ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 01:58:36 pm »

อชิตมาณพทูลถามปัญหาโดยถามในใจ

อชิตมาณพได้เห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระรัศมีเรื่อเรืองเหลืองอ่อน ถึงความบริบูรณ์ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ลำดับนั้นอชิตมาณพได้เห็นพระมหาปุริสลักษณะทั้ง ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคนั้นแล้วก็มีความร่าเริง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลถามปัญหาในใจว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกอ้าง (ชาติ) อายุ โคตร พร้อมทั้งลักษณะ และขอได้ตรัสบอกการถึงความสำเร็จในมนต์ทั้งหลายแห่งอาจารย์ของข้าพระองค์เถิด พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ย่อมบอกมนต์กะศิษย์มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้น มีอายุร้อยยี่สิบปี ชื่อพาวรีโดยโคตรลักษณะในกายของพราหมณ์พาวรีนั้นมี ๓ ประการ พราหมณ์พาวรีนั้นเรียนจบไตรเพท ในตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ คือ คัมภีร์อิติหาสพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ ถึงซึ่งความสำเร็จในธรรมแห่งพราหมณ์ของตน ย่อมบอกมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ฯ

อชิตมาณพทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ขอพระองค์จงบอกลักษณะทั้งหลายของพราหมณ์พาวรี ขอทรงบอกเพื่อมิให้ข้าพระองค์มีความสงสัยเถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมาณพ พราหมณ์พาวรีนั้น ย่อมปกปิด หน้าผากของตนด้วยลิ้นได้ มีขนขึ้นเป็นรูปอุณณาโลมชาติในระหว่างคิ้ว มีคุยหฐานอยู่ในฝัก ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ฯ

มหาชนทั้งหลาย ไม่ได้ยินเสียงใครที่ถามปัญหานั้นเลย เมื่อได้ฟังคำตอบที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว เกิดความพิศวง มีความโสมนัสประนมอัญชลี แล้วสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเป็นอะไรหนอ เป็นเทวดาหรือเป็นพรหม หรือเป็นท้าวสุชัมบดีจอมเทพ จึงได้ทราบถึงปัญหาอันมีผู้ถามในใจ ฯ

อชิตมาณพ ครั้นได้สดับการพยากรณ์ปัญหา ๕ ข้อแล้ว เมื่อจะทูลถาม ปัญหาสองข้อที่เหลือจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพราหมณ์พาวรีถามถึงธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์ตรัสพยากรณ์ข้อนั้นกำจัดความสงสัยของพวกข้าพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์เสียเถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป

เพราะอวิชชาเป็นความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เป็นศีรษะแห่งสังสารวัฏ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ

อนึ่ง เพราะอรหัตมรรควิชชา (วิชชาในอรหัตมรรค) ประกอบ ด้วย ศรัทธาสติ สมาธิ ฉันทะ  และวิริยะ อันเกิดร่วมกับตนยังศีรษะให้ตกไป เพราะเข้าถึงธรรมเป็นศีรษะด้วยความตั้งอยู่ในรสอันเดียวกันของอินทรีย์ทั้งหลาย

ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชชาเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป.
 

ลำดับนั้น อชิตมาณพมีความโสมนัสเป็นอันมาก เบิกบานใจ กระทำหนังเสือเหลืองเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทยุคลด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรี พร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลายขอไหว้พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรมาณพ พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ถึงความสุขเถิด ครั้นตรัสแล้วจึงทรงปวารณาว่า จงถามความสงสัยทุก ๆ อย่างของพราหมณ์พาวรี หรือของท่านเถิด

 อชิตมาณพครั้นเห็นพระพุทธองค์ประทานพระวโรกาสให้ทูลถามปัญหาที่สงสัยเช่นนั้น ก็นั่งลงประนมอัญชลี ทูลถามปัญหาต่อพระตถาคต ณ ที่นั้น ตามที่ปรากฎในอชิตมาณวกปัญหานิทเทส

ครั้นเมื่อจบพระคาถาที่พระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหา อชิตมาณพ พร้อมด้วยเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ คนก็บรรลุพระอรหัตเป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค และโสดาปัตติมรรคก็บังเกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน

ในบรรดาศิษย์ทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพถือตัวว่าเป็นผู้มีความรู้ยิ่งกว่าทุกคน ท่านคิดว่า อชิต มาณพนี้เป็นหัวหน้าของศิษย์ทุกคน เราไม่ควรถามปัญหาก่อน เพราะความเคารพในตำแหน่งผู้นำของอชิตมาณพนั้น ท่านจึงไม่ถามก่อน ครั้นเมื่ออชิตมาณพนั้นถามปัญหาแล้ว จึงถามปัญหาต่อพระศาสดาเป็นคนที่สอง

พระศาสดาทรงดำริว่า โมฆราชมาณพเป็นคนถือตัว ทั้งญาณของเขาก็ยังไม่แก่กล้าเต็มที่ ควรจะต้องทำให้ความถือตัวของเขาค่อย ๆ หมดไป จึงตรัสว่า โมฆราชเธอจงคอยก่อน ให้คนอื่น ๆ ถามปัญหาก่อน โมฆราชมาณพนั้น ครั้นถูกห้ามโดยพระศาสดาเช่นนั้น ก็คิดว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ เราเข้าใจว่า ไม่มีคนที่จะเป็นบัณฑิตเกินกว่าเรา ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้าไม่ทรงทราบความในใจ ย่อมไม่ตรัส พระศาสดาคงจักทรงเห็นโทษในการถามของเราเป็นแน่ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงนิ่งเสีย


ติสสเมตเตยยะทูลถามปัญหาของตน

ลำดับนั้น ติสสเมตเตยยะเมื่อจะทูลถามความสงสัยของตน จึงถามปัญหาว่า

ใครชื่อว่าผู้ยินดีในโลกนี้

ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร

ใครรู้อดีตกับอนาคต แล้วไม่ติดอยู่ใน ปัจจุบัน ด้วยปัญญา

พระองค์ตรัสสรรเสริญใครว่า เป็นมหาบุรุษ

ใครล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ ฯ
 

พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรเมตเตยยะ

ภิกษุเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วประพฤติพรหมจรรย์

มีตัณหาปราศไปแล้ว มีสติทุกเมื่อ

พิจารณาเห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าผู้ยินดีในโลกนี้

ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นรู้ซึ่งอดีตกับอนาคตแล้ว ไม่ติดอยู่ในปัจจุบันด้วยปัญญา

เรากล่าวสรรเสริญภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ

ภิกษุนั้นล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดใน

โลกนี้เสียได้ ฯ
 

จบเทศนาท่านก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับชฎิล ๑๐๐๐ คน บริวารของตน หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผม และหนวดของติสสเมตเตยยพราหมณ์และเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. ติสสเมตเตยยพราหมณ์และเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐นั้น เป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค





ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk-great-index-page.htm
อนุโมทนาครับ


ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 01:56:51 pm »

เทวดาบอกเรื่องพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

เทวดาตอบว่าดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ศากยบุตร ลำดับพระวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช มีพระรัศมีรุ่งเรือง เป็นนายกของโลกเสด็จออกผนวชจากพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุอภิญญาและทศพลญาณครบถ้วน ทรงมีพระจักษุในสรรพธรรม ทรงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสรู้แล้วในโลก มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรม ท่านจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด พระองค์จักตรัสพยากรณ์ข้อความนั้นแก่ท่าน ฯ

พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า สัมพุทโธ ก็เป็นผู้มีใจเฟื่องฟู ความโศกสลดก็เบาบางลงไป และเกิดปีติอันท่วมท้น มีใจชื่นชมเบิกบานเกิดความโสมนัส จึงถามเทวดานั้นว่า พระโลกนาถประทับอยู่ในคามนิคมหรือในชนบทไหน ข้าพเจ้าจะไปนมัสการพระบรมศาสดาได้ในที่ใด ฯ

เทวดาตอบว่าพระชินเจ้าผู้ศากยบุตร ทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญาประเสริฐกว้างขวาง ทรงปราศจากธุระ หาอาสวะมิได้ องอาจกว่านระ ทรงรู้ธรรมเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ประทับอยู่ในมณเฑียรของชนชาวโกศลในพระนครสาวัตถี ฯ


พราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ ๑๖ คนไปเฝ้าพระศาสดา

ลำดับนั้น พราหมณ์พาวรี เรียกพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นศิษย์มาสั่งว่า ดูกรมาณพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราจักบอกแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา บัดนี้ พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์เถิด ฯ

พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทั้งหลายซักถามว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วจะพึงรู้ว่า ท่านผู้นี้เป็นพระสัมพุทธเจ้าได้อย่างไรเล่า ขอท่านจงบอกสิ่งที่จะทำให้ข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้รู้จักพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด ฯ

พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า ก็มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ ที่ท่านทั้งหลายเล่าเรียนมามาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่พราหมณาจารย์ทั้งหลายพยากรณ์ไว้ว่า ถ้ามหาปุริสลักษณะนั้น มีอยู่ในวรกายของพระมหาบุรุษใด พระมหาบุรุษนั้น จะเป็นได้ ๒ อย่างเท่านั้น คือ ถ้าพระมหาบุรุษนั้นอยู่ครองเรือน จะพึงเป็นพระบรมมหาจักรพรรดิ์ จะทรงมีชัยชนะทั่วปฐพีนี้ จะทรงปกครองโดยธรรม ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาตรา ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม


พราหมณ์พาวรีสั่งให้ศิษย์ถามปัญหา ๗ ข้อกับพระศาสดา

เมื่อท่านทั้งหลายเห็นพระมหาบุรุษผู้ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการดังนี้ ท่านทั้งหลายก็จงกล่าวถามในใจ ถึง ๑. ชาติ (อายุ)  ๒. โคตร  ๓. ลักษณะ  ๔. มนต์ และ  ๕. ศิษย์เหล่าอื่นอีก และถามถึงปริศนาธรรมเรื่อง ๖. ธรรมอันเป็นศีรษะ และ ๗. ธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ถ้าว่าท่านนั้นเป็นพระพุทธเจ้าจริงแท้แล้ว ท่านก็จักตอบปัญหาที่ท่านทั้งหลายกล่าวถามในใจ ด้วยวาจาได้ ฯ

พราหมณ์มาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน คือ อชิตะ ๑ ติสสเมตเตยยะ ๑ ปุณณกะ ๑ เมตตคู ๑ โธตกะ ๑ อุปสีวะ ๑ นันทะ ๑ เหมกะ ๑ โตเทยยะ ๑ กัปปะ ๑ ชตุกัณณี ๑ ภัทราวุธะ ๑ อุทยะ ๑ โปสาลพราหมณ์ ๑ โมฆราช ๑  ปิงคิยะ ๑ ได้ฟังคำของพราหมณ์พาวรีแล้วก็ลาอาจารย์ กระทำประทักษิณแล้ว บ่ายหน้าต่อทิศอุดร มุ่งไปยังที่ตั้งแห่งแคว้นมุฬกะ เมืองมาหิสสติ

ในคราวนั้น พราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนได้เดินทางผ่านเมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมืองเวทิสะ เมืองวนนคร เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต จนถึงเมืองสาวัตถี



พระบรมศาสดาเสด็จออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อบ่มอินทรีย์ของเหล่าพราหมณ์ให้แก่กล้า


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ศิษย์ของพาวรีพราหมณ์ทั้ง ๑๖ คน มาพร้อมด้วยมหาชนเป็นอันมาก ทรงพระดำริว่า อินทรีย์ของพราหมณ์เหล่านั้นยังไม่แก่กล้าเพียงพอ อีกทั้งถิ่นนี้ก็ยังไม่เป็นที่สบายเหมาะแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า ปาสาณกเจดีย์ในเขตแคว้นมคธเป็นที่สบายเหมาะแก่พราหมณ์เหล่านั้น ถ้าเราแสดงธรรมในที่นั้น มหาชนก็จักบรรลุธรรม อีกทั้งพวกพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อเดินทางผ่านเข้าไปยังเมืองต่าง ๆ ก็จะมีมหาชนตามมามากยิ่งขึ้นไปอีก ผู้บรรลุธรรมก็จักมีมากขึ้น จะเป็นประโยชน์อันมหาศาล

ครั้นทรงพระดำริเช่นนั้นแล้ว จึงทรง เสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ออกจากกรุงสาวัตถีบ่ายพระพักตร์ไปยังกรุงราชคฤห์ ก่อนที่พวกพราหมณ์จะมาถึง พวกพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อก็มาถึงกรุงสาวัตถี เข้าไปสู่วิหาร เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีไปแล้ว ก็พากันเข้าไปถึงพระคันธกุฏี ได้เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แน่ใจว่า เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แล้ว เพราะจากลักษณะของรอยพระบาทเป็นรอยของผู้หมดกิเลสแล้ว เมื่อทราบดังนั้นแล้วจึงได้ออกเดินทางตามพระบรมศาสดาไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าสู่พระนครมีเสตัพยนครและกรุงกบิล พัสดุ์ เมืองกุสินารา เมืองมันทิระ เมืองปาวาโภคนคร เมืองเวสาลี เมืองราชคฤห์ เป็นต้นตามลำดับ หมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนก็ได้เดินทางพร้อมทั้งศิษย์ ๑๖,๐๐๐ คน ผ่านตามเมืองที่พระบรมศาสดาเสด็จผ่าน ผ่านเข้าเมืองใด มหาชนในเมืองเหล่านั้นก็ออกเดินทางติดตามมาอีกเป็นอันมากเพื่อจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา

จนกระทั่งเสด็จไปถึงปาสาณกเจดีย์ แขวงเมืองราชคฤห์ ก็ทรงหยุดประทับอยู่ ณ ที่นั้น พวกเหล่าพราหมณ์และมหาชนก็ได้ตามพระบรมศาสดาจนถึงปาสาณกเจดีย์ ครั้นได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ ที่นี้ ก็เกิดปิติ ปราโมทย์พากันขึ้นภูเขาไปสู่พระเจดีย์นั้น เหมือนบุคคลผู้กระหายน้ำย่อมยินดีต่อน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ายินดีต่อลาภใหญ่ และเหมือนบุคคลถูกความร้อนแผดเผายินดีต่อร่มเงา ฉะนั้น

ก็ในขณะนั้นพระผู้มีพระภาค แวดล้อมด้วยหมู่พระภิกษุสงฆ์ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ ประหนึ่งราชสีห์บันลือเสียงกังวานกระหึ่มอยู่ในป่า





ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 01:55:01 pm »

สมัยพระสมณโคดมพุทธกาล

เมื่อเวลาผ่านไปพุทธันดรหนึ่ง ในภัทรกัป สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรายังไม่ทรงอุบัติ พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้นที่บังเกิดเป็นเทวดาเสวยสุขอยู่ในเทวโลกก็ได้จุติลงมาเกิดในโลกมนุษย์

พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้นที่บังเกิดเป็นเทวดาเสวยสุขอยู่ในเทวโลกก็ได้จุติจากเทวโลก

พระราชาเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้ามหาโกศลผู้เป็นพระชนกของพระเจ้าปเสนทิ มีชื่อว่า พาวรี ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการ ได้เล่าเรียนวิชาพราหมณ์จนจบไตรเทพ ครั้นเมื่อบิดาล่วงลับไปก็ได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทน

ส่วนอำมาตย์ผู้ใหญ่ ๑๖ คนนั้น ในภพสุดท้ายนี้ หนึ่งในนั้นก็ถือปฏิสนธิในครอบครัวพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อว่า ติสสเมตเตยยะ และอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่เหลืออีก ๑๕ คน และอำมาตย์ที่เป็นบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่กรุงสาวัตถีนั้นนั่นเอง

ท่านติสสเมตเตยยะเมื่อมีอายุพอจะศึกษาศิลปวิทยาแล้ว  บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นศิษย์คนหนึ่งในจำนวนศิษย์ ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ซึ่งท่านและศิษย์ผู้ใหญ่อีก ๑๕ คนนั้นต่างก็มีศิษย์คนละ ๑,๐๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๖,๐๐๐ คน

เมื่อพระราชามหาโกศลได้เสด็จ สวรรคต พระเจ้าปเสนทิจึงได้อภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ พาวรีพราหมณ์ก็ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทินั้นอีก พระราชาได้พระราชทานสิ่งของที่พระชนกพระราชทานไว้ และสมบัติอื่นแก่พาวรีปุโรหิตเป็นอันมาก พระราชานั้นเมื่อยังทรงพระเยาว์ ก็ได้เรียนศิลปะในสำนักของพาวรีปุโรหิตเหมือนกัน


พาวรีปุโรหิตออกบวช

ลำดับนั้น พาวรีได้ทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวช พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ เมื่อท่านดำรงอยู่ก็เหมือนบิดาของข้าพเจ้ายังอยู่ ท่านอย่าบวชเลย พาวรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช  ข้าพระองค์จักบวชแน่พระเจ้าข้า พระราชาเห็นว่าไม่ทรงสามารถห้ามได้ จึงทรงขอร้องว่า ขอท่านจงบวชอยู่ในพระราชอุทยานนี้เถิด ข้าพเจ้าจะได้เห็นทุกเย็นและเช้า อาจารย์พร้อมด้วย ศิษย์ ๑๖ คน กับบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้บวชเป็นดาบสอยู่ในพระราชอุทยาน พระราชาทรงบำรุงด้วยปัจจัย ๔ เสด็จไปทรงอุปัฏฐากอาจารย์นั้น ทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า.


พราหมณ์พาวรีย้ายสำนักออกไปนอกพระนคร

อยู่มาวันหนึ่งศิษย์ทั้งหลายกล่าวกะอาจารย์ว่า การอยู่ใกล้พระนครมีเครื่องพัวพันมาก ท่านอาจารย์เราไปหาโอกาสที่ไม่มีชนรบกวนเถิด ชื่อว่าการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นประโยชน์มากแก่บรรพชิตทั้งหลาย อาจารย์ รับว่า ดีละ จึงไปทูลพระราชา พระราชาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้งก็ไม่สามารถจะห้ามได้ จึงพระราชทานกหาปณะ ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะ รับสั่งกะอำมาตย์ทั้ง หลายว่า พวกเจ้าทรงสร้างอาศรมถวาย ในที่ที่คณะฤๅษีปรารถนาจะอยู่เถิด แต่นั้นอาจารย์พร้อมด้วยชฏิล ๑๖,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้รับอนุเคราะห์จากพวก อำมาตย์จึงออกจากอุตตรชนบท มุ่งหน้าไปทักษิณชนบท

ครั้นเมื่อพาหมู่คณะเดินทางมาถึงบริเวณใกล้พรมแดนใน ระหว่างสองแคว้น คือ แคว้นอัสสกะและแคว้นมุฬกะซึ่งเป็นภุมิประเทศที่ แม่น้ำโคธาวารีแยกออกเป็นสองสาย แล้วมาบรรจบกันอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นเกาะกว้างยาวประมาณ ๓ โยชน์ เกาะทั้งหมดปกคลุมไปด้วยป่ามะขวิด เมื่อก่อน ณ บริเวณนั้นสรภังคดาบสเป็นต้นได้อาศัยอยู่

อาจารย์เห็นเช่นนั้นแล้วจึงประกาศแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า ประเทศนี้เป็นที่อยู่ของสมณะมาก่อน ประเทศนี้สมควรแก่นักบวช พวกอำมาตย์จึงได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แก่พระเจ้าอัสสกะ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ให้แก่พระเจ้ามุฬกะ เพื่อการครอบครองถือเอาภูมิประเทศนั้น พระราชาทั้งสองนั้นได้พระราชทานที่บริเวณเกาะนั้นและบริเวณอื่นประมาณ ๒ โยชน์ รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕ โยชน์ ซึ่งอยู่ในระหว่างเขตรัฐสีมาของพระราชาเหล่านั้น พวกอำมาตย์ก็ได้สร้างอาศรม ณ ที่นั้นแล้วและให้นำทรัพย์มาจากกรุงสาวัตถีมาจัดตั้งเป็นโคจรคามเสร็จแล้วพากันกลับไป.

พาวรีพราหมณ์และเหล่าศิษย์ ทั้ง ๑๖,๐๑๖ คนก็เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวภิกขาและผลไม้ ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านซึ่งเลื่อมใสในวัตรของพราหมณ์ เข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่บนที่ดินของพราหมณ์เหล่านั้น โดยได้รับอนุญาตจากพวกพราหมณ์ เกิดเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ชาวบ้านที่อาศัยพราหมณ์พาวรีนั้นก็เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยผลอันเกิดจากการกสิกรรม ครั้นครบรอบปีเหล่าชาวบ้านก็รวบรวมเงินจากแต่ละครอบครัวเพื่อเป็นส่วยให้แก่พระราชา และถือเอาส่วยนั้นไปเฝ้าพระเจ้าอัสสกะ ทูลกับพระราชาว่า ขอพระองค์ทรงรับส่วยนี้เถิด พระเจ้าอัสสกะตรัสว่า เราไม่รับ พวกท่านจงนำไปถวายอาจารย์เถิด พวกชาวบ้านก็นำส่วย ๑๐๐,๐๐๐ นั้นมามอบต่อพาวรีพราหมณ์

 พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเงินทอง ก็ไม่พึงสละทรัพย์สินมากมายของเราออกบวช พวกท่านจงรับเอากหาปณะของพวกท่านคืนไปเสีย พวกชาวบ้านบอกว่า พวกเราจะไม่ยอมรับทรัพย์ที่พวกเราบริจาคแล้วอีก ยิ่งไปกว่านั้นพวกเราจะนำทรัพย์มาให้ท่านทำนองนี้ทุก ๆ ปี ถ้าท่านไม่รับเพื่อประโยชน์ตนเองละก็ ขอท่านจงรับกหาปณะเหล่านี้ไว้ให้ทานก็แล้วกัน พราหมณ์จึงยอมรับทรัพย์ดังกล่าวไว้ โดยเก็บไว้ในเพื่อการให้ทานแก่ผู้กำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจก

อาจารย์นั้นกระทำมหายัญคือ คือการให้ทานจากทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำทุก ๆ ปี ปีละครั้งอย่างนี้ กิติศัพท์การทำมหาทานของพราหมณ์พาวรีก็กระจายไปทั่วชมพูทวีป

พราหมณ์พาวรีโดนพราหมณ์ผู้มาขอรับทานสาปแช่ง

ครั้งนั้น ในหมู่บ้านทุนนวิตถะ ในแคว้นกลิงคะ นางพราหมณีสาว ผู้เป็นภริยาของพราหมณ์เฒ่าผู้เกิดมาในวงศ์ของชูชกพราหมณ์  ได้ทราบข่าวการทำทานดังกล่าวของพราหมณ์พาวรี จึงลุกขึ้นเตือนพราหมณ์ผู้เป็นสามีว่า เขาว่า พาวรีกำลังให้ทาน ท่านจงไปรับบริจาคเงินทองมาจากที่นั้น พราหมณ์นั้นถูกพราหมณีพูดดังนั้นก็ไม่อาจทนอยู่ได้จึงได้ออกเดินทางไปยังสำนักของพราหมณ์พาวรี ครั้นเมื่อไปถึง ก็เป็นวันที่พราหมณ์พาวรีได้กระทำมหาทานไปเสียแล้วตั้งแต่เมื่อวันวาน ซึ่งเมื่อให้ทานแล้ว พราหมณ์พาวรีก็เข้าบรรณศาลากำลังนอนนึกถึงทานที่ตนได้กระทำไปนั้น

ครั้นเข้าไปถึงก็พูดว่า “ท่านพราหมณ์ โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด ท่านพราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด “

พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านมาไม่ถูกเวลา เราให้ทานแก่พวกยาจกที่มาถึงไปแล้ว บัดนี้ไม่มีกหาปณะดอก “

พราหมณ์พูดว่า “ท่านพราหมณ์ ข้าไม่ต้องการกหาปณะมากมายเลย ข้าขอเพียง ๕๐๐ กหาปณะ ” 

พาวรีพราหมณ์ “ท่านพราหมณ์ ๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มี เมื่อถึงเวลาให้ทานครั้งหน้า ท่านจึงได้ “

พราหมณ์พูดว่า “ก็เวลาท่านให้ทาน ข้าจักมาได้อย่างไร” แล้วจึงทำกลอุบายเพื่อให้พาวรีพราหมณ์เกิดความกลัว โดยก่อทรายเป็นสถูปใกล้ประตูบรรณศาลา โรยดอกไม้สีแดงไปรอบ ๆ ทำปากขมุบ ขมิบเหมือนบ่นมนต์แล้วพูดว่า “เมื่อเราขอ แล้วท่านไม่ให้ไซร้ ในวันที่ ๗ ศีรษะของท่านจะแตก ๗ เสี่ยง “

พราหมณ์พาวรีฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เกิดสะดุ้งหวาดกลัว เป็นผู้มีทุกข์ซูบซีด ไม่บริโภคอาหาร เมื่อเป็นผู้เต็มไปด้วยความทุกข์อย่างนี้ ใจก็ไม่ยินดีในการบูชาเทพและเทวดาทั้งหลาย

เทวดาบอกปริศนาธรรม

เทวดาผู้สถิตอยู่ ณ บรรณศาลานั้น เห็นพราหมณ์พาวรีมีทุกข์สะดุ้งหวาดหวั่น จึงเข้าไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า พราหมณ์นั้นไม่รู้จักศีรษะ เป็นผู้หลอกลวง ต้องการทรัพย์ ไม่มีความรู้ในในเรื่อง ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ฯ

พราหมณ์พาวรีถามว่าบัดนี้ ท่านรู้จักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะฟังคำของท่าน ฯ

เทวดาตอบว่าแม้เราก็ไม่รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป เราไม่มีความรู้ในธรรมทั้ง ๒ นี้ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นธรรมอันเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ย่อมมีเฉพาะในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

พราหมณ์พาวรีถามว่า ในปัจจุบันนี้ มีใครเล่าในปฐพีมณฑลนี้ที่รู้ ขอท่านเทวดาจงบอกบุคคลผู้รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไปนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 01:52:20 pm »

ประวัติพระติสสเมตเตยยเถระ
บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตระพุทธเจ้า


ในกัล์ปนับจากภัทรกัล์ปนี้ไปแสนหนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ได้ทรงทำให้มหาชนเป็นอันมาก ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้

ในสมัยนั้น ท่านได้เกิดเป็นดาบสชื่อโสภิตะ อาศัยอยู่ในยอดเงื้อมแห่งภูเขา เที่ยวเสาะหาและบริโภคแต่ผลไม้ที่หล่นเอง ในเวลานั้น ท่านได้เที่ยวแสวงหาธรรมอันเพื่อนำไปสู่พรหมโลก โดยการบูชาเพลิง ในตลอดเวลาจึงนำเอาฟืนสำหรับติดไฟมาสุมไฟให้ลุกโพลง

ในครั้งกระนั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงมีพระประสงค์จะโปรดท่านดาบส จึงเสด็จมายังสถานที่ท่านดาบสบูชาไฟ แล้วตรัสว่า ขอท่านจงให้ฟืนแก่เรา เราจะทำการบูชาไฟ และเพราะการบูชาไฟนั้น ความบริสุทธิ์จักมีแก่เรา?

โสภิตดาบสทูลว่า ดูกรท่านผู้ผู้เจริญ ท่านเข้าใจความประสงค์ของเทวดาดี ขอเชิญท่านบูชาไฟเถิด ขอท่านจงเอาฟืนสำหรับติดไฟไป.ลำดับนั้น พระชินเจ้าทรงถือเอาฟืนนั้นต่อกับกองเพลิงที่ติดไฟลุกโพลงอยู่ และทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้ไฟไม่ลุกติดฟืนนั้น

พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า ท่านดาบส ไฟของท่านดับเสียแล้ว เครื่องบูชาของท่านไม่มีแล้ว การบูชาไฟของท่านไร้ประโยชน์ เชิญท่านลองบูชาไฟของเราบ้างซิ.

โสภิตดาบสทูลถามว่า ดูกรท่านผู้มีความเพียร ไฟของท่านเป็นเช่นไร ขอจงบอกไฟของท่านแก่เรา เมื่อท่านบอกแก่เราแล้ว เราทั้งสองจะได้บูชาไฟนั้น?

พระบรมศาสดาทรงตรัสว่าการบูชาของเรามี ๓ ประการนี้ คือ เพื่อดับธรรมอันเป็นเหตุ ๑ เพื่อเผากิเลส ๑ เพื่อ (เพราะ) ละความริษยา และตระหนี่ ๑.

โสภิตดาบสทูลถามว่า ดูกรท่านมหาวีระผู้นิรทุกข์ ท่านมีความเป็นมาอย่างไร มีโคตรอย่างไร อาจาระและข้อปฏิบัติของท่านเราเลื่อมใสนัก.

พระบรมศาสดาทรงตรัสตอบว่า เราเกิดในสกุลกษัตริย์ บำเพ็ญเพียรจนถึงที่สุดแห่งอภิญญา มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ของเราไม่มี

ข้าแต่พระองค์ผู้ส่องแสงสว่าง ทรงบรรเทาความมืด ถ้าพระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าพระองค์จักขอนมัสการพระองค์ พระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์.แล้วท่านดาบสก็ได้เอาหนังสัตว์มาปูลาดถวายเป็นที่ประทับนั่ง แล้วอาราธนาพระสัพพัญญูให้ทรงประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น โสภิตดาบสทำการอุปัฏฐากพระองค์ นิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เข้าไปยังภูเขา เก็บผลมะพลับสุกใส่หาบจนเต็ม แล้วนำมาปอกคลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้งแล้ว ถวายแด่พระพุทธเจ้า ในขณะเมื่อท่านมองดู พระพุทธเจ้าทรงเสวยอยู่นั้น ก็บังเกิดจิตเลื่อมใสในพระองค์

พระปทุมุตระพุทธเจ้า ทรงประทับนั่งอยู่ในอาศรมแล้วตรัสว่า ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้อังคาสเราด้วยผลมะพลับด้วยมือของตนเอง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

ผู้นั้นจักได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๒๕ ครั้งและจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง เมื่อผู้นั้นประสงค์ ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน อันควรค่าของเหล่านั้นก็จักบังเกิดขึ้นในทันที ผู้นี้จักเป็นผู้บันเทิงพร้อมและเป็นผู้มีความสบายทุกเมื่อ ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น จักเป็นผู้มีสุขทุกแห่ง จักได้เป็นมนุษย์ ผู้นั้นเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ได้เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จักเป็นพระอรหันต์

ท่านได้กระทำกรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นละจากภพมนุษย์นี้ไปแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิมนุษย์และเทวดา


บุรพกรรมสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

มีเรื่องอยู่ว่า ครั้งอดีตกาลสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีช่างไม้คนหนึ่งชาวกรุงพาราณสี มีความรู้ทางด้านช่างไม้อย่างไม่มีใครเทียบในสำนักอาจารย์ของตน ช่างไม้นั้นมีศิษย์ ๑๖ คน ศิษย์คนหนึ่ง ๆ มีศิษย์คนละ ๑,๐๐๐ คน รวมอาจารย์และศิษย์เหล่านั้นเป็น ๑๖,๐๑๗ คนอย่างนี้ ทั้งหมดนั้นอาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการเอาไม้ในแถบภูเขามาสร้างเป็นปราสาทชนิดต่าง ๆ แล้วผูกแพนำมาขายยังกรุงพาราณสีทางแม่น้ำคงคา หากพระราชาทรงต้องการก็จะสร้างปราสาทชั้นเดียว หรือเจ็ดชั้นถวาย หากไม่ทรงต้องการ ก็จะขายคนอื่นเลี้ยงบุตรภรรยา.

ลำดับนั้นวันหนึ่ง อาจารย์ของศิษย์เหล่านั้นคิดว่า เราไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการเป็นช่างไม้ได้ตลอดไป เพราะถึงคราวแก่ตัวลงก็จะทำงานนี้ได้ยาก จึงเรียกศิษย์ทั้งหลายมาบอกว่า นี่แน่ะท่านทั้งหลาย พวกท่านจงไปนำต้นไม้ที่มีแก่นน้อยมีน้ำหนักเบา เช่นต้นมะเดื่อเป็นต้นมาให้เรา ศิษย์เหล่านั้นรับคำแล้วต่างก็ ไปนำมา อาจารย์นั้นเอาไม้นั้นมาประดิษฐ์เป็นรูปนกแล้วใส่เครื่องกลไกเข้าไปภายในนกนั้น นกไม้ยนต์นั้นก็สามารถบินขึ้นสู่อากาศดุจพญาหงส์ เที่ยวไปเบื้องบนป่าแล้วบินลงเบื้องหน้าศิษย์ทั้งหลาย

ลำดับนั้น อาจารย์จึงถามศิษย์ทั้งหลายว่า นี่แน่ะท่านทั้งหลาย เราทำพาหนะไม้เช่นนี้ได้ ก็จะสามารถยึดราชสมบัติได้ การเลี้ยงชีพด้วยศิลปะการเป็นช่างไม้ลำบาก ศิษย์เหล่านั้นจึงได้ดำเนินการตามที่อาจารย์สั่ง ครั้นสำเร็จแล้วจึงได้แจ้งให้อาจารย์ทราบ ลำดับนั้นอาจารย์จึงปรึกษากับพวกศิษย์ว่า เราจะยึดราชสมบัติที่ไหนก่อน พวกศิษย์ตอบว่า ยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีซิ ท่านอาจารย์ อาจารย์กล่าวว่า อย่าเลยพวกท่าน ไม่ดีดอก เพราะแม้พวกเราจะยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีได้ ก็จะไม่พ้นจากการพูดถึงอาชีพเดิมของเราคือช่างไม้ว่า เราเป็นพระราชาช่างไม้ เรามีพระยุพราชช่างไม้ ชมพูทวีปออกใหญ่โต เราไปที่อื่นกันเถิด

ลำดับนั้น พวกศิษย์พร้อมด้วยลูกเมียขึ้นนกยนต์พร้อมด้วยอาวุธ มุ่งหน้าไปหิมวันตประเทศ เข้าไปยังนครหนึ่งในหิมวันต์ แล้วพากันบุกเข้าไปถึงพระราชมณเฑียรนั่นเองด้วยนกยนต์ ศิษย์เหล่านั้นก็สามารถยึดราชสมบัติในนครนั้นได้โดยง่าย จากนั้นจึงอภิเษกอาจารย์ไว้ในฐานะพระราชา ชื่อว่าพระเจ้ากัฏฐวาหนะ นครนั้นจึงได้ชื่อว่า กัฏฐวาหนคร

พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงดำรงอยู่ในธรรม ทรงตั้งพระยุพราช และทรงตั้งศิษย์ทั้ง ๑๖ คน ไว้ในตำแหน่งอาจารย์ พระราชาทรงสงเคราะห์ศิษย์เหล่านั้นด้วยสังคหวัตถุ ๔ จึงเป็นแคว้นที่มั่งคั่ง สมบูรณ์และไม่มีอันตราย ทั้งชาวเมืองชาวชนบทนับถือพระราชาและข้าราช การเป็นอย่างยิ่ง พูดกันว่า พวกเราได้พระราชาที่ดี ข้าราชบริพารก็เป็นคนดี.

อยู่มาวันหนึ่ง พวกพ่อค้าจากมัชฌิมประเทศ นำสินค้ามาสู่กัฏฐวาหนนคร และนำเครื่องบรรณาการไปเฝ้าพระราชา พระราชาตรัสถามว่า พวกท่านมาจากไหน พวกพ่อค้าทูลว่า ขอเดชะ มาจากกรุงพาราณสีพระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามเรื่องราวทั้งหมด ณ กรุงพาราณสีนั้นแล้วตรัสว่า พวกท่านจงนำมิตรภาพของเราไปทูลกับพระราชาของพวกท่านเถิด พ่อค้าเหล่านั้นรับพระราชดำรัสแล้ว พระราชาพระราชทานเสบียงแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น เมื่อถึงเวลาไปยังตรัสชี้แจงด้วยความใส่พระทัย

พวกพ่อค้ากลับไปกรุงพาราณสีได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากแคว้นกัฏฐวาหะ แล้วทรงให้ป่าวประกาศว่า พระราชากัฏฐวาหนะจงเป็นพระสหายของเรา พระราชาทั้งสองได้เป็นมิตรกันโดยไม่ได้เห็นกันเลย แม้พระราชากัฏฐวาหนะ ก็ทรงให้ป่าวประกาศไปทั่วนครว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านจงงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากกรุงพาราณสี และควร ให้เสบียงแก่พวกเขาด้วย.

ลำดับนั้นพระเจ้าพาราณสี ทรงส่งพระราชสารไปถวายแด่พระเจ้ากัฏฐวาหนะว่า หากมีอะไรแปลก ๆ อันสมควรเพื่อจะเห็น เพื่อจะฟังในชนบทนั้นเกิดขึ้นเพื่อให้ข้าพระองค์ได้เห็นและได้ฟังบ้าง ก็ขอได้โปรดพระราชทานพระกรุณาด้วย พระราชกัฏฐวาหนะทรงส่งพระ ราชสารตอบถวายพระราชาพาราณสีเหมือนกัน พระราชาทั้งสองทรงกระทำกติกากันอยู่อย่างนั้น

คราวหนึ่ง พระราชากัฏฐวาหนะได้ผ้ากัมพลเนื้อละเอียดยิ่งนัก มีค่ามากเหลือเกิน มีสีคล้ายรัศมีพระอาทิตย์อ่อน ๆ พระราชากัฏฐวาหนะทอดพระเนตรเห็นผ้ากัมพลเหล่านั้น ทรงดำริว่า เราจักส่งไปให้สหายของเราจึงให้ช่างทำงา สลักผอบงา ๘ ใบ เอาผ้ากัมพลใส่ลงในผอบเหล่านั้น ผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก ก็สามารถบรรจุลงในผอบงาใบเล็ก ๆ ได้ จากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับครั่งทำก้อนครั่งกลมหุ้มข้างนอก เอาครั่งเป็นก้อนกลม ๘ ก้อนใส่ไว้ในสมุก เอาผ้าพันไว้ประทับตราแล้วทรงส่งอำมาตย์ไป รับสั่งว่า พวกท่านจงนำไปถวายพระราชาพาราณสี และทรงจารึกพระอักษรว่า บรรณาการนี้ อันหมู่อำมาตย์ท่ามกลางพระนครพึงสนใจ และส่งให้พวกอำมาตย์นำ ไปถวายแด่พระเจ้าพาราณสี

พระเจ้าพาราณสีทรงอ่านคำจารึกแล้วรับสั่ง ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ทรงแกะตราประทับแล้วคลี่ผ้าพันออก เมื่อเปิดสมุกก็ทรงเห็นก้อนครั่งกลม ๘ ก้อน พระเจ้าพาราณสีทรงอายว่าสหายของเราส่งก้อนครั่งกลมให้เรา คล้ายกับให้เด็กอ่อนเล่นก้อนครั่งกลม จึงทรงทุบก้อนครั่งก้อนหนึ่ง ณ พระที่นั่งของพระองค์ ทันใดนั้นเอง ครั่งก็ แตกออก ผอบงาจึงตกมาแล้วแยกออกเป็นสองส่วน ทอดพระ เนตรเห็นผ้ากัมพลอยู่ข้างใน จึงทรงเปิดผอบอื่น ๆ ออกดู ในผอบแต่ละใบได้บรรจุผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอกเหมือน ๆ กัน มหาชนเห็นดังนั้นต่างก็ได้มีความพอใจว่า พระราชากัฏฐวาหนะ ซึ่งเป็นพระอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นกัน) ของพระราชาของเราทรงส่งบรรณาการเช่นนี้มาถวาย การทำไมตรีเช่นนี้สมควรแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียกพ่อค้ามาตีราคาผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ พ่อค้าเห็นผ้ากัมพลนั้นแล้วกราบทูลว่า ผ้ากัมพลทั้งหลายนี้ประมาณค่ามิได้เลย ลำดับนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงดำริว่า การส่งบรรณาการตอบแทน ก็ควรจะส่งให้เหนือกว่าบรรณการที่ส่งมาถวาย สหายของเราส่งบรรณาการหาค่ามิได้มาให้เรา เราควรจะส่งอะไรให้สหายดีหนอ.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะทรงอุบัติขึ้นแล้ว ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี ครั้งนั้นพระราชาได้มีพระราชดำริว่า สิ่งอื่นจะ สูงสุดยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มี เอาเถิด เราจะส่งข่าวว่าพระรัตนตรัยเกิดขึ้นแล้ว แก่สหาย พระเจ้าพาราณสีนั้น ตรัสให้จารึกคาถานี้ว่า

พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นพร้อมแล้วในโลก

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวง

พระธรรม เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก

เพื่อความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง

พระสงฆ์เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก

เป็นบุญเขต ที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ดังนี้
 

และให้จารึกการปฏิบัติของภิกษุรูปหนึ่งตราบเท่าถึงพระอรหัต ด้วยชาดสีแดงลงบนแผ่นทอง ใส่ลงในสมุกทำด้วยแก้ว ๗ ประการ ใส่สมุกนั้นลงในสมุกทำด้วยแก้วมณี ใส่สมุกทำด้วยแก้วมณีลงในสมุกแก้วตาแมว ใส่สมุกแก้วตาแมวลงในสมุกทับทิม ใส่สมุกทับทิมลงในสมุกทองคำ ใส่สมุกทองคำลงในสมุกเงิน ใส่สมุกเงินลงในสมุกงาช้าง ใส่สมุกงาช้างลงในสมุกไม้แก่น ใส่สมุกไม้แก่นลงในหีบ เอาผ้าพันหีบแล้วประทับตราพระราชลัญจกร ทรงให้นำช้างเมามันตัวประเสริฐ มีธงทองคำประดับด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทองให้ตกแต่งบัลลังก์บนช้างนั้น แล้วยกหีบวางไว้บนบัลลังก์ กั้นเศวตฉัตร บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิด ขับเพลงสรรเสริญหนึ่งร้อยบท ด้วยกังสดาลทุกชนิด เคลื่อนไป แล้วทรงให้ตกแต่งทางตลอดระยะไปจนถึงเขตรัฐสีมาของพระองค์ แล้วทรงนำไปด้วยพระองค์เอง เสด็จประทับอยู่ ณ ทางนั้น

ทรงนำไปจนถึงเขตรัฐสีมาของพระราชากัฏฐวาหนะ พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงสดับข่าวนั้น ก็เสด็จมาต้อนรับ ทรงกระทำการต้อนรับเหมือนเช่นที่พระราชาแห่งกรุงพาราณสีทรงกระทำ แล้วทูลเชิญให้เสด็จเข้าพระนคร รับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ และพวกชาวพระนคร ทรงเปลื้องผ้าพันออก ณ พระลานหลวง ทรงเปิดหีบทอดพระเนตรเห็นสมุกในหีบ แล้วทรงเปิดหีบทั้งหมดตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นจารึกบนแผ่นทองคำ ทรงพอพระทัยว่า สหายของเราทรงส่งรัตนบรรณาการ ซึ่งหาได้ยากอย่างยิ่งตลอด แสนกัป พวกเราได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟังว่า พุทโธ โลเก อุปปนโน พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้

ทรงดำริว่า ถ้ากระไรเราควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และฟังพระธรรม ดังนี้แล้วตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมารับสั่งว่า ได้ยินว่า พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ อุบัติแล้วในโลก พวกท่านคิดว่าควรจะทำอะไร อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ประทับอยู่ ณ ที่นี้แหละ พวกข้าพระองค์จักไปฟังข่าวดู พระเจ้าข้า

ลำดับนั้น อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวาร ๑๖,๐๐๐ คน ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ผิว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระพุทธเจ้าก็คงไม่มีการกลับมาเห็นอีก หากว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติ พวกข้าพระพุทธเจ้าก็จักกลับมา กราบทูลดังนั้นแล้วก็ถวายบังคมลาแล้วก็พากันเดินทางไป ฝ่ายพระเจ้าหลานเธอของพระราชาพระองค์หนึ่ง ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไป พระราชาตรัสว่า เมื่อเจ้าทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ณ ที่นั้นแล้ว จงกลับมาบอกเราด้วย พระเจ้าหลานเธอรับพระบัญชาแล้วจึงได้ไป พวกเขาแม้ทั้งหมดไปตลอดทางพักเพียงราตรีเดียว ก็ถึงพระนครพาราณสี

ในระหว่างที่พวกอำมาตย์ยังเดินทางไปกรุงพาราณสีนั่นเอง ยังไม่ทันถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อเหล่าอำมาตย์มาถึง พวกเขาก็เที่ยวไปจนทั่ววิหาร แลเห็นเหล่าพระสาวกอยู่กันพร้อมหน้า จึงถามว่าใครเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน พระสาวกเหล่านั้นจึงบอกแก่พวกเขาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว เหล่าอำมาตย์จึงถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ยังมีอยู่หรือไม่ พระสาวกเหล่านั้นกล่าวว่า มีอยู่ อุบาสก คือพึงตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย พึงสมาทานศีล ๕ พึงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ พึงให้ทาน พึงปฏิบัติธรรม

อำมาตย์เหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วพากันบวชทั้งหมด เว้นแต่อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอนั้น อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอ ถือ เอาบริโภคธาตุ  (ต้นโพธิ์ บาตรและจีวร เป็นต้น ชื่อว่า บริโภคธาตุ) มุ่งหน้ากลับไปยังแคว้นกัฏฐวาหนะ พระเจ้าหลานเธอนี้ถือเอาธมกรก (หม้อกรองน้ำ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพาพระเถระรูปหนึ่งผู้ทรงธรรมและวินัยไปยังพระนครโดยลำดับ ได้กราบทูลพระราชาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกและเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้กราบทูลถึงโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ พระราชาเสด็จเข้าไปหาพระเถระฟังธรรมแล้วรับสั่งให้สร้างวิหาร ประดิษฐานพระเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์ ทรงดำรงอยู่ในพระรัตนตรัย และ ศีล ๕ เป็นนิจ ทรงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทรงให้ทาน ทรงดำรงอยู่ตราบเท่าอายุแล้วไปยังบังเกิดในกามาวจรเทวโลก แม้อำมาตย์ ๑๖,๐๐๐ คน ก็พากันบวช แล้วมรณภาพเยี่ยงปุถุชน ยังไม่ได้มรรคผลอันใด แล้วได้ไปเกิดเป็นบริวารของพระราชาผู้เป็นเทวดานั้นนั่นเอง.