ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 08:49:09 pm »

 :06: ผมอยากอยู่ถึง 100 เหมือนกันครับ แต่ถ้าชะตาชีวิตเป็นอย่าไร ก็ให้เป็นไปครับ
แต่ผมคงอายุไม่ยืนเท่าไหร่ เอาเป็นว่า 69 ก็ได้ครับ ชอบเลขนี้สวยดี

แต่ทั้งหมดอยู่ที่ตัวเราเรื่องการทานอาหารและการดูแลสุขภาพด้วยครับ ถ้ารักษาตรงนี้ก็อยู่ได้นาน
ขอบคุณครับพี่แป้ง^^
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 06:45:43 pm »

ขอบคุณน้องแป้งค่ะ  ^_^

พี่ขออยู่สัก 65 ปีก็พอมั้งคะ

นานกว่านี้สงสารคนดูแล.... :06:
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 06:27:15 pm »

มีคำถามว่า อายุขัยของคนเราสูงสุดคือเท่าไร บางคนบอกว่าสูงสุด 150 ปี ต่ำสุด 120 ปี ซึ่งไม่ถูก เพราะมนุษย์เรามีระยะเจริญเติบโต 20-25 ปี และอายุขัย เป็น 5-7 เท่าของระยะเจริญเติบโต นั่นคือต่ำสุด 100 ปี สูงสุด 175 ปี ดังนั้น ถ้าจะอยู่ถึงอายุร้อยปี ไม่ใช่ความฝัน อีกแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากอยู่ถึงขนาดนั้นหรือไม่?



       
       ถ้าจะอยู่ร้อยปีก่อนอื่นต้องมีสุขภาพดี ซึ่งมาจากพื้นฐาน 4 ประการในชีวิตประจำวัน
       
       1. อารมณ์ ภาวะจิตที่สงบสุข คือ มีโภชนาการที่สมดุล
       2. อาหาร
       3. ออกกำลังกายพอเหมาะ
       4. พักผ่อนนอนหลับเพียงพอ
       
       โดยปกติแล้ว ประการที่สี่ชักจูงให้งดบุหรี่และเหล้าอีกด้วย
       การแพทย์แผนจีนจัดภาวะจิตใจเป็นอันดับหนึ่งในการบำรุงสุขภาพ กล่าวคือ ภาวะจิตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และผลพวงต่างๆ เกิดจากพฤติกรรม มองในแง่สรีระ คนเราอยู่ได้โดยอาศัยอวัยวะทั้ง 5
       
       คือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต ตัวอย่างกรณีโรงพยาบาลออกใบมรณบัตร มักจะระบุสาเหตุการตายว่า หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย เป็นต้น
       
       ถ้าผู้ป่วยตายด้วยเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เพราะเลือดเข้มข้นและสกปรก แสดงว่าตับหมดสมรรถภาพในการฟอกพิษหรือกลั่นกรองเลือดให้บริสุทธิ์ไหลเวียนไม่คล่องตัว ทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด
       
       ผู้ป่วยโรคหัวใจจำนวนมาก ก่อนหัวใจวายมักจะบันดาลโทสะ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำลายการทำงานของตับด้วย ฉะนั้น โปรดจำไว้ว่า อย่าโมโหโทโส เพราะไม่ช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ เลย มีแต่ทำลายร่างกายเท่านั้น
       
       ขอฝากคำขวัญให้ทุกท่านว่า “หัวเราะสามเวลา ห่างไกลโรคและยา”
       
       ทีนี้มาพูดเรื่องอาหารการกิน องค์การอนามัยโลกเตือนว่า คนเราเกิดโรคเนื่องจากสาเหตุ (1) รูปแบบการดำรงชีวิตไม่เหมาะสม (2) กินอาหารไม่สมดุล มีทั้งที่กินมากเกินและขาดแคลน นั่นคือ ไขมันมากเกิน แต่แร่ธาตุและวิตามินขาดแคลน
       
       สรุปคือ ไม่รู้จักกิน จึงทำให้เกิดโรค
       
       อยากจะถามว่า เรากินอาหารเพื่ออะไร คำตอบคือ (1) เพื่อดำรงชีพ (2) เพื่อป้องกันโรค (3) เพื่อรักษาโรค ตัวอย่างเช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ล้วนเกิดจากการกินทั้งนั้น
       
       ในเมื่อการกินทำให้เกิดโรคได้ ก็ต้องกินเพื่อรักษาโรคได้เช่นกัน
       
       Socrates บิดาแห่งแพทย์แผนปัจจุบัน เคยกล่าวเตือนว่า “จงกินอาหารให้เป็นยา อย่ากินยาเป็นอาหาร” จีนโบราณก็มีคำกล่าวว่า “ใช้อาหารรักษาโรคดีกว่ายา” แต่ทุกวันนี้มันกลับกันหมด
       
       แพทย์แผนจีนใช้วิธีมอง ฟัง ดม ถาม แมะ ก็สามารถ วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ตับมีปัญหา สีหน้าจะออกเขียว หัวใจมีปัญหา สีหน้าจะออกแดง ม้ามมีปัญหา สีหน้าจะออกเหลือง คนไข้หอบหืด สีหน้าจะออกขาว คนไข้ไตเสื่อม สีหน้าจะออกดำ
       
       ขอแนะว่าถั่วเขียวเหมาะสำหรับบำรุงตับ เพื่อให้ตับขับพิษออกจากร่างกาย แต่ก็ต้องกินให้ถูกวิธี คนทั่วไปมักจะต้มถั่วเขียวจนเละ ซึ่งไม่ถูกต้อง วิธีที่ถูกคือต้มให้น้ำเดือดประมาณ 5-6 นาทีก่อนที่ถั่วจะแตกเม็ด รินเอาน้ำออกซึ่งจะได้น้ำถั่วเขียวที่มีสีเข้มข้นที่สุด ดื่มแล้วมีสรรพคุณขับพิษสูงสุด จากนั้นเติมน้ำต้มถั่วต่อจนเละกินเป็นอาหาร
       
       หัวใจชอบสีแดงให้กินถั่วแดง ม้ามชอบเหลือง ให้กินถั่วเหลือง ปอดชอบสีขาวให้กินถั่วขาว ไตชอบสีดำให้กินถั่วดำ
       
       ถามว่า ทำไมถึงให้กินแต่ถั่ว? ก็เพราะตำรายาจีนมีคำว่า “คนเรากินถั่วทั้ง 5 จะสมบูรณ์พูนสุข” โภชนาการแผนจีนก็เน้นว่า “กินไม่พ้นถั่ว”
       
       ต่อไปจะพูดถึงรสชาติอาหาร เปรี้ยวบำรุงตับ ขมบำรุงหัวใจ หวานบำรุงม้าม เผ็ดบำรุงปอด เค็มบำรุงไต หมายความว่า ต้องกินให้ครบทุกรสชาติอย่างละนิด ให้เกิดสมดุล เช่นรสเปรี้ยวบำรุงตับ กินมากตับพัง จีนเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคตับมาก ในจีนเองต้องยกให้มณฑลชานซีครองแชมป์โรคตับ เพราะคนที่นั่นชอบกินน้ำส้มสายชู รสเผ็ดบำรุงปอด กินมากปอดพังเช่นกัน สถิติกระทรวงสาธารณสุขจีนปีที่แล้วระบุว่า ชาวเสฉวนและชาวหูหนานที่อพยพจากจีนใต้ไปอยู่ภาคเหนือ นำเอานิสัย ชอบกินพริกติดตัวไปด้วย นานวันเข้าเป็นโรคมะเร็งในปอดตามๆ กัน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ภาคใต้อากาศชื้น กินเผ็ดป้องกันความชื้นได้ แต่ภาคเหนืออากาศแห้ง กินเผ็ดมากจะทำลายปอด
       
       ถ้าถามว่ากินอาหารอย่างไรจึงจะเหมาะ มีหลักจำง่ายๆ ดังนี้ “สีสัน หยาบ-ละเอียด ดิบ-สุก คาว-เจ” หมาย ความว่า กินอาหารต้องคละกันหลากสีและหลายรสชาติ หยาบและแข็งควบคู่กับละเอียดและนิ่ม สุกควบคู่กับดิบ คาวควบคู่กับเจ ขอแนะนำว่า ต่อไปนี้ให้กินผักดิบผลไม้สดแต่ละมื้อ ถ้าเปลือกกินได้ ก็กินทั้งเปลือกจะยิ่งดี เพราะแพทย์แผนจีนถือว่า กินของดิบลดอาการร้อนใน แพทย์แผนปัจจุบันก็ยังถือว่า ผักผลไม้สดดิบให้วิตามินดีกว่า
       
       คนที่อยากได้ยาบำรุงร่างกาย อย่าลืมผักและผลไม้มีวิตามินสูง ถ้ากินให้ถูกวิธี ก็สามารถดูดซึมวิตามินเพียงพอต่อร่างกาย
       
       สิ่งที่ต้องการคือแคลเซียม ผู้หญิงควรกินแคลเซียมวันละ 3,000 มก. ขึ้นไป ผู้ชายกินวันละ 4,000 มก. ขึ้นไป พร้อมกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
       
       คนทั่วไปมักเข้าใจผิด คิดว่าแคลเซียมใช้สำหรับรักษา โรคไขข้ออักเสบ ที่จริงแล้วแคลเซียมช่วยกระตุ้นให้โลหิต ไหลเวียนด้วย นอกจากนั้น ยังป้องกันเส้นโลหิตแข็งตัว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรกินแคลเซียมให้เพียงพอ เพื่อให้เส้นโลหิตอ่อนตัว ความดันก็จะลดตาม ยาลดความดันก็ไม่ต้องกินมาก
       
       ขอฝากคำขวัญให้ทุกท่านว่า “อยากให้ร่างกายดี กินอาหารถูกวิธี อยากให้สุขภาพเยี่ยม อย่าลืมกินแคลเซียม”
       
       “อย่าลืม อาหารต้องมาก่อนยา พึงใช้ยาในยามวิกฤติเท่านั้น ขอให้อาหารที่มีคุณค่า การรักษาที่ดีที่สุดคือเวลา”
       
       หมายความว่า ตัวคุณเองต้องรู้จักรักษาตัวเอง ห้องครัวในบ้านเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุด ยากับอาหารมีความหมายเดียวกัน กินอาหารให้ถูกต้องก็คือยาที่ดีที่สุด การรักษาต้องต่อเนื่อง ไม่ใช่ทดลองแล้วก็หยุด
       
       (เรียบเรียงจากคำบรรยายของแพทย์แผนจีน)
       
       (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 118 กันยายน 2553 โดย กองบรรณาธิการ) -ผู้จัดการออนไลน์