ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 09:52:12 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:33:45 pm »


วัชรสูตร ( 金剛經 - Diamond Sutra )
แปลโดย เสถียร โพธินันทะ
เรียบเรียง โดย เย็นเจี่ยวภิกขุ
เอื้อเฟื้อจากสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย


คลิ๊กเพื่ออ่าน.. ตามลำดับหัวข้อ ๐๑ -  ๓๒
>>> http://zensiam.com/book/290-diamondsutra-book



Shakyamuni’s preaching at Shravasti to the assembly of monks, bodhisattvas, devas and lay-people.

เพชรตัดทำลายมายา : วัชรสูตร
วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร หรือ วัชรสูตร หรือ ปรัชญาปารมิตาสูตร (Dimond That Cuts Through Illusion หรือ The Wisdom Sutra หรือ The Heart of Wisdom Sutra) หมายถึง พระสูตรที่มีหัวใจหลักอันเป็นปัญญา เพื่อให้ลุถึงฟากฝั่งโน้น(นิพพาน)   เนื้อหาหลักของพระสูตรนี้ว่าด้วยเรื่อง ความว่าง หรือ สุญญตา โดยเน้นว่า ขันธ์ 5 คือ ความว่าง

 ในบทที่ 6
        ภิกษุสุภูติกราบทูลพระผู้มีพระภาค “ ในกาลข้างหน้าหากจักมีสัตว์ใด เมื่อสดับพระธรรมคำสอนนี้แล้ว บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริงขึ้นได้หนอ ”

        พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ “ อย่ากล่าวอย่างนั้นสิสุภูติ เมื่อตถาคตดับขันธปรินิพพานล่วงไปแล้วห้าร้อยปี ก็ยังจะมีผู้ได้เสวยรสธรรมจากการปฏิบัติตามพระสัทธรรมนี้ เมื่อบุคคลเช่นนั้นได้ฟังพระธรรมคำสอนนี้เข้า จักบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสว่าพระสัทธรรมนี้คือสัจจะ ดังนั้นแล้ว จงสำเหนียกไว้เถิด ว่าบุคคลนั้นหาได้ปลูกฝังกุศลมูลเพียงในกาลสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวหรือในกาลสมัยแห่งพระพุทธเจ้าสองพระองค์ สาม สี่ หรือห้าพระองค์เท่านั้น แท้จริงแล้วเขาได้สั่งสมบุญกุศลมาตลอดพุทธะสมัยแห่งพระพุทธเจ้าอเนกอนันต์นับพันนับหมื่นพระองค์ บุคคลใดได้สดับพระธรรมซึ่งตถาคตได้ตรัสแสดง แล้วบังเกิดศรัทธาด้วยจิตบริสุทธิ์สว่างไสวแม้เพียงชั่วขณะจิตเดียว ตถาคตย่อมเห็นและรู้ว่าบุคคลนั้นจักเกิดปีติปราโมทย์อย่างไม่อาจประมาณได้ ไฉนจึงเป็นเช่นนั้น ”

        “ ก็เพราะเหตุว่า บุคคลเช่นนั้นไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดเนื่องด้วยตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ เขาไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรมและอธรรม ไม่ยึดมั่นว่านี้คือรูปลักษณะ นั่นไม่ใช่รูปลักษณะเช่นนั้น เพราะเหตุใด ก็เพราะว่า ถ้าบุคคลยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรม จิต บุคคลนั้นก็ยังผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ ถ้าเขายึดมั่นอยู่กับความคิดว่าไม่มีธรรม จิตเขาก็ยังผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ อยู่นั่นเอง

ฉะนั้นบุคคลจึงไม่พึงยึดถือผูกพันอยู่กับธรรมหรือคิดว่าธรรมเป็นสิ่งไม่มีอยู่ นี่คือนัยความหมาย เมื่อตถาคตกล่าวว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ ว่าธรรมที่เราแสดงมีอุปมาดั่งพ่วงแพ ” แม้แต่สิ่งที่ตถาคตสอนก็ต้องละเสีย จักกล่าวไปใยถึงที่ไม่ได้กล่าวเทศนา ”
ในบทสุดท้ายของพระสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ว่า



สรรพสิ่งปรุงแต่ง
ดุจความฝัน
ดุจพรายน้ำ ดุจสายฟ้า ดุจภูตหลอน
จงดูให้เห็นสิ่งเหล่านั้น
ด้วยการเพ่งภาวนา



คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
(ไป ไปเถอะ ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง!
สู่ความตรัสรู้! ความเบิกบาน)



http://phurich360d.spaces.live.com