ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 10:49:46 pm »

 :yoyo101: ขอบคุณศิษย์พี่น้ำฝนครับ เขียนกวีพันอักษรร้อยเรียงภาพได้น่าอ่านมากๆ
ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 09:09:31 pm »

 
     




วรรณคดีจีน ..

กวีพุทธ – หวางเหว่ย




 鸟 鸣 涧 (เหนี่ยวหมิงเจี้ยน)
สกุณาร้องเหนือธาร . .

人 闲 桂 花 落 (เหยินเสียนกุ้ยฮัวลั่ว)
๐ คนไร้ - ไม้ดอกกุ้ย หล่นลา

夜 静 春 山 空 (เย่จิ้งชุนซานคง)
คืนสงัดวสันต์ภูผา เปล่าร้าง

月 出 惊 山 鸟 (เยวี่ยชูจิ้งซานเหนี่ยว)
จันทร์โผล่ส่องสกุณา ตระหนกตื่น

时 鸣 春 涧 中 (สือหมิงชุนเจียนจง)
แจ้วเจื่อยเสียงไปกว้าง หุบห้วยแห่งวสันต์ ๐



หวางเหว่ย กวีเอกยุคราชวงศ์ถัง

หวางเหว่ย 王 维 เป็นกวีที่มีท่วงทำนองของบทกวีเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง ถึงขนาดเรียกว่าเป็น “สกุลช่าง” สกุลหนึ่ง  .. เขาก็เขียนอะไร ๆที่มันดูเรียบ ๆ เหมือนบรรยายทิวทัศน์ อย่างเช่นบทนี้..

วรรคที่หนึ่งบอกว่า - ในที่ซึ่งปราศจากผู้คน ดอกกุ้ยฮัวร่วงหล่นลง

วรรคที่สองบอกว่า – ที่นั้นคือบนภูดอยที่ว่างไร้ยามราตรีในฤดูใบไม้ผลิ

วรรคที่สามบอกว่า – ครั้นดวงจันทร์ออกมาฉายส่องบนฟ้า ทำให้นกตกใจ (นึกว่าสว่างแล้ว)

วรรคที่สี่บอกว่า - นกจึงพากันร้องระงมเสียงก้องลำธารยามฤดูใบไม้ผลิ

ท่านผู้อ่าน อ่านแล้วเห็นภาพสภาพแวดล้อมบนภูดอยในคืนที่เงียบสงัด ขณะนั้นเป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศอบอุ่น
สบาย ทันใดนั้นพระจันทร์ก้เจิดกระจ่างขึ้นมาทันทีทันใด เหล่านกภูดอยพากันตื่นร้องเสียงเจื้อยแจ้วดังก้องไปตามลำห้วย...

 . .อย่างนี้เอง ที่ปราชญ์จีนเขายกย่องนักกวีที่เขียนบทกวีได้เยี่ยมยอด และจิตรกรที่วาดภาพได้เยี่ยมยอดว่า..




“ ในกวีมีภาพ 诗 中 有 画


ในภาพมีกวี 画 中 有 诗

บทกวีของหวางเหว่ยแทบทุกบท เป็นตัวอย่างความสำเร็จของนักกวีที่เขียนบทกวีได้ถึงขั้น “ในกวีมีภาพ”

นี่เป็นความสำเร็จขั้นที่หนึ่ง ..

ยังมีความสำเร็จของกวีขั้นที่สองอีก

นั่นคือ “สื่อสร้างจินตนาการได้ไม่จำกัด”

คุณลักษณะของบทกวีที่ต่างจากคำประพันธ์ประเภทอื่น ๆ ก็คือ “บทกวีใช้คำจำกัด สื่อสร้างจินตนาการไม่จำกัด”
อ่านบทกวีบทนี้แล้ว ผู้อ่านร้อยคนก็มีจินตนาการได้มากกว่าร้อยอย่าง เพราะคนอ่านก็อาจจะมีจินตนาการได้มากกว่าหนึ่งอย่าง

หวางเหว่ยนับเป็นนักกวีที่ประสบความสำเร็จถึงขั้นที่สอง
ความสำเร็จขั้นที่สามของบมทกวี คือผู้อ่านบรรลุธรรม หรือตระหนักรู้ในเรื่องธรรมชาติของความเป็นมนุษย์
การตระหนักรู้ธรรมชาติของมนุษย์ มิใช่เรื่องของศาสนาพุทธนิกายเซนฝ่ายเดียว
ศาสนาอื่น ปรัชญาอื่น ๆ ก็อาจทำให้เข้าถึง ตระหนักรู้ธรรมชาติของมนุษย์ได้เช่นกัน




หวางเหว่ยนั้น นักประวัติศาสตร์มองว่า ท่านเป็น “กวีพุทธํ”

“กวีเต๋า” คือเถาหยวนหมิง

“กวีบู๊เฮี้ยบ” คือหลี่ไป๋

“กวีขงจื๊อ” คือ ตู้ฝู่

ในกวีบทข้างต้น สื่อคำสอน “เซน” ( ฌาน , หรือ ธฺยาน) ด้วย แม้จะตีความยากสำหรับผู้เริ่มศึกษา แต่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับจริตแบบเซนแล้ว ซึมซับเข้าใจไม่ยาก

สองวรรคแรก สื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวของชีวิตเรากับธรรมชาติ ความสงัดวิเวกของสภาพแวดล้อมบนภูดอยยามใบไม้ผลิ ดอกไม้ร่วงหล่นอย่างเงียบ ๆ แต่เป็นฉากแสดงความเคลื่อนไหวในบรรยากาศที่สงบเงียบ อาจทำให้จิตใจเราตื่นรู้ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในทันทีทันใดนั้น
เปรียบเหมือนพระจันทร์สาดส่องขึ้นอย่างฉับพลัน

ขอให้สังเกตนะครับ “หวางเหว่ย” ใช้คำว่า “พระจันทร์ออกมา” 月 出 ถ้าใช้คำแค่เพียง “แสงจันทร์ 月 亮” บทกวีนี้จะจืดลงไปเยอะ คือไม่สื่อถึงการปรากฏขึ้นของพระจันทร์อย่างฉับพลันทันที
แสงสว่างของดวงเดือนทำให้นกตื่น !

นั่นคือการตระหนักรู้ บรรลุธรรมของจิตมนุษย์นั่นเอง . .
       




โดย : ทองแถม นาถจำนง  เวลา - 12:01    




:13: ขอขอบพระคุณและร่วมอนุโมทนาที่มาของข้อมูลทั้งหมดจาก : บล๊อก ของ คุณ ทองแถม  นาถจำนง .. ภาพประกอบจาก internet มา ณ. ที่นี้ด้วยค่ะ .. ^^