ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 17, 2010, 02:37:52 pm »

 :13: อนุโมทนาครับผม^^ ขอบคุณครับพี่กัลยา
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กันยายน 17, 2010, 01:57:02 pm »




เมื่อมีการทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งก็กล่าวอุทิศส่วนบุญว่า.............................

ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลที่ได้บำเพ็ญแล้วในวันนี้

แก่มารดาบิดา - ทั้งอดีตและผู้มีพระคุณ

ทั้งอดีตอนันตชาติ

แก่ญาติและมิตรสหายผู้ล่วงลับไปแล้ว

ตลอดจนเทพและอมนุษย์ทั้งหลาย

ขอจงมีจิตโสมนัสยินดี

อนุโมทนาในส่วนกุศลนี้โดยทั่วกันเทอญ



เทียบเคียงในพระไตรปิฎก


อุทิศบุญให้ผู้ล่วงลับทันที เล่ม 39 หน้า 284


เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้นด้วยหวังว่าวันนี้พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวกนั้นจะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตนพระราชาถวายน้ำทักษิโณทก{ถวายน้ำเป็นทาน}ทรงอุทิศว่าขอทานนี้จงมีแก่พวกญาติของเราทันใดนั้นเองสระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต พวกนั้น เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้นระงับความกระวนกระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทองลำดับนั้นพระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้นแล้วทรงอุทิศในทันใดนั้นเองข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้นเปรตพวกนั้นก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้นมีอินทรีย์เอิบอิ่มลำดับนั้นพระราชาถวายผ้าและเสนาสนะ
{ที่อาศัย}เป็นต้นทรงอุทิศให้เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอนเป็นต้นก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้นสมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้นปรากฏทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐานให้พระราชาทรงเห็น)โดยประการนั้นพระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง



เมื่อทำบุญแล้วควรอุทิศบุญให้ท่านเหล่านี้ เล่ม 49 หน้า 30


บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือปรารภถึงบุรพเปตชน นึกถึงบรรพบุรุษผุ้ตายไป หรือเทวดาผู้สิงอยู่ในเรือ

หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔  ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ....................................

ท้าวธตรฐ ๑

ท้าววิรุฬหก ๑

ท้าววิรูปักษ์ ๑

ท้าวกุเวร  ๑   

ให้เป็นอารมณ์แล้วพึงให้ทานท่านเหล่านั้นเป็นอันบุคคลได้บูชาแล้วและทายกผู้ให้ทาน ก็ไม่ไร้ผลความร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่าง
อื่นไม่ควรทำเลยเพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็น ประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ที่ตายไป คงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตน ๆ
อันทักษิณาทาน สิ่งของทำบุญ นี้ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว อุทิศให้ญาติที่ตายไป ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปตชนโดยทันที สิ้นกาลนาน




อุทิศบุญบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย เล่ม 49 หน้า 348



เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา พึงให้ทักษิณาผลบุญ บ่อย  ๆ เพื่ออนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลายเปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่เพื่อหาอาหารบางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกลก็ไม่ได้อาหารแล้วกลับมาบางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระหายนอนกลิ้งไปบนพื้นดินบางพวกล้มลงที่แผ่นดินในที่ตนวิ่งไปนั้นร้องไห้ร่ำไรว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศล ความดีไว้ จึงได้ถูกไฟคือความหิวและความกระหายเผาอยู่ดุจถูกไฟเผาแล้วในที่ร้อนเมื่อก่อนพวกเรามีธรรมอันลามกป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อไทยธรรม{ของทำบุญ}ทั้งหลายมีอยู่ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตนเออ…....ก็ข้าวและน้ำมีมากแต่เราไม่กระทำการแจกจ่ายให้ททานและไม่ได้ให้อะไรในบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติชอบอยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำเป็นคนเกียจคร้านใคร่แต่ความสำราญและกินมากให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่งด่าปฏิคาหก(ผู้รับทาน)ผู้รับอาหารเรือนพวกทาสีทาสา คนรับใช้ชาย – หญิง และผ้าอาภรณ์ของเราเหล่านั้นไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา พวกเขาไปบำเรอคนอื่นหมดเรามีแต่ส่วนแห่งทุกข์เราจุติ (ตาย)จากเปรตนี้แล้วจักไปเกิดในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพรานตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบกนี้เป็นคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์) แห่งความตระหนี่ส่วนทายกทั้งหลายผู้มีกุศลอันทำไว้แล้วในชาติก่อน ปราศจากความตระหนี่ย่อมยังสวรรค์ให้บริบูรณ์และย่อมยังนันทวันให้สว่างไสวรื่นรมย์แล้วในเวชยันตปราสาทสำเร็จความ ปรารถนาครั้นจุติ(ตาย)จากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูงมีโภคะ(ทรัพย์สมบัติ)มาก


ทำบุญให้เทวดาบริเวณที่อาศัยอยู่ เล่ม 44  หน้า 755


บุรุษชาติบัณฑิตย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศ(สถานที่)ใดพึงเชิญท่านผู้มีศีลผู้สำรวมแล้วผู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริโภคในประเทศนั้น   
แล้วควรอุทิศทักษิณาทาน(อุทิศบุญ)เพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้วย่อมนับถือบูชาบุรุษชาติบัณ
ฑิตนั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์บุรุษชาติบัณฑิตนั้นประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร         
บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้วย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ