ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 11:00:58 pm »

 :06: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม ความรักต้องให้อภัยและเข้าใจซึ่งกันและกันครับ ผมไม่อยากให้มีการทะเลาะกันแล้วหย่าเลยเน้อ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 09:37:48 pm »

แนะ4วิธีสกัดหย่าร้าง แบ่งบทบาทเลี่ยงข่มกัน




จาก ข้อมูลของกรมสุขภาพจิต

รายงานสถานการณ์ครอบครัวเข้มแข็ง ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า สถิติการหย่าร้างที่มีสูงขึ้นอยู่ที่อัตรา 1 ใน 3 จากเมื่อ 10 ปีก่อนที่อยู่ 1 ใน 10 โดยสถิติเมื่อปี 2550 มีคู่สมรสจดทะเบียนประมาณ 300,000 คู่ แต่หย่าร้างถึง 100,000 คู่

น.พ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยา บาลมนารมย์ กล่าวถึงสาเหตุของการหย่าร้างแยกทางกันมากขึ้นของครอบครัวในสังคมไทย ว่า เนื่องจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันต่างจากอดีต บทบาทหน้าที่ของสามีภรรยา เปลี่ยนไป อดีตผู้หญิงไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องเรียนรู้คืองานบ้านงานเรือน เพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้าน ส่วนฝ่ายชายเป็นผู้ทำงานเลี้ยงครอบ ครัว การแต่งงานจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตลูกผู้หญิงในอดีต แต่ปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ผู้หญิงทำงานเลี้ยงตัวเองได้ มีความสามารถและรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีรายได้ และการพึ่งพิงฝ่ายชายก็น้อยลง

เศรษฐกิจปัจจุบันส่งผลให้ต้นทุนการ ดำรงชีพของแต่ละครอบครัวสูง โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่เป็นเรื่องยากที่จะอยู่ได้ด้วยการทำงานของ ฝ่ายชายเพียงฝ่ายเดียว ครอบครัวจำนวนมาก ภรรยามีบทบาทเรื่องการทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว

บางครอบครัวฝ่าย หญิงมีความสามารถ มีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวโดดเด่นกว่าชาย โอกาสเกิดปัญหาความขัดแย้งก็เป็นไปได้สูง ถ้าฝ่ายหญิงไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงของการเกิดปัญหา และฝ่ายชายไม่สามารถปรับตัว ปรับใจ ยอมรับบทบาทของตนเองได้



สิ่ง ที่มักเกิดขึ้นคือ สามีรู้สึกเสียหน้า ด้อยค่า อาจนำไปสู่การมีภรรยาน้อย เพื่อชดเชยความรู้สึกด้อยค่าของตน หรือฝ่ายหญิงให้เวลากับงานมากกว่าครอบครัว ชายที่มีความรู้สึกไม่มั่นคงก็อาจจะระแวงว่า ฝ่ายหญิงกำลังไปมีความสัมพันธ์กับชายอื่นที่มีความสามารถสูงกว่าตน นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งและหย่าร้างในที่สุด ซึ่งหากเกิดปัญหาในครอบครัวที่มีลูกปัญหาเหล่านี้จะซับซ้อนยิ่งขึ้น

การ ประคองชีวิตครอบครัวให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งนั้น หัวใจสำคัญของการครองคู่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความตั้งใจที่จะป้องกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งมีคำแนะนำหลัก 4 ข้อเพื่อนำไปปรับใช้ดังนี้

1. สามีและภรรยาต้องมีเป้าหมายตรงกัน คือต้องการประคองชีวิตคู่ให้ดำเนินไปได้อย่างสงบราบรื่น ถ้าไม่มีเป้าหมายตรงกันแล้ว ย่อมไม่มีพลังหรือกำลังใจที่จะทุ่มเทให้กับการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ที่ต้องเผชิญ

2. สภาวะที่สามีภรรยาประสบและเป็นจุดอ่อนที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ คือ ความรู้สึกไม่มั่นคงภายในของฝ่ายชาย ความรู้สึกสูญเสียบท บาท ความเป็นผู้นำ

การ บรรเทาผลกระทบนี้ ทำได้โดยการพูดคุย ทำความเข้าใจกันทั้งสองฝ่ายว่า เธอและฉันต่างอยู่ในเรือลำเดียวกัน มีเป้าหมายร่วมกัน สิ่งใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์สูงสุดกับครอบครัว สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี และการที่แต่ละคนได้ทำสิ่งที่ตนเองถนัดย่อมก่อให้เกิดผลดี

ทั้งนี้ ในการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายจำเป็นต้องมีการพูดคุยตกลงกัน จนได้ข้อสรุปที่เห็นร่วมกันและดำเนินการไปตามนั้น โดยหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของใครสำคัญกว่ากัน เพราะเป้าหมายใหญ่คือ การทำให้ชีวิตครอบครัวราบรื่นและสงบสุข บางครั้งการปรับความรู้สึกชายที่ยอมรับบทบาทที่เด่นขึ้นของฝ่ายหญิง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความเชื่อ ความเคยชินที่อยู่ลึกในระดับจิตใต้สำนึก ดังนั้น ในการเปลี่ยนแปลงความคิด ความรู้สึก ฝ่ายชายอาจจะจำเป็นต้องใช้เวลาและต้องเตือนตัวเองในเป้าหมายใหญ่ที่มีร่วม กันอยู่เสมอๆ จึงจะสำเร็จ

3. เมื่อรู้ว่าฝ่ายชายมีจุดอ่อนไหวเรื่องความมั่นคงภายใน เกรงว่าตนเองด้อยค่า ภรรยาแสดงออกให้สามีรับรู้ว่าได้หลายวิธี ตั้งแต่การให้เวลาแก่กัน ให้โอกาสฝ่ายชายแสดงบทบาทช่วยเหลือฝ่ายหญิงบ้าง เพื่อจะได้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ไม่ใช่ว่าภรรยาต้องทำอะไรด้วยตัวเองเสียหมด

แม้ภรรยาจะเป็นหลักในการ หารายได้เข้าบ้านก็ตาม ยิ่งต้องระวังความคิด ไม่หลงตัวเองหรือพลั้งเผลอคำพูด ท่าที เช่น การทวงบุญคุณ เรื่องการหาเงินเข้าบ้านจะทำให้เกิดปัญหารุน แรงได้ และถ้าเกิดความผิดพลาด ควรขอโทษ อย่าถือทิฐิ ควรเตือนตนเอง และให้เกียรติสามี

4. แม้สามีภรรยาปรับตัวกันในครอบครัวได้เป็นอย่างดี อาจมีปัญหาเนื่องจากการแสดงความเห็น การวิพากษ์วิจารณ์จากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือคนรอบข้างที่เห็นต่างออกไป

หากต้องการประคองครอบครัว ของตนเองให้ได้ ต้องเตือนตนให้มีความมั่นคง เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองกระทำ ไม่เอาคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นมาใส่ใจและเก็บมาเป็นอารมณ์ทำให้เกิดความ แตกแยกในครอบครัว พยายามมองว่า ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่เข้าใจ ปรับตัวไม่ได้ ยึดติดกับแนวความคิดเดิมๆ ที่สำคัญครอบครัวของเราจะสุขจะทุกข์เขาไม่ได้มาเกี่ยวข้องด้วย

"คำ แนะนำนี้ เป็นหลักกว้างๆ สามีภรรยาแต่ละคู่อาจมีรายละเอียดเรื่องบุคลิก ภาพพื้นฐานต่างกัน ความคาดหมายต่างกัน การปรับตัวก็ต่างกันออกไป แต่ถ้าทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจและความตั้งใจพยายามอย่างจริงจัง เชื่อว่าทุกคู่ก็จะฝ่าอุปสรรคไปได้ และอยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่า ไม่ว่าจะเป็นยุคดิจิตอลหรือยุคไหนๆ ก็ตาม" น.พ.ไกรสิทธิ์ กล่าว

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVEl4TURrMU13PT0=&sectionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBeE1DMHdPUzB5TVE9PQ==