ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: คุณหนูขาวมณี
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 08:37:46 pm »

 :19:  สาธุ  อนุโมทนากับคุณผู้โพสด้วยค่ะ  ^_^
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 11:01:50 am »

 :06: 
สำหรับผมนะ
ความดีความไม่ดีก็มีอยู่ในตัวเราตลอดครับ
แค่เรามีอย่างไหนมากหรือน้อย ซึ่งในแต่ละวัน ก็มีมากน้อยแตกต่างกันไป


บางครั้ง
คนที่ไม่ดีก็กลับมาเป็นคนดีได้ครับ ถ้าได้คนดีชี้นำทางพาสู่หนทางที่ถูกต้อง
และในทางกลับกัน คนดีๆก็เป็นคนไม่ดีได้ถ้าไม่มีความมั่นคงในความดี หรือมีเหตุอันเป็นไป


^^ คงเป็นไปตามวาระกรรมครับ
ผมคิดว่า ทำดีให้ดีที่สุดในทุกวันก็คงพอมั้งครับ สำหรับชีวิตนี้


 :13:
อนุโมทนาครับพี่แป้ง
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 09:19:52 am »

 ในคัมภีร์อภิธรรมได้แจกแจงถึงสาเหตุที่ทำให้คนเป็นชั่วไว้ ๕ ประการ



          ๑. ชั่วเพราะสันดานเดิม


          สันดานเดิมในที่นี้ บาลีจริง ๆ มุ่งเอากรรมชั่วที่สั่งสมไว้ในอดีตชาติ  หมายความว่า อดีตชาติเคยสั่งสมกรรมชั่วในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเอาไว้จนเป็นนิสัยสันดาน ครั้นตายไปแล้วกลับมาเกิดใหม่ กรรมชั่วที่สั่งสมเอาไว้ก็ยังคงติดตามมา และกลายเป็นคุณสมบัติประจำตัวอีก เรียกว่ามีเชื้อชั่วติดตัวมา เช่น กรณีของพระเทวทัต แม้จะเกิดในราชสกุล แต่เพราะสันดานชั่วที่สั่งสมมามีกำลังมากกว่า ย่อมผลักดันให้กลายเป็นคนชั่วในที่สุด


          ความจริงในข้อนี้ หากพิจารณาในปัจจุบันก็อาจพอเห็นร่องรอยได้บ้าง เช่น เด็ก(รวมถึงผู้ใหญ่) บางคนเกิดในครอบครัวดี พ่อแม่เป็นคนดีมีฐานะ เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคม แต่กลับมีความประพฤติตรงกันข้าม นั่นเป็นเพราะสันดานชั่วฝังอยู่ในกมลสันดาน


          ๒. ชั่วเพราะสิ่งแวดล้อมพาไป


          สิ่งแวดล้อมนี้ได้แก่สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ข้างตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนฝูง สังคม รวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนกำหนด หรือบังคับให้ต้องเลือกกระทำความชั่วลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาจจะโดยเต็มใจ หรือไม่เต็มใจก็ได้


          ๓. ชั่วเพราะคบคนชั่ว


          บาลีพระพุทธพจน์ทรงย้ำเรื่องของการคบไว้ว่า “คบคนเช่นไรเป็นเช่นนั้น” (ยํ เว เสวติ ตาทิโส) ในมงคลสูตรข้อแรกจึงสอนให้เรา “ไม่คบคนพาล” และ “เลือกคบแต่บัณฑิต” นั่นเป็นเพราะว่า ธรรมชาติของคนเรา เมื่อคบค้าสมาคมกับใครเป็นมิตรสหายแล้ว  ก็ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการหลอมอัธยาศัยให้เข้ากันได้โดยง่าย  การคบค้าสมาคมกับคนชั่วจึงเท่ากับเปิดช่องให้ผู้นั้นกลายเป็นคนชั่วตามไปด้วย คล้าย ๆ กับสำนวนอุปมาอุปมัยโบราณที่ว่า “กฤษณาห่อปลาเน่าก็พลอยเน่าเหม็นไปด้วย”


          ๔. ชั่วเพราะปฏิเสธสิ่งดีงาม


          “ชั่วเพราะปฏิเสธสิ่งดีงาม” ผู้เขียนแปลมาจากศัพท์บาลีว่า “ไม่ฟังธรรมของสัตบุรุษ” เหตุผลที่แปลเช่นนี้เพราะไม่ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำว่า “ฟังธรรม” คับแคบไปจนเหลือเพียงการฟังเทศน์ฟังธรรม และคนที่จะเทศน์จะแสดงก็เหลือเพียงพระสงฆ์เท่านั้น


          ความหมายของการ “ไม่ฟังธรรมของสัตบุรุษ” จริง ๆ แล้วมีความหมายถึงว่า ไม่ยอมรับฟังคำชี้แนะ ข้อเสนอแนะ คำตักเตือน คำสั่งสอนอันดีงามจากผู้ที่มีความรักความปรารถนาดีต่อตนเอง เป็นการปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับคำสอน เช่น เด็กไม่ฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ นักเรียนไม่ฟังคำตักเตือนของครู เพื่อนปฏิเสธคำตักเตือนของเพื่อน เจ้านายไม่ฟังคำทักท้วงจากลูกน้อง ลูกน้องไม่ฟังคำตักเตือนจากเจ้านาย เป็นต้น ผู้ที่ตกอยู่ในสถานะเช่นนี้ ย่อมมีโอกาสพลาดพลั้งกระทำในสิ่งที่เป็นความชั่ว ความเสียหายได้โดยง่าย


          ๕. ชั่วเพราะคิดผิด


          ข้อนี้ เพ่งถึงความคิดความอ่านที่บุคคลนั้น ๆ ตั้งเอาไว้ในใจ อาจอยู่ในรูปของค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ ความเข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำ รวมไปถึงการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ หรือสนับสนุนการกระทำของตนให้เกิดความชอบธรรม เช่น ตนเองทำความผิด พอถูกจับได้ไล่ทันก็สร้างเรื่องว่าถูกกลั่นแกล้ง ถูกใส่ร้าย เป็นต้น นอกจากนั้นยังขยายขอบเขตไปถึงความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เชื่อว่าบาป-บุญ คุณ-โทษ นรก-สวรรค์ไม่มี ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วกลับได้ดี เป็นต้น


          ผู้ที่มีความเชื่อ หรือทัศนคติเช่นนี้ ย่อมเปิดช่องให้ทำความชั่วได้โดยง่าย และถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะพฤติกรรมทั้งหมดของคนเรา ล้วนแล้วแต่ออกมาจากความรู้สึกนึกคิดทั้งสิ้น


          ในพระบาลี จึงมีพระพุทธพจน์เตือนใจเราไว้ว่า “จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด กระทำอันตรายได้มากกว่าศัตรูผู้มุ่งร้ายต่อเรา”  ทั้งนี้เพราะศัตรู ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ทำอันตรายเราเพียงชั่วครั้งชั่วคราว และเราเองก็สามารถหาทางป้องกันได้  ขณะที่จิตที่ตั้งไว้ผิดนั้นทำอันตรายตลอดชีวิต แม้นตายไปแล้ว ก็ยังสามารถตามเราไปทุกภพทุกชาติตราบเท่าที่เรายังไม่ละวางความเห็นผิดนั้น