แม่เล้าสร้างวัด ได้บุญหรือไม่ เพียงไร?
-http://www.gotoknow.org/posts/219031-
ศรัทธาเรืองรองในทองเก๊
ชมชื่น หุยเฮ ครึกครื้นไฉน
ผ้าขี้ริ้ว ฟอกย้อมขาว ไฉไล
รีดเรียบนำไปห่มพระประธาน
ทราบข่าว ร่วมอนุโมทนาพลัน
ผ้าขี้ริ้ว ผืนนั้น สะอาดสะอ้าน
ศรัทธา ปสาทะ สาธุการ
ใส่ทองหยอง ทำทาน เฮละโล
กลอนบทนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก ประวัติ วัดคณิการาม=อารามที่นางคณิกาสร้างถวาย (คงจะได้บุญโขอยู่) วัดคณิการาม อยู่ตรงข้าม สน.พลับพลาไชย ใกล้กับมูลนิธิปอเต็กตื้ง
เวลาจะทำบุญ ทำทาน ท่านวางกฎไว้ดังนี้
1. ผู้ให้บริสุทธิ์
2. ผู้รับบริสุทธิ์
3. วัตถุทานบริสุทธิ์
"บุญที่มนุษย์สามารถทําให้ได้ผลสูงสุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าทำทานกับคนไม่มีศีลแม้เพียงครั้งเดียว ทำทานกับคนไม่มีศีล 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าทำทานกับผู้มีศีล 5 แม้เพียงครั้งเดียว ให้ทานผู้มีศีล 5 มากถึง 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าให้ทานผู้มีศีล 8 แม้เพียงครั้งเดียว ให้ทานผู้มีศีล 8 มากถึง 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าถวายทานผู้มีศีล 10 แม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานผู้มีศีล 10 มากถึง 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าถวายทานแด่สมมุติสงฆ์แม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานแด่สมมติสงฆ์ 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าถวายทานแก่พระโสดาบันแม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานแด่พระโสดาบัน 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าถวายทานพระอานาคามีแม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานพระอนาคามี 100 ครั้ง ผลบุญยังน้อยกว่าถวายทานให้พระอรหันต์ แม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานแก่พระอรหันต์ 100 ครั้ง ผลบุญยังได้น้อยกว่าถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง ผลบุญยังได้น้อยกว่าถวายทานแด่พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เพียงครั้งเดียว ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 100 ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายเพียงครั้งเดียว ถวายสังฆทานที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน 100 ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าถวายวิหารทานครั้งเดียว ถวายวิหารทาน 100 หลัง ยังได้บุญน้อยกว่าให้ธรรมทานครั้งเดียว ให้ธรรมทาน 100 ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการให้อภัยทานครั้งเดียว อภัยทาน 100 ครั้ง บุญยังน้อยกว่าการถือศีล 5 แม้เพียงครั้งเดียว ถือศีล 5 มากถึง 100 ครั้ง บุญยังน้อยกว่าถือศีล 8 แม้เพียงครั้งเดียว ถือศีล 8 มากถึง 100 ครั้ง บุญยังน้อยกว่าการถือศีล 10 ครั้งเดียว ( ถือศีล 10 คือบวชเป็นสามเณร) บวชเป็นสามเณร รักษาศีลไม่ด่างพร้อย 100 ปี บุญยังน้อยกว่าผู้อุปสมบทเป็นพระ แม้บวชเพียงวันเดียว พระพุทธเจ้าตรัสในเบื้องปลายว่า “แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีลครบ 227 ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อย 100 ปี บุญกุศลยังน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิให้จิตสงบ(ฌาน) แม้นานเพียงไก่กระพือปีก” “ผู้ใดเข้าฌาน นาน 100 ปีและไม่เสื่อม บุญยังน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มาจากการปรุงแต่ง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตก็ตาม" (1)
@24587 "อาจารย์กวิน วัดคณิการาม ? อาจารย์ลองตรวจสอบดูอีกครั้ง เพราะคิดว่าไม่ถูกต้อง และหลวงพี่ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว คือ วัดคณิกาผล มิใช่ วัดคณิการาม เจริญพร" (2)
นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut @24621 กราบขอบพระคุณ พระคุณเจ้ามากๆ ขอรับ ที่พระคุณเจ้าเมตตานุเคราะห์ ชี้แนะชี้นำในสิ่งที่เกล้ากระผม ผิดพลาดอยู่เสมอๆ ทำให้นึกถึงสำนวน คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล กระผมได้สืบค้นตามที่พระคุณเจ้าทักท้วงมา พบว่า สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล ได้บันทึกบทความ ซึ่งมีข้อมูลที่อ้างอิงถึงประวัติของวัด คณิกาผล เป็นจริงดั่งที่พระคุณเจ้าทักท้วง ไว้ความว่า
" นับตั้งแต่ที่เมืองไทยของเรา รับเอาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเข้ามาเป็นประหนึ่งศาสนาประจำชาติของไทยนั้น มีวัดเป็นจำนวนมาก ที่สร้างจากพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ และ เชื้อพระวงศ์ รองลงมาก็มักจะเป็นวัดในอุปถัมภ์ของขุนนางผู้ใหญ่ชั้นสูง และ ท้ายที่สุดก็คือสร้างจากแรงศรัทธาของชาวบ้าน แต่กระนั้นก็ตาม ยังมีวัดไทยบางวัดที่ผู้สร้างมีที่มาที่ออกจะขัดแย้งกันกับการนับถือพุทธศาสนาตามความเชื่อของชาวพุทธ และ หนึ่งในวัดที่เป็นข้อยกเว้นนั้นเห็นจะได้แก่ “วัดคณิกาผล” คำว่าคณิกานั้น เป็นคำโบราณที่เราใช้เรียกหญิงผู้ให้บริการทางเพศ และ เมื่อคำเรียกหญิงงามเมืองนี้กลายมาเป็นชื่อวัด ที่มาของการสร้างวัดจึงมีความน่าสนใจอยู่พอสมควร วัดคณิกาผลนี้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ท้ายตลาดแห่งหนึ่งในเยาวราช ตั้งอยู่บนหัวมุม ถนนยมราชสุขุม และ อยู่ตรงข้ามกับโรงพักพลับพลาไชย วัดนี้เป็นวัดสายมหานิกาย ที่เดิมนั้นสร้างขึ้นจากกลุ่มหญิงบริการกลุ่มหนึ่งที่มีหัวหน้ากลุ่มที่ชื่อ “ยายแฟง” เป็นผู้รวบรวม และ ออกทุนให้สร้างวัดพุทธศาสนานิกายเถรวาทขึ้นที่บริเวณตรอกโคก (ปัจจุบันคือ ถนนพลับพลาไชย) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีศาลเจ้าจีน และ โรงเจตั้งขึ้นอยู่ก่อนแล้วมากมาย และ เมื่อสร้างวัดของหญิงงามเมืองนี้เสร็จ ชาวบ้านจึงเรียกกันง่ายๆ ตามชื่อตรอกว่า “วัดโคก” วัดนี้เปิดให้ชาวบ้าน และ สงฆ์ทำพิธีกรรมมานาน จนกระทั่งเข้าสู่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาลูกหลานของย่าแฟงจึงขอพระกรุณาโปรดเกล้าจากรัชกาลที่ 4 ให้พระราชทานนามของวัดโคกเสียใหม่ พระองค์จึงได้พระราชทานนามว่า “วัดคณิกาผล” ตามประวัติที่มาเดิมนั่นเอง ปัจจุบันนี้ หากใครได้มีโอกาสแวะเวียนเข้ามาในบริเวณนี้ ก็จะสังเกตเห็นว่าทางเข้าหน้าวัดนั้น มีพระพุทธรูปสมเด็จพระอาจารย์โตแห่งวัดระฆังตั้งให้ผู้มีจิตรศรัทธาได้แวะเข้ามากราบไหว้กัน และเมื่อเดินลึกเข้าไปข้างในก็จะเห็นรูปปั้นครึ่งตัวของยายแฟงตั้งอยู่โดยมีคำจารึกที่ว่า “วัดคณิกาผลนี้ สร้างขึ้นโดยคุณยายแฟง บรรพบุรุษของตระกูลเปาโลหิตในปีพุทธศักราช 2346” (3)
จากการสืบค้น สามารถตั้งข้อสรุปในชั้นต้น ได้ว่า วัดคณิกาผล นี้ในมัยก่อน ชาวบ้านเรียกว่า วัดโคก และบ้างก็เรียก วัดใหม่ยายแฟง ดังข้อมูลที่ว่า
"ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงได้ครองแผ่นดินสยามอยู่นั้น มีหญิงคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ยายคุณท้าวแฟง หรือบางครั้งก็เรียกว่า ยายแฟง เฉย ๆ ยายคุณท้าวแฟงนี้มีอาชีพเก็บตลาดเอาผลกำไร รวมทั้งเป็น แม่เล้าเจ้าของซ่องนางโลม ด้วย ยายแฟงนั้นแกรู้ว่า ในหลวงทรงโปรดการทำบุญสร้างวัดแกจึงได้ทำการสร้างวัด ด้วยเงินรายได้ของแกขึ้นมา เพื่อต้องการให้สดุดสายพระเนตรของพระเจ้าแผ่นดินกับเ ขาด้วยเหมือนกัน ที่ตรอกแฟง ในแหล่งธุรกิจของพระนครสมัยนั้น พวกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า " วัดใหม่ยายแฟง " เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แกก็ได้ทูลขอพระราชทานนามของวัดนั้น ทรงโปรดพระราชทานนามของวัดนั้นว่า " วัดคณิกาผล " อันแปลตรงตัวได้ว่า วัดที่เป็นผลได้มาจากหญิงโลมเมือง เพราะรายได้หลักของยายแฟงนั้นก็คือได้จากการเป็นแม่เ ล้า เจ้าโสเภณี ในการสมโภชน์วัด ยายแฟงได้ไปนิมนต์ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) ซึ่งสมัยนั้นสมเด็จฯ ท่านยังไม่มีสมณศักดิ์ คงเป็นเพียงแค่ มหาโต พระมหาบาเรียนธรรมดาเท่านั้นให้มาเทศน์ฉลอง โดยมีความปรารถนาจะให้ท่านได้สรรเสริญผลบุญของตนต่อ ห น้าชุมชน แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังใจของยายแฟง เพราะพระมหาโต ท่านกลับเทศน์บอกแก่เจ้าภาพว่า (4)
“ยายแฟง สร้างวัดครั้งนี้ ได้ผลอานิสงส์บกพร่อง ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเงินที่สร้างวัดเป็นเงินที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่นที่ไม่ชอบด้วยธรรมเนียม ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ด้วยเงินเหรียญบาท ยายแฟงก็ได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น นี่ว่าอย่าเกรงใจกันนะ” (5)
"โดยพระมหาโตท่านได้ยก นิทานเรื่องตากะยาย ฝังเงินเฟื้องไว้ที่ศิลาหน้าบันไดขึ้นมาประกอบคำเทศน์ของท่านด้วยเมื่อยายคุณท้าวแฟงได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็ให้รู้สึกขัดเคืองใจเป็นกำลัง มีอาการโกรธหน้าแดง จนแทบจะระเบิดวาจาออกมาต่อว่า บริภาษมหาโตอย่างรุนแรง แต่ก็ยังเกรงเป็นการหมิ่นประมาท แกจึงได้เพียงแต่ประเคนกัณฑ์เทศน์ด้วยอาการไม่พอใจ กระแทก ๆ ดังปึงปังใหญ่ แล้วหลังจากนั้นแกก็จึงได้ไปนิมนต์เสด็จทูลกระหม่อมพระ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในสมัยเมื่อครั้งที่พระองค์ยังได้ทรงผนวชอยู่ เพื่อจะได้ให้ทรงเสด็จมาประทานธรรมต่อให้อีกสักกัณฑ ์หนึ่ง โดยหวังว่า แกคงจะได้รับคำชมจากพระองค์ท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแก้ลำพระมหาโตไปในคราวเดียวกัน ทูลกระหม่อมฯ ทรงรับนิมนต์ของยายแฟงแล้ว ได้ทรงประทานธรรม ในเรื่องจิตของบุคคลที่ประกอบการกุศลว่า ถ้าทำด้วยจิตที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวก็จะได้อานิสงส์มาก แต่ถ้าบุคคลใดทำงานการบุญด้วยจิตที่ขุ่นมัว ก็ย่อมจะทำให้เกิดได้ผลน้อย และสำหรับในเรื่องของการสร้างวัดนี้ ก็ดูเหมือนจะเนื่องด้วยเรื่องของจิตที่ขุ่นมัวทั้งนั้น ดังนั้นอานิสงส์ผลบุญจึงมีเพียงเท่านั้น ตามที่ท่านมหาโต ท่านยกเรื่องตากะยาย ไปอ้อนวอนเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่ มาประกอบนั้น เป็นเรื่องที่มีปรากฏในฎีกาพระอภิธรรมอยู่ เป็นฉากตัวอย่างที่ช่วยให้ท่านทำการตัดสินบุญของผู้สร้างวัดนี้ว่า ผลแห่งบุญนั้นจะอำนวยให้เกิดได้ไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย คงได้แค่เพียง 3 ใน 8 ส่วน เหมือนกับเงิน 5 บาท โค้งเว้าหายไปเสีย 5 เฟื้อง คงได้เพียง 3 เฟื้อง คือ เหลือเพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น การที่ท่านตัดสินอย่างนี้ก็นับว่ายังดีนักเทียว ถ้าเป็นความเห็นของเรา (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) คงจะตัดสินให้ได้บุญเพียง 2 ไพเท่านั้น คือตัดสินตามเหตุที่ได้เห็น เพราะในการสร้างบุญนั้น วัดกันด้วยระดับของจิตใจ ผลที่เธอควรได้รับจึงควรมีเพียงเท่านี้ แล้วทูลกระหม่อมฯ ก็ลง เอวัง ไว้เท่านั้น เทศน์ 2 กัณฑ์ของ 2 ท่านนี้ นับเป็นเรื่องน่าคิด และในเรื่องนี้ผู้อ่านก็ควรจะคิดวินิจฉัยเองด้วยเหมื อนกัน ผู้เรียบเรียงคิดว่า ท่านทั้งสองต้องการให้ยายแฟงรู้จักการทำบุญด้วยการพิ จารณาลงไปถึงมูลเหตุต่างๆ ที่มีอยู่ในใจ และให้รู้จักคำนึงถึงที่มาของสิ่งที่ได้มาใช้ในการทำ บุญด้วยว่า เป็นมูลฐานสำคัญของบุญ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านคงทรงพระประสงค์ที่จะตอกย้ำความรู้สึกของยายคุณท ้าวแฟง ให้รู้ตระหนักลงไปถึงในเรื่องกุศลจิต และอกุศลจิต มีอำนาจความสำคัญแตกต่างกันอย่างไร ผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องการสร้างวัดของยายแฟงนี้คงจะแสดงให้พวกเราได้เ ห็นอะไรๆ เกี่ยวกับการทำบุญกุศลได้ชัดขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อย อนึ่ง ในเรื่องนี้มีอยู่ตอนหนึ่งที่ทูลกระหม่อมพระ ท่านได้ตรัสว่า คุณท้าวแฟงควรจะได้บุญเพียง 2 ไพเท่านั้น ท่านผู้อ่านที่มีอายุน้อยนั้นอาจจะไม่ทราบมาตราเงินไ ทยในสมัยเก่า ดังนั้นจึงจะขอเรียนให้ทราบว่า 4 ไพนั้นมีค่าเท่ากับ 1 เฟื้อง และ 2 เฟื้องเป็น 1 สลึง ดังนั้น หนึ่งไพจึงมีค่าเพียงราว 1 สตางค์เท่านั้น พระองค์ทรงบอกว่าที่ทำบุญบาทหนึ่งนั้นได้ผลบุญจริงๆ เพียงแค่ 6 สตางค์ น้อยกว่าที่มหาโตท่านได้ตัดสินไว้เสียอีก คือ ใน 100 ส่วน เหลืออยู่เพียง 6 ส่วน เท่านั้นนั่นเอง และอีกประการหนึ่ง ควรทำความเข้าใจไว้ให้ชัดว่า คำว่า "จิตขุ่นมัว" ที่มีใช้อยู่ในเรื่องนี้นั้น ไม่ได้หมายถึงการขุ่นมัวด้วยความโกรธหรือการลุแก่โทสะเพียงอย่างเดียว ถ้าพิจารณากันให้ดีแล้วจะเห็นว่า ท่านหมายถึงความขุ่นมัวด้วยความ โลภและความหลง ด้วย คือ พร้อมกันทั้ง 3 ประการ ยายแฟงโลภอยากได้หน้า และหลงไปว่า ในหลวงท่านจะโปรดปราน จึงได้สร้างวัดขึ้นมา ส่วนจิตใจของยายแฟงนั้น ไม่มีใครรู้ได้ แต่เท่าที่ประมาณพอได้ก็คือ แกเป็นแม่เล้าคุมซ่องนางโลม ดังนั้นจิตใจแกจึงน่าจะมีส่วนที่ผ่องใสในการกุศลอยู่ น้อยมาก เมื่อเทียบกับส่วนที่เป็นอกุศลอันขุ่นมัว ซึ่งซ่อนลึกหลบอยู่ภายในใจของแก คนที่ทำบุญเอาหน้า ได้เงินทองมาโดยไม่บริสุทธิ์นั้น จึงอยู่ห่างไกลบุญมาก ทำให้ไม่สามารถไปสู้คนที่ทำบุญด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และด้วยสิ่งของที่บริสุทธิ์สะอาดไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามผู้เรียบเรียงคิดว่า แม้ได้น้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย บุญนั้นไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด ย่อมมีผลให้อุบัติเกิดเป็นความดีมาค้ำจุนผู้กระทำบุญ นั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว จะมากหรือน้อยก็มีแต่ดี เรื่องของยายแฟงนี้ได้เขียนเล่าเก็บเอาไว้เพื่อเตือน ใจผู้ที่อาจจะตีความคิดเอาเองว่า จะหากำไรด้วยการทำชั่วทำบาปให้มาก แล้วก็จะเอาสิ่งของจำนวนมากที่ได้จากบาปกรรมของตัวนั้นมาสร้างความดี จะได้มีความดีมากๆ ความคิดเช่นนั้นเป็นความคิดที่ผิด เพราะความดีที่เกิดนั้นย่อมมีผลน้อย อย่าคิดว่าทำชั่วไว้มาก ๆ แล้ว ก็จึงค่อยหันกลับมาทำความดี แล้วก็จะทำให้ได้กำไร เกิดเป็นผลบุญขึ้นอีกมากมายได้ตามที่ใจตนเองคาดเดาเอ าไว้เลยเป็นอันขาด เรื่องของคุณท้าวแฟง ที่สร้างวัดคณิกาผลนี่นั้นนับว่าเป็นอุทาหรณ์ ที่น่าสังวรอยู่ไม่น้อยเลย จริง ๆ ทีเดียว" (4)
สรุป
1. ผู้ที่สามารถมองเห็นความเป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มาจากการปรุงแต่ง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตก็ตาม พุทธองค์ตรัสสรรเสริญว่าย่อม ได้บุญมากที่สุด
2. วัดคณิกาผล แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดโคก บ้าง วัดใหม่ยายแฟง บ้าง
3. เงินที่สร้างวัด/ทำบุญทำทาน หากเป็นเงินที่เกิดจาก น้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ที่ไม่ชอบด้วยธรรมเนียม ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ด้วยเงิน1 เหรียญบาท ก็จะได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น
4. คำว่า "จิตขุ่นมัว" นั้นหมายถึง ในยามทำบุญ ทำทานหากทำด้วย ความโลภ ความโกรธ และความหลง พร้อมกันทั้ง 3 ประการ หรือเพียงแค่ประการใดประการหนึ่งก็จะทำให้ได้ส่วนของบุญนั้นลดน้อยลงตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น การทำบุญ ทำทาน เพราะอยากได้หน้า จิตใจจึงน่าจะมีส่วนที่ผ่องใสในการกุศลอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับส่วนที่เป็นอกุศลอันขุ่นมัว ซึ่งซ่อนลึกหลบอยู่ภายในใจ คนที่ทำบุญเอาหน้า ได้เงินทองมาโดยไม่บริสุทธิ์นั้น จึงอยู่ห่างไกลจากบุญอยู่มาก
5. อย่าคิดว่าทำชั่วไว้มาก ๆ แล้ว ก็จึงค่อยหันกลับมาทำความดี แล้วก็จะทำให้ได้กำไร เกิดเป็นผลบุญขึ้นอีกมากมายได้ตามที่ใจตนเองคาดเดาเอาไว้เลยเป็นอันขาด
อ้างอิง
(1) บุญที่มนุษย์สามารถทําให้ได้ผลสูงสุด. เวปไซต์ลานธรรมจักร. 2003 September [cited 2008 October 26]. (10 screens). Available from: URL;
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7740&view=next&sid=4dac6528d5747f3fec96fb688864f48a(2) BM.chaiwut (นามแฝง). อนุทินลำดับที่ 24621. เวปไซต์โกทูโนดอทคอม. [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from:
http://gotoknow.org/journals/bmchaiwut/entries/24621(3) สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล. วัดคณิกาผล, ท่องเที่ยว > เที่ยวกรุงเทพฯ > สองเท้าพาเดิน. เวปไซต์สนุกดอทคอม. [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from:
http://travel.sanook.com/Walking/walking_06550.php (4) goganut (นามแฝง).ประวัติของวัดคณิกาผล (วัดใหม่ยายแฟง). เวปไซต์ลานพุทํธศาสนา [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from:
http://www.larnbuddhism.com/webboard/showthread.php?t=88(5) จะเอ๋ (นามแฝง). บทความธรรมะเวปไซต์ธรรมจักร อ้างใน Vickies (นามแฝง). ปริศนาธรรม ของสมเด็จฯโต ตอน บุญสลึงเฟื้อง. เวปไซต์ ThAiWaRe CoMMuNiTY. [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from:
http://community.thaiware.com/thai/lofiversion/index.php/t281970.htmlบันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กวิน
-----------------------------------------------------------------
ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงได้ครองแผ่นดินสยามอยู่นั้น มีหญิงคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ยายคุณท้าวแฟง หรือบางครั้งก็เรียกว่า ยายแฟง เฉย ๆ ยายแฟง เป็นเจ้าสำนักโสเภณีชื่อ "โรงยายแฟง" อยู่ที่ตรอกเต๊า ถนนเยาวราช มีศรัทธาในพุทธศาสนา จึงชวนหญิงโสเภณีในสำนักของนางเอารายได้จากการค้าประเวณีมาลงขันกันสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 ที่ตรอกแฟง ในแหล่งธุรกิจของพระนครสมัยนั้น พวกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า " วัดใหม่ยายแฟง "
ยายแฟงนิมนต์ขรัวโต ซึ่งต่อมาได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มาเทศน์ฉลอง หวังจะให้เทศน์สรรเสริญคุณงามความดีของนางในครั้งนี้ต่อที่ชุมชน แต่ขรัวโตเทศน์สั่งสอนว่า ทำบุญเอาหน้า แม้จะเป็นบุญใหญ่ ก็ได้บุญน้อย นอกจากนี้ ขรัวโตยังว่า เงินของยายแฟงได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ ยายแฟงจึงได้บุญไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยเปรียบเปรยว่า "ในการที่เจ้าภาพได้จัดการทำบุญเช่นนี้นั้น เป็นการทำบุญที่มีเบื้องหลังอยู่หลายประการ เป็นเหตุให้เหมือนกับว่า ในเงินทำบุญหนึ่งบาทนั้น ยายแฟงจะได้อานิสงส์เพียงแค่สลึงเฟื้องเท่านั้น
เมื่อยายคุณท้าวแฟงได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็ให้รู้สึกขัดเคืองใจเป็นกำลัง มีอาการโกรธหน้าแดง จนแทบจะระเบิดวาจาออกมาต่อว่า บริภาษมหาโตอย่างรุนแรง แต่ก็ยังเกรงเป็นการหมิ่นประมาท แกจึงได้เพียงแต่ประเคนกัณฑ์เทศน์ด้วยอาการไม่พอใจ กระแทก ๆ ดังปึงปังใหญ่ แล้วหลังจากนั้นแกก็จึงได้ไปนิมนต์เสด็จทูลกระหม่อมพระ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยเมื่อครั้งที่พระองค์ยังได้ทรงผนวชอยู่ เพื่อจะได้ให้ทรงเสด็จมาประทานธรรมต่อให้อีกสักกกัณฑ์หนึ่ง โดยหวังว่า แกคงจะได้รับคำชมจากพระองค์ท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแก้ลำพระมหาโตไปในคราวเดียวกัน
ทูลกระหม่อมฯ ทรงรับนิมนต์ของยายแฟงแล้ว ได้ทรงประทานธรรม ในเรื่องจิตของบุคคลที่ประกอบการกุศลว่า ถ้าทำด้วยจิตที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวก็จะได้อานิสงส์มาก แต่ถ้าบุคคลใดทำงานการบุญด้วยจิตที่ขุ่นมัว ก็ย่อมจะทำให้เกิดได้ผลน้อย และสำหรับในเรื่องของการสร้างวัดนี้ ก็ดูเหมือนจะเนื่องด้วยเรื่องของจิตที่ขุ่นมัวทั้งนั้น ดังนั้นอานิสงส์ผลบุญจึงมีเพียงเท่านั้น ตามที่ท่านมหาโต ท่านยกเรื่องตากะยาย ไปอ้อนวอนเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่มาประกอบนั้น เป็นเรื่องที่มีปรากฏในฎีกาพระอภิธรรมอยู่ เป็นฉากตัวอย่างที่ช่วยให้ท่านทำการตัดสินบุญของผู้สร้างวัดนี้ว่า ผลแห่งบุญนั้นจะอำนวยให้เกิดได้ไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย คงได้แค่เพียง 3ใน8ส่วน เหมือนกับเงิน 1 บาท โค้งเว้าหายไปเสีย 5 เฟื้อง คงได้เพียง 3 เฟื้อง คือ เหลือเพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น การที่ท่านตัดสินอย่างนี้ก็นับว่ายังดีนักเทียว ถ้าเป็นความเห็นของเรา (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) คงจะตัดสินให้ได้บุญเพียง 2 ไพเท่านั้น คือตัดสินตามเหตุที่ได้เห็น เพราะในการสร้างบุญนั้น วัดกันด้วยระดับของจิตใจ ผลที่เธอควรได้รับจึงควรมีเพียงเท่านี้
ท่านทั้งสองต้องการให้ยายแฟงรู้จักการทำบุญด้วยการพิจารณาลงไปถึงมูลเหตุต่างๆ ที่มีอยู่ในใจ และให้รู้จักคำนึงถึงที่มาของสิ่งที่ได้มาใช้ในการทำบุญด้วยว่า เป็นมูลฐานสำคัญของบุญ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านคงทรงพระประสงค์ที่จะตอกย้ำความรู้สึกของยายคุณท้าวแฟง ให้รู้ตระหนักลงไปถึงในเรื่องกุศลจิต และอกุศลจิต มีอำนาจความสำคัญแตกต่างกันอย่างไร
วัดนี้ เดิมไม่ได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดใหม่ยายแฟง" และนับตั้งแต่สร้าง ก็ได้เปิดทำสังฆกรรมต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่ราชสมบัติแล้ว ลูกหลานของยายแฟงจึงบูรณะ และขอพระราชทานนามวัดจากพระมหากษัตริย์ ก็โปรดให้ว่า "วัดคณิกาผล" แปลว่า วัดที่สร้างขึ้นจากผลประโยชน์ของนางคณิกา คือ นางโสเภณี เพราะรายได้หลักของยายแฟงนั้นก็คือได้จากการเป็นแม่เล้า เจ้าโสเภณี
ในวัดยังมีรูปปั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ประดิษฐานไว้หน้าวัด และรูปปั้นยายแฟงครึ่งตัว ปิดทอง ตั้งไว้ในซุ้มบริเวณกำแพงหลังพระอุโบสถ ที่ฐานรูปมีจารึกว่า "วัดคณิกาผลนี้สร้างเมื่อพุทธศักราช 2376 โดยคุณยายแฟง บรรพบุรุษของตระกูลเปาโรหิตย์"