ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 10:31:00 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่ปู
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 01:26:42 pm »









ขอนอบน้อมแด่พระพระรัตนตรัย



วันนี้(อาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2562)อากาศร้อนมากเดินปาดเหงื่อตลอดทางภาพแรกถ่ายเมื่อปี 2552 เวลาประมาณ 17.30 น.จำเดือนไม่ได้ภาพที่ 2 ถ่ายวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2562 เวลา 15.30 น.โดยประมาณระยะเวลาห่างกัน 10 ปีต้นเดือนเมษายนของทุกปีเป็นเทศกาลเช็งเม้ง ห้องสมุดบางกอกคุณค่าของการถ่ายภาพ



อุปเนยยสูตร



๗ เทวดานั้นครั้นยืนอยู่ ณ.ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแลได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า...................................

ชีวิต คือ อายุ มีประมาณน้อย.........ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย

เมื่อบุคคล ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว.......ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน

บุคคล เมื่อเห็นภัยนี้ ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลาย ที่นำความสุขมาให้

๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า..........................

ชีวิต คือ อายุ มีประมาณน้อย.........ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย

เมื่อบุคคล ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว........ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน

บุคคล เมื่อเห็นภัยนี้ ในมรณะพึงละอามิสในโลกเสีย

มุ่ง สันติ เถิด

อรรถกถาอุปเนยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปเนยยสูตรที่ ๓ ต่อไป.............................

บทว่า อุปนียติ

ได้แก่ ย่อมสิ้นไปโดยรอบ ย่อมดับ หรือว่า ย่อมมาถึง

คือ ย่อมเข้าถึงมรณะโดยลำดับอีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า.................................

ฝูงโค อันนายโคบาลย่อมต้อนไป ฉันใด ชีวิตนี้ ก็ฉันนั้น

อันชรา ย่อมต้อนไปสู่สำนักแห่งความตายบทว่า ชีวิตํ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์

บทว่า อปฺปํ แปลว่า เล็กน้อย คือ นิดหน่อย.

บัณฑิต พึงทราบความที่ ชีวิต คือ อายุนั้น เป็นของน้อย

โดยอาการ  ๒ อย่าง คือ.......................................

ชื่อว่าน้อย..................เพราะความที่ชีวิตนั้นเป็นไปกับด้วยรส คือ ความเสื่อมสิ้นไป

และเพราะความที่ชีวิตนั้น..................ประกอบด้วยขณะ คือ ครู่เดียว

จริงอยู่ เพราะพระบาลีว่า............................

โย ภิกฺขเว จิรํ ชีวติ โส วสฺสสตํ อปฺปํ วา ภิยฺโย แปลว่า..................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใด เป็นอยู่นาน

บุคคลนั้น ก็พึงเป็นอยู่ร้อยปี ต่ำกว่าบ้าง เกินกว่าบ้าง ดังนี้ จึงชื่อว่า น้อย

เพราะความที่ชีวิตนั้น เป็นไปกับด้วยรส คือความเสื่อมสิ้นไป.

ก็เมื่อว่าโดย ปรมัตถ์

ขณะแห่งชีวิต ของสัตว์ทั้งหลาย น้อยมาก เกินเปรียบ

คือสักว่า เป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น.

ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ

จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ ชีวิตนาม นั้น

เป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ อุปมาด้วยล้อแห่งรถ

แม้เมื่อหมุนไปย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น

แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด

ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ครั้นเมื่อจิตดวงนั้น สักว่าแตกดับแล้ว

ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้ว

เหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า.........................

อตีเต จิตฺตกฺขเณ ชีวิตฺถ น ชีวติ น ชีวิสฺสติ

อนาคเต จิตฺตกฺขเณ น ชีวิตฺถ น ชีวติ ชีวิสฺสติ

ปจฺจุปฺปนฺเน จิตฺตกฺขเณ น ชีวิตฺถ ชีวติ น ชีวิสฺสติ

ในขณะแห่งจิตอันเป็นอดีต.............................บุคคล ชื่อว่า เป็นอยู่แล้ว

มิใช่กำลังเป็นอยู่มิใช่จักเป็นอยู่

ในขณะแห่งจิต อันเป็นอนาคต.................บุคคล ชื่อว่าจักเป็นอยู่

มิใช่เป็นอยู่แล้ว มิใช่กำลังเป็นอยู่

ในขณะแห่งจิต อันเป็นปัจจุบัน...................บุคคล ชื่อว่า กำลังเป็นอยู่

มิใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่.

ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา

เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ

ชีวิต อัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมด ประกอบด้วยจิตดวงเดียว

ขณะของจิตนั้น ย่อมเป็นไปเร็วพลัน

เย นิรุทฺธา มรนฺตสฺส ติฏฺฐมานสฺส วา อิธ

สพฺเพปิ สทิสา ขนฺธา คตา อปฺปฏิสนฺธิยา

จิตเหล่าใด ของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่ หรือ กำลังตาย

แตกดับไปแล้ว ในปวัตติกาลนี้

จิตเหล่านั้นทั้งหมดหาได้กลับมาเกิดอีกไม่

แม้ขันธ์ทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกัน.

อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ

จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา

เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลก ก็ชื่อว่า ไม่เกิด

เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่าเป็นอยู่

เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่า ตายแล้ว

นี้เป็น{บัญญัติ}เนื่องด้วย ปรมัตถ์

บทว่า ชรูปนตสฺส อธิบายว่า...................

เมื่อบุคคลเข้าถึงชราแล้ว

หรือว่า เมื่อบุคคล ถูกชราต้อนเข้าไปสู่สำนักแห่งความตาย.

บทว่า น สนฺติ ตาณา อธิบายว่า

ใคร ๆ ชื่อว่าสามารถเพื่อจะให้ความป้องกัน

คือ ให้ความปลอดภัย ให้เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ย่อมไม่มี

บทว่า เอตํ ภยํ ความว่า...............................

ภัยนี้มี ๓ อย่าง คือ

การเข้าถึงความตายแห่งชีวิตินทรีย์

ความที่ชีวิตินทรีย์ มีอายุเล็กน้อย

และ ความที่ไม่มีเครื่องต้านทาน ของบุคคล ผู้อันชราต้อนไปแล้ว

อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งภัย ภยวตฺถุ

คือ เป็นเหตุแห่งภัย ภยการณํ

บทว่า ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ได้แก่..........................

วิญญชน พึงทำบุญทั้งหลายอัน นำความสุขมาให้

คืออันให้ซึ่งความสุข

ด้วยเหตุนี้นั้น เทวดาหมายเอา รูปาวจรฌาน

จึงถือเอาบุพเจตนา มุญจนเจตนา และอปรเจตนา

แล้วกล่าวถึง บุญทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งคำพหูพจน์

และถือเอาความชอบใจในฌาน ความใคร่ในฌาน และความสุขในฌานแล้ว

จึงกล่าวว่า บุญทั้งหลายนำความสุขมาให้ดังนี้.........

ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายเจริญ

ฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้ว

พึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอดเวลาอันยาวนาน

คือประมาณ ๑ กัปล์บ้าง ๔ กัปล์บ้าง ๘ กัปล์บ้าง ๑๖ กัปล์บ้าง ๓๒ กัปล์บ้าง ๖๔ กัปล์บ้าง ดังนี้.....

เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนาน

จึงเห็นสัตว์ทั้งหลาย

ผู้กำลังตาย กำลังเกิด ที่มีอายุน้อย ในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำ

เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า..........

ก็เทวดานี้ ย่อมกล่าว วัฎฏกถา (ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ)

อันไม่เหมาะสมเมื่อจะทรงแสดง วิวัฏฏกถา แก่เทวดานั้น

จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ บรรดาบทแห่งคาถาที่ ๒ เหล่านั้น

บทว่า โลกามิสํ ได้แก่.............

โลกามิส ๒ อย่าง คือ..............

ปริยายโลกามิส โลกามิสที่เป็นเหตุ

นิปปริยายโลกามิส โลกามิสที่ไม่เป็นเหตุ

วัฏฏะ อันเป็นไปในภูมิ ๓ เรียกว่า ปริยายโลกามิส.

ปัจจัย คือ เครื่องอาศัย ๔ อย่าง

เรียกว่า นิปปริยายโลกามิส

ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปริยายโลกามิส

อันที่แท้ แม้นิปปริยายโลกามิส ก็ควรในที่นี้เหมือนกัน.

บทว่า สนฺติเปกฺโข อธิบายว่า............................

มุ่งอยู่ ต้องการอยู่ ปรารถนาอยู่ซึ่ง สันติ อันยั่งยืน

กล่าวคือ  พระนิพพาน




.....................จบอรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓....................



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑และ อรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓

หน้าที่ 44 - 48







https://www.mx7.com/view2/BhxvTsKHQR0LoUUO
http://picture.in.th/id/9f403725ff84837694d80414bc3b723f
https://www.mx7.com/view2/BhxwFFRspRk4nDoW
https://www.mx7.com/view2/BhxwFFRspRk4nDoW