ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2010, 10:10:26 pm »




กสิณคือการจดจำภาพวัตถุใดๆ   ที่เราเลือกมาเป็นต้นแบบให้ได้ทั้งหมด   แต่การที่จะสามารถจดจำภาพนิมิตได้อย่างละเอียดนั้น   จำต้องอาศัยความพยายามในการเพ่งเป็นอย่างมาก   กว่าที่จะสร้างให้เกิดเป็นภาพนิมิตติดตาติดใจ ชนิดที่ว่าหลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น   ซึ่งหมายถึงการสำเร็จนิมิตกสิณ   

ในการที่จิตจะจดจำภาพนิมิตอันเป็นรูปแบบหยาบให้ได้   ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องใช้การเพ่งมองวัตถุด้วยตาเท่านั้น   ทั้งนี้เนื่องจากภาพนิมิตไม่อาจกำหนดสร้างให้บังเกิดขึ้นได้ด้วยการจินตนาการหรือการนึกคิดเอา   

หลายคนที่ฝึกการเพ่งกสิณแล้วไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างภาพนิมิตล้วนมีสาเหตุมาจากการให้เวลากับการเพ่งมองวัตถุต้นแบบน้อยเกินไป   ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติเพ่งมองวัตถุต้นแบบในเวลาไม่นานพอที่จิตจะรับเอากรรมฐานกองนี้ไปทำเอง   จิตก็ย่อมไม่อาจที่จะจดจำภาพนิมิตกสิณได้

นอกจากนี้   วัตถุต้นแบบที่จะเลือกนำมาใช้เพ่งก็นับเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญต่อการเพ่งกสิณ   ด้วยเพราะวัตถุแต่ละชนิดล้วนมีความแตกต่างกันไป   ดังนั้นขีดความสามารถในการที่จิตจะจดจำภาพเอาไว้และแปรสัญญาณภาพให้กลายไปเป็นภาพนิมิต   ที่ปรากฏขึ้นภายในจอจิตก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น   ผู้ปฏิบัติบางคนอาจสามารถเรียกนิมิตในการเพ่งดินได้ดีกว่าการเพ่งน้ำหรือการเพ่งอากาศ   เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าการที่ผู้ปฏิบัติตัดสินใจเลือกที่จะเพ่งกสิณน้ำกับการเลือกเพ่งกสิณไฟจึงมีความหมายที่แตกต่างกันในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก   ทั้งนี้   เพราะผู้ที่มีจริตภายในจิตใจที่แตกต่างกันย่อมต้องใช้อุบายการเพ่งกสิณที่แตกต่างกัน   ซึ่งหากผู้ปฏิบัติตัดสินใจเลือกการเพ่งผิด   นอกจากจะส่งผลให้การเพ่งกสิณไม่ประสบความสำเร็จแล้ว   อาจยังจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวผู้ฝึกเพ่งกสิณเองอีกด้วย

ดังนั้น   การที่ผู้ปฏิบัติจะฝึกเพ่งได้ประสบผลสำเร็จหรือไม่   จึงต้องขึ้นอยู่กับจริตของผู้ฝึกเพ่งกสิณด้วย   ซึ่งก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะตัดสินใจว่าจะเลือกเพ่งกสิณชนิดใด   ทางที่ดีควรอาศัยการพิจารณาของครูบาอาจารย์ว่าท่านจะมอบกสิณชนิดใดให้เรานำมาปฏิบัติ

เพราะครูบาอาจารย์ท่านเป็นผู้รู้และมีประสบการณ์ในการเพ่งกสิณมานาน   ท่านย่อมสามารถมองเห็นและพิจารณาได้เป็นอย่างดี   เพื่อที่ผู้ฝึกเพ่งกสิณจะได้ก้าวหน้าในการปฏิบัติสมาธิภาวนาอบรมจิตด้วยอุบายการเพ่งกสิณ   

แต่ทว่าในกรณีของผู้ปฏิบัติมีความชื่นชอบในการเพ่งกสิณไฟ   ที่ต้องการทดสอบพลังจิตของตนว่ามีการพัฒนาหรือไม่อย่างไร   ก็สามารถกระทำได้ด้วยการเรียกนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏทั้งในยามที่หลับตาทำสมาธิ   และการลืมตาทำสมาธิ   ซึ่งผู้ที่สำเร็จวิชากสิณไฟและสามารถเรียกภาพนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏได้นั้น

ย่อมจะสามารถเห็นภาพนิมิตกสิณไฟได้ทั้งในขณะที่ลืมตาทำสมาธิและหลับตาทำสมาธิ   

การฝึกเรียกนิมิตกสิณในขณะลืมตา   สามารถทำได้โดยให้ฝึกเพ่งมองไปยังผนังที่มีสีขาวแล้วกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ   จากนั้นจึงกำหนดเรียกภาพกสิณนิมิตไฟให้ปรากฏขึ้นที่ผนัง   ซึ่งจะปรากฏเป็นภาพดวงนิมิตกสิณวงกลมสีเหลืองอ่อนคล้ายพระจันทร์   แต่หากสมาธิมีพลังสูงขึ้นภาพนิมิตกสิณนั้นจะมีขนาดเล็กลงและมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ

กรณีที่ผู้ปฏิบัติมีพลังจิตสูง   ภาพกสิณนิมิตที่ปรากฏจะมีสีเข้มมาก จากสีเหลืองจะเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีแดงเข้ม   และเป็นสีน้ำเงินเข้มในที่สุด   

เมื่อดวงกสิณนิมิตมีสีน้ำเงินเข้มและมีขนาดเล็กลงมากที่สุดจะเกิดความร้อนในบริเวณที่เราเพ่งกำหนดมองไป   ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้สามารถปรากฏได้ทั้งในมิติแห่งโลกธาตุที่เราอาศัยอยู่   และในมิติแห่งโลกวิญญาณ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพลังอำนาจของความร้อนที่ได้รับนี้ว่า   "พลังแห่งกสิณไฟ"

หลังจากที่ผู้ปฏิบัติทำการฝึกเพ่งเรียกนิมิตกสิณให้ปรากฏบนผนังที่มีสีอ่อนหรือสีขาวได้จนเป็นที่ชำนิชำนาญดีแล้ว   ก็ไม่จำเป็นต้องเรียกภาพนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏเฉพาะบนพื้นผนังสีขาวอีกต่อไป   คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ   ก็ย่อมจะสามารถเรียกภาพนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏเป็นภาพซ้อนตัวขึ้นมาได้   อีกทั้งยังสามารถใช้พลังอำนาจจิตบีบดวงนิมิตกสิณนั้นให้มีขนาดเล็กลงได้ตามใจปรารถนาอีกด้วย.


อ.บูรพา   ผดุงไทยการฝึกเพ่งเรียกนิมิตกสิณ | ไทยโพสต์

ที่มาคัดลอกจาก
http://board.palungjit.com/f4/การฝึกเพ่งเรียกนิมิตกสิณ-242785.html