ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 08:10:02 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม ^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 11:46:46 am »

           

          ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ........

           นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน

           นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑
           นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑
           นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑
           นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑
           นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑

           *************************************************

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ..........
           นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย
           ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ........
           ............อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
           ............จักรู้จักประโยชน์ของตน
           ............ประโยชน์ของผู้อื่น
           ............ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
           ............หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ
           ............ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังทุรพล
           ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้


           ปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล
     มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัดไปได้
     บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้
     ............ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัด ส่าย ไหลผิดทาง
     ............ ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล
     ............ ไม่มีกระแสเชี่ยว
     ............ ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

           ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
     อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้วจักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
     หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ
     ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลังทุรพล
     ข้อนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

     ********************************************************

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย

           ภิกษุนั้นละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
     อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
     ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
     สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาอันมีกำลัง
     ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้


     เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้
     บุรุษพึงปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง
     เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็จักไม่ซัด ไม่ส่ายไหลไม่ผิดทาง
     พึงไหลไปสู่ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัดในสิ่งที่พอพัดไปได้ ฉันใด

     ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ
     ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
     อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
     ............ จักรู้ประโยชน์ตน
     ............ ประโยชน์ผู้อื่น
     ............ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
     ............ หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
     สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง
     ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔