ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 10:47:02 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่แป้ง
ผมก็กลัวว่าจะเป็นเหมือนกัน แบบว่าไม่รู้ตัวเอง
แล้วถ้าคิดว่าตัวเองเป็นนี่จะเป็นหรือเปล่า หรือว่าคนที่เป็นไม่รู้ตัว คนที่รู้ตัวเป็นหนักกว่าเดิม 55+

ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 04:26:47 pm »

 
 
 
   :18:  ..เพิ่งรู้ว่า มีโรคแบบนี้ด้วยอ่าค่ะ  น่ากลัวเหมือนกันเนอะ ^^" ..  :13:  ขอบคุณ+อนุโมทนา :19: สำหรับบทความดีๆ มีสาระประโยชน์นี้ด้วยนะคะ น้องแป้ง ^^ .. :45:
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 09:56:28 am »






โรคหลงผิด (Delusional disorder) เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งซึ่งมีอาการหลงผิดเป็นอาการเด่น เดิมเรียกว่า โรคหวาดระแวง (Paranoia หรือ Paranoid disorder) ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่เหมาะสม เพราะทำให้เข้าใจผิดว่าโรคนี้มีอาการหวาดระแวงแบบเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วอาจมีอาการหลงผิดได้หลายแบบ

อาการหลงผิด (delusion) คือความผิดปกติของความคิด ซึ่งผู้ป่วยมีความเชื่ออย่าสนิทใจ ในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ไม่สมกับเชาวน์ปัญญา และภูมิหลังทางวัฒนธรรม และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เหตุผล

โรคหลงผิด เป็นโรคที่พบน้อย ประมาณ 0.025 ถึง 0.03 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเท่านั้น ผู้ป่วยมักเริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่ เพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย โรคนี้มีความสัมพันธ์กับการอพยพย้ายถิ่นฐาน และระดับเศรษฐฐานะต่ำ

สาเหตุของโรคหลงผิด

ยังไม่เป็นที่ทราบชัด ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายใช้ชีวิตที่ค่อนข้างแยกตัวเองออกจากสังคมและประสบความ สำเร็จในชีวิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ป่วยบางรายเป็นคนอ่อนไหวง่ายหรือเป็นคนขี้ระแวงสงสัยอยู่ก่อนแล้ว

โรคทางกายบางอย่าง เช่นโรคสมองเสื่อม เนื้องอกในสมองและการใช้สารเสพติดบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการแบบเดียวกับโรคหลงผิด แต่จัดเป็นโรคจิตที่เกิดจากพยาธิสภาพทางกายหรือสารเสพติด

อาการของโรคหลงผิด

คืออาการหลงผิดซึ่งอาจเป็นเรื่องเดียวหรือหลายเรื่องที่ เกี่ยวข้องกัน อาการหลงผิดในโรคนี้ไม่มีลักษณะแปลกประหลาดอย่างที่พบในโรคจิตเภท เรื่องราวอาจไม่น่าจะเป็น แต่ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ อาการมักคงอยู่นานเป็นเดือนเป็นปีหรือบางรายเป็นอยู่ตลอดชีวิต โดยทั่วไปผู้ป่วยไม่มีประสาทหลอน ยังพูดคุยรู้เรื่อง และหลายรายยังทำงานทำการได้ อารมณ์ไม่ผิดปกติอย่างในโรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์แปรปรวน พฤติกรรมทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการหลงผิด

โรคหลงผิดแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามลักษณะของอาการหลงผิดดังนี้

1. Erotomanic type หลงผิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตนหรือเป็นคู่รักของตน ส่วนใหญ่มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และมีฐานะทางสังคมสูงกว่า เช่นเป็นผู้นำประเทศ ผู้บังคับบัญชาหรือดารา ผู้ป่วยอาจเก็บอาการหลงผิดนี้ไว้เป็นความลับหรืออาจแสดงออกต่อสาธารณชน ขึ้นกับบุคลิกภาพเดิมของผู้ป่วย บางรายก็ไปก่อกวนหรือทำให้คนอื่นหลงเชื่อก็มี

2. Grandiose type หลงผิดว่ามีความสามารถเกินความเป็นจริง มีคุณค่า มีอำนาจ มีความรู้สูง มีทรัพย์สินเงินทองมาก หรือมีความสัมพันธ์พิเศษกับบุคคลสำคัญหรือหลงผิดว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ บางรายหลงผิดว่าเป็นพระอรหันต์หรือบรรลุโสดาบันก็มี

3. Jealous type หลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ อาการนี้พบบ่อยและบางครั้งอาจแยกได้ยากว่าเป็นเรื่องจริงหรืออาการหลงผิด

4. Pdrsecutory type หลงผิดว่าถูกปองร้าย ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดถูกปองร้าย ถูกติดตาม ถูกหมายเอาชีวิตหรือถูกใส่ร้ายในทางใดทางหนึ่ง

5. Somatic type หลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น มะเร็ง ผู้ป่วยบางรายหลงผิดว่าอวัยวะของตนมีรูปร่างผิดปกติหรือพิกลพิการ บางทีเชื่อว่าลิ้นไก่ของตนเองยาวผิดปกติ และไปขอให้แพทย์ผ่าตัดให้ก็มี

ผู้ป่วยโรคหลงผิดมักไม่ค่อยไปพบแพทย์ ทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่จริง ผู้ที่ไปหาแพทย์เองมักเป็นกลุ่มที่หลงผิดว่ามีโรคทางร่างกาย นอกนั้นส่วนใหญ่มักถูกผู้อื่นพาไปพบจิตแพทย์

การวินิจฉัยโรคนี้อาจทำได้ยากในเบื้องต้น โดยเฉพาะถ้าอาการหลงผิดนั้นเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้บ่อย เช่น เรื่องสามีไปมีเมียน้อย บางครั้งก็ต้องแยกอาการหลงผิดจากการหลอกลวงให้คนอื่นเข้าใจผิดเพื่อหวังผล ประโยชน์ เช่น หลอกลวงว่าตนเป็นพระอรหันต์หรือเป็นผู้วิเศษ เป็นต้น

จิตแพทย์ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ ประกอบกับข้อมูลโดยละเอียดจนแน่ใจได้ว่าอาการของผู้ป่วยเป็นอาการหลงผิดจริง มิใช่กระทำไปโดยมีแผนการณ์เพื่อหวังผลประโยชน์ จึงสามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคหลงผิด

ในระยะที่ผ่านมาอาจมีผู้ป่วยหลายรายที่แสดงอาการจนเป็นข่าวคราวทางสื่อมวลชนแต่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจิตแพทย์ ซึ่งโดยจรรยาบรรณแล้วคงไม่สามารถไปเที่ยววินิจฉัยบุคคลตามข่าวหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ เพราะอาจไปล่วงละเมิดสิทธิของเขาได้

การรักษาผู้ป่วยโรคหลงผิด

ควรเริ่มต้นด้วยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยกับ ผู้รักษา การใช้จิตบำบัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับว่ามีปัญหาในระดับหนึ่งเป็นจุด เริ่มต้นที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยยอมกินยาและรับการรักษาต่อไป

ยารักษาโรคจิตช่วยลดอาการหลงผิดของผู้ป่วยได้ และเมื่อใช้ร่วมกับจิตบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลที่สุดในปัจจุบัน

การให้ครอบครัวบำบัด (family therapy) ช่วยให้คนในครอบครัวเกิดความเข้าใจในตัวผู้ป่วยและยอมรับผู้ป่วยมากขึ้น ทำให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยด้วย

ดูข่าวในบ้านเราแล้วจะเห็นได้ว่าโรคหลงผิดมีปรากฏมาให้เห็นประปรายทุกยุคทุก สมัย แต่ถ้าดูผลการเลือกตั้งแต่ละครั้งแล้ว ก็น่าสงสัยว่าคนไทยที่หลงผิด มีมากกว่าที่คิดหลายเท่านัก


ที่มา..หนังสือ นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 24 ฉบับ 8 สิงหาคม 2543]
โดย : นพ.เกษม ตันติผลาชีวะ