ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 17, 2010, 01:54:21 pm »










                                อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ




ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: กันยายน 17, 2010, 10:27:50 am »


จากพระสูตรเว่ยหล่าง

อาตมาได้กล่าวกับภิกษุไวมิงว่า  "เมื่อความประสงค์แห่งการมาเป็นความประสงค์เพื่อจะฟังธรรมแล้ว ก็จงระงับใจไม่ให้คิดถึงสิ่งใดๆ แล้วทำใจของท่านให้ว่างเปล่า  เมื่อนั้นข้าพเจ้าจึงจะสอนท่าน"
ครั้นเขาทำดังนั้นชั่วเวลาพอสมควรแล้ว   

อาตมาได้กล่าวว่า  "เมื่อท่านทำในใจไม่คิดทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว(รู้จักสิ่งที่ไม่ดีและไม่ชั่ว) แล้ว ในเวลานั้นเป็นอะไร ท่านที่นับถือ นั่นคือธรรมชาติแท้ของท่าน(ตามตัวหนังสือ  เรียก หน้าตาดั้งเดิมของท่าน) มิใช่หรือ?"

และก็จะพบกับบทนี้

ความยินดีมิใช่ของมีอยู่แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไป
แล้วสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ.


จ่อแล้วซึ่งปากประตูซึ่งไม่มีประตูครับ



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 01:00:36 pm »

 
 
 
                                                :39: :13: :45:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 09:30:51 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 04:50:07 pm »


เคยได้ยิน ปริศนาธรรมเซน ประตูที่ไร้ประตู ไหม

นี่ อีก ทุก ๆ ที่ มองดี ๆ มีประตู ซ่อนอยู่

ธรรมทวาร ประตูแห่งธรรม ด่านสุดท้ายก่อนเข้าถึงพุทธจิต

จิตแห่งพุทธะ ที่อยู่เหนือ  บัญญัติ โวหาร ธรรมนิยาม ใด ๆ

ตอนท้าย ๆ ดูสรุป ตรง พระมัญชุศรี กับ ท่านวิมลเกียรติ สิ

คำว่า หุบปากนิ่ง เงียบ นี่แหละ หัวใจเซน

มุ่งสู่ ประตูแห่งความไม่เป็นคู่  ด่านแห่งทวิภาวะ ด่านสุดท้ายแห่งสมมุติพังทลาย

ด้วย คำว่า หุบปากนิ่งเงียบ

อ่านพระโพธิสัตว์ แต่ละองค์ ท่านจะบรรยาย การทำลายธรรมคู่ ด้วยโวหาร จนถึง พระมัญชุศรี

ซึ่ง ก็ถูก แต่ มาสรุป รวมของ ทุก ๆ นิยาม ความหมาย ไหลรวมตรงอันสุดท้าย ท้ายสุด


..............................

“ดูก่อนท่านคฤหบดี พวกอาตมะทั้งปวงต่างก็ได้เฉลยพจน์ของตนแล้ว บัดนี้เป็นวาระของท่านจักพึงเฉลยบ้าง โดยประการฉันใดหนา พระโพธิสัตว์จึงเข้าสูอไทฺวตธรรมทวารวิถี.”
ครั้งนั้นแล ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี ได้สงบนิ่งปราศจากด้วยวจนะใด ๆ.
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงเปล่งสาธุการขึ้นว่า


“สาธุ ! สาธุ ! เมื่อปราศจากอักขรโวหารวจนบัญญัติใด ๆ จึงนับว่าเป็นการเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถีโดยแท้จริงทีเดียว.”
เมื่อที่ประชุมแสหงอไทฺวตธรรมทวารกถานี้จบลง มีพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ รูปในธรรมสภานั้น ต่างก็บรรลุเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร ได้สำเร็๗อนุตปาทธรรมกษนติ ด้วยประการฉะนี้แล.

ปริเฉทที่ ๙ อไทฺวตธรรมทวารวรรค จบ.
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 04:42:50 pm »

ปริเฉทที่ ๙
อไทฺวตธรรมทวาวรรค



ครั้งนั้นแล ท่านวิมลเกียรติอุบาสก ได้กล่าวกับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายว่า


“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระโพธิสัตว์จักเข้าไปสู่อไทฺวตธรรมทวาร คือประตูแห่งความไม่เป็นคู่อย่างไรฤๅหนอแล ? ขอท่านผู้เจริญทั้งปวงโปรดแสดงมติของท่านแต่ละท่านออกมาเถิด!
ลำดับนั้น ในท่ามกลางธรรมสันนิบาต มีพระโพธิสัตว์ชื่อ พระธรรมอิศวร จึงกล่าวขึ้นว่า


“ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ความเกิดและความดับ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่แต่เนื้อแท้สิ่งทั้งปวงปราศจากความเกิดขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ จึงไม่มีอะไรดับไปผู้ใดได้ลุถึงอนุตปาทธรรมกษานติดังกล่าว จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระคุณรักษโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“อัตตา อัตตนิยะ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เหตุเพราะมีตัวตน จึงมีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เมื่อปราศจากตนเสียแล้ว สิ่งที่เนื่องด้วยของของตนก็ไม่มีจึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระอนิมมิสโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ความเสวยภพชาติ ความไม่เสวยภพชาติ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่แต่เนื้อแท้ธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตา ปราศจากผู้เสวย จึงปราศจากสิ่งที่พึงถือเอาว่าเป็นเจ้าของได้ เพราะปราศจากสิ่งอันพึงยึดมั่น จึงไม่มีอุปาทานไม่มีการละอุปาทาน ไม่มีกิเลสกรรม ไม่มีการปฏิบัติเพื่อพ้นกิเลสกรรม นี้แลชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”

พระคุณเสขรโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“มลธรรม วิมลธรรม ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดเห็นเจ้งในสภาวะตามเป็นจริงของมลธรรมอันเป็นสุญญตาไซร้ วิมลธรรมก็ย่อมพลอยไม่มีไปด้วย ย่อมอนุโลมเป็นไปในนิโรธ นี้แลชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระศุภเคราะห์โพธิสัตว์ กล่าวว่า

“อารมณ์ ๖ ที่ทำให้ท่านหวั่นไหว วิปลาสสัญญาอันเป็นไปในอารมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เมื่อปราศจากความหวั่นไหวเพราะอารมณ์ ๖ จึงไม่มีวิปลาสสัญญา เมื่อไม่มีวิปลาสสัญญาก็ปราศจากวิกัลปะ ผุ้รู้แจ้งดั่งนี้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”

พระสมันตจักษุโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“สภาวะ อภาวะ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดรู้แจ้งว่า เนื้อแท้สภาวะก็คืออภาวะ ไม่เกิดความยึดถือในอภาวะว่ามีอยู่อีกด้วย ตั้งอยู่ในสมธรรมจึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระศรีหัตถโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“จิตพระโพธิสัตว์ จิตพระอรหันตสาวก ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดพิจารณาเห็นภาวะแห่งจิตว่าเป็นสุญญตา เป็นมายา ปราศจากแก่นสารเนื้อแท้ไม่มีอะไร ที่เป็นจิตพระโพธิสัตว์ฤๅจิตพระอรหันตสาวก จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระปุสสโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“กุศล อกุศล ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดไม่เกิดความรู้สึกยึดถือก่อเกิดกุศลฤๅอกุศล รู้แจ้งเห็นจริง เข้าถึงอัปปณิหิตธรรม จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระสิงหราชาโพธิสัตว์ กล่าวว่า

“บาป บุญ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดรู้แจ้งว่าเนื้อแท้ภาวะแห่งบาป มิได้ผิดแปลกจากบุญเลย ใช้วชิรปัญญาเข้าไปตัดความติดแน่นในลักษณะแบ่งแยกเสียได้ ไม่มีผู้ถูกผูกพันฤๅไม่มีผู้หลุดพ้น จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระสิงหมติโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“อาสวะ อนาสวะ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดเข้าถึงความจริงว่าสรรพธรรมเป็นสมตา ย่อมไม่เกิดอาสวสัญญา ฤๅอนาสวสัญญาขึ้น ไม่ยึดถือในสภาวะ ไม่ยึดถือในอภาวะ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระวิสุทธิญาณโพธิสัตว์ กล่าวว่า

“สังขตะ อสังขตะ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดพ้นจากสิ่งที่พึงนับได้จิตของผู้นั้นว่างเปล่า เขาย่อมมีปัญญาอันบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งขัดข้อง จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระนารายณโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“โลกิยะ โลกุตตระ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้โลกิยธรรมเป็นสุญญตา เป็นอันเดียวกับโลกุตตระ ฉะนั้น จึงไม่มีการเข้าสู่โลกิยะฤๅการออกไปจากโลกิยะ ไม่มีความไหลเอ่อล้นฤๅความฟุ้งซ่าน จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”

พระศุภมติโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ความเกิด ความตาย พระนิพพาน ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดเห็นแจ้งว่าสภาพแห่งความเกิด ความตาย เนื้อแท้ ปราศจากความเกิดความตาย ไม่มีความผูกพันฤๅความหลุดพ้น ไม่มีความลุกโพลงฤๅความดับความเย็น ผู้เห็นแจ้งดั่งนี้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”

พระสันทิฏฐิกโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ความสิ้นไปแห่งกิเลส กวามไม่สิ้นไปแห่งกิเลส ชื่อว่าเป็นธรรมคู่เนื้อแท้ของสภาพธรรมนั้น ความสิ้นไปก็คือความไม่สิ้นไป แต่ละล้วนเป็นภาวะอันไม่มีขอบเขต ภาวะอันไม่มีของเขตก็คือสุญญตา เพราะเป็นสุญญตจึงปราศจากขอบเขตไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ใดเข้าถึงความจริงดั่งนี้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระสมันตรักษโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“อัตตา อนัตตา ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ อันที่จริงอัตตาย่อมหาไม่ได้เลยแล้วอนัตตาจักมีได้อย่างไร ผู้ใดรู้แจ้งในธรรมตามเป็นจริงดั่งนี้ ย่อมไม่เกิดความยึดถือในอัตตา อนัตตา จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระวิชชุเทพโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“วิชชา อวิชชา ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้สภาพแห่งอวิชชาก็คือวิชชา แม้วิชชาก็ไม่พึงยึดมั่น เมื่อพ้นจากภาวะแห่งการนับเสียได้ ตั้งอยู่ในภูมิอันสม่ำเสมอไม่เป็นสอง ผู้เช่นนี้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระปรียทรรศนโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“รูปกับความสูญของรูป ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้รูปก็คือความสูญ มิใช่ต้องรอให้รูปธรรมแตกดับไปจึงเรียกว่าสูญ แท้จริง สภาวะแห่งรูป ย่อมเป็นสุญญตาอยู่โดนธรรมดา แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณกับความสูญแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้เวทนา ฯลฯ วิญญาณ ก็คือความสูญ มิใช่ต้องรอให้เวทนา ฯลฯ กับไปเสียก่อน จึงเรียกว่าสูญ แท้จริง สภาวะแห่งเวทนา ฯลฯ วิญญาณ ย่อมเป็นสุญญตาอยู่โดยธรรมดา ผู้ใดเห็นแจ้งแทงทะลุในเรื่องนี้ได้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระวิทยาลักษณโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“มหาภูตรูป ๔ กับอากาศธาตุ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้สภาวะแห่งธาตุ ๔ ก็คืออากาศธาตุนั่นเอง เช่นเดียวกับอดีต อนาคต อันเป็นสิ่งว่างเปล่า ดังนั้นปัจจุบันก็ว่างเปล่า ผู้ใดรู้แจ้งธาตุต่าง ๆ ดังนี้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระศีรมนัสโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“จักษุกับรูป ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดเห็นแจ้งว่า เนื้อแท้สภาวะแห่งจักษุเป็นสุญญตา ย่อมไม่เกิดโลภ โกรธ หลง ต่อรูป ชื่อว่าเป็นธรรมสงบระงับ แม้โสตะกับเสียง ฆานะกับกลิ่น ชิวหากับรส กายกับโฟฏฐัพพะ มนะกับธรรมมารมณ์ ต่างก็เป็นธรรมคู่ หากรู้แจ้งว่าสภาวะแหล่านี้เป็นสุญญตา ในไม่เกิดโลภ โกรธ หลง ในธรรมารมณ์ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นธรรมอันสงบ ระงับ ผู้ตั้งอยู่ใจภูมิดั่งกล่าว จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระอักษยมติโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ทานกับการอุทิศ มุ่งต่อพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่เนื้อแท้สภาวะแห่งทานก็คือ อันเดียวกับสภาวะอุทิศมุ่งต่อพระสรรเพชุดาญาณนั่นเอง แม้ศีล ขันติ วิริยะ ธฺยาน ปรัชญา กับการอุทิศมุ่งต่อพระสรรเพชุดาญาณก็เป็นธรรมคู่ แต่เนื้อแท้บารมีเหล่านี้ มีปรัชญาบารมี เป็นต้น เป็นสภาวะเดียวกับการอุทิศมุ่งต่อพระสรรเพชุดาญาณ ผู้ใดเข้าถึงเอกี-ภาวลักษณะได้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.๑ ”
พระคัมภีร์ปัญญาโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่๒ เนื้อแท้สุญญตวิโมกข์ก็คือนิมิตร นิมิตรนั้นก็คืออัปปณิหิตะ ผู้ที่เข้าถึงสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ ย่อมปราศจากจิต มโนวิญญาณ ในวิโมกขธรรมอันหนึ่ง ย่อมเป็นได้ทั้ง ๓ วิโมกข์ ชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระสันติอินทรียโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้สภาวะแห่งพระพุทธะก็คือพระธรรม สภาวะแห่งธรรมะนั่นเองที่ชื่อว่าเป็นพระสงฆ์ สภาพแห่งคุณพระไตรรัตน์เป็นอสังขตะมีคุณอนันต์ดุจอากาศ สิ่งทั้งปวงก็มีสภาพอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติตามคุณดังกล่าวได้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระจิตนิราวรณโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“กายกับกายนิโรธ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้กายกับกายนิโรธเป็นสภาพเดียวกัน ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าผู้ที่เห็นแจ้งในสภาวธรรมตามเป็นจริงแห่งกายนี้ ย่อมไม่เห็นว่ามีกาย หรือความดับไปของกาย กายกับกายนิโรธไม่เป็นสอง ไม่มีวิกัลปะ เขาผู้นั้นไม่บังเกิดความหวั่นหวาด จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระอนุตตรกุศลโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้สุจริตกรรมทั้ง ๓ ล้วนปราศจากลักษณะปรุงแต่งกระทำใด ๆ เลย เมื่อกายปราศจากลักษณะปรุงแต่ง นั่นก็คือมโนทั้ง ๓ ปราศจากลักษณะปรุงแต่ง เมื่อกรรมทั้ง ๓ ปราศจากลักษณะปรุงแต่ง สิ่งทั้งปวงก็ปราศจากลักษณะปรุงแต่ง ผู้ใดสามารถปฏิบัติตามปัญญาอันปราศจากลักษณะปรุงแต่งนี้ได้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระบุญเขตโพธิสัตว์ กล่าวว่า
__________________________

๑. ทางมหายานมีทศบารมีเหมือนกัน แต่จัดลำดับและข้อความบางข้อต่างกับมติในบาลี แต่ส่วนใหญ่นิยมบารมี ๖ โดยย่อจากบารมี ๖๐ บางมติก็ว่าทศบารมีนั้นแยกกระจายออกจากบารมี ๖ ให้พิสดาร.
๒. คำว่าคู่นี้อย่าพึงนึกว่าต้องจำนวนเลขคู่เสมอ เพราะความจริงหมายถึงสภาพที่คิดแบ่งจำแนกว่านั่นว่านี่ ด้วยอำนาจอุปาทาน ฉะนั้น ในที่นี้แม้จะมี ๓ ก็ไม่แปลก.




“ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้สังขารทั้ง ๓ เป็นสุญญตา เมื่อเป็นสุญญตาแล้ว ที่ไหนจักมีปัญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ผู้ที่ไม่ก่อสังขารทั้ง ๓ ให้มีขึ้น จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระอวตังสกโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ความมีเรามีเขา ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดเห็นแจ้งว่า เรานั้นไม่มีตามเป็นจริง ย่อมไม่เกิดความยึดถือเรา เมื่อไม่ยึดถือในธรรมคู่นี้ ก็ไม่เกิดอหังการและปรังการขึ้น จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระคุณครรภธิสัตว์ กล่าวว่า


“ผู้บรรลุกับธรรมที่บรรลุ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดรู้แจ้งว่า เนื้อแท้ปราศจากผู้บรรลุกับธรรมที่บรรลุ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ย่อมไม่มีสิ่งอันพึงยึดถือฤๅสิ่งอันพึงละใด ๆ เมื่อไม่มีการยึดและไม่มีการละ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระจันทรอุตตรโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ความมืดกับความสว่าง ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ เนื้อแท้ไม่มีสภาพมือฤๅสภาพสว่าง อันเป็นอไทฺวตะ เช่นอะไร ? เช่นผู้ที่เข้าสัญญาเวทยิตนโรธสมาบัติ ย่อมไม่มีสภาพมือฤๅสภาพสว่าง ลักษณะแห่งธรรมทั้งปวงก็ดุจเดียวกัน ผู้ใดเข้าถึงโดยสมธรรมอันสม่ำเสมอดั่งกล่าว จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”

พระรัตนมุทรหัตถโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“ความยินดีในพระนิพพาน ความนิพพิทาในสังสารวัฏ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ใดหากไม่เกิดความยินดีในพระนิพพาน ไม่เกิดความหน่ายในสังสารวัฏ ชื่อว่าพ้นจากธรรมคู่ ข้อนั้นเหตุเพราะดังฤๅ ? ก็เพราะว่าเมื่อมีการถูกผูกพันถึงมีการหลุดพ้น แต่โดยปรมัตถ์เนื้อแท้ไม่มีผู้ใดที่ถูกพันเลย ก็แล้วจักมีใครเล่าที่จะหลุดพ้นออกไป ฉะนั้น เมื่อไม่มีสภาพผูกพัน ก็ย่อมไม่มีสภาพหลุดพ้น ย่อมไม่มีความยินดี และไม่มีความนิพพิทา ทำได้เช่นนี้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”


พระมณีเสขรโพธิสัตว์ กล่าวว่า


“สัมมามรรค มิจฉามรรค ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ที่ตั้งอยู่ในสัมมาภูมิย่อมไม่เกิดกัลปะว่า นี้เป็นสัมมามรรค นั่นเป็นมิจฉามรรค ผู้ใดพ้นจากธรรมคู่นี้ไปได้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”
พระอานันทสัตย์โพธิสัตว์ กล่าวว่า


“สัตย์กับอสัตย์ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่ ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริง ย่อมไม่เกิดทิฏฐิว่านี้มีสภาวะจริง จักป่วยกล่าวไปไยกับที่จักเกิดทิฐิว่า นี้เป็นสภาวะเท็จเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุดัง ฤๅ ? ก็เพราะว่าอันความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น ย่อมมิได้เห็นด้วยมังสจักษุ แต่เห็นได้ด้วยปัญญาจักษุเท่านั้น แลปัญญาจักษุนี้เล่า ย่อมไม่มีการเห็นหรือไม่เห็น๑ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร.”

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ต่างก็ได้เชลงทัศนะของแต่ละท่านออกมาด้วยประการฉะนี้ และแล้วที่ประชุมนั้นจึงพากันปุจฉาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ขึ้นว่า
“ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ก็พระโพธิสัตว์ผู้เข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถีนั้น เป็นประการฉันใดหนอ ?”

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ วิสัชนาว่า

“ตามมติของกระผม ในธรรมทั้งหลาย เมื่อปราศจากคำพูด ปราศจากโวหาร ปราศจากการแสดง ปราศจากความคิดรู้คำนึง พ้นจากการปุจฉาวิสัชนา นั่นคือการเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถี.”


__________________________


๑. หมายความว่า สรรพธรรมเป็นสุญญตา จึงไม่มีการเห็นหรือไม่เห็นใด ๆ เพราะเห็นก็สุญญตา ไม่เห็นก็สุญญตา ปัญญาจักษุเห็นแจ้งในพระนิพพานซึ่งเป็นสุญญตาอีกเหมือนกัน
ลำดับนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถามท่านวิมลเกียรติคฤหบดีว่า





“ดูก่อนท่านคฤหบดี พวกอาตมะทั้งปวงต่างก็ได้เฉลยพจน์ของตนแล้ว บัดนี้เป็นวาระของท่านจักพึงเฉลยบ้าง โดยประการฉันใดหนา พระโพธิสัตว์จึงเข้าสูอไทฺวตธรรมทวารวิถี.”
ครั้งนั้นแล ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี ได้สงบนิ่งปราศจากด้วยวจนะใด ๆ.
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงเปล่งสาธุการขึ้นว่า


“สาธุ ! สาธุ ! เมื่อปราศจากอักขรโวหารวจนบัญญัติใด ๆ จึงนับว่าเป็นการเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถีโดยแท้จริงทีเดียว.”
เมื่อที่ประชุมแสหงอไทฺวตธรรมทวารกถานี้จบลง มีพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ รูปในธรรมสภานั้น ต่างก็บรรลุเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร ได้สำเร็๗อนุตปาทธรรมกษนติ ด้วยประการฉะนี้แล.

ปริเฉทที่ ๙ อไทฺวตธรรมทวารวรรค จบ.

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunz&date=12-07-2009&group=18&gblog=8

http://www.mahayana.in.th/tmayana/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3.html#ปริเฉทที่_๖_อจินไตยวรรค_