ผู้เขียน หัวข้อ: #สุขที่สัตว์โลกควรกลัว #ไม่ควรกลัว  (อ่าน 1108 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


#สุขที่สัตว์โลกควรกลัว #ไม่ควรกลัว
 ....ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย(ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า? ภิกษุ ท.! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า? ห้าอย่างคือ รูป ที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก, รส ที่สัมผัสด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ; ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า กามสุข อันเป็นสุขของบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬ์หสุข) ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน... ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตฐฌาน... แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก, ไม่ควรกลัว.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, นั้น; เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้.

- อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.
พุทธทาสภิกขุ
  อริสัจจากพระโอษ ภาคต้น. -- กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ ๒๕๕๓. หน้า๑๑-๑๒

อนุโมทนากับโพสต์นี้ครับ สาธุ สาธุ สาธุ
@  +บูชา ธรรมาภิบาล
    ๑๓  สิงหาคม  ๒๕๕๗