ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 09:53:34 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่น้ำฝน ^^ พึ่งรู้ว่ามีแบบนี้ด้วย ขอบคุณครับพี่
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 03:37:22 pm »

 
 
 
                                  :13: :19: :13:
ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 02:57:50 am »

   
วิธีเปล่งเสียง 6 คำอักษร ขจัดโรค

 (ทำให้อายุยืน :19:)
 

祛病延年六字法
       

  ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ด้วยความรู้และสิ่งที่ได้รับจากการแพทย์แผนปัจจุบันแบบสูตรสำเร็จ เช่น กินอาหารให้ครบ 5 หมู่, ออกกำลังกาย, พักผ่อนให้เพียงพอ, หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์, ควบคุมจิตอารมณ์, ขับถ่ายของเสีย ฯลฯ ดูเหมือนจะไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาสุขภาพเสียแล้ว การแสวงหาภูมิปัญญาโบราณ ที่สั่งสมประสบการณ์นับพันๆ ปี เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โดยเน้นการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน เพราะรายละเอียดในแง่หลักการ, วิธีการ การปฏิบัติ มีความแตกต่างกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญในการอธิบายสิ่งต่างๆ ในสิ่งที่เป็นรูปลักษณ์  แต่เพียงด้านเดียว คือเน้นไปทางด้านวัตถุ หรือสิ่งที่มองเห็นแต่ขาดมิติของสิ่งที่ไร้รูปลักษณ์ คือพลังงาน พลังลมปราณเป็นตัวกำหนดความมีอยู่ของชีวิต พลังชีวิตที่มีอยู่จริง แต่มองไม่เห็น
              การฝึกพลังลมปราณ ชี่กง เพื่อปรับสมดุลของอวัยวะภายใน และการไหลเวียนของเลือด -พลังในเส้นลมปราณ ซึ่งเส้นลมปราณ จะเชื่อมต่อระหว่างอวัยวะภายในร่างกายกับภายนอกร่างกาย รวมถึงการเชื่อมต่อกับพลังแห่งคลื่นธรรมชาติ (ฟ้า-ดิน) การฝึกพลังลมปราณ ชี่กง เป็นวิถีการเชื่อมพลังร่างกาย-จิตใจ กับพลังธรรมชาติ ให้เป็นหนึ่งเดียวอีกวิธีหนึ่ง  เป็นศาสตร์ที่ลึกซึ้ง ล้ำลึก มีมิติทางจิตที่เป็นนามธรรม ไร้รูปลักษณ์ ควบคู่กับการเคลื่อนไหวภายนอก  และการหายใจที่มองเห็นได้
   

 
                   วิธีการฝึกลมปราณมีหลายวิธี มีเทคนิคง่ายๆ ที่จะแนะนำ คือ ..

                               “สูตรเสียง 6 คำอักษร”  
 
                    หลักการง่ายๆ คือ หายใจออกในท่าที่เหมาะสม พร้อมเปล่งเสียงที่มีลักษณะจำเพาะกับการกระตุ้นอวัยวะภายใน   
             
                    เสียงต่างๆ ที่กำหนดขึ้นตามอักษรจีน 6 คำ เสียงต่างๆ ที่เปล่งออกมายาวๆแรงๆขณะหายใจออกทางปาก จะทำให้มีการสั่นสะเทือนของอวัยวะภายในไม่เหมือนกัน
             
                    ท่าต่างๆ ถูกดัดแปลงให้สอดคล้องกับ การเคลื่อนไหวกระตุ้นของอวัยวะภายในเช่นกัน
                             
                             1. เสียง ซวี xu -บำรุงตับ
              ทำปกติ สรรพคุณ : บำรุงตับ ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นการไหลเวียนเส้นลมปราณตับ
                             
                             2. เสียง เคอ  ke - บำรุงหัวใจ – ขับร้อนของหัวใจ
              สรรพคุณ : ขับความร้อนของหัวใจ รักษานอนไม่หลับ ทำให้กระบังลมถูกยกขึ้นด้านบน
                             
                             3. เสียง ฮู hu -บำรุงม้าม
              สรรพคุณ: ช่วยการย่อยและการดูดซึมอาหาร, รักษากระเพาะอาหารหย่อนยาน
                             
                            4. เสียง ซือ si .- บำรุงปอด
              สรรพคุณ : บำรุงปอด ขับสิ่งก่อโรคที่รุกรานปอด
                             
                            5. เสียง ชุย chui - บำรุงไต
              สรรพคุณ : เสริมธาตุน้ำ, อินของไต
                             
                            6. เสียง ซี xi - บำรุงเวลาของระบบความร้อนของร่างกาย
              สรรพคุณ : ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดและพลังในช่องลำตัว คือทรวงอก- ช่องท้อง- อุ้งเชิงกราน ไหลคล่องตัวไม่ติดขัด
                             
              เทคนิคการหายใจที่สำคัญคือ หายใจเข้าทางจมูกยาวๆ หายใจออกทางปาก พร้อมการเปล่งเสียงที่ละอักษร เริ่มจาก ซวี, เคอ, ฮู, ซือ, ชุย, ซี คือ กระตุ้นอวัยวะ ตับ, หัวใจ, ม้าม, ปอด, ไต, ซานเจียว ตามลำดับ
             
              เปล่งเสียงแต่ละคำ 6 ครั้ง และพักปรับการหายใจ หายใจเข้าออกทางจมูก แล้วต่อด้วยเสียงคำอักษรตัวอื่นๆ ต่อไป 
             
              ในช่วงไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ระบาด ถ้าต้องการเน้นการขับพิษจากภายนอก และเสริมพลังปอด แนะนำการออกเสียง ซือ 呬 si ให้บ่อยๆ เพื่อบำรุงปอดและขับสิ่งก่อโรคที่รุกรานปอด
             
              การเปล่งเสียงตาม “สูตรเสียง 6 คำอักษร” 六字诀 เป็นวิธีที่ง่าย พึ่งตนเองได้ มีผลต่อการเสริมสร้างอวัยวะภายในโดยตรง ใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพ, ป้องกันโรค และรักษาโรคได้ แพทย์จีนเชื่อว่า ถ้าเลือดและพลังการไหลเวียนที่ดี ทำให้อินหยางสมดุล ทำให้พลังเจิ้งชี่ดี  ปัจจัยก่อโรคก็ทำอะไรไม่ได้  正气存内,邪不可干         









                                                                                                                                                                                                                         16 Sep 2009

 [float=right]Posted by นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล

Posted in Chinese Medicine[/float]










  :13:  :07:ขอขอบพระคุณ นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล ท่านเจ้าของ Post มา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ ..