ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:17:16 am »

ทีนี้ยังมีธรรมชาติของจิต หรือสารัตถะด้านในสุดของจิต ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความตายมิอาจมากระทบได้ ปัจจุบันมันแอบแฝงอยู่ในจิตของเราหรือเซม ถูกหุ้มห่อหรือบดบังไว้ด้วยความว้าวุ่นของความคิดและอารมณ์ของเรา เมฆสามารถถูกแรงลมพัดเพื่อให้อาทิตย์ฉายฉานและเปิดฟ้ากว้างฉันใด ภายใต้สถานการณ์พิเศษ แรงบันดาลใจบางประการอาจเปิดเผยให้เราแลเห็นประพิมประพายแห่งธรรมชาติของจิต ประพิมประพายดังกล่าวมีความลึกซึ้งและชัดเจนต่างๆกัน กระนั้นแต่ละระดับจะนำแสงแห่งความเข้าใจ ความหมายและอิสระภาพมาให้เรา นี้เป็นเพราะธรรมชาติของจิตคือรากเหง้าของความเข้าใจ ในธิเบตเราเรียกว่า ริกปะ หรือความตระหนักรู้ดั้งเดิมที่บริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยปัญญา ญาณ รับผัสสะและเปล่งประกายไปพร้อมกัน อีกทั้งตื่นตัวเสมอ อาจเรียกได้ว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับความรู้

ไม่พึงคิดไปว่าธรรมชาติของจิตนั้นมีอยู่ในเฉพาะจิตใจของเราเท่านั้น แท้ที่จริงมันคือธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มากเกินไปเลยที่จะกล่าวว่าการประจักษ์แจ้งซึ่งธรรมชาติของจิตก็คือการประจักษ์แจ้งซึ่งธรรมชาติของสรรพสิ่ง

พระอริยเจ้าและผู็หยั่งรู้ธรรมอันล้ำลึกในประวัติศาสตร์ กล่าวถึงการประจักษ์แจ้งของท่านด้วยสมัญญาต่างๆกัน แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นประสบโดยพื้นฐาน ก็คือธรรมชาติอันเป็นสารัตถะแห่งจิต ชาวคริสตร์และชาวยิว เรียกว่าพระเจ้า ขาวฮินดูเรียกว่า อาตมัน ศิวะ พรหม และวิษณุ นักรหัสยนัยชาวซูฟี เรียกว่า "สารัตถะที่แฝงเร้น" ส่วนชาวพุทธ เรียกว่า พุทธภาวะ สิ่งที่เป็นหัวใจของศาสนาทั้งหลายก็คือความแน่ใจว่ามีสัจธรรมขั้นพื้นฐานอยู่ และชีวิตนี้เป็นโอกาสอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะวิวัฒน์และพัฒนา และประจักษ์แจ้งซึ่งสัจธรรมดังกล่าว

เมื่อเราพูดถึงพุทธะ เรามักคิดถึงเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ตรัสรู้เมื่อ543ปีก่อนคริสตกาล และเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนาที่คนหลายล้านในเอเชียนับถือ อย่างไรก็ตาม พุทธะ เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งเกินกว่านั้น คำนี้หมายถึงใครก็ได้ที่ตื่นจากอวิชชาอย่างสิ้นเชิง และเปิดใจรับรู้ถึงศักยภาพอันมหาศาลของตน พุทธะคือผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ และบรรลุถึงสันติสุขที่ยั่งยืนและเป็๋นอมตะ


ขอบคุณ เฒ่าหยำเป มากเด้ออออ  :yoyo106:

http://larndham.org/index.php?/topic/13442-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%9E/
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:16:20 am »

" พึงทำงานด้วยศรัทธาอันยิ่งใหญ่
ทำงานด้วยพลังที่เปี่ยมด้วยความตั้งมั่นที่จะปรับปรุง
ถ้าข้าฯ ทำงานแห่งความประเสริฐ เป็นผลประโยชน์ และเพื่อพ้นความทุกข์ยาก
ย่อมเป็นการสร้างบารมีอันยิ่งใหญ่ "

" เมื่อเข้าใจดีแล้ว
ข้าฯ ควรเพียรพยายามเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
พระผู้ทรงเมตตาและทรงเห็นการณ์ไกล ทรงประทานอนุญาติ
กระทำในสิ่งต้องห้าม "


....................ศานติเทวะ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:15:41 am »

ท่านดูจมรินโปเช เมื่อประกาศการประจักษ์แจ้งอันเลื่องลือของท่าน ได้เขียนว่า

" เนื่องจากความตระหนักรู้ในปัจจุบัน คือพระพุทธองค์ที่แท้
ในความเปิดกว้างและพึงพอใจ ข้าฯ พบลามะในหัวใจ
เมื่อเราตระหนักว่าจิตธรรมชาติที่ไร้จุดจบนี้คือ ลามะ
เมื่อนั้นก็ไม่มีความจำเป็นต้องติดยึด จับฉวย ร่ำไห้ สวดมนต์ หรือแสร้งบ่น
เพียงแต่ผ่อนคลายในสภาวะที่เปิดกว้าง ไร้การปรุงแต่งและเป็นธรรมชาติ
เราย่อมได้รับอานิสงค์คือความหลุดพ้น อย่างไร้เป้าหมายจากสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น "

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:15:10 am »

" ด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
เป็นการยากดุจเต่าที่จะสอดคอของตน
เข้ากับคานหาบที่ลอยอยู่กลางทะเลหลวงฉันใด
การเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากยิ่งฉันนั้น "


" ด้วยความชั่วเพียงขณะเดียว
ก็อาจทำให้ตกนรกขุมลึกที่สุดนานชั่วกัปป์
และด้วยความชั่วที่ข้าฯ ได้สั่งสม ในเวลายาวนานประมาณมิได้
มีประโยชน์อันใดที่จะถามว่าเหตุใดข้าฯ จึงไม่ได้ไปสู่อาณาจักรแห่งความสุข "

...................................ศานติเทวะ....................................
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:14:35 am »

" เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงอุบัติขึ้น
ความศรัทธาการเข้าถึงแห่งการมนุษย์
และตัวข้าฯ ยังพบว่าการสร้างบารมีเป็นสิ่งที่ยากเย็น
แล้วเมื่อใดจึงจะเอาชนะได้เล่า "

" เมื่อข้าฯ มีโอกาสใช้ชีวิตที่สมบูรณ์
แต่ข้าฯ ไม่ประพฤติสิ่งที่สมบูรณ์
แล้วข้าฯ จะทำอะไรได้อีกเล่า
เมื่อต้องตกอยู่ในความสับสนด้วยความทุกข์ในโลกอันต่ำทราม "



..................................ศานติเทวะ.......................................


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:13:47 am »

ท่านดิลโกเคนเซ รินโปเช อธิบายถึงโยคีที่ท่องเที่ยวอยู่ในสวน เขาจะตื่นตัวรับรู้ความสง่างามของดอกไม้อย่างเต็มที่ และชื่นชมสีสัน รูปทรงและกลิ่นของมัน แต่ไม่มีการติดยึดแม้แต่น้อยหรือ "การหวนระลึก" อยู่ในจิตใจ ท่านดูจมรินโปเช กล่าวว่า

"ไม่ว่าจะรับรู้อะไร เธอควรทำตัวคล้ายเด็กน้อยที่เข้าไปในวิหารที่ประดับประดาอย่างงดงาม เด็กน้อยมอง แต่ไม่ติดยึดสิ่งใด ดังนั้นเธอจึงจากทุกสิ่งด้วยความสดชื่น เป็นธรรมชาติและมีชีวิตชีวา และไม่มัวหมอง เมื่อเธอจากทุกสิ่งโดยปล่อยให้มันอยู่ในสภาพเดิม ทรวดทรงของมันจะไม่เปลี่ยนแปลง สีของมันจะไม่จางหาย และประกายของมันไม่หายไปไหน อะไรก็ตามที่ปรากฏอยู่ไม่ถูกแปดเปื้อนด้วยความติดยึด ดังนั้นสิ่งที่เธอรับรู้ได้บังเกิดเป็นปัญญาอันไร้สิ่งเคลือบคลุมของริกปะ ซึ่งคือความสว่างเรืองและความว่างที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ "

ความมั่นใจ ความพึงพอใจ และความสงบโล่ง พละกำลัง อารมณ์ขันอันลุ่มลึก และความแน่นอนที่เกิดขึ้นจากการประจักษ์แจ้งซึ่งญาณทัศนะแห่งริกปะ โดยตรงคือสมบัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิต เป็นบรมสุขซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่มีสิ่งใดทำลายได้ แม้แต่ความตาย ท่านดิลโกเคนเซ รินโปเชกล่าวว่า

" ทันทีที่เธอได้ญาณทัศนะ ถึงแม้มายาภาพของสังสารวัฎจะปรากฎแก่จิตใจของเธอ เธอจะเป็นเหมือนท้องฟ้า เมื่อสายรุ้งปรากฏเบื้องหน้าเธอ ก็มิได้ยินดี และเมื่อเมฆปรากฏขึ้น ก็มิได้ยินร้าย มีความรู้สึกพอใจอย่างลึกซึ้ง เธอหัวเราะอยู่ในใจขณะเห็นโฉมหน้าของสังสารวัฎและนิพพาน ญาณทัศนะจะทำให้เพลิดเพลินเสมอ ด้วยรอยยิ้มน้อยตลอดเวลา "
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:13:11 am »

การทำกิจ

เมื่อสามารถน้อมใจอยู่ในกระแสของริกปะ มันก็เริ่มแผ่ซ่านไปในชีวิตประจำวันและการทำกิจของผู้ปฎิบัติ ก่อให้เกิดความมั่นคงและมั่นใจอย่างลึกซึ้ง ท่านดูจมรินโปเชกล่าวว่า

"การทำกิจคือการสังเกตุความคิดของตนอย่างแท้จริง ไม่ว่าคิดดีหรือคิดชั่ว เพ่งพินิจธรรมชาติแท้จริงของความคิดใดๆก็ตามที่อาจเกิดขึ้น ไม่ย้อนกลับไปอดีตหรือเชื้อเชิญอนาคต ไม่ยึดติดกับความดี หรือถูกความเศร้าโศกครอบงำ เมื่อทำดังนี้ เธอก็ได้พยายามเข้าถึงและคงอยู่ในดุลยภาพอันยิ่งใหญ่ ที่ซึ่งความดีและความชั่ว ความสงบและความเครียดไร้ซึ่งตัวตนที่แท้ "

การประจักษ์แจ้งซึ่งญาณทัศนะจะเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของคุณอย่างละเอียดอ่อนแต่สิ้นเชิง นับวันข้าะเจ้ายิ่งตระหนักว่าความคิดและความปรุงแต่งนั้นคือสิ่งที่กีดขวางเรา จากการอยู่ในปรมัตถ์สัจจะอย่างสะดวกดาย ทีนี้ข้าพเจ้าเห็นชัดว่าเหตุใดครูบาอาจารย์ จึงพูดบ่อยๆว่า " อย่าพยายามสร้างความหวังและความกลัวให้มากเกินไป " เพราะมันมีแต่จะทำให้ใจพึมพำพร่ำบ่น เมื่อบังเกิดญาณทัศนะเราจะเห็นความคิดตามที่เป็นจริง นั่นคือ ไม่จีรัง โปร่งใส และเป็นเรื่องสมมติ คุณอาจเห็นทะลุทุกอย่าง ราวกับมีตาเอ็กซเรย์ คุณไม่ติดยึดกับความคิดและอารมณ์ หรือปฎิเสธผลักไสมัน แต่ยินดีต้อนรับมันให้อยู่ในวงแขนของริกปะอันไพศาล สิ่งที่คุณเคยถือเป็นจริงเป็นจัง ไม่ว่าความทะเยอทะยาน แผนการณ์ ความคาดหวัง ความสงสัยและความปราถนา จะไม่ครอบงำทำให้คุณกังวลอีกต่อไป เพราะญาณทัศนะช่วยให้คุณเห็นความไร้สาระ และไร้แก่นสารของมัน และทำให้ใจปลีกไปจากกามอย่างแท้จริง

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:12:41 am »

"เมื่อยึดมั่นในโพธิจิตเช่นนี้ พระชินบุตรย่อมไม่หวั่นไหว
พึงมีวิริยะอยู่เสมอ โดยไม่ย่อหย่อนจากการปฎิบัติ"

"เมื่อได้ตั้งปณิธานแล้ว หากข้าฯ ไม่ทำ
ย่อมเป็นการหลอกลวงมนุษย์ทุกคน
ข้าฯ จะไปถือชาติไปเกิดใหม่เป็นอะไร"

"หากข้าฯ ได้หลอกลวงสรรพสัตว์
ทั้งที่ได้เชื้อเชิญเขามาด้วยความตั้งใจ
สู่ความเกษมอันหาที่เปรียบมิได้
แล้วข้าฯ จะไปเกิดอย่างเป็นสุขได้ไฉน"

...........ศานติเทวะ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:11:25 am »

สมาธิภาวนา


ถ้าเช่นนั้นสมาธิภาวนาในโซะเชนคืออะไร? มันก็คือการน้อมจิตพักอย่างไม่แส่ส่ายในญาณทัศนะทันทีที่เราได้รับการแนะนำให้รู้จักแล้ว ท่านดูจมรินโปเช อธิบายว่า "สมาธิภาวนาคือการจดจ่ออยู่กับริกปะดังกล่าว ปราศจากซึ่งการปรุงแต่งใดๆของจิต ขณะที่ยังคงผ่อนคลายอย่างเต็มที่โดยไม่มีการฟุ้งซ่านหรือติดยึดใดๆ" มีคำกล่าวว่า "สมาธิภาวนาไม่ใช่สิ่งที่ต้องพยายามทำ หากเป็นสิ่งที่ต้องเข้าไปกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ"

ประเด็นสำคัญของสมาธิภาวนาแบบโซะเชนก็คือการทำให้ริกปะ เข้มแข็งและมั่นคง และปล่อยให้มันงอกงามอย่างเต็มที่ จิตปกติและนิสัยเดิมๆ รวมทั้งการส่งออกนอกตัวนั้นมีอานุภาพสูงมาก มันจะกลับมาอยู่เรื่อยๆ และครอบงำเราไว้อย่างง่ายดายเมื่อเราไม่จดจ่อใส่ใจหรือเกิดแส่ส่าย ท่านดูจมรินโปเช มักกล่าวว่า "ปัจจุบันริกปะของเราคล้ายกับเด็กน้อย อยู่ในสนารบที่เต็มไปด้วยความคิดต่างๆผุดขึ้นมาอย่างแรงกล้า" ข้าพเจ้าชอบพูดว่าเราต้องเริ่มด้วยการเลี้ยงดูริกปะของเราราวกับเป็นทารกน้อย โดยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมมั่นคงปลอดภัย ซึ่งก็คือสมาธิภาวนา

หากสมาธิภาวนาเป็นแค่การรักษาริกปะให้เป็นกระแสต่อเนื่อง หลังจากได้รับการแนะนำแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรมันเป็นริกปะ และเมื่อใดไม่ใช่? เมื่อข้าพเจ้าถามท่านดิลโกเคนเซรินโปเช ท่านตอบแบบง่ายๆตามแบบฉบับของท่านว่า "ถ้าเธออยู่ในสภาวะที่ไม่มีวันผันแปร นั่นแหละคือริกปะ" หากเราไม่ควบคุมหรือบงการจิตเลย เพียงแต่น้อมอยู่ในภาวะแห่งความตระหนักรู้ล้วนๆ ที่มีมาแต่เดิม โดยไม่มีอาการผันแปรเลย นั่นคือริกปะ หากยังมีการควบคุมหรือบงการจิตอยู่ นั่นไม่ใช่ริกปะ ริกปะคือภาวะที่ไม่มีความสงสัยอีกต่อไป ไม่มีจิตที่จะัสงสัยด้วยซ้ำ คุณเห็นตรงๆ หากคุณอยู่ในภาวะดังกล่าว ความแน่ใจและมั่นใจอย่างเต็มที่และเป็นธรรมชาติจะบังเกิดขึ้นพร้อมกับริกปะ และนั่นคือคำตอบว่าคุณรู้ได้อย่างไร
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:10:37 am »

เมื่อคุณบำเพ็ญสมาธิมาถึงจุดนี้ โดยมีญาณทัศนะเป็นปัจจัยเกื้อหนุน คุณสามารถอยู่ในสภาวะนั้นได้นานโดยปราศจากสิ่งรบกวนจิตใจ และไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "สมาธิภาวนา" ที่จะต้องปกป้องหรือรักษา เพราะคุณอยู่ในกระแสหรือปัญญาของริกปะ อย่างเป็นธรรมชาติ และคุณตระหนักว่า การอยู่ในสภาวะนั้นคือสิ่งที่เคยเป็นมาก่อนและจักเป็นเสมอ เมื่อปัญญาแห่งริกปะฉายฉาน เงาแห่งความลังเลสงสัยแม้เพียงเล็กน้อยก็ปลาสนาการไปสิ้น ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งสมบูรณ์บังเกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้ความพยายามและเกิดขึ้นตรง ๆ

ภาพและอุปมาอุปไมยทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้ใช้นี้ คุณจะพบว่ามันได้ผสานรวมอยู่ในประสบการณ์เดียวที่ครอบคลุมทุกสิ่ง นั่นคือการได้ประสบสัมผัสกับสัจจธรรม ความรู้สึกนอบน้อมอยู่ในภาวะนี้ กรุณาก็อยู่ในภาวะนี้ ปัญญา ปิติ ความกระจ่างชัด และการไร้ความคิดก็เช่นกัน โดยที่ไม่ได้แยกจากกัน ได้ผสานรวมและเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นในความรู้สึกเดียว ชั่วขณะดังกล่าวคือช่วงเวลาแห่งการตื่นรู้ อารมณ์ขันอันลึกซึ้งจะผุดขึ้นจากภายใน และคุณจะหัวเราะขบขันในความน้อยนิดจำกัดของความคิด และความเข้าใจทั้งหมดของคุณเกี่ยวกับธรรมชาติของจิต


สิ่งที่ผุดขึ้นจากภาวะดังกล่าวคือ ความรู้สึกมั่นคง และแน่ใจอย่างยิ่งยวดไม่คลอนแคลน "มันเป็นอย่างนี้เอง" ไม่มีอะไรอีกแล้วที่ต้องแสวงหา ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะคาดหวังได้ ความแน่นอนของญาณทัศนะ คือสิ่งที่ต้องตอกย้ำให้หยั่งลึก ด้วยการแลเห็นประพิมประพายแห่งธรรมชาติของจิตครั้งแล้วครั้งเล่า และทำให้คงตัวด้วยการทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง