ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 09:29:16 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 03:56:22 pm »

ยกระดับคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา
ผ่านกระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา (๒)




โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 11 กันยายน 2553

วิธีการอบรมในโครงการยกระดับคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาทั้งระบบ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ที่ดำเนินการโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เครือข่าย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากวิธีการอบรมทั่วไปที่สำคัญประการหนึ่งคือ การใช้แนวคิดและกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาเป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เข้ารับการอบรม โดยเฉพาะในชุดการเรียนรู้ (Learning Module) ที่ ๑ เรื่อง “การวิเคราะห์บริบท: ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต” ที่ผู้เขียนเป็นผู้ออกแบบและอบรมวิทยากรแกนนำ ๑,๑๐๐ คน รวมถึงการเป็นวิทยากรกระบวนการตามที่ได้รับเชิญทั่วประเทศ โดยดำเนินการอบรมภายใต้กรอบความคิด “๔ – ๓ - ๓”

โดยที่ ๔ หมายถึง การอบรมตั้งอยู่บนความเชื่อพื้นฐาน/หลักการ ๔ ประการ คือ

- เชื่อมั่นและเคารพในความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มนุษย์เรียนรู้และพัฒนาได้

- ยอมรับและเคารพในความไม่เหมือน/ความแตกต่างของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง

- เชื่อในความเป็นองค์รวม (Holism) ไม่ใช่กองรวม (Heap) หรือแยกส่วน

- เชื่อว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนรู้ สอนไม่ได้

บนความเชื่อดังกล่าว การอบรมจึงไม่เน้นการบรรยาย แต่ใช้การจัดกระบวนการการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายเช่น กิจกรรมสามเหลี่ยมด้านเท่า การเขียนอิสระจากใจ การสื่อสารแบบผึ้งหรือผึ้งสื่อสาร และสายธารชีวิต: กว่าจะมาเป็นผู้บริหาร โดยกิจกรรมทั้งหมดจะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน ๓ กระบวนหลัก และ ๓ ฐานการเรียนรู้

โดยที่ ๓ กระบวนการหลักตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ได้แก่

- สุนทรียสนทนา (Dialogue)

- การฟังอย่างลึกซึ้ง

- การสะท้อนการเรียนรู้ ทั้งส่วนบุคคล และ กลุ่ม

และ ๓ ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านฐานกาย ฐานหัว และ ฐาน (หัว) ใจ

กิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนว “๔ – ๓ - ๓” มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิด/พัฒนาไปสู่สิ่งที่เรียกว่าปัญญาร่วม (Collective Wisdom) ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นแนวทางที่พึงประสงค์ พอเพียง และเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับสังคม/วัฒนธรรมไทย และโดยเฉพาะกับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในขณะเดียวกัน กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้เข้าใจสาระสำคัญและความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์หลัก ๖ เรื่องในโมดูลที่ ๑ คือ การวิเคราะห์บริบท การวินิจฉัยองค์การ SWOT Analysis การคิดเชิงระบบ แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา และ การบริหารการศึกษาในอนาคต โดยไม่ใช้การบรรยายเนื้อหา แต่เรียนรู้ผ่านกิจกรรมและกระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา ที่ผู้เข้ารับการอบรม (ผู้เรียนรู้) และวิทยากรกระบวนการร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันแบบสดๆ และปรับเปลี่ยนไปตามสภาพห้อง ปริมาณของผู้เข้าร่วมและบริบทของการอบรมแต่ละรุ่นที่แตกต่างกัน

ในช่วงระยะเวลา ๒ - ๓ เดือนของการเตรียมการและการจัดอบรมให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เขียนได้รับประสบการณ์การเป็นวิทยากรกระบวนการในโครงการมากมาย การเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ไปกับความท้าทายที่แตกต่างตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมในแง่ของตำแหน่งและประสบการณ์ทางการบริหารการศึกษา อายุ ความคาดหวังและความคุ้นชินกับการอบรมในกระแสหลัก ความไม่พร้อมและความไม่เหมาะสมของสถานที่ เช่นคับแคบหรือมีเสาอยู่กลางห้อง กลิ่นอับชื้น พิธีการ/พิธีกรรมตามรูปแบบการอบรมเดิม การทำ pre-post tests เงื่อนไข/กติกาการอบรม จำนวนผู้เข้าอบรมในแต่ละรุ่นที่ใหญ่มากสำหรับการจัดกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา คือมีจำนวนร้อยกว่าจนถึงสองร้อยกว่าคน ซึ่งยังน้อยเมื่อเทียบกับตอนที่อบรมวิทยากรแกนนำ (รุ่นละประมาณ ๕๕๐ คน)

ผู้เขียนต้องเดินทางตลอดในช่วงของการอบรมในโครงการ ยอมรับว่าเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ดีที่งามให้กับวงการศึกษา และหายเหนื่อยทุกครั้งที่ผู้เข้ารับการอบรมแสดงความสนใจและชื่นชอบกับกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา หลังการอบรมแต่ละรุ่นจะมีผู้บริหารสถานศึกษาบางท่านที่สนใจและขอให้ผู้เขียนไปจัดกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ให้กับครูทั้งโรงเรียน

ผู้เขียนอยากจะบันทึกประสบการณ์บางส่วนทั้งในแง่วิชาการ เบื้องหลังการถ่ายทำและการจัดการปัญหาเฉพาะหน้าในการอบรม เพื่อเป็นบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เป็นวิทยากรกระบวนการ และมอบเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจเรียนรู้ที่จะเป็นวิทยากรกระบวนการในอนาคต

เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหารสถานศึกษา มีความเป็นนักวิชาการอยู่ในตัว มีประสบการณ์ชีวิต และผ่านการอบรมมามาก ผู้เขียนจึงออกแบบการนำเสนอเพื่อเน้นให้เห็นจุดสำคัญที่แตกต่างจากการอบรมทั่วๆ ไป เพื่อดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ตามหลักจิตวิทยาการสอนผู้ใหญ่และจิตวิทยาการเรียนรู้ของมนุษย์

การจัดห้องและบรรยากาศในห้องอบรม ในกรณีที่ห้องเล็ก ไม่สามารถจัดเก้าอี้เป็นวงกลมวงเดียวได้สำหรับผู้เข้าอบรมประมาณ ๑๒๐ คน จะใช้วิธีจัดเป็นสองวงติดกัน โดยเว้นช่องระหว่างวงสำหรับวิทยากรกระบวนการเดินทะลุไปมาได้ ในกรณีที่มีจำนวนผู้เข้าอบรมใกล้ ๒๐๐ ถึง ๒๐๐ กว่าคนเล็กน้อยจะจัดเป็นสองวงดังกล่าวเช่นกัน ส่วนกิจกรรมและการดำเนินการทั้งหมดจะทำคู่ขนานไปพร้อมๆ กันทั้งสองวง จุดสำคัญคือทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมและกระบวนการ ยกเว้นช่วงฝึกกลุ่มวิทยากรกระบวนการแกนนำที่มีผู้เข้าร่วมรุ่นละประมาณ ๕๕๐ คน ผู้เขียนใช้วิธีจัดเป็นวงกลมตรงกลางหนึ่งวง (ประมาณร้อยว่าคน) สำหรับจัดกระบวนการสาธิต และมีผู้เข้าร่วมที่เหลือทั้งหมดแบ่งเป็นสี่กลุ่มตามภูมิภาค อยู่รอบวงกลมตรงกลาง สังเกตและร่วมกิจกรรมอยู่นอกวง แล้วใช้วิธีผลัดกันเข้ามาอยู่วงกลางเพื่อให้มีโอกาสได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การจัดสภาพห้องดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกต่างตั้งแต่เริ่มต้น
การเกริ่นนำจุดเน้นที่แตกต่างของการอบรมครั้งนี้ โดยเฉพาะการใช้แนวคิด แนวปฏิบัติและกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ๔ – ๓ - ๓ รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะ/ชุดภาษา ๖ ชุด ได้แก่
1) การเรียน – การรู้ – การเรียนรู้

2) วิทยากร – กระบวนกร – วิทยากรกระบวนการ

3) Systematic – Systems – Systemic

4) การอภิปราย (กลุ่มย่อย-กลุ่มใหญ่) – สุนทรียสนทนา

5) มิติภายนอก - มิติภายใน - มิติภายในที่สัมพันธ์กับมิติภายนอก

6) การเปลี่ยนแปลง – การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน หรือการเปลี่ยนฐานคิด/จิตสำนึก

การเริ่มต้นด้วยการอุ่นเครื่องกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ผ่านฐานกาย (กิจกรรมสามเหลี่ยมด้านเท่า) การสะท้อนการเรียนรู้ส่วนบุคคลและกลุ่ม หลังการทำกิจกรรม ผ่านกระบวนการสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้ง (การเรียนรู้ผ่านฐานหัวและฐาน (หัว) ใจ
การดำเนินการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่ออกแบบไว้จนครบถ้วน
จัดสรรเวลาประมาณ ๒๐ - ๓๐ นาที เพื่อทำการสะท้อนการเรียนรู้ในกลุ่มใหญ่

ในตอนที่หนึ่งของบทความนี้ที่ลงในคอลัมน์จิตวิวัฒน์ วันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ผู้เขียนได้บันทึกไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ในทำนองว่าความร่วมมือระหว่างสามฝ่ายได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และโรงเรียน และคณะครุศาสตร์ จุฬาฯกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ) เป็นความร่วมทางวิชาการและการบริหารจัดการโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ และควรมีความร่วมมือกันต่อไป

ในระหว่างการดำเนินงานโครงการ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาบ้างในเรื่องของการบริหารจัดการโครงการ ที่ต้องดำเนินการโครงการให้แล้วเสร็จในเวลาสั้น ปัญหาการสื่อสารระหว่างทีมทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่หน่วยงาน งบประมาณและการเบิกจ่าย แต่สุดท้ายก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ด้วยการที่คนทำงานในพื้นที่ทุกฝ่ายคิดเอางานและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นตัวตั้ง อดทน ทุ่มเท ด้วยจิตอาสา ด้วยจิตสำนึกที่ใหญ่กว่าความวุ่นวายและความยากลำบากส่วนตัว ผู้เขียนขอชื่นชมและแสดงความเคารพทุกท่านด้วยความจริงใจ เรายังมีงานท้าทายร่วมกันในอีกสองปีข้างหน้าคือการอบรมครูทั่วประเทศ ซึ่งในส่วนตัวของผู้เขียนรู้สึกเสียดายที่กลุ่มครูเน้นเนื้อหาสาระไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาเช่นเดียวกับกลุ่มผู้บริหาร เพราะครูสามารถนำกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้จริง เป็นการพัฒนาครูและผู้เรียนไปพร้อมๆ กัน ก็ขอฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาด้วย


วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553 at ที่ 11:00 by knoom    
ป้ายกำกับ: จุมพล พูลภัทรชีวิน, บทความมติชน
 
 
http://jitwiwat.blogspot.com/