ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 11:38:43 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่สาว^^
ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 09:01:15 pm »

๓๑
 

ถาม   จากข้อความทั้งหมด เท่าที่อาจารย์ได้กล่าวไปแล้ว ได้ความว่า จิต คือ พุทธะ แต่มันไม่กระจ่างในข้อที่ว่า หมายถึงจิตชนิดไหนในประโยคที่ว่า “จิต” ซึ่งเป็น “พุทธะ” นั้น ?

ตอบ   เธอมีจิตอยู่แล้วกี่มากน้อยเล่า ?

 

ถาม   ก็แต่ว่า พุทธะนั้น เป็นจิตธรรมดา หรือจิตที่ตรัสรู้แล้วเล่า ?

ตอบ  ก็ในโลกนี้ ที่ตรงไหนเล่า ที่เธอเก็บจิตธรรมดา และจิตที่ตรัสรู้แล้ว ของเธอไว้ ?

 

ถาม   ในคำสอนของ ยานทั้งสาม มีกล่าวไว้ว่า มีจิตอยู่ทั้งสองอย่าง ทำไมท่านอาจารย์จึงปฏิเสธมันเสียเล่า ?
 
ตอบ  ในคำสอนแห่ง ยานทั้งสาม นั้น มีการอธิบายอย่างกระจ่างอยู่แล้วว่าทั้งจิตธรรมดา และจิตที่ตรัสรู้แล้วนั้น ก็ล้วนแต่เป็นมายา เธอไม่เข้าใจเอง ความยึดมั่นต่อความคิดว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ทั้งหมดนี้เป็นความสำคัญผิด ไปเอาของลวงเหล่านั้นมาเป็นสัจจะ ความคิดต่าง ๆ ชนิดนั้น จะไม่เป็นมายาได้อย่างไรกัน ? เมื่อเป็นมายา มันก็บังจิต นั้นเสียจากเธอ

 

ถ้า เธอเพียงแต่ขจัดความคิดว่ามีจิตธรรมดา มีจิตตรัสรู้แล้วนั้นออกไปเสียจากเธอเท่านั้น เธอจะพบว่าไม่มีพุทธะอะไรที่ไหนอีกนอกจาก พุทธะ ในจิตของตนเอง
 

เมื่อ ท่านอาจารย์โพธิธรรม จากตะวันตกมาถึง ท่านได้ชี้ออกไปว่า สิ่งซึ่งคนทุกคนมีส่วนประกอบร่วมอยู่ด้วยนั่นแหละคือ พุทธะ คนจำพวกเธอ พากันเตลิดไปด้วยความเข้าใจผิด คือไปจับฉวยเอาความคิดเช่นว่า “อย่างธรรมดา” หรือ “อย่างตรัสรู้แล้ว” ขึ้นมา พร้อมกันนั้นก็บังคับความคิดต่าง ๆ ของเธอให้เตลิดออกไปข้างนอก สู่ที่ซึ่งมันพากันควบห้อไปเหมือนกะม้า ! ดังนั้นฉันจึงขอบอกเธอ ว่า จิต คือ พุทธะ
 

ใน ทันทีที่ความคิด หรือความรู้สึกทางอายตนะเกิดขึ้น พวกเธอก็พลัดตกลงสู่คติทวินิยม กาลเวลาทั้งหมด ซึ่งปราศจากการตั้งต้น และขณะซึ่งเป็นปัจจุบันขณะหนึ่งนั้นเป็นของอันเดียวกัน ไม่มีนี้ ไม่มีโน้น การเข้าใจซึมซาบในสัจจะข้อนี้ เรียกว่าการรู้แจ้งเห็นจริงที่สมบูรณ์และไม่มีอะไรเหนือกว่า
 

ถาม   ถ้อยคำที่ท่านอาจารย์กล่าวมานี้ มีรากฐานอยู่บนหลักธรรมอะไร ?
 
ตอบ   เอ้า ! หาหลักหาเหลิกกันทำไมอีกเล่า ? พอสักว่าเธอมีหลักเท่านั้นเธอก็พลัดผลุงลงไปสู่ความคิดแบบคติทวินิยมทันที

 

ถาม   เมื่อตะกี้นี้เอง ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงอดีตซึ่งไม่มีใครรู้ว่าตั้งต้นเมื่อไร กับปัจจุบันนั้น เป็นของอันเดียวกัน ด้วยการกล่าวอย่างนั้น ท่านอาจารย์หมายถึงอะไร ?
 
ตอบ   มันเป็นเพราะการแสวงหาด้วยความอยากของเธอแท้ ๆ นี้ ที่เธอไปทำมันให้มีความแตกต่างกันขึ้น ระหว่างของสองอย่าง ถ้าเธอจะหยุดการแสวงหาด้วยความอยากเสียได้ แล้วมันจะมีความแตกต่าง ๆ ในระหว่างของสองอย่างนี้ได้อย่างไร ?

 

ถาม   ถ้ามันไม่แตกต่างกันแล้ว ทำไมท่านอาจารย์จึงใช้คำเรียกมันต่างกันเล่า ?
 
ตอบ   ถ้าเธอไม่ไปเอ่ยถึง “อย่างธรรมดา” กับ “อย่างตรัสรู้แล้ว” ขึ้นมาแล้ว ใครเล่าจะอยากลำบาก ไปพูดกันถึงเรื่องชนิดนี้ ในเมื่อสิ่งซึ่งจัดเป็นอย่าง ๆ พวก ๆ เหล่านั้น ก็มิได้มีอยู่จริง แล้ว จิต ก็มิได้เป็น “จิต” จริง และเมื่อทั้ง จิต และทั้งสิ่งซึ่งถูกจัดเป็นอย่าง ๆ พวก ๆ เหล่านั้น โดยแท้จริงเป็นมายาแล้ว เธอจะหวังหาสิ่งใด ๆ ได้ที่ไหนกันเล่า ?


:07:
ขอบคุณที่มา
บันทึกชึนเชา