ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 09:38:57 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด 

อ้างถึง
ครั้งหนึ่งเคยได้มีโอกาสซักถามเกี่ยวกับศาสนาพุทธในธิเบต ได้สนทนาธรรม
และ  รับพรจากการสวดของท่านริมโปเชรูปนี้

ท่านมีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม   มีเมตตาและมีน้ำเสียงที่มีกังวานแจ่มใส
ฟังแล้วให้รู้สึกมีพลังศรัทธาใน  พระพุทธศาสนายิ่งๆขึ้นไป

 :13: อนุโมทนาครับพี่บัว^^
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 02:24:01 pm »

ครั้งหนึ่งเคยได้มีโอกาสซักถามเกี่ยวกับศาสนาพุทธในธิเบต ได้สนทนาธรรม
และรับพรจากการสวดของท่านริมโปเชรูปนี้

ท่านมีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม มีเมตตาและมีน้ำเสียงที่มีกังวานแจ่มใส
ฟังแล้วให้รู้สึกมีพลังศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งๆขึ้นไป

 :13:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 02:18:13 pm »

การละวางจากตัวตน

การบรรยายธรรมโดยท่านกุงกา ซังโป ริมโปเช เรื่องการละอัตตา

ห้องประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอมรินทร์พลาซ่า วันที่ 4 มีนาคม 2553


Kunga Sangbo Rinpoche at Khadiravana Center, Hua Hin

คำว่าการยึดตัวตนตรงกับศัพท์ภาษาทิเบตว่า “bdag dzin” (อ่านว่า “ตักซิน”) ตัก หมายถึงตัวข้าพเจ้า ซิน หมายถึง ยึด ตามปกติแล้วคนเรามักเคยชินกับการติดตัวตนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน คิดอะไรก็คิดถึงแต่ตัวเอง สามีตัวเอง ลูกตัวเอง ญาติพี่น้องตัวเอง ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมเพื่อมิให้ผู้คนยึดติดอยู่กับตัวตน ได้พยายามสอนให้เราเข้าใจถึงเรื่องศูนยตา เมื่อเรามีตัวตนเราก็จะแบ่งแยกตัวเรากับผู้อื่น นี่คือของฉัน นี่คือของคนอื่น นี่คือตัวของฉัน นี่คือตัวของคนอื่น เมื่อเราแยกแบบนี้ในตอนแรก ต่อมาเราก็จะเริ่มขยายจากตัวเราไปยังครอบครัว ไปยังญาติ ไปยังเพื่อน การทำแบบนี้แสดงให้เห็นว่าเรากำลังสร้างกรอบ เรากำลังสร้างอาณาจักรของเราที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เมื่อเราคิดเช่นนี้ รู้สึกเช่นนี้เราจะเกิดการยึดติด การผูกพัน และเราก็เริ่มที่จะไม่แคร์ผู้อื่น มันจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดตามกันมาเหมือนลูกโซ่

เมื่อเรายึดติดกับคนที่เรารัก เราก็อยากที่จะให้เค้ามีความสุข ไม่อยากให้มีทุกข์ เมื่อมีคนมาทำให้คนที่เรารักโกรธหรือเป็นทุกข์ เราก็จะไม่พอใจ เราจะมองว่าคนที่มาทำคนที่เรารักนั้นเป็นศัตรู เมื่อเรายึดติดในตัวบริวารเหล่านี้เราก็อยากที่จะทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับคนในเครือข่ายของเราเท่านั้น เราไม่ยอมเปิดใจยอมรับคนอื่น เมื่อต้องทำอะไรร่วมกับคนอื่นเราก็มักจะเกิดปัญหา ความรู้สึกหรือจิตแบบนี้เรียกว่าเป็นจิตที่ปรุงแต่ง เป็นตัวการที่ทำให้เรายังคงวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เรามีความรู้สึกว่ารัก ไม่รัก มีโลภะ โทสะ โมหะ ที่ยังทำให้เรายังคงเกิดอยู่บนโลกใบนี้ แล้วเราก็มีความทุกข์มากมาย ดังนั้นเราต้องมาพิจารณามองว่าสิ่งเหล่านี้นี่เองที่มาทำให้เราทุกข์ มาทำให้เกิดเป็นกฎแห่งกรรม

โลภะ โทสะ โมหะ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดมาจากตัวเรา เกิดมาจากจิตของเราเอง เราเองที่เป็นรากเหง้าของความทุกข์ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าและพระอาจารย์จำนวนมากจึงทรงแสดงธรรมให้สัตว์โลกเข้าใจว่าทุกข์มีสาเหตุมาจากไหน ทุกข์มีสาเหตุมาจากการยึดติดตัวตนนั่นเอง และที่สำคัญสอนให้เราเข้าใจว่าทุกข์มิได้เกิดมาจากร่างการเท่านั้นหากแต่ยังเกิดมาจากใจของเราด้วย

หากเราถามตัวเองว่าสิ่งที่เรียกว่าตัวตนนี้มันอยู่ที่ไหน ถ้าเราพูดว่า “บ้านของฉัน” ตัวตนอยู่ที่บ้านหรือเปล่า ถ้าพูดว่า “ตัวของฉัน” ตัวตนอยู่ที่ร่างกายใช่หรือไม่ ถ้าเราถามว่าตัวตนอยู่ที่ไหนแล้วพยายามคิดหาคำตอบ ถ้าหาจากข้างนอกแล้วไม่พบ เราก็ต้องมามองว่ามันอยู่ที่ตัวเราหรือไม่ เราเริ่มไล่ลงมาทีละส่วน ครูอาจารย์สอนว่าให้เราพิจารณาทีละส่วนอย่างเป็นลำดับขั้น ตัวตนอยู่ที่ผมหรือ ถ้าไม่ใช่ เราก็ไล่ลงมาที่ตา ที่จมูก ไล่ลงมาจนกว่าเราจะรู้ว่าตัวตนอยู่ที่ไหน ซึ่งจริงๆแล้วตัวตนเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับการที่สิ่งต่างๆมาบรรจบกัน ได้แก่ กาย เวทนา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอวัยวะใดๆในร่างกาย เมื่อเราตายไปสิ่งต่างๆที่มาบรรจบกันนี้ก็จะไปหาที่บรรจบใหม่ ตัวตนเป็นสิ่งที่เหมือนกับความฝัน เมื่อเราตื่นขึ้นฝันนั้นก็จางหายไป แท้จริงแล้วตัวตนไม่ได้มีอยู่ เป็นแค่เพียงสิ่งสมมติ เช่นเดียวกับถ้าเราเห็นเชือกเส้นหนึ่ง เราปล่อยให้จิตเราคิดปรุงแต่งไปว่าเป็นงู ทั้งที่มันเป็นแค่เชือกธรรมดา พระอาจารย์นาครชุนได้ให้ตัวอย่างไว้ตัวอย่างหนึ่งว่า มีอาคารอยู่หลังหนึ่ง อาคารหลังนี้ประกอบไปด้วย อิฐ หิน ดิน ปูน ทราย เรามองเห็นว่าอาคารหลังนี้นั้นมีอยู่ก็เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้มันประกอบกัน ถ้าหากเราค่อยๆรื้อลงมาทีละส่วนๆก็จะเห็นว่ามันเหลือแต่ความว่างซึ่งเป็นความจริงสูงสุด

ดังนั้นการเข้าใจประเด็นว่าตัวตนที่แท้คืออะไรสำคัญมากเพราะเป็นประเด็นที่ทำให้เราเข้าสู่การตรัสรู้ธรรม เราต้องมีปัญญาที่จะเข้าใจศูนยตา เข้าใจว่าการยึดตัวตนเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ การที่เราเอาแต่ทำบุญแต่ไม่เคยฝึกปฏิบัติภาวนาเราก็ไม่สามารถหลุดพ้นได้ การจะเข้าใจถึงความว่างทันทีทันใดนั้นมันไม่ได้เพราะตัวเรายังมีอยู่ ดังนั้นจึงต้องใช้สิ่งที่มีอยู่ข้างนอกทำให้เราเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่ข้างใน


http://soraj.wordpress.com/2010/04/28/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b8%99/