วิถีธรรม > ไหว้พระหน้าคอม
บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
sithiphong:
คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา
๑.พระจอมมุนี ได้ชนะพญามาร ผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๒.พระจอมมุนี ได้ชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความอดทน มีฤทธิ์พิลึกยิ่งกว่าพญามารเข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง ด้วยวิธีทรมาณเป็นอันดี คือ พระขันตี (ความอดทน) ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๓.พระจอมมุนี ได้ชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมายิ่งนัก แสนที่จะทารุณ ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือพระเมตตา ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๔.พระจอมมุนี มีพระหฤทัยไปในที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ได้ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงคือนิ้วมนุษย์) แสนร้ายกาจมีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ ไปสิ้น ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๕.พระจอมมุนี ได้ชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้มีสัณฐานอันกลม ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือความระงับพระหฤทัยในท่ามกลางหมู่ชน ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๖.พระจอมมุนี รุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้มีอัชฌาสัยที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มีใจในที่จะยกถ้อยคำของตน ให้สูงดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือรู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัสเทศนา ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๗.พระจอมมุนีโปรดให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมาน พญานาคราช ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีอันให้อุปเทห์แห่งฤทธิ์ แก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๘.พระจอมมุนี ได้ชนะพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกา ผู้มีฤทธิ์ มีอันสำคัญตนว่า เป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีมืออันท้าวภุชงค์ คือทิฏฐิที่ตนถือผิดรัดตรึงไว้แน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษคือเทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นรชนใด มีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถา แม้เหล่านี้ทุก ๆ วัน นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันอันตรายทั้งหลาย มีประการต่าง ๆ เป็นเอนก ถึงซึ่งวิโมกขสิวาลัย อันเป็นบรมสุขแล .
มหาการุณิโก นาโถ ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ประกอบแล้วด้วย พระมหากรุณา หิตายะสัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้อันอุดม เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน .
sithiphong:
หมายเหตุ การภาวนาพระพุทธชัยมงคลคาถา
๑. เมื่อเผชิญกับศัตรูหมู่มาก ซึ่งมุ่งจะทำลายความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามของเรา ทำให้เราท้อถอยและท้อแท้ด้วยเหตุผลต่างๆ ให้ภาวนาบทที่ ๑ ( มั่นใจในการทำความดี ในเจตนาดี และหวังดีของเราเอง แล้วมุ่งหน้ากระทำต่อไป จึงจะชนะศัตรูและผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ )
๒. เมื่อเผชิญกับผู้ที่มีจิตใจหยาบกระด้าง ไม่ได้ฝึกฝนตนเองในเรื่องวินัยและมารยาท ให้ภาวนาบทที่ ๒ ( ในการที่เราเจอกับคนที่จิตใจกระด้าง หยาบคาย นับว่าเป็นโอกาสให้เราฝึกขันติธรรม และหากเราฝึกได้ดี ก็จะสามารถชนะใจคนแข็งกระด้าง ทำให้เขายอมรับข้อเสนอของเราและทำประโยชน์ร่วมกันได้ )
๓. เมื่อเผชิญกับสัตว์ดุร้าย ให้ภาวนาบทที่ ๓ ( แม้ว่าสัตว์จะดุร้าย เราก็ควรแผ่เมตตาให้ความเอ็นดู ไม่ควรฆ่า หรือใช้วิธีรุนแรง ด้วยความเมตตานี้ จะทำให้มนุษย์กับสัตว์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ )
๔. เมื่อเผชิญกับโจร มุ่งทำร้ายเราหรือก่อนที่จะไปต่อสู้กับผู้ร้ายในสถานการณ์ที่ต้องสู้ไม่มีทางเลือกอื่น ให้ภาวนาบทที่ ๔ ( วิธีที่ดี คือ ต้องพยายามทำให้เราเป็นฝ่ายเหนือกว่าเพื่อควบคุมสถานการณ์ให้ได้เสมอ เมื่อเราทำให้เขายอมจำนนได้แล้ว จึงค่อยหาโอกาสแนะนำสิ่งที่ดีแก่เขาภายหลัง ด้วยเจตนาดีและมีเมตตา )
๕. เมื่อต้องเจอกับคำครหา นินทา การใส่ความให้เสียหาย ให้ภาวนาบทที่ ๕ ( เบื้องต้นต้องสงบจิตใจไว้ก่อน อย่างน้อยก็ตระหนักถึงข้อที่ว่า การนินทานั้น เป็นหนึ่งในโลกธรรม คือ เป็นสิ่งประจำโลก แม้พระพุทธองค์ยังมีคนกล่าวร้ายได้ จากนั้นจึงพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยสติสัมปชัญญะ หากจะโต้ตอบต้องตอบโต้ตามความเป็นจริง หากเรื่องที่เกิดขึ้นไม่จริง ผู้กล่าวหาย่อมแพ้ภัยตนเองไปในที่สุด)
๖. เมื่อต้องตอบโต้คำถามจากผู้มีความเห็นผิดทะนงตัว หรือต้องโต้วาทีเพื่อหาข้อยุติด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้อง ให้ภาวนาบทที่ ๖ ( เมื่อเผชิญกับผู้ที่โอ้อวดยกเหตุผลต่างๆ เพื่อมาหักล้างศีลธรรม ความถูกต้องดีงาม เราจำเป็นต้องโต้ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนกว่า โดยแยกแยะให้เขาเห็นข้อบกพร่องในเหตุผลของเขา ถ้าเป็นปัญหา ที่ต้องตอบตรงๆ ก็ยกความเป็นจริงขึ้นหักล้าง บางอย่างอาจถามย้อนก่อนตอบ เพื่อให้ผู้ถามเห็นข้อบกพร่องในคำถามและเหตุผลที่ตนยกขึ้นถาม อย่างไรก็ตาม บางคำถามที่ควรงดเว้นไม่ควรตอบให้เสียเวลา )
๗. เมื่อต้องเผชิญกับผู้ที่มีเล่ห์เหลี่ยม มากด้วยอุบาย ให้ภาวนาบทที่ ๗ ( เหตุการณ์บางอย่าง เราอาจพึ่งผู้อื่น เพื่อช่วยคลีคลายสถานการณ์ โดยเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ช่วยจัดการให้เรียบร้อย )
๘. เมื่อต้องเผชิญกับผู้ใหญ่ที่มีความเห็นผิด ผู้มีทิฐิมานะมาก ทั้งมีอำนาจในสังคม เป็นที่รู้จัก และนับถือของคนทั่วไป ต้องทำใจให้เป็นสมาธิด้วย การภาวนาบทที่ ๘ ( เมื่อเราเผชิญกับปัญหาที่สำคัญในระดับที่เป็นหลักการ หรือนโยบาย ซึ่งแม้ผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนา เป็นที่ยอมรับนับถึอของคนทั่วไป ยังมีความเห็นผิดจากหลักการตามความเป็นจริง เราต้องแม่นยำในหลักการพิจารณาหลักการ หรือนโยบายนั้นอย่างรอบคอบ แล้วชี้แจงให้เห็นถึงความบกพร่องและผลเสียที่เกิดขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้การชี้แจงกับผู้ใหญ่ต้องมีเหตุผลชัดเจน ชี้แจงให้แจ่มแจ้งว่าหลักการ วิธีการ และเป้าหมายของกิจการนั้นๆ มีความขัดแย้งกันอย่างไร มีจุดบกพร่องที่สำคัญตรงไหนบ้าง และอย่าลืมว่าหลังจากกระบวนการทางปัญญาสิ้นสุดลง เรากับผู้ใหญ่นั้น ยังคงมีความสัมพันธ์ร่วมงานกันได้ดังเดิม หรืออาจจะดีกว่าเดิม เพราะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ )
อานิสงส์เบื้องต้น ในการภาวนาชัยมงคลคาถานั้น เป็นการยับยั้งการตัดสินใจ อย่างหุนหันพลันแล่น ไม่รอบคอบ ซึ่งอาจให้ผลร้ายตามมาอย่างคาดไม่ถึง และที่สำคัญ เป็นการ เรียกสติกลับคืนมา เพื่อให้จิตใจมั่นคง เมื่อจิตใจมั่นคงแล้ว จะทำให้เราจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น และได้ผลดีย้อนกลับมามากขึ้นด้วย
ส. เพ็งพล:
โมทนาสาธุครับ
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
sithiphong:
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงค์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญฯ
ผู้ใดสร้างไว้สวดมนต์ สักการะบูชาเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ และจะมีความสุข ศิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบัน กาลอนาคต และภายหน้าภาคหน้า ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้ สร้างครบ ๗ วัน ครบอายุ หมดเคราะห์โศกทุกประการฯ
ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวไว้ว่า
หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวนมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับ บ้านเรือนก็อาจป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงค์ ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำ ก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษยโลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงค์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ใน ต้นฉบับเดิมนั้นอีกหลายประการฯ
ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก เป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน จึงแปลเป็นภาษาไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสามเณร หรือญาติสนิทมิตรสหาย ครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และภัยพิบัติทั้งปวง
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version