คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
การมองสามชั้น ในการอ่านนิทานไซอิ๋ว :PULING的主頁
ฐิตา:
http://youtu.be/MEgAHq3klpI
Suraphol Kruasuwan
Public 7w
1.ตัวปลอมคือวานรหกหู
คืออธิจิต(จิตปรุงแต่ง) พัฒนาสูงสุด
เป็นนักปราชญ์ แตกฉานโลก ธรรม ภาษา ปฏิภาณ
แต่ไม่รู้วิธีดับเหตุทุกข์ในใจตนได้
2.ตัวจริงคือหงอคง
คือโพธิจิต(จิตแท้จิตเดิม)
ที่พัฒนาเป็นพุทธะปัญญา
ที่รู้วิธีชนะอุปสรรคพัฒนาตน คือชนะทุกข์
ทั้ง
-สภาวทุกข์ โดยมีสติตืน เห็นไตรลักษ์ และทำใจรับสภาพ
-เวทนาทุกข์ ฝึกอดทนพันเท่า
-อารมณ์ทุกข์ ฝึกแยกความคิด อารมณ์ อุดมคติ ความรู้ ความอยาก
จนปรุงแต่ง ชงอารมณ์ทุกข์ไม่ได้ ตามหลัก โพธิปักขิยธรรม หรือ นิปปปัญจธรรม
ธรรมะภาคปฏิบัติ สู่การดับไม่เหลือเหตุอุปทานทุกข์ เรี่มต้นจากสติ ติดตามอาการจิต ทุกครั้งที่หายใจ
3.ศรัทธา(พระถัง) วิริยะ(ม้าขาว)ศีล(ตือบ่วยข่าย)สมาธิ(ซัวเจ๋ง)หงอคง(โพธิปัญญา)
ที่ปลอมคือ อัตตาที่จิตปรุงแต่ง(อธิจิต)สร้างหลอกตนเองว่า
ตนเป็นอริยะ แต่จริงคือหลงฝึกเป็น"นักสิทธิ์"
มีสิทธิอำนาจเหนือธรรมชาติ เหนือมนุษย์ แต่จมในอารมณ์ทุกข์ตนเอง สาธุ
**************************
https://www.youtube.com/watch?v=0mrk0IbFzJ0
(จะหาที่พากย์ไทย มาฝากคราหน้านะครับ)
พระเสวียนจั๋ง หรือพระถังซัมจั๋ง ได้เริ่มออกเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 1170 ไซอิ๋ว เป็นนิยายคลาสสิกของจีน แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590
ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน
นั่นคือนิยายเรื่องนี้เขียนหลังพระถังซัมจั๋งถึงพันปี
คำว่า ไซอิ๋ว แปลว่า Journey to the West
แปลตรงตัวว่า บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก
*********************************
https://www.youtube.com/watch?v=mqKmFXN5x-o
ตราบใดที่ โลกยังมีมนุษย์ "ไซอิ๋ว" การเดินทางสู่ตะวันตก
ก็จะถูกสร้าง ดัดแปลง เป็นภาพยนต์ เกมส์ การ์ตูน ไม่รู้จบ
ไซอิ๋วที่เรารู้จัก เป็น"วรรณกรรม นิทานไซอิ๋ว"
ที่เอาเค้าโครงเรื่องจริง การเดินทาง ไปเอา ความรู้ยิ่งใหญ่
ปราชญ์ภารตะ มาสู่แผ่นดินถัง(จีน)
-ไซอิ๋ว เป็นนิทานต้องอ่าน สามชั้น
คือ
1.ไพเราะในเบื้องต้น
แค่ตัวละครแต่ละตัว มีอภิจินตนาการพฤติกรรมขำกลิ้ง
2.ไพเราะในเบื้องกลาง
มีปรัชญาชีวิต ลึกล้ำมากมายซ่อนอยู่
เป็นการเดินทางภายในสู่จิตปรุงแต่ง จนพบจิตแท้จิตเดิม ในตัวเรานี่แหละ ด้วยพละห้า
-พระถังคือศรัทธา
-ม้าขาว คือวิริยะ
-ซัวเจ๋งคือสมาธิ
-ตือบ่วยข่าย คือสติ
-หงอคง คือโพธิปัญญา
นครต่างๆ คือลำดับการบรรลุธรรม ตาม มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง
ปีศาจ คือเป็นทั้งกิเลส(อาสวะ) และบุญบารมี(สาสวะ)
ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย) เขียนเดินทางไกลกับไซอิ๋ว ไปอ่านดูนะครับ
ไซอิ๋ว เป็นหนึ่งในสี่ วรรณกรรมยิ่งใหญ่ตลอดกาลของจีน
เขียนขึ้นในปลายราชวงค์หมิง บ้านเมืองกำลัง จะผลัดแผ่นดิน
จึงมีผู้เขียนวรรณกรรม มี่เรื่อง เพื่อแก้ปัญหาสังคม
-ไซอิ๋ว เอาธรรมะเข้ามาขย่ม
-ซ้องกัง ปลุก ลัทธิวิระบุรุษนิยม
-สามก๊ก เอายุทธวิธี พิชัยยุทธ ทุกสำนักของจีน มาเฉลย
-บุปผาในกุณฑีทอง เสพสุข เสพเสียวดีกว่า
(มีความฝันในหอแดง ที่บางท่านจัดเป็นวรรณกรรมที่ห้า)
3.ไพเราะในเบื้องปลาย
ไซอิ๋ว เอาไปใช้ เป็นแผนที่ชีวิต
และ ปลุก ปรีชาญาณฉลาดเลือกตื่น
มาวางแผน ยุทธศาสตร์ สร้าง ยุทธวิธี
เพื่อ จัดการ ทุกปัญหา ชีวิต ด้วยการฝึกฝนตน
ที่จะป้องกัน แก้ เยียวยา จิตวิญญาณ
และแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม ทดแทนคุณแผ่นดิน
ยอมรับกฎกติการ ธรรมชาติ แบบ"คนดี" เราได้จริงๆ
สาธุ
Suraphol KruasuwanOWNER
Shared publicly -การสนทนา
คนรัก รักษ์ สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
****************
Public 2d
ธรรมสวัสดิ์ 18/2/17
"ใต้สาระ.......................มีความหมาย"
ไซอิ๋ว และบทวิเคราะห์
หลวงพ่อเกษตร
“ไซอิ๋ว” เป็นวรรณกรรมจีนที่คนไทยรู้จักดีพอๆ กับเรื่อง “สามก๊ก” แต่ที่เป็นข้อพิเศษแตกต่างกันไปจาก “สามก๊ก” ก็คือ “ไซอิ๋ว” เป็นวรรณกรรมที่มีมิติของเนื้อหาอยู่ ๒ มิติ คือ
มิติแรก เป็นวรรณกรรมที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลินเหมือนกับวรรณกรรมทั่วๆไป ในมิตินี้ เราจะพบกับการผจญภัยของพระถังซัมจั๋ง เห้งเจีย โป้ยก่าย และซัวเจ๋ง เป็นต้น
มิติที่สอง เป็นวรรณกรรมศาสนา ที่แต่ละตัวละคร ต่างเป็นสัญลักษณ์ทางธรรม ของพระพุทธศาสนา เช่น เห้งเจีย เป็นสัญลักษณ์ของ ปัญญา โป้ยก่าย เป็นสัญลักษณ์ของ ศีล และ ซัวเจ๋ง เป็นสัญลักษณ์ของ สมาธิ เป็นต้น
โดยทั้ง ปัญญา ศีล และสมาธิ นี้ยังไม่สมบูรณ์เพราะยังมี ราคะ โทสะ และโลภะ ดำรงอยู่ ยังต้องผ่านการทดสอบในโลกียะจนกว่าจะบรรลุถึง สัจธรรม
และสิ่งที่มาทดสอบนั้นก็มิอะไรอื่น หากคือบรรดาปีศาจต่างๆ ที่ตัวละครเหล่านี้ต้องผจญภัย
นอกจากนี้ ในหลายกรณีที่บรรดาสิงสาราสัตว์ แม่น้ำลำธาร ขุนเขา ป่าไม้ อาวุธยุทโธปกรณ์ ฯลฯ ก็เป็นสัญลักษณ์อยู่ด้วย
จะเห็นได้ว่า ในมิติที่สองนี้ มีความลึกล้ำซับซ้อน ต่อการทำความเข้าใจไม่น้อย และเป็นวิธีที่เข้าสู่สัจธรรมในแบบ มหายาน อันเป็นนิกายพื้นฐานของศาสนาพุทธในจีน
ดังนั้นในมิตินี้ จึงอาจจะไม่ให้ความสนุกสนานอะไรแก่ผู้อ่านเท่ากับมิติแรก แต่ในขณะเดียวกัน ความสนุกสนาน ที่ได้จากมิติแรก ก็ใช่ว่าจะเป็นพิษเป็นภัย เพราะอย่างน้อยก็ยังคงเป็นวรรณกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว
แม้ไซอิ๋วจะมีฐานะวรรณกรรมเช่นนั้น และเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง
(Ming Dynasty, B.E.1368 – 1644) โดย อู่ เฉิง เอิน (Wu Cheng-en, B.E.1500 – 1582) ก็ตาม แต่ไซอิ๋วจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากในโลกแห่งความเป็นจริงเมื่อสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty, B.E.618 – 907) ไม่มีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมีสมณฉายาว่า “เสวียนจั้ง” (Xuan-zang, B.E.569 – 664) หรือ “ซานฉางฝ่าซือ” (San-cang-fa-shi) เกิดขึ้น
ซานฉางฝ่าซือ ที่พอถอดเป็นภาษาไทยได้ว่า “พระธรรมาจารย์ไตรปิฎก” อันเป็นคนเดียวกับ “พระถังซัมจั๋ง”
พระถังซัมจั๋ง มีชีวิตอยู่ในสมัยจักรพรรดิ ไท่จง (Taizong, B.E.626 – 649) ด้วยความศรัทธาของพระถังซัมจั๋ง และการเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของจักรพรรดิไท่จง พระถังซัมจั๋งจึงได้เดินทางไปยัง “ชมพูทวีป” เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก และนำพระไตรปิฎกกลับมายังจีนเพื่อทำการแปล
ซึ่งนับแต่ปีที่ออกเดินทางไป จนกระทั่งกลับมายังจีนอีกครั้งหนึ่งนั้น ปรากฎว่า พระถังซัมจั๋ง ได้ใช้เวลานานถึง ๑๖ ปี (B.E.629 – 647)
และคงเป็นเพราะเหตุนี้เอง จักรพรรดิไท่จง จึงทรงให้พระถังซัมจั๋งเขียนบันทึก บอกเล่าเรื่องราว ที่ได้ไปพบเห็นมาระหว่างช่วงเวลานั้นถวายต่อพระองค์ เรื่องราวที่พระถังซัมจั๋งเขียนขึ้นมีชื่อว่า “ต้าถัง ซี-ยวี่-จี้” (Da Tang-xi-yu-ji) หรือ “จดหมายเหตุดินแดนตะวันตกแห่งมหาราชวงศ์ถัง”
โดยดินแดนตะวันตกในที่นี้ก็คือ “ชมพูทวีป” เพราะเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศจีน บันทึกฉบับนี้ได้ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์(โดยเฉพาะของประเทศอินเดีย) อย่างมากมาย
นอกจากบันทึกฉบับนี้แล้ว ยังมีอีกฉบับหนึ่งที่ให้ประโยชน์ไม่แพ้กัน คือ “ต้าถังต้าฉือเอินซื่อ ซานฉางฝ่าซือ ฉวน” (Da-Tang-Daci-Ensi-Sancangfashi-Chaun) ซึ่งพอแปลได้ว่า “ประวัติพระมหาธรรมาจารย์ไตรปิฎก ณ. วัดการุณยาราม แห่งมหาราชวงศ์ถัง”
อันที่จริงแล้ว ทั้งก่อนและหลังการเกิดบันทึกทั้งสองฉบับนี้ขึ้นในจีน ยังมีบันทึกอีกจำนวนหนึ่งที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชมพูทวีปเช่นกัน ผู้บันทึกมีทั้งบรรพชิต และ ฆราวาส ที่ได้เดินทางไป และ เห็นดินแดนนี้มา
ข้อมูลเหล่านี้ให้ประโยชน์แตกต่างกันไป แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีฉบับไหน ที่ได้รับการขยายความ หรือพัฒนามาเป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้มากเท่ากับบันทึกสองฉบับนั้น ซึ่งต่อมาถูกทำให้กลายเป็น “ไซอิ๋ว” ดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ไซอิ๋ว ที่เป็นวรรณกรรมนั้นมีชื่อเต็มว่า “ซี โหยว จี้” (Xi-you-ji) แปลว่า “บันทึกตะวันตกสัญจร” ความเชื่อมโยง ที่เกี่ยวพันกับบันทึกทั้งสองฉบับข้างต้น อยู่ตรงที่เรื่องราว ยังคงบอกเล่าถึงการเดินทาง ไปชมพูทวีป เพื่อนำพระไตรปิฎก กลับมายังประเทศจีนประการหนึ่ง และอยู่ตรงที่มีตัวละครที่ชื่อ “พระถังซัมจั๋ง” เหมือนๆกันอีกประการหนึ่ง
ผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นผู้มีเจตนาดีต่อพระพุทธศาสนา ทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะแต่งให้พระถังซัมจั๋ง ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากประเทศอินเดีย มาเผยแพร่ในประเทศจีน แต่ผู้แต่งศึกษาเรื่ององพระพุทธศาสนายังไม่ตลอด ยังไม่เข้าใจพระธรรมวินัยดีพอ เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ที่ยังมีกิเลส ย่อมมีข้อตำหนิ มีข้อผิดพลาดในการแต่งเนื้อเรื่องอยู่บ้าง ดังนี้:
๑. พระถังซำจั๋งมีบทบาทน้อยไป ต้องมีผู้ช่วยมากมายราวกับว่าท่านไม่มีความสามารถ ไม่มีคุณวิเศษ ซึ่งพระภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ย่อมมีคุณวิเศษเอาตัวรอดได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย
๒. พระถังซำจั๋งแต่งตัวหรูหรา ประดับประดามาก มีการสวมมงกุฎ ถือคทา ใส่ลูกประคำ จีวรประดับประดางดงาม ผิดสมณะสาระรูป เหมือนการแต่งตัวของนางคณิกา เหมือนการแต่งตัวของพวกขุนนางผู้สูงศักดิ์ ไม่ใช่การนุ่งห่มของสมณะ ผู้มักน้อยสันโดษ
๓. เห้งเจียซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง มีความทะลึ่งตึงตัง ไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ ไม่รู้จักเจียมตัว จริงอยู่ที่เห้งเจียเป็นลิง แต่ลิงพันธุ์ที่ไม่ทะลึ่งไม่ซุกซนก็มี อย่างน้อยเห้งเจียต้อง ได้รับการอบรมบ่มนิสัยจากพระถังซำจั๋งบ้าง เพราะเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด คงเป็นเจตนาของผู้แต่งให้เรื่องมีความสนุกสนาน แต่จะเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับผู้อ่าน
อีกอย่างหนึ่ง เห้งเจียมีฤทธิ์มาก สามารถเหาะเหิรเดินอากาศ ไปเที่ยวรุกรานเทวดาบนสวรรค์ มีฤทธิ์มากเช่นนี้ได้อย่างไร??
๔. มีตัวละครมากมาย แต่ละคนส่งบท รับบทต่อๆกัน ทำให้เรื่องราวสลับซับซ้อนและยืดเรื่องให้ยาว ผู้แต่งหวังความสนุกแบบโลกๆมากเกินไป
๕. เมื่อพระถังซำจั๋งและคณะนำพระไตรปิฎกมาจากอินเดียแล้ว ทำตกทะเลเปียกน้ำหมด ต้องนำขึ้นมาผึ่งตากแดด เมื่อแห้งแล้วกระดาษบางส่วนติดกันบ้าง ติดกับพื้นหินที่วางตากบ้าง ต้องลอกออกแคะออกทำให้เกิดการฉีกขาด ตัวหนังสือเลอะเลือนเสียหาย จึงเกิดเป็นสำนวนว่า “พระไตรปิฎกผ่านเหตุการณ์มามากมายย่อมขาดตกบกพร่อง พระธรรมวินัยย่อมขาดตกบกพร่อง ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ที่สุด”
ตามความเป็นจริง รัตนะทั้งสามประกอบด้วย พุทธรัตนะ ธรรมะรัตนะ และสังฆรัตนะ พระไตรปิฎกก็คือ ธรรมะรัตนะ เป็นสิ่งวิเศษ เป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ มีเทวดารักษาไม่ให้เสื่อมเสีย ผู้แต่งเรื่องนี้ไม่เข้าใจ ผู้แต่งๆให้เห้งเจียบ้าง เทวดาบ้าง ช่วยสิ่งอื่นๆให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้ แต่กลับไม่ยอมช่วยพระไตรปิฎกซึ่งอุตส่าห์เดินทางไปอัญเชิญด้วยความยากลำบากให้พ้นภัย และเมื่อผู้อ่านเชื่อคล้อยตามเนื้อเรื่อง ย่อมเกิดความกังขาในพระไตรปิฎก เกิดความกังขาในพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวโลกเข้าใจพระพุทธศาสนาผิดไป ย่อมเป็นบาปแก่ผู้แต่งและผู้อ่านที่เชื่อตาม
(เป็นความเห็นส่วนตัว ของเจ้าของบทความนะครับ)
http://bestbed.blogspot.com/2005/11/blog-post.html
ขอบคุณเจ้าของภาพ บทความ และผู้เข้ามาอ่าน
20.2.2017
ฐิตา:
Suraphol Kruasuwan
Owner
การสนทนา 28w
https://www.youtube.com/watch?v=0mrk0IbFzJ0
(จะหาที่พากย์ไทย มาฝากคราหน้านะครับ)
พระเสวียนจั๋ง หรือพระถังซัมจั๋ง ได้เริ่มออกเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 1170 ไซอิ๋ว เป็นนิยายคลาสสิกของจีน แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590
ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน
นั่นคือนิยายเรื่องนี้เขียนหลังพระถังซัมจั๋งถึงพันปี
คำว่า ไซอิ๋ว แปลว่า Journey to the West
แปลตรงตัวว่า บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก https://www.facebook.com/FakGhost/posts/785578588141773
**********************************
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
มุมกาแฟ 1/4/17
ขึ้นเดือนสี่ เมษาฮาวายแล้วนะครับ
"ตัวจริงตัวปลอม"
ในนิทานไซอิ๋ว มีการแปลงร่าง ปลอมตัวกันหลายตอน
ตอนที่สำคัญมีสองตอน
1.สิงห์โต พาหนะ พระโพธิสัตว์แห่งมหาปัญญา
ปลอมเป็นพระราชา
สิงห์โต ................หมายถึงความคิด
พระราชา .............หมายถึงผู้ปกครองชีวิต
ความคิด ทำให้เราหลงว่า"เราเป็นผู้มีฤทธิ์ เป็นเจ้าของทุกสิ่ง"
แท้ที่จริง"โลกสมมุติว่าเป็น เราของเรา" หรือสมมุติสัจจะ
ความคิด เป็นที่พึ่งของปัญญา
ถ้าปัญญา ไม่ดูแลความคิด ความคิดก็ทำให้ชีวิตพังได้
และ ต้องใช้"โพธิปัญญา" หรือหงอคง ปราบ
และมีสติในศีล(ตือบ่วยก่าย) เป็นผู้ช่วย
คนที่ไม่มี สติ ไม่เคารพศีล
ไม่เชื่อในโพธิปัญญา มีจิตเป็นวัตถุนิยม
ก็ตกเป็นทาส ความคิด ตูแน่ เป็นหนึ่งเดียวคนนี้
หลงว่าตนวิเศษกว่าผู้อื่น
จองหองพองขน จนคุกมาเยือน
หรือ สวมหัวโขน ถอดไม่ออก
จนตายคาเขียงนั่นแหละ
ชมภาคการ์ตูน สนุกดี
...................................................
http://topicstock.pantip.com/…/…/08/K10970431/K10970431.html
...................................................
2.ปัญญาของนักปราชญ์ กับโพธิปัญญา
ปัญญาของนักปราชญ์ คือ ผู้มีอธิจิต (จิตปรุงแต่ง)สูงสุด
เพราะแตกฉานสี่
-แตกฉาน ในวิชาการของชาวโลก
-แตกฉาน เรื่องธรรมะ ในคัมภีร์
-แตกฉาน ในภาษา
-มีปฏิภาณไหวพริบ เป็นเลิศ
และนักปราชญ์ มักจะหลงว่า"ตนเป็นพุทธะ ที่แท้จริง"
สอนๆๆๆ แต่เมื่อถูกกระทบจาก
วัตถุกาม ภายนอก กิเลสกามภายใน
ยังหวั่นไหว โดนชีวิตมีเขาอ่อนงอกจากหน้าอก
ขวิด ตกธรรมมาสมาเยอะ
ในนิทานอินเดีย ก็มีฤาษี มีฤทธิ์ มาก
เหาะมาเทศน์ โปรด พระราชา เดือนละครั้ง
วันหนึ่ง มีนางสนมคิดลองของ
เปลือยกายเล่นน้ำ ในอุทยาน
ทางที่ฤาษีต้องเหาะผ่าน แปลกใจที่เห็นชีวิต
มีเขาอ่อนงอกที่หน้าอก จึงลงไปคุย สัมผัส
และก็ถูเคมีชีวิต ชงฮอร์โมนว้าวุ่น
จนจบหลักสูตร กามกิจ ฤทธิหาย
ขากลับต้องเดินกลับอาศรม
สามเดือนจึงจะถึง 55555+
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ในไซอิ๋ว มีลิงหกหู มีฤทธิ์มาก ถือโอกาส พระถังผิดใจ
ไล่หงอคงกลับ หงอคงจึงไปอยู่กับพระโพธิสัตว์กวนอิม
ที่สำนักไผ่หยกเขียว ลิงหกหู จึงปลอมเป็นหงอคง
ไล่ตีคณะกระเจิง และ ปลอมคณะพระถังทั้งคณะไปไซที
ตือบ่วยก่าย จึงเหาะไปฟ้อง พระโพธิสัตว์กวนอิม
มาเจอ หงอคง จึงชี้หน้าด่า พระโพธิสัตว์กวนอิม บอกว่า
หงอคง อยู่ที่นี่ตลอด จึงมีการ ตามล่าตัวปลอม
สู้กันไม่แพ้ชนะ จนต้องให้พระยูไลพุทธะ ตัดสิน
โดยให้ สิงห์โต พระโพธิสัตว์ ฟังเสียงฝีเท้า
จึงแยกตัวปลอม พระยูไล จึงเอาบาตรครอบ หมดฤทธิ์
หงอคง ลุแก่โทสะ เอากระบอง ปลอดทองสมใจนึก ทุบจนตาย
ดังนั้น ใครปฏิญาณเป็นสมณะ
มัวแต่ เรียน สอน เทศน์
และ ใช้ชีวิตไม่สันโดษ สมถะ บริโภค เกินบาตร
มักจะกลายเป็น ลิงหกหู เด้อ...นะจ๊ะ
หนึ่งใน กฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าค้นพบคือ
สิ่งที่มีการเกิด ย่อมเจริญ เสื่อมดับ
ไม่เที่ยง ไม่ทนไม่แท้ เพราะเป็น
อตัมยตา"มันเป็นของปลอมโว้ย"
เป็นเพียง มายา ลีลา อนัตตา ของ สรรพสิ่ง เช่นนั้นเอง
สาธุ
.....................................................
ภาพ เจ้ายินดี มีสองตัว
นกจับแมลงคอแดง / Red-throated Flycatcher (Ficedula albicilla)
ไม่รู้ใครตัวจริงตัวปลอม 55555+
(31/3/17)
https://www.youtube.com/watch?v=jcOpFsSt604
Suraphol Kruasuwan Owner
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
https://plus.google.com/communities/102080888916677168217
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
5 Sep 2015
"สนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอย่างยิ่ง
https://www.youtube.com/watch?v=jcOpFsSt604
ระวังจิต"อธิจิต"..จิตปรุงแต่งที่มีฤทธิ์ต้ม......"โพธิจิต"นะ
หลายคน ฝึกสมาธิ พบ มหัศจรรย์ต่างๆ ของจิต
นึกว่านี่คือการบรรลุธรรม จริงๆ จิตปรุงแต่งกำลังต้มชีวาในชีวิตตนเอง
หากเชื่อมากๆ...จะกลายเป็น"ยึดถือตนเองเป็นสิ่งวิเศษ"(สักกายทิฐิ)
หลุด กระแส วิมุติไปเลย
...........................
//-จิตสูงสุด ในชีวิตมีสองจิต
1.จิตแท้จิตเดิม หรือโพธิจิต
2.จิตปรุงแต่ง คือ อภิจิต
//-การปฏิบัติธรรม เพื่อหวังผล เลิกเป็นทาสเพลิงอารมณ์ทุกข์เพลิงกิเลส ด้วยการ ล้างขยะปรุงแต่งจิต(ทำอาสวะให้สิ้น)
เป็นการปลุก "โพธิจิต"ให้ตื่น มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง
ถ้าสำเร็จ ก็จะเป็น "พระอริยะ พุทธะ"
//-การปฏิบัติธรรม เพื่อ มี สิทธิ์อำนาจ เหนือมนุษย์ ให้ตนวิเศษกว่าธรรมชาติอื่น
เป็นการ สร้าง"ภวตัณหา ที่ทรงฤทธิ์"
ถ้าสำเร็จ ก็จะเป็น"นักปราชญ์" "นักสิทธิ์" หรือนักมายากล ผู้ขมังเวทย์
..............................................
//-โพธิจิต (จิตที่เป็นชีวาแห่งชีวิต)มีมาก่อนฟ้าดิน ไม่มีวันตาย
มีแต่หลับ กับตื่น
โพธิจิต หลับไหล อยู่ใน"กายกว้างศอก ยาววา มีสัญญาใจครอง"
อภิจิตสังขาร คือจิตปรุงแต่ง ทำให้เรามีความรู้สึกว่า"เรามีอยู่"
เป็น"ผู้สำเร็จราชการ บริหารชีวิตเรา ตั้งแต่จุติในโลกนี้"
อำนาจสุงสุดของ จิตสังขารคือ"อภิจิต"
ที่มีทั้งเหตุผล จินตนาการ บริหารจัดการ ทักษะ ของชีวิต
จากการ
-เรียนรู้โลก
-เรียนรู้ธรรมะ
-แตกฉานในภาษา
-มีปฏิภาณไหวพริบ
//-ผู้ที่ รู้เท่าทันอภิสังขารจิต..............................คือพระพุทธเจ้า
ผู้ที่ปลุก โพธิจิตตื่น..............................................คือพระพุทธเจ้า
ผู้ที่เบิกบาน เมื่อ"โพธิจิต ชนะ อภิสังขารจิต.........คือพระพุทธเจ้า
ผู้ที่บอกทาง สู้ ชนะมายาอภิสังขารจิต..................คือพระพุทธเจ้า
ผู้ที่ต้องเดินทางภายใน สู่จิตเราเอง เพื่อ"ปลดปล่อยโพธิจิต.........คือ"เรา"
//-วันหนึ่ง เราต้องปลุก "โพธิจิต"ของเราให้ตื่นๆๆๆๆๆ
-แล้วสองจิต ก็ต้องรบกัน อิๆ
-แล้วสองจิต ก็เป็นมิตรต่อกัน
วันนั้นคือ"มหาสันติสุข สันติธรรม"ชีวามีชีวิต อิๆ
//-เสียงมนต์ขึ้นแล้ว...................น้ำตาซึม
เมฆหมอกบังจิตครึ้ม....................สลายหาย
มหากรุณา ส่งแสงสู่โลก...............วิโยคคลาย
พร ทิพย์ เวทย์ ธรรม ทั้งหลาย.........สาธุกาล ฯ
//-ชีวิต มาแล้ว.............................จากไป
บุญบารมี กุศลไซร์........................ตามติดนั่น
มีชีวาในชีวิต คือกำไร.....................แท้จริงกัน
แบกหนัก วางเบานั้น.......................ธรรมดาโลกเอยฯ
............................................................
ในไซอิ๋ว ได้เล่าถึง สองลิง หงอคง(โพธิจิต) กับลิงหกหู(อภิจิต) สู้กัน
กิเลส(ภวตัณหา)กับโพธิปัญญา
พระถังซัมจั๋งและศิษย์รอนแรมกันมาระหว่างทาง
ถูกนายโจร ๒ คนคุมพรรคพวกเข้าปล้น
เห้งเจียก็ชักตะบองออกตีจนตาย
พระถังก็โกรธเห้งเจียว่าโหดร้ายไร้ศีลธรรม
เห้งเจียก็เถียงว่าขืนไม่ฆ่ามัน มันจะฆ่าอาจารย์
อาจารย์และศิษย์ให้นึกเคืองซึ่งกันและกัน
ครั้นตกกลางคืน พระถังและศิษย์ขอเข้าพักค้างที่บ้านบิดาของสมุนโจรที่เห้งเจียตีตาย
บุตรชายเจ้าของบ้านสมุนโจรคิดแค้น จึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าจับตัวเห้งเจีย
จะฆ่าแก้แค้นให้นายเห้งเจียจึงตีจนตาย แล้วยังตัดคอให้พระถังได้ชม
พระถังโกรธสุดขีด จึงร่ายคาถาบีบขมับเห้งเจีย
มงคลที่สวมหัวก็บีบจนเห้งเจียล้มกลิ้งไปมา
พระถังเดือดดาลใส่เห้งเจียไม่ให้ร่วมทางไปไซที
เห้งเจียน้อยใจ จึงร้องท้าทายกับพระถังว่าจะไม่ร่วมทางอีก
ครั้นจะกลับไปถ้ำจุ๊ยเลี่ยมต๋องก็นึกละอายสมุนลิง
จึงเหาะลิ่วไปสำนักน่ำไฮ้ของกวนอิมโพธิสัตว์
กวนอิมขอให้เห้งเจียอยู่ที่นั่น เพราะเล็งญาณรู้ว่า
การไปไซทีนั้นปราศจากเห้งเจียนำทางแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ถ้าพระถังให้โป้ยก่ายนำทางจะเข้าที่คับขัน
และจะต้องมาตามเห้งเจียที่นี่อยู่ดี
ฝ่ายพระถังเมื่อไล่เห้งเจียไปแล้ว
ก็ให้โป้ยก่ายจูงม้านำทางพอตะวันใกล้เที่ยงพระถังก็ให้โป้ยก่ายเหาะไปบิณฑบาต
โป้ยก่ายก็เหาะหายไปนานจนพระถังหิวทุรนทุราย
ซัวเจ๋งจึงรับอาสาไปหาน้ำมาให้พระถังรองท้อง
พระถังจึงอยู่กับม้าขาวและหาบห่อจีวรตามลำพัง
ทันใดนั้น เห้งเจียก็ผลุนผลันเข้ามาเอาหม้อน้ำถวาย
ฝ่ายพระถังยังไม่หายโกรธก็ร้องด่าและขับไล่เห้งเจียก็โกรธจึงฉวยตะบองมาทุบตีพระถังจนล้มคว่ำสลบแน่นิ่ง
เห้งเจียก็รวบหอบเอาข้าวของห่อจีวรหนีไปยังถ้ำจุ๊ยเลี่ยมต๋อง ภูเขาฮ้วยก๊วยซัว
ฝ่ายโป้ยก่ายกับซัวเจ๋งไปพบกันกลางทางก็รีบกลับมาหาพระถัง
เห็นนอนนิ่งอยู่ก็เข้านวดเฟ้นแก้ไขจนฟื้นขึ้นมา
เมื่อพระถังเล่าเหตุการณ์ให้ฟังทั้งสองก็โกรธแค้นเห้งเจียนักที่ทรยศเนรคุณต่ออาจารย์ของตัว
พระถังซัมจั๋งไม่มีจีวรจะครองก็เศร้าใจ
ขอร้องให้ซัวเจ๋งไปตามคืนมาให้ได้
ซัวเจ๋งก็คว้าตะบองเหาะลิ่วไปถ้ำจุ๊ยเลี่ยมต๋อง
พบเห้งเจียกำลังจัดขบวนไปไซทีใหม่
โดยเนรมิตพระถังซัมจั๋ง โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง และม้าขาวขึ้นด้วยฤทธิ์
ซัวเจ๋งก็โกรธสุดขีด คว้าตะบองเข้าไล่ทุบตีซัวเจ๋งตัวปลอมจนตาย
ฝ่ายเห้งเจียก็เรียกให้ลูกสมุนเข้าจับตัวซัวเจ๋ง
ซัวเจ๋งเห็นเหลือกำลังก็ล่าถอย
เหาะไปยังน่ำไฮ้เพื่อจะไปฟ้องพระกวนอิม
เรื่องการทรยศเนรคุณของเห้งเจียและคิดกำเริบจะไปอาราธนาพระไตรปิฎกด้วยตัวเอง
ครั้นถึงเขาน่ำไฮ้ ซัวเจ๋งก็พบเห้งเจียยืนอย่ข้างกวนอิมก็โกรธฉวยตะบองได้ก็ไล่ทุบ
จนกวนอิมต้องร้องห้าม เมื่อซัวเจ๋งทราบความว่าเห้งเจียอยู่ที่เขาน่ำไฮ้กับกวนอิมตลอดมิได้ไปไหนเลย
ก็ประหลาดใจ เล่าความที่ตนเองไปพบเห้งเจียที่ถ้ำจุ๊ยเลี่ยมต๋องให้ทราบ
เห้งเจียก็โกรธที่มีผู้บังอาจปลอมแปลงเป็นตนไปทำร้ายพระถัง
จึงชวนซัวเจ๋งเหาะลิ่วไปสู่เขาฮ้วยก๊วยซัว
พอเห็นเห้งเจียอีกตนหนึ่งแล้ว เห้งเจียก็โกรธ
ชักตะบองออกจากรูหู กระโดดเข้าทุบตี ต่างสู้รบกันนัวเนีย
จนซัวเจ๋งไม่รู้จะช่วยฝ่ายไหน เห้งเจียจึงรบล่อไปจนถึงพระพักตร์พระกวนอิม
เพื่อให้ภาวนาคาถาให้มงคลบีบขมับ
ครั้นเมื่อกวนอิมภาวนาคาถาแล้วเห้งเจียทั้งสองต่างล้มกลิ้งไปมาด้วยกันทั้งค่
ร้องเรียกชื่อก็ขานรับเหมือนกัน จนแยกไม่ออกว่าตัวไหนจริงตัวไหนปลอม
เมื่อไม่สำเร็จเห้งเจียก็รบล่อลงไปถึงนรก
ให้ยมบาลเปิดบัญชีดูว่าใครบังอาจปลอมแปลงมา ก็ไม่สำร็จ
ฝ่ายพระโพธิสัตว์เตจ๋องอ๋อง(ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในพื้นดิน)
ได้ใช้ให้สิงห์ที่นอนหมอบอยู่แทบเท้า(ชื่อทีเทีย)
นั้นนอนกกลงกับดินแล้วก็ได้รู้ความลับเรื่องเห้งเจียทั้งสองสิ้น
เมื่อทีเทียทำตามคำสั่งแล้วก็กราบทูลพระโพธิสัตว์ว่า
แม้เห้งเจียปลอมนี้ก็จริงเหมือนกัน แต่ไม่ควรพูดออกมาในบัดนี้
เพราะจะเกิดจลาจลโกลาหล แล้วจะไม่มีความสุขเลย
เพราะฤทธิ์ของเห้งเจียทั้งสองเสมอกัน ไม่มีใครแยกได้
เว้นแต่พระยูไล พระโพธิสัตว์เตจ๋องอ๋องจึงแจ้งความลับนี้ให้แก่เห้งเจียทั้งสองทราบ
ฝ่ายเห้งเจียตัวจริงเมื่อได้ยินดังนั้นก็รบล่อไปไซที
เสียงก้องอึกทึกทั้งฟ้าดิน พระยูไลจึงตรัสเรียกให้สาวกมาดูว่า
"เธอจงสำรวมจิตให้เป็นหนึ่ง คอยดูสองจิตรบกันให้ดี "
แล้วทรงเล่าให้สาวกฟังถึงกำเนิดของลิง ๔ ประเภท เรียกว่า มูลวานร ๔ คือ
๑. เจื๊อเก๊า มีฤทธิ์แปลงกายได้ทุกอย่าง รู้ฟ้า - ดิน
๒. เบ๊เก๊า รู้ฟ้าดินด้วย รู้เรื่องมนุษย์ และเป็นอมตะ
๓. อวนเก๊า มีฤทธิ์อาจลูบพระอาทิตย์พระจันทร์ได้
๔. มิเก๊า (หกหู) รู้แจ้งสิ่งทั้งปวง มีหูที่ฟังเสียงได้ไกลนับพันโยชน์
พระยูไลตรัสมูลวานร ๔ แล้วก็เอาบาตรขว้างไปครอบลิงลักฮี้เกาที่เหมือนกับเห้งเจียทุกประการไว้ได้
เห้งเจียกำลังโกรธ มิฟังเสียงห้ามของพระยูไล
ก็เอาตะบองกระทุ้งลงในบาตร จนลิงหกหูถึงแก่ความตาย
แล้วทูลลา เหาะมุ่งกลับไปหาพระถัง
ฝ่ายโป้ยก่ายเหาะไปที่ถ้ำจุ๊ยเลี่ยมต๋อง
เอาคราดเก้าซี่สับพระถังปลอม โป้ยก่ายปลอมตายสิ้น
แล้วหอบห่อจีวรของพระถังเหาะกลับมาสมทบกัน
เห้งเจียกับพระถังคืนดีกันแล้วก็ออกเดินทางรอนแรมมุ่งทิศปราจีนต่อไป.............
อ้างอิง
..........................
//-อยากเป็นนักปราชญ์ นักสิทธิ์ มีสี่ประการ
1.เรียนรู้ ศาสตร์ศิลป์....รอบรู้เรื่อง"โลก"
2.เรียนรู้ ธรรม กฎ วัฒนธรรม...รอบรู้เรื่อง"ธรรมชาติ"
3.เรียนรู้ ภาษา ทั้งภาษาคน ภาษาสัญญาลักษ์ ภาษาท่าทาง ภาษาศิลป์
4.เรียนรู้ ฝึกฝน มีปฏิภาณ ไหวพริบ
.........................
//-จะเป็นพุทธะ ต้องฝึกเปิดตาปัญญา (วิสัยทัศน์)ทั้งห้าปัญญา
-ตาปัญญาพุทธะ....ที่พิจรณา ด้วย สติปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ อหังการ
-ตาธรรมะ.........เข้าใจธรรมชาติ ทั้ง สมมุติ ธรรม ปรมัตถะ อริยะ
-ตาสมันตะ........ความรุ้รอบตัว ศาสตร์ศิลป์ อัพเดทเสมอ
-ตาญาณ ฌาน.....ความรู้เช่นทศพลญาณ และ สหัชญาณ ที่เป็นผลของสมาธิฌาน
-ตาทิพย์.........ความสามารถเข้าใจสิ่งที่ละเอียยด ลึกซึ้ง
........................
นักปราชญ์ จึงไม่ใช่ พุทธะเสมอไป มีอภิจิต ที่ยิ่งใหญ่
เพราะ นักปราช์ ทำ"อาสวะให้สิ้น"ไม่เป็นอิๆ
จึงตกเป็นทาส ขยะปรุงแต่งจิต ที่จิตสำนึกตน ที่ปรุงและเสพจาก
-ตรรกะ..เหตุผลที่ตนเอง เชื่อ ชอบ
-จินตนาการ...ที่ปรุงแต่งแบบ ใส่ไข่ใสนม เว่อร์เกิดเหตุ
-มโนธรรม....ยึดเอามโนสำนึกตน เป็นใหญ่
-ทักษะ......เทคโน เทคนิค แทคติก ทักษะ..ที่ตนใช้แล้วได้ผล
ในการส่งเสรีม แรงขับชีวิตตนเอง
-อยากชนะ
-อยากยิ่งใหญ่
-อยากเป็นอมตะ
-อยากเป็น ที่หนึ่งในสังคม อิๆ
..........................................................
//-ดังนั้นการปฏิบัติ ธรรมต้องมีปัสสัทธิ หยุดตั้งหลัก ทบทวนว่า
เรากำลังปลุกโพธิจิตให้ตื่น หรือกำลังสร้าง จิตปรุงแต่งเป็น"อภิจิต" สุดยอดของภวะตัณหา
ไม่งั้น เราก็เหมือน คนบ้า ยิงลูกศรขึ้นฟ้า
แทนที่จะถอนศรในจิต เจ็ดประการคือ
ศร ราคะ โทสะ โมหะ ทิฎฐิ มานะ โศก อภิสังขาร(การปรุงแต่งอย่างฟุ้งซ่านเพราะอวิชชาพาไป)
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version