๒๙
เมื่อ กล่าวถึง ธรรมะ อย่างเซ็น ของพวกเรา ขอให้จำไว้ว่าจำเดิม ตั้งแต่ได้ถ่ายทอดกันมาเป็นครั้งแรกนั้น ไม่เคยสอนกันเลยว่า คนเราจะต้องแสวงหาด้วยการศึกษา หรือต้องสร้างความคิดขึ้นในรูปต่าง ๆ คำที่พูดว่า “การศึกษาเรื่อง หนทาง ทางโน้น” นั้นเป็นแต่เพียงโวหารกล่าวทางบุคลาธิษฐานเท่านั้น นั่นมันเป็นเพียงวิธีการสำหรับเร้าความสนใจของบุคคลในขั้นเริ่มแรก ของการดำเนินตามทางธรรมดาของเขาเท่านั้น
ตาม ความจริงแล้ว ทาง ทางนั้นไม่รวมอยู่ในสิ่งที่ต้องศึกษาเลย การศึกษา ย่อมนำไปสู่การหน่วงเอาความคิดในรูปต่าง ๆ ไว้โดยท่าเดียว เมื่อเป็นดังนั้น ทาง ทางโน้นก็มีแต่จะถูกเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง
ยิ่ง ไปกว่านั้นอีก ทาง ทางโน้นไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ตั้งอยู่เป็นพิเศษ มันถูกขนานนามว่า มหายาน-จิต คือ จิต ซึ่งไม่อาจหาพบได้ข้างในหรือข้างนอก หรือตรงกลาง โดยแท้จริงแล้วมันไม่ได้มีตำแห่งแหล่งที่อยู่ ณ ที่ใดเลย
ข้อ ปฏิบัติขั้นแรกที่สุด คอการเว้นเสียจากความคิดในรูปต่าง ๆ ซึ่งตั้งรากฐานอยู่บนความรู้ที่เคยเล่าเรียนมา ข้อนี้หมายความว่า แม้พวกเธอจะได้ดำเนินการปฏิบัติไปโดยวิธีที่เกี่ยวข้องกับความรู้ชนิดนั้น ตามที่เธอเคยเชี่ยวชาญมา จนหมดความรู้ ถึงขั้นนั้นแล้ว เธอก็จะยังไม่สามารถพบตำแห่งแหล่งที่ของ จิต นั้นอยู่นั่นเอง
ทาง ทางนี้ เป็น สัจจธรรม ฝ่ายนามธรรม และเป็นสิ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีสมญามาแต่เดิม
มัน เป็นเพราะสัตว์โลก ได้พากันแสวงหาสัจจะนี้อย่างโง่เขลา และคว้าไปคว้ามา ในขั้นทดลองอยู่ร่ำไปเท่านั้นเอง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงได้มาปรากฏในโลกนี้ และสอนสัตว์เหล่านั้น ให้เพิกถอนวิธีการปฏิบัติ เพื่อการเข้าถึงสัจจะวิธีการของพระองค์ พระองค์จึงได้ทรงเลือกเอา คำว่า “ทาง” มาใช้
พวกเธอต้องไม่ปล่อยให้คำว่า “ทาง” คำนี้ จูงเธอไปสู่การก่อรูปแห่งความคิดขึ้นในจิต ว่าทางสำหรับเท้าเดิน (ถนน) ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อปลาตัวนั้นถูกจับได้แล้วเราก็ไม่สนใจกับ ลอบ อีกต่อไป” ดังนี้
เมื่อ ใดกายและจิต มีการโพล่งออกไปเอง ถึงธรรมชาติเดิมของมันได้ ทาง ทางนั้นก็เป็นอันว่าเดินเสร็จแล้ว และ จิต ก็เป็นอันว่าได้ถูกเข้าใจอย่างซึมซาบแล้ว
สมณะ ได้นามว่าสมณะ ก็เพราะรู้แจ้งแทงตลอดแหล่งกำเนิดเดิมของสิ่งทั้งปวง ผล คือความเป็นสมณะเช่นนั้น ลุถึงได้ด้วยการทำความสิ้นสุดให้แก่ความกระหายใคร่จะถึงทุกอย่างเสีย มันไม่ได้มาจากการศึกษาจากตำราเลย
ขอบคุณที่มาบันทึกชึนเชา