ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 10:10:45 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป้ง^^
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: กันยายน 18, 2010, 08:33:34 pm »

โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ




     สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราแสดงธรรมอยู่ตลอดเวลา หากเราสังเกตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วพิจารณาสิ่งนั้นตามความเป็นจริงตามธรรมชาติของมัน เราก็จะได้เรียนรู้ธรรมะ เพราะธรรมะคือความจริงตามกฎธรรมชาติ (สัจธรรม) ซึ่งจะสอนใจเราให้คลายจากความทุกข์ลงไปได้

     ดังเช่นเรื่อง ของนรี (นามสมมุติ) สตรีสูงอายุผู้หนึ่ง ผู้มีความทุกข์กับลูกของตน

     นรีมีลูก 5 คน ลูกของนรีโตกันหมดแล้ว มีหน้าที่การงานมั่นคง บางคนรับราชการมีตำแหน่งหน้าที่สูง บางคนประกอบธุรกิจมีฐานะที่ไม่เดือดร้อน เหลือแต่ลูกชายคนเล็กที่นรีห่วงใยเป็นพิเศษ

     ลูกชายคนเล็กของนรีสอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาที่สถาบันแห่งหนึ่ง หากเรียนจบก็จะติดยศเข้ารับราชการเลย สถาบันที่ชื่อเสียงแห่งนี้เข้ายาก ต้องสอบแข่งขันกัน เมื่อลูกชายคนเล็กสอบได้ ย่อมนำความปลื้มปีติมาสู่นรีตลอดจนพี่ๆและเครือญาติ ถือว่าเป็นชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล

     แต่ความสุขและความภูมิใจในลูกชายคนเล็กของนรีก็เกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจากนรีปลูกฝังให้ลูกๆเคร่งครัดในศีลธรรม เมื่อลูกต้องอยู่ประจำตามกฎของสถาบัน ต้องใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนๆที่มาจากต่างถิ่นต่างครอบครัว ลูกของนรีจึงปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ เพราะเพื่อนร่วมหอพักสูบบุหรี่ กินเหล้า เที่ยวผู้หญิง ลูกของนรีจึงโดดเดี่ยวจากเพื่อน ทำให้เขารู้สึกไม่มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ความกดดันดังกล่าวทำให้เขาตัดสินใจลาออก โดยไม่ได้ปรึกษาทางบ้าน

     การตัดสินใจของลูกนำความผิดหวังและความทุกข์มาให้นรีตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ต่างเห็นว่าเขาไม่น่าจะตัดสินใจด้วยอารมณ์เช่นนี้เลย หลายคนเสียดายโอกาสอันหมายถึงอนาคตของเขา

     ความทุกข์ใจของนรีที่มีต่อลูกยังไม่ทันหมดไป ทุกข์ใหม่ก็ซ้ำเติมทับทวียิ่งขึ้นไปอีก เมื่อลูกชายคนเล็กเลือกประกอบอาชีพเกี่ยวกับความงามของสตรี และดูเหมือนว่าใจของเขาจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศอีกด้วย

     นรีทั้งเสียใจและอับอายในอาชีพและพฤติกรรมของลูก คิดถึงเรื่องนี้คราวใด ก็ทุกข์ใจคราวนั้น ความเสียใจและความรู้สึกอับอายทำให้นรีเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่ออกไปสมาคมนอกบ้านเหมือนเช่นเคย ลูกๆเห็นความทุกข์ของแม่ ต่างก็พลอยไม่สบายใจไปด้วย

     เช้าวันหนึ่งเมื่อนรีตื่นขึ้นมา เธอได้เปิดหน้าต่างมองออกไปภายนอก เห็นมะพร้าวทะลายหนึ่ง มะพร้าวทะลายนั้นไม่เพียงแต่กระทบตาของนรีเท่านั้น ยังกระทบเข้าไปในใจของเธออย่างแรง เธอสังเกตว่ามะพร้าวทั้งหลายนั้นมีลูกอยู่หลายลูก แต่ละลูกมีขนาดไม่เท่ากัน สีผิวก็ไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่เกิดจากมะพร้าวต้นเดียวกัน

     ภาพที่ปรากฏทำให้นรีนึกถึงลูกๆ ของเธอขึ้นมาทันที นรีมีลูกห้าคนนิสัยใจคอตลอดจนอาชีพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดุจดังผลมะพร้าวในทะลายนั้น แต่ละลูกย่อมต่างกันไปตามคุณสมบัติของมัน จะบังคับให้เหมือนกันได้อย่างไร ในเมื่อธรรมชาติของมันเป็นเช่นกัน

     ความทุกข์ของนรีที่อยากให้ลูกชายคนเล็กเป็นอย่างที่เธอปรารถนาโดยไม่ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ก็เหมือนกับจะบังคับให้มะพร้าวผลเล็กมีขนาดและสีผิวเหมือนกับมะพร้าวผลใหญ่หรือผลที่เธอถูกใจจะเป็นไปได้อย่างไร

     เมื่อเธอเห็นผลมะพร้าวในทะลายนั้นที่มีขนาดและสีผิวแตกต่างกันได้ โดยเข้าใจธรรมชาติความเป็นจริงของมันว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เธอจึงไม่ทุกข์ใจกับผลมะพร้าวทะลายนั้น ทำไมเธอจึงไม่ใช้การเห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้มาใช้กับลูกของเธอบ้าง

     การเห็นธรรมชาติความเป็นจริงของมะพร้าวทะลายนั้น ช่วยทลายความยึดมั่นสำคัญผิดที่นรีมีต่อลูกชายคนเล็กของเธอ เมื่อเธอยอมรับสถานภาพของเขา ทุกข์ที่เธอมีต่อเขาจึงหลุดออกจากใจของเธอ ณ ที่นั้นเอง

     ตั้งแต่นั้นมานรีรู้สึกสบายใจขึ้น ความปกติสุขได้กลับคืนมาในชีวิตของเธอและครอบครัวอีกครั้ง อันที่จริงแล้วอาชีพที่ลูกชายคนเล็กของเธอทำอยู่สร้างรายได้ให้เขาไม่น้อยเลย ดีกว่ารายได้ของพี่ๆที่รับราชการมานานเสียอีก และเขาก็มีความสุขกับอาชีพของเขา แม้เขาจะมีพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบน แต่เขาก็มีความสุขความพอใจในสิ่งที่เขาเป็นอยู่

     เรื่องของนรีไม่เพียงแต่จะโดนใจพ่อแม่หลายคนที่มีปัญหากับลูกเช่นนี้ แม้กับผู้มีความทุกข์ทั้งหลายก็มีพื้นฐานมาจากความยึดมั่นสำคัญผิดไม่ต่างไปจากนรีเลย

     ความทุกข์ของคนโดยทั่วไปนั้น ทุกข์เพราะไม่ได้ตั้งใจ เพราะเราเห็นว่ากายนี้ ใจนี้ เป็นตัวเรา เป็นของของเรา นอกจากนี้ยังเห็นว่าสิ่งที่เราได้ เรามี เราเป็น ตลอดจนที่เราสัมพันธ์ใกล้ชิด เป็นของของเรา เราจึงเอาความต้องการของเราเป็นใหญ่ที่จะบังคับให้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างที่เราปรารถนา ครั้นไม่ได้ตามที่ต้องการก็มีความทุกข์

     ชีวิตของคนเรามีทั้งสมหวังและผิดหวัง คราวใดที่เราสมหวังเราก็คิดว่ามีความสุข แท้จริงแล้วมีทุกข์ติดอยู่กับความสมหวังนั้นด้วย เช่น หากเรามีคู่ครองหรือลูกอันเป็นที่รักที่พอใจ เราก็คิดว่าเรามีความสุข เรามีความสุขอันเกิดจากความรักความพึงพอใจในคู่ครองหรือลูกนั้นอีกด้านหนึ่งเราก็มีความหวง ความห่วงใยเขา ความหวง ความห่วงใย เป็นความทุกข์ อยู่ติดกันกับความสุขนั่นเอง

     นอกจากนี้สิ่งทั้งหลายยังมีความเปลี่ยนแปลง ไม่อาจคงทนอยู่ได้ตลอดไป ด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงต้องพลัดพรากจากของรักของหวงด้วยกันทั้งสิ้น การพลัดพรากดังกล่าวเป็นความทุกข์

     พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า สุข-ทุกข์ เป็นของที่อยู่ด้วยกัน หากเราถือเอาสุข ก็ย่อมถือเอาทุกข์ไว้ก่อน เมื่อไม่วางสุขก็เท่ากับไม่วางทุกข์นั่นเอง

     เหมือนเหรียญมีสองด้าน คือด้านหัวกับด้านก้อย ถือด้านใดด้านหนึ่ง ก็ถืออีกด้านเอาไว้ด้วย จะเอาแต่ด้านเดียวไม่ได้เลย

     การเห็นและเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติและวางใจให้เที่ยงธรรม ไม่มีอคติในเรื่องต่างๆ จะ ช่วยรักษาใจให้พ้นทุกข์ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นทุกข์

 

ที่มา กัลยาณธรรม.คอม