ผู้เขียน หัวข้อ: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong  (อ่าน 40396 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #100 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:20:58 pm »
พระพุทธเจ้าตรัสรู้   “…อะไร…”
ท.อมรเวช   ผู้เรียบเรียง…..จากคัมภีร์พระไตรปิฎก
   พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้   “ ธรรม ”   ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดได้ประกาศ      “ ธรรม ”   เหมือนที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาก่อน   พระองค์ทรงค้นพบ   “ ธรรม ”   ขณะที่เป็นนักบวชและทรง   ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง…เป็นพระพุทธเจ้า   หลังจากที่ได้ทรงไตร่ตรองเหตุและผลตามความเป็นจริงของธรรมชาติ   จนแน่พระทัยว่า   “ ธรรม ”   ที่พระองค์ค้นพบนั้นเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อมวลมนุษยชาติและสัตว์โลก     “ ธรรม ”      นั้นคือ   “ อริยสัจ  ๔ ”   แปลความหมายได้ว่า   “ ความจริงอันประเสร็จ   ๔   ประการ ”
ประการที่   ๑   เรื่อง   ทุกข์
คือ   ความไม่สบายกาย   ความไม่สบายใจ   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ดังใจก็เป็นทุกข์   ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์   การประสพกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์   ความเกิด   แก่   เจ็บ   ตาย   ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น   
ประการที่   ๒   เรื่อง   สมุทัย
คือ   ต้นเหตุที่ทำให้ใจและกายเกิดความทุกข์   เป็นตัว   “ ตัณหา ”   ที่ทำให้มีการเกิดในภพใหม่   ได้แก่   ความอยากได้   อยากมี   อยากเป็น   ความโลภ   ความโกรธ   ความหลง   รูป   รส   กลิ่น   เสียง   สัมผัส   ลาภสักการะ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ริษยา   อาฆาต   แค้น   ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่   “ กามตัณหา   ภวตัณหา   วิภวตัณหา ”
ประการที่   ๓   เรื่อง   นิโรธ
คือ   การดับทุกข์และดับต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์    โดย    “ สำรอก ”    ไม่ให้เหลือแห่ง   “ ตัณหา ”   นั้น   ด้วยการพยายามหักห้ามใจตนเองให้   ลด   ละ   เลิก   ความอยากได้   อยากมี   อยากเป็น   ความโลภ   ความโกรธ   ความหลง   รูป   รส   กลิ่น   เสียง   สัมผัส   ลาภสักการะ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ริษยา   อาฆาต   แค้น   ให้ลดไป   ทีละเล็ก…ทีละน้อย   ไปจนที่สุดไม่เหลือ   “ ความอยาก ”   ใดๆไว้ในใจจึงดับทุกข์ดับตัณหาได้สนิทไม่มีการเกิดในภพใหม่อีกต่อไป   ทุกข์มาก…สุขน้อย…ทุกข์น้อย…สุขมาก…ไม่มีทุกข์…ไม่มีสุขทางโลก   มีแต่สุขทางธรรม   คือ   “ นิพพาน ”
ประการที่   ๔   เรื่อง   มรรค
คือ   ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์   ที่ใช้สำหรับปฏิบัติตนเพื่อเป็นการ   ลด   ละ   เลิก   จากต้นเหตุของการเกิดทุกข์กาย   และ    ทุกข์ใจ   เรียกว่า  “ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ”  คือ   “ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์   ๘ ”   แปลความหมายได้ว่า   “ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ   ๘   ประการ ”   คือ   วาจาชอบ   การงานชอบ   เลี้ยงชีพชอบ   ความเห็นชอบ   ความดำริชอบ   เพียรชอบ   ระลึกชอบ   ตั้งใจชอบ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์   ๘   ดังกล่าว   ย่อลงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในทางปฏิบัติตนเพื่อให้ชีวิตได้พบความสุข  และถึงความสุขอันแท้จริง  คือ   ศีล  สมาธิ  ปัญญา
ศีล      คือ   การละเว้นไม่กระทำความชั่วประพฤติแต่ความดี   ด้วยการทำบุญ   ทำทาน   ไม่เบียดเบียน   ให้ความรักและมีใจเมตตาต่อผู้อื่น   มีศีล ๕   อยู่ประจำใจเป็นเบื้องต้น   คือ   ไม่ฆ่าสัตว์   ไม่ลักทรัพย์   ไม่เป็นชู้กับสามี-ภรรยาผู้อื่น   ไม่พูดเท็จ   ไม่ดื่มสุราและของมึนเมาต่างๆ   “ ศีลเป็นฐาน…บาท ”
ปัญญา      คือ   การใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะธรรม   ให้เห็นตามความเป็นจริงของโลกว่า     มวลสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน---อนิจจัง     ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมมีทุกข์เป็นส่วนประกอบ---ทุกขัง   ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมไม่มีตัวตนถาวรเป็นของตัวเอง---อนัตตา   มวลสรรพสิ่งทั้งหลายมีการเกิดขึ้น   ตั้งอยู่   และล้วนดับไปตามกาลเวลา   วิปัสสนากรรมฐาน
   ใช้ปัญญาพิจารณาจนจิตเริ่มรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรมชาติ   และไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่เป็นจริงนั้นๆ   อีกต่อไป   วิปัสสนาญาณ   และขั้นดับกิเลสตัณหาได้สนิท   อาสวักขยญาณ
สมาธิ      คือ   ความสงบหรือความนิ่งของจิตที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง   ด้วยการภาวนา   หรือ   การทำจิตให้ว่างๆ   ด้วยการเพ่งดูวัตถุ   “ กสิณ ”   เมื่อจิตสงบ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน   “ “ สมถกรรมฐาน ”   เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านจิตจะเริ่มคลายจากเรื่องต่างๆ   ที่จิตเคยไปยึดติดอยู่   เมื่อกระทำให้จิตสงบบ่อยๆครั้ง   มีเจตนาในทางที่ดี   คือ   มีศีล และ เมตตา เป็นฐานอยู่ประจำใจ   จิตจะเริ่ม   ลด   ละ   เลิก   เริ่มลืมเรื่องที่ไม่ดีเรื่องที่เป็นทุกข์ต่างๆ   ที่จิตเริ่มไม่ต้องการแต่ละเรื่องที่จิตเคยยึดติดอยู่ค่อยๆหมดไปในที่สุด
ผลของสมาธิ      จำแนกออกได้เป็น   ๓   ข้อ
ข้อ   ๑   ใช้ระงับจิตไม่ให้คิดมาก   ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่ดี   คือ   สิ่งที่ผิดศีล   สิ่งที่ผิดคุณธรรม และ มีสติระลึกรู้เท่าทันเหตุการณ์ว่า ขณะนี้กำลังทำอะไร   ตลอดเวลาในขณะที่ตื่นอยู่คือ   การมีสติตั้งมั่นในความไม่ประมาท
ข้อ   ๒   เมื่อจิตสงบอยู่ที่ระดับหนึ่ง   จะเริ่มเกิดปัญญา   ทำให้สามารถพิจารณาได้ตามความเป็นจริงต่อมวลสรรพสิ่งของธรรมชาติที่อยู่รอบตัว   หรือที่อยู่ไกลตัว   และจะช่วยทำให้   การเชื่อเรื่องหรือสิ่งต่างๆเป็นไปตามเหตุและผลมากขึ้น   เป็นลำดับ   และจะช่วยลดความเชื่อแบบ   “ งมงาย ”   ไม่มีเหตุผลลง   เป็นลำดับ   ลำดับ
ข้อ   ๓   จิตเป็นรูปของกระแสพลังงาน   ปกติจิตจะแผ่ซ่านไปทั่ว   เมื่อทำให้จิตสงบ   กระแสพลังงานของจิตจะเริ่มรวมตัวกันเล็กลงเข้าหาศูนย์กลางของจิต   ยิ่งจิตสงบมากขึ้นกระแสพลังงานของจิตจะยิ่งรวมตัวกันเข้าหาศูนย์กลางของจิตเล็กลง   เข้าไปเรื่อยๆ   เมื่อกระแสพลังงานจิตรวมตัวกันเล็กลงมากเท่าใด   ก็จะเกิดพลังงานของจิตมากขึ้นเป็นทวีคูณ   พลังงานของจิตที่เกิดจากการรวมกระแสจิตที่มีความสงบมากๆ   จนเข้าใกล้   จวนจะถึง   และถึงขั้น   ณาน   คือ   มีอารมภ์เป็นหนึ่ง   จะทำให้จิตเกิด   “ ญาณ ”   คือการหยั่งรู้เรื่องต่างๆ   ด้วยจิต   และ   “ อภิญญา ”   คือ   การรู้เรื่องต่างๆ   ได้ชัดเจนแน่นอนยิ่งกว่าญาณ   ซึ่งเป็นผลให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางจิตที่รู้ได้เฉพาะตน   สำหรับตรวจสอบความเป็นจริงต่างๆ   ของธรรมชาติอัน   มหัศจรรย์   เร้นลับ   พิสดาร

รู้จัก…..ปริยัติ          รู้จริง…..ปฏิบัติ          รู้แจ้ง…..ปฏิเวธ
ยังกิญจิ   สะมุทะยะธัมมัง   สัพพันตัง   นิโรธะธัมมันติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง   มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล   ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

ลาภ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   เป็นสมบัติของโลก
บุญ   บาป   เป็นสมบัติของ   ใจ   เราอันแท้จริง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #101 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:21:23 pm »
พระราชดำรัส   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
   “   ….. ท่านทั้งหลายควรจะได้ข้อคิดสำคัญประการหนึ่งว่า   วิถีชีวิตของบุคคลนั้นย่อมมีทั้งภัย   ทั้งอุปสรรค   ทั้งเคราะห์ร้าย   ผ่านเข้ามาเนืองๆ   ยากที่จะหลีกเลี่ยง   ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปกติสุขอย่างเดียวได้   ทุกคนจึงจำเป็นต้องเตรียมกายเตรียมใจให้พร้อมทุกเวลาที่จะเผชิญ   จะต่อสู้แก้ไขความไม่ปกติเดือดร้อนต่างๆ   ด้วยเหตุผล   หลักวิชา   ความถูกต้อง   ความรอบคอบ   อดทน   และด้วยสามัคคีธรรม   ”

“  อย่าท้อถอยหรือน้อยใจ      ถ้างานไม่สัมฤทธิ์ผล
จงสุขุมและอดทน         พิจารณาคนด้วยปัญญา  ”
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #102 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:22:08 pm »
ทำบุญใส่บาตร
ชีวิตงามด้วยธรรมะ   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
   พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามิได้ประกอบอาชีพใดๆ   นอกจากปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น   พระสงฆ์จึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญที่มนุษย์ควรใส่บาตร   เพื่อเกื้อหนุนให้ภิกษุมีชีวิตสำหรับการปฏิบัติธรรม   การใส่บาตรจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อเกื้อพระศาสนาให้ดำรงต่อไป   เพื่อต่อชีวิตของพระสงฆ์เอาไว้สำหรับปฏิบัติธรรม   เพื่อเป็นการสร้างอุปนิสัยในการจาคะอันเป็นทานบารมี   นั่นคืออานิสงส์ที่แท้ของการใส่บาตร   มิใช่เพื่อชาติหน้า   ภพหน้าจะได้มีกิน   การทำบุญใส่บาตรเป็นเรื่องของจิต   เราต้องมีสติรับรู้ว่าสิ่งใดที่เราทำคืออะไร   และเพื่ออะไร   เมื่อเรารู้แล้ว…..พึงกระทำด้วยความตั้งใจ   ทำด้วยความประณีต   ทำโดยไม่โลภ   ทำโดยไม่โกรธ   ทำโดยไม่หลงงมงาย   เราจึงจะได้รับผลบุญนั้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย
สัพพะทานัง   ธัมมัง   ทานัง   ชนาติ      ธรรมทาน   ชนะการให้ทั้งปวง

สังฆทานเป็นอย่างไร
เสฐียรพงษ์   วรรณปก           ชื่อใครว่าไม่สำคัญ                 หนังสือพิมพ์ข่าวสด
๑.ไม่จำเป็นต้องถวายพระหลายรูป   ถวายรูปเดียวก็เป็นสังฆทานได้
๒.ต้องทำจิตให้เป็นกลาง   อย่าเจาะจง   ถือว่าพระหรือเณรที่มารับท่านจากเรา   เป็นตัวแทนของ   “ พระสงฆ์ในอุดมคติ ”
๓.ของที่ถวายจะเป็นข้าวหรือสิ่งของที่พระควรใช้   มากน้อยไม่สำคัญ   ไม่จำเป็นว่า   ของถวายสังฆทานต้องมีถัง   มีสิ่งของตามที่เขาจัดไว้ให้
๔.ทำจิตให้เป็นกลาง   ก่อนให้   กำลังให้   หลังให้   ก็เลื่อมใส   ไม่นึกเสียดายภายหลัง หาไม่ทานจะไม่บริสุทธิ์
๕.เสร็จแล้วให้ตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย   คือกรวดน้ำ   จะกรวดแห้งหรือใช้น้ำก็ได้   น้ำเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น   มีก็ใช้   ไม่มีก็ไม่เป็นไร   เท่านี้ก็เป็นสังฆทานแล้ว   ที่ว่าสังฆทานมีผลมากกว่าทานอื่น   ก็เพราะการทำใจเป็นกลางมันทำยาก   คนส่วนมากให้เพราะความรักความชอบเป็นส่วนตัว   ให้ด้วยความลำเอียง   ผลย่อมมีไม่เท่าให้ด้วยจิตเลื่อมใสเป็นกลางจริงๆ
ทำบุญเพื่ออะไร   ขวัญใจ   ชนะโชติ  ผู้เขียน    คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ   แดงสังวาลย์   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
จากธรรมบรรยายของพระธรรมปิฎก   ที่ รัฐนิว   เจอร์ซี่   สหรัฐอเมริกา   เมื่อเดือนพฤษภาคม   2537   ในหัวข้อเรื่อง   ทำบุญเพื่ออะไร?   ดังนี้
“ ในการถวายกำลังแก่พระสงฆ์   ที่เรียกว่า   “ทำบุญ”   นี้   ใจควรมุ่งไปที่พระศาสนา   คือจุดรวมใจ   หรือเป้าหมายของเราควรอยู่ที่พระศาสนา   หมายความว่า   เราถวายทานแก่พระสงฆ์ก็เพื่อให้ท่านมีกำลัง   ท่านจะได้ทำงานพระศาสนาต่อไป
   งานพระศาสนา   หรือศาสนกิจ   โดยทั่วไปมี   ๓   ประการคือ
๑. การเล่าเรียน   ศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๒. การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓. การนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปเผยแพร่ให้ประชาชนรู้และปฏิบัติตาม
   การที่พระสงฆ์จะทำกิจทั้ง   ๓   ประการนี้ท่านควรที่จะไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องของวัตถุ  หรือเรื่องของปัจจัยสี่  เมื่อพระสงฆ์ไม่กังวลในเรื่องดังกล่าว  ก็ย่อมตั้งใจทำหน้าทื่คือ  ศึกษา  ปฏิบัติ  และนำไปเผยแพร่ได้เต็มที่  ซึ่งจะทำให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้ 
   สรุปว่า   การทำบุญอุปถัมภ์พระสงฆ์   บำรุงพระศาสนา   เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนมั่นคง   เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์   ได้มีชีวิตที่ดีงาม   มีสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป…..”
   หากท่านผู้อ่านท่านใดจะทำบุญเพียงเพื่อความสบายใจก็ไม่มีอะไรเสียหายการได้พบได้สนทนาและฟังธรรมจากสมณะ   ย่อมบังเกิดปีติ   เป็นความสุขกายสุขใจ   เพราะความเป็นศัตรูไม่มีในใจของสมณะ   ดังพุทธสุภาษิตกล่าวไว้ว่า   สมณีธ   อรณา   โลเก – สมณะไม่เป็นศัตรูแก่ใครในโลก
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #103 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:22:29 pm »
ทุกนาทีมีค่ามหาศาล         เวลาผ่านล่วงลับมิกลับหลัง
วันเวลาทอนชีวิตอนิจจัง         อย่านอนนิ่งนิ่งเฉยเลยผ่านไป
ควรคำนึงถึงเวลาค่าชีวิต         อย่าหลงผิดปล่อยเวลาพาไถล
ค่าของคนร่นน้อยถอยตามวัย         มีสิ่งใดเป็นประโยชน์โปรดรีบทำ
สำนักกิจการนักศึกษา   สถาบันราชฎัชฉะเชิงเทรา
( คัดลอกเมื่อ   11  กรกฎาคม   2541 )
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #104 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:22:58 pm »
ใช้ธูปเท่าไร  ไหว้พระไหว้เจ้า            (ผู้เขียน  ซินแสน้อย)               
ธูป  1  ดอก     นิยมใช้ไหว้ศพ  เจ้าที่  เจ้าทาง  ภูมิ  ผี  ต่างๆ  กล่าวคือวิญญาณธรรมดาที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นชั้นเทพ
ธูป  2  ดอก     ไม่ปรากฏนิยมใช้
ธูป  3  ดอก     นิยมไหว้พระพุทธ อันมีความหมายถึง  พระรัตนตรัย หรือแม้แต่การไหว้เทพก็มีผู้ไหว้ 3 ดอก เช่นกัน  อันมีความหมายถึงพระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม
ธูป  4  ดอก     ไม่ปรากฏนิยมใช้
ธูป  5  ดอก     มีผู้นิยมใช้ไหว้ตี่จูเอี้ย  โดยปักที่กระถางธูป 3 ดอกและข้างประตู ข้างละ 1 ดอก นอกจากนี้ก็มีผู้นิยมไหว้พระรูปรัชการที่ ๕ คงมีคติมาจากรัชการที่ ๕ ก็ใช้ 5 ดอก  การไหว้ท้าวจตุโลกบาลก็นิยมใช้ธูป  5  ดอก เพราะหมายถึงทิศใหญ่ทั้ง 5  อันมี  ตะวันตก  ตะวันออก  เหนือ  ใต้  และทิศกลาง  ตามความเชื่อของชาวจีน  รวมทั้งเทพอื่นๆ ก็เห็นมีปรากฏ
ธูป  6  ดอก  ไม่นิยมใช้
ธูป  7  ดอก  นิยมไหว้พระภูมิไชยศรี  นอกจากนี้ก็มีผู้ที่เคารพบูชาพระอาทิตย์ก็นิยมไหว้ ซึ่งความหมายของธูป  7  ดอก  ก็หมายถึงความคุ้มครองวันทั้ง 7 ในหนึ่งสัปดาห์
ธูป  8  ดอก  ชาวฮินดูนิยมใช้ธูป  8  ดอก  ในการไหว้เทพแทบจะทุกองค์ ที่เป็นเทพชั้นสูง  อันได้แก่  พระศิวะ  พระนารายณ์  พระพรหม  พระแม่อุมา  พระลักษมี  พระสุรัสวดี  พระพิฆเนศ  พระขันธกุมาร  ร่วมไปถึง  พระราม  พระกฤษณะ  ด้วยจะพบว่า  กล่องธูปที่ใช้บรรจุธูปหอมของอินเดียกล่องหนึ่งจะมีธูป  8  ดอก  ให้บูชาครั้งละ  1  กล่องเล็ก นอกจากนี้ก็มีความเชื่อว่า การไหว้พระราหู  ก็นิยมใช้ธูป  8  ดอกเช่นกัน
ธูป  9  ดอก  นับเป็นจำนวนธูปที่นิยม  ใช้ในการไหว้ทั้งพระทั้งเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  ด้วยคนไทยถือว่าเลข 9   เป็นเลขมงคล  หมายถึงความเจริญก้าวหน้า  หากแต่ในประเทศอื่นเขาไม่ได้นิยมเช่นคนไทย
ธูป  10  ดอก  สำหรับชาวจีนดั้งเดิมแล้วนิยมใช้เลขนี้ในการจุดธูปเช่นเดียวกันคนไทยนิยมเลข  9  เลขสิบนับเป็นเลขเต็ม  และความหมายของสิบ (ภาษาจีนคือจั๊บ)นั้นหากจะประดุจนิ้วมือก็หมายถึงการจับได้เต็มไม้เต็มมือ  ได้อะไรที่เต็มมือ  ได้อะไรที่เต็มสิบก็คือความสมบูรณ์เต็มที่
ธูป  11  ดอก  ไม่ปรากฏความนิยม
ธูป  12  ดอก  ชาวจีนนิยมไหว้เจ้าแม่กวนอิม    บางคนใช้  13   ดอก   แต่จะไหว้เฉพาะในช่วงเดือน   12  เท่านั้น
ธูป  14,  15  ดอก  ไม่ปรากฏความนิยม
ธูป  16   ดอก  นิยมใช้ในพิธีบวงสรวงบูชาเทพ บูชาครู  หรือพิธีกลางแจ้ง  ที่มีการอัญเชิญเทวดาที่สำคัญต่างๆ  16 ดอก  หมายถึง สวรรค์ 16 ชั้น
   นอกจากนี้ที่ได้สืบเสาะมาก็มี      31   ดอก      และ      32   ดอก
ที่นิยมใช้ในการบวงสรวง  เช่นเดียวกันกับ   16   ดอก 
โดย ธูป  31  ดอก  หมายถึงการเชิญเทพทั้ง  16  ชั้นฟ้า   15  ชั้นดิน  ต้องเป็นการบวงสรวงเครื่องบัดพลีใหญ่
หรือ  ธูป  32  ดอก  หมายถึง  16  ชั้นฟ้า  15  ชั้นดิน และบนโลกมนุษย์ อีก 1  จะนิยมใช้ในการบวงสรวงใหญ่เท่านั้น  เพราะเครื่องบวงสรวงต้องมากเพียงพอกับการอัญเชิญด้วย
   เจ้าคุณอมร     วัดบวรนิเวศ       กรุงเทพฯ        ท่านให้ข้อคิดที่น่าสนใจมากคือ  จำนวนเท่าไร  มันอยู่ที่ใจ  มนุษย์ตั้งกันขึ้นมาเอง  ตามความพอใจ  ซึ่งที่จริงแล้วหากใจเป็นสมาธิศรัทธาจริง    มือเปล่า   ใจเปล่า   ก็ศักดิ์สิทธิ์ ได้
   ผู้เขียนเองก็มีความเห็นตรงกันเพราะเวลาเราฟังเทศน์  ฟังธรรม  หรือจบมือขึ้น  สาธุ  อนุโมทนากุศลนั้น  ท่านเชื่อไหมว่า   อานิสงส์แรงนักแล   แค่เอามือเปล่าจบขึ้นเหนือหัวตั้งจิตให้มั่น กล่าวคำว่า   สาธุ   
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #105 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:23:26 pm »
รู้ง่าย – ทำยาก      ธนะภูมิ   ผู้เขียน   คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ   แดงสังวาลย์   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
   พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่   พรหมปัญโญ   วัดสะแก   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตาต่อบรรดาศิษย์อย่างยิ่ง   แม้อายุสังขารท่านจะร่วงโรยเพียงใด   ท่านก็ยังเมตตาอบรมสั่งสอนศิษย์    ตลอดจนผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลายที่มากราบนมัสการ   จวบจนกระทั่งท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ   ท่านก็ยิ่งให้ความเมตตาแก่ศิษย์โดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย    ในยามดึกที่ควรจะได้พักผ่อน     ท่านก็ยังแสดงธรรมแก่ผู้มากราบนมัสการตลอดมา      ธรรมโอวาท ที่ท่านให้เป็นคติเตือนใจแก่ศิษย์ทั้งหลายคือ…….เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว   ให้รีบพากันปฏิบัติ
   หลังจากท่านมรณภาพ   คณะศิษยานุศิษย์ได้รวบรวมคำสอนของท่านมาจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อเป็นเครื่องบูชาพระคุณ   คำสั่งสอนของหลวงปู่ฟังง่าย   เข้าใจง่าย   แม้บางครั้งจะมีผู้นำเรื่องไม่น่าถาม   มาเรียนถาม   ท่านก็ได้เมตตาตอบจนกระจ่างแจ้ง   ให้ผู้ถามหมดข้อสงสัย   ดังได้คัดลอกมาฝากท่านผู้อ่าน   ดังนี้
ผู้ถาม
หลวงปู่ครับ   การจุดธูปเทียนบูชาพระในพิธีกรรมต่างๆ   มักจะไม่เหมือนกัน   ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น   ควรจุดธูปกี่ดอก
หลวงปู่
จุดกี่ดอกก็ได้   ส่วนใหญ่มักจุด   ๓   ดอก   บูชาคุณพระพุทธ   พระธรรม   พระสงฆ์   กี่ดอกก็มีความหมายทั้งสิ้น
ผู้ถาม
ถ้าเช่นนั้นจุดดอกเดียว   ก็ถือว่าไหว้ผี   ไหว้ศพใช่ไหมครับ
หลวงปู่
จุด   ๑   ดอก   หมายถึง   จิตหนึ่ง
จุด   ๒   ดอก   หมายถึง   กายกับจิต   หรือ   โลกกับธรรม
จุด   ๓   ดอก   หมายถึง   พระรัตนตรัย   คือ   อนิจจัง   ทุกขัง   อนัตตา
จุด   ๔   ดอก   หมายถึง   อริยสัจ ๔
จุด   ๕   ดอก   หมายถึง   พระเจ้า   ๕   พระองค์   นะโมพุทธายะ
จุด   ๖   ดอก   หมายถึง   สิริ   ๖   ประการ
จุด   ๗   ดอก   หมายถึง   โพชฌงค์   ๗
จุด   ๘   ดอก   หมายถึง   มรรค   ๘
จุด   ๙   ดอก   หมายถึง   นวโลกุตรธรรม
จุด  ๑๐   ดอก   หมายถึง   บารมี   ๑๐   ประการ
ผู้ถาม
ถ้าจุด   ๑๑   ดอกล่ะครับหลวงปู่   หมายถึง
หลวงปู่
ก็บารมี   ๑๐   ประการ   กับจิต   ๑
ผู้ถาม
ถ้าไม่มีธูปเทียน
หลวงปู่
ก็ใช้วิธีจิตใจบูชา   ไม่เห็นต้องมีอะไร   พุทธัง   ธัมมัง   สังฆัง   ชีวิตังเม   ปูเชมิ   -   ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
   
มีเรื่องเล่ากันว่า   โยมท่านหนึ่งไปกราบนมัสการพระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่งเป็นประจำ   วันหนึ่งได้ถามปัญหาธรรมว่า   หลักของพระพุทธศาสนาคืออะไร   พระเถระตอบว่า   ละความชั่ว   ทำความดี   ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว   โยมท่านนั้นได้ฟังแล้วก็พูดว่า   อย่างนี้เด็ก   ๗   ขวบก็รู้   พระเถระองค์นั้นยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบว่า   จริงของโยม   เด็ก   ๗   ขวบก็รู้   แต่ผู้ใหญ่อายุ  ๘๐   ก็ยังปฏิบัติไม่ได้   ซึ้งไหมละท่าน   นึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า   
สากัจฉาย   ปุญญ   เวทิตพพา   ปัญญารู้ได้ด้วยการสนธนา
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #106 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:24:01 pm »
วิธีสะเดาะเคราะห์    อิ่มบุญ   บางเขน   ผู้เขียน   คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ   แดงสังวาลย์   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
หมอดูไม่ว่าชาติไหน   ย่อมต้องอาศัยประสบการณ์   และใช้ข้อมูลจากหลายๆพันคน   มาตั้งเป็นทฤษฎีเหมือนเป็นสูตรสำเร็จ   ว่าไปแล้วก็เหมือนหลักเศรษฐศาสตร์   มีการคำนานหาความเป็นไปได้   และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง   ซึ่งจะให้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปไม่ได้
   ตามหลักโหราศาสตร์   มีการดึงเอาดวงดาวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย   เช่น   ดาวพระศุกร์   ซึ่งถือว่าเป็นดาวดี   เมื่อเวลาโคจรมาเสวยอายุท่านผู้ใด   ผู้นั้นย่อมมีชะตาชีวิตที่ดี   ขณะเดียวกันก็มีตัวแปรซึ่งมีผลต่อดาวพระศุกร์   คือ   ดาวพระเคราะห์ดวงอื่นๆ   เช่นดาวพระเสาร์   ถ้ามีดาวพระเสาร์เข้ามาแทรก   ก็จะมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น   ตำนานของกรีกโบราณ   ถือว่าดาวทั้งสองดวงเป็นเทพเจ้าไม่ถูกกัน
   เราเชื่อกันว่าการสะเดาะเคราะห์   เป็นการที่จะบรรเทาสิ่งเลวร้ายให้เบาบางลง   หรือหมดไปเลย   เช่นการรดน้ำมนต์   การทำสังฆทาน   การปล่อยนกปล่อยปลา   ฯลฯ
   แต่พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่อง   “ กรรม ”   หรือ   “ การกระทำ ”   ไม่ว่าการทำดีหรือทำชั่ว   ย่อมบังเกิดผลของกรรมตามมาเสมอ   ผลของกรรมดีหรือการทำดี   คือความสบายใจ   เมื่อใจสบายก็เกิดบุญ
   วิธีปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา   เพื่อความสบายใจคลายทุกข์   คือ
๑. การถวายทาน   เป็นการลดความเห็นแก่ตัว   เช่น   การทำบุญตักบาตร   จิตใจที่วุ่นวาย   เป็นทุกข์   ก็จะเกิดความสุข
๒. การรักษาศีล   เพื่อเป็นการป้องกันจิต   ไม่ให้สร้างกรรมที่ไม่ดี   เพียงศีล   ๕   ข้อ   ก็เพียงพอแล้ว   ท่านจะได้อานิสงส์ของศีลตามที่พระเทศน์ไว้ว่า   …สีเลนะ   สุคติง   ยันติ   (-   ศีลทำให้เกิดความสุข)   สีเลนะ   โภคะสัมปทา   (-   ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์   อริยทรัพย์)    สีเลนะ   นิพพุติงยันติ   ตัสมา   สีลัง   วิโสทะเย   (-   ศีลทำให้พ้นทุกข์ได้)
๓. การปฏิบัติภาวนา  คือทำใจให้สงบ   โดยอาศัยคำภาวนาต่างๆ   เพื่อจิตใจสงบเยือกเย็น   ความทุกข์จะได้ไม่กัดกินใจ   มีกำลังใจที่จะต่อสู้อุปสรรคในเบื้องหน้าต่อไป
   เป็นการสะเดาะเคราะห์ให้กับตัวเองแล้ว   ยังเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเองอีกด้วย     
ธมโม   หเว   รักขติ   ธมมจารี   ธรรมนั่นแหละ   รักษาผู้ประพฤตธรรม

โชคชะตา
ชีวิตงามด้วยธรรมะ   เนาวรัตน์   พงษ์ไพบูลย์
   คนชอบดูหมอ   ก็เพราะเชื่อว่าชีวิตเป็นไปตามดวง   คือดวงดาวจริงอยู่   โลกนี้เป็นดวงดาวดวงหนึ่งในจักรวาลเช่นเดียวกับดวงดาวอื่นที่เห็นอยู่บนท้องฟ้า   แรงดึงดูดระหว่างดวงดาว   อิทธิพลของแสงสีนั้นมีอยู่จริง   ตัวเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้   ดังนั้นตัวเราจึงเป็นส่วนหนึ่งของดวงดาวนี้ด้วย   เราจึงอาจได้รับอิทธิพลระหว่างดวงดาวที่มีต่อกันด้วยโดยปริยาย   แต่ชีวิตมิใช่สิ่งที่พึงปล่อยให้เลื่อนลอยไปตามยถากรรม   ดังดวงดาวที่ลอยโคจรไปตามจักรราศีเพียงเท่านั้น
   ชีวิตคนย่อมมีความสามารถ   กระทำการต่างๆได้ตามเหตุปัจจัย   และสิ่งแวดล้อมที่อำนวยอยู่   การกระทำนั้นเอง   เป็นสิ่งชี้ขาดความเป็นไปของชีวิตเราปราศจากการกระทำ   ชีวิตย่อมตกเป็นเหยื่อของชะตากรรมทันที
   ชะตากรรมนั่นแหละ   คือ   ดวงดาว   ส่วนการกระทำเป็นแรงที่เอาชนะดวงดาว   ดังเราเรียกว่า   โชค   การกระทำที่เกิดผลดี   เราเรียกว่า   โชคดี   ซึ่งตรงกันข้ามกับ   โชคร้าย      โชคชะตาสอง คำนี้จึงหมายความถึง   ธรรมชาติล้วนๆ   ที่เป็นไปและการกระทำแท้จริงของตัวเราเองด้วย
ดวงดาวแทนค่าชะตากรรม   การกระทำคือโชคที่เข้าช่วย
ชีวิตคือโชคชะตามาอำนวย   บันดาลด้วยแรงกรรมคือทำดี ฯ


ใจชนะใจ  เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์  (ชีวิตงามด้วยธรรมะ  หนังสือพิมพ์ข่าวสด)
รู้จักอื่นหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน   รู้จักเตือนตนตระหนักรู้จักจิต
ชนะอื่นหมื่นชัยในชีวิต   ไม่เท่าที่ชนะคิดพิชิตใจ   ฯ

ทีใครทีมัน
น้ำ      ฝนเทจากฟ้า      คึกคะนอง
มา      มากมายก่ายกอง   ท่วมท้น
ปลา      แหวกว่ายหมายปอง   ฮุบเหยื่อ
กินมด      อิ่มเหลือล้น      สนุกลิ้นกินเพลิน ฯ
น้ำ      ขาดเขินขอดแห้ง   ติดดิน
ลด      เรื่อยถึงธรณิน      ภพพื้น
มด      ได้ทีรุมกิน      สับเปลี่ยน  กันนา
กินปลา      ตายน้ำตื้น      ชำระแค้นสะสาง ฯ
ลายวลี   คำวิไล   ผู้ประพันธ์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #107 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:28:05 pm »
ศาสนกิจ
   ผู้เขียน  สมบูรณ์  จอจันทร์   บทความ  ชาวพุทธควรรู้   นิตยสารโลกลี้ลับ
ผู้พิมพ์   สิทธิพงศ์   สงวนศักดิ์
   พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา   ซึ่งนิยมใช้กันปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้   ส่วนมากเจือด้วยลัทธิพราหมณ์  คือ   พุทธ กับ  พราหมณ์   ปะปนคละกันไป   จะแยกออกจาก
กันได้ยาก   เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว   ถึงแม้จะมีลัทธิพราหมณ์แทรกอยู่ก็ตาม   เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง   หรือวัฒนธรรมศีลธรรมแล้ว   ก็เป็นอันใช้ได้ตลอดมา
   ศาสนกิจของชาวพุทธ   หมายถึง   การปฏิบัติตนเกี่ยวกับระเบียบประเพณีทางพุทธศาสนา   ที่นิยมปฏิบัติกันเป็นประจำ 
   ระเบียบประเพณีนี้  เราเป็นชาวพุทธควรจะรู้และจดจำไว้ปฏิบัติสืบต่อไป  เมื่อได้ไปพบงานศาสนกิจที่จำเป็น   จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบประเพณีของชาวพุทธ  เพื่อยึดเป็นหลักปฏิบัติต่อไป

การนิมนต์พระ
ผู้ประสงค์จะทำบุญควรนิมนต์พระไว้ก่อนวันงาน   ยิ่งเนิ่นๆ ได้เป็นดี   เผื่อพระจะไม่ว่าง   ถ้านิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยจะดีมาก
งานพิธีเกี่ยวกับฤกษ์   ต้องบอกเวลาฤกษ์ให้พระท่านทราบ   จะได้ไม่ขลุกขลักเรื่องเวลา   ซึ่งทำให้เสียฤกษ์ได้  อาจทำให้เจ้าภาพเองต้องเสียใจหรือกังวลใจภายหลังอย่างใดอย่างหนึ่งได้
การนิมนต์พระ   ห้ามระบุชื่อภัตตาหารที่จะถวายพระเป็นอันขาด  เพราะผิดวินัย
ทานที่จะให้มี   ๒   อย่าง
๑.   บุคลิกทาน        ให้เจาะจงผู้รับ
๒.   สังฆทาน           ให้โดยไม่เจาะจงผู้รับ

การจัดอาสนะ
         อาสนะสำหรับพระที่นั่งนั้น   จะใช้เสื่อ   พรม   หรือผ้าขาวอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้   แล้วแต่จะสะดวก    แต่ต้องจัดให้สูงกว่าฆารวาส     ที่พระสงฆ์นั่งต้องอยู่ด้านซ้ายของพระพุทธรูปเสมอไป
นอกจากอาสนะแล้ว   ยังมีพานหมาก   พลู   บุหรี่   ขันน้ำ   กระโถน   (ปัจจุบันไม่นิยมหมาก   พลู   บุหรี่)
   ที่เห็นมาส่วนมากแล้วจะเป็นลูกอมต่างๆ   ถวายแทนหมาก   พลู   บุหรี่   ของเหล่านี้ ควรตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์   ส่วนกระโถนพระท่านจะยกไว้ข้างหลังเอง   ไม่ต้องประเคน

การจัดโต๊ะบูชา
   โต๊ะบูชานั้น   ใช้โต๊ะหมู่  ๕   หมู่  ๗   หรือหมู่  ๙  ถ้าไม่มีโต๊ะหมู่จะใช้โต๊ะอย่างอื่นที่เหมาะสมแทนก็ได้
   เมื่อไม่สามารถจะหาโต๊ะหมู่และเครื่องตั้งบูชาได้ครบ   ก็พึงจัดหาเท่าที่หาได้ คือ     พระพุทธรูป  ๑  องค์   ตั้งไว้ที่โต๊ะตัวสูง   ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ   ถ้าสถานที่ไม่อำนวย   ก็ให้ตั้งผินหน้าไปทางที่เหมาะสม
   การที่นิยมตั้งพระพุทธรูปผินหน้าไปทางทิศตะวันออกนั้น   นิยมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  เพราะพระองค์ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก   รวมไปถึงตั้งหิ้งพระบูชาที่บ้าน   หรือตามสถานที่ราชการทั่วไป  ก็นิยมปฏิบัติตามในทิศดังกล่าวนี้   ถือกันว่าผินหน้าไปทางทิศอื่นหรือทิศตรงกันข้าม จะไม่เป็นมงคลทำนองนี้

ด้ายสายสิญจน์
   ด้ายสายสิญจน์ไม่ควรใช้ด้ายหลอด   ควรใช้ด้ายดิบจับเก้าเส้น   จึงจะน่าดูและถูกต้อง   และด้ายสายสิญจน์ควรใช้เฉพาะงานมงคล
   บ้านที่ทำงานมงคล   จะต้องโยงด้ายสายสิญจน์ไว้บริเวณรอบบ้าน   ควรจัดหาด้ายสายสิญจน์ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง   อย่ายืมของผู้อื่น   การยืมของผู้อื่นมาโยงไว้รอบบ้านตน   พองานเสร็จไม่รื้อออกส่งเขาน่ากระไรอยู่

วิธีโยงด้ายสายสิญจน์
   ให้ตั้งต้นที่พระพุทธรูป   เวียนมาทางขวามือ   (แบบเลข ๑  ไทย)   โยงออกไปรอบบ้านหรือรั้วบ้านแล้ววนกลับเข้ามาตรงเสาเรือนเข้าสู่ที่บูชา   แล้ววงรอบฐานพระพุทธรูป   โยงรอบบาตรหรือขันน้ำมนต์กลุ่มด้ายสายสิญจน์ที่เหลือวางไว้บนพาน   ตั้งไว้ในที่อันควร
   เวลาวางด้ายสายสิญจน์   พึงพยายามสำรวมจิตรำลึกถึง          คุณพระพุทธ     คุณพระธรรม     คุณพระสงฆ์          ขออำนาจช่วยปกปักรักษาปัดเป่าสรรพภยันตราย   และให้เกิดความสุข  ความเจริญด้วย   ลาภ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ตลอดกาล

อย่าข้ามด้ายสายสิญจน์
   สายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูปแล้วถือว่าเป็นของสูง     ไม่ควรเดินข้ามหรือยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดข้าม   ถ้าข้ามถือว่าเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้า   คือ   เท่ากับเดินข้ามหรือยกข้ามพระเศียรของพระองค์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #108 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:28:41 pm »
บาตรน้ำมนต์
   บาตรน้ำมนต์ใช้บาตรดินหรือขันสัมฤทธิ์   ถ้าไม่มีจะใช้ขันทองเหลืองก็ได้แล้วแต่จะหาได้ใส่น้ำพอควร   และของใส่บาตรน้ำมนต์ตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าในพิธี   แต่อย่าให้ห่างนัก   เพราะพระจะจับเทียนไม่ถึงเวลาทำน้ำมนต์   และขันน้ำมนต์ต้อง ประเคนพระด้วย

เทียนสำหรับทำน้ำมนต์
เทียนที่จะทำน้ำมนต์   ควรใช้เทียนขี้ผึ้งแท้อย่างดี   หนัก   ๑   บาท   ติดไว้ที่ปากบาตรหรือที่ปากขันที่จะทำน้ำมนต์   เพื่อสะดวกแก่พระท่านเวลาจะจับทำน้ำมนต์

ของใส่บาตรน้ำมนต์
   สิ่งของที่นำมาใส่บาตรน้ำมนต์   คือ    ๑.  ผิวมะกรูด      ๒.   ฝักส้มป่อย

ของที่ใช้มัดประพรมน้ำมนต์
   ๑.    ใบมะตูม            ๒.    ใบสันพร้าหอม
   ๓.    ใบเงิน            ๔.    ใบทอง
   ๕.    ใบนาก            ๖.    หญ้าแพรก
   ๗.    แฝก            ๘.    หญ้าคา
   ใน  ๘  อย่างนี้  ถ้าหาได้ครบเป็นการดียิ่ง  ถ้าหาไม่ได้หรือไม่ครบก็ใช้เท่าที่หาได้

การจุดธูปเทียนที่บูชา
   คนจุดธูปเทียนกับคนอาราธนาศีลต้องเป็นคนละคนกัน   ไม่ใช่คนคนเดียวกันกับที่จุดธูปเทียนแล้วมาอาราธนาศีล   พึงปฏิบัติดังนี้
   ผู้ถือเทียนชนวนให้เชิญผู้เป็นประธานในพิธีมาจุดธูปเทียน   เมื่อถึงที่บูชาแล้ว   ผู้ถือเทียนชนวนพึงยืนหรือนั่งอยู่ทางด้านขวามือของผู้จุด   หรือแล้วแต่สถานที่
การส่งเทียนชนวน
   เมื่อส่งเทียนชนวนแล้วต้องรอรับเทียนก่อน   อย่าเพิ่งกลับ   ในเมื่อจุดธูปเทียนยังไม่เสร็จ     และเวลากลับอย่าเดินผ่านหน้าผู้จุดธูปเทียน   เว้นแต่สถานที่จำกัด   เดินทางอื่นไม่ได้

ผู้จุดเทียน
   ผู้จุดเทียนเมื่อจุดเสร็จแล้วพึงกราบพระ   ๓   ครั้ง   ตรงที่จัดไว้สำหรับกราบ   และควรกราบด้วยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ทั้ง    ๕     คือ    ๑.  เข่าทั้งสองจรดพื้นดิน   ๒.  ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น      ๓.  หน้าผากจรดพื้นเวลากราบลง       รวมเป็น  ๕        ( เข่า  ๒  ฝ่ามือ  ๒   หน้าผาก  ๑)   และ เวลากราบระวังอย่าให้ส่วนตะโพกสูงโด่งขึ้น   ดูน่าเกลียดและไม่ทอดตัวลงไปเหมือนจะนอน   กราบให้เป็นจังหวะพอดูงาม   อย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป   เมื่อกราบเสร็จแล้วพึงกลับมานั่งที่เดิม

อาราธนาศีล
   เมื่อจุดธูปเทียนและมานั่งที่เดิมแล้ว   ผู้มีหน้าที่อาราธนาศีลเริ่มอาราธนาทันที   เมื่อพระให้ศีลจบ   ก็ให้อาราธนาพระปริตรต่อไป
จุดเทียนบาตรน้ำมนต์
ตอนพระกำลังสวดมนต์   ให้ผู้ที่เป็นประธานนั่งอยู่ใกล้ๆ บาตรน้ำมนต์   พอพระสวดถึงบท   “  อะเสวะนา  จะพาลานัง…….”   ผู้เป็นประธานก็จุดเทียนที่บาตรน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง   แต่ผู้เชิญเทียนชนวนต้องเตรียมไว้   และเข้าใจว่าเวลาไหนจะทำอะไร    เมื่อจุดเทียนแล้วก็ยกบาตรน้ำมนต์ถวายพระ (ตอนนี้พระท่านพักไว้ก่อนฉันภัตตาหาร)
(  หมายเหตุ      ในปัจจุบันนี้ ผู้พิมพ์พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วการจุดเทียนน้ำมนต์นี้  พระท่านจะเป็นผู้ที่จุดเทียนชนวนเอง   บาตรน้ำมนต์กับเทียนชนวน จะต้องถวายพระก่อนที่จะเริ่มการจุดธูปเทียน)

การประเคนอาหาร
การประเคนอาหารที่ถูกต้อง   ต้องประกอบด้วยองค์   ๕   คือ
๑.   ของที่จะประเคนนั้น   ไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป   หนักพอยกประเคนได้คนเดียว
๒.   ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส  คือ   ห่างกันไม่เกิน  ๑   ศอก
๓.   น้อมเข้าไปประเคนด้วยคารวะ
๔.   กิริยาที่น้อมเข้าไปนั้น   ด้วยกายก็ดี  ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้   เช่น   ผ้าเช็ดหน้า  เป็นต้น
๕.   ภิกษุรับด้วยกายก็ได้   ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
อนึ่ง     อาหารที่ประเคนพระแล้ว   ห้ามจับต้องเป็นอันขาด   ถ้าจะเติมหรือเปลี่ยนใหม่ต้องประเคนใหม่ทุกครั้ง

ถวายเครื่องไทยทาน
เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว   เข้านั่งประจำที่เรียบร้อยแล้ว   พึงถวายเครื่องไทยทาน   มีดอกไม้   ธูปเทียน   เป็นต้น   ถ้ามีปัจจัยพึงให้เขียนใบปวารณาถวายพร้อมกับเครื่องไทยทาน   ส่วนปัจจัยมอบให้กับศิษย์พระท่านไป
(   หมายเหตุ     ส่วนใหญ่แล้ว  ปัจจัยจะมอบพร้อมกับเครื่องไทยทาน  ไม่ต้องมอบให้กับศิษย์พระ   โดยไม่ต้องเขียนใบปวารณา         -  ผู้พิมพ์   )

ประพรมน้ำมนต์
   ตอนนี้ผู้ถือเทียนชนวนหรือคนใดคนหนึ่งก็ได้ช่วยกันยกบาตรน้ำมนต์ให้พระท่าน   ประพรมไปรอบๆ   บุคคลที่อยู่ในพิธี   บ้าน หรือสถานที่ทำการมงคลนั้น   เวลาพระกำลังประพรมน้ำมนต์   พวกฆารวาสควรก้มหน้าประนมมือรับน้ำมนต์จากพระท่าน
   การพรมน้ำมนต์ นี้   ถ้าเป็นสถานที่ราชการ   มีบริเวณกว้าง   จะให้พระท่านนั่งประพรมอยู่บนอาสนะ   ให้ฆารวาสเดินแถวก้มหลังผ่านหน้าท่าน   แล้วพระก็ประพรมน้ำมนต์ไปเรื่อย ๆ    จนกว่าจะหมดคนสุดท้าย     แบบนี้ก็ใช้ได้    เพื่อความสะดวกแก่พระสงฆ์ท่านไม่ต้องลำบากเดินไปเดินมา



เวลากรวดน้ำ
   เวลากรวดน้ำ   เมื่อพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าเริ่มว่า      ยะถา   วาริวะหา   ปูรา ……   ฆารวาสก็เริ่มกรวดน้ำ   พอถึง     สัพพีตีโย   วิวัชชันตุ……   พึงประนมมือรับพรพระต่อไป   ถ้าเป็นงานส่วนบุคคลมีเจ้าภาพก็ให้  เจ้าภาพ กรวดน้ำ
   เวลากรวดน้ำ   อย่าเอามือหรือนิ้วมือ รองน้ำที่เทออกจากขวดหรือที่กรวด   ดูไม่เหมาะสม   ถ้าผู้รับจะดื่มน้ำที่เรากรวดไปนั้นจะรู้สึกอย่างไร   และผู้กรวดน้ำพึงสำรวมจิตอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ตนประสงค์จะอุทิศ
   เมื่อกรวดน้ำเสร็จแล้วอย่าเอาน้ำเทลงกระโถนหรือในที่สกปรก   ให้ เท รด หญ้า หรือต้นไม้ใหญ่นอกชายคา   ถ้าเป็นวัดพึง เท รด โคนต้นโพธิ์ เหมาะที่สุด

เวลาพระสงฆ์จะกลับวัด
   เมื่อเสร็จพิธีในงานเรียบร้อยแล้ว   พระท่านก็จะกลับวัด   ตอนเวลาพระท่านลุกขึ้นและเดินออกมาจากอาสนะ   ถ้ามีผู้คนมากก็ต้องหลีกทางให้พระท่าน พร้อมกับประนมมือไหว้   ท่านออกจากบ้านไปแล้วก็ช่วยเก็บข้าวของเครื่องไทยทานไปส่งพระท่านด้วย   (  เก็บใส่รถที่รับส่ง )
   ถ้านิมนต์พระที่วัดใกล้บ้านก็ไม่จำเป็นต้องใช้รถรับส่งท่าน   แต่ต้องช่วยนำของที่ถวายท่านไปส่งถึงวัดด้วย   ( ถ้าไม่มีลูกศิษย์มาด้วย )   และคนที่เป็นเจ้าภาพต้องไปส่งพระท่านถึงประตูบ้านด้วย   ตอนพระจะมาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีคนคอยรับพระท่านตรงประตูบ้านหรือหัวบันไดด้วย   จึงดูเหมาะสมเรียบร้อยน่าดู

เครื่องใช้ในงาน
   เครื่องใช้ในงาน   เช่น   ถ้วย   จาน   เหยือก   แก้วน้ำ   กระโถน   เสื่อ   พรม   ฯลฯ   เมื่อเสร็จงานแล้วก็ให้รีบส่งคืนวัด   เผื่องานอื่นเขาจะมาขอยืมบ้าง   บางวัดมีของใช้น้อย   และไม่ควรใช้ของในบ้านปนด้วย   บางทีเวลาจะส่งคืนวัด  ของมักจะปนเปกัน   ไม่รู้ว่าเป็นของบ้านหรือของวัด   หากจะยืมที่วัดก็ให้ใช้ของวัดอย่างเดียว   จะได้เก็บรวบรวมส่งได้สะดวก   เมื่อของใช้แตกเสียหายก็ต้องซื้อแทน
   (  หมายเหตุ    ผู้พิมพ์เห็นว่า หากของวัดที่ยืมมาไม่เพียงพอแล้ว  ก็ควรที่จะใช้ของบ้าน  เพียงแต่จะต้องบันทึกไว้ว่า   ของวัดที่ยืมมามีอะไรบ้าง  เมื่อเวลาที่จะส่งคืนวัด   จะตรวจสอบได้ว่า   คืนไปครบแล้วหรือยัง  )
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #109 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:29:08 pm »
ยาวกาลิก
   ของที่ได้บริโภคเป็นอาหาร  จัดเป็นยาวกาลิก   เช่น   ข้าวสุก   ขนมสด   ขนม-แห้ง   ปลา   เนื้อ   นมสด   น้ำส้ม   และของเคี้ยว   ผลไม้มีมัน   เป็นต้น
   ยาวกาลิก        นั้น   ภิกษุจะรับประเคนตั้งแต่เที่ยงไปแล้วไม่ควร  ถ้าจะรับประเคนตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น   จนถึงเวลาก่อนเที่ยงได้   และจะฉันได้ภายในเวลาก่อนเที่ยงของวันรับประเคนนั้น   ถ้าจะเก็บไว้ฉันวันรุ่งขึ้นไม่ควรรับประเคน   ทายกผู้จะถวายเสบียง   เช่น   ข้าวสาร   ปลาแห้ง   ผลไม้   เป็นต้น   ไม่ควรประเคน   ควรมอบให้ศิษย์ของพระไป   หรือเที่ยงแล้ว อย่าประเคนของที่จัดเข้าในยาวกาลิก

ยามกาลิก
   ได้แก่   ปานะ   คือน้ำสำหรับดื่มที่คั้นออกจากผลไม้   เรียกว่า   ยามกาลิก   กล่าวในบาลี มี   ๘   อย่าง   คือ
   ๑.อัมพปานะ(น้ำมะม่วง)      ๒.ชัมพุปานะ(น้ำชมพู่  หรือ น้ำหว้า)
   ๓.โจจปานะ(น้ำกล้วยมีเมล็ด)      ๔.โมจปานะ(น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด)
   ๕.มธุกปานะ(น้ำมะซาง)      ๖.มุททิปานะ(น้ำลูกจันทร์  หรือ  น้ำองุ่น)
   ๗.สาลุกปานะ(น้ำมะปราง  หรือ  น้ำลิ้นจี่)
   น้ำปานะทั้ง    ๘    อย่างนี้    ถ้าไม่ได้ทำสุกด้วยไฟ  ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง

สัตตาหกาลิก
   เภสัช   ๕   อย่าง    คือ    เนยใส    เนยข้น    น้ำมัน    น้ำผึ้ง    น้ำอ้อย      จัดเป็นสัตตาหกาลิก   ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้  ๗  วัน  น้ำตาลทราย   น้ำตาลปึก     น้ำตาลปี๊บ     สงเคราะห์เข้าในกาลิกนี้
ยาวชีวิก
ของที่ ประเคนเป็นยา นอกจากกาลิกทั้ง ๓ อย่างนี้  จัดเป็นยาวชีวิกกล่าวไว้ในบาลีดังนี้
   ๑.รากไม้   เช่น   ขมิ้น   ว่านน้ำ   ว่านเปราะ   อุตระพิษ   ข่า   แผก   แห้วหมู
   ๒.น้ำฝาด   เช่น   น้ำฝาดสะเดา   น้ำฝาดมูกมัน   น้ำฝาดกระดอม   หรือมูลกา   น้ำฝาดบรเพ็ด    หรือพญามือเหล็ก   น้ำฝาดกระถินพิมาน
   ๓.ใบไม้   เช่น   ใบสะเดา   ใบมูกมัน   ใบกระดอม   หรือมูลกา   ใบกะเพรา  หรือแมงลัก   ใบฝ้าย
   ๔.ผลไม้   เช่น   ลูกพิลังกาสา   ดีปลี   พริก   สมอพิเภก   มะขามป้อม   ผลโกฎฐ์
   ๕.ยางไม้   เช่น   ยางไม้ที่ไหลออกจากต้นหิงคุ และกำยาน   เป็นต้น
   ๖.เกลือ
ของตั้งแต่ข้อ   ๑   ถึงข้อ   ๖   นี้   ถ้ารับประเคนโดยตั้งใจให้เป็นยาแก้โรค   จัดเป็นยาวชีวิก   ถ้ามุ่งเป็นอาหาร   ไม่จัดเป็นยาวชีวิก

กาลิกระคนกัน
        กาลิกบางอย่าง   ระคนกับกาลิกอย่างอื่น   มีกำหนดให้ใช้ได้ชั่วคราวของกาลิกที่มีอายุสั้น   เช่น   ยาผง  เป็นยาวชีวิก   เอาคลุกกับน้ำผึ้งเป็นกระสาย   น้ำผึ้งที่มีอายุการประเคน   ๗    วัน   ยาผงนั้นก็พลอยมีอายุ   ๗   วันไปด้วย   อบเชยเป็นยาวชีวิก   ปรุงกับข้าวสุกที่หุงด้วยกะทิ   อบเชยกลายเป็นยาวกาลิกไปด้วย
   สุดท้ายนี้   ขอให้ผู้ที่ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานศาสนกิจ   ก็ควรอ่านหรือจดจำไว้   เผื่อที่บ้านมีงานและหาคนที่รู้ไม่ได้หรือหายาก   ก็จะได้รู้และจัดได้ถูกต้องตามระเบียบหรือประเพณี   ถ้าเราทำอะไรไม่ถูกก็จะทำให้ผู้ที่มาร่วมงานของเราตำหนิเอาได้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)