ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 12:08:59 am »

 :13: สดใสๆ คิดในเชิงบวกครับ แล้วก้ให้กำลังใจตัวเราเองเสมอๆ
^^ ขอบคุณครับพี่แป้ง
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 09:29:13 pm »

จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว :12:
ขอบคุณนะค่ะคุณแป้ง :19:
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 07:06:35 am »

ไฮโปคอนดิเอซีด (Hypochondriasis) เป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการหมกมุ่นในเรื่องสุขภาพของตัวเองเกินไป กลัวอยู่ตลอดเวลาว่า จะป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือมีโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคไต เอดส์ ไมเกรน โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น แฝงอยู่

ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะที่ศีรษะ คอ ท้อง และหน้าอกทำงานผิดปกติไปจากเดิม ทั้งที่จริง ๆแล้วความเจ็บป่วยอาจจะไม่มีอยู่จริง หรืออาจจะมีแต่เล็กน้อยไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม มึนงง ปวดศีรษะ ท้องอืด ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น แต่ผู้ป่วยจะจับอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ของร่างกายมาคิดเป็นเรื่องใหญ่โต และไปหาแพทย์เพื่อขอรับการรักษา

อาการ ทั้งหมดนี้เป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนใกล้ชิดแต่อย่างใด เขารู้สึกว่าตัวเองปวดจริงๆ แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้ปวดไม่มีจริง เหมือนคนไข้บอกหมอว่า ได้ยินเสียงแว่วๆ หมอก็บอกว่า หมอเชื่อว่าคุณได้ยินจริงๆ แต่เสียงนั้นไม่มีอยู่จริง

" คนไข้กลุ่มนี้ มักไปพบแพทย์หลายแห่ง ตรวจหลายอย่าง แต่แม้จะได้การยืนยันจากแพทย์แล้วว่า ไม่พบโรคหรือความผิดปกติใด ๆ แต่ผู้ป่วยจะยังเชื่อว่า ตนป่วยเป็นโรคที่แพทย์ยังตรวจไม่พบอยู่อีก"




สังเกตโรคสังเกตอาการ

หากสังเกตตัวเอง และคนรอบข้างพบว่า มีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ให้รู้ไว้เลยว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดค่อนข้างสูง

1. มีความคิด หรือหมกมุ่นอยู่กับความกลัวว่าตนเองจะป่วยด้วยโรคร้ายแรงอยู่ตลอดเวลา

2. ความรู้สึกกังวลไม่หายไป แม้จะได้รับการตรวจรักษาอย่างละเอียด และได้รับการยืนยันจากแพทย์แล้วว่าไม่พบโรคนั้นแล้วก็ตาม

3. ความรู้สึกนี้ ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การงานเริ่มบกพร่อง ญาติพี่น้องเอือมระอา มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าสังคม

4. เป็นมานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน และมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ยิ่งกลัว ยิ่งเป็นโรคคิดไปเอง

1. เกิดจากการแปลความรู้สึกของร่างกายผิด เมื่อมีความผิดปกติของการทำงานในร่างกายเกิดขึ้น คนไข้กลุ่มนี้มักแปลความหมายของความผิดปกตินั้นร้ายแรงมากกว่าคนทั่วไป รวมไปถึงมีความอดทนต่อความรู้สึกไม่ปกติของร่างกายต่ำกว่าคนปกติ

2. เกิดจากการใช้บทบาทของผู้ป่วย (Sick role) เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาหรือสถานการณ์ที่แก้ไขไม่ได้ ผู้ป่วยจะเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทผู้ป่วยเพื่อเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นั้นๆ

3. เกิดจากโรคแทรกซ้อนทางจิตวิทยาอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า เครียด โรคกังวลไปทั่ว แต่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว จึงแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองออกมาไม่ถูก และคิดว่าตัวเองป่วย

4. เกิดจากความกดดันบางอย่าง เชื่อว่าผู้ป่วยขาดความภูมิใจในตนเอง และรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับ มีความผิดหวัง จึงใช้กลไกทางจิตชนิดที่เรียกว่าเก็บกด แสดงออกมาเป็นอาการผิดปกติทางกาย เพื่อปกปิดสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ

ตรวจสุขภาพกาย+ใจ ใช่หรือไม่โรคคิดไปเอง

อย่าง ไรก็ตามคนไข้ที่มาพบหมอด้วยอาการในขั้นต้น อาจไม่ได้เป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดทุกคน ซึ่งก่อนที่เราจะสรุปว่าเขาเป็นโรคนี้หรือไม่ เราต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุก่อน โดยมีแนวทางวินิจฉัยสองขั้นตอนคือ

วินิจฉัยแยกโรคทางกาย สามารถตรวจได้จากเครื่องมือทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น โรคเอดส์ โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคผิดปกติทางต่อมไร้ท่อ โรคเอสแอลอี เป็นต้น

" ปกติคนไข้พวกนี้จะยินดีให้ความร่วมมือ เพราะเขาเองชอบมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว จนเมื่อตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบว่าป่วยเป็นโรคอะไร ก็จะนำผู้ป่วยเข้าสู่การตรวจวินิจฉัยทางจิตเวชเป็นลำดับต่อไป"

วินิจฉัยโรคทางจิตเวชอื่น ๆ บางทีคนไข้ที่มาหาหมอ อาจเป็นโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคไฮโปคอนดิเอซีด อาจเป็นโรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล รวมถึงโรคจิตเภทชนิดอื่น ๆ ซึ่งสามารถ รักษาได้โดยการใช้ยา แต่เมื่อตรวจจนแน่ใจแล้วว่า คนไข้ไม่ได้ป่วยด้วยโรคจิตเวชชนิดอื่น ๆ อย่างที่กล่าวมา เราจึงวินิจฉัยว่า คนไข้ป่วยเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีด ซึ่งโรคนี้รักษาไม่หาย

เหตุผล ที่โรคนี้รักษาไม่หาย เป็นเพราะคนไข้ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีด แต่คิดว่าตัวเองป่วยด้วยโรคทางกายอื่นๆ จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา นอกจากนี้คนที่เป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดมักมีการตอบสนองต่อการใช้ยาไม่ค่อยดี เนื่องจากเขาไม่ยอมรับ อย่างคนไข้บางคนที่เป็นโรคนี้ และมีความรู้มาก ศึกษามาเยอะ ก็จะต่อต้านการรักษาของหมอ

สารพัดวิธีดูแลผู้ป่วยใกล้ตัว

แนว ทางในการรักษาของแพทย์ที่ใช้รักษาโรคโรคไฮโปคอนดิเอซีดในปัจจุบันคือ การรักษาแบบจิตบำบัด โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อให้เขาสามารถปรับตัว ใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพ และเหมาะสม ไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดของตัวเองจนมากเกินไป

นความ เป็นจริงแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องมาพบจิตแพทย์ก็ได้ แต่แค่ให้มีหมอสักคนคือหมอเวชปฏิบัติทั่วไปก็ได้ คอยรับฟังเขาพูดเรื่องความป่วยไข้อย่างน้อยเดือนละครั้ง และคอยปรามเวลาเขาจะขอตรวจพิเศษต่างๆที่ไม่จำเป็น คล้ายกับว่าพยายามใส่ใจในอาการป่วยของเขา อาการของคนไข้ก็จะทรงตัวไม่ป่วยด้วยโรคอื่นๆเพิ่ม

สิ่ง สำคัญที่ญาติๆผู้ป่วยควรทำความเข้าใจคือ ต้องพยายามเปลี่ยนทัศนคติ จากความรู้สึกรำคาญมาเป็นสงสารแทน เปลี่ยนจากโทสะมาเป็นเมตตา ต้องคิดอยู่ตลอดว่าเขาป่วย เขาต้องการเรา

ดูแลผู้ป่วยโรคคิดไปเองอย่างไรดี

ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าและสดชื่น เช่น รำกระบอง เต้นแอโรบิค เป็นต้น

ปลูกต้นไม้ การได้เห็นสีเขียวของต้นไม้จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และอารมณ์ดีขึ้น

อ่าน หนังสือ เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือตลก นิยายที่เนื้อหาไม่หนักเกินไปนัก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้ความเพลิดเพลินแล้วยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย

หา โอกาสไปเที่ยว การได้ไปเปลี่ยนบรรยากาศในสถานที่ใหม่ ๆ สามารถลดความวิตกกังวลที่จากเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันที่ตกตะกอนอยู่ในใจ ได้ เช่น ไปทะเล ภูเขา น้ำตก เป็นต้น

ทำ กิจกรรมร่วมกับครอบครัว การพูดคุยปรึกษาหารือ ทานอาหารร่วมกัน ก็สามารถช่วยให้ความตึงเครียด วิตกกังวล และโรคซึมเศร้าที่เป็นอยู่ทุเลาลงได้

" โรคจิตเภทส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้โดยการทำความเข้าใจกับตนเอง คือ เราต้องมีความหยั่งรู้ในอารมณ์ของตัวเอง เช่น รู้ว่าเวลานี้ตัวเองวิตกกังวลไม่สบายใจ ก็บอกว่าตัวเองวิตกกังวล ไม่โกหกตัวเอง ยิ่งถ้าเรามีความหยั่งรู้ในตัวเอง เราก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชน้อยลง"




ขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสารชีวจิต