ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 16, 2010, 12:30:47 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 04:17:29 am »

รู้สึกว่า " ธรรมะ " ยังได้รับความเป็นธรรมน้อยไป คือได้รับความสนใจน้อยไปกว่าที่ความเป็นจริงนั้น " ธรรมะ " มีประโยชน์และมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อาตมามองเห็นเหตุผลอย่างนี้ จึงได้ให้หัวข้อการบรรยายครั้งนี้ว่า " ธรรมะ ทำไมกัน ? " ทีนี้ก็จะได้กล่าวต่อไป การที่เราจะรู้ว่า" ธรรมะ ทำไมกัน ? " นั้น จะต้องรู้เสียก่อนว่าธรรมะนั้นเป็นอย่างไร ? หรือ คืออะไร ? ดังนั้นเราจะต้องพูดกันในหัวข้อว่า " ธรรมะนั้นคืออะไร ? "กันเสียก่อน แล้วก็จะเป็นการง่ายที่จะเข้าใจได้ว่า" ธรรมะนั้น ทำไมกัน ? " หรืออาจจะเข้าใจได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอธิบายกันอีกก็ได้ ถ้าเขารู้ว่าธรรมะคืออะไร ?เมื่อถามว่า " ธรรมะ " คืออะไร ? คำตอบที่จะเป็นบทนิยามที่กะทัดรัดที่สุดจะมีดังต่อไปนี้

ขอให้ตั้งใจฟังและกำหนดส่วนแห่งบทนิยามนั้น ๆ " ธรรมะ " คือระบบแห่งการปฏิบัติที่ถูกต้องและจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา ทั้งในส่วนปัจเจกชนและทั้งในส่วนสังคม และทั้งฝ่ายวัตถุ ฝ่ายจิตใจถ้าพูดให้สั้นที่สุดก็จะพูดแต่เพียงว่า

ธรรมะคือระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องและจำเป็นสำหรับมนุษย์ ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา ขอได้โปรดกำหนดให้ดี ๆ จะช่วยให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า ถ้าเราจะมีบทนิยามสั้น ๆ ก็จะมีแต่เพียงว่า " ธรรมะ คือ ระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องและจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา " คำแรก ธรรมะ คือ ระบบการปฏิบัติ จะพูดกันถึงคำว่า " ระบบ " เสียก่อนคำว่า " ระบบ " ท่านทั้งหลายก็ทราบดีอยู่แล้วว่า มันหมายถึงหลายอย่างรวมกันเป็นระบบ หรือเป็น system การกระทำอย่างเดียว หรือข้อเดียวยังไม่พอ ต้องหลายข้อหรือหลายอย่างมารวมกันเป็นระบบ เป็นระบบแห่งการปฏิบัติ

ก็หมายความว่าการปฏิบัติหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ ข้อรวมกันเป็นระบบหนึ่ง ๆ สำหรับมนุษย์จะต้องปฏิบัติถ้าถามว่า ทำไมจะต้องเป็นระบบ ? ก็ตอบได้ว่า ลองเหลือบตาดู หรือใคร่ครวญดูคำนวณดู จะเห็นได้ว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นระบบ เช่น ร่างกายนี้ ก็เป็นระบบ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนแห่งโลหิต ระบบการสร้างเนื้อหนัง ระบบการรับประทาน ระบบการขับถ่าย มันเป็นระบบ ประกอบกันเข้าเป็นระบบใหญ่ คือร่างกายของคน ๆ หนึ่งโลกทั้งโลกนี้ก็ประกอบอยู่ด้วยระบบมากมาย ชีวิตของคนคนหนึ่งก็ประกอบอยู่ด้วยระบบหลาย ๆ ระบบ การงานของคนก็ประกอบอยู่ในระบบหลาย ๆ ระบบ ล้วนแต่เป็นระบบ


ดังนั้น การที่จะประพฤติกระทำให้ถูกต้องเพื่อผลอันสมบูรณ์ มันก็ต้องมีการกระทำที่เป็นระบบ
ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า ระบบของการปฏิบัติ ไม่พูดว่า การปฏิบัติเพียงข้อใดข้อเดียว คำแรก

ก็คือคำว่า " ระบบของการปฏิบัติ "ทีนี้ก็จะได้พูดถึงคำว่า " การปฏิบัติ "

การปฏิบัติ " หมายถึงการกระทำ ; ธรรมะนั้นเป็นการกระทำ ไม่ใช่เป็นเพียงความรู้ หรือการเล่าเรียนเฉย ๆ ต้องเป็นการกระทำจึงจะเป็นตัวธรรมะ นี้ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ท่านถือกันอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าธรรมะเป็นเพียงคำสอนแล้วเก็บไว้ในตู้ในสมุด" ธรรมะ " คือตัวการปฏิบัติอยู่ที่กายที่วาจา ที่ใจ ความรู้นั้นก็จำเป็นสำหรับการปฏิบัติ

เมื่อพูดถึงการปฏิบัติย่อมรวมเอาความรู้ไว้ด้วยคือ ต้องมีความรู้ที่ถุกต้องสำหรับที่จะปฏิบัติ ในที่นี้ก็มาระบุถึงระบบแห่งการปฏิบัติเสียเลย หมายความว่ารวมเอาความรู้ไว้ด้วย แต่ขอให้เข้าใจไว้เสมอไปว่า ลำพังความรู้นั้นไม่พอ ต้องมีการปฏิบัติ ครั้นปฏิบัติแล้ว ผลของการปฏิบัติย่อมเป็นมาเองโดยอัตโนมัติ จึงไม่ได้พูดถึงผลของการปฏิบัติ พูดถึงตัวการปฏิบัติก็พอ



( จากหนังสือ " ชุมนุมปาฐกถาธรรม ทางวิทยุ เล่ม 1 " ของท่าน พระพุทธทาส ภิกขุ )

【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
http://www.sookjai.com/index.php?topic=7372.0
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 03:54:28 am »




[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=9irYjoRqs00#]ชีวิตและผลงาน พุทธทาส ภิกขุ Bdd_11[/youtube]   


มีคนบางพวกซึ่งไม่ค่อยจะสนใจ ไม่ค่อย จะชอบธรรมะอยู่ก่อนแล้ว เขาจึงมีคำถามที่ไม่น่าฟัง

เช่น พูดว่า ธรรมะธรรมเมอะทำไมกัน ? นี่สำหรับคนที่ไม่สนใจและไม่อยากจะสนใจ

เพราะเขาไม่รู้ประโยชน์ของสิ่งที่เรียกว่า " ธรรมะ "จึงมีความรู้สึกอย่างนั้น อาตมาจึงมีความเห็นว่า

เราควรจะทำความเข้าใจกันในเรื่องนี้ มีผู้ที่เข้าใจผิดต่อสิ่งที่เรียกว่า " ธรรมะ "อยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป

คือ มีคนที่เกลียดธรรมะ โดยรู้สึกไปว่า เป็นสิ่งที่ขัดขวางความสนุกสนานของตน

หรือไม่เกี่ยวข้องกันกับตน ความรู้สึกเช่นนี้เป็นผลร้ายแก่สังคม คนที่เป็นชั้นครูบาอาจารย์

สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วย ยังมาขอถามด้วยการตั้งคำถามว่า " ธรรมะกับโลกนี่มันเข้ากันได้หรือไม่ ?

"อาตมาถึงกับรู้สึกสะดุ้งว่า ทำไมคนชั้นครูบาอาจารย์ สอนอยู่ในมหาวิทยาลัย มาตั้งคำถาม

ว่าอย่างนี้ นี่แสดงว่า ไม่มีการเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า " ธรรมะ " กันเสียเลย แม้ในบุคคลชั้นครูบาอาจารย์

แล้วชนชั้นลูกศิษย์จะเข้าใจได้อย่างไร ?