ผู้เขียน หัวข้อ: มุสาวาท  (อ่าน 1527 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
มุสาวาท
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2014, 06:55:53 pm »
ศีล 5

1. ปาณาติปา ต || ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ ||
เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต

2. อทินนาทาน    อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ    
เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

3. กาเมสุมิจฉาจาร    กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ    
เราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ

4. มุสาวาท    มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ    
เราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ

5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน    สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ    
เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: มุสาวาท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2014, 06:58:53 pm »

***** องค์ประกอบของมุสาวาท(คำพูดที่ไม่เป็นความจริง) *****

-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=88532-

      ๔.มุสาวาท  (คำพูดที่ไม่เป็นความจริง)

     มุสาวาท เป็นอกุศลกรรมที่เกิดทางวจีทวาร อันนับว่าเป็นอกุศลกรรม ข้อที่ ๔ คำว่า มุสาวาทนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มุสา - วาท

     มุสา  หมายถึง  สิ่งที่ไม่เป็นความจริง

     วาท  หมายถึง  คำพูด

     "มุสาวาท" หมายถึง คำพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ดังวจนัตถะว่า

          มุสา วทนฺติ เอเตนาติ - มุสาวาโท

แปลความว่า คนทั้งหลายย่อมกล่าว สิ่งที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าเป็นจริงด้วย เจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท คือเจตนาที่ให้ผู้อื่นเข้าใจผิด

          องค์ประกอบของมุสาวาท ๔ ประการ

     ๑. อตฺถวตฺถุ           สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่เป็นจริง

     ๒. วิสํวาทนจิตฺตตา     มีจิตคิดจะมุสา

     ๓. ปโยโค             ทำความเพียรเพื่อมุสา

     ๔. ตทตฺถ วิชานนํ      ผู้อื่นเชื่อตามความที่มุสา

     มุสาวาท ที่ครบองค์แห่งกรรมบท ทั้ง ๔ ประการนี้ แม้ไม่ทำความเสียหาย ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ที่หลงเชื่อก็ล่วงกรรมบท ฉะนั้น มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จึงมี ๒ ชนิดคือ

๑. มุสาวาท ชนิดไม่นำไปสู่อบาย ได้แก่ มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มิได้ทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ผู้หลงเชื่อ มุสาวาทชนิดนี้ ถือว่า ล่วงกรรมบท เหมือนกัน เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วน แต่ไม่มีผลเสียหายร้ายแรง แก่ผู้ใด จึงไม่นำไปสู่อบายภูมิได้

๒. มุสาวาท ชนิดที่นำไปสู่อบายได้ ได้แก่ มุสาวาทชนิดที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ และทำความเสียหายให้แก่ผู้หลงเชื่อ ย่อมเป็นมุสาวาทที่ล่วงกรรมบท นำไปสู่อบายภูมิได้

          ปโยคะ ของมุสาวาทมี ๔ ประการ คือ

๑. สาหัตถิกะ   พยายามมุสาวาทด้วยตนเอง

๒. อาณัตติกะ  ใช้ให้ผู้อื่นมุสา

๓. นิสสัคคิยะ   เขียนเรื่องราวที่ไม่จริง ส่งให้ผู้อื่น เช่น ส่งจดหมาย บัตรสนเท่ห์ หรือประกาศทางวิทยุ

๔. ถาวระ     เขียนเรื่องที่ไม่จริงประกาศไว้ พิมพ์เป็นหนังสือ หรืออัดเสียงไว้ เป็นต้น

     แสดงมุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ กับมุสาวาทที่ล่วงกรรมบท

     ถ้ามุสาวาทไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มีองค์ประกอบเพียง ๒ ประการคือ มีจิตคิดจะมุสา  และปโยคะ พยายามมุสาด้วยกาย หรือวาจาแล้ว จะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตาม ย่อมสำเร็จเป็น "ศีลวิบัติ" เท่านั้น ไม่เป็นการก้าวล่วงถึงกรรมบท แต่ถ้าครบองค์ทั้ง ๔ ก็เป็นอันสำเร็จกรรมบท

    มุสาวาทที่ทำให้ผู้หลงเชื่อเกิดความเสียหายนั้น ถ้าได้รับความเสียหายมาก มุสาวาทนั้น ก็มีโทษมาก ถ้าเสียหายน้อยก็มีโทษน้อย เช่น...

    ผู้ที่เป็นพยานเท็จ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้รับโทษ ประหารชีวิต จำคุก หรือได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน จัดเป็นมหาสาวัชชะ คือ มีโทษมาก

    ผู้ได้รับแจกเงิน ถูกผู้อื่นถามถึงจำนวนเงินที่ได้รับ แกล้งตอบว่า ได้รับมา ๒๐๐ บาท ซึ่งความจริงได้รับแจกมาเพียง ๑๒๐ บาทเท่านั้น เช่นนี้จัดเป็น อัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อย

   (คัดจาก หนังสือพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ)



โดย pierra
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: มุสาวาท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2014, 07:03:51 pm »
มุสาวาท

-http://www.gongtham.net/my_data/luksut/winai_ek/6vin_15.html-

       คำว่า มุสา แปลว่า เท็จ เจตนาทำให้พูดเท็จ ชื่อว่า มุสาวาท ได้แก่ อกุศลเจตนา ที่ก่อให้เกิดความพยายามทางกายและทางวาจาของคนโกง
โดยมุ่งจะหลอกลวงคนอื่น การพูดเท็จนั้น หากทำให้คนอื่นเสียประโยชน์ จัดเป็นกรรมบถ ถ้าไม่เสียประโยชน์ ก็เป็นเพียงกรรม

       กรรมบถ ต่างกันกับ กรรม กรรมบถ หมายถึง กรรมที่ส่งผลในปฏิสนธิกาล เช่น ส่งผลให้ไปเกิดในนรก เกิดเป็นมนุษย์ เกิดในสวรรค์ เป็นต้น
ส่วนกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปวัตติกาล เช่น ส่งผลให้เห็นรูป ฟังเสียง ลิ้มรส ที่ดีหรือไม่ดี เป็นต้น

       มุสาวาท จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

            ๑. เรื่องไม่จริง
            ๒. จิตคิดจะพูดให้ผิด
            ๓. พยายามจะพูดออกไป
            ๔. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

       มุสาวาทมีโทษมาก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

            ๑. ประโยชน์ที่ถูกทำลายมีมาก
            ๒. ผู้เสียประโยชน์เป็นผู้มีคุณมาก
            ๓. กิเลสของผู้กล่าวมุสาวาทมีกำลังแรงกล้า

       มุสาวาทที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย
โทษของมุสาวาท
       อดีตกาล ในพระนครพาราณสี ได้มีจักษุแพทย์คนหนึ่ง เที่ยวรักษาคนตามหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ
ต่อมา ได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง กำลังทุกข์ทรมานด้วยโรคตา จนเกือบจะมองไม่เห็น หมอตรวจดูอาการแล้ว บอกว่าพอจะรักษาให้หายเป็นปกติได้
นางจึงตอบว่า ถ้าคุณหมอรักษาตาดิฉันให้หายเป็นปกติได้ ดิฉันกับลูกชาย ลูกสาว จะยอมเป็นทาสรับใช้ไปตลอดชีวิต
หมอจึงตกลงรักษาให้ ต่อมาไม่นาน ดวงตาของเธอก็หายเป็นปกติ

       เธอกลัวว่าจะต้องเป็นทาสของหมอตามที่ให้สัญญาไว้ เมื่อหมอมาถามอาการ จึงแกล้งพูดโกหกว่า
ก่อนนี้ ดวงตาของดิฉันเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย แต่พอหยอดยาของท่านแล้ว กลับเจ็บปวดมากกว่าเดิม
หมอรู้ทันว่า ผู้หญิงคนนี้หลอกลวงเรา เพราะต้องการจะไม่ให้ค่ารักษา โกรธมาก จึงปรุงยาขนานใหม่ให้
เมื่อนางใช้ยานั้นหยอดตาแล้ว ตาทั้ง ๒ ข้างได้บอดสนิท สตรีนั้น ตาบอดเพราะการกล่าวเท็จ ดังนี้แล


ปิสุณวาจา
       เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง พยายามกระทำหรือพูด เพื่อต้องการให้คนอื่นมารักตน ก็ดี เพื่อต้องการทำลายคนอื่น ก็ดี ชื่อว่า ปิสุณวาจา

       การพูดให้ร้ายลับหลัง โดยมุ่งให้คนอื่นเกิดความแตกแยก เมื่อคนอื่นแตกแยกกันแล้ว จัดเป็นปิสุณวาจา
สำเร็จเป็นกรรมบถ ถ้าไม่เกิดความแตกแยกกันก็เป็นเพียงกรรมเท่านั้น

       ปิสุณวาจา จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

            ๑. คนอื่นที่พึงถูกทำลาย
            ๒. จิตคิดจะพูดส่อเสียด
            ๓. พยายามจะพูดออกไป
            ๔. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

       ปิสุณวาจา มีโทษมาก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

            ๑. บุคคลผู้ถูกทำลายให้แตกแยกกันนั้น เป็นผู้มีคุณมาก
            ๒. คนเหล่านั้นแตกแยกกัน
            ๓. ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า

       ปิสุณวาจาที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของปิสุณวาจา

       ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ มีพระมหาเถระ ๒ รูป รูปหนึ่งมีพรรษา ๖๐ อีกรูปหนึ่งมีพรรษา ๕๙ สนิทรักกันมาก
จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยลาภ ต่อมา มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง มาขออยู่ในอาวาสนั้นด้วย เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่มีลาภสักการะมาก
อยู่ได้ไม่นาน ก็คิดขับไล่พระเถระทั้ง ๒ รูปนั้น จึงเข้าไปหาทีละรูปแล้ว พูดว่า เมื่อวันกระผมมาที่นี่ พระเถระรูปนั้น บอกผมว่า คุณเป็นคนดี
จะคบหาสมาคมกับพระมหาเถระ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน พูดเหมือนกับรู้ความลับ ความเสียหายของท่าน เสร็จแล้ว ก็เข้าไปหาอีกรูปหนึ่ง
พูดอย่างเดียวกันนั้น แรก ๆ ทั้ง ๒ รูปไม่เชื่อ แต่นานไป เกิดบาดหมางกันแล้ว ในที่สุดก็แตกกัน ต่างคนต่างออกจากวัด
พระธรรมกถึก จึงได้ครองวัดนั้นแต่เพียงรูปเดียว เมื่อพระธรรมกถึกนั้นมรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกชั้นอเวจี พ้นจากนรกนั้นแล้ว
ไปเกิดเป็นเปรต ร่างกายเหมือนมนุษย์ มีศีรษะเหมือนสุกร ต้องเสวยทุกข์อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ การพูดทำให้คนแตกสามัคคีกัน เป็นบาปหนัก ดังนี้แล

ผรุสวาจา

       เจตนาแผ่ไปเผาผลาญจิตของผู้ฟัง ชื่อว่า ผรุสา

       เจตนาเป็นเหตุประทุษร้าย ก่อให้เกิดความพยายามทางกาย และทางวาจา อันเป็นเหตุทำลายไมตรีของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา
อีกอย่างหนึ่ง เจตนาในการพูดมุ่งทำลาย แผ่ไปเผาผลาญจิตใจของผู้ฟัง ชื่อว่า ผรุสวาจา

       ผรุสวาจานั้น ขึ้นอยู่กับเจตนาที่มุ่งประทุษร้าย และพูดต่อหน้า จึงจัดเป็นกรรมบถ ส่วนคำด่าที่พูดด้วยเจตนาดี เหมือนบิดา มารดา
และครูอาจารย์ ดุด่าบุตร ธิดา และศิษย์ เป็นต้น ไม่จัดเป็นผรุสวาจา

       ดังได้สดับมา เด็กคนหนึ่ง ไม่เชื่อคำของมารดา เข้าไปในป่า เมื่อมารดาไม่สามารถบังคับให้เด็กนั้นกลับได้ จึงด่าว่า
ขอแม่กระบือดุ จงไล่ตามมัน ทันใดนั้น แม่กระบือปรากฏแก่เด็กนั้นในป่าจริง ๆ เด็กได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า มารดาของข้าพเจ้า
พูดเรื่องใด ด้วยปาก เรื่องนั้นจงอย่ามี แต่มารดาคิดเรื่องใด ด้วยจิต ขอเรื่องนั้นจงมีเถิด แม่กระบือได้หยุดอยู่ เหมือนถูกผูกในที่นั้นนั่นเอง

       ผรุสวาจาที่จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ

            ๑. คนอื่นที่พึงถูกด่า
            ๒. จิตคิดจะพูดคำหยาบ
            ๓. พูดคำหยาบออกไป

       ผรุสวาจามีโทษมาก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

            ๑. ผรุสวาจานั้น ถึงความเป็นกรรมบถ
            ๒. คนที่ถูกด่าเป็นคนมีคุณธรรมมาก
            ๓. ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า

       ผรุสวาจาที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย
โทษของผรุสวาจา
       ในสมัยพุทธกาล พระราชกุมารทรงพระนามว่าวิฑูฑภะ เป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล กับพระนางวาสภขัตติยา
ชาวศากยะ เป็นพระญาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธิดาของพระเจ้ามหานามะกับนางกำนัล
พระเจ้ามหานามะได้ถวายพระนางแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลที่ส่งคนมาขอ โดยประสงค์จะเป็นพระญาติกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

       ขณะที่ยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าวิฑูฑภะ เห็นพระกุมารอื่น ๆ ได้รับของขวัญจากสกุลของพระเจ้าตา จึงถามพระมารดาว่า
แม่ไม่มีพระเจ้าตาพระเจ้ายายหรือ ? เมื่อพระมารดา ตอบว่า มีสิลูก ได้ถามกลับไปว่า ทำไม พระเจ้าตาพระเจ้ายาย จึงไม่ส่งของเล่นให้ชายบ้าง ?
คำถามนี้ทำให้พระมารดาหนักพระทัยที่สุด เพราะรู้จักมานะของพวกศากยะดี จึงตอบเลี่ยงไปว่า ท่านอยู่ไกลและไม่มีเวลา

       วิฑูฑภราชกุมารรบเร้าพระมารดา ต้องการจะไปเยี่ยมสกุลพระเจ้าตา พระนางไม่สามารถจะขัดขืนได้ จึงส่งข่าวไปให้พระเจ้ามหานามะทราบ
ในวันที่วิฑูฑภ-ราชกุมารไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ พวกศากยะให้พระกุมารที่มีอายุน้อยกว่าเสด็จออกประพาสป่าหมด วิฑูฑภราชกุมารต้องเป็นผู้ไหว้พวกศากยะฝ่ายเดียว
จึงถามว่า เจ้าศากยะที่อายุน้อยกว่าไม่มีเลยหรือ ? พวกเจ้าศากยะตอบว่า มีจ้ะ พ่อ แต่ออกไปประพาสป่ากันหมด วิฑูฑภราชกุมารเยี่ยมสกุลพระเจ้าตาพอสมควรแก่เวลา
จึงลากลับ เดินทางไปได้ระยะหนึ่ง มหาดเล็กคนหนึ่งลืมของไว้ จึงกลับไปเอา พบพวกศากยะกำลังเอาน้ำนมล้างตั่งที่วิฑูฑภราชกุมารนั่ง ปากก็ด่าว่า
ล้างเสนียดจัญไรที่ลูกนางทาสีนั่ง มหาดเล็กนำความนั้นมาทูลพระราชกุมาร พระราชกุมารโกรธจัด ตรัสว่า วันนี้ พวกศากยะเอาน้ำนมล้างตั่งไปก่อนเถอะ
ภายหน้าเมื่อเราได้ครองราชย์ จะเอาเลือดในลำคอของพวกนั้นล้างท้องพระโรงให้ได้

       เมื่อวิฑูฑภราชกุมาร ได้ครองราชย์หลังจากพระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคตแล้ว จึงยกกองทัพมาฆ่าพวกศากยะจนหมดสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กที่ยังดื่มนม
สกุลของพวกเจ้าศากยะได้ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะทำลายจนหมดสิ้น เพราะการกล่าวคำหยาบด่าว่าผู้อื่นด้วยจิตใจที่หยาบคาย ดังนั้น จึงไม่ควรพูดคำหยาบ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

สัมผัปปลาปะ
       เจตนาเป็นเหตุกล่าวถ้อยคำอันหาประโยชน์มิได้ คือ กำจัดทางแห่งประโยชน์สุข อันสัตบุรุษพึงได้รับ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ

       ความแตกต่างระหว่าง มุสาวาทกับสัมผัปปลาปะ

       มุสาวาท ได้แก่ อกุศลเจตนา อันเป็นเหตุพยายามทางกาย ทางวาจา ของคนผู้มุ่งจะหลอกลวงคนอื่น ส่วนสัมผัปปลาปะ ได้แก่ อกุศลเจตนา
อันเป็นเหตุกล่าวถ้อยคำปราศจากอรรถธรรม ไม่แสดงอรรถ ธรรมและวินัย เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ในภพนี้ และภพหน้า

       สัมผัปปลาปะที่ประกอบด้วยอกุศลเจตนาเป็นเหตุพยายามทางกาย ทางวาจา เพื่อแสดงสิ่งไร้สาระ จนคนหลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จัดเป็นกรรมบถ

       ส่วนดิรัจฉานกถา ผู้พูดด้วยความชอบใจ ย่อมเป็นเพียงกรรม ไม่ถึงกรรมบถ หากพูดโดยอิงอาศัยอรรถ ธรรม หรือวินัย ก็เกิดประโยชน์ได้

       สัมผัปปลาปะ จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยองค์ ๒ คือ

            ๑. จิตคิดจะพูดเรื่องเพ้อเจ้อ
            ๒. พูดเรื่องเช่นนั้นออกไป

       สัมผัปปลาปะ มีโทษมาก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

            ๑. ผู้พูดมีอาเสวนะ (ความเสพคุ้น) มาก
            ๒. คนอื่นเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
            ๓. ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า

       สัมผัปปลาปะที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย
โทษของสัมผัปปลาปะ
       ในสมัยดึกดำบรรพ์ มีเต่าช่างพูดตัวหนึ่ง ได้ผูกมิตรกับหงส์ ๒ ตัว ที่มักมาหากินในหนองน้ำที่เต่าอาศัยอยู่ เมื่อหงส์ทั้งสองมาที่หนองน้ำนั้น
ก็สนทนากับเต่าอย่างมีความสุข สมกับคำที่นักปราชญ์สอนไว้ว่า จะมีใครในโลกนี้ ที่มีความสุขเท่ากับผู้มีมิตรสหายไว้สนทนาปรับทุกข์ ร่วมสุขซึ่งกันและกัน
เต่าได้พูดกับหงส์ว่า สหายทั้งสองนับว่าโชคดี มีปีกบินได้ จึงไปหากิน และไปเที่ยวต่างถิ่นต่างที่ได้ตามใจชอบ ส่วนข้าพเจ้ากี่เดือนกี่ปี ก็อยู่แต่ที่หนองน้ำแห่งนี้
ไม่มีโอกาสได้ไปภูมิประเทศอื่น อันสวยงามกับเขาเลย เพราะเป็นสัตว์เดินช้า

       หงส์ทั้งสองสงสารเพื่อน จึงบอกว่า ถ้าสหายต้องการจะไปหากินยังหนองน้ำอื่น และเที่ยวชมภูมิประเทศที่สวยงามละก็ ข้าพเจ้าทั้งสองสามารถพาไปได้
แต่กลัวว่าสหายจะอดพูดไม่ได้ เต่าถามวิธี จึงบอกว่าข้าพเจ้าทั้งสองจะคาบไม้ที่ปลายทั้งสอง ให้สหายคาบตรงกลาง เท่านี้ ก็สามารถพาสหายไปที่ไหนก็ได้
แต่ในระหว่างเดินทาง สหายต้องไม่พูดเด็ดขาด ถ้าพูดจะทำให้ตกลงมาถึงแก่ความตาย เต่ารับคำของหงส์ว่าจะทำตามนั้น

       หงส์ทั้งสองพาเต่าบินไป ผ่านทุ่งนาแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเด็กเลี้ยงวัวหลายคนกำลังจับกลุ่มเล่นกันอยู่ เด็กคนหนึ่งเห็นเช่นนั้น จึงบอกเพื่อนว่า ดูนั่นสิ
หงส์ ๒ ตัวคาบปลายไม้พาเต่าบินไป ข้าว่าเดี๋ยวก็ตกลงมาตาย พวกเราตามไปเก็บเต่าตายมาแกงกินกันเถอะ แล้วก็พากันวิ่งตามไป เต่าได้ยินดังนั้น
อยากจะพูดกับเด็กให้สะใจว่า ไอ้เด็กโง่เอ๋ย พวกเอ็งไม่มีวันจะได้กินเนื้อของข้าหรอก อ้าปากจะพูด จึงหลุดจากไม้ที่คาบไว้ ตกลงมาที่แผ่นดิน
จนกระดองแตกกระจาย ถึงแก่ความตาย การพูดไม่รู้จักกาลเวลามีโทษอย่างนี้

วจีกรรมเป็นไปในทวาร ๒

       กรรม ๔ อย่าง มีมุสาวาทเป็นต้นนี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวาร โดยมาก บางครั้ง กรรม ๔ อย่างนี้ ก็เกิดขึ้นทางกายทวารได้
เช่น การเขียนหนังสือหลอกลวงคนอื่น เป็นต้น จัดเป็นกายกรรม

       อนึ่ง ในขณะที่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อนั้น อกุศลธรรม ๓ อย่าง มีอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ ย่อมเกิดร่วมด้วยตามสมควร
แต่ก็ไม่เรียกว่า วจีกรรม เพราะมุ่งเอาเจตนาเป็นใหญ่ ดังพระพุทธพจน์ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม และอกุศลธรรมทั้ง ๓ นั้น
ก็ไม่ชื่อว่า มโนกรรม เพราะละเมิดออกมาทางวาจาแล้ว ดังนั้น อกุศลธรรมทั้ง ๓ นั้น จึงเป็นเพียงตัวสนับสนุนเจตนา
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: มุสาวาท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2014, 07:05:54 pm »
มุสาวาท [ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค]

-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=24041-

ข้อความบางตอนจาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191
-http://www.dhammahome.com/tipitaka/topic11.html-

 

ในคำว่า มุสาวาทํ ปหาย นี้ คำว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือ

กายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.

ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อน

ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน

 ชื่อว่า มุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คำว่า วาท

 ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง

ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่องจริง เรื่องแท้.

ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้

ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.

มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย

มีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า

ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย

ที่เป็นพยานกล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก.

สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์

เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้านไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ

เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสมาน้อย มีโทษน้อย

แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็นแล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

 

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุํ เรื่องไม่แท้

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.

มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึง

เห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำ

กิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อม

ผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว.

ก็เพราะเหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้ว

โยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึงรู้อย่างนี้

 ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วย

กายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวรประโยค

 ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้มาในอรรถกถาทั้งหลาย

จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.ชื่อว่า สัจจวาที เพราะพูดแต่คำจริง.

 ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ เพราะเชื่อม คือ สืบต่อคำสัตย์ด้วยคำสัตย์ อธิบายว่า

 ไม่พูดมุสาในระหว่าง ๆ.จริงอยู่ บุรุษใดพูดมุสาแม้ในกาลบางครั้ง

พูดคำสัตย์ในกาลบางคราวไม่เอาคำสัตย์สืบต่อคำสัตย์

 เพราะบุรุษนั้นเอามุสาวาทคั่นไว้ ฉะนั้น บุรุษนั้นไม่ชื่อว่า ดำรงคำสัตย์

แต่พระสมณโคดมนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูดมุสาแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

 เอาคำสัตย์เชื่อมคำสัตย์อย่างเดียว เหตุนั้นจึงชื่อว่า

สัจจสันโธ.

บทว่า เถโต ความว่า เป็นผู้มั่งคั่ง อธิบายว่า มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน.

 บุคคลหนึ่งเป็นคนมีถ้อยคำไม่เป็นหลักฐานเหมือนย้อมด้วยขมิ้น

เหมือนหลักไม้ที่ปักไว้ในกองแกลบ และเหมือนฟักเขียวที่วางไว้บนหลังม้า.

 คนหนึ่งมีถ้อยคำเป็นหลักฐาน เหมือนรอยจารึกบนแผ่นหินและ เหมือนเสาเขื่อน

 แม้เมื่อเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ไม่ยอมพูดเป็นสอง บุคคลนี้เรียกว่า

เถตะ.

บทว่า ปจฺจยิโก ความว่า เป็นผู้ควรยึดถือ อธิบายว่า เป็นผู้ควรเชื่อถือ.

 ก็บุคคลบางคนไม่เป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด ?

คนโน้นพูดหรือ ? ย่อมจะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ

คำของคนนั้น บางคนเป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด คนโน้นพูดหรือ ?

ถ้าเขาพูด ก็จะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า คำนี้เท่านั้นเป็นประมาณ

 บัดนี้ ไม่ต้องพิจารณาก็ได้ คำนี้เป็นอย่างนี้แหละ ผู้นี้เรียกว่า

ปัจจยิกะ.

บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ความว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะ

ความเป็นผู้พูดคำจริงนั้น.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)