ผู้เขียน หัวข้อ: บนเส้นทางธรรมะโอสถ  (อ่าน 1386 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
บนเส้นทางธรรมะโอสถ
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2014, 03:31:48 pm »



Error 404 (Not Found)!!1







ประชากรของประเทศไทย ๘๐ เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาพุทธ หลักศาสนาที่รับรู้แล้วเข้าใจง่ายสุดคือศีล ๕ นั้นเพราะแม้คนไม่ได้เข้าวัดเข้าวาก็รับรู้ได้ เพราะถูกสอนในโรงเรียนตั้งแต่เล็ก ๆ ขณะที่พุทธศาสนาขั้นสูงสุดคือการปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ เมื่ออดีตมองว่าเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์ไป ปัจจุบันศาสตร์เรื่องฝึกสมาธิแล้วเกิดปัญญาทุกคนฝึกปฏิบัติได้และพิสูจน์แล้วว่าเรื่องนี้คือแก่นแท้ของพุทธศาสนาพร้อม ๆ กับต้องประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในธรรมด้วย

บนเส้นทางสายธรรมะของ พญ.อมรา มลิลา อดีตกุมารแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา จากองค์การสหประชาชาติในวันสตรีสากลเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๙ ปัจจุบันในวัย ๗๘ ปีของ พญ.อมราใช้หลักธรรมมาเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้ายแทนยา สอนให้ผู้ป่วยเรียนรู้เรื่องสติและสมาธิโดยใช้ประสบการณ์ธรรมะของตัวเองซึ่งศึกษามายาวนานกว่า ๓๐ ปี

ย้อนไปเมื่อ ๔๐ ปีก่อนเหตุการณ์ที่จุดประกายที่ทำให้ พญ.อมรารู้จักธรรมะอีกมุม เกิดขึ้นเมื่อครั้งได้รับทุนไปเรียนปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ครั้งนั้นเริ่มจากการถูกลองภูมิของเด็กนร.ฝรั่ง ที่คิดว่าคนเอเชียที่นับถือศาสนาพุทธต้องปฏิบัติสมาธิได้ทุกคน

พญ.อมรา เล่าว่า ตอนที่ไปเรียนที่เมืองนอกในโรงเรียนไฮสกูลในเมืองที่ไปเรียน เขาสอนให้เด็กทำสมาธิเพราะได้ผลประจักษ์ว่าคะแนนสอบปลายปีของเด็กที่ทำสมาธิจะดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทำสมาธิ โรงเรียนแห่งนี้ต้องการให้โรงเรียนมีชื่อเสียงติดอันดับโรงเรียนหนึ่งในสิบ เมื่อรู้ว่าเราเป็นชาวเอเชียมาขอร้องให้ไปสอนสมาธิให้กับเด็ก จึงบอกเขาไปว่าทำสมาธิไม่เป็นเขาก็ต่อรองว่าถ้าเช่นนั้นไปเล่าเรื่องประวัติพระพุทธเจ้าให้ฟังก็ได้ จึงรับปากเพราะเรื่องนี้เคยร่ำเรียนมาตั้งแต่เด็กจำได้

พอเราไปเล่าประวัติพระพุทธเจ้าไปสักช่วงหนึ่ง เด็กเขาอยากรู้เรื่องสมาธิ ก็ตั้งคำถามเขาฝึกสมาธิแล้วเหาะได้จริงหรือ เมื่อมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟังก็หาว่าเขาคิดไปเอง ถ้ามันเหาะได้จริงๆแล้วตกลงมาพิการแล้วใครจะเลี้ยง เพราะฉะนั้นอาจารย์มาวันนี้แล้วช่วยบอกว่าทำสมาธิแล้วเหาะได้จริง ๆ หรือเขาคิดไปเอง จริง ๆ แล้วพี่ทำสมาธิไม่เป็นแล้วพอถามอย่างนี้ พี่เหงื่อแตกท่วมตัวแม้แอร์จะเย็นเจี๊ยบก็ตาม

พญ.อมราเล่าว่าเอาตัวรอดมาจากคำถามเชิงท้าทายของเด็กฝรั่งครั้งนั้นด้วยการบอกว่าวันนี้อาจารย์ใหญ่สั่งให้มาเล่าเรื่องประวัติพระพุทธเจ้าอย่างเดียวอาจารย์ใหญ่ไม่ได้อนุญาตให้มาตอบคำถาม เด็กเหล่านี้เข้าใจและนั่งฟัง พญ.อมราเล่าประวัติของพระพุทธเจ้าจนจบ

นับแต่นั้นมาเรื่องของสมาธิอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคุณหมอตลอดมา แต่ยังไม่มีโอกาสลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง จนจบปริญญาโทมาแล้วกลับมาทำงานได้รับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลรามาฯประมาณ ๕ ปีจึงลาออกจากราชการในครั้งนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เปลี่ยนจากหน้าที่ของความเป็นหมอมาเป็นอาจารย์สอนพิเศษตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ คิดว่าเหมาะกับตัวเองมากว่า เพราะไม่ต้องการทำงานในกรอบของระบบราชการ และ ในปี ๒๕๑๘ ได้มีโอกาสเจอเพื่อนเรียนสมัยมัธยม ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรมวัดป่าแก้วชุมพล กับพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ใน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร แต่ติดขัดว่าเป็นผู้หญิงต้องไปอยู่วัดช่วงเข้าพรรษาคนเดียว เพราะเดิมชาวบ้านในพื้นที่ที่มาอยู่วัดเป็นเพื่อน แต่ติดว่าต้องไปทำนา จึงชวนเราไปเป็นเพื่อน

ตอนนั้นคนสนใจเรื่องปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิน้อยมาก พอเพื่อนพาไปพบอาจารย์ท่านอ่านใจเราออกท่านทักว่าไปเจอเด็กสีทองตาสีฟ้าบอกว่าเหาะได้ ท่านรู้ พูดเหมือนที่เราคิดไว้ในใจ นกมันบินได้ ไส้เดือนก็ดำดินได้ แต่ยังไม่เห็นพ้นทุกข์เลยจะเอาไปทำไมวิชาอย่างนี้ ทำไมไม่รู้จักปฏิบัติแล้วดูกิเลสของเรา ทำใจเราให้บริสุทธิ์พอ

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ พญ.อมราได้เริ่มต้นปฏิบัติธรรมอย่างจริงใจได้พบว่าชีวิตที่เป็นเพียงแค่คนเป็นคนดี มีวิชาชีพเป็นหมอช่วยให้คนหายเจ็บไข้ได้ด้วยเท่านี้ไม่พอสำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง เพราะเรื่องเหล่านี้คือเปลือกไม่ลึกเข้าไปถึงแก่นของจิตใจ กว่าจะเข้าใจต้องผ่านการปฏิบัติถึงสามเดือนโดยมีพระอาจารย์สิงห์ทองให้คำชี้แนะ จนได้คิดว่า สติมีความหมายต่อชีวิตเหนือสิ่งอื่นใด และยังมาฝึกปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์อย่างต่อเนื่อง จนพระอาจารย์สิงห์ทองมรณภาพไปในปี 2523 ในอุบัติเหตุเครื่องบินตก ครั้งนั้นมีพระระดับเกจิอาจารย์มรณภาพพร้อมกันถึง ๕ ท่าน อาทิ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์บุญมา เป็นต้น

ตอนนั้นเราก็เสียใจหลวงตาบัวท่านเทศน์ให้ฟังว่าไปล่าสัตว์ทำไม ไม่คิดว่าใจหายบ้างละทีเครื่องบินตกลำหนึ่งก็โวยวาย นี่เป็นโอกาสทองของพวกเรา ที่จะได้มาดูว่าครูบาอาจารย์สอนเรามาอยู่ในใจที่ทำให้เราเป็นแท่งธรรมะ หรือเราจะทิ้งสติกลายเป็นขี้ฝุ่นเหมือนกับร่างอาจารย์ที่มันแตกกระจายต้องระวัง เรามาอยู่ในวัดเราต้องเอาธรรมะไปพูดให้คนอื่นฟัง เราเป็นวิทยุประจำท้องถิ่น อาจารย์เมตตาเคี่ยวเข็ญเราก็ต้องนำธรรมะของท่านให้เป็นประโยชน์

ความรู้ทางการแพทย์ที่อาจารย์ร่ำเรียนมานับ ๑๐ ปีนำมาประยุกต์เข้ากับหลักธรรมที่อาจารย์ใช้เวลาศึกษายาวนานไม่ต่างกัน ครั้งเมื่อมีการตั้งชมรมพุทธธรรมตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งศิริราช รามาฯ รพ.จุฬา เป็นต้น คุณหมออมรา นำความรู้ทางธรรมะที่ตกผลึกกับตนเองไปบรรยายให้ผู้คนในโรงพยาบาล จนต่อมาโรงพยาบาลเหล่านี้เริ่มทำกิจกรรมธรรมะโอสถไปเยียวยาคนไข้ เพราะเห็นว่ายาแก้ปวดทางเคมีมันแค่บรรเทาความเจ็บทางกาย แต่ถ้าใจยังยึดอยู่กับความเจ็บปวดทรมานกับโรคร้าย ในบั้นปลายสุดท้ายของชีวิตก็ตายไม่สงบ

ตอนนั้นเราเชื่อแล้วใจเป็นพลังมันไม่เกิดไม่ตายไปพร้อม ๆ กับร่างกาย เราค่อย ๆ สอนให้เห็นความสำคัญของศีล ของอะไรที่เราติดตัวมา มันจะเป็นอริยทรัพย์ ถ้าเปรียบใจเป็นผ้าเหมือนเป็นเส้นด้ายแต่ละเส้นที่สอดเข้าไป การปฏิบัติของเราคือการสะสมไปเรื่อย ๆ ใจไม่ได้เกิดไม่ได้ตายแต่เป็นนักเดินทางมาราธอน

วิธีรักษาแบบธรรมะโอสถของคุณหมอนั้นใช้วิธีนั่งคุยกับคนไข้ชี้ให้เห็นว่าธรรมะอยู่รอบกายแม้เจ็บป่วยนอนหายใจรวยรินอยู่บนเตียง ยกตัวอย่างเช่นให้เขาพิจารณาดูหยดน้ำเกลือ จ่อสติไว้ที่หยดหนึ่งพุทธหยดหนึ่งโธ เมื่อจิตสามารถรวมกันได้ ร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ที่ดีกว่าการนอนหลับเสียอีกเมื่อผู้ป่วยรวมสติได้ปฏิบัติได้ยามเมื่อใกล้หมดลมหายใจจะไปอย่างสงบ เมื่อใจสงบอย่างน้อยจะได้เกิดมาเป็นคนใหม่และมีโอกาสปฏิบัติธรรมต่อไป

คนบางคนไม่ต้องทำอะไรเลยเกิดเป็นเทวดา เพราะบุญเขาเยอะแต่อยู่บนสวรรค์อาจจะเพ้อเจ้อ เพราะนึกอยากจะได้อะไรก็ได้เรียกว่าทิพยสมบัติ อาจจะเพ้อจนไม่มีสติมีโอกาสตกลงมาเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ เมื่อเกิดเป็นคนจะได้ไม่เพ้อเจ้อ จะมีโอกาสฝึกสติอย่างเข้มข้น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตอนที่เป็นพระโพธิสัตว์ เคยเกิดเป็นสัตว์ก็มี เป็นพญากวาง ช้างเผือก เป็นเทวดา แต่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าคือตอนเป็นคน สติจะเต็มที่ในภพชาติที่เป็นคนสำคัญคุณหมอผู้ใช้หลักการแพทย์ธรรมะโอสถ ทิ้งท้ายไว้ให้คิด.

ที่มา เดลินิวส์ 14 มีนาคม 2555



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2019, 07:03:15 pm โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน