ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาขงจื้อ  (อ่าน 2588 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปรัชญาขงจื้อ
« เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2013, 10:36:10 pm »

                   

ปรัชญาขงจื้อ

ลักษณะปรัชญาของจีน มีลักษณะบกพร่องในเรื่องโลกวิทยา และญาณวิทยา(A Theory OfKnowledge) ก็มีชนิดไม่สมบูรณ์ เมธีจีนชอบคบคิดปัญหาว่า เราจะทำอย่างไร? มากกว่าที่จะค้นคิดว่า ทำไมมันจึงเป็น? เมธีจีนไม่คิดตอบปัญหาว่าชีวิตมาแต่ไหน? ตายแล้วไปไหน? เหมือนอย่างปรัชญาอินเดียหรือปรัชญายุโรปบางกลุ่ม ปรัชญาจีน เป็นมนุษย์ภาพนิยม (Humanism) หนักไปในทางจริยศาสตร์ (Ethics) บวกการเมือง

ลัทธิ ขงจื้อ มีชื่อเรียกในจีนว่า ยู้แก ผู้นับถือลัทธิขงจื้อเรียกว่า ยู้เจี่ย ลัทธิขงจื้อมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอุดมคติของชนชาติจีนมากที่สุด พูดได้ว่าลัทธิขงจื้อคือแม่พิมพ์แห่งวัฒนธรรมจีน สำหรับตัวขงจื้อมีลักษณะการสอนและบุคลิกละม้ายกับ โสกราตีส ปรัชญาเมธีกรีกอย่างยิ่ง โสกราตีสยิ่งใหญ่ในกรีก ขงจื๊อก็แจ่มจรัสในจีน ขงจื้อเป็นผู้ไม่หยิ่งทรนงในความรู้ และพยายามค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมไม่หยุดยั้ง แม้จะเป็นครูบาอาจารย์มีคนนับถือมาก ก็ยังถ่อมตนยอมเป็นศิษย์ของผู้มีคุณวุฒิอื่นๆ ขงจื้อเป็นคนๆแรกในประวัติศาสตร์จีน ที่ตั้งวิทยาลัยสอนวิทยาการแขนงต่างๆแก่ประชาชนไม่เลือกชั้นวรรณะ โดยขอค่าเล่าเรียนเพียงเล็กน้อย สมัยนั้นวิทยาบางอย่างจะสงวนไว้เรียนเฉพาะตระกูลสูงๆ แต่ขงจื้อกลับนำมาเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป

บรรพบุรุษของขงจื้อเดิมเป็นชาวรัฐซ้อง ต่อมาเกิดความไม่สงบขึ้น สกุลนี้จึงย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ใน รัฐลู้ (หลู้) ขงจื้อเกิดก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 8 ปี แปลว่าพระพุทธเจ้าพระชนม์ 72 พรรษา ขงจื้อพึ่งจะเกิด ฐานะทางบ้านไม่ค่อยจะสู้ดี พออายุได้ 3 ขวบ บิดาได้จากไป เมื่อเขาอายุได้ 15 ปี แม้จะยากจนแต่เขาก็ตั้งใจศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมาย เมื่อขงจื้ออายุ 17 ปี มารดาก็จากไปอีก เขาแต่งงานเมื่ออายุ 19 ปี มีบุตร 1 คน ความเป็นพหูสูตรของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนเมื่ออายุ 27 ปี

ขงจื้อหวังจะเอาดีในทางราชการ จึงเข้ารับราชการในรัฐลู้ แต่ได้เพียงตำแหน่งเล็กๆซึ่งล้วนแต่ไม่เหมาะสมกับความรู้เขาแต่เขาก็ตั้งใจทำงานอย่างดีที่สุดเขาพูดว่า"ให้ฉันเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลปศุสัตว์ฉันก็จะเลี้ยงมันให้อ้วน ให้ฉันทำบัญชี ฉันก็จะตรวจตราไม่ไห้บัญชีผิดพลาด" เมื่อผิดหวังในระบบราชการเขาจึงลาออกมาประกอบอาชีพเป็นครู เมื่ออายุ 30 ปี เขาสั่งสอนศิลปศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เขารู้แก่ประชาชน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ค่าเล่าเรียนก็ไม่กำหนดตายตัว สุดแต่จะให้

อนึ่งมหาวิทยาลัยขงจื้อ เป็นมหาลัยเคลื่อนที่ ผู้ศึกษาก็ต้องติดตามขงจื้อไปตามแคว้นต่างๆ ซึ่งขงจื้อชอบเที่ยวแสดงหลักปรัชญา พร้อมกับเผยแพร่ความรู้ศิลปศาสตร์ต่างๆ เวลาขงจื้อไปใหนก็จะมีนักศึกษาติดตามเป็นกลุ่มคณะ

เมื่ออายุได้ 51 ปี เขาได้กลับมารับราชการที่รัฐลู้อีกครั้ง ประมาณ 5 ปีที่เขาเข้ามาจัดการในรัฐลู้ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก จนรัฐอื่นต้องมาดูงานเขา จนเป็นที่อิจฉาริษยา โดยเฉพาะรัฐชี้ จึงทำอุบายส่งบรรณาการมาให้ลูเตี้ยกง ทำทีแสดงความยินดี เชื่อมสัมพันธ์ เครื่องบรรณาการนอกจากมีสิ่งของ ม้าอย่างดี ยังมีนางระบำ วัยรุ่นเอ๊าะๆ 80 คนมามอบให้ เตี้ยลู้กงมกมุ่นอยู่ในรูปรส จึงมั่วสุมกับพวกนางระบำไม่สนใจคำแนะนำขงจื้อ และพวกทูตเมืองชี้ก็ยุยงให้ลู้เตี้ยกงให้ระแวงขงจื้อ

ขงจื้อจึงได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่ออายุได้ 55 ปี ขงจื้อได้พาบริวารลูกศิษย์ไปพึ่งบารมีเจ้านครอ๋วย ตอนแรกเมืองอ๋วยก็ต้อนรับอย่างดีแต่ พวกขุนนางเมืองอ๋วยมีความระแวงขงจื้อ จึงส่งคนมาคอยควบคุมติดตามตลอด ขงจื้อเมื่อเห็นว่าหมดเสรีภาพ ก็จึงพาบริวารออกจากเมืองอ๋วย เนื่องจากเป็นการเดินทางอย่างเร่งรีบ ลูกศิษย์บางคนตามไม่ทัน(จื๊อกง) จึงถามชาวบ้านว่าเห็นอาจารย์ตนไหม

"ฉันเห็นคนๆหนึ่งทางประตูด้านบูรพา รูปร่างสูง 5 เชี๊ยะ 6 ฉุ่น มีสง่าศีรษะเหมือนพระเจ้าเงี้ยว คอเหมือนนักกฏหมาย ไหล่เหมือนนักการเมือง เอวเหมือนพระเจ้าอู้ ท่าทางเขาคนๆนี้ดูกระวนกระวายเหมือนสุนัขพลัดบ้าน" จื้อกง รู้ทันทีว่าเป็นอาจารย์ จึงเดินตามไปจนพบ แล้วเล่าเรื่องดังกล่าวให้ฟัง ขงจื้อฟังแล้วหัวเราะลั่น พูดว่า "บุคลิกของคน ยึดถือเอาเป็นนิยมนิยามนักไม่ได้หรอกแต่ที่เขาว่าเหมือนสุนัขพลัดบ้านนั้นถูกต้องที่เดียว"


Red Cliff by Qiu Ying

ขงจื๊อเร่ร่อนไปยังรัฐต่างๆ บางครั้งก็ได้ต้อนรับอย่างดี แต่วิบากกรรมยังไม่สิ้น เขาถูกคนอื่นริษยา ปองร้ายมากมาย จนบางครั้งแทบเอาชีวิตไม่รอด บางที่ไม่ได้กินอาหาร จนจื้อลู้ ลูกศิษย์ถามอาจารย์ว่า "บัณฑิตต้องประสบภัยชะตากรรมถึงเพียงนี้ด้วยหรือ" ขงจื้อตอบ "ไม่ใช่บัณฑิตจะไม่ประสบภัยชะตากรรม แต่บัณฑิตประสบภัยย่อมไม่หวั่นไหว ผิดกับพาลชนเมื่อประสบภัยย่อมอาจเปลี่ยนแปลงปฏิปทาของตนได้" จื้อลู่จึงว่า" อุดมคติของท่านอาจารย์สูงส่งเกินไป ไม่ว่าไปที่ใดก็เข้ากับเขาไม่ได้ ท่านอาจารย์จะลดอุดมคติให้ตํ่าลงมาอีกหน่อยจะได้หรือไม่"

ขงจื้อตอบว่า"ชาวนาที่ดีหมั่นเพียรในการไถหว่าน ก็ไม่แน่ว่าจะได้รับผลสมบูรณ์ทุกครั้ง ศิลปินผู้สามารถผลิตงานอันปราณีตมา ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นที่ต้องการของสังคม ผู้มีอุดมคติย่อมรักษาอุดมคติไว้ให้ปรากฏเป็นความจริง ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นที่ตอบรับจากสังคม บัดนี้เธอไม่สังวรในการปลูกฝังคุณธรรมในตัวให้สมบูรณ์ กลับนึกข้องใจว่าทำไมคนอื่นไม่ต้อนรับตน ความนึกคิดนี้ไม่ต่ำไปหรือ"

ง้วนอวงศิษย์อีกคนหนึ่งจึงพูดว่า "อุดมคติของอาจารย์สูงส่งยิ่งนัก เพราะเหตุนั้นจึงเข้ากับสังคมไม่ได้ แต่อาจารย์ยังยืนหยัดรักษาไว้ได้อย่างเคร่งครัด สังคมไม่ตอบรับจะเป็นไรมี เพราะยิ่งเขาไม่ต้อนรับ ก็พิสูจน์เห็นชัดว่า ว่าเราเป็นผู้อบรมดีแล้ว เมื่อไม่มีใครเอาไปทำประโยชน์ นั่นเป็นความน่าละอายของนักการเมืองทั้งหลาย"

ขงจื้อได้ฟังง้วนอวง จึงพอใจยิ่งนักพูดว่า "ก็นั่นนะสิ ง้วนอวงเอ๋ย ถ้าเจ้ามั่งมีขึ้นเมื่อไร ฉันยินดีจะไปเป็นเสมียนบัญชีการเงินให้" ขงจื๊อได้กลับไปรัฐลู้อีกครั้งในขณะอายุได้ 69 ปี ลู้อ้ายกงตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เดี๋ยวนี้ทัศนะชีวิตขงจื๊อเปลี่ยนไปจากเดิม อาจเพราะบทเรียนในอดีต และเข้าสู่วัยชรา เขาปลงตกในชะตาตนว่า ไม่มีโอกาสจะเป็นรัฐบุรุษอีกแล้ว สมัยก่อนเขาใฝ่ฝันจะเป็นจิวกงคนที่ 2 บัดนี้เขาเลิกสร้างวิมานในอากาศแล้วเขาประจักษว่า ความสำเร็จของเขาไม่ใช่อยู่ที่การเมือง แต่อยู่ที่การศึกษาต่างหาก เขาจึงทุ่มเทเวลาสุดท้ายของชีวิตให้กับการศึกษาผลิตตำรับตำรามากมาย


- https://www.facebook.com/profile.php?id=100002417793924
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2013, 06:52:57 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาขงจื้อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 08, 2013, 06:42:39 pm »


Picture: Old Man, Children by Xu Yan


ขงจื่อกล่าวว่า
มีข้อบกพร่องแล้วไม่แก้ไข
นี่แหละคือข้อบกพร่อง



Picture:
Cool Picture: View of Mt. Fuji by Utagawa Hiroshige (Ando)


จงหมั่นสังเกตวิถีของฟ้า
จงหมั่นสังเกตยอดคน
และจงหมั่นสังเกตคำพูดของปราชญ์
-ขงจื่อ



ขงจื่อ ยืนอยู่ริมน้ำแล้วปรารภว่า
"สรรพสิ่งไหลเรื่อยไปเช่นนี้ไม่หยุดทั้งวันทั้งคืน"

เรียนรู้โดยไม่คิดนั้นสูญเปล่า
แต่คิดโดยไม่เรียนรู้นั้นอันตราย
- ขงจื่อ

"เมื่อรู้สิ่งใด ก็รู้ว่ารู้
เมื่อไม่รู้สิ่งใด ก็รู้ว่าไม่รู้
นี่คือความรู้"
- ขงจื่อ



Picture:
Books and Brush-Stand by Kubo Shunman
>>> F/B openbooks
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2013, 01:06:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: จงเป็นอย่างน้ำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2014, 05:32:11 pm »



จงเป็นอย่างน้ำ
เล่าจื๊อ: “ข่งชิวเอ้ย นี่เป็นยุคแห่งความขัดแย้งทุกหนทุกแห่งมีแต่ความวุ่นวาย แต่เจ้ายังคงรักษาแนวทางจริยะ ดนตรี มนุษยธรรมและสันติสุขไว้ได้”
ขงจื้อ: “น่าละอาย ข้าไม่ประสบผล”

เล่าจื๊อ: “งั้นลองหยุดพยายามดู อันชื่อเสียงหรือยศศักดิ์ ล้วนไม่จีรังยั่งยืน”
ขงจื้อ: “อะไรที่ศิษย์อย่างข้าทำได้เล่า? ผลน้ำเต้าย่อมไม่ควรถูกใช้ไว้แค่แขวนไว้เหนือประตูอย่างไร้ประโยชน์”

เล่าจื๊อ: “ไร้ประโยชน์ ก็อาจกลายเป็นประโยชน์ยิ่งได้ อ่อนแอจึงรอด อ่อนโยนดำรงอยู่ ไม่มีอะไรอ่อนกว่าน้ำ แต่ไม่มีความเข้มแข็งใดทำลายน้ำได้ จงเป็นอย่างน้ำเถอะ”
ขงจื้อ: “คำพูดท่านลึกซึ้งนัก แต่ข้าต้องยึดแนวทางแห่งตน เส้นทางแห่งท่านยิ่งใหญ่ไร้ขอบเขตอยู่เหนือสถานที่และเวลา พ้นจากเรื่องทางโลก แต่เส้นทางของข้าคือทางโลก”

เล่าจื๊อ: “งั้นเจ้าจงอดทนต่อเรื่องราวทางโลกไป คนรวยมอบของขวัญด้วยทอง แต่ข้าไม่มีทอง มีก็แค่คำพูดเพียงเล็กน้อย”
___________________
ที่มา: ภาพยนต์เรื่อง Confucius ขงจื้อมหากาพย์แห่งมหาบุรุษ (2010)


13 เมษายน 57
>>> F/B Sathid Tongrak