค์รูปพระศิวะทองคำลงมา  แล้วก็ใช้อูฐ 20000ตัวบรรทุกเพชรนิลจินดากับทองคำกับไปอัฟฆาน  อูฐถึง 20000 ตัวนะ  อูฐสองหมื่นตัว บรรทุกทรัพย์สินของวิหารโสมนาทที่ปล้นได้กลับไปอัฟฆาน  เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อราวๆพ.ศ. 1500เศษ  เมืองกัลยาอุปช หรือเมืองตะนาว ที่เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียถูกทำลายด้วยแม่ทัพคนนี้  ราบพนาสูรเป็นหน้ากลองเลย  ไม่มีเหลือหรอเลย

          คราวนี้ในขณะที่ภัยอิสลามกำลังรุกล้อม  เข้ามา รัดตัวเข้ามานะ  แคว้นมคธทำอะไรอยู่บรรดาหลวงพ่อขลังเสกคาถา  บอกว่าจะใช้คาถานี่ป้องกันไม่ให้อิสลามเข้ามาบุก  เสกคาถาไล่อิสลาม ไล่กองทัพอิสลาม  ปลุกเสกลงเลข ลงยันต์ ลงไฟ ร่ายคาถาของขลังใหญ่ทีเดียว  เพราะเจ้าแผ่นดินเมืองปาละก็เชื่อถือ  แทนที่จะตระเตรียมกองทัพ  คอยต่อสู้หรือเรียกร้องความสามัคคีของประชาชาติ  ในการธำรงไว้ซึ่งศาสนาและความเป็นเอกราชของประเทศชาติ  กลับไปเชื่อบรรดาพวกขลังๆพวกนี้  กลับไปเชื่อนิมนต์ให้ทำพิธีเสกเป่า  ว่าคาถาอาคมร่ายเวทขับไล่กองทัพข้าศึก  ทำไปทำมาในขณะที่บรรดาสิทธทั้งหลายที่ขลัง  ในนาลันทา  วิกรมศิลา  ชคัททะ และบรรดาวัดต่างๆในมคธครั้งนั้น  กำลังร่ายเวทอาคมขลังอยู่  กองทัพพวกนี้บุกเข้ามาถึงตัวเลย  ใช้ทหารเพียง 200 คนเท่านั้นเอง  ไม่ใช่กองทัพใหญ่โตอะไร  200 คนผู้เป็นแม่ทัพชื่อ สักติยาซินยี่ ยกกองทัพ 200 บุกทลวงเข้าราชคฤห์  เข้าแคว้นวิหาร  เอาไฟเผานาลันทาราพนาสูร  เอาไฟเผาวิกรมศิลาราพนาสูร  เอาไฟเผาชคัททะราพนาสูร หมด แล้วก็ คณะสงฆ์ที่ยังมีชีวิตเหลือหรออยู่ก็แตกกระเจอะกระเจิงหนี จีวรปลิ้ววุ่นจะหนีไปไหนละตอนนี้ ไม่มีทางไปแล้วหนีก็ลงทะเลซีตอนนี้  หนีข้ามเขาหิมาลัยเข้าใปในทิเบต ไอ้ที่หนีไม่ทันก็ถูกประหารชีวิตตายราบ พุทธศาสนาจึงถูกถอนรากถอนโคนในยุคนี้เอง  ยุคนี้เกิดขึ้นในราวพศ. 1700 เป็นยุคสุดท้ายที่พุทธศาสนาในอินเดียถูกถอนรากถอนโคน  หมดแล้ว พุทธศาสนามีอายุ1700ปี ซึ่งสถิตเสถียรอยู่ในอินเดีย มีบทบาทจรรโลงใจชาวอินเดีย เป็นเวลาถึง 17 ศตวรรษด้วยกัน ก็มีอันเป็นวิบัติด้วยประการฉะนี้   เปรียบเหมือนกับต้นไม้ใหญ่  ก่อนที่จะวิบัติต้นไม้รากมันเน่าเสียก่อน แก่นมัน ผุเสียก่อนแล้ว  คือชาวพุทธทำลายตัวเองเสียก่อนแล้ว  แต่ต้นไม้ต้นนี้ก็ยังอยู่ได้  กองทัพต่างด้าวท้าวต่างแดนต่างศาสนาที่บุกเข้ามาทำลายเหมือนพายุ ถ้าพายุอันนี้ยังไม่มา ต้นไม้ต้นนี้ยังไม่ล้ม  เพราะมันใหญ่  รากมันหยั่งลึกเหลือเกิน  แต่เนื่องจากรากมันเน่าแล้ว แก่นมันผุแล้ว  พอเจอพายุโครมเดียวก็เลย  ถอนรากถอนโคนพังเลยทีเดียว  หมดวายปาง พุทธศาสนาจึง  ค่อยๆอันตรทานลืมเลือนไปจากความทรงจำของชาวอินเดียทีละเล็ก ทีละน้อย

          มีปัญหาว่าก็ทำไมเล่า  ศาสนาพราหมณ์ก็ได้รับภัยเช่นเดียวกับพุทธศาสนานี่  ทำไมศาสนาพราหมณ์จึงธำรงอยู่ได้  ทำไมพุทธศาสนาจึงธำรงตัวอยู่ไม่ได้เพราะอะไร  ปัญหาอันนี้แหละนักประวัติศาสตร์ชอบขบคิดกันนักทีเดียว เพราะอะไร  ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่า พุทธศาสนานั้นขึ้นอยู่กับคณะสงฆ์นะ  พระสงฆ์เป็นผู้มีหน้าที่  ธำรงศาสนาโดยตรง  เป็นสถาบันอันหนึ่ง  บรรดาชาวบ้านที่นับถือพุทธที่จะหาเป็นผู้มีความรู้ศาสนาพุทธที่แท้จริงมีจำนวนน้อย  เพราะส่วนมากต้องสาระวนกับการครองชีพ  ไม่มีเวลาที่จะมาศึกษาคัมภีร์อันลึกซึ้งในศาสนาตัวเท่าไหร่  ส่วนมากประชาชนก็นับถือแต่ที่ว่า นับถือตามบรรพบุรุษต่อๆกันมา

  เพราะฉะนั้นคณะสงฆ์จึงเป็นสายเลือดของพุทธศาสนา  ศัตรูต่างศาสนาที่จะมาทำลายเขาจับ สายเลือดเส้นนี้ถูกว่าถ้าทำลายคณะสงฆ์เสียแล้ว  ศาสนาพุทธอยู่ไม่ได้  ชาวบ้านไม่รู้เรื่องศาสนาอะไรลึกซึ้งเลย  ศาสนาพุทธอยู่ไม่ได้  ไม่รู้  พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีคัมภีร์  มากมายก่ายกอง  ไตรปิฎกอรรถกถาฎีกามากมาย  ผมถึงได้บอกว่า แม้ชีวิตของเราชีวิตเดียวก็ยังศึกษาไม่จบ ลำพังคัมภีร์ในพุทธศาสนา เพราะ เป็นศาสนาของปัญญาชน  เมื่อเป็นศาสนาของปัญญาชนแล้ว  ก็มีไอ้เรื่องที่จะให้เรียนสติปัญญามากมาย  ไม่ใช่ศาสนาง่ายๆที่มีหนังสือ 2 คุ้งก็จบ  ไอ้นี้ไม่ใช่ศาสนาปัญญาชน  พูดสองคำก็หมดเรื่องแล้ว ภักดี เชื่อมั่น  อย่าสงสัย จบหลักศาสนา  ของพุทธไม่มีคำแย่ๆแบบนี้  มากมายศึกษาตลอดชีวิตยังศึกษาไม่รู้จักจบ นี่พูดถึงคันธะ ไม่มีการศึกษาในแง่ปฏิบัตินะ ในแง่คันธะธุระ  ตลอดชีวิตก็ศึกษาไม่จบเพียงแต่นิกายเถรวาทนิกายเดียวตลอดชีวิตศึกษาไม่จบ  อย่าว่านิกายมหายาน นิกายอื่นๆตั้งหลายสิบนิกายเลย  หรือเกิดมาใหม่อีกตั้งหลายๆชาติกว่าจะศึกษาจบ  เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพระก็คือว่าเรียน  ในแง่คันธะธุระ  แล้วเอาความรู้มาเผยแพร่กับชาวบ้าน  แต่เมื่อพระเองทำตัวเป็นผู้เสื่อมโทรมเอง ตั้งแต่ถือลัทธิมนตรยานขึ้นมาแล้ว  เลิกศึกษาแล้วหันมาเป็นอาจารย์ขลังกันดีกว่า  ความรู้ของพระก็ค่อยๆน้อยลงๆ  อาจารย์ขลังก็เพิ่มมากขึ้น มากขึ้น

  ความรู้เรื่องทางปริยัติที่จะเผยแพร่  ที่จะชี้แจงชาวบ้านให้เข้าใจธรรมะถูกต้องค่อยๆหมดไปๆ เมื่อหมดไป หมดไปอย่างนี้  เพราะกองทัพต่างศาสนา ภัยต่างด้าวบุกเข้ามาถึง  ห้ามไม่ให้พระสงฆ์บวช  ใครบวชฆ่า  เห็นเหตุคณะสงฆ์บวชไม่ได้เสร็จ  พอชั่ว2-3ชั่วคนแรก  ชาวบ้านที่ปู่ย่าตายายยังมีชีวิตอยู่ก็ยังเป็นชาวพุทธเคร่งครัดกันอยู่ ถึงแม้จะถูกบังคับให้ถือต่างศาสนาแต่จิตใจก็ยังเป็นชาวพุทธอยู่  ยังแอบนับถือเงียบๆในใจ  แต่พอมาถึง9-4ชั่วคน หมดแล้ว เพราะไม่มีพระสงฆ์  ไม่มีผู้สั่งสอนเพื่อเผยแพร่หลักธรรม มีแต่คัมภีร์อ่านก็ไม่เข้าใจ ความหมายอันลึกซึ้งอ่านไม่เข้าใจ แล้วคัมภีร์ในสมัยก่อนก็ไม่แพร่หลายอย่างเดี๋ยวนี้พิมพ์ทีตั้งพันเล่มหมื่นเล่ม คัมภีร์พระไตรปิฎกในพุทธศาสนาไม่เคยเก็บตามบ้านของราษฎรเลย ตามบ้านของคนเลย เพราะมีไม่แพร่หลาย  เพราะวัดที่หาพระไตรปิฎกครบชุดยังหาได้ยากเลย  ต้องเป็นวัดใหญ่ๆ  วัดเล็กก็หาพระไตรปิฎกไม่ได้  ต้องอาศัยคัดลอก ลำบากกันเหลือเกิน  วัดถูกทำลาย คัมภีร์ก็วิบัติ แล้วพระสงฆ์ถูกทำลาย  ผู้ถ่ายทอดความรู้วิบัติ  เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านที่ยังเป็นชาวพุทธอยู่  ก็สามารถนับถือพุทธได้เพียงชั่วระยะชีวิตของปู่ย่าตายาย  2-3ชั่วคน  พอชั่วที่ 3-4 ลืมพุทธศาสนาแล้ว กลืนตัวเองเป็นฮินดูไป  หรือมิฉะนั้นก็เป็นอิสลามไป  พุทธศาสนาจึงหมดชีพจากอินเดียด้วยประการฉะนี้

          ในศาสนาพราหมณ์ทำไมเขาไม่เป็น  ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีมาก่อนพุทธศาสนา  ชาวบ้านส่วนใหญ่ในสมัยนี้  ในพุทธกาลเอง ศาสนาพราหณ์ก็ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด  ไม่มีศาสนาใหม่ศาสนาใดในอินเดียที่ทำลายพราหมณ์ได้  เพราะว่าศาสนาพราหมณ์ปรับตัวเองเป็นวัฒนธรรม ของชาวอินเดียส่วนใหญ่แล้ว  แล้วพวกพราหมณ์เขาไม่ใช่อาศัยนักบวชอย่างพุทธศาสนา  ความรู้พวกพราหมณ์นะ  พราหมณ์คฤหัสถ์มีเยอะแยะ  พราหมณ์คฤหัสถ์ที่ตั้งครอบครัวทำมาหากิน  พวกพรามหณ์คฤหัสถ์เหล่านี้เขาก็เป็นผู้ชำนาญพระเวท  คือฤคเวทไว้ แล้วก็ความรู้เขาก็เผยแพร่ในหมู่วงศ์สกุล คือว่าถ้าถูกทางบ้านเมืองห้ามไม่ให้เผยแพร่ในที่สาธารณะเขาก็เผยแพร่ในหมู่ลูกหลานเขา จากพ่อไปสู่ลูก จากลูกไปสู่หลาน  เขาสืบสายสกุลกันแบบนี้  พราหมณ์คฤหัสถ์เขามีลูกมีเมียกันได้  ส่วนพราหมณ์ที่เป็นนักบวชถึงแม้จะถูกทำลายไปหมดก็ไม่แปลกเขาก็เปลี่ยนเพศเป็นพรามหณ์คฤหัสถ์ได้  ไม่มีเพศที่แตกต่างจากสามัญชนเท่าไหร่

  ตรงกันข้ามกับพุทธศาสนา  เพศเป็นพระนี่เป็นจุดเด่นในหมู่สายตาของชาวบ้าน ที่จะเห็นว่าอ่อนี่เป็นพระนี่เป็นคฤหัสถ์  พราหมณ์ ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น พราหมณ์คฤหัสถ์ก็แต่งตัว นุ่งโจงกะเบน ห่มสไบเฉียงเกล้ามวย พราหมณ์นักบวชก็นุ่งแบบนี้  เหมือนกันหมด  เพราะฉะนั้นก็ปะปนกับราษฎร์ ราษฎร์เป็นพราหมณ์  พราหมณ์เป็นราษฎร์ ชาวบ้านเป็นพราหมณ์เป็นพราหมณ์  พราหมณ์เป็นชาวบ้าน ศาสนาพราหมณ์จึงรักษาอยู่ได้อย่างนี้  แต่พุทธศาสนาไม่อย่างนั้น ชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ไม่มีพระไตรปิฎก ไม่มีการศึกษาพุทธ ชาวอินเดียทุกคนไม่รู้จักพระพุทธองค์คือใคร  ทั้งๆที่ครั้งหนึ่งศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย  ตลอดระยะถึง 8 ศตวรรษเต็มๆ ไม่มีใครรู้ว่า พุทธคือใคร  อาจรู้กันบ้างก็เป็นศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งตายไปแล้วจากความทรงจำเท่านั้นเอง จนกระทั่งสมัยอังกฤษมาปกครองอินเดีย

          อังกฤษได้สร้างบุญคุณแก่ชาวพุทธในการฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่  คนโบราณคดีชาวอังกฤษ  คือว่านายพันเอกคนหนึ่ง  เป็นนักโบราณคดีชอบขุดคุ้ยโบราณวัตถุในพุทธศาสนา  นายพันเอกคนนี้ไปขุดลุมพินีวัน  ขุดราชคฤห์  ขุดพุทธคยา  แล้วก็ขุดที่สารนาถ แล้วเอามาเขียนรายงานทางโบราณคดีทางประวัติศาสตร์  ชาวอินเดียก็เกิดการตื่นตัว  ว่าโอ้ครั้งหนึ่งศาสนาพุทธเคยเป็น  ศาสนาที่ใหญ่โตในอินเดียมาแล้ว  เหตุการณ์ฟื้นฟูศาสนาได้เกิดขึ้น  เมื่อหนึ่งศตวรรษมาแล้วในอินเดีย

มีข้อที่น่าสังเกตอยู่อันหนึ่งคือว่า พร้อมกับการเสื่อมสูญของพุทธศาสนา  เอกราชของอินเดียก็วิบัติ  อันนี้ประหลาดมาก  แล้วพร้อมกับการฟื้นฟูพุทธศาสนานั้นเอกราชของอินเดียก็กลับคืนคงขึ้นมา  อันนี้ประหลาดมาก  ประหนึ่งจะเป็นนิมิต อย่างอัศจรรย์   คืนหลังจากอินเดียทิ้งพุทธศาสนาไปแล้ว  อินเดียเข้าสู่ยุคมืด เกิดกลียุค รบพุ่งกันเอง  กระทั่งเสียเอกราชให้อังกฤษไป   ระยะนั้นตั้งแต่ พ.ศ. 1700 ถึง พ.ศ. 2200 ระยะนี้เป็นระยะที่ว่าราชวงศ์  อิสลามตั้งวงศ์ปกครองอินเดีย แล้วมีกษัตริย์อินเดียที่เป็นอิสลาม  คือวงศ์โมกุล  ตั้งเมืองหลวงที่เดลฮี  ภายในอินเดียเกิดความปั่นป่วนเกิดการรบพุ่งระหว่างฮินดูกับอิสลาม  อิสลามกับสิกซ์   เกิดการรบพุ่งสงครามศาสนาก็เกิด  พวกฮินดูก็พยายามต่อต้านกระแสอิสลาม  สงครามที่มีชื่อเสียงระหว่างฮินดูกับอิสลามคือ การรบระหว่างพระเจ้าออรังเสส กษัตริย์อิสลามแห่งโมกุล  กับพระเจ้าติรกีกษัตริย์ฮินดูแห่งแคว้นมหาราษฎร์ในอินเดียภาคใต้  เป็นการรบอย่างทุ่มเทกำลังมหาศาล  ระหว่างสองศาสนานี้   แล้วระหว่างพระเจ้าออรังเสสกับพวกคริสต์  ก็เกิดรบพุ่งกันอย่างมหาศาลขนาดที่เอาเลือดทาแผ่นดินทีเดียว  เกิดการทำสงครามศาสนา  เมื่อเกิดความแตกสามัคคี

สงครามภายในอย่างนี้  บริษัทอินเดียตะวันออกอังกฤษตั้งขึ้น ก็มาตั้งแสวงหาเมืองขึ้นในบริฝั่งทะเล แล้วค่อยๆ คืบคลานเข้า อมเอซียน้อย  เจ้าแขกรบกันสององค์ อังกฤษถึงหางองค์หนึ่งรบกับอีกองค์หนึ่งชนะ  เมื่อชนะแล้วก็เรียกอภิสิทธิ์  ซึ่งก็เรียกค่าตอบแทนเป็นที่ดิน    แล้วก็สร้างป้อมขึ้น  ถ้าไม่ให้ก็รบกับเจ้าองค์นั้น  เพราะฉะนั้น เจ้าแขกรบกันอังกฤษซึ่งเป็นมือที่สาม  ก็ได้สวาปามแผ่นดินเข้ามาเรื่อย หนักเข้ามันฮุบทั้งประเทศเลย  เป็นเมืองขึ้นอังกฤษทั้งประเทศ

อินเดียใหญ่กว่าอังกฤษตั้ง 20 กว่าเท่า  แต่เสร็จแล้วกลายเป็นเมืองขึ้นอยู่ในใต้ปกครองของอังกฤษ  อยู่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ 300 ปีเต็มๆ สามศตวรรษที่อังกฤษปกครองอินเดีย  ตั้งแต่ปลายอยุธยาของเรานี่แหละเรื่อยมา  เพิ่งจะได้เอกราชเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิก แล้วก่อนหน้าจะได้เอกราช  ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 คือเมื่อ หนึ่งศตวรรษที่แล้วมา ได้เกิดขบวนการ 2 ขบวนการในอินเดีย  ขบวนการเป็นขบวนการกู้อิสรภาพ  ซึ่งตั้งขึ้นโดยมหาตมะคานธี  อีกขบวนการหนึ่งเป็นขบวนการฟื้นฟูพุทธศาสนาซึ่งตั้งขึ้นโดยท่านอนาถริกะธรรมปาละ  ชาวลังกา ที่เข้าไปใช้หนี้บุญคุณกับอินเดีย  คือไปซื้อศาสนาพุทธในอินเดีย  สองขบวนการนี้ทำงานราวกับนัดกัน  แต่สุดแล้วเมื่ออินเดียได้เอกราช ศาสนาพุทธกลับคืนชีพมาใหม่  อันนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อพุทธศาสนาเสื่อมไป  เอกราชของชาติก็วิบัติ  เมื่อพุทธศาสนากลับคืนมา เอกราชของชาติกลับฟื้นฟู

การที่ท่านอนาคาริกธรรมปาละมาฟื้นศาสนาพุทธในอินเดียสำเร็จนั้น อาศัยแรงกระตุ้นจากหลายด้านด้วยกัน  คือว่าพวกกรมโบราณคดีอังกฤษได้ขุดวัดโบราณในพุทธศาสนาจากใต้พื้นดินขึ้นมา ประกาศให้โลกรู้ว่าศาสนาพุทธเคยมีฐานะสำคัญอย่างไรในอินเดีย  อันนี้ทำให้ชาวอินเดียที่เป็นจักรของประเทศเกิดการตื่นตัว  อยากจะศึกษาความเป็นมาของศาสนานี้  เมื่อศึกษาไปแล้วก็เกิดความจับจิตจับใจในหลักธรรมคำสั่งสอน  หันมานับถือพุทธศาสนา แต่ว่าที่หันมานับถือพุทธศาสนานั้นมีเป็นส่วนน้อย  เพราะโดยมาเป็นพวกที่ เชิงปัญญาชนที่ท่านนั้นเห็นคุณค่าของศาสนาพุทธ  ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพุทธศาสนาคืออะไร ยังไม่รู้  ไม่รู้เป็นอะไร  อันนี้ก็ต้องรอเวลา รอกระทั่งท่านธรรมปาละมาตั้งสมาคมมหาโพธิขึ้นที่กัลกัตตาเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธเป็นครั้งแรก  การที่ท่านธรรมปาละมาตั้งสมาคมมหาโพธิที่กัลกัตตาขึ้นนั้น  ท่านก็ต้องเสียสละอย่างมหาศาล

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด

:46: :46: :46:

สาธุ สาธุ สาธุ :07:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2014, 12:28:43 pm โดย กัลยา »
ชิเน กทริยํ ทาเนน