ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 09:37:25 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 02:16:07 pm »

ฝันเห็นเสือ


เราต้องเข้าใจก่อนว่าสรรพสิ่งทั้งมวลเป็นเพียงภาพฉายของจิต เมื่อเราตรวจสอบลงไป เราก็จะพบว่าสรรพสิ่งที่ดูเหมือนว่าอยู่ภายนอกและเป็นจริง ล้วนแล้วแต่เป็นเหมือนกับความฝัน เป็นเพียงภาพฉายของจิตและไม่เป็นจริงในตัวเอง จากนั้นเราก็ก้าวต่อไปยังขั้นตอนของการตรวจสอบธรรมชาติของจิตนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนแรกนี้จึงได้ชื่อว่า “การรับรู้ว่าสิ่งต่างๆเป็นเพียงจิต” (snang ba sems su grub pa “snang ba” แปลว่า “ภาพ” “สิ่งปรากฏ” ส่วน “sems” แปลว่า “จิต”)

สำหรับเราแล้วการทำความเข้าใจความคิดนี้ด้วยตัวอย่างอาจจะง่ายขึ้น เมื่อพระอาจารย์ชาวอินเดียอตีศะเดินทางไปยังทิเบตเพื่อสอนธรรมะ ท่านก็ใคร่ครวญว่าจะสอนธรรมะให้แก่ชาวทิเบตอย่างไรดี เนื่องจากชาวทิเบตไม่คุ้นเคยกับคัมภีร์ทางธรรมของอินเดีย ท่านอยากจะสอนคำสอนเรื่องจิตรมาตรหรือคำสอนที่บอกว่ามีแต่จิตเท่านั้น ท่านจึงไต่ถามว่าชาวทิเบตรู้จักนักเล่นมายากลบ้างหรือไม่ และก็ได้คำตอบว่าไม่รู้จัก

ในประเทศอินเดียนั้นมีนักเล่นมายากลที่พบเห็นได้ทั่วไป เดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อแสดงมายากลต่างๆ พระอาจารย์ในพระพุทธศาสนาในอินเดียต่างก็ใช้ตัวอย่างของนักเล่นมายากลนี้ เนื่องจากชาวพุทธมักอ้างตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปในแต่ละท้องที่มาสนับสนุนประเด็นที่ต้องการจะสอน การสอนธรรมะให้แก่ชาวบ้านในอินเดียว่าสิ่งต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นของว่าง และภาพปรากฏของสิ่งเหล่านี้ไม่มีความจริงในตัวเอง พระอาจารย์มักจะอ้างการเล่นกลของนักมายากลเหล่านี้ เพื่อแสดงว่าสรรพสิ่งล้วนแต่เหมือนกับมายากล เมื่อนักเล่นมายากลแสดงให้เราเห็นว่าเกิดมีมายาที่เราเห็นเป็นจริงเป็นจังอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันมิได้เป็นเช่นนั้น เช่นมายากลที่แสดงว่ามีผู้หญิงที่ถูกเลื่อยออกเป็นสองท่อน ฯลฯ ภาพที่เราเห็นไม่ใช่ความจริง แต่เป็นเพียงการเข้าใจผิดของจิตที่ทำให้เราคิดไปว่ามันเป็นจริง ชาวอินเดียก็จะสามารถเข้าใจประเด็นนี้ได้โดยง่ายโดยเปรียบกับตัวอย่างเช่นนี้

ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์อตีศะรู้ว่าชาวทิเบตไม่มีนักมายากลที่ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ ก็ถามว่าชาวทิเบตรู้จักฝันหรือเปล่า เมื่อท่านทราบว่าชาวทิเบตก็ฝันเหมือนกัน ท่านก็ตกลงจะเปรียบเทียบกับความฝัน ทุกคนที่เคยฝันจะเข้าใจว่าในขณะที่ฝันอยู่นั้น เรารู้ตัวอยู่ว่ามีสิ่งต่างๆอยู่มากมายที่ดูราวกับเป็นจริง ความดูเหมือนจริงนี้มีมากจนกระทั่งว่าเรามีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยอารมณ์ต่างๆราวกับว่ามันเป็นจริงจริงๆ ราวกับว่าภาพที่เราเห็นในความฝันนั้นดำรงอยู่ภายนอกตัวเรา และดูราวกับว่าตัวเรานั้นขึ้นอยู่กับภาพในฝันที่เราเห็นอยู่นั้นเอง เช่นเราฝันเห็นเสือวิ่งมาหาเรา เราก็ตอบสนองด้วยความกลัวและความปรารถนาจะหนี แต่เมื่อเราตื่นขึ้น เราก็รู้ว่าเพียงแค่ฝันไป และเสือนั้นก็ไม่เคยมีอยู่จริง เสือนั้นเป็นเพียงภาพฉายของจิตในฝันเท่านั้น ปฏิกิริยาของเราต่อภาพในความฝันนั้นเป็นความผิดพลาด จิตไม่ได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ความฝัน คือเป็นเพียงภาพของเสือที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเองในความฝัน

ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานจะต้องเรียนรู้ที่จะมองสรรพสิ่งทั้งมวลในขณะที่ตื่นอยู่ ว่าเป็นเหมือนกับภาพฉายของจิตที่เห็นในความฝัน แม้ว่าภาพปรากฏในขณะที่ตื่นอยู่จะดูเป็นจริงเป็นจังในสายตาของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ หรือผู้ที่ยังไม่ตรัสรู้ แต่ในสายตาของผู้ปฏิบัติสมาธิแล้วทั้งหมดไม่ต่างอะไรจากภาพในฝัน ผู้ปฏิบัติธรรมจะรับรู้ภาพเหล่านี้ว่าเป็นเพียงการที่จิตแสดงตัวออกมาแล้วก็เข้าไปยังขั้นตอนต่อไป ดังนั้นเราจึงรับรู้จิตว่าเป็นต้นกำเนิดของประสบการณ์ของทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่รู้สำนึก แล้วก็เข้าใจความสำคัญของการรับรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของจิต

(จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)

http://soraj.wordpress.com/2009/03/22/%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad/