ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 10:36:12 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 04:49:57 pm »


 
 
เรื่องการเมืองเข้ามารบกวนพระทัยอยู่จนดึก พอเที่ยงคืนจึงได้ทรง บรรทมหลับ


สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว พะเจ้าตากสินมหาราชบรรทมหลับ จน ยามสาม ทรงได้ยินเหมือนใครเรียกพระองค์ว่า " โพธิสัตว์ ๆ ตื่นเถิด " ครั้นทรงลืมพระเนตรขึ้นก็มิได้เห็นผู้ใด จึงทรงประทับนั่ง และทรง ทำสมาธิแบบโพธิสัตว์ว่า " กวน อิม พ่อ สัก " เป็นองค์ภาวนา ส่วน พระทัยหมายตรึกถึงดอกบัวพระโพธิสัตว์ ท่องพระนามไปครั้งหนึ่ง พระหัตถ์ก็เลื่อนลูกประคำไปเม็ดหนึ่ง จนกว่าพระจิตจะสงบเงียบเป็น ขณิกสมาธิ และเลื่อนขึ้นเป็นอุปจาระสมาธิ แล้วทรงทำจิตให้แน่วแน่ จนเป็นอัปปาสมาธิ


ขณะที่พระจิตอยู่ในสมาธินั้น พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอมิตาภะเสด็จประทับอยู่เบื้องหน้า ในลักษณะลอย พระองค์อยู่สูงเสมอเศียร ทางเบื้องซ้ายขวาของพระพุทธเจ้าอมิตาภะ พระ อวโลกิเตศวรอรหันต์หรือพระกวนอิม และพระมหาสถามะปราบต์ประทับ อยู่


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทอดพระเนตรเห็น แน่ชัดแล้วว่า เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าอมิตาภะ ผู้ทรงเมตตาคุณยิ่งกว่า ผู้ใด พระพุทธเจ้าพระองค์นี้แน่แล้ว ที่ทรงตั้งความปรารถนาไว้เป็นสัจจะ ว่า จะทรงช่วยสัตว์ทุกชีวิต ให้ได้ขึ้นสู่สุขาวดีแดนพุทธของพระองค์ ก่อน พระองค์จึงจะเสด็จเข้าสู่พุทธเกษตรอันสงบ ทรงดีพระทัยเป็น อย่างยิ่ง ก็ทรงกราบทูลเรื่องราวความลำบากที่พระองค์ กำลังทรงได้ รับอยู่นั้น ให้ทราบทุกประการ
 

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอมิตาภะ ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ทรงรับเป็นพระธุระ โปรดให้พระอวโลกิเตศวรช่วยเหลือทันที โดย มีพุทธบัญชาว่า " ขอท่าน จงช่วยโพธิสัตว์เจียนสินศิษย์ของท่านเถิด " แล้วเสด้จกลับพร้อมพระมหาสถามะปราบต์
 
 
พระอวโลกกิเตศวรทรงปรากฏให้สมเด็จพระเจ้าตากสินทอดพระเนตร เห็นในภาคท่านผู้เฒ่าวัย ๙o ปี ซึ่งมีลักษณะเป็นชายแก่สูงอายุ หน้าขาว อวบอูมผิวสะอาดสีขาวอมชมภูอ่อน หนวดขาวยาวถึงอก สวมเสื้อผ้า อย่างผู้เฒ่าที่มีฐานะดี อย่างเดียวกับเมื่อชาติที่ท่านเคยเป็นพระอาจารย์ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในชาติก่อน แล้วถามศิษย์ของท่านว่า " โพธิสัตว์ เจียนสิน จำเราได้ใหม เราคืออาจารย์ของเจ้าตั้งแต่ชาติก่อนๆ อย่างไรเล่า วันี้มาให้เจ้าพบเห็นแก่ตาเพราะรู้ว่าเจ้ามีทุกข์มากนัก เรื่องที่ กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบนั้น พระองค์ทรงทราบก่อนแล้วเพราะ ได้ทรงสอดส่องทราบความทุกข์สุขของผู้ซึ่งระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ "

 
" โพธิสัตว์เจียนสินฟังให้ดีนะ เวลาของเจ้าเหลือน้อยแล้ว จงรีบทำจิตให้ ผ่องใสและออกบรรพชาอุปสมบทโดยเร็ว อย่ายึดติดในสิ่งทางโลกเลย เจ้าได้ช่วยชาติบ้านเมืองและพระศาสนามาพอสมควรแล้ว จงวางมือให้ โพธิสัตว์องค์อื่นเขาทำบ้าง


เรื่องสำคัญที่เจ้าปรารภนั้น เพราะเขาศรัทธาเจ้า เขาจึงอยากช่วย แต่ถ้า ให้เขาช่วยแผ่นดินจะแยกเป็นสองฝ่าย เจ้าก็ไม่ต้องการ เจ้าจงคิดทำ อย่างใดอย่างหนึ่งให้พวกพ้องของเจ้าเขาหมดศรัทธาในตัวเจ้า เขาจะ ได้ไม่มาวุ่นวายในเมืองนี้ คนที่จะมาทำการกู้บ้านเมืองแทนเจ้า คือคน ที่เจ้าตั้งให้เขาเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย เขาเป็นโพธิสัตว์ฝ่ายช่วยบ้าน เมืองเหมือนกัน เขาจะตั้งตัวได้ดีอย่าเป็นห่วงเลย จงห่วงแต่ตัวของเจ้า เองเถิด จวนเวลาแล้ว อีก ๑๘๑ ปี คนจะรักและนับถือเจ้ามาก เรื่อง หมองมัวจะถูกเปิดเผยออกโดยโพธิสัตว์ด้วยกันช่วยเหลือ
 
 
เจ้าจงคิดอ่านทำให้คนหมดศรัทธาในตัวเจ้า แล้วหนีออกไปอุปสมบทเสีย จะได้กุศลเพิ่มขึ้น เพราะการลงมาครั้งนี้ ได้กุศลก็จริงบาปอยู่ "


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าตากสินมหาราชทรงแปลกพระทัยว่า พอคิด ว่าจะทรงถาม พระอาจารย์ท่านก็ตอบก่อนทุกที เหมือนท่านทรงทราบเรื่อง ในพระทัยทุกอย่าง แล้วท่านก็รีบตอบ ( เพราะถ้าให้ถามจิตที่กำลังอยู่ใน สมาธิก็จะเคลื่อน ทำให้เห็นภาพพร่าหรือมัวไป และถ้าจิตเคลื่อนออกจาก สมาธิมาก ภาพพระอาจารย์และเสียงนั้นก้จะหายไปด้วย ท่านจึงรีบตอบ โดยไม่ต้องถาม )


สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงจดข้อความซึ่ง พระอาจารย์สอนไว้ แล้ว ทรงพิจารณาเป็นข้อ ๆ เวลานั้นจวนจะรุ่งอยู่แล้ว จึงตรัสเรียกพระยาธิ เบศร์มาเฝ้า ทรงสั่งด้วยพระเสียงน้อย ๆ พระยาธิเบศน์ก็กราบถวายบัง คมกลับออกไป

 
- บางส่วนจาก ใครฆ่าพระเจ้าตาก -
-ฉบับ หลวงย่า ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ -


http://www.sookjai.com/index.php?topic=1815.msg7884#msg7884
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 04:49:24 pm »


 
 
( เรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเข้าพระกรรมฐานนี้ในหนังสือพระราช พงศาวดารมีอยู่หน้า ๑๕o - ๑๕๑ มีใจความดังต่อไปนี้ )
 
 
ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นแปดค่ำ เดือนอ้าย สามเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาเสด็จขึ้นไปทรงเจริญพระกรรมฐาน ณ พระอุโบสถ วัดบางยี่เรือใต้ แล้วทรงพระราชอุทิศถวายเรือโขมดปิดทองทึบหลังหนึ่ง หลังคาบัลลังก์คาดสีสักหลาดเหลืองคนพายสิบคน พระราชทานเงินตรา คนละสองตำลึง และผ้าขาวให้บวชเป็นปะขาวสำหรับพระอาราม แล้ว ทรงถวายหีบปิดทองคู่หนึ่ง สำหรับใส่พระไตรปิฎกและวิธีอุปเทศพระ กรรมฐาน แล้วทรงตั้งพระสัตยาธิษฐานว่า เดชะผลทานบูชานี้ ขอจงยัง พะลักษณะ พระปีติทั้ง ๕ จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วอย่าได้อันตรธาน และพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดนั้น ขอจงภิญโญภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป อนึ่ง ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระบรมภิเษกสัมโพธิญาณในอนาคตกาลภายภาคหน้า .......
 
 
แล้วให้พระราชาคณะเสนบดีกำกับกัน เอาเงินตราสิบชั่งไปเที่ยวแจก คนโซ ทั่วทั้งในนอกกรุงธนบุรีทั้งสิ้น
 
 
ครั้นถึง ณ วันจันทร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนอ้ายทรงพระกรุณาให้เชิญพระ โกศ พระอัฐิ สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์ ลงเรือบัลลังก์ มีเรือแห่เป็นกระบวนไปแต่พระตำหนักแพ แห่เข้าไป ณ วัดบางยี่เรือใต้ แล้วเชิญพระโกศขึ้นสู่พระเมรุ นิมนต์พระสงฆ์สดัปปกรณ์หมื่นหนึ่ง ทรงถวายไทยทานเป็นอันมาก ครบสามวัน แล้วเชิญพระโกศลงเรือแห่ กลับเข้าพระราชวัง
 
 
สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงสมาทานอุโบสถศีลแล้วทรงเจริญพระ กรรมฐานภาวนา เสด็จประทับแรมอยู่ ณ พระตำหนักวัดบางยี่เรือใต้ ห้าวัน ให้เกณฑ์ข้าราชการปลูกกุฏิร้อยยี่สิบหลัง แล้วให้บูรณปฏิสังขรณ์ พระพุทธปฏิมากร และพระอุโบสถเจดีย์วิหารให้บริบูรณ์ขึ้นสิ้นทั้งพระ อาราม อนึ่ง ที่คูรอบพระอุโบสถนั้นให้ชำระแผ้วถาง ขุดให้กว้างออก ไปกว่าเก่า ให้ปลูกบัวหลวงทั้งรอบ แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา ธุระมาอยู่ ณ กุฏิซึ่งปลูกถวาย แล้วเกณฑ์ข้าทูลทะอองธุลีพระบาทให้ ปรนนิบัติทุก ๆ พระองค์ และเสด็จไปถวายพระราชโอวาทแก่พระสงฆ์ โดยอธิบายซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญได้ ให้ต้องด้วยวิธีพระสมถกรมฐาน ภาวนา จะได้บอกกล่าวแก่กุลบุตรเจริญในปฏิบัติศาสนาสืบไป แล้วทรง สถาปนาพระอุโบสถและการเปรียญเสนาสนะ กุฏิ ณ วัดหงส์สำเร็จ บริบูรณ์
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 04:47:42 pm »


 
 
ทรงนึกถึงพระอาจารสุกซึ่งเป็นพระสอนกรรมฐานและเคยเป็น อุปัชฌาย์อาจารย์ เมื่อครั้งทรงพะเยาว์อยู่กับพระบิดา พระองค์ ทรงเรียนสมาธิ และเคยมีจิตอันสงบเข้าเขตฌานมาแล้ว และเคย ทรงทราบว่า พระอาจารย์สุกนั้นเมื่อมีเรื่องสงสัยอย่างไรเกิดขึ้น ท่านมักทำสมาธิเข้าองค์ฌาน แล้วถามเรื่องจากท่านข้างบน ซึ่ง บางครั้งก็ถามพระอาจารย์แต่อดีตชาติของท่านเอง บางครั้งท่าน ก็ถามเทพและพรหมได้ เมื่อสบายใจว่าง ๆ บางครั้งท่านก็เล่าให้ ศิษย์ผู้ไกล้ชิดฟังบ้าง
 
 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิดว่าจะตรัสถามพระอาจารย์ถึงเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทรงสั่งอำมาตย์ผู้ใหญ่ให้ระวังรักษาพระครไว้ให้ดี แล้ว เสด็จประทับ ณ วัดบางยี่เรือใต้
 
 
ทรงประทับนิ่งนาน ณ เบื้องพระพักตร์แห่งองค์พระประธาน น้อม นมัสการ แล้วทรงระลึกถึงคุณแห่งพระบรมศาสดา ตั้งจิตอธิษฐานขอ อำนาจแห่งพระบารมีแต่หนหลังจนปัจจุบัน ขอให้พระบารมีนั้นมาสนับ สนุนป้องกันระวังภัย อย่าให้มารมาสอดแทรกได้ พอจิตเป็นสมาธิทรง เข้าปฐมฌาน ผ่านทุติยฌาน และตติยฌาน ไปตามลำดับ ทรงประทับ ยับยั้งในจตุตถฌาน ๔ เสวยสุขด้วยพระทัยอันเยือกเย็นอยู่ตลอดราตรี
 
 
ในวันรุ่งขึ้นขณะทรงเข้าอยู่ในจตุตถฌาน เสวยสุขอยู่นั้น ก็ทรงอธิษฐาน ถามว่า พระองค์จะเสวยราชอยู่ต่อไปได้หรือไม่ ถ้าหมดบุญแล้วใครจะ เข้ามาครองราชแทน ความวุ่นวายของทหารทั้งสองพวกนั้นจะเป็นอย่าง ไร ? คำถามนี้พระองค์ถามทีละข้อ เมื่อได้คำตอบแล้วจึงทรงถามต่อไป เมื่อทรงอธิษฐานถามแล้วก็ทรงปล่อยวาง ไม่ได้ยึดติดใคำถามนั้น ทำจิต ให้ผ่องใส อยู่กับสติและปรีชาญาณ


คำตอบนนั้นเป็นภาพ และเป็นเสียงจากพระฤทัยบ้าง จากพระกรรณบ้าง ผลจากคำตอบนั้นทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนจากเข้า " ฌาน " เป็นยกระดับ จิตขึ้นสู่ " ญาณ " ทันที
 
 

พอจิตสงบลงทรงพิจารณาสังขารร่างกาย พิจารณาในอริยะสัจจ์ ๔ คือ คามเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วทรงปล่อยวาง เข้าพิจารณาในทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ครั้นถึงยามสามก็ทรงพิจารณาความคิด เรื่องราวต่าง ๆ ให้ เข้าในกฏของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
 
 
รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยกระดับจิตขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา แต่ยามต้น ทรงพิจารณาดูการเกิดดับของสังขารร่างกาย แล้วพิจารณา การเกิดดับของสิ่งทั้งหลาย เอาความเสื่อมนั้น ๆ มาเปรียบกันก็ทรงเห็น ความจริงว่า ไม่ว่าสิ่งใดในโลกนี้ จะต้องพบความเกิดดับแตกทำลายทั้ง สิ้น ไม่มีใคร ไม่มีอะไร จะอยู่มั่นคงถาวรตลอดกาลไปได้
 

สังขารทั้งหลายที่เคยสวยงามสดใสก็ต้องเปื่อยเน่าไป จะหาอะไรจีรัง แน่นนั้นไม่มีเลย
 

คิดแล้วก็ทรงเศร้าพระทัยว่า พระองค์ทรงหลงเสียแล้ว หลงอยู่กับสิ่ง หลอกลวงมาหลายสิบปีทรงเบื่อหน่ายต่อพระวรกาย ทรัพย์สมบัติและ ราชบัลลังก์ ทรงเบื่อหน่ายต่อการเป็นจอมทัพ การเป็นเจ้าแผ่นดินที่ต้อง ยกทัพไปรบกับใคร ๆ จนแทบไม่มีเวลาได้ทรงพักผ่อนสรร้างบุญสร้าง กุศล พระองค์ทรงรู้สึกคิด อย่างสมณะผู้เคร่งและผ่านอุทยัพพยานุปัส -สนาญาณ และพระอารมณ์กำลังอยู่ในนิพพิทานุปัสสนาญาณ ซึ่งทรง พระปรีชาฉลาด เห็นอันตรายของสังขารที่แตกแยกเน่าเปื่อยไป ทำให้ ทรงเบื่อหน่ายเป็นที่สุด
 


ทรงเบื่อหน่ายต่อสิ่งเหล่านั้น อันล้อมรอบพระวรกายอยู่ ยังไม่ทรงเห็น ทางที่จะสละให้ห่างไกลไปได้ก็ทรงรำคาญพระทัย
 
 

 

วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันที่ ๔ เมื่อขณะทรงเจริญพระพุทธมนต์ กลิ่นดอกไม้ ประหลาดหอมเย็น ๆ อยู่นานตรงบริเวณพระประธานองค์นั้น ทำให้ พระหทัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดใสชื่นบาน พระพักตร์ก็แจ่มใส พระโอษฐ์ยิ้มแย้ม พระเนตรอ่อนหวานเต็มไปด้วยพระเมตตากรุณา ทรง กราบพระประธานและเจริญพระพุทธมนต์ แล้วก็ทรงหลับพระเนตรอย่าง มีความสุข พอสงบจากเสียงภายนอกได้ชั่วครู่เท่านั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวก็ทรงเห็นดอกบัวบานสะพรั่งอยู่ตรงพระพักตร์ เกษรอันเหลืองอร่าม นั้นหอมเย็นอย่างประหลาด เมื่อทรงเงยพระพักตร์ขึ้น จึงทรงทอดพระ เนตรเห็นว่า ดอกบัวนั้นขยายใหญ่ออกไปได้ และที่ตรงฝักบัวอ่อน ๆ สีเหลืองนั้น มีพระบาททั้งคู่ประทับอยู่ทุกดอก ทรงประหลาดพระทัยยิ่ง นักก็ทรงลืมพระเนตรขึ้น จึงได้ทรงเห็นพระกายของพระบรมโพธิสัตว์เจ้า และพระสานุศิษย์ของพระองค์ ทุกพระองค์ทรงมีพระรัศมีเหลืองอยู่บน พระเศียร



สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลับพระเนตรอย่างเดิม ทำพระทัยให้หยุดนิ่ง อยู่เฉพาะองค์พระบรมโพธิสัตว์ทรงสนพระทัยต่อเสียงค่อย ๆ แต่ทรง ฟังชัดว่า

 
" เจียนสินโพธิสัตว์ อาจารย์มาเยี่ยม จวนเวลาที่จะได้กลับแล้ว จงทำ จิตให้ถึงที่เคยอยู่ อย่าประมาท " แล้วภาพนั้นก็หายไป
 
 อารมณ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็แช่มชื่น เหมือนผู้หมดกังวลอยู่สักครู่ ใหญ่ แล้วก็กลับทรงระลึกถึงพระราชชนีพระพันปีหลวง และทรงใคร่ จะได้สร้างกุศลนั้นยิ่งนัก