ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์การทำบุญด้วยแสงไฟ (พระอนุรุทธ)  (อ่าน 1333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อานิสงส์การทำบุญด้วยแสงไฟ (พระอนุรุทธ)

โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อัตตา หิ อัตตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อัตตา หิ สุทันเตนะ นาถัง ลภติ ทุลลภัง ตีติ


 
ณ โอกาสบัดนี้ อาตมาจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา ในความเป็นมาของพระอนุรุทธ เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองค์ศรัทธาบารมี แก่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่มาบำเพ็ญกุศลในวันนี้

สำหรับวันนี้ ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2535 เป็นวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เราก็เรียกกันว่าวันจะเข้าพรรษา บางวัดก็เข้าพรรษาวันนี้ บางวัดก็เข้าพรรษาวันพรุ่งนี้ แต่สำหรับวัดท่าซุงเข้าพรรษาวันนี้ เป็นอันว่าวันนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ทำบุญมีอานิสงส์ 2 ประการด้วยกัน คือ

1. ถวายเทียนเข้าพรรษา

2. ถวายผ้าไตร หรือผ้าวัสสิกสา แก่บรรดาพระสงฆ์

ทั้งสองอย่างนี้มีอานิสงส์ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างแรก ถวายเทียนเข้าพรรษาจะเทศน์วันนี้ สำหรับอานิสงส์ถวายผ้าไตรจะเทศน์วันพรุ่งนี้ ถ้าวันนี้ไม่จบ

พระอนุรุทธ

เป็นอันว่าเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงปรารภพระอนุรุทธ ความจริงพระอนุรุทธนี่เป็นพระอนุชาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อนุชานะไม่ใช่อาชานะ อนุชานี่เขาแปลว่าน้อง อาชาแปลว่าม้า เป็นน้องพระพุทธเจ้า คือว่าเป็นลูกของอา ในตระกูลมีอยู่ 2 คน คือ ท่านมหานาม 1 สอง พระอนุรุทธ

ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ท่านท้าวมหานามก็ปรารภกับน้องชายว่า เวลานั้นท้าวมหานามเป็นพระมหากษัตริย์ ตระกูลอื่นเขาก็มีคนบวชกันหมดแล้ว ตระกูลของเรายังไม่มีใครบวช ถ้ายังงั้นขอให้น้องเป็นพระราชาต่อไป พี่จะบวช พระอนุรุทธก็บอกว่า การเป็นพระราชาทำยังไง เวลานั้นพระราชาต้องทำนาเหมือนกัน ก็ต้องเลี้ยงทหาร เขาบอกว่า ตอนต้นปีก็ไถนาแล้วก็หว่าน พอปลายปีก็เกี่ยวข้าวเอาเข้าฉาง ต้นปีไถนาแล้วก็หว่าน ปลายปีเกี่ยวข้าวเข้าฉาง แบบนี้เรื่อยไปตลอดชีวิต พระอนุรุทธถามว่า ไอ้การทำนานี่ไม่มีการเลิกรึ ท่านมหานามบอก เลิกไม่ได้ พระอนุรุทธก็บอกว่า ถ้ายังงั้นพี่อยู่เถอะฉันบวชเอง ก็ไปชวนเพื่อนอีก 4 คนบวช


เป็นผู้เลิศในทิพจักขุญาณ

เมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ปรากฎว่า พระอนุรุทธเจริญพระกรรมฐานไม่ช้าไม่นานนัก วันเข้าพรรษาวันนี้ก็ได้บรรลุอรหัตถผลพร้อมไปด้วยทิพจักขุญาณ เป็นพระวิชชาสาม ต่อมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งพระอนุรุทธเป็นผู้เลิศในทิพจักขุญาณ นั่นหมายความว่า พระอรหันต์นี่มี 4 ขั้น ตัดกิเลสได้เหมือนกัน แต่ความสามารถไม่เท่ากัน คือ

1. สุกขวิปัสสโก ตัดกิเลสได้ แต่ไม่มีจิตเป็นทิพย์ ไม่สามารถเห็นผี นรก สวรรค์ ได้

2. เตวิชโช อย่างนี้สามารถมีจิตเป็นทิพย์ เห็นสวรรค์ได้ นรกได้ เปรตได้ อสุรกายได้ เห็นอะไรก็ได้ และสามารถระลึกชาติได้

3. ฉฬภิญโญ สำหรับหมวดนี้เหาะเหินเดินอากาศได้ แปลงได้ เนรมิตได้

4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต ปฏิสัมภิทาญาณ มีความฉลาดมาก

ฉะนั้น สำหรับพระอนุรุทธเป็นพระอรหันต์ขั้นวิชชาสาม แต่ความจริงพระอรหันต์ขั้นวิชชาสามนี่ความจริงต้องอ่อนกว่าทุกอย่าง อ่อนกว่าฉฬภิญโญ ฉฬภิญโญก็คืออภิญญาหก แต่ว่านี่ท่านเข้มแข็งในด้านทิพจักขุญาณ จะพิสูจน์ในสมัยองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านิพพานเวลานั้น เวลาที่พระพุทธเจ้านิพพาน พระอนุรุทธเข้าฌานตาม พระอรหันต์ตั้งสองแสนองค์ ไม่สามารถจะเข้าฌานตามได้ ไม่รู้จิตใจของพระพุทธเจ้าว่าเวลานี้อยู่ที่ไหน แต่สำหรับพระอนุรุทธติดตามได้

พระอานนท์เข้าไปสะกิดถาม หลวงพี่ เวลานี้พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ไปนิพพานหรือยัง ในขณะที่ท่านจะเข้านิพพานท่านเข้าสมาธิเต็มที่ ไอ้การเข้าสมาธิเต็มที่นี่ บรรดาพุทธบริษัทบางทีเขานึกว่าหัวใจหยุดเต้น ความจริงไม่หยุด มันเต้นเบาลมหายใจน้อย บางคนคิดว่าไม่มีลมหายใจ ท่านก็บอกว่า เวลาที่พระพุทธเจ้าอยู่ที่ฌาน 1 บ้าง ฌาน 2 บ้าง ฌาน 3 บ้าง ฌาน 4 บ้าง ในอรูปฌานบ้าง แล้วเลื่อนมาในฌาน 4 ของรูปฌาน นิพพานตอนนั้น

นี่จะเห็นว่าพระอนุรุทธชื่อว่าเป็นผู้เลิศในทิพจักขุญาณ เลิศจริง ๆ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า กล่าวถึงประวัตินะ ตอนนี้ยังไม่นิพพาน ท่านบอกว่า พระอนุรุทธนี่ในสมัยชาติก่อนชอบทำบุญด้วยแสงไฟ

ก็อย่างที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย บูชาเทียนเข้าพรรษานี่แหละ บูชาเทียนเข้าพรรษาบ้าง ช่วยค่ากระแสไฟฟ้าบ้าง ช่วยน้ำมันตะเกียงบ้าง อย่างนี้เป็นต้น เป็นเรื่องให้เกิดแสงไฟ ให้เกิดแสงสว่างขึ้น พระอนุรุทธชอบทำอย่างนี้ ทุกวาระถึงปีถึงเวลาเข้าพรรษาก็นำเทียนเข้าพรรษาถวายตามวัด วันละหลาย ๆ วัด เป็นการบูชาให้แสงสว่าง ฉะนั้น มาชาติหลังสุด อานิสงส์ถวายเทียนเข้าพรรษา แสงไฟ จึงได้ทิพจักขุญาณเป็นเลิศกว่าพระอรหันต์ทุกองค์ นี่เป็นประวัติตอนท้ายนะ ประวัติของพระอนุรุทธนี่มีหลายตอน จะขอตัดเป็นตอน ๆ

ขอขอบคุณ

-http://www.jetovimut.com/index.php/anisong/123-light.html-

popja ที่มา : -http://www.lomchakclub.com/v9/index.php?topic=396.0-














คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การทำบุญด้วยแสงไฟ (พระอนุรุทธ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 27, 2014, 01:21:41 pm »
อรรถกถาอนุรุทธเถรคาถาที่ ๙

-http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=5300006-

         คาถาของท่านพระอนุรุทธเถระ   มีคำเริ่มต้นว่า   ปหาย  มาตาปิตโร
ดังนี้.   เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?                                               
         แม้พระเถระนี้        ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่
ปางก่อน    บังเกิดเป็นกุฎุมพี    ผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ.   ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ    วันหนึ่ง    เขาไปวิหารฟังธรรมในสำนัก
ของพระศาสดา     ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง     ไว้ใน
ตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์     แม้ตนเองก็ปรารถนาฐานันดรนั้น
จึงยังมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗  วัน       แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุ
บริวารแสนหนึ่ง  ในวันที่  ๗ ได้ถวายผ้าชั้นเลิศแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า  และ
ภิกษุสงฆ์    แล้วกระทำปณิธานความปรารถนาไว้     ฝ่ายพระศาสดาทรง
ทราบว่าความปรารถนาของเขาจะสำเร็จโดยไม่มีอันตราย   จึงทรงพยากรณ์
ว่า    ในอนาคตกาล      จักเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์ในศาสนาของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม.     แม้เขาก็ทำบุญทั้งหลายในพระ-
ศาสดานั้น  เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว  เมื่อพระเจดีย์ทองสูง  ๗  โยชน์
สำเร็จแล้ว    ก็ทำการบูชาประทีปอย่างโอฬาร    ด้วยต้นไม้ประดับประทีป
และตัวประทีปหลายพัน     โดยอธิษฐานว่า     ขอจงเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่
ทิพยจักษุญาณเถิด.
         เขากระทำบุญทั้งหลายจนตลอดชีวิตด้วยประการอย่างนี้   แล้วท่อง-
เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป
บังเกิดในเรือนกุฎุมพี   ในเมืองพาราณสี   ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว  เมื่อ
พระศาสดาปรินิพพานแล้ว      เมื่อสร้างพระเจดีย์ทองโยชน์หนึ่งสำเร็จแล้ว

   

หน้าที่ 159

ให้สร้างถาดสำริดเป็นจำนวนมาก   บรรจุเต็มด้วยเนยใสอย่างใส   แล้ววาง
ก้อนงบน้ำอ้อยก้อนหนึ่ง ๆ ไว้ตรงกลาง      วางล้อมพระเจดีย์ให้ขอบปาก
กับขอบปาก (ถาด)  จดกัน ส่วนตนให้สร้างถาดสำริดใหญ่ถาดหนึ่ง  บรรจุ
เต็มด้วยเนยใสอย่างใส.  ตามไส้  ๑,๐๐๐  ไส้  ให้สว่างโพลง   แล้วทูนศีรษะ
เดินเวียนพระเจดีย์ตลอดคืนยังรุ่ง.
         ในอัตภาพแม้นั้น  เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตด้วยประการอย่างนี้   จุติ
จากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในเทวโลก   ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุ
จุติจากเทวโลกนั้น   เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ   ได้บังเกิดในตระกูล
เข็ญใจ  ในเมืองพาราณสีนั่นแล  ได้มีชื่อว่าอันนภาระ.   นายอันนภาระนั้น
กระทำการงานในเรือนของสุมนเศรษฐีเลี้ยงชีวิตอยู่.    วันหนึ่ง     เขาเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า    อุปริฏฐะ  ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว   เหาะ
จากภูเขาคันธมาทน์   มาลงใกล้ประตูเมืองพาราณสี     ห่มจีวรแล้วเข้าไป
บิณฑบาตในเมือง     มีจิตเลื่อมใสรับบาตร    เริ่มประสงค์จะใส่ภัตตาหาร
ที่เขาแบ่งไว้ส่วนหนึ่ง    ซึ่งเขาเก็บไว้เพื่อตน    ในบาตรถวายพระปัจเจก-
พุทธเจ้า.   ฝ่ายภรรยาของเขา   ก็ใส่ภัตตาหารอันเป็นส่วนของตนในบาตร
นั้นเหมือนกัน.   เขานำบาตรนั้นไปวางในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า.
         พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรนั้น        กระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป.
เพราะได้เห็นการกระทำนั้น    ตกกลางคืน    เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ฉัตรของ
สุมนเศรษฐี  ได้อนุโมทนาด้วยเสียงดัง ๆ ว่า โอ ทาน  เป็นทานอย่างเยี่ยม
นายอันนภาระประดิษฐานไว้ดีแล้วในพระอริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า.     สุมน-
เศรษฐีได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า  ทานที่เทวดาอนุโมทนาอย่างนี้นี่แหละ   เป็น
อุดมทาน   จึงขอส่วนบุญในทานนั้น.   ฝ่ายนายอันนภาระได้ให้ส่วนบุญแก่

   

หน้าที่ 160

ท่านเศรษฐีนั้น.    สุมนเศรษฐีมีจิตเลื่อมใสกับนายอันนภาระนั้น    ได้ให้
ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขาแล้วกล่าวว่า     จำเดิมแต่นี้ไป     ท่านไม่มีกิจในการ
ทำงานด้วยมือของตน  ท่านจงสร้างบ้านให้เหมาะสมแล้วอยู่ประจำเถิด.
         เพราะเหตุที่บิณฑบาตซึ่งถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ออกจาก
นิโรธสมาบัติ ย่อมมีวิบากโอฬารมากในวันนั้นเอง เพราะฉะนั้น  ในวันนั้น
สุมนเศรษฐีเมื่อจะไปเฝ้าพระราชา       จึงได้พานายอันนภาระนั้นไปด้วย.
แม้พระราชาก็ทรงทอดพระเนตรด้วยความเอื้อเฟื้อ.      เศรษฐีกราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราช บุรุษผู้นี้สมควรเป็นผู้จะพึงทอดพระเนตรทีเดียว  พระเจ้าข้า
แล้วกราบทูลถึงบุญที่เขาทำในกาลนั้น      ทั้งความที่คนได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง
แก่เขาให้ทรงทราบ.  พระราชาทรงสดับดังนั้น   ก็ทรงโปรด  ได้ประทาน
ทรัพย์พันหนึ่ง    แล้วทรงสั่งว่า เจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในที่ชื่อโน้น.    เมื่อ
นายอันนภาระกำลังชำระสถานที่นั้นอยู่  หม้อทรัพย์ใหญ่ก็ผุดขึ้น   เขาเห็น
ดังนั้นจึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ.       พระราชารับสั่งให้ขนทรัพย์
ทั้งหมดมากองไว้แล้วตรัสถามว่า    ในนครนี้      ในเรือนของใครมีทรัพย์
ประมาณเท่านี้บ้าง.    อำมาตย์ราชบริพารพากันกราบทูลว่า    ของใครๆ
ไม่มีพระเจ้าข้า.   จึงตรัสว่า   ถ้าอย่างนั้น    อันนภาระนี้     จงเป็นผู้ชื่อว่า
อันนภารเศรษฐีในนครนี้     ดังนี้แล้ว    พระราชทานฉัตรเศรษฐีแก่เขาใน
วันนั้นเอง.
         จำเดิมแต่นั้น     เขากระทำกุศลกรรมจนตลอดอายุ    จุติจากอัตภาพ
นั้น     ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย      ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้ถือปฏิสนธิในพระราชมนเทียรของพระเจ้าสุกโกทนศากยะ      ในเมือง
กบิลพัสดุ์   ได้มีพระนามว่าอนุรุทธะ.    เจ้าอนุรุทธะนั้นเป็นพระกนิษฐ-

   

หน้าที่ 161

ภาดาของเจ้ามหานามศากยะ        เป็นโอรสของพระเจ้าอาของพระศาสดา
เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง  มีบุญมาก  อันพวกหญิงนักฟ้อนผู้ประดับประดา
แวดล้อมอยู่ในปราสาท  ๓  หลังอันเหมาะสมแก่ฤดูทั้ง  ๓    เสวยสมบัติดุจ-
เทวดา  เข้าไปเฝ้าพระศาสดาผู้เสด็จประทับอยู่ในอนุปิยอัมพวัน   กับกุมาร
ทั้งหลายมีภัททิยกุมารเป็นต้น   ผู้อันเจ้าศากยะทั้งหลาย   ซึ่งพระเจ้าสุทโธ-
ทนมหาราชให้กำลังใจสั่งไปเพื่อเป็นบริวารของพระศาสดา       จึงบวชใน
สำนักของพระศาสดา       ก็ในภายในพรรษานั่นเอง       ทำทิพยจักษุให้
บังเกิด  แล้วเรียนเอากรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดี  แล้วไปยัง
ปาจีนวังสทายวัน  ในเจติยรัฐ    กระทำสมณธรรมอยู่    ตรึกถึงมหาปุริสวิตก
ได้  ๗  ประการ  ไม่อาจรู้ประการที่    ๘.  พระศาสดาทรงทราบความเป็นไป
ของเธอ   จึงตรัสมหาปุริสวิตกข้อที่  ๘  แล้วทรงแสดงมหาอริยวังสปฏิปทา
อันประดับด้วยความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัย  ๔.
         ท่านพระอนุรุทธะนั้น  เจริญวิปัสสนาตามแนวแห่งพระธรรมเทศนา
นั้น      ได้ทำให้แจ้งพระอรหัตมีอภิญญาและปฏิสัมภิทาเป็นองค์ประกอบ.
ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑
                     เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า       พระนามว่าสุเมธ
         เชษฐบุรุษของโลก    เป็นนระผู้องอาจ    ผู้นายกของโลก
         เสด็จหลีกเร้นอยู่   จึงได้เข้าไปเฝ้าพระสุเมธสัมพุทธเจ้า
         ผู้เป็นนายกของโลก   แล้วได้ประคองอัญชลี   ทูลอ้อนวอน
         พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า          ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้

๑.  ขุ.    อ.  ๓๒/ข้อ   ๖.

   

หน้าที่ 162

   เชษฐบุรุษของโลกเป็นนระผู้องอาจ   ขอจงทรงอนุเคราะห์
   เถิด  ข้าพระองค์ขอถวายประทีป  แก่พระองค์ผู้เข้าณานอยู่
   ที่ควงไม้   พระสยัมภูผู้ประเสริฐ   ธีรเจ้านั้น   ทรงรับแล้ว
   จึงห้อยไว้ที่ต้นไม้   ประกอบยนต์ในกาลนั้น  เราได้ถวาย
   ไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง   แก่พระพุทธเจ้าผู้เผาพันธุ์ของ
   โลก  ประทีปลุกโพลงอยู่ ๗   วันแล้วดับไปเอง  ด้วยจิตอัน
    เลื่อมใสนั้น   และด้วยการตั้งเจตนาไว้   เราละกายมนุษย์
   แล้วได้เข้าถึงวิมาน  เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา  วิมาน
   อันบุญกุศลนิรมิตไว้เรียบร้อย    ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ  นี้
   เป็นผลแห่งการถวายประทีป  เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
   ๒๘  ครั้ง   เวลานั้น   เรามองเห็นได้ตลอดโยชน์หนึ่งโดย
   รอบทั้งกลางวันกลางคืน    เราย่อมไพโรจน์ทั่วโยชน์หนึ่ง
   โดยรอบ  ในกาลนั้น ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้  นี้เป็น
   ผลแห่งการถวายประทีป   เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช
   สมบัติในเทวโลก  ๓๐  กัป   ใคร  ๆ  ย่อมไม่ดูหมิ่นเราได้
   นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป   เราได้บรรลุทิพยจักษุมอง
   เห็นได้ตลอดพันโลกด้วยญาณในศาสนาของพระศาสดา
   นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป   พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
   สุเมธ    เสด็จอุบัติในกัปที่  ๓๐,๐๐๐   นับแต่กัปนี้   เรามีจิต
   ผ่องใสได้ถวายประทีปแก่พระองค์     คุณวิเศษเหล่านี้คือ
   ปฏิสัมภิทา  ๔ ...ฯ ลฯ...   คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้
   ทำเสร็จแล้ว.

   

หน้าที่ 163

         ครั้นในกาลต่อมา   พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริย-
เจ้า   ในพระเชตวันมหาวิหาร    ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่ง
ภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    อนุรุทธะนี้เป็นเลิศ
แห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้มีจักษุทิพย์.
         ท่านเสวยวิมุตติสุขอยู่  วันหนึ่ง   พิจารณาข้อปฏิบัติของตนแล้วเกิด
ปีติโสมนัส     ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถอุทานมีอาทิว่า     เราละพระชนก
และพระชนนี   ดังนี้.    ฝ่าอาจารย์บางพวกกล่าวว่า     พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย      เมื่อจะประกาศการบรรพชาและการบรรลุพระอรหัตของพระ-
เถระ  ได้กล่าวคาถา  ๔  คาถาข้างต้น   คาถาต่อจากนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีพระทัยโปรดปรานอริยวังสปฏิบัติของพระเถระ    จึงตรัสไว้.   คาถา
นอกนี้แม้ทั้งหมด   พระเถระเท่านั้นกล่าวไว้ตามเหตุการณ์นั้น  ๆ.   ดังนั้น
คาถาเหล่านี้ทั้งที่พระเถระกล่าวไว้   ทั้งที่ตรัสไว้โดยเฉพาะพระเถระ   ก็พึง
ทราบว่า     เป็นคาถาของพระเถระแม้โดยประการทั้งปวง,    คือท่านกล่าว
คาถาเหล่านี้ไว้ว่า                                                   
                      พระอนุรุทธะละพระชนกชนนี   ละพระประยูรญาติ
         ละเบญจกามคุณได้แล้ว  เพ่งฌานอยู่  บุคคลผู้เพียบพร้อม
         ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง   มีดนตรีบรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจ
         อยู่ทุกเช้าค่ำ   ก็ไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการฟ้อนรำ
         ขับร้องนั้นได้   เพราะยังเป็นผู้ยินดีในกามคุณอันเป็นวิสัย
         แห่งมาร.       พระอนุรุทธะก้าวล่วงเบญจกามคุณนั้นแล้ว
         ยินดีในพระพุทธศาสนา  ก้าวล่วงโอฆะทั้งปวงแล้ว   เพ่ง
         ฌานอยู่.    พระอนุรุทธะได้ก้าวล่วงกามคุณเหล่านี้    คือ

   

หน้าที่ 164

   รูป    เสียง   กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะอันรื่นรมย์ใจ   เพ่ง
   ฌานอยู่.   พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์    หาอาสวะมิได้
   ผู้เดียวไม่มีเพื่อน  กลับจากบิณฑบาตแล้ว  เที่ยวแสวงหา
   ผ้าบังสุกุลอยู่.     พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์    มีปรีชา
   หาอาสวะมิได้   เที่ยวเลือกหาเอาแต่ผ้าบังสุกุล    ครั้นได้
   มาแล้ว    ก็มาซักย่อมเอาเองแล้วนุ่งห่ม.      บาปธรรมอัน
   เศร้าหมองเหล่านี้   ย่อมมีแก่ภิกษุผู้มักมาก   ไม่สันโดษ
   ระคนด้วยหมู่   มีจิตฟุ้งซ่าน.   อนึ่ง   ภิกษุใดเป็นผู้มีสติ
   มักน้อย  สันโดษ   ไม่มีความขัดเคือง  ยินดีในวิเวก  ชอบ
   สงัด  ปรารภความเพียรเป็นนิตย์   กุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่าย
   ให้ตรัสรู้เหล่านี้    ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น   ทั้งพระสัมมาสัม-
   พุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่     ก็ตรัสสรรเสริญ
   ภิกษุนั้นว่า  เป็นผู้หมดอาสวะ.  พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมใน
   โลก  ทรงทราบความดำริของเราแล้ว  เสด็จมาหาเราด้วย
    มโนมยิทธิทางกาย   เมื่อใดความดำริได้มีแก่เรา  เมื่อนั้น
   พระพุทธเจ้าทรงทราบความดำริของเราแล้ว       ได้เสด็จ
    เข้ามาหาเราด้วยพระฤทธิ์         แล้วทรงแสดงธรรมอันยิ่ง
   แก่เรา    พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า
    ได้ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้าแก่เรา        เรารู้ทั่วถึง
   พระธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว      เป็นผู้ยินดีในพระ-
    ศาสนา    ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนอยู่     เราบรรลุวิชชา  ๓
   โดยลำดับ   ได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.

   

หน้าที่ 165

     เราถือการไม่นอนเป็นวัตรมาเป็นเวลา  ๕๕  ปี    เรากำจัด
   ความง่วงเหงาหาวนอนมาแล้วเป็นเวลา   ๒๕  ปี       ในเวลา
   ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน     ภิกษุ
   ทั้งหลายถามเราว่า     พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว
    หรือยัง    เราได้ตอบว่า     ลมหายใจออกและหายใจเข้า
   มิได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น     ผู้คงที่
    แต่พระองค์ยังไม่ปรินิพพานก่อน  พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี
   พระจักษุ  ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเครื่องทำใจให้หวั่นไหว    ทรง
   ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์    คือเสด็จออกจากจตุตถฌาน
   แล้ว    จึงจะเสด็จปรินิพพาน     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
   อดกลั้นเวทนาด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน   ก็เมื่อพระผู้มี-
   พระภาคเจ้า  ผู้เป็นดวงประทีปของชาวโลกพร้อมเทวโลก
   เสด็จดับขันธปรินิพพาน   ความพ้นพิเศษแห่งพระหฤทัย
   ได้มีขึ้นแล้ว  บัดนี้   ธรรมเหล่านี้อันมีสัมผัสเป็นที่  ๕  ของ
   พระมหามุนี    ได้สิ้นสุดลงแล้ว   ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธ-
    เจ้า  เสด็จปรินิพพานแล้ว   จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่น
   จักไม่มีอีกต่อไป.   ดูก่อนเทวดา   บัดนี้การอยู่อีกต่อไป
   ด้วยอำนาจการอุบัติในเทพนิกายย่อมไม่มี       ชาติสงสาร
   สิ้นไปแล้ว   บัดนี้การเกิดในภพใหม่มิได้มี.  ภิกษุใดรู้แจ้ง
   มนุษยโลก   เทวโลกพร้อมทั้งพรหมโลก   อันมีประเภท
   ตั้งพันได้ในเวลาครู่เดียว   ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณ   คือ
   อิทธิฤทธิ์      และในการจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

   

หน้าที่ 166

   ภิกษุรูปนั้นย่อมเห็นเทพเจ้าทั้งหลายได้ตามความประสงค์.   
   เมื่อก่อนเรามีนามว่า   อันนภาระ      เป็นคนยากจนเที่ยว
    รับจ้างหาเลี้ยงชีพ    ได้ถวายอาหารแก่พระอุปริฏฐปัจเจก-
   พุทธเจ้า  ผู้เป็นสมณะผู้เรื่องยศ.  เพราะบุญกรรมที่ได้ทำ
    มาแล้ว  เราจึงได้มาเกิดในศากยตระกูล  พระประยูรญาติ
   ได้ขนานนามให้เราว่า   อนุรุทธะ   เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย
   การฟ้อนรำและขับร้อง        มีเครื่องดนตรีบรรเลงปลุกให้
    รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า     ต่อมาเราได้เห็นพระบรมศาสดา
   สัมมาสัมพุทธเจ้า     ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ    ได้ยังจิตให้
    เลื่อมใสในพระองค์ท่านแล้ว        ออกบวชเป็นบรรพชิต
   เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้   เราได้เคยเป็นท้าวสักกรินทร์
     เทวราช  อยู่ดาวดึงส์เทพพิภพมาแล้ว   เราได้ปราบปราม
   ไพรีพ่ายแพ้แล้ว      ขึ้นผ่านสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
    จอมมนุษย์นิกรในชมพูทวีป     มีสมุทรสาครทั้ง  ๔  เป็น
   ขอบเขต  ๗  ครั้ง       ได้ปกครองปวงประชานิกรโดยธรรม
    ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาหรือศาสตราใด ๆ  เราระลึกชาติหน
   หลังในคราวที่อยู่ในมนุษยโลกได้   ดังนี้   คือเป็นพระเจ้า
    จักรพรรดิ  ๗  ชาติ     เป็นพระอินทร์  ๗   ชาติ     รวมการ
   ท่องเที่ยวอยู่เป็น  ๑๔  ชาติด้วยกัน.    ในเมื่อสมาธิอันประ-
   กอบด้วยองค์เป็นธรรมอันเอกปรากฏขึ้น   ที่เราได้ความ
     สงบระงับกิเลส ทิพยจักษุของเราจึงบริสุทธิ์.  เราดำรงอยู่
   ในฌานอันประกอบด้วยองค์  ๕  ประการ    รู้จุติและอุปบัติ

   

หน้าที่ 167

            การมา   การไป  ความเป็นอย่างนี้  แลความเป็นอย่างอื่น
         ของสัตว์ทั้งหลาย     เรามีความคุ้นเคยกับพระบรมศาสดา
         เป็นอย่างดี        เราได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
         เสร็จแล้ว  ปลงภาระอันหนักลงได้แล้ว  ถอนตัณหาเครื่อง
         นำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว   เป็นผู้ไม่มีอาสวะ  จักนิพพานด้วย
         อนุปาที่เสสนิพพานธาตุ    ภายใต้พุ่มกอไผ่    ใกล้บ้าน
         เวฬุวคาม   แคว้นวัชชี.
         บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า  ปหาย   แปลว่า  ละแล้ว.    บทว่า
มาตาปิตโร  แปลว่า  พระชนนีและพระชนก.
         จริงอยู่    ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ :-   ใคร ๆ   อื่นถูกความเสื่อมญาติ
และความเสื่อมโภคทรัพย์ครอบงำ    จึงบวช   และบวชแล้วก็ขวนขวายกิจ
อื่นอยู่ฉันใด    เราฉันนั้นหามิได้   ก็เราละวงญาติใหญ่และกองโภคทรัพย์
มาก  ไม่อาลัยในกามทั้งหลายบวชแล้ว.
         บทว่า ฌายติ  ได้แก่ เป็นผู้ขวนขวายฌานแม้ทั้งสอง   คืออารัมมณู-
ปนิชฌาน  และลักขณูปนิชฌานอยู่.                                     
         บทว่า    สเมโต   นจฺจคีเตหิ    ได้แก่   เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยการ
ฟ้อนและการขับ  อธิบายว่า   ดูการฟ้อน   ฟังการขับร้องอยู่.  บางอาจารย์
กล่าวว่า  สมฺมโต   ดังนี้ก็มี  อธิบายว่า  อันเขาบูชาแล้วด้วยการฟ้อนและ
การขับร้อง.                                         
         บทว่า  สมฺมตาฬปฺปโพธโน  ความว่า  เป็นผู้อันเขาพึงปลุกให้ตื่น
ในเวลาใกล้รุ่งด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย.
         บทว่า  น  เตน  สุทฺธิมชฺฌคํ   ความว่า  เราไม่ได้บรรลุถึงความ

   

หน้าที่ 168

บริสุทธิ์ในสงสาร  เพราะการบริโภคกามนั้น.
         บทว่า   มารสฺส    วิสเย   รโต   ได้แก่  เป็นผู้ยินดีในกามคุณอัน
เป็นอารมณ์ของกิเลสมาร   อธิบายว่า   ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า   สังสาร-
สุทธิ    ความบริสุทธิ์ในสงสาร     ย่อมมีเพราะการบริโภคกามคุณอันเป็น
อารมณ์ของกิเลสมาร.    ด้วยเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่า     ก้าวล่วงเบญจ-
กามคุณนั้น  ดังนี้เป็นต้น.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  เอตํ   ได้แก่  กามคุณทั้ง ๕ ประการ
นั้น.  บทว่า  สมติกฺกมฺม  แปลว่า  ก้าวล่วงพ้นไปแล้ว   อธิบายว่า   เป็น
ผู้ไม่ห่วงใยละทิ้งไป.
         บทว่า  สพฺโพฆํ  ได้แก่  โอฆะทั้งปวง  มีโอฆะคือกามเป็นต้น.
         เพื่อจะแสดงกามคุณ  ๕  โดยสรุป   จึงกล่าวคำมีอาทิว่า   รูป   เสียง
ดังนี้.   บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า  มโนรมา   มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ :-   
กามคุณมีอาทิว่า  เสียง   ชื่อว่า  เป็นที่รื่นรมย์ใจ  คือเป็นที่ทำใจให้เอิบอาบ
เพราะทำใจให้ยินดี  โดยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ.
           บทว่า   ปิณฺฑปาตมติกฺกนฺโต   ได้แก่  ผู้ล่วงพ้นการรับบิณฑบาต
อธิบายว่า  กลับจากการรับบิณฑบาต.
         บทว่า   เอโก  ได้แก่   เป็นผู้เดียวไม่มีปัจฉาสมณะ.
         บทว่า  อหุติโย  ได้แก่   ผู้หมดตัณหา.   จริงอยู่  ตัณหาชื่อว่าเป็น
เพื่อนสองของตน.    เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า    บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อนสอง.
บทว่า   เอสติ   แปลว่า   แสวงหา.
         บทว่า    วิจินิ    ความว่า    เมื่อแสวงหา    ได้เลือกหาในที่ที่เกิดผ้า
บังสุกุล  มีกองหยากเยื่อเป็นต้นในที่นั้น ๆ.

   

หน้าที่ 169

         บทว่า  อคฺคหิ   ความว่า  ครั้นเลือกหาแล้ว  ไม่เกลียดแม้ผ้าที่เปื้อน
ของไม่สะอาด   จึงถือเอา.   บทว่า   โธวิ   แปลว่า   ทำให้สะอาดแล้ว.
         บทว่า   รชยิ   ได้แก่   ซักแล้วเย็บให้ติดกัน    แล้วย้อมด้วยการย้อม
อันเป็นกัปปิยะของสมควร.
         บทว่า   ธารยิ   ได้แก่    ครั้นย้อมแล้ว    ทำพินทุกัปแล้วใช้ครอง,
คือนุ่งและห่ม.
         บัดนี้  พระเถระเมื่อแสดงโอวาทที่พระศาสดาทรงประทานในปาจีน-
วังสทายวัน  และความที่ตนถึงที่สุดแห่งโอวาทนั้น  จึงได้กล่าวคาถามีอาทิ
ว่า  ผู้มักมาก  ไม่สันโดษ.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  มหิจฺโฉ  ได้แก่  ผู้ประกอบด้วยความ
อยากได้ปัจจัยมาก   อธิบายว่า   ปรารถนาปัจจัยอันยิ่งใหญ่และมาก.
         บทว่า   อสนฺตุฏฺโ€    ได้แก่   ผู้ไม่สันโดษ   คือเว้นจากสันโดษมี
ยถาลาภสันโดษเป็นต้น.
         บทว่า  สํสฏฺโ€   ได้แก่   ผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต   ด้วย
การระคนอันไม่ควร.
         บทว่า  อุทฺธโต   แปลว่า  ผู้ฟุ้งซ่าน.
         บทว่า   ตสฺส   ได้แก่   บุคคลที่กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า   ผู้มักมาก.
         บทว่า    ธมฺมา    ได้แก่    ธรรมทั้งหลายเช่นนี้     คือความมักมาก
ความไม่สันโดษ    ความเป็นผู้ระคนด้วยหมู่    ความฟุ้งซ่าน.   ชื่อว่าบาป
เพราะอรรถว่าลามก.
         บทว่า  สงฺกิเลสา   ได้แก่  ธรรมทั้งหลาย  ชื่อว่าเศร้าหมอง   เพราะ
กระทำความเศร้าหมองให้แก่จิตนั้น.

   

หน้าที่ 170

         บทว่า  สโต  จ   โหติ   อปฺปิจฺโฉ  ความว่า  ก็ในกาลใด   บุคคล
นี้    เสพ   คบ   เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร   ฟังสัทธรรม  ใส่ใจโดยแยบคาย
เป็นผู้มีสติ   และละความมักมากเสีย   เป็นผู้มักน้อย.   ในกาลนั้น    ชื่อว่า
เป็นผู้สันโดษ   เพราะละความไม่สันโดษ.   ชื่อว่าผู้ไม่ขัดเคือง   เพราะละ
ความฟุ้งซ่านอันกระทำความขัดเคืองจิต.     ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน     มีจิตเป็นสมาธิ
ชื่อว่าผู้ยินดีในควานสงัด  เพราะละการคลุกคลีกับหมู่  ชื่อว่า เป็นผู้สงัดแล้ว
เพราะยินดียิ่งในความวิเวก    ด้วยความหน่าย   ( และ ) ด้วยความเอิบอิ่มใน
ธรรม    คือมีใจดี    มีจิตยินดี    ชื่อว่าปรารภความเพียร    เพราะละความ
เกียจคร้าน.
         บุคคลนั้นผู้ประกอบด้วยคุณ   มีความมักน้อยเป็นต้นอย่างนี้  ย่อมมี
โพธิปักขิยธรรมอันนับเนื่องในมรรค  มี   ๓๗   ประเภทมีสติปัฏฐานเป็นต้น
อันสงเคราะห์เอาวิปัสสนา  ๓  อย่าง    ชื่อว่าเป็นกุศล    เพราะอรรถว่าเกิด
จากความฉลาด.
         บุคคลนั้นผู้ประกอบด้วยโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น   ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มี
อาสวะ   จำเดิมแต่ขณะแห่งอรหัตมรรค   เพราะทำอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไป
ด้วยประการทั้งปวง   อธิบายว่า  ด้วยอำนาจการให้ถึงที่สุดในมหาปุริสวิตก
ในป่าปาจีนวังสทายวัน  อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ตรัสไว้
ดังนี้    คือด้วยประการอย่างนี้.                                           
         บทว่า   มม   สงฺกปฺปมญฺ?าย   ความว่า  ทรงรู้ความดำริของเรา
ผู้ปรารภมหาปุริสวิตกโดยนัยมีอาทิว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้
สำหรับผู้มักน้อย      ธรรมนี้ไม่ใช่สำหรับผู้มักมาก    และซึ่งตั้งอยู่โดยภาวะ
ไม่สามารถเพื่อจะให้มหาปุริสวิตกเหล่านั้นถึงที่สุดลงได้.

   

หน้าที่ 171

         บทว่า  มโนมเยน  ได้แก่   ดุจสำเร็จด้วยใจ   อธิบายว่า  เปลี่ยน
แปลงไปได้เหมือนกับเนรมิตด้วยใจ.
         บทว่า    อิทฺธิยา     ได้แก่    ด้วยอธิษฐานฤทธิ์ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า
กายนี้จงเป็นเหมือนจิตนี้.
         บทว่า   ยทา  เม  อหุ  สงฺกปฺโป   มีวาจาประกอบความว่า   ใน
กาลใด   เราได้มีความปริวิตกว่า   มหาปุริสวิตกข้อที่  ๘ เป็นเช่นไรหนอแล
ในกาลนั้น  ทรงทราบความดำริของเรา  ได้เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์.
         บทว่า   อุตฺตริ   เทสยิ   ความว่า   ทรงแสดงสูงขึ้นให้มหาปุริสวิตก
ข้อที่  ๘  ครบบริบูรณ์ว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมนี้สำหรับผู้ไม่มีธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี    ผู้ยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า   ไม่ใช่สำหรับผู้มี
ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี    ผู้ยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า.      ก็
พระเถระเมื่อจะแสดงธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้น   จึงกล่าวว่า  พระพุทธเจ้า
ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า   ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า.
         อธิบายว่า  กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น    ชื่อว่า ปปัญจธรรม  ธรรม
เครื่องเนิ่นช้า   โลกุตรธรรมทั้งหลายชื่อว่า  นิปปปัญจธรรม   ธรรมเครื่อง
ไม่เนิ่นช้า   เพราะเข้าไปสงบระงับกิเลสเหล่านั้น   และเพราะกิเลสเหล่านั้น
ไม่มี,    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยินดี    คือทรงยินดียิ่งในธรรมเครื่องไม่
เนิ่นช้านั้น   ได้ทรงแสดงธรรมตามที่ทรงบรรลุเช่นนั้น   คือทรงประกาศ
พระธรรมเทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔   ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง.
         บทว่า  ตสฺสาหํ     ธมฺมมญฺ?าย  ความว่า  เรารู้พระธรรมเทศนา
ของพระศาสดานั้นแล้ว    ปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอนอยู่  เป็นผู้ยินดี   คือ
ยินดียิ่งในคำสอนอันสงเคราะห์ด้วยสิกขา  ๓.

   

หน้าที่ 172

         พระเถระครั้นแสดงการสมาคมการอยู่ร่วมของตน  ซึ่งเป็นประโยชน์
อันพระศาสดาทรงให้สำเร็จแล้วด้วยการสมาคมนั้น         บัดนี้เมื่อจะแสดง
ความเป็นผู้ปรารภความเพียร     จำเดิมแต่กาลที่คนบวชแล้ว    และการเสีย
สละความสุขในการนอน   และความสุขในการนอนข้าง   เพราะความเป็น
ผู้ไม่ห่วงในร่างกาย    และความเป็นผู้ปรารภความเพียร   จำเดิมแต่กาลที่มี
มิทธะน้อย  จึงกล่าวคาถาว่า  ปญฺจปญฺ?าสวสฺสานิ   ดังนี้.
         บรรดาบทเหล่านั้น      บทว่า   ยโต   เนสชฺชิโก   อหํ    ความว่า
จำเดิมแต่กาลที่เราได้เห็นคุณมีอาทิอย่างนี้ว่า   ความเกื้อกูลแก่การประกอบ
ความเพียร   ความประพฤติของสัปบุรุษอันเกี่ยวเนื่องด้วยกรรมฐาน   และ
ความประพฤติขัดเกลากิเลส        แล้วเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรนั้นเป็นเวลา
๕๕ ปี.
         บทว่า   ยโต    มิทฺธํ   สมูหตํ    ความว่า   จำเดิมแต่กาลที่เราเสีย
สละการนอนหลับนั้นเป็นเวลา  ๒๕ ปี.    บางอาจารย์กล่าวว่า    พระเถระ
เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร  ๕๕  ปี   เบื้องต้นไม่ได้หลับ  ๒๕  ปี   ต่อแต่นั้น
จึงได้หลับในเวลาปัจฉิมยาม   เพราะร่างกายอ่อนเปลี้ย.
         คาถา ๓  คาถามีอาทิว่า  นาหุ   อสฺสาสปสฺสาสา นี้   พระเถระถูก
ภิกษุทั้งหลายถามในเวลาที่พระศาสดาเสด็จปรินิพพานว่า     พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จปรินิพานแล้วหรือ  เมื่อจะประกาศภาวะคือการปรินิพพาน
จึงกล่าวไว้.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  นาหุ  อสฺสาสปสฺสาสา   €ิตจิตฺตสฺส
ตาทิโน    ความว่า    ลมอัสสาสปัสสาสะมิได้มีแก่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ผู้คงที่   ผู้เข้าสมาบัติทุกอย่างอื่นเกลื่อนกล่นด้วยอาการต่าง ๆ  โดยอนุโลม

   

หน้าที่ 173

และปฏิโลม    แล้วออกจากสมาบัติในตอนหลังสุด    มีพระหฤทัยตั้งมั่นอยู่
ในจตุตถฌาน.
         ด้วยคำนั้น   ท่านแสดงว่า  กายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน  ย่อม
ดับไป    และลมอัสสาสปัสสาสะ    ท่านเรียกว่ากายสังขาร    เพราะเหตุนั้น
จำเดิมแต่ขณะอยู่ในจตุตถฌาน   ลมอัสสาสปัสสาสะจึงไม่มี.
         ชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว    เพราะไม่มีความหวั่นไหวกล่าวคือตัณหา   อีก
อย่างหนึ่ง   ชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว   เพราะเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ.
         บทว่า   สนฺติมารพฺภ   ได้แก่   ปรารภ     คืออาศัย   หมายเอาอนุ-
ปาทิเสสนิพพาน.
         บทว่า   จกฺขุมา   ได้แก่  ผู้มีจักษุด้วยจักษุ  ๕.   บทว่า ปรินิพฺพุโต
แปลว่า   ปรินิพพานแล้ว.
         จริงอยู่     ในคำนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เข้าผลสมาบัติในจตุตถฌานอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์    แล้วเสด็จปริ-
นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ       ในลำดับแห่งจตุตถฌานนั้นนั่น-
แหละ.
         บทว่า  อสลฺลีเนน  ได้แก่  มีพระหฤทัยไม่หดหู่   คือเบิกบานดีแท้.
บทว่า   เวทนํ  อชฺฌวาสยิ   ความว่า  เป็นผู้มีสัมปชัญญะ    ทรงอดกลั้น
เวทนาอันเกิดในเวลาใกล้มรณะ.    คือไม่เป็นไปตามเวทนาดิ้นรนไปรอบๆ.
         ด้วยบทว่า   ปชฺโชตสฺเสว  นิพฺพานํ  วิโมกฺโข  เจตโส  อหุ  ท่าน
แสดงว่า   ประทีปที่ลุกโพลง   อาศัยน้ำมัน   อาศัยไส้  จึงโพลงอยู่    เมื่อ
น้ำมันและไส้หมด   ย่อมดับไป  และดับแล้ว  ย่อมไม่ไปอยู่ที่ไหน ๆ  ย่อม
หายไปโดยแท้ ย่อมถึงการมองไม่เห็นฉันใด  ขันธสันดานก็ฉันนั้น  อาศัย

   

หน้าที่ 174

กิเลสและอภิสังขารเป็นไปอยู่   เมื่อกิเลสและอภิสังขารเหล่านั้นสิ้นไป   ย่อม
ดับไป   และดับไปแล้วย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ   ย่อมอันตรธานไปโดยแท้
ย่อมถึงการมองไม่เห็นเลย     ด้วยเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่า    นักปราชญ์
ทั้งหลายย่อมดับไป      เหมือนดวงประทีปนี้ดับไปฉะนั้น     และมีอาทิว่า
เหมือนเปลวไฟถูกกำลังลมเป่าฉะนั้น.
         บทว่า   เอเต  นี้    ท่านกล่าวโดยความที่ธรรมทั้งหลายอันเป็นไปใน
พระสันดารของพระศาสดา  ในขณะเวลาจะปรินิพพาน     ได้ประจักษ์แก่
ตน.    ชื่อว่ามีครั้งสุดท้าย    เพราะเบื้องหน้าแต่นั้นไม่มีการเกิดขึ้นแห่งจิต.
บทว่า   ทานิ   แปลว่า  บัดนี้.
         บทว่า    ผสฺสปญฺจมา  นี้      ท่านกล่าวโดยความที่ธรรมทั้งหลายมี
ผัสสะเป็นที่  ๕  ปรากฏขึ้น.     จริงอย่างนั้น     แม้ในกถาว่าด้วยจิตตุปบาท
ท่านก็กล่าวธรรมมีผัสสะเป็นที่  ๕ ไว้ข้างต้น.
         บทว่า   อญฺเ?   ธมฺมา   ได้แก่   ธรรม   คือจิตและเจตสิกเหล่าอื่น
พร้อมด้วยที่อาศัย  ไม่ใช่จิตและเจตสิกในเวลาปรินิพพาน.  ถามว่า   แม้จิต
และเจตสิกในเวลาปรินิพพาน   ก็จักไม่มีเลยมิใช่หรือ ?   ตอบว่า   จักไม่มี
ก็จริง      แต่เพราะไม่มีความกินแหนงใจ      ไม่ควรกล่าวหมายเอาจิตและ
เจตสิกธรรมเหล่านั้นว่า   จักไม่มี.   หากจะพึงมีความหนึ่งใจว่า   ก็ธรรม
อื่นจักมี     ดุจมีแก่พระเสขะและปุถุชนไหม     ดังนั้น     เพื่อจะห้ามความ
แหนงใจข้อนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ธรรมเหล่าอื่นจักไม่มี   ดังนี้.
         พระเถระเรียกเทวดาว่า ชาลินิ   ในคำว่า   นตฺถิ   ทานิ   ปุนาวาโส
เทวกายสฺมึ    ชาลินิ    นี้    อธิบายว่า   บัดนี้เราไม่มีการอยู่อีกต่อไป   ด้วย
อำนาจการเกิดในเทวดา    คือในเทพนิกาย   ได้แก่ในหมู่เทพ.   ท่านกล่าว

   

หน้าที่ 175

เหตุในข้อนั้นด้วยบทมีอาทิว่า   วิกฺขีโณ  หมดสิ้นแล้ว.
         ได้ยินว่า       เทวดานั้นเป็นหญิงบำเรอของพระเถระในชาติก่อน
เพราะฉะนั้น   บัดนี้    เทวดานั้นเห็นพระเถระแก่เฒ่าแล้ว   จึงมาด้วยความ
สิเนหาอันมีในก่อน   อ้อนวอนขอให้อุปบัติในเทวดาว่า   ท่านจงตั้งจิตไว้
ในเทพนิกายที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน.  ลำดับนั้น   พระเถระได้ให้คำตอบ
แก่เทวดานั้น  ด้วยคำมีอาทิว่า  บัดนี้  (การอยู่ในภพใหม่ ) ไม่มี.   เทวดา
ได้ฟังดังนั้น  หมดความหวัง  ได้หายไปในที่นั้นเอง.
         ลำดับนั้น   พระเถระเหาะขึ้นสู่เวหาส   เมื่อจะประกาศอานุภาพของ
ตน   แก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย    จึงกล่าวคาถาว่า    ยสฺส    มุหุตฺเตน
ดังนี้.
         ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า  ภิกษุขีณาสพใดรู้แจ้ง  คือรู้ได้โดย
ชอบ  ได้แก่ กระทำให้ประจักษ์ซึ่งโลกพร้อมกับพรหมโลกตั้งพันประเภท
คือพันประการ     ได้แก่     ประเภทโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฎิ.
จักรวาล๑  โดยกาลเพียงครู่เดียวเท่านั้น   ภิกษุนั้นเป็นผู้ถึงความชำนาญในคุณ
คืออิทธิฤทธิ์     คือในความถึงพร้อมด้วยฤทธิ์และในจุติและอุปบัติ   ด้วย
ประการอย่างนี้    ย่อมเห็นเทวดาในเวลาเข้าไป    คือพระเถระนั้นไม่เสื่อม
ในการเห็นเทวดาทั้งหลาย.    ได้ยินว่า   เมื่อพระเถระกล่าวคาถาว่า   บัดนี้
(ภพใหม่) ไม่มี  ดังนี้  ด้วยการให้คำตอบแก่เทวดาชาลินี  ภิกษุทั้งหลาย
ไม่เห็นเทวดาชาลินี     จึงคิดว่า   พระเถระร้องเรียกอะไร ๆ  ด้วยการเรียก
ธรรมหรือหนอ.    พระเถระรู้อาจาระแห่งจิตของภิกษุเหล่านั้น    จึงกล่าว
คาถานี้ว่า  ยสฺส  มุหุตฺเตน  ดังนี้.

๑.  อัง.   ติก.  ๒๐/ ข้อ  ๕๒๐.

   

หน้าที่ 176

         บทว่า    อนฺนภาโร    ปุเร    ได้แก่   ผู้มีนามอย่างนี้ในชาติก่อน.
บทว่า  ฆาสหารโก   ได้แก่    ผู้การทำการรับจ้างเพื่อต้องการเพียงอาหาร
เลี้ยงชีวีต.                                                                             
         บทว่า  สมณํ  ได้แก่  ผู้มีบาปสงบแล้ว.
         บทว่า   ปฏิปาเหสิ    ได้แก่    มอบถวายเฉพาะหน้า,    อธิบายว่า
เป็นผู้มีหน้าเฉพาะะด้วยความเลื่อมใส  ได้ให้ทานอาหาร.
         บทว่า    อุปริฏฺ€ํ    ได้แก่    พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีนามอย่างนั้น.
บทว่า  ยสสฺสินํ  ได้แก่   ผู้มีเกียรติ  คือมียศปรากฏ.   ด้วยคาถานี้   พระ-
เถระแสดงถึงบุรพกรรมของตน   ซึ่งเป็นเหตุให้ได้สมบัติอันยิ่งใหญ่   จน
กระทั่งอัตภาพสุดท้าย .   ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า  เรานั้นเกิด
ในศากยตระกูล.
         บทว่า  อิโต  สตฺต   ความว่า  จุติจากมนุษยโลกนี้   แล้วเป็นเทพ
๗   ครั้ง  ด้วยความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ในเทวโลก.
         บทว่า   ตโต   สตฺต   ความว่า   จุติจากเทวโลกนั้นแล้วเป็น  ๗  ครั้ง
โดยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก.
         บทว่า   สํสารานิ   จตุทฺทส   ได้แก่   ท่องเที่ยวไปในระหว่างภพ
๑๔  ครั้ง.
         บทว่า  นิวาสมภิชานิสฺสํ   แปลว่า  ได้รู้ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในชาติ
ก่อน.
         บทว่า   เทวโลเก  €ิโต   ตทา   ความว่า  ก็เราได้รู้ขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลก่อนนั้น    ในอัตภาพนี้เท่านั้นก็หามิได้   โดยที่แท้    ในคราวที่
ดำรงอยู่ในเทวโลก   ในอัตภาพที่ล่วงมาติดต่อกับอัตภาพนี้   เราก็ได้รู้.

   

หน้าที่ 177

         บัดนี้     พระเถระเมื่อจะแสดงอาการที่ตนได้ทิพจักษุญาณและจุตูป-
ปาตญาณ   จึงได้กล่าวคาถา  ๒   คาถาโดยนัยมีอาทิว่า  ปญฺจงฺคิเก   สมาธิ
ประกอบด้วยองค์  ๕.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ปญฺจงฺคิเก  สมาธิมฺหิ  ได้แก่  สมาธิ
ในจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา,     จริงอยู่     จตุตถฌานสมาธินั้น
ท่านเรียกว่า  สมาธิประกอบด้วยองค์  ๕  เพราะประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
คือความแผ่ไปแห่งปีติ    ความแผ่ไปแห่งสุข    ความแผ่ไปแห่งใจ    ความ
แผ่ไปแห่งอาโลกแสงสว่าง  และปัจจเวกขณนิมิต   นิมิตสำหรับเป็นเครื่อง
พิจารณา.
         บทว่า  สนฺเต   ความว่า  ชื่อว่าสงบ  เพราะสงบระงับข้าศึก   และ
เพราะมีองค์สงบแล้ว.
         บทว่า  เอโกทิภาวิเต   ได้แก่  ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  อธิบาย
ว่า   ถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมที่พระพฤติดีแล้ว.
         บทว่า   ปฏิปฺปสฺสทฺธิลทฺธมฺหิ   แปลว่า   ได้ความสงบระงับกิเลส
ทั้งหลาย.
         บทว่า   ทิพฺพจกฺขุ   วิสุชฺฌิ   เม   ความว่า   เมื่อสมาธิมีประการ
อย่างนี้พรั่งพร้อมแล้ว    ทิพจักษุญาณของเราจึงบริสุทธิ์    คือได้เป็นทิพ-
จักษุญาณอันหมดจด  โดยความหลุดพ้นจากอุปกิเลส  ๑๑ ประการ.       
         บทว่า  จุตูปปาตํ   ชานานิ   ความว่า   เรารู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์
ทั้งหลาย,   ก็เมื่อรู้ย่อมรู้การมาและการไปของสัตว์ทั้งหลายว่า   สัตว์เหล่านี้
มาจากโลกโน้นแล้วอุปบัติในโลกนี้      และไปจากโลกนี้แล้วอุปบัติในโลก
โน้น     และเมื่อรู้นั่นแหละ    ย่อมรู้ได้ก่อนกว่าอุปบัติถึงความเป็นอย่างนี้

   

หน้าที่ 178

คือความเป็นมนุษย์ของสัตว์เหล่านั้น    และความเป็นประการอื่นจากความ
เป็นมนุษย์นั้น    และความเป็นเดียรัจฉานโดยประการอื่น.    พระเถระเมื่อ
จะแสดงว่า   ความรู้นี้นั้นแม้ทั้งหมดย่อมมี   ในเมื่อสมาธิอันประกอบด้วย
องค์  ๕ ถึงพร้อม   จึงกล่าวว่า  ดำรงอยู่ในฌานอันประกอบด้วยองค์  ๕.
ในคำนั้นมีอธิบายว่า  เราเป็นผู้ดำรงคือประดิษฐานอยู่ในฌานอันประกอบ
ด้วยองค์  ๕ นั้น   จึงรู้อย่างนี้.                         
         พระเถระครั้นแสดงวิชชา  ๓  อย่างนี้แล้ว      เมื่อจะแสดงวิชชาที่  ๓
พร้อมทั้งความสำเร็จแห่งกิจ       แม้ที่ได้แสดงไว้แล้วในครั้งก่อน      โดย
ประสงค์เอาวิชชา  ๓ นั้น    จงกล่าวคาถา  ๒  คาถาโดยนัยมีอาทิว่า   พระ-
ศาสดาเราคุ้นเคยแล้ว.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วชฺชีนํ   เวฬุวคาเม   ได้แก่  ในเวฬุว-
คามแห่งแคว้นวัชชี        คือในเวฬุวคามซึ่งเป็นที่เข้าจำพรรษาครั้งสุดท้าย
ในแคว้นวัชชี.   บทว่า  เหฏฺ€โต   เวฬุคุมฺพสฺมึ    ได้แก่   ในภายใต้พุ่มไผ่
พุ่มหนึ่งในเวฬุวคามนั้น.   บทว่า  นิพฺพายิสฺสํ  แปลว่า  เราจักนิพพาน
อธิบายว่า  เราจักปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
        จบอรรถกถาอนุรุทธเถรคาถาที่  ๙

   

หน้าที่ 179

               
๑๐. ปาราสริยเถรคาถา
 
           
ว่าด้วยความประพฤติของภิกษุเมื่อก่อนอย่างหนึ่งขณะนี้อย่างหนึ่ง
   
       [๓๙๔]    พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ    ผู้มีจิตแน่วแน่เป็น
    อารมณ์เดียว   ชอบสงัด   เจริญฌาน    นั่งอยู่ในป่าใหญ่
    มีดอกไม้บานสะพรั่ง  ได้มีความคิดว่า เมื่อพระผู้เป็นอุดม
    บุรุษเป็นนาถะของโลก  ยังทรงพระชนม์อยู่   ความประ-
    พฤติของภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง    เมื่อพระองค์เสด็จ
    ปรินิพพานไปแล้ว  เดี๋ยวนี้ปรากฏเป็นอย่างหนึ่ง  คือภิกษุ
    ทั้งหลายแต่ปางก่อน   เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้
    นุ่งห่มผ้าเป็นปริมณฑล  ก็เพียงเพื่อจะป้องกันความหนาว
    และลม และปกปิดความละอายเท่านั้น.  ภิกษุทั้งหลายแต่
    ปางก่อน   ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม   เศร้าหมองก็ตาม
    น้อยก็ตาม  มากก็ตาม    ก็เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น
    ไม่ติดไม่พัวพันเลย.  ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน  (แม้จะถูก
    ความเจ็บไข้ครอบงำ)  ไม่ขวนขวายหาเภสัชปัจจัยอันเป็น
         บริขารแห่งชีวิต  เหมือนการขวนขวายหาความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย  ท่านเหล่านั้นขวนขวายพอกพูนวิเวก   มุ่ง
          แต่เรื่องวิเวก   อยู่ในป่า   โคนไม้  ซอกเขาและถ้ำเท่านั้น
    ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อนเป็นผู้อ่อนน้อม   มีศรัทธาตั้งมั่น
    เลี้ยงง่าย    อ่อนโยน   มีน้ำใจไม่กระด้าง     ไม่ถูกกิเลส
     รั่วรด     ปากไม่ร้าย     เปลี่ยนแปลงตามความคิดอันเป็น



-----------------------------------------



พระคาถาพระอนุรุธเถรเจ้า

-http://www.dhamdee.com/board/index.php?act=ST&f=1&t=199-

มัยหังปุตโต ปุญญะวากะตา
ภินิหาโร ภะวิสสะติ เทวะตะหิ ปาติง
ปูเรตวา ปูวาปะหิตา ภะวิสสะตีติ

พระคาถาบทนี้เป็นพระคาถาของพระอนุรุธะเถระเจ้า เป็น
พระคาถาที่ท่านโบราณาจาริย์หวงแหนปิดบังกันมาก อำนาจ
ของมนต์พระคาถาบทนี้ผู้ใดได้เล่าบ่นจำเริญไว้ประจำหมั่นทำบุญ
ตักบาตร์เป็นนิจสินแล้วสวดพระคาถานี้อธิษฐาน ปรารถนา เอาสิ่ง
ซึ่งตน พึ่งประสงค์ สิ่งนั้น จะพลัน อุบัติให้ได้ด้วย อำนาจเทพยดา
บรรดาลให้เป็นไปภาวนาพระคาถาบทนี้แล้วไซร้จะคิดทำอย่างไร
อย่าพูดคำว่า "ไม่มี-ไม่ได้" เพราะอำนาจของพระคาถานี้จะดล
บรรดาลให้ได้สำเร็จดุจเยี่ยงเดียวกับอนุรุทธะ กุมาร ซึ่งท่านไม่เคย
รู้จักคำว่า "ไม่มี" เลยตลอดชนมายุของท่านแล



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การทำบุญด้วยแสงไฟ (พระอนุรุทธ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 27, 2014, 05:14:10 pm »
ประวัติพระอนุรุทธเถระ

-http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2651:2010-08-29-13-15-45-

ประวัติพระอนุรุทธเถระ

พระอนุรุทธเถระผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ ควรจะได้ทราบว่าการที่พระอนุรุทธเถระเป็นผู้เลิศเช่นนั้น เพราะเป็นผู้มีความชำนาญที่ได้สั่งสมไว้แล้วในเวลาที่ผ่านมา.อรรถกถากล่าวว่า พระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น ดังนั้น พระเถระนี้จึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมไว้ตลอดวันและคืน ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้
ความปรารถนาในอดีต

กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระอนุรุทธเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน. แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักมีชื่อว่าอนุรุทธ ท่านจักเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

ตั้งแต่นั้นมา ตราบที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านก็ได้กระทำแต่กรรมที่ดีมาโดยตลอด ครั้นเมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์สร้างสำเร็จแล้ว ท่านจึงเข้าไปหาเหล่าภิกษุสงฆ์ แล้วถามภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่า ทำบุญด้วยอะไรจึงจะทำให้ได้ทิพยจักษุ ภิกษุสงฆ์บอกว่าควรทำบุญด้วยประทีป ท่านจึงให้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น และสร้างประทีปบริวารด้วยถ้วยกระเบื้องและถาดสัมริดนับจำนวนไม่ได้ถวายเป็นพุทธบูชา และอธิษฐานว่า ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้เกิดทิพยจักษุญาณ ท่านกระทำเช่นนี้จนตลอดชีวิต เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย วนเวียนอยู่เช่นนั้นตลอดแสนกัป

บุรพกรรมในสมัยพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า

ครั้งที่ท่านเกิดในสมัยของพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ครั้งนั้นท่านถวายประทีป แก่พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้ พระองค์ทรงรับแล้วห้อยไว้ที่ต้นไม้ ท่านได้ถวายไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง แด่พระพุทธองค์ด้วย ประทีปนั้นลุกโพลงอยู่ ๗ วันแล้วดับไปเอง อานิสงส์ครั้งนั้นท่านได้กล่าวว่า จะนับจะประมาณมิได้ อาทิเช่น

เมื่อท่านเกิดเป็นเทวดา วิมานของท่านก็มีรัศมีรุ่งโรจน์ สว่างไสว ท่านได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์อยู่ ๒๘ ชาติ ท่านมีจักษุอันเป็นทิพย์สามารถมองเห็นได้ไกลหนึ่งโยชน์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านมีรัศมีกายแผ่ออกไปจากร่างประมาณโยชน์หนึ่ง ท่านได้เกิดเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป

บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

ครั้นสมัยในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเกิดในเรือนคฤหบดีใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน มหาชนได้สร้างพระเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ท่านก็ให้สร้างภาชนะสำริดจำนวนมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม แล้ววางไส้ตะเกียงห่างกัน ๑ องคุลี ในภาชนะดังกล่าววางล้อมพระเจดีย์ให้เรียงชิดกันแล้วจุดไฟขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้สร้างภาชนะสำริดที่ใหญ่กว่าใส่เนยใสเต็ม จุดไส้ตะเกียงพันดวงรอบ ๆ ขอบปากภาชนะสำริดนั้น แล้วให้จุดไฟขึ้น ท่านเทินภาชนะสำริดไว้บนศีรษะ เดินประทักษิณเวียนบูชาเจดีย์ระยะทางโดยรอบประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนจนถึงเช้ารุ่ง เขาแต่กรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก
ถวายภัตแด่พระอุปริฎฐะปัจเจกพุทธเจ้า

ขอจงอย่าได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’

ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.เขาถือปฏิสนธิในนครพาราณสีนั้นอีก ในเรือนของตระกูลยาจกเข็ญใจ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ เป็นคนหาบหญ้า อาศัยอยู่กับสุมนเศรษฐี ผู้ซึ่งให้มหาทานที่ประตูบ้านแก่คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพกและยกจก ทุกวัน ๆ

วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า?นามว่าอุปริฎฐะเข้านิโรธสมบัติ ที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาว่า วันนี้ ควรจะทำการอนุเคราะห์ใคร ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อนุเคราะห์คนเข็ญใจ ท่านจึงคิดว่าวันนี้เราควรทำการอนุเคราะห์นายอันนภาระ ท่านทราบว่า นายอันนภาระจะออกจากป่ากลับมายังบ้านตน ท่านจึงเหาะจากภูเขาคันธมาทน์มายืนอยู่ที่หน้านายอันนภาระที่ประตูบ้านนั่นเอง

นายอันนภาระเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงถือบาตรเปล่าจึงนิมนต์ว่าโปรดรออยู่ที่นี้ก่อนเถิดขอรับ แล้วรีบไปถามภรรยาว่า อาหารที่ท่านเตรียมไว้สำหรับเรามีหรือไม่ นางตอบว่า มี เขาจึงไปรับบาตรจากพระปัจเจกพุทธเจ้ามา แล้วกล่าวว่า ด้วยเหตุที่เราไม่ได้ทำกรรมที่ดีไว้ในชาติก่อน เราก็ต้องเป็นลูกจ้างเขาอยู่เช่นนี้ ครั้นเมื่อเราปรารถนาจะทำบุญ แต่ก็ขาดของที่จะทำบุญ ครั้นเมื่อมีของที่จะทำบุญก็หาพระผู้สมควรรับไทยธรรมนั้นไม่ได้ มาวันนี้เราพบพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าเข้าพอดี และของที่จะทำบุญก็มีอยู่ ท่านจงใส่อาหารที่เป็นส่วนของฉันลงในบาตรนี้ หญิงผู้เป็นภรรยาก็คิดว่า เมื่อใดสามีของเราให้อาหารซึ่งเป็นส่วนของเขา เมื่อนั้นเราก็ควรมีส่วนในทานนี้เช่นกัน คิดดังนั้นแล้วจึงวางอาหารที่เป็นส่วนของตนลงในบาตรถวายแก่อุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าด้วย นายอันนภาระนำบาตรอันบรรจุภัตตาหารมาถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ขอให้พวกข้าพเจ้าพ้นจากความอยู่อย่างลำบากเช่นนี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’

พระปัจเจกพุทธเจ้า อนุโมทนาว่า จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด เขาจึงปูลาดผ้าห่มของตนลงแล้วนิมนต์พระปัจจเจกพุทธเจ้าเพื่อทรงฉันภัตตาหาร พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงนั่ง ณ อาสนะนั้นแล้ว ทรงพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วจึงทรงฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว นายอันนภาระจึงถวายน้ำสำหรับล้างบาตร ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาว่าสิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารถนาแล้วจงสำเร็จทันที

เทวดาที่สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกล่าวสาธุการขึ้น ๓ ครั้ง สุมนเศรษฐีได้ยินเทพยดาประจำฉัตรกล่าวอนุโมทนา จึงคิดว่า เราให้ทานตลอดเวลามากตั้งเท่าไหร่ ก็ยังไม่อาจทำให้เทวดาให้สาธุการ นายอันนภาระที่อาศัยเราอยู่นี้ ถวายบิณฑบาตเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็ทำให้เทวดาให้สาธุการได้ เนื่องเพราะเขาได้ทำบุญกับบุคคลผู้ที่สมควรเป็นปฏิคาหก เราพึงให้ทรัพย์แก่นายอันนภาระนั้น แล้วทำให้บุญนั้นเป็นของของเราจึงจะดี

คิดดังนั้นแล้วจึงเรียกนายอันนภาระมาแล้วถามว่าวันนี้เจ้าให้ทานอะไร ๆ แก่ใครหรือ นายอันนภาระตอบว่า ข้าพเจ้าถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะเศรษฐีกล่าวว่า เจ้าจงรับกหาปณะไปแล้วให้บุญนั้นแก่เราเถอะ นายอันนภาระตอบว่าให้ไม่ได้หรอกนายท่าน เศรษฐีเพิ่มทรัพย์ขึ้นจนถึงพันกหาปณะ นายอันนภาระก็ยังกล่าวว่า แม้ถึงพันกหาปณะก็ยังให้ไม่ได้ เศรษฐีกล่าวอ้อนวอนขอให้ส่วนบุญแก่ฉันเถอะ นายอันภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าส่วนบุญนั้น ควรให้หรือไม่ควรให้ แต่ข้าพเจ้าจะถามพระปัจเจกพุทธเจ้าดู ถ้าควรให้ก็จะให้ ถ้าไม่ควรให้ก็จะไม่ให้

แล้วนายอันนภาระจึงเดินไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า สุมนเศรษฐีให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าพันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตที่ถวายแก่ท่าน ข้าพเจ้าควรจะให้หรือไม่ให้ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เราจะเปรียบให้ท่านฟัง ในบ้านตำบลนี้มีร้อยเรือน เราจุดประทีปไว้ในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้น เรือนอื่นเอาตะเกียงของตนมาต่อไฟถือไป แสงของประทีปดวงเดิมยังมีอยู่หรือไม่นายอันนภาระกล่าวว่า แสงประทีปก็จะสว่างขึ้นไปอีก พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่าฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนอื่น พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็เพิ่มขึ้นแก่ตนเท่านั้น ดังนี้

นายอันนภาระกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกลับไปยังสำนักของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า ขอท่านจงรับส่วนบุญในบิณฑบาตทานเถิด เศรษฐีกล่าวว่า เชิญท่านรับทรัพย์พันกหาปณะไปเถิด นายอันนภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ขายบิณฑบาตทาน แต่ข้าพเจ้าให้ส่วนบุญแก่ท่านด้วยศรัทธา เศรษฐีกล่าวว่า ท่านให้ส่วนบุญแก่เราด้วยศรัทธา แต่เราบูชาคุณของท่าน ฉันให้พันกหาปณะนี้ จงรับไปเถิด นายอันนภาระจึงถือเอาทรัพย์พันกหาปณะไป เศรษฐีกล่าวว่า ตั้งแต่นี้ไปท่านไม่ต้องงานให้เหน็ดเหนื่อย ท่านจงปลูกเรือนอยู่ใกล้ถนนเถิด ถ้าท่านต้องการสิ่งใดฉันจะมอบสิ่งนั้นให้ ท่านจงมานำเอาไปเถอะ

ปกติแล้วบิณฑบาตที่บุคคลใดถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ บุคคลนั้นย่อมได้รับผลบุญในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นสุมนเศรษฐีในครั้งก่อนที่ไปเฝ้าพระราชา ก็ไม่เคยชวนนายอันนภาระไปด้วย แต่ในวันนั้นได้ชวนนายอันนภาระไปด้วย ในวันนั้นพระราชาไม่มองดูเศรษฐีเลย ทรงมองแต่นายอันนภาระเท่านั้น เศรษฐีจึงทูลถามว่า เหตุไฉนพระองค์จึงทรงมองดูแต่บุรุษผู้นี้ พระราชาตรัสว่า เรามองดูเขาเพราะไม่เคยเห็นเขาเข้าเฝ้าในวันอื่น ๆ เขาชื่ออะไร เศรษฐีทูลว่า ชื่อนายอันนภาระ แล้วเศรษฐีก็ได้เล่าเรื่องที่เขาไม่บริโภคอาหารของตน แต่ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะ แล้วเขาได้แบ่งส่วนบุญให้ เขาได้ทรัพย์พันกหาปณะจากตนเพื่อบูชาบุญนั้น พระราชาตรัสว่า เขาก็ควรจะได้จากเราบ้าง เราเองก็ควรทำการบูชาบุญนั้น แล้วจึงพระราชทานทรัพย์พันกหาปณะให้นายอันนภาระ แล้วตรัสสั่งให้พนักงานสำรวจดูบริเวณที่จะปลูกเรือนที่นายอันนภาระจะอยู่

เมื่อพนักงานกำลังจัดแจงแผ้วถางที่สำหรับเรือนนั้นก็ได้พบขุมทรัพย์ชื่อปิงคละ ในที่นั้นตั้งเรียงกัน จึงมากราบทูลพระราชา ๆ สั่งให้ไปขุดขึ้นมา เมื่อพนักงานเหล่านั้นกำลังขุดอยู่ ขุมทรัพย์ก็กลับจมลงไป พนักงานเหล่านั้นไปกราบทูลพระราชาอีก พระราชาตรัสว่า ทรัพย์นั้นเป็นของนายอันนภาระ จงไปขุดเพื่อนายอันนภาระ พนักงานก็ไปขุดตามคำสั่ง ขุมทรัพย์ก็ผุดขึ้น พนักงานเหล่านั้นขนทรัพย์มากองไว้ในพระราชวัง พระราชาประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสถามว่า ในเมืองนี้ใครมีทรัพย์มีถึงเท่านี้บ้าง อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีใครมี พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้จงชื่อว่า ธนเศรษฐีในพระนครนี้ เขาได้ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้นนั่นเอง.

กำเนิดเป็นเจ้าอนุรุทธศากยะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ตั้งแต่วันนั้น เขากระทำแต่กรรมอันดีงามจนตลอดชีวิตจุติจากภพนั้นไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์เป็นเวลานาน ครั้งที่พระศาสดาของพวกเราทรงอุบัติ เขาก็มาถือปฏิสนธิเป็น เจ้าอนุรุทธ พระโอรสแห่งเจ้าอมิโตทนะศากยะ ผู้เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนศากยะ?แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าอนุรุทธเป็นน้องชายของเจ้ามหานามะศากยะ ท่านทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก ทรงมีโภคะสมบูรณ์ ไม่เคยทรงสดับคำว่า“ ไม่มี ” มีเรื่องเล่าว่า

ทรงโปรดขนมชื่อว่า?“ไม่มี”

วันหนึ่งเมื่อท่านพร้อมกับพระญาติ ๕ พระองค์ทรงเล่นกีฬาลูกขลุบอยู่ เจ้าอนุรุทธทรงแพ้พนันขนมแล้ว จึงให้มหาดเล็กไปกราบทูลพระมารดาเพื่อให้ส่งขนมมาเป็นค่าที่แพ้พนัน พระมารดาของท่านก็ทรงจัดขนมส่งไป ศากยราชทั้งหกเสวยแล้วทรงเล่นกันอีก เจ้าอนุรุทธก็เป็นฝ่ายแพ้ร่ำไป ส่วนพระมารดาต้องส่งขนมไปถึง ๓ ครั้ง ในวาระที่ ๔ จึงทรงให้ไปแจ้งว่า “ ขนมไม่มี” พระกุมารทรงคิดว่า “ ขนมชื่อนี้ คงเป็นขนมประหลาดชนิดหนึ่ง ” เพราะไม่เคยทรงได้ยินคำว่า “ ไม่มี ” จึงส่งคนไปทูลพระมารดาว่า “ ให้นำขนมไม่มี นั่นแหละมาเถิด”

ฝ่ายพระมารดาของท่าน เมื่อมหาดเล็กทูลว่า “ เจ้าอนุรุทธขอให้ทรงประทานขนมชื่อ ‘ไม่มี’ ไปถวาย ” จึงทรงพระดำริว่า “ ลูกของเราไม่เคยได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’ เราจะสอนลูกเราให้รู้คำนั้นด้วยอุบายนี้ ” จึงทรงปิดถาดทองคำเปล่าด้วยถาดทองคำอีกใบหนึ่งแล้วส่งไป.

ด้วยผลแห่งอธิษฐานในคราวที่เจ้าอนุรุทธศากยะเกิดเป็นนายอันนภาระ ได้ถวายภัตตาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ และทำความปรารถนาไว้ว่า ‘ ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’ จึงทำให้ถาดนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์ เมื่อถาดนั้นพอเขาวางลงที่สนามเล่นขลุบแล้วเปิดขึ้น กลิ่นขนมก็ตั้งตลบไปทั่วทั้งพระนคร พอกษัตริย์ทั้งหกหยิบชิ้นขนมเข้าไปในพระโอฐเท่านั้น โอชะก็แผ่ซ่านไปทั่วประสาทรับรสทั้งเจ็ดพัน.

พระกุมารนั้นทรงพระดำริว่า “พระมารดาคงจะไม่รักเรา,พระมารดาจึงไม่ทรงปรุงขนมชื่อไม่มีนี้ประทานเรามาก่อน,ตั้งแต่นี้ไป เราจะไม่กินขนมอื่น,” แล้วเสด็จไปสู่ตำหนัก ทูลถามพระมารดาว่า “ เจ้าแม่ หม่อมฉันเป็นที่รักของเจ้าแม่หรือไม่เป็นที่รัก ? ”

เจ้าย่อมเป็นที่รักยิ่งของแม่ เสมือนนัยน์ตาของคนมีตาข้างเดียว และเหมือนดวงใจของแม่ ฉะนั้น.

เมื่อเช่นนั้น เหตุไร เจ้าแม่จึงไม่เคยทรงปรุงขนมไม่มี ประทานแก่หม่อมฉันเล่า เจ้าแม่.

พระนางรับสั่งถามมหาดเล็กคนสนิทว่า “ ขนมอะไร ๆ มีอยู่ในถาดหรือ ” มหาดเล็กทูลว่า “ มีขนมเกิดขึ้นเองอยู่เต็มถาด,ขนมเช่นนี้ กระหม่อมฉันก็ยังไม่เคยเห็น” พระนางทรงพระดำริว่า “ บุตรของเราคงเป็นผู้มีบุญ บุญนั้นคงทำให้มีขนมเต็มถาด” พระโอรสจึงทูลพระมารดาว่า “ เจ้าแม่ ตั้งแต่นี้ไป หม่อมฉันจะไม่เสวยขนมอื่น ขอเจ้าแม่พึงปรุงแต่งขนมไม่มีอย่างเดียว” ตั้งแต่นั้นมา เมื่อพระกุมารทูลขอขนม พระนางก็ทรงครอบถาดเปล่านั่นด้วยถาดอื่น ส่งไปประทานพระกุมารนั้น ขนมทิพย์ก็เกิดขึ้นถวายพระกุมารนั้นตลอดเวลาที่ท่านเป็นฆราวาส
เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

ก่อนที่ท่านจะเกิดมาในสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

เกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นท้าววาสวะ ใน?สุธาโภชนชาดก

เกิดเป็นท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ใน?จตุโปสถชาดก

เกิดเป็น ๗ พี่น้อง ร่วมกับพระพุทธองค์ ใน?ภิสชาดก

เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน?สรภังคชาดก

เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระราชา ใน?มณิโจรชาดก

เกิดเป็น ปัญจาลจันทกุมาร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น มโหสถบัณฑิต ใน?มโหสถบัณฑิตชาดก

เกิดเป็น นายสารถี พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน?กุรุธรรมชาดก

เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน?อินทริยชาดก

เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น อกิตติบัณฑิต ใน?อกิตติชาดก

เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสีวิราช ใน?สีวิราชชาดก

เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระจันทกุมาร ใน?จันทกุมารชาดก

พระบรมศาสดาทรงอุบัติ

ส่วนพระโพธิสัตว์ของเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาถือปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์?ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนทรงสดับข่าวว่าพระบรมศาสดามายังกรุงราชคฤห์ จึงทรงรับสั่งให้อำมาตย์กาฬุทายี ไปนิมนต์พระบรมศาสดา อำมาตย์กาฬุทายีก็ได้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้วพระกาฬุทายีเถระทูลวิงวอนให้เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดายัง ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งนั้นทรงทำพระธรรมเทศนาอันวิจิตรแก่พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ เมื่อทรงอนุเคราะห์พระญาติแล้ว ทรงให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปจาริกในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

ขัติยศากยกุมารออกบวชตามเสด็จ

สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุลทั้งหลายตรัสให้แต่ละตระกูลในศากยราชวงศ์ส่งขัตติยกุมารออกบวชตามเสด็จ ในครั้งนั้นเล่ากันว่า ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออกผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อขัตติยกุมารโดยมากเหล่านั้นผนวชแล้ว เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์นี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธ อานันทะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต ยังมิได้ผนวชจึงสนทนากันว่า “ พวกเรายังให้ลูก ๆ ของตนบวชได้ ศากยะทั้ง ๖ นี้ มิใช่พระญาติหรือจึงมิได้ทรงผนวช”

เมื่อเป็นดังนั้นเจ้ามหานามศากยะจึงเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้เป็นน้อง และกล่าวว่า บัดนี้ ศากยะกุมารที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากได้ออกผนวชตามเสด็จ แต่ผู้ออกบวชจากตระกูลของเรายังไม่มี น้องจักบวช หรือว่า พี่จักบวช” พระอนุรุทธราชกุมารจึงทูลถามว่าการบวชนี้เป็นอย่างไร ? ” เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “ ผู้บวช ก็ต้องโกนผมและหนวด ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะ ต้องนอนบนเครื่องลาดด้วยไม้ หรือบนเตียงที่ถักด้วยหวาย เที่ยวบิณฑบาตอยู่ นี้ชื่อว่าการบวช.” เจ้าอนุรุทธศากยะจึงทูลว่า“ เจ้าพี่ หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ หม่อมฉันจักไม่สามารถบวชได้” เจ้าอนุรุทธกุมารนั้น ทรงเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล มีโภคะสมบูรณ์ แม้คำว่า“ ไม่มี ” ก็ไม่เคยได้ยิน จึงไม่ยินดีในการบวช

เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “?อย่างนั้น ท่านจงเรียนรู้การงานสำหรับอยู่เป็นฆราวาสเถิด ในระหว่างเราทั้งสองจะไม่บวชเลยสักคนก็เป็นเรื่องไม่ควร”

อนุรุทธกุมารผู้ซึ่งไม่รู้แม้กระทั่งว่าอาหารที่ตนบริโภคนั้นเกิดขึ้นที่ไหน ได้มาอย่างไร จะรู้จักการงานได้อย่างไร ?

เจ้าศากยะทั้ง ๓ สนทนากันถึงที่เกิดแห่งข้าว

ก็วันหนึ่ง ยุวกษัตริย์ ๓ องค์ คือ เจ้ากิมพิละ เจ้าอนุรุทธ และเจ้าภัททิยะ ทรงสนทนากันด้วยเรื่องว่า “ ข้าวที่เราบริโภคเกิดขึ้นที่ไหน ? ” กิมพิลกุมาร รับสั่งว่า “ เกิดขึ้นในฉาง” ครั้งนั้นภัททิยกุมาร ตรัสค้านกิมพิลกุมารนั้นว่า “ ท่านยังไม่ทราบที่เกิดแห่งข้าว ชื่อว่าข้าว ย่อมเกิดขึ้นที่หม้อข้าว” เจ้าอนุรุทธตรัสแย้งว่า “ ถึงท่านทั้งสองก็ยังไม่ทรงทราบ ธรรมดาข้าว ย่อมเกิดขึ้นในถาดทองคำประมาณศอกกำ”

ได้ยินว่า บรรดากษัตริย์ ๓ องค์นั้น วันหนึ่ง กิมพิลกุมาร ทรงเห็นเขาขนข้าวเปลือกลงจากฉาง ก็เข้าพระทัยว่าข้าวเปลือกเหล่านี้เกิดขึ้นในฉางนั่นเอง

ฝ่ายพระภัททิยกุมาร ทรงเห็นเขาคดข้าวออกจากหม้อข้าวก็เข้าพระทัยว่า ข้าวเกิดขึ้นในหม้อข้าวนั่นเอง

ส่วนอนุรุทธกุมาร ยังไม่เคยทรงเห็นคนซ้อมข้าว คนหุงข้าว หรือคนคดข้าว ทรงเห็นแต่ข้าวที่เขาคดแล้วตั้งไว้ เฉพาะพระพักตร์เท่านั้น.ท่านจึงทรงเข้าพระทัยว่า “ ภัตเกิดในถาด ในเวลาที่ต้องการบริโภค”

ยุวกษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงทราบแม้ที่เกิดแห่งข้าวตามเรื่องที่เล่ามาข้างต้น เพราะฉะนั้น?อนุรุทธกุมารนี้จึงทูลถามว่า “การทำงานนี้เป็นอย่างไร ? เจ้ามหานามศากยะ จึงสอนเรื่องการครองเรือนแก่อนุรุทธกุมารผู้น้องว่า ผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สงฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้อีก เป็นอย่างนี้ทุกปี

ครั้นอนุรุทธกุมารได้ทรงฟังกิจการที่ฆราวาสจะพึงทำเป็นประจำทุกปีเช่นนั้น ทรงมองไม่เห็นว่า การงานสำหรับเพศฆราวาสทั้งหลายจะมีที่สิ้นสุดเมื่อไร จึงทูลให้เจ้ามหานามทรงครองฆราวาส ส่วนตนเองจะเป็นผู้ออกบวช

เจ้าอนุรุทธศากยะขออนุญาตจากพระราชมารดา

เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปหาพระราชมารดา แล้วกล่าวขออนุญาตที่จะออกบวช พระราชมารดาไม่ทรงยินยอม ท่านได้กล่าวอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระราชมารดาของอนุรุทธศากยะทรงคิดว่า พระเจ้าภัททิยศากยะ ผู้ทรงเป็นพระสหายสนิทของอนุรุทธศากยะนี้ ทรงครองราชสมบัติเป็นราชาของพวกศากยะ พระองค์คงจะไม่อาจสละราชสมบัติออกทรงผนวชเป็นแน่ จึงได้กล่าวกะอนุรุทธศากยะว่า ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะทรงผนวช เจ้าก็ออกบวชได้

ลำดับนั้น อนุรุทธศากยะจึงเสด็จไปเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะ แล้วได้ทูลว่า การบวชของเรานั้นขึ้นอยู่กับตัวท่าน

พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า ไม่ว่าการบวชของท่านจะขึ้นอยู่กับตัวเราหรือไม่ก็ตาม ท่านจงบวชตามสบายเถิด

อนุรุทธศากยะได้ยินดังนั้นจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราทั้งสองจะออกบวชด้วยกัน

พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า เราไม่สามารถออกบวชได้ ถ้ามีสิ่งอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้ท่านได้ เราจะทำสิ่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านจงบวชเองเถิด

อนุรุทธศากยะตรัสว่า ก็พระมารดาได้ตั้งเงื่อนไขกับเราว่า ถ้าท่านบวชด้วย พระมารดาก็จะยอมให้เราบวช ก็ท่านพูดเมื่อครู่นี้ว่า เราจงบวชตามความสบาย ดังนั้นเมื่อท่านยอมให้เราบวช ท่านก็ต้องบวชด้วย

ในสมัยนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้มีความสัตย์ ดังนั้นพระเจ้าภัททิยศากยะได้ต่อรองว่า จงรออยู่สัก ๗ ปีเถิด เมื่อครบ ๗ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจะออกบวชด้วยกัน ฝ่ายเจ้าอนุรุทธก็ไม่ยินยอม การต่อรองได้ดำเนินไปโดยลดระยะเวลาลงเรื่อย ๆ จนถึง ๗ วัน เจ้าอนุรุทธจึงยินยอม

อุบาลีออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก

แต่นั้น กษัตริย์ทั้งหกองค์นี้ คือ ภัททิยศากยราช อนุรุทธ อานนท์ กคุ กิมพิละ และเทวทัต พร้อมกับนายภูษามาลา ชื่อ อุบาลี ได้เสด็จออกจากเมืองโดยทำเสมือนหนึ่งว่าจะเสด็จไปประพาสอุทยาน เมื่อออกนอกแดนที่เหล่าศากยะทั้ง ๖ ปกครองแล้ว ก็ทรงส่งทหารมหาดเล็กให้กลับพระนคร แล้วเสด็จต่อไปเข้าสู่แดนของศากยะราชพระองค์อื่น กษัตริย์ ๖ พระองค์ก็ทรงเปลื้องอาภรณ์ของตนออกทำเป็นห่อ แล้วรับสั่งให้นายอุบาลีกลับไปพร้อมกับนำเครื่องประดับเหล่านั้นไปเพื่อเลี้ยงชีพ ฝ่ายอุบาลีภูษามาลาไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับ โดยคิดว่า “พวกเจ้าศากยะราชโหดร้ายนัก ถ้าเรากลับไปพร้อมเครื่องประดับเช่นนี้ เจ้าศากยราชเหล่านั้นก็จะฆ่าเราเสีย ด้วยเข้าพระทัยว่า พระกุมารทั้งหลายถูกเจ้าคนนี้ปลงพระชนม์เสียแล้ว แล้วก็คิดต่อไปว่า ศากยกุมารเหล่านี้ทรงสละสมบัติ ทิ้งอาภรณ์อันหาค่ามิได้เหล่านี้ราวกับถ่มน้ำลายทิ้ง เพื่อออกผนวช ก็ทำไมเราจึงจะทำเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า ? ” ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงแก้ห่อเครื่องประดับนั้น เอาอาภรณ์เหล่านั้นแขวนไว้บนต้นไม้แล้ว กล่าวว่า “ ใครต้องการก็จงเอาไปเถิด ” แล้วหันกลับเดินไปสู่สำนักของศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้นเห็น อุบาลีภูษามาลากลับมาจึงตรัสถามถึงเหตุที่กลับมา นายภูษามาลาก็กราบทูลให้ทรงทราบ.

ศากยะทั้งหกบรรลุคุณพิเศษ

ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทรงพาอุบาลีภูษามาลา ไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ

ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ แต่ยังไม่บรลุพระอรหัตผล.ท่านพระอานนท์ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน.

พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน ได้ทิพยจักษุฌาน ต่อมาท่านได้เกิดความไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงไปยังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร (๑) ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ (๒) ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา (๓) เหตุใดเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า?การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า (๑) เราตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้ เป็นเพราะมานะของท่านยังมีอยู่ (๒) การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้ เป็นเพราะอุทธัจจะของท่านยังมีอยู่? (๓) ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่าจิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่านยังมีอยู่

ท่านจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓?อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุครั้งนั้นแล

พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการเช่นนี้ ท่านรับกรรมฐานแล้ว ไปทูลลาพระศาสดาแล้วเดินทางไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจติยะ ยับยั้งอยู่ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน ท่านลำบากกาย เพราะกรากกรำด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไม่พุ่มหนึ่ง แล้วก็ตรึกแล้วถึงมหาปริวิตก ๗ ประการ คือ

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

ในครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกว่า มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ เป็นเช่นไรหนอ พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธแล้ว เสด็จจาก เภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แล้วทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระตรึกใน มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ที่ว่า

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า

แล้วตรัสมหาอริยวงสปฏิปทา ประดับไปด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีภาวนาเป็นที่มายินดี และทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้ต่อไปอีก แล้วเสด็จเหาะไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวันแขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ท่านพระอนุรุทธอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ต่อมาภายหลัง?พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า อนุรุทธเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีทิพยจักขุ

พระอนุรุทธเถระกับการบัญญัติสิกขาบทบางข้อ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปพระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ในสมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นมีสตรีผู้หนึ่งชื่อ นางคันธคันธินี จัดเรือนพักสำหรับอาคันตุกะไว้ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ ท่านพระอนุรุทธฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักกันเขาจัดไว้ ณ ที่นั้น จึงเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.นางคันธคันธินีก็นิมนต์ท่านพักแรม

ต่อมามีพวกคนเดินทางกลุ่มอื่นเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่งเช่นกัน นางจึงกล่าวว่า มีพระสมณะเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าพระสมณะนั้นอนุญาตก็พักแรมได้.คนเดินทางพวกนั้น จึงพากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธแล้ว ได้ขอพักแรมคืนในเรือนพักสักคืนหนึ่ง พระเถระก็อนุญาต

อันที่จริง นางคันธคันธินีนั้นเมื่อได้เห็นพระเถระก็ได้มีจิตปฏิพัทธ์ ดังนั้น.นางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวว่า พระคุณเจ้าอาศัยปะปนกับคนพวกนี้จะพักผ่อนไม่สบาย ดิฉันจะจัดเตียงถวายพระคุณเจ้าให้พักข้างใน ท่านพระอนุรุทธรับด้วยดุษณีภาพ.

ครั้นแล้ว นางได้จัดเตียงที่มีอยู่ข้างในถวายท่านพระอนุรุทธ แล้วประดับตกแต่งร่างกายให้หอม เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวเกี้ยวพาราสีพระเถระ ท่านพระอนุรุทธมิได้โต้ตอบ ท่านได้นิ่งเสีย.

นางได้พยายามเกี้ยวพาราสีท่านพระเถระถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๓นางได้ขอให้พระเถระรับเอานางเป็นภรรยาและปกครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด.

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธก็ได้นิ่งเสีย.

นางเห็นดังนั้น นางจึงได้เปลื้องผ้าออกแล้ว เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เบื้องหน้าท่านพระอนุรุทธ ฝ่ายท่านพระอนุรุทธ สำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่ปราศรัยกับนาง

นางเห็นพระเถระสำรวมกาย วาจา ใจ ได้เช่นนั้นจึงอุทานว่า น่าอัศจรรย์นัก คนเป็นอันมากยอมให้ทรัพย์เรา ๑๐๐ กษาปณ์บ้าง ๑๐๐๐ กษาปณ์บ้าง ส่วนพระสมณะรูปนี้ เราวิงวอนด้วยตนเองยังไม่ปรารถนาจะรับปกครองเราและสมบัติทั้งหมด แล้วจึงนุ่งผ้า ซบศีรษะลงที่เท้าของท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวคำขอขมาต่อท่าน

ท่านพระอนุรุทธก็ยกโทษให้ ครั้นรุ่งเช้า นางได้ถวายภัตตาหารแด่พระเถระ ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วจึงแสดงธรรมให้นางฟัง นางจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ต่อจากนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ฟัง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอนุรุทธจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า

ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอนุรุทธว่า ดูกรอนุรุทธ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม จริงหรือ?

ท่านพระอนุรุทธทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรอนุรุทธ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นว่า อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
?

พระอนุรุทธเถระกับนางชาลินีเทพธิดา

สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธพำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ครั้งนั้น นางเทพธิดาในสวรรค์ดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี ในอดีตเคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธ นางยังคงมีความเสน่หาอาลัยในพระมหาเถระอยู่ นางเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำล้างหน้า ไม่สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้ พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านให้นึกถึงความสุขอันน่าใคร่ทั้งหลายทั้งปวงบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน พรั่งพร้อมด้วยหมู่เทวดาแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อให้ท่านได้ตั้งจิตไปเกิดในภูมิเทวดาอีก ลำดับนั้น พระเถระได้ให้คำตอบแก่เทพธิดาว่า นางเทพธิดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถึงคำของพระอรหันต์ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ ย่อมเป็นสุข บัดนี้ การเกิดในภพใหม่ ไม่ว่าในภูมิใด ๆ ของท่านไม่มีต่อไปอีกแล้ว นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้น หมดความหวัง แล้วกลับไปยังวิมาน
พระพุทธเจ้าและพระสาวกช่วยพระอนุรุทธเถระทำจีวร

นางชาลินีเทพธิดาถวายผ้าบังสุกุล

ในวันหนึ่ง?พระเถระมีจีวรเก่าแล้ว จึงได้เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้วในที่ทั้งหลายเช่นตามกองขยะเป็นต้น นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่าถ้าเราจักถวายท่านตรง ๆท่านคงไม่รับ จึงซุกผ้าไว้บนกองขยะแห่งหนึ่งให้โผล่มาเพียงชายผ้าเท่านั้น เมื่อพระเถระเห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงดึงชายผ้านั้นออกมาเห็นเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอา แล้วกลับไป

หมายเหตุ บางตำรากล่าวว่า วิธีการที่นางเทพธิดาชาลินี นำผ้าไปวางซุกไว้ในกองขยะ ในลักษณะทอดผ้าบังสุกุลนั้น พุทธบริษัทได้ถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล และทอดผ้าป่าในปัจจุบันนี้

พระศาสดาทรงช่วยทำจีวร

ครั้นในวันทำจีวรของพระเถระนั้น พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จไปที่พระวิหารประทับนั่งแล้ว แม้พระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ รูปก็นั่งอยู่ด้วย พระมหากัสสปเถระนั่งแล้วตอนต้น เพื่อเย็บจีวร พระสารีบุตรเถระนั่งในท่ามกลาง พระอานนเถระนั่งในท้ายที่สุด.ภิกษุสงฆ์กรอด้าย พระศาสดาทรงร้อยด้ายนั้นในรูเข็ม พระมหาโมคคลัลานเถระ เป็นผู้จัดหาวัตถุที่พระสงฆ์ต้องการ แม้เหล่าเทพธิดาประจำบ้านก็เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว ชักชวนให้เจ้าบ้านมาถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในครั้งนั้นภัตตาหารอันมีข้าวยาคูของควรเคี้ยว ต่างทั้งหลายมีปริมาณเป็นอันมาก จนภิกษุทั้งหลายฉันไม่หมด เหลือกองอยู่เป็นอันมาก

พระขีณาสพไม่พูดเกี่ยวกับปัจจัย

ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า?“หมู่ภิกษุมีเพียงเท่านี้ เพราะเหตุใดจึงมีผู้นำภัตตาหารมาถวายมากมายจนเหลือมากมายปานนี้ พระอนุรุธเถระเห็นจะประสงค์ให้เขารู้ว่าญาติและอุปัฏฐากของตนมีมาก.”?ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า?“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดเรื่องอะไรกัน?”เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนโจษจันอยู่ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า?“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าอนุรุทธเป็นผู้ขอให้นำของเหล่านี้มาหรือ?”?ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า?“อย่างนั้น พระเจ้าข้า”?พระศาสดาตรัสว่า?“ภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธผู้บุตรของเรา ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น แม้ พระขีณาสพทั้งหลาย ก็ย่อมไม่กล่าวเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย บิณฑบาตเหล่านี้ เกิดด้วยอานุภาพของเทวดา”

พระอนุรุทธเถระบำเพ็ญเพียรโดยถือเอาการไม่นอนเป็นวัตร

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าพระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น?บางอาจารย์กล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕๕ ปี เบื้องต้นไม่ได้หลับ ๒๕ ปี ต่อแต่นั้นจึงได้หลับในเวลาปัจฉิมยาม เพราะร่างกายอ่อนเปลี้ย

บทบาทพระอนุรุทธเถระเมื่อครั้งพุทธปรินิพพาน

ตามพระบาลีได้กล่าวถึงบทบาทของพระอนุรุทธเถระเมื่อคราวครั้งพุทธปรินิพพานไว้ว่า เมื่อพระบรมศาสดาได้ทรงมีปัจฉิมวาจาแก่เหล่าภิกษุทั้งมวลแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าฌานสูงขึ้นไปเป็นลำดับ จนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยเหตุว่าผู้ที่เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นลมหายใจก็จะหมดไป ทำให้ไม่ทราบว่าทรงปรินิพพานแล้วหรือยัง เมื่อเทพดาและมนุษย์เห็นความไม่เป็นไปของลมอัสสาสปัสสาสะจึงได้ร้องขึ้นพร้อมกันด้วยเข้าใจว่าพระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว ฝ่ายพระอานนทเถระ ถามพระอนุรุทธเถระว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ พระอนุรุทธตอบว่า พระตถาคตยังไม่ปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.การที่พระอนุรุทธเถระทราบดังนั้นก็เป็นด้วยพระเถระท่านเข้าสมาบัตินั้น ๆ พร้อมกับพระศาสดาที่เดียว และเมื่อท่านทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงทราบว่ายังทรงไม่ปรินิพพาน เพราะเหตุว่า การสิ้นชีวิตภายในนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มี.

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ และทรงถอยออกจากฌานลงเป็นลำดับจนถึงจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจาจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังคจิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธ จึงได้แจ้งแก่หมู่พระภิกษุและเหล่ากษัตริย์ทั้งปวงที่เฝ้าอยู่ ว่าพระบรมศาสดาได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุทั้งหลาย? นั้น ภิกษุเหล่าใดที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ส่วนภิกษุเหล่าใดที่บรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ได้ธรรมสังเวช

ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธจึงได้เตือนให้ภิกษุทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พึงรำลึกถึงพระดำรัสของพระพุทธองค์ในเรื่องความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย และยังบอกด้วยว่า?เหล่าเทวดาจะตำหนิเอาว่า ตัวของพระภิกษุทั้งหลายเองก็ยังไม่อาจอดกลั้นความเศร้าโศกได้ และจะปลอบโยนผู้อื่นได้อย่างไร

? จากนั้น ท่านพระอนุรุทธและท่านพระอานนท์ เห็นเป็นเวลาไกล้รุ่งแล้ว ท่านทั้งสองจึงแสดงธรรมีกถาตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่นั้น รุ่งเช้าท่านพระอนุรุทธสั่งท่านพระอานนท์ให้ไปแจ้งแก่เจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว

นอกจากนั้นในระหว่างเตรียมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่นั้น เมื่อเกิดเหตุผิดปกติเกิดขึ้น พวกเจ้ามัลละกษัตริย์ก็มักจะเรียนถามสาเหตุกับพระเถระ ด้วยว่าพระเถระผู้เดียวปรากฏว่าเป็นผู้มีทิพยจักษุเพราะฉะนั้น แม้จะมีพระเถระองค์อื่น ๆ ที่มีอายุกว่า แต่พวกเจ้ามัลละเหล่านั้น ก็เรียนถามเฉพาะพระเถระ ด้วยเห็นว่า ท่านพระอนุรุทธเถระนี้สามารถตอบได้ชัดเจน เช่นเมื่อมัลลปาโมกข์ ๘ องค์ จะยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคขึ้นเพื่อแห่ไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แต่ก็ยกพระพุทธสรีระไม่ขึ้น จึงได้ถามพระเถระ พระเถระจึงแจ้งว่า

เหล่าเทวดาประสงค์จะให้เชิญพระพุทธสรีระไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วแห่เข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร

อีกครั้งหนึ่งเมื่อครั้งจะจุดไฟถวายพระเพลิง มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ผู้มีหน้าที่ถวายพระเพลิง ก็ลงมือจุดไฟเพื่อถวายพระเพลิง แต่พยายามอย่างไรไฟก็ไม่ติด เหล่ามัลลกษัตริย์จึงเรียนถามพระอนุรุทธเถระ พระเถระจึงตอบว่า เหล่าเทวดาประสงค์จะให้คอยพระมหากัสสปเถระที่กำลังเดินทางมา เพื่อให้พระมหากัสสปเถระกระทำความเคารพพระพุทธสรีระด้วยตนเองเสียก่อน ดังนี้เป็นต้น

รับมอบหมายให้บริหารคัมภีร์อังคุตตรนิกายเมื่อครั้งปฐมสังคายนา

หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระก็ดำริที่จะทำสังคายนาพระธรรม จึงได้อาราธนาพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เพื่อทำปฐมสังคายนาที่ ปากถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์

ในการสังคายนานั้น มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม

ในการสังคายนา เหล่าพระสงฆ์มีมติให้สังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน โดยเริ่มจาก สังคายนาทีฆนิกาย สังคายนามัชฌิมนิกาย สังคายนาสังยุตตนิกาย สังคายนาอังคุตตรนิกาย ไปตามลำดับ

ครั้นสังคายนาทีฆนิกายแล้ว พระธรรรมสังคาหกเถระกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย แล้วมอบแก่ศิษย์ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลายจงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้

ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกาย แล้วมอบแก่พระมหากัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกาย แล้วมอบแก่พระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

พระอนุรุทธเถระปรินิพพาน
ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การทำบุญด้วยแสงไฟ (พระอนุรุทธ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 27, 2014, 05:14:43 pm »
พระอนุรุทธเถระ

-http://www.dhammathai.org/monk/monk41.php-

พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* และบริวารยศ แม้แต่คำว่า ไม่มี ก็ ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยได้สดับเลย

เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ ในเวลานั้น ศากยกุมารซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมีคนรู้จักมาก ออกบวชตามพระบรมศาสดาเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งเจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชฏฐา ได้ปรารภกับอนุรุทธะผู้น้องว่า พ่ออนุรุทธะ ในตระกูลของเรายังไม่มีใคร ๆ ออกบวชตามพระบรมศาสดาเลย เจ้า หรือพี่คนใดคนหนึ่งควรจะออกบวช อนุรุทธะตอบว่า น้องเป็นคนที่เคยได้รับแต่ความสุขสบาย ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่บวชเองเถิด เจ้ามหานามะจึงกล่าวขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเรียนให้รู้จักการงานของผู้ครองเรือนเสียก่อน พี่จะสอนให้ เจ้าจงตั้งใจฟัง ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว เจ้ามหานามะจึงสอนการงานของผู้ครองเรือน โดยยกเอาวิธีการทำนาเป็นอันดับแรกขึ้นมาสอน เมื่ออนุรุทธะได้ฟังแล้วก็เห็นว่าการงานไม่มีที่สิ้นสุดเบื่อหน่ายในการงาน พูดกับพี่ชายว่า ถ้าอย่างนั้น พี่อยู่ครองเรือนเถิด น้องจักบวชเอง ครั้นอนุรุทธะกล่าวอย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปหาพระมารดาทูลว่า แม่ หม่อมฉันอยากจะบวช ขอพระแม่เจ้าจงอนุญาติให้หม่อมฉันบวชเถิด แม้ถูกพระมารดาตรัสห้าม ไม่ยอมให้บวช ท่านก็ยังอ้อนวอนขอให้อนุญาตให้บวชเป็นหลายครั้ง เมื่อมารดาเห็น ดังนั้นจึงคิดอุบายที่จะไม่ให้อนุรุทธะบวช ดำริถึง พระเจ้าภัททิยะผู้เป็นพระสหายของอนุรุทธะ ท่านคงจะไม่ออกบวชเป็นแน่ จึงพูดว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยะบวชด้วยจงบวชเถิด อนุรุทธะได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยะ ทูลตามวาทะของผู้ที่คุ้นเคยกันว่า เพื่อนเอ๋ย บรรพชาของเรา เนื่องด้วยบรรพชาของท่าน ในตอนแรก พระเจ้าภัททิยะ ทรงปฏิเสธไม่ยอมบวช ในที่สุดเมื่อทนการอ้อนวอนไม่ได้ก็ตกลงใจยินยอมบวชด้วย อนุรุทธะจึงชักชวนศากยกุมารอื่นได้อีก ๓ คน คือ อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกองค์หนึ่ง คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ พร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่อนุปิยนิคม ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย เมื่ออนุรุทธะได้อุปสมบทแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แล้วเข้าไปอยู่ในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน

เมื่อพระอนุรุทธะบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ได้ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ คือ
๑. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก
๒. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
๓. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ
๔. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
๕. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
๖. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
๗. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม

เมื่อพระอนุรุทธะตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงทรงทราบเหตุนั้นจึงทรงอนุโมทนาว่า ชอบละ ๆ อนุรุทธะ เธอตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกตรอง ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกข้อที่ ๘ ว่า "ธรรมนี้ เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมเนิ่นช้า"

ครั้นตรัสสอนอนุรุทธะอย่างนี้แล้วก็เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะบำเพ็ญความเพียรต่อไปก็ได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เล็งแลดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ เล่ากันว่ายกเว้นแต่เวลาฉันเท่านั้น เวลาที่เหลือท่านย่อมพิจารณาแลดูหมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยทิพยจักษุ ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสยกย่อง สรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างผู้มีทิพยจักษุญาณ ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

*ทรัพย์ศฤงคาร : ทรัพย์ที่ทำให้คนได้รับ เกิดความรัก ความชอบใจ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)