ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ไม่ใช่เราไปกำหนดรู้เหมือนเป็นเราที่ไปกำหนด
เมื่อใช้คำว่ากำหนดเป็นภาษาไทยแต่กำหนดนั้นเป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด คือ ความ
เข้าใจคล้อยตามความเป็นจริงคล้อยตามเหตุผลซึ่งภาษาบาลีคำว่า สัลลักขณา
ก็ดี อุปลักขณาก็ดี ปัจจุปลักขณาก็ดี ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน
ต่างกันที่บทอุปสรรคที่อยู่ข้างหน้าเท่านั้นถึงแม้ว่าในสำนวนการแปลจาก พระไตรปิฎก
จะแปลว่า กำหนด ก็ตามแต่เมือพิจารณาจากรูปศัพท์ในภาษาบาลีแล้วแปลว่า.......................
พิจารณาก็ได้ หรือ รู้ ก็ได้ซึ่งเป็นการพิจารณาหรือรู้ลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่
ตัวตนที่ไปกำหนดแต่เป็นกิจหน้าที่ของปัญญาที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของปัญญา คือ........................
รู้ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงมีลักษณะให้รู้ได้นั่นเอง พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม 1 ภาค - หน้าที่ 387
ใน นิทเทสแห่งปัญญินทรีย์ธรรม ที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่าการประกาศ
ให้รู้ คือ กระทำเนื้อความนั้น ๆ ให้แจ่มแจ้งอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปัญญา เพราะ
ย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้นนั้น ๆ คำนี้เป็นบท
แสดงสภาวะของปัญญานั้น อาการที่รู้ทั่ว ชื่อว่า ปชานนา
ปัญญา ชื่อว่า วิจัย เพราะค้นหาธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น คำว่า ปวิจัย
นี้ท่านเพิ่มอุปสรรคเข้ามา ปัญญา ชื่อว่า ธรรมวิจัย เพราะค้นหาธรรม คือ สัจจะ
4 ธรรมที่ชื่อว่า สัลลักขณา ด้วยอำนาจการกำหนดอนิจจลักษณะเป็นต้นได้
สัลลักขณา นั่นแหละตรัสเรียกว่า อุปลักขณา ปัจจุปลักขณาโดยความต่างกันแห่ง
บทอุปสรรค.............................