ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 08:27:17 pm »

 :07: :07: :07:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2010, 11:10:44 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2010, 06:11:34 am »







ถ้าโดยพระอภิธรรม ท่านกล่าวไว้ในปริจเฉทที่ ๒ โสภณเจตสิกดังนี้

สติเจตสิก

๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์

สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้ โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ


สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ (นี่คือเหตุให้สัมมาสติเกิด)

1. อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ

2. อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ

3. อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล

4. ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้
(หลวงพ่อปราโมทย์พูดอยู่บ่อยๆ)

สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุศลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้


เหตุให้เกิดสติ โดยปกติ (หรือสติโดยทั่วไป) มี ๑๗ ประการ คือ

(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้ พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด

(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจดจำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด

(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต

(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้

(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้

(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ

(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ

(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้

(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้

(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้

(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม

(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้

(๑๔) สติเกิดขึ้นเพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)

(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้

(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้

(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้


- ขอสรุปง่ายๆ ว่า ถ้าระลึกรู้ในเรื่องทั่วๆไป ซึ่งคนที่ไม่ได้ฝึกวิปัสสนากรรมฐานก็ระลึกรู้ได้อยู่แล้ว คือสติโดยทั่วไป

- แต่ถ้าระลึกรู้ในกาย เวทนา จิต ธรรม จนสติเป็นอัตโนมัติ (เห็นกายใจไม่ใช่เรา) นั่นแหละสัมมาสติเกิดขึ้นแล้ว

- แต่ถ้าเรื่องของการปฏิบัติแล้ว สงสัยก็รู้ว่าสงสัย ที่อาตมานำเอาปริยัติมาตอบคงไม่ได้ทำให้คุณหยุดสงสัยได้ คงต้องตามรู้ตามดูกายใจเรื่อยไป จะเลิกสงสัยไปเอง เรื่องของการปฏิบัติมีแค่นั้น




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2010, 05:24:16 am »




           



                                               สติทั่วไป กับสัมมาสติ



                "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ด้วยประการดังนี้ 
 
-การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์   ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ 

-การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์  ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์       

- การทำไว้ในใจโดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)ที่บริบูรณ์  ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์   

- สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์    ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ 

- การสำรวมอินทรีย์(คือคือเมื่ออารมณ์กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีความเพียรรู้)
ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์


- สุจริต  ๓  ที่บริบูรณ์  ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์   

- สติปัฏฐาน ๔  ที่บริบูรณ์   ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์ 

- โพชฌงค์  ๗  ที่บริบูรณ์   ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์


- พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ ๒๐๓ ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร
 


           


     มิลินทปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงเหตุที่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วได้


" ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไปนานแล้วได้ด้วยอะไร? "

" ได้ด้วย สติ ขอถวายพระพร "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ล่วงไปนานแล้วสิ่งหนึ่ง บุคคลระลึกได้ด้วย จิต ต่างหาก ไม่ใช่ระลึกได้ด้วยสติ"

" ขอถวายพระพร มหาบพิตรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้แล้ว ระลึกไม่ได้มีอยู่หรือไม่? "

" มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า "

" ขอถวายพระพร ในเวลานั้นพระองค์ไม่มีจิตหรือ ? "

" จิตมี แต่เวลานั้นสติไม่มี "

" ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลระลึกได้ด้วย สติ ไม่ใช่ระลึกได้ด้วย จิต "

" ถูกดีแล้ว พระนาคเสน "


ปัญหาที่ ๑๑ ถาม สติเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดจากผู้อื่น

(เป็นสำนวนแปลของนายยิ้ม ปัณฑยางกูร จากหนังสือ "ปัญหาพระยามิลินท์" ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูกร พระนาคเสน สตินั้นเกิดขึ้นเอง หรือเกิดขึ้นต่อเมื่อมีคนเตือน

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดขึ้นได้ทั้ง ๒ ทาง

ม. แต่ความเห็นของข้าพเจ้า ว่า เกิดขึ้นเอง มิพักต้องมีคนอื่นเตือน

น. ถ้าเป็นอย่างพระองค์ตรัส คนก็ไม่ต้องมีครูอาจารย์คอยตักเตือนว่ากล่าว แต่นี่เพราะมิเป็นเช่นนั้น
จึงต้องมีครู มี อาจารย์ คอยให้สติในเมื่อเราพลั้งเผลอ

ม. จริง

จบวรรคที่ ๖