ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 09:49:36 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:59:37 pm »


สนทนาต่อมา

         ครั้นเมื่อพระเถระทั้ง ๒ รูปได้ฟังคำพูดของหลวงปู่ว่า  หลวงปู่ท่านอยู่กับ " รู้ "  ต่างองค์ก็นิ่งสงบชั่วระยะหนึ่ง  แล้วก็เรียนถามหลวงปู่ต่อไปว่า  อาการที่ว่าอยู่กับรู้ มีลักษณะเป็นอย่างไร ฯ

         หลวงปู่ตอบอธิบายว่า

         " รู้ " (อัญญา) เป็นปรกติจิตที่  "ว่าง  สว่าง บริสุทธิ์  หยุดการปรุงแต่ง  หยุดการแสวงหา  หยุดกริยาของจิต  ไม่มีอะไรเลย  ไม่ยึดถืออะไรสักอย่าง."






Credit by : http://www.nkgen.com/pudule3.htm
Pics by : Google

เรียนขออนุญาต.. นำมาเผยแพร่..
อนุโมทนาสาธุ ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:46:18 pm »

สิ้นชาติขาดภพ

         พระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน  สนทนาธรรมะขั้นปรมัตถ์กับหลวงปู่หลายข้อ  แล้วลงท้ายด้วยคำถามว่า  พระเถระนักปฏิบัติบางท่าน  มีปฏิปทาดี  น่าเชื่อถือ  แม้พระด้วยกันก็ยอมรับว่าท่านเป็นผู้มั่นคงในพระศาสนา  แต่ในที่สุดก็ไปไม่รอด  ถึงขั้นต้องสึกหาลาเพศไปก็มี  หรือไม่ก็ทำไขว้เขวประพฤติตนมัวหมองอยู่ในพระธรรมวินัยก็มี จึงไม่ทราบว่าจะปฏิบัติถึงขั้นไหนอีก จึงจะตัดวัฏสงสารให้สิ้นภพสิ้นชาติได้ ฯ

         หลวงปู่กล่าวว่า

        "การสำรวมสำเหนียกในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด  และสมาทานถือธุดงค์นั้น  เป็นปฏิปทาที่ดีงามอย่างยิ่ง น่าเลื่อมใส  แต่ถ้าเจริญจิตไม่ถึงอธิจิิต  อธิปัญญาแล้ว  ย่อมเสื่อมลงได้เสมอ  เพราะยังไม่ถึงโลกุตตรภูมิ  ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้ในขันธ์ ๕  แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท  หยุดการปรุงแต่ง  หยุดการแสวงหา  หยุดกริยาจิต  มันก็จบแค่นี้  เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล



อยู่อย่างไรปลอดภัยที่สุด

         จำได้ว่าเมื่อปี ๒๕๑๙  มีพระเถระ ๒ รูป เป็นพระฝ่ายวิปัสสนากัมัฏฐานจากอีสานเหนือแวะไปกราบมนัสการหลวงปู่  แล้วสนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติ เป็นที่เกิดศรัทธาปสาทะ  และดื่มด่ำในรสพระธรรมอย่างยิ่ง  ท่านเหล่านั้นกล่าวย้อนถึงคุณงามความดีตลอดถึงภูมิธรรมของครูบาอาจารย์ที่ตนเคยไปพำนักศึกษาปฏิบัติมาด้วยเป็นเวลานานว่า  หลวงปู่องค์โน้นมีวิหารธรรมคืออยู่กับสมาธิตลอดเวลา  อาจารย์นี้อยู่กับพรหมวิหารเป็นปรกติ คนจึงนับถือท่านมาก  หลวงปู่องค์นั้นอยู่กับอัปปมัญญาพรหมวิหาร ลูกศิษย์ของท่านจึงมากมายทั่วสารทิศไม่มีประมาณ ดังนี้เป็นต้น ท่านจึงมีแต่ความปลอดภัยอันตรายตลอดมา ฯ

         หลวงปู่กล่าวว่า

         เออ  ท่านองค์ไหนมีภูมิธรรมแค่ไหน  ก็อยู่กับภูมิธรรมนั้นเถอะ  เราอยู่กับ " รู้ "
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:40:53 pm »

ทั้งหมดอยู่ที่ความประพฤติ

        ตลอดชีวิตของหลวงปู่  ท่านไม่ยอมรับกับการถือฤกษ์งามยามดีอะไรเลย  แม้จะถูกถามถูกขอให้บอกเพียงว่า  จะบวชวันไหน  จะสึกวันไหน  หรือวันเดือนปีไหนดีเสียอย่างไร  หลวงปู่ก็ไม่เคยเผลอเอออวยด้วย  มักจะพูดว่าวันไหนเดือนไหนก็ดีทั้งนั้นแหละ  คือ  ถ้ามีผู้ขอเช่นนี้  ท่ายมักให้เขาหาเอาเอง  หรือมักบอกว่าวันไหนก็ได้  ถ้าสะดวกดีแล้วเป็นฤกษ์ดีทั้งหมด ฯ

         หลวงปู่สรุปลงว่า

        "ทุกอย่างรวมอยู่ที่ความประพฤติ  คือ  ฤกษ์ดี  ฤกษ์ร้าย  โชคดี  โชคร้าย  เรื่องเคราะห์  กรรม  บาป  บุญ  อะไรทั้งหมดนี้  ล้วนออกไปจากความประพฤติของมนุษย์ทั้งนั้น"

[หมายเหตุ Webmaster - หลวงปู่สอนไว้ อันเป็นจริงยิ่ง และถูกต้องตามหลัก"อิทัปปัจจยตา"  อันมีสาระสำคัญว่า"เพราะเหตุนี้มี  ผลนี้จึงเกิดขึ้น" หรือธรรมใดเกิดแต่เหตุ อันคือกรรมที่หมายถึงการกระทำ-ความประพฤตินั่นเอง  ล้วนมิได้เกิดแต่ฤกษ์ผานาทีเป็นสำคัญ  ความสำคัญจึงขึ้นอยู่ที่กรรมคือการประพฤติหรือการกระทำเป็นสำคัญ อันเป็นดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "บุคคลประพฤติชอบเวลาใด  เวลานั้นได้ชื่อว่า  เป็นฤกษ์ดี  เป็นมงคลดี  เป็นเช้าดี  อรุณดี  เป็นขณะดี  ยามดี  และ(นับด้วยว่า)เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้วในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย  แม้กายกรรมของเขาก็เป็นสิทธิโชค  วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค  มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค  ประณิธานของเขาก็(ย่อมต้อง)เป็นสิทธิโชค  ครั้นกระทํากรรม(การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค"  (สุปุพพัณหสูตร)]



ไม่เคยกระทำแบบแสดง

         หลวงปู่ไม่มีมารยาในทางอยากโชว์  เพื่อให้เด่น  ให้สง่าแก่ตนเอง  เช่นการถ่ายรูปของท่าน  ถ้าใครอยากถ่ายรูปท่าน  ก็ต้องหาจังหวะให้ดี  ระหว่างที่ท่านห่มผ้าสังฆาฏิเรียบร้อย  เพื่อลงปาฎิโมกข์หรือบวชนาคหรือเข้าพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  แล้วขอถ่ายรูปท่านในจังหวะนี้ย่อมได้ถ่าย  เมื่อท่านอยู่ตามธรรมดา แล้วขอร้องท่านให้ลุกไปนุ่งห่มมาตั้งท่าให้ถ่าย แบบนี้หวังได้ยากอย่างยิ่ง  เช่น  มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งจากกรุงเทพฯ  นำผ้าห่มชั้นดีมาถวายหลวงปู่เมื่อหน้าหนาว  พอถึงเดือนห้าหน้าร้อน  เผอิญเขาได้ไปกราบหลวงปู่อีก  จึงขอให้ท่านเอาผ้ามาห่มให้เขาถ่ายรูปด้วย เพราะตอนถวายไม่ได้ถ่ายไว้  หลวงปู่ปฏิเสธว่า  ไม่ต้องหรอก  แม้เขาจะขอเป็นครั้งที่สองที่สาม  ท่านก็ว่าไม่จำเป็นอยู่นั่นเองฯ

         เมื่อสุภาพสตรีนั้นลากลับไปแล้ว  อาตมาไม่ค่อยสบายใจจึงถามท่านว่า  โยมเขาไม่พอใจ  หลวงปู่ทราบไหม ฯ

         หลวงปู่ยิ้มแล้วตอบว่า

        "รู้อยู่  ที่เขามีความไม่พอใจ  ก็เพราะใจเขามีความไม่พอ"

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:36:52 pm »

มีเวทนาหนัก  แต่ไม่หนักด้วยเวทนา

         หลวงปู่อาพาธหนักอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ. เป็นวันที่ ๑๗ ของการอยู่โรงพยาบาล  คืนนั้น  หลวงปู่มีอาการอ่อนเพลียอย่างมากถึงกับต้องให้ออกซิเจนช่วยหายใจโดยตลอด  เวลาดึกมากแล้วคือหกทุ่มกว่า  ท่านอาจารย์ยันตระ  พร้อมบริวารหลายท่าน  เข้าไปขอกราบเยี่ยมหลวงปู่  เห็นเป็นกรณีพิเศษจึงให้ท่านเข้าไปกราบเยี่ยมได้  หลวงปู่นอนตะแคงขวา หลับตาตลอด  เมื่อคณะของอาจารย์ยันตระกราบนมัสการแล้ว  ท่านอาจารย์ยันตระขยับก้มไปชิดหูหลวงปู่แล้วถามว่า "หลวงปู่ยังมีเวทนาอยู่หรือ"

         หลวงปู่ตอบว่า

         "เวทนากับร่างกายนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน   แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย"

[หมายเหตุ Webmaster - เวทนาหรือทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต  ที่ย่อมต้องเกิดขึ้นจากการผัสสะของอายตนะต่างๆเป็นธรรมดา ในทุกรูปนามหรือทุกบุคคลเขาเรา ท่านจึงคงมีทุกขเวทนาทางกายเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติ  แต่องค์ท่านไม่เสพเสวยกล่าวคืิอไม่ไปพัวพัน ไม่ไปปรุงแต่ง หรือไปยึดมั่นจนทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์เป็นธรรมดาโดยธรรมชาติหรือเป็นทุกข์ธรรมชาติของชีวิตนั้น  เกิดการแปรปรวนไปเป็นอุปาทานเวทนาคือเวทนูปาทานขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนทุรายกว่าทุกข์ธรรมชาติยิ่งนัก  กล่าวคือไม่เสพเสวยอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ที่แสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายอันเกิดจากการฟุ้งซ่านหรือส่งจิตออกนอกไปปรุงแต่ง ดังที่เกิดขึ้นในองค์ธรรมชราในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง]



เดินทางลัด ที่ปลอดภัย

         เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๖  ก่อนที่หลวงปู่จะกลับจากโรงพยาบาลจุฬาฯ  ได้ชักชวนกันทำบุญถวายสังฆทาน  เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่บรรพชนที่สร้างโรงพยาบาลฯ ที่ล่วงลับแล้วฯ

         เมื่อพิธีถวายสังฆทานผ่านไปแล้ว  มีนายแพทย์และนางพยาบาลจำนวนหนึ่งเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่  แสดงความดีใจที่หลวงปู่หายจากอาพาธครั้งนี้  พร้อมทั้งกล่าวปิยวาจาว่า  หลวงปู่มีสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี  หน้าตาสดใสเหมือนไม่ได้ผ่านการอาพาธมา คงจะเป็นผลจากการที่หลวงปู่มีภาวนาสมาธิจิตดี  พวกกระผมมีเวลาน้อยหาโอกาสเพียรภาวนาสมาธิได้ยาก  มีวิธีใดบ้างที่จะปฏิบัติได้ง่ายๆ หรือโดยย่อที่สุด ฯ

         หลวงปู่ตอบว่า

         "มีเวลาเมื่อไร  ให้ปฏิบัติเมื่อนั้น,   การฝึกจิต  การพิจารณาจิตเป็นวิธีลัดสั้นที่สุด."
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:31:27 pm »

ปฏิปุจฉา

        ด้วยความคุ้นเคยและอยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มาเป็นเวลานาน  เมื่ออาตมาถามปัญหาอะไรท่าน  หลวงปู่ท่านมักจะตอบด้วยการย้อนกลับคืน  ทำนองให้คิดหาคำตอบเอาเอง ฯ

        เช่นถามว่า  พระอรหันต์ท่านมีใจสะอาด  สว่างแล้ว  ท่านอาจรู้เลขหวยได้อย่างแม่นยำหรือครับ ฯ
         ท่านตอบว่า "พระอรหันต์  ท่านใส่ใจเพื่อจะรู้สิ่งเหล่านี้หรือ"

         ถามว่า  พระอรหันต์ท่านเคยนอนหลับฝันเหมือนคนธรรมดาด้วยหรือเปล่าครับ ฯ
         ท่านตอบว่า  "การหลับแล้วเกิดฝัน  เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ไม่ใช่หรือ."

         ถามว่าพระปุถุชนธรรมดายังหนาด้วยกิเลส  แต่มีความสามารถสอนคนอื่นให้เขาบรรลุถึงอรหันต์  เคยมีบ้างไหมครับหลวงปู่ ฯ
         ท่านตอบว่า "หมอบางคน  ทั้งที่ตัวเองยังมีโรคอยู่  แต่ก็เคยรักษาคนอื่นให้หายจากโรคได้  มีอยู่ทั่วไปไม่ใช่หรือ."

[หมายเหตุ Webmaster - การหลับแล้วฝันเป็นเรื่องของสังขารขันธ์ จึงหมายถึงย่อมเกิดขึ้นแก่ทุกคนที่ยังดำรงขันธ์อยู่  จึงยังคงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา]



ปรกตินิสัยประจำตัวของหลวงปู่

         ทางกาย  มีร่างกายแข็งแรง  กระฉับกระเฉงว่องไว  สมสัดส่วนสะอาดปราศจากกลิ่นตัว  มีอาพาธน้อย  ท่านจะสรงนํ้าอุ่นวันละครั้งเท่านั้น

         ทางวาจา   เสียงใหญ่  แต่พูดเบา  พูดน้อย  พูดสั้น  พูดจริง  พูดตรง  ปราศจากมายาทางคำพุด  คือ ไม่พูดเลียบเคียง  ไม่พูดโอ๋  ไม่พูดปลอบโยน  ไม่พูดประชด  ไม่พูดนินทา  ไม่พูดขอร้อง  ขออภัย  ไม่พูดขอโทษ  ไม่พูดถึงความฝัน  ไม่พูดเล่านิทานชาดกหรือนิทานปรัมปรา  เป็นต้น ฯ

          ทางใจ  มีสัจจะ  ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วทำโดยสำเร็จ  มีเมตตากรุณาเป็นประจำ  สงบเสงี่ยมเยือกเย็น  อดทน  ไม่เคยมีอาการกระวนกระวายวู่วาม  ไม่แสดงอาการอึดอัดหงุดหงิด หรือรำคาญ  ไม่แสวงหาของหรือสั่งสมหรืออาลัยอาวรณ์กับของที่สูญหาย  ไม่ประมาท  รุ่งเรืองด้วยสติสัมปชัญญะและเบิกบานอยู่เสมอ  เป็นอยู่โดยปราศจากทุกข์  ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์  ไม่ถูกภาวะอื่นครอบงำ

         ท่านสอนอยู่เสมอว่า

        "ให้ทำความเข้าใจกับสภาวธรรมอย่างชัดแจ้งว่า  เกิดขึ้น  เปลี่ยนแปลง  สลายไป  อย่าทุกข์โศกเพราะสภาวะนั้นเป็นเหตุ."
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:27:06 pm »

เขาต้องการอย่างนั้นเอง

         แม้จะมีคนเป็นกลุ่ม  อยากฟังความคิดเห็นของหลวงปู่เรื่องเวียนว่ายตายเกิด  ยกบุคคลมาอ้างว่า ท่านผู้นั้นผู้นี้สามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติว่าตนเคยเกิดเป็นอะไรบ้าง  และใครเคยเป็นแม่เป็นญาติกันบ้าง

         หลวงปู่ว่า

        "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้  แค่อุปจารสมาธิก็เป็นได้แล้วทุกอย่าง  มันออกไปจากจิตทั้งหมด  อยากรู้อยากเห็นอะไร  จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น และรู้ได้เร็วเสียด้วย   หากพอใจเพียงแค่นี้  ผลดีที่ได้ก็คือ ทำให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า  แล้วตั้งใจทำดี บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเยียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตน    ส่วนการที่จะกำจัดกิเลสเพื่อทำลายอวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง อีกอย่างหนึ่งต่างหาก."



ไม่มีนิทานสาธก

         อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่ตลอดระยะเวลายาวนาน  คำสอนของท่านไม่เคยมีนิทานสาธก หรือนิทานสนุกอะไรที่หลวงปู่ยกมาบรรยายให้ฟังสนุกๆเลย  ไม่ว่าชาดกหรือเรื่องประกอบปัจจุบันฯ

         คำสอนของท่านล้วนแต่เป็นสัจจธรรมขั้นปรมัตถ์  หรือไม่ก็เป็นคำจำกัดความอย่างกะทัดรัด  ชนิดระมัดระวัง หรือคล้ายประหยัดคำพูดอย่างยิ่ง  แม้แต่การสอนพิธีกรรม หรือศาสนพิธีและการทำบุญบริจาคทานอะไร   ในระดับศีลธรรมหลวงปู่ทำในระดับปล่อยวางหมด   ส่วนมากหลวงปู่กล่าวว่า

        "เรื่องพิธีกรรม  หรือบุญกริยาวัตถุต่างๆทั้งหลาย  ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยังใ ห้เกิดกุศลได้อยู่  หากแต่ว่าสำหรับนักปฏิบัติแล้ว  อาจถือได้ว่าเป็นไปเพื่อกุศลเพียงนิดหน่อยเท่านั้นเอง."
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:20:12 pm »

ไม่เคยเห็นหวั่นไหวในเหตุการณ์อะไร

         เวลา ๔ ทุ่มผ่านไปแล้ว  เห็นหลวงปู่ยังนั่งพักผ่อนอยู่ตามสบายจึงเข้าไปกราบเรียนว่า  หลวงปู่ครับ  หลวงปู่ขาวมรณภาพเสียแล้ว  หลวงปู่ก็แทนที่จะถามว่า  ด้วยเหตุใด  เมื่อไร  ก็ไม่ถาม  กลับพูดต่อไปเลยว่า

         "เออ  ท่านอาจารย์ขาว  ก็หมดภาระการแบกหามสังขารเสียที  พบกันเมื่อ ๔ ปีที่ผ่านมาเห็นลำบากสังขาร  ต้องให้คนอื่นช่วยเหลืออยู่เสมอ  เราไม่มีวิบากของสังขาร  เรื่องวิบากของสังขารนี้  แม้จะเป็นพระอริยเจ้าชั้นไหนก็ต้องต่อสู้จนกว่าจะขาดจากกัน  ไม่เกี่ยวข้องกันอีก  แต่ตามปรกติสภาวะของจิตนั้นมันก็ยังอยู่กับสิ่งเหล่านี้เอง เพียงแต่จิตที่ฝึกดีแล้วเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นย่อมละและระงับได้เร็วไม่กังวล  ไม่ยึดถือ  หมดภาระเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น  มันก็แค่นั้นเอง."



ผู้ที่เข้าใจธรรมะได้ถูกต้อง  หายาก

         เมื่อไฟไหม้จังหวัดสุรินทร์ครั้งใหญ่ได้ผ่านไปแล้ว  ผลคือความทุกข์ยากสูญสิ้นเนื้อประดาตัว  และเสียใจอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สิน  ถึงขั้นเสียสติไปก็มีหลายราย  วนเวียนมาลำเลิกให้หลวงปู่ฟังว่า  อุตส่าห์ทำบุญเข้าวัด  ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย  ทำไมบุญกุศลจึงไม่ช่วย  ทำไมธรรมะจึงไม่ช่วยคุ้มครอง  ไฟไหม้บ้านวอดวายหมด  แล้วเขาเหล่านั้นก็เลิกเข้าวัดทำบุญไปหลายราย  เพราะธรรมะไม่ช่วยเขาให้พ้นจากไฟไหม้บ้าน ฯ

         หลวงปู่ว่า

         "ไฟมันทำตามหน้าที่ของมัน  ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น  หมายความว่า  ความอันตรธาน  ความวิบัติ  ความเสื่อมสลาย  ความพลัดพรากจากกัน   มันมีประจำโลกอยู่แลัวสิ่งเหล่านี้(สภาวะธรรมชาติ-ผู้เขียน)   ทีนี้ผู้มีธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมะ เมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก  ไม่ใช่ธรรมะไม่ให้แก่  ไม่ให้ตาย  ไม่ให้หิว  ไม่ให้ไฟไหม้  ไม่ใช่อย่างนั้น."

[หมายเหตุ Webmaster - ผู้เขียนเมื่อปฏิบัติใหม่ๆอันเป็นไปตามความเชื่อความยึดเดิมๆที่แอบซ่อนอยู่ในจิตตามที่ได้สืบทอดกันต่อๆมา  การปฏิบัติจึงเป็นเพื่อหวังบุญ หวังกุศล ก็ด้วยหวังว่าบุญกุศลนั้นจะยังประโยชน์โดยตรง ในอันที่จะไม่ให้เกิดทุกข์  โศก โรคภัย ฯ กล่าวคือ เพื่อไม่ให้เกิด  ไม่ให้มี  ไม่ให้เป็น,  อยากให้เป็นดังนี้  ดังนั้น  เป็นต้น.  อันล้วนเป็นความเข้าใจผิดที่เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน หรือสีลัพพตปรามาส หรือ  อันเป็นธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์(สังโยชน์)  อันทำให้ไม่สามารถเจริญในธรรมได้เพราะความไม่เข้าใจสภาวธรรมอันถูกต้องแท้จริงดังที่หลวงปู่กล่าวไว้    เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงจะยังให้เกิดประโยชน์โดยตรงและยิ่งใหญ่ได้]



ต้องปฏิบัติจึงหมดสงสัย

เมื่อมีผู้ถามถึง  การตาย  การเกิดใหม่  หรือถามถึงชาติหน้า  ชาติหลัง  หลวงปู่ไม่เคยสนใจที่จะตอบ  หรือมีผู้กล่าวค้านว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่มีประการใด  หลวงปู่ไม่เคยคว้าหาเหตุผลเพิ่อจะเอาค้านใคร  หรือไม่เคยหาหลักฐานเพื่อยืนยัน  เพื่อให้ใครยอมจำนนแต่ประการใด  ท่านกลับแนะนำว่า

         "ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น  ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลังหรือนรกสวรรค์อะไรก็ได้  ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรง  ศีล  สมาธิ  ปัญญาอย่างแน่วแน่ก็พอ    ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็ได้เลื่อนฐานะตนเองโดยลำดับ    หรือถ้าสวรรค์นรกไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วขณะนี้ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุขเป็นมนุษย์ชั้นเลิศ  "การฟังจากคนอื่น  การค้นคว้าจากตำรานั้น  ไม่อาจแก้ข้อสงสัยได้  ต้องเพียรปฏิบัติ  ทำวิปัสสนาญาณ  ให้แจ้งความสงสัยก็หมดไปเองโดยสิ้นเชิง."

[หมายเหตุ Webmaster - เรื่องชาติหน้า ชาติหลัง  แม้องค์พระบรมศาสดาก็ไม่ทรงพยากรณ์ ดังความว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๑๐  เพราะความที่ไม่เป็นไปเพื่อการดับชาติ ชรา-มรณะ หรือก็คือเพื่อการดับทุกข์ในปัจจุบันแสดงใน จูฬมาลุงโกยวาทสูตร   ผู้ที่เกิดวิปัสสนาญาณแล้วก็ย่อมรู้ได้ด้วยอาการปัจจัตตังในที่สุด   แต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเยี่ยงไร ผู้ฟังก็ย่อมไม่สามารถเข้าใจหรือพิสูจน์ได้ตามคำสอนนั้นๆ นอกจากน้อมเชื่อด้วยศรัทธาหรือน้อมเชื่อแบบอธิโมกข์อันงมงาย    และไม่เป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ในปัจจุบัน จึงรังแต่จะเป็นโทษแก่ผู้ฟังเป็นที่สุด  และจะเป็นที่ถกเถียงกันไม่รู้จบ หาเหตุหาผลมาถกหักล้างกันไม่รู้จักสิ้น แม้ตราบเท่าทุกวันนี้  เพราะทั้งผู้พูดและผู้ฟังย่อมไม่สามารถพิสูจน์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นอะไรๆได้ตามตนเอง]
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:12:06 pm »

ไม่ยาก สำหรับผู้ที่ไม่ติดอารมณ์

        วัดบูรพารามที่หลวงปู่จำพรรษาตลอด ๕๐ ปี  ไม่มีได้ไปจำพรรษาที่ไหนเลย  เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง  หน้าศาลากลางติดกับศาลจังหวัดสุรินทร์  ด้วยเหตุนี้จึงมีเสียงรบกวนความสงบอยู่ตลอดเวลา  โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูงานช้างแฟร์หรือฤดูเทศกาลแต่ละอย่าง  แสงเสียงอึกทึกครึกครื้นตลอดเจ็ดวันบ้าง  สิบห้าวันบ้าง  ภิกษุสามเณรผู้มีจิตใจยังอ่อนไหวอยู่  ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างยิ่ง ฯ

         เมื่อนำเรื่องนี้กราบเรียนหลวงปู่ทีไร  ก็ได้คำตอบทำนองเดียวกันทุกครั้งว่า

         "มัวสนใจอะไรกับสิ่งเหล่านี้ ธรรมดาแสงย่อมสว่าง  ธรรมดาเสียงย่อมดัง  หน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นเอง   เราไม่ใส่ใจฟังเสียงก็หมดเรื่อง  จงทำตัวเราไม่ให้เป็นปฎิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม  เพราะมันมีอยู่อย่างนี้  เป็นอยู่อย่างนี้เอง  เพียงแต่ทำความเข้าใจกับมันให้ถ่องแท้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งเท่านั้นเอง."



กล่าวเตือน

         บางครั้งหลวงปู่แทบจะรำคาญกับพวกที่ปฏิบัติเพียงไม่กี่มากน้อย  ก็มาถามแบบเร่งผลให้ทันตาเห็น ฯ

         ท่านกล่าวเตือนว่า

         "การปฏิบัติ  ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม  เพื่อความละ  เพื่อคลายความกำหนัดยินดี  เพื่อความดับทุกข์  ไม่ใช่เพื่อสวรรค์วิมาน  หรือแม้แต่นิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น  ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ  ไม่ต้องอยากเห็นอะไร  เพราะนิพานมันเป็นของว่างไม่มีตัวไม่มีตน  หาที่ตั้งไม่ได้  หาที่เปรียบไม่ได้  ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง."



ละอย่างหนึ่ง  ติดอีกอย่างหนึ่ง

        ลูกศิษย์ฝ่ายคฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง  เข้านมัสการหลวงปู่  รายงานผลการปฏิบัติให้หลวงปู่ฟังด้วยความภาคภูมิใจว่า  ปลื้มใจอย่างยิ่งที่ได้พบหลวงปู่วันนี้  ด้วยกระผมปฏิบัติตามที่หลวงปู่แนะนำก็ได้ผลไปตามลำดับ คือ เมื่อลงมือนั่งภาวนาก็เริ่มละสัญญาอารมณ์ภายนอกหมด  จิตก็หมดความวุ่น  จิตรวม  จิตสงบ  จิตดิ่งลงสู่สมาธิ  หมดอารมณ์อื่น  เหลือแต่ความสุข  สุขอย่างยิ่ง  เย็นสบาย  แม้จะให้อยู่ตรงนี้นานเท่าไรก็ได้ ฯ

        หลวงปู่ยิ้มแล้วพูดว่า

        "เออ  ก็ดีแล้วที่ได้ผล  พูดถึงสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ  จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้  แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น  มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค  ที่จะตัดภพ  ชาติ  ตัณหา  อุปาทานได้  ให้ละสุขนั้นเสียก่อน  แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป."

[หมายเหตุ Webmaster - ภพ  ชาติ  ตัณหา  อุปาทาน ที่หลวงปู่กล่าวถึงนั้น หมายถึงองค์ธรรมต่างๆในปฏิจจสมุปบาท]


ตัวอย่างเปรียบเทียบ

        มรรคผลนิพพาน  เป็นสิ่งปัจจัตตัง  คือ  รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้  ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง  ผู้นั้นเห็นเอง  แจ่มแจ้งเอง  หมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง  มิฉนั้นแล้วจะต้องเดาเอาอยู่รํ่าไป  แม้จะมีผู้อธิบายให้ลึกซึ้งอย่างไร  ก็รู้ได้แบบเดา  สิ่งใดยังเดาอยู่สิ่งนั้นก็ยังไม่แน่นอน ฯ

         ยกตัวอย่างเช่น  เต่ากับปลา  เต่าอยู่ได้สองโลกคือ โลกบนบกกับโลกในนํ้า  ส่วนปลาอยู่ได้โลกเดียวคือในนํ้า  ขืนมาบนบกก็ตายหมด ฯ วันหนึ่ง  เต่าลงไปในนํ้าแล้ว  ก็พรรณนาความสุขสบายบนบกให้ปลาฟังว่า มันมีแต่ความสุขสบาย  แสงสีสวยงาม  ไม่ต้องลำบากเหมือนอยู่ในนํ้า ฯ

         ปลาพากันฟังด้วยความสนใจ และอยากเห็นบก  จึงถามเต่าว่า  บนบกลึกมากไหม  เต่าว่า มันจะลึกอะไร ก็มันบก ฯ
         เอ  บนบกนั้นมีคลื่นมากไหม   มันจะคลื่นอะไรก็มันบก ฯ

         เอ  บนบกมีเปือกตมมากไหม   มันจะมีอะไรก็มันบก ฯ
         ให้สังเกตดูคำที่ปลาถาม  เอาแต่ความรู้ที่มีอยู่ในนํ้าถามเต่า  เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ

         "จิตปุถุชนที่เดามรรคผลนิพพาน  ก็ไม่ต่างอะไรกับปลา."
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 12:00:59 pm »

ผลคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน

         แรม ๒ คํ่า เดือน ๑๑ เป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่  ซึ่งพอดีกับวันออกพรรษาแล้วได้ ๒ วันของทุกปี  สานุศิษย์ทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติก็นิยมเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่  เพื่อศึกษาและไตร่ถามข้อวัตรปฏิบัติ  หรือรายงานผลของการปฏิบัติตลอดพรรษา  ซึ่งเป็นกิจที่ศิษย์ของหลวงปู่กระทำอยู่เช่นนี้ตลอดมา ฯ

         หลังจากฟังหลวงปู่แนะนำข้อวัตรปฏิบัติอย่างพิสดารแล้ว หลวงปู่จบลงด้วยคำว่า

        "การศึกษาธรรม  ด้วยการอ่านการฟัง  สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้)  การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ  สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติ คือ ภูมิธรรม."


มีอยู่จุดเดียว

         ในนามสัทธิวิหาริกของหลวงปู่  มีพระมหาทวีสุข สอบเปรียญ ๙ ประโยค ได้เป็นองค์แรก  ทางวัดบูรพารามจึงจัดฉลองพัดประโยค ๙ ถวาย ฯ

         หลังพระมหาทวีสุขถวายสักการะแก่หลวงปู่แล้ว  ท่านได้ให้โอวาทแบบปรารภธรรมว่า  "ผู้ที่สามารถสอบเปรียญ ๙ ประโยคได้นั้น  ต้องมีความเพียรอย่างมาก  และมีความฉลาดเพียงพอ  เพราะถือว่าเป็นการจบหลักสูตรฝ่ายปริยัติ  และต้องแตกฉานในพระไตรปิฎก การสนใจทางปริยัติอย่างเดียวพ้นทุกข์ไม่ได้ ต้องสนใจปฏิบัติทางจิตต่อไปอีกด้วย." ฯ

         หลวงปู่กล่าวว่า

        "พระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น  ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด  ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิต  อยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต."



หวังผลไกล

         เมื่อมีแขกหรืออุบาสกอุบาสิกาไปกราบนมัสการหลวงปู่  แต่หลวงปู่มีปรกติไม่เคยถามถึงเรื่องอื่นไกล  มักถามว่า  ญาติโยมเคยภาวนาบ้างไหม?  บางคนก็ตอบว่าเคย  บางคนก็ตอบว่าไม่เคย  ในจำนวนนั้นมีคนหนึ่งฉะฉานกว่าใคร  เขากล่าวว่า  ดิฉันเห็นว่าพวกเราไม่จำเป็นต้องมาวิปัสสนาอะไรให้มันลำบากลำบนนัก  เพราะปีหนึ่งๆ ดิฉันก็ฟังเทศน์มหาชาติจบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ตั้งหลายวัด  ท่านว่าอานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาตินี้จะได้ถึงศาสนาพระศรีอาริย์  ก็จะพบแต่ความสุขความสบายอยู่แล้ว(สีลัพพตปรามาส-Webmaster) ต้องมาทรมานให้ลำบากทำไม ฯ

         "สิ่งประเสริฐอันมีอยู่เฉพาะหน้าแล้วไม่สนใจ  กลับไปหวังไกลถึงสิ่งที่เป็นเพียงการกล่าวถึง  เป็นลักษณะของคนที่ไม่เอาไหนเลย  ก็ในเมื่อมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์   กลับเหลวไหลไม่สนใจ  เมื่อถึงศาสนาพระศรีอาริย์  ก็ยิ่งเหลวไหลมากกว่านี้อีก."

[หมายเหตุ Webmaster - แสดงให้เห็นสีลัพพตปรามาสในการปฏิบัติหรือยึดถือ]


โลกนี้ มันก็มีเท่าที่เราเคยรู้มาแล้วนั่นเอง

        บางครั้งที่หลวงพ่อสังเกตเห็นว่า  ผู้มาปฏิบัติยังลังเลใจ  เสียดายในความสนุกเพลิดเพลินแบบโลกล้วน  จนไม่อยากจะมาปฏิบัติธรรมฯ

        ท่านแนะนำชวนคิดให้เห็นชัดว่า

        "ขอให้ท่านทั้งหลาย  จงสำรวจดูความสุขว่า  ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต  ครั้นสำรวจดูแล้ว  มันก็แค่นั้นแหละ  แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง  ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น  มากกว่านั้นไม่มีในโลกนี้  มีอยู่แค่นั้นเอง  แล้วก็ซํ้าๆซากๆอยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่รํ่าไป   มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า  ประเสริฐกว่านั้น  ปลอดภัยกว่านั้น  พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย  เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย  สงบจิต  สงบกิเลส  เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย."